วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับ.จิตรู้. จากประสบการณ์ส่วนตัว - มุมมือใหม่

DSC01680เกี่ยวกับ.จิตรู้. จากประสบการณ์ส่วนตัว - มุมมือใหม่
ในการภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์นั้น สิ่งที่เป็นตัวนำให้เกิดการพ้นทุกข์ได้ ก็คือ จิตรู้ นั้นเอง จิตรู้ เองก็ช่างเล่นกลได้เก่งมาก ๆ จนอาจทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดอาการงุนงงได้ว่า สิ่งที่ตนเองปฏิบัติอยู่นี้เดินมาถูกทางหรือไม่
ผมจะนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นของ จิตรู้ มาแสดงให้ท่านทราบ ซึ่งเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ผิดถูกอย่างไร ก็ฝากไว้พิจารณาก็แล้วกัน
สำหรับท่านที่ชอบนำคำครูบาอาจารย์มาเขียนใน blog ผม กรุณาอย่าได้เข้ามาอ่านเลยครับ ถ้าท่านอ่าน blog ของผมแล้วเกิดขุ่นมัวในจิตใจแบบนี้ ขอท่านผ่านไปดีกว่าครับ ถ้าท่านศรัทธาครูบาอาจารย์ของท่าน ก็ขอให้ท่านฟังและอ่านแต่ครูบาอาจารย์ของท่านก็แล้วกัน
----------------------------------------
1. เมื่อปุถุชนผู้ยังไม่ได้ฝึกฝนในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จะไม่รู้จัก .จิตรู้.ครับ ที่เป็นอย่างนี้ เพราะความรู้สึกตัวของเขาไม่ต่อเนื่อง และส่วนมากจิตใจของเขาจะจมอยู่กับโมหะ หรือ บางท่านที่ปฏิบัติสมาธิแบบฤาษี ก็จะมีอาการแบบนี้เช่นกัน คนที่เป็นแบบนี้ ตายไปก็เสียชาติเกิดที่พบพุทธศาสนาแล้ว
คนที่เป็นแบบนี้ เมื่อเกิดได้รับฟัง ได้เห็น ได้รู้ อะไร ก็จะเข้าใจทันทีว่า ตัวเขาเองเป็นผู้ได้ฟัง เป็นผู้เห็น เป็นผู้ได้ยิน
เมื่อเขาเกิดอาการทางจิต เช่นดีใจ เสียใจ โกรธ หวุดหงิด เขาก็จะเข้าใจทันทีว่า เขานั้นดีใจ เขานั้นโกรธ เขานั้นเสียใจ เขานั้นหวุดหงิด
คนแบบนี้ เมื่อถึงวาระที่จะจากโลกนี้ไป สัญญาณอันตรายสีแดง เตือนดัง ตู๊ด ตู๊ด ทีเดียว
ยากที่จะคาดเดาได้ว่า วาระจิตสุดท้ายของเขา จะส่งผลอย่างไร ต่อตัวเขา
2. เมื่อปุถุขนได้ยินได้ฟังพระสัทธรรม เกิดศรัทธาเลื่อมใส มีจิตคิดจะพ้นทุกข์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ก็จะมุ่งเขาหาผู้รู้ เพื่อรับคำแนะนำ สั่งสอนในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ถ้าวาสนาดี ก็ไปพบผู้รู้ที่ดี มีความรู้จริง มีความจริงใจในการถ่ายทอด ไม่กั๊กวิชา (ประเภท กั๊กวิชา นี่มีจริงครับ ผมเคยพบคนประเภทนี้ด้วย ถึงแม้เขาจะรู้จริง แต่ก็กั๊กเอาไว้ )
เมื่อปุถุชนได้เรียนรู้ และเข้าใจหลักการปฏิบัติสติปัฐาน 4 แล้ว ถ้าเขามีความศรัทธาอย่างแรงกล้า เขาจะลงมือฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 ทั้งในรูปแบบ เช่นการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การบริกรรม หรือ อะไรก็แล้วแต่ ได้ทั้งนั้น และ การฝึกฝนนอกรูปแบบ คือการฝึกความรู้สึกตัวในชีวิตประจำวัน
การฝึกฝนนี้ ใหม่ ๆ จะยากลำบากสำหรับคนใหม่ เพราะเหตุ 2 ประการก็คือ
A. การไม่แน่ใจในสิ่งทีตนเองกำลังฝึกอยู่ว่า ถูกหรือไม่
B. การคุ้นเคยกับสภาพปัจจุบันของปุถุชน ที่ส่วนใหญ๋จะอยู่กับการหลงในโมหะ
สำหรับท่านที่ฝึกใหม่นั้น ถ้าท่านฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 ไม่ว่ารูปแบบใด ถ้าการฝึกของท่านนั้น ประกอบด้วย .ความรู้สึกตัว . ถือว่าใช้ได้ทั้งสิ้นครับ ท่านอย่าได้กังวลใจมากในการฝึก ใหม่ ๆ ท่านจะเกร็ง อาจจะเครียด แต่ถ้า ฝึกด้วย .ความรู้สึกตัว. อยู่บ่อย ๆ ต่อไป พอท่านเริ่มมีประสบการณ์ ท่านจะปรับตัวเองได้เองครับ เรื่องนี้ เปรียบเหมือน มือใหม่หัดขับรถยนต์ ถ้าท่านขับรถเป็น ถ้าท่านห็นมือใหม่ขับรถ ท่านจะรู้ทันทีว่า นีคือมือใหม่ เพราะอาการของเขาจะบอกให้ท่านทราบได้ การฝึกฝนก็เช่นกันครับ มันจะเก้ เก็ กัง ๆ ดูรุ่มร่าม ไม่ทะมัดทะแมง ดูมันเกร็ง ดูไม่ดีไปหมด แต่ขอท่านอย่าได้กังวลใจ ฝึกต่อไป ให้ถือว่า ถ้าท่านฝึกด้วยการมี .ความรู้สึกตัว.ละก็ ใช้ได้ทั้งหมดครับ
ผมขอย้ำเตือนให้ท่านทราบว่า เมื่อท่านรู้สึกตัวนั้น ตาท่านจะมองเห้นได้อยู่ หูท่านยังได้ยินได้อยู่ กายท่านก็ยังรู้สึกถึงการสัมผัสต่าง ๆ ได้อยู่
ขอให้ท่านหมั่นฝึกฝนในรูปแบบมาก ๆ แล้วท่านก็จะมีการพัฒนาการขึ้นมาเรื่อย ๆ ทีละนิด ทีละนิด
DSC000223.เมื่อท่านลงมือฝึกฝนด้วยการนำ .ความรู้สึกตัว. เป็นตัวนำแล้ว ผมคาดเดาว่า ถ้าท่านขยัน หมั่นเพียร ฝึกบ่อย ๆ ฝึกทุกวัน ทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ ไม่น่าจะเกิน 6 เดือน จิตรู้ ของท่านจะเริ่มมีพลังและเริ่มแสดงตัวให้ท่านเห็นได้แล้ว บางท่านอาจเร็ว อาจช้า กว่านี้ก็ได้ครับ นี่เพียงแต่ผมคาดเดาเอาไว้เท่านั้น และขอท่านอย่าได้ท้อก่อนก็แล้วกัน
อาการที่ .จิตรู้. เริ่มมีพลังและแสดงตัว ก็คือ จิตรู้ จะแยกตัวออกจาก .สิ่งทีถูกรู้. ครับท่าน ตอนนี้ ท่านจะรู้สึกเหมือนว่า ท่านได้เห็นอาการของร่างกาย เช่น การเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เห้นอาการของจิตใจ เช่นอารมณ์โกรธ เห็นความคิดได้ จิตรู้ ในระยะนี้ จะเกิดชัดหรือไม่ชัด ขึนกับอาการที่เกิดครับ
ถ้าอาการที่เกิดชัดมาก เช่น อารมณ์โกรธ อาการเจ็บปวดของร่างกาย จิตรู้ ก็จะเกิดอย่างเด่นชัด เช่นกัน ถ้าอาการไม่ชัด จิตรู้ ก็จะไม่เด่นชัด
แต่สิ่งที่ท่านจะเห็นได้ด้วย .จิตรู้. ก็คือ การเห็นอาการทางกาย อาการทางจิตใจ เป็นสิ่งหนึ่งที่แยกตัวออกมาจาก.จิตรู้ . ซึ่ง คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่เคยฝึกจะไม่เห็นแบบนั้มาก่อน
ถ้าท่านเกิดอาการนี้ได้แล้ว ท่านกำลังเข้าสู่ทางเริ่มต้นของการพ้นทุกข์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ได้แล้ว เพราะว่า
สิ่งที่จิตรู้เห็น อาการทางกาย อาการทางใจได้ จิตรู้ ก็จะเห็นเองว่า อาการทางกาย อาการทางใจ นั้นมันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นต่างหาก
นี่คือหนทางครับ มันจะเป็นแบบนี้ ผมจึงเขียนในหลาย ๆ บทความใน blog นี้ว่า ใหม่ ๆ อย่าไปทำให้จิตว่าง เพราะไปได้ยินคำครูบาอาจารย์บางท่านพูดถึงแต่จิตว่าง จิตประภัสสร ท่านพูดถูกของท่าน แต่มันยังไม่ใช่ตอนนี้สำหรัยท่านครับ ท่านต้องเห็น อาการของกาย อาการของจิตใจ ก่อนครับ
สำหรับที่ท่านฝึกดูจิต ตอนนี้ พอจิตรู้ มันเริ่มมีพลังแบบนี้ได้ ท่านจะดูจิตได้แล้วครับ แต่ถ้าจิตรู้ของท่านยังไม่มีพลังแบบนี้ ท่านต้องกลับไปข้อ 2 ใหม่ก่อน ฝึกในรูปแบบก่อนครับ ถ้าท่านชิงลงมาที่ข้อ 3 นี้เลย ท่านก็จะล้มเหลวในการดูจิตแบบไม่เป็นท่าครับ เพราะจิตเมื่อไม่มีพลัง ท่านยังเป็นข้อ 1 อยู่ ท่านดูอย่างไร จิตที่เกิดอาการก็ยังเป็นท่านอยู่ดี จึงไม่เกิดผลในทางปัญญาครับ ขอท่านเข้าใจตามนี้ด้วยครับ
ถ้าท่านที่ดูจิต ไม่เชื่อตามี่ผมเขียน ลงมือดูจิตทันที โดยจิตรู้ยังไม่แยกตัวออกมา ก็แล้วแต่ท่านแล้วกัน ทางใครทางมัน ผมบังคับท่านไม่ได้อยู่แล้ว
ใน blog ของผม ผมเคยเขียนเรื่อง จิตรู้เป็นดวง และ จิตรู้ ไม่เป็นดวง
ในระบะที่ 3 นี้ จิตรู้ ของท่านจะยังเป็นดวงอยู่นะครับ ถึงแม้เป็นดวง ก็ใช้ได้ครับ ไม่ต้องไปพยายามทำไม่ให้มันไม่เป็นดวง พอท่านฝึกต่อ ๆ ไป ชำนาญมากขึ้น อาการเป็นดวง มันก็จะพัฒนาต่อไปเป็นไม่เป็นดวงเองอีกทีหนึ่ง
4. เมื่อท่านพัฒนาจิตรู้ในข้อ 3 นี้เกิดแล้ว จนจิตรู้เห็นอาการของกาย อาการของจิตใจได้แล้ว ท่านยังต้องหมั่นฝึกฝนต่อไปอย่าได้หยุดยั้ง ท่านเพียงได้ผลในขั้นต้นเท่านั้นเองนะครับ อย่าใจร้อน ทีนี้พอท่านหมั่นฝึกฝนต่อไป จิตรู้ของท่าน มันก็จะเห็นอาการทางกาย อาการทางจิตใจ มากขึ้นไปเรื่อยๆ นี่คือสิ่งที่ดีสำหรับจิตรู้ เพราะมันคือปัญญาให้จิตรู้ครับ จิตรู้เห็นอาการทางกาย อาการทางจิตใจ มาก ๆ เข้า มันจะมีวันหนึ่ง ที่จิต โผล่งตัวอุทานธรรมออกมาให้ท่านรู้ได้ มันโผล่งตัวออกมาสั้น ๆ เพียวเสี้ยววินาที แต่ท่านก็รู้เรื่องราวได้ พอโผล่งตัวทีหนึ่ง ท่านก็เข้าใจในธรรมได้ดีขึ้น ยิ่งท่านหมั่นฝึกฝน จิตรู้ยิ่งเห็นอาการทางกาย อาการทางจิตใจ มากขึ้น ท่านก็ยิ่งรู้ธรรมมากขึ้น รู้เองโดยไม่ต้องไปถามใคร ถึงแม้ว่า อ่านหนังสือครูบาอาจารย์มา มันก็ไม่ชัดเหมือนเห็นเอง และตอนนี้ ท่านจะเริ่มรู้แล้ว ท่านที่สอน ๆ กันในปัจจุบัน สำนักไหน มั่วนิ่ม สำนักไหน สอนถูก ใครทีตอบคำถามปฏิบัติธรรมในอินเตอร์เนท ตอบมั่วนิ่ม ตอบถูก ถึงแม้ท่านจะรู้ได้ ผมก็แนะนำว่า ขอให้ท่านเก็บไว้ในใจ อย่าใจร้อน อย่าไปพูดมาก เขียนอะไรลงไปในทีสาธารณะ เดี๋ยวท่านอาจถูกบรรดาลูกสมุนเจ้าสำนักที่ท่านไปกล่าวถึง รุมกระทืบเอาได้ครับ เขาขึ้นหลังเสือแล้ว เขาลงไม่ได้หรอกครับ เงียบไว้ดีกว่าครับท่าน
5. เมื่อท่านพัฒนาการ จิตรู้ จนเห็นอาการทางกาย อาการทางใจ ได้ดีมากแล้ว ทีนี้ ท่านจะเห็น .ความว่าง.ได้ครับ ผมไม่สามารถบอกท่านได้ว่า ท่านจะต้องทำอย่างไร จึงจะเห็นความว่างได้ แต่ที่ตัวผม นั้น ผมเห็นเอง ในขณะที่กำลังเอื้อมมือไปปิดพัดลมครับ พอผมเห็นความว่าง ได้ครั้งแรก ผมก็เห็นความว่างได้เสมอ ๆ แต่บางครั้งก็มองไม่เห็นเช่นกัน แต่ก็เห็นได้บ่อยขึ้น มันเห็นเอง ไม่ได้ตั้งใจมองอะไรเลย ตอนนี้ ท่านเห็นความว่าง ท่านก็เห็นแต่ท่านไม่ยังเข้าใจว่า ความว่างที่ท่านเห็นคืออะไรครับ เหมือนไก่เห็นเพชร ก็ไม่รู้ว่า นี่คือเพชร อย่างไรอย่างนั้นเลย ถึงแม้ท่านเห็นความว่างได้ ท่านก็ยังเห็นอาการทางกาย อาการทางจิตอยู่นะครับ ซึ่งอาการทางกาย อาการทางจิต มันจะยังมาเรื่อย ๆ เห็นเรื่อย ๆ ยิ่งท่านฝึกมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ท่านก็ยิ่งเห็นอาการทางกาย อาการทางจิต ได้ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ครับ
เมื่อ จิตรู้ เห็นอาการทางจิตได้ดีมาก ๆ ขบวนการปล่อยวางก็ยิ่งมีมากขึ้น ใหม่ๆ ถึงแม้ว่า จิตรู้ จะเกิดแล้วดังข้อ 3 แต่ จิตรู้ ในข้อ 3 กำลังก็ยังอ่อนอยู่ และบ่อย ๆครั้ง ที่พ่ายแพ้แก่อาการทางจิตใจ ได้ แต่ถ้าท่านยิ่งฝึกมา ยิ่งชำนาญ จิตรู้ ของท่านยังมีกำลังแรง และอาการทางจิตใจ ก็เริ่มจะทำอะไรจิตรู้ ไม่ได้ครับ เมื่อท่านชำนาญ อาการทางจิตใจ พอเกิดขี้น จิตรู้เห็นอาการทางจิตใจแล้ว อาการทางจิตใจก็ดับลงไปทันทีอย่างรวดเร็ว
ท่านที่เดินมาถึงตรงนี้ได้ ท่านจะรู้สึกได้เลยว่า ความทุกข์ใจ มันมีอยู่ แต่ท่านเริ่มไม่ยึดถือมันแล้ว และมันเกิดเพียงสั้น ๆ แล้วก็หายไปเองอย่างรวดเร็ว
*****************
DSC00024สรุป การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์นั้น คือขบวนการพัฒนา จิตรู้ ให้ตื่น ตั้งมั่น เพื่อให้จิตรู้ เห็นธรรมชาติของกาย เห็นธรรมชาติของใจ อันเป็นธรรมที่เป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ การปฏิบัติใด ๆ ที่เป็นการพัฒนา จิตรู้ ถือว่าใช้ได้ทั้งสิ้น ทุกสำนักที่สอนการพัฒนา จิตรู้ ก็คือสอนสิ่งเดียวกัน เพียงแต่รูปแบบต่างกัน และคำอธิบายต่างกันเท่านั้นเอง ท่านสมควรจะหาสำนักที่สอนแล้วท่านเข้าใจในคำสอน และการปฏิบัติเพื่อพัฒนา จิตรู้
************************
สำหรับบทความนี้ ผมขอจบเพียงเท่านี้ครับ เพราะผมตั้งใจเขีบนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับมือใหม่ แต่ไม่ได้หมายความว่า มันจะจบเพียงนี้ มันยังมีต่ออีก แต่ถ้าท่านได้เดินเองถึงข้อ 5 ได้ ท่านก็สมควรเดินต่อเองครับ หรือ ไปหาครูอาจารย์สอนท่านต่อเอง เพราะต่อจากนี้ มันค่อนนี้เขียนยาก อธิบายก็ลำบาก และถ้าท่านยังฝึกฝนต่อ แต่ไร้ครูอาจารย์ ท่านก็ไปต่อเองได้แล้วครับ เพียงแต่ว่า เร็วหรือช้า เท่านั้นเอง
ถ้าท่านสร้างเหตุดังที่ผมเขียนไว้เป็นขั้น ๆ ท่านก็เข้าสู่แห่งการพ้นทุกข์ได้แล้วครับ สักวันหนึ่งในชาตินี้ หรือ ชาติหน้า ท่านก็จะสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาอ่าน blog ผม อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ผมแนะนำบทความ
ใน blog ของผมในกลุ่มชื่อ ธรรมปฏิบัติ 1 ในนั้นมีหลายบทความที่เป็นพื้นฐานการปฏิบัติธรรม ที่ผมเขียนสำหรับมือใหม่ครับ

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

“รู้” อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

DSC00022“รู้” อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
เมื่อท่านทำความรู้สึกตัว มาจนถึงระดับหนึ่ง ท่านจะเห็นทุกอย่าง ในตัวท่าน เกิดขึ้นจบไป ไม่มีที่สิ้นสุด
ตรงนั้นคือสภาวะที่เรียกว่า “ไตรลักษณ์”
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนและควบคุมไม่ได้ มันเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของมัน มันเป็น “ทุกขัง อนิจจัง อนันตา” ไม่ว่าท่านจะรู้มันหรือไม่ มันก็เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ท่าน ถือกำเนิดมาแล้ว
“ทุกขัง” คือ มันติดกับชีวิตท่าน ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นทั้งหมด บนร่างกาย และจิตใจท่านนั่น มันเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ด้วยการเห็นตรงนี้ ท่านจะเข้าใจว่าทำไมจึงมีคำกล่าวว่า “ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์”
“อนิจจัง” คือ ไม่เที่ยง คือมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง
“อนัตตา” คือ บังคับไม่ได้ ท่านบังคับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้
เพราะความคิดความอยากที่จะบังคับมัน ก็เป็นไตรลักษณ์ด้วย
ถ้าท่านพยายามจะบังคับมัน ให้นิ่ง ให้สงบ หรือไปในทางที่ท่านต้องการ
ท่านจะมีอาการทุกข์ซ้อนทุกข์ แต่ท่านอาจไม่รู้ หลงไปเข้าใจว่า การไปทำให้มันนิ่ง ไปทำให้มันเป็นอย่างที่ท่านเคยรู้มา คือทางไปซึ่งจากทุกข์
ข้าพเจ้าเคยพลาดมาแล้ว อย่่าเสียเวลาอย่างข้าพเจ้าเลย ถ้าท่านผ่านมันมา แล้วมองกลับ ท่านจะเข้าใจข้อความนี้
ท่านควบคุมอะไรไม่ได้ และไม่ควรทำด้วย ท่านเพียงแต่ ควรเข้าใจมัน เมื่อไหร่ที่ท่านเข้ากระทำ มันจะไปขัด ทางที่ท่านจะไปต่อทันที ท่านควรแค่รู้สึกถึงมันเท่านั้น เมื่อท่านผ่านสภาวะนั้น ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าท่านจะเป็นเช่นไร แต่ตอนที่ข้าพเจ้าผ่านมา ใจมันยอมรับ ใจมันไม่ยึดติดต่อทุกสิ่ง อาจจะยังมี แต่ลดลงไปมากแล้ว
ถ้าท่านตรอง สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนไว้ข้างบนดีๆ ท่านจะเห็นว่า มันเป็นสิ่งเดียวกัน “ทุกขัง อนิจจัง อนััตา” มันติดกันอยู่นั่นเอง เป็นสิ่งๆเดียวกันหมด แต่การอธิบายด้วยภาษา ไปเรียกมันด้วยชื่อ แยกมันออกมา ตีความไปเรื่อยเปื่อย หลายๆคนที่น่าจะเข้าใจได้ จึงไม่เข้าใจ ไตรลักษณ์อย่างแท้จริง คิดไปแต่เรื่องนอกตัว มันก็ถูกอยู่ แต่ใช้แก้ปัญหาตัวเองไม่ได้
ไตรลักษณ์ ที่แท้จริง จะต้อง สัมผัส หรือ รู้ หรือจะเรียกอะไรก็ตาม ด้วย “ความรู้สึก” มิใช่ด้วยการคิดนึกเอา
“การพิจารณาไตรลักษณ์” คืออะไร
มันคือการที่ท่าน แค่ “ดู” ถ้าให้ดีกว่า คือ แค่ “เห็น” เห็น สิ่งเหล่านี้ เห็นทั้งหมด เห็นรวมๆ แต่ไม่ต้องไปบอกตัวเองว่าเห็นอะไร ใช้ความรู้สึกตัวเป็นการถ่ายทอด สิ่งทีี่เห็น โดยไม่ต้องผ่านสมอง เห็นมันตลอดเวลา ทุกวินาที
ท่านเห็นมันเพื่ออะไร มันจะเป็นสะพานเชื่อมท่านไปสู่ การเข้าใจบางอย่าง ที่เกิดกับข้าพเจ้าแล้ว คือ “วาง” มันจะวาง จิตใจมันยอมรับ ไม่ใช่ไป “คิด” ให้ยอมรับนะท่าน มันยอมเอง มันสยบตัวเอง มันยอมเพราะ เราทำอะไรไม่ได้เลย มันเป็นธรรมชาติที่จะต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อท่านผ่านจุดนี้มา โทสะ โมหะ โลภะ จะมีผลกับท่านน้อยมาก คือ ยังเกิดอยู่ แต่ ใจไม่สน สมมติ ว่ามีใครทำให้ท่านโกรธ ท่านจะไม่พุ่งเป้าไปที่บุคคลนั้น แต่ท่านจะกลับมาจัดการกับตัวเอง มันเป็นอย่างนั้น และอาการโกรธนั้นจะดำรงอยู่ไม่นาน
“จะทิ้งสติ” อย่างไร
ข้าพเจ้าตอบจากประสบการณ์ตัวเอง คนอื่นอาจมีวิธีที่ดีกว่านี้นะท่าน ขออ่านอย่างระวัง
สติที่ข้าพเจ้า แนะนำให้ท่านทิ้งนี้หมายถึง สติ ที่แฝงตัวมาในรูปของ “สมถะ” มันจะเป็นตัว “สั่ง” ท่านจากระดับจิตใต้สำนึก ว่า “ให้ปฏิบัตอย่างนี้ อย่างนี้” เพื่อให้มีสภาวะบางอย่าง ที่ท่านเคยประสบมาแล้ว หรือ คิดเอาเองว่ามัน “น่าจะเป็นอย่างนั้น” เมื่อท่านไปถึงสภาวะที่คาดนั้นไม่ได้ มันจะสั่งท่านให้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิบัติ พลิกเปลี่ยนไปๆมาๆ กลับไปกลับมา ถ้าท่านยังไม่ผ่านมันมา ท่านจะไม่เข้าใจ ว่ามันเป็นตัวแสบจริงๆ สุดท้ายท่านมิได้ ไปไหนเลยย่ำอยู่กับที่นั่นเอง
ท่านต้องเข้าใจว่า แม้รูปแบบที่ครูบาอาจารย์ แนะนำนั้น เราจะเรียกมันว่า วิปัสสนา แต่ ในทางปฏิบัต สมถะ จะเกิดซ้อนอยู่เสมอ ถ้าท่านไม่รู้ถึงมัน
( ให้ท่านสังเกตว่า สมถะ จะมีลักษณะเป็น “โฟกัส”
แต่ วิปัสนา มีลักษณะเป็น “การกระจาย” แต่ถ้าท่านไปพยายามทำให้มันกระจาย ท่านจะล่วงลงไปที่ สมถะ ทันที เพราะไปโฟกัส ที่การกระจาย )
การที่จะทิ้งสติตัวนี้ได้นั้น ท่านต้องตกลงไปในวังวน ของการถูกสติชนิดนี้สั่งการเสียก่อน เห็นผลของมัน เข้าใจมัน ผนวกกับ ขั้นตอนต่างๆ ความรู้ต่างๆ ความผิดพลาดต่างๆ ที่ท่านฝึก หรือ เผชิญ มาอย่างต่อเนื่อง และ อย่างดี หมายถึงฐานท่านจะต้องแน่นเสียก่อน (อันนี้มิได้หมายถึงเวลาที่ฝึกมานานเป็นปีๆ แต่อย่างใด มันขึ้นอยู่กับ การต่อเนื่อง ต่อจริงๆ ในทุกเสี้ยววินาที ให้ต่อกัน และเห็นสิ่งเหล่านี้ เข้าใจมัน และตระหนักรู้ ถึงความเป็นทาสตัวเอง ) ข้าพเจ้าเป็นแบบนี้ คนอื่นอาจเป็นอย่างอื่น
เมื่อถึงจุดตระหนักรู้นั้น สติตัวนี้จะถูกคลายตัวไปเอง ต่อมาเมื่อ สติ ตัวนี้เกิดขึ้นอีก จิตสำนึก จะสั่งให้ “ทิ้ง” หรือ “คลายตัวออก” ทันที รวดเร็ว แม่นยำ และ ไม่ไว้ไมตรี
ผลที่ตามมาคือ “การหลุดออกอีกขั้นหนึ่ง ของการเป็นทาสแห่งอัตตา” ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า จะมีกี่ท่าน ที่เข้าใจได้ แต่นั่นไม่สำคัญเลย เมื่อมันถึงเวลา มันจะเป็นเอง ข้อความเหล่านี้ช่วยท่าน ย่นระยะเวลาให้สั่นลงเท่านั้น มิได้มีค่าอะไร
“มิจฉาทิฐิขั้นสุดยอด”
(อาจใช้คำพูดไม่เหมาะสมนัก) มันคือการที่ ท่านมิได้มีสภาวะทางจิตใจ เกิดขึ้นจริงๆ รองรับการเข้าใจนั้นๆ แต่เป็นการคิดนึกเอาเองว่า มันคงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คือคิดเอาเอง จำมา แล้วคิดว่ารู้แล้ว ความรู้นั้นอาจจะถูก (คือถูกแบบบัญญัต แต่ไม่ใช่ถูกแบบปรมัต)
เมื่อยังไม่มีสภาวะรองรับ จิตจะไปติดอยู่ที่ความรู้นั้นๆ อันนี้จะเป็นปัญหาใหญ่มาก ในการปฏิบัต เพราะว่า ความรู้อันนี้จะบงการชักใย อยู่เบื้องหลัง ให้ท่านมุ่งไปในสิ่งที่ท่าน เชื่อหรือคิด ว่ามันจะเป็น ท่านจึงเข้าสู่การเข้าใจไตรลักษณ์ ไม่ได้ เพราะถูกความรู้อันนี้ขวางเอาไว้ ทางเดินจริงๆมันก็แค่ตรงไป แต่เราไปพยายามเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาอยู่เอง
เมื่อท่านผ่านสิ่งข้างบนทั้งหมดมาได้ ความรู้ทั้งหมดตั้งแต่ “โสดาบัน” หรือจะเรียกอะไรก็ตาม จะถูกลบทิ้ง แบบไม่แยแส (ข้าพเจ้าไม่รู้จะเรียกมันว่าอะไร เพราะเรียนมาน้อย จึงใช้คำนี้ ให้หลายๆคนหมั่นไส้เสมอ)
เพราะเมื่อถึงระดับนี้แล้วจะเข้าใจว่า ความรู้ไม่ว่าจะเป็นรู้จำ รู้จัก มาจากแหล่งความรู้อื่นๆ หรือแม้กระทั้ง ความรู้แจ้ง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีใครสอนสั่งนั้น ช่วยอะไรไม่ได้เลย มันเพียง ส่งเรามาถึงจุดนี้ และหมดหน้าที่ของมันแล้ว
ความรู้ “ทั้งหมด” จะประมวลสั้นลง เมื่อทุกข์เกิดมันจะเข้าใจในชั่วเสี้ยววินาที แล้วจัดการทุกข์นั้น อย่างเด็ดขาด ไม่ยั้งมือ
แต่ขอท่านเข้าใจว่า ระยะดังกล่าวทั้งหมด ด้านบน อันนี้ยังเป็นมรรคไม่ใช่ผล เพราะยังมีความพยายามจะขจัดทุกข์อยู่
การจัดการทุกข์นั้นมิใช่ไปฆ่ามัน จงใจทำลายมัน แต่รู้ถึงมันด้วยความเข้าใจแบบถึงแก่น ไม่ปฏิเสธในความเป็นทุกข์ แต่ด้วยการเข้าใจเหล่านี้มันก็ไม่ ยอมรับทุกข์เหมือนกัน มันเป็นกึ่งโจมตี กึ่งตั้งรับ นะท่าน
ขอท่านทั้งหลายจงรู้สึกตัวอยู่เสมอ ตามรู้ ความรู้สึกนึกคิดของท่านเองทุกฝีก้าว ทุกวินาที แล้วมันจะทันเข้า ทันเข้า และจะเข้าใจว่า หมอนี่เขียนอะไร
“วิธีอันถูกต้อง” ซึ่งถูกพิสูจน์แล้ว
ผู้ใดมีปัญญาระดับที่มองเห็นหัวใจ ของข้อความด้านล่างนี้ จงเร่งนำไปใช้ เพื่อตัวท่านเองเถิด
“การกระทำที่สมบรูณ์ ในสภาวะนั้นคือ การไม่เข้ากระทำใดๆเลย”
“เห็นทุกอย่าง อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรู้ว่าเห็นอะไร ให้ความเข้าใจที่ถูกประมวลสั้นลงแล้ว จัดการตัวมันเอง”
จงทิ้งทุกอย่าง จงทิ้งทุกสิ่ง แต่มิใช่ไปตั้งหน้าตั้งตาจะทิ้งนะท่าน มันจะทิ้งเองเมื่อท่านกระตุ้นมันด้วยวิธีที่ถูกต้องและตรง ระวังให้ดี ถ้าท่านไม่ทิ้งท่านจะไปต่อไม่ได้
แต่จะทิ้งอย่างไรนั้น ท่านจะต้องเข้าไปเห็นตัวสภาวะทุกข์นั้นจริงๆ เสียก่อน สัมผัสกับมันอย่างใกล้ชิดติดตาม เมื่อเกิดการตระหนักรู้เมื่อไหร่ จากระดับจิตสำนึก มันจะทิ้งของมันเอง นี่คือธรรมชาติอันมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่มียกเว้น เพียงแต่จะใครจะรู้ เท่านั้นเอง
ถ้าข้อความเหล่านี้ทำให้บางคนเกือบกระอักเลือด มึนงง ชิงชัง ริษยา หนักอกหนักใจ เปรมปรี สว่าง เบา
ข้าพเจ้าขออภัยจากใจจริง ขอท่านเห็นเป็นเด็กน้อยมือบอน อวดรู้อวดดี อย่าหาความเลย เร่งรีบกลับไปดูที่ตัวท่านเถิด
วิธีแก้
ข้าพเจ้าขอตอบคำถามผ่านทุกท่าน ในที่นี่รวมๆกัน และคงไม่มีโอกาสอีกแล้วในช่วงหนึ่งเดือนนี้ เขียนเป็นภาษาไทย ให้ท่านเข้าใจ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของข้าพเจ้าอยู่ในระดับต่ำ รังแต่จะสร้างความสับสนทางการตีความมากกว่า ถ้าท่านมีคำถาม จงอย่าถามต่อ เพราะข้าพเจ้าจะยังไม่สามารถตอบให้ท่านได้
คำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนนี้ ข้าพเจ้านำสมมติภาษาที่เคยรู้มาก่อน มาผนวกเข้ากับสภาวะที่เกิด ซึ่งเป็น การใช้แทนเพื่อสื่อเท่านั้น แต่ปัญหา คือการเข้าใจขอให้เข้าใจตรงกัน เมื่อท่านอ่าน จงอย่าเสียเวลาตีความ อ่านผ่านๆ นั่นพอแล้ว
ประการต่อมา ข้าพเจ้าเขียนทุกสิ่งจากชีวิตประสบการณ์ตรง ของตัวเอง ท่านจงอย่าเชื่อทั้งหมด แต่ให้ลองนำไปทำดู เมื่อท่านแก้ปัญหาตัวท่านเองได้ บทความนี้มีความหมายเพียงพอแล้ว
ข้าพเจ้าเพียงแต่ขอเอาชีวิตตัวเองเป็นประกัน ว่า แม้ยังไม่ถึงที่สุด แต่สิ่งนี้เป็นไปเพื่อดับทุกข์แน่นอน และถ้าท่านทำอย่างที่ข้าพเจ้าเสนอแล้ว ความทุข์ของท่านมิได้ลดลง ท่านแก้ไขความขัดแย้งในใจมิได้ ข้าพเจ้ายินดีรับคำสาปแช่งทุกประโยค และยินดีตายลงไปเพราะบอกคนอื่นผิดๆ
ขอท่านอ่านแล้วลืม เพียงรู้ไว้ว่า เคยมีคนเคยพูดเอาไว้อย่างนี้ เมื่อปัญหาของท่านมาถึง ท่านจะเข้าใจได้เอง
“การรู้อย่างต่อเนื่อง” นั้น มิได้หมายความว่า ท่าน จะ “ต้องทำ” ตัวท่านให้รู้อย่างต่อเนื่อง แต่การรู้แบบนี้เกิด ตามมาเอง จากการเอาใจใส่ จากการกระตุ้นตัวรู้ การพยายาม รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา มันจะพัฒนามากขึ้นๆ จนต่อเนื่องไปเอง ( ในช่วงแรกเราต้องอาศัยการ “พยายาม”ก่อน ต่อมาให้อาศัย “ความเพียร” และต่อมาให้ “ทิ้ง” ความพยายาม แต่ให้ “รักษา”ความเพียรเอาไว้ )
การ “รู้” นี้ รู้อะไร มันคือ การที่ท่าน รู้สึกตัวนั่นเอง (ไม่ใช่รู้ว่าตะกี้คิดอะไร)
การรู้สึกตัวคืออะไร มันก็คือ “ชีวิต” นั่นเอง สิ่งที่มีชีวิตนั้น มันมีความรู้สึกตัวอยู่อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วเพราะฉะนั้น “ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องไปสร้างความรู้สึกตัวขึ้นมา” ถ้าท่านพยายามไปสร้างความรู้สึกตัว ท่านจะล่วงลงไปที่ชั้นสมถะทันที ที่ท่านต้องพยายามทำคือ “กระตุ้น” ให้รู้สึกตัว
กระตุ้นอย่างไร ตอนแรกท่านต้องรู้ก่อนว่า ความรู้สึกตัว ในความหมายของบทความนี้เป็นอย่างไร มันคือ การรู้สึกตัวที่เกิดจาก
“การเคลื่อนการไหวทั้งหมด”
ของทุกอวัยวะ ของทุกประสาทสัมผัส ของความคิด ของอารมณ์ และแม้กระทั้งของนอกตัว จงรู้สึกตัวอยู่เสมอ เมื่อสิ่งเหล่านี้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง
แต่ “ไม่ต้องไปพยายาม” จะ “รู้ให้ครบ” ทั้งหมด มันจะเป็นขั้น เป็นตอนไปเอง รู้เท่าไหนจงรู้เท่านั้น และ “อย่าจับ” สิ่งที่รู้
ไม่ว่าท่านจะกระตุ้นมันหรือไม่ มันก็เคลื่อนไหวของมันอยู่แล้ว เช่น เลือด ชีพจร หัวใจ การหายใจ กระพริบตา ทุกสิ่งมันเคลื่อนไหวอยู่แล้วตลอดเวลา แต่ท่านยังไม่รู้มันเท่านั้นเอง
แต่เมื่อท่านเริ่มนั้น ให้ท่านยกมือขึ้น สะบัดมือ สะบัดตอนที่อ่านอยู่นี่แหละ การวูบวาบ นั้นแหละ การรู้สึกตัวแบบหนึ่ง
หรือ ลมหายใจที่ท่านทำอยู่แล้ว รู้สึกเรื่อยๆ รู้สึกบ่อยๆ ทำไปเพื่อให้สนุกสนาน จงสนุกที่รู้สึกตัว ไม่ใช่ทำเอาบุญ ไม่ใช่ทำแก้กรรม ไม่ใช่ทำเพื่อเป็นอรหันต์ ผลที่ได้จากการกระทำนี้มีค่ามากกว่านั้นมาก
แต่อย่าจับอยู่ที่อันเดียว ให้รู้รวมๆ รู้สึกให้ครบ อย่าไปจับเพียงอันใดอันหนึ่ง ตรงนี้ –เน้นนะท่าน- ไม่อย่างนั้นท่านจะเชี่ยวชาญอยู่แค่อย่างเดียว และไม่มีประโยชน์เท่าใด นอกจากดึงท่านไปสงบ
รู้แต่ไม่ต้องบอกตัวเองว่ารู้อะไร ใช้ ความรู้สึกตัว เป็นตัวรู้ “แทนที่จะใช้” ความคิดเป็นตัวรับรู้ เมื่อเป็น ท่านจะเข้าใจประโยคนี้เอง แน่นอน
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร ?
จงเคลื่อน ไหวอวัยวะของท่าน ทุกส่วน เคลื่อนบ่อยๆ เคลื่อนทั้งวัน แล้วจงจำความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นไว้ แต่ไม่ต้องบอกตัวเองว่า อะไรเคลื่อน เอาตัวความรู้สึกอย่างเดียว ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมีจุดหมายใดๆ ไม่ต้องบอกตัวเองว่า นี่เราปฏิบัต ธรรม อยู่นะ ทำมันไปเพียงให้รู้สึกตัว ทำ หรือ กระตุ้นมันให้ต่อเนื่อง กระตุ้นทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี มันจะซึมเข้าๆ ไปเอง มนุษย์มีความสามารถแบบนี้อยู่แล้ว เพียงให้เวลามันหน่อย เมื่อรู้แบบนี้จะไม่มีทางลืม
เหมือนกับคนสูญเสียความทรงจำ ทำไมยังพูดได้ นั่นเพราะการใช้ภาษามาพูด มันซึมลงไปที่ระดับจิตสำนึกแล้ว พูดโดยไม่ต้องคิดก็ได้ มันเป็นอย่างนั้น
ท่านทำอะไรก็ตาม ในชีวิตประจำวัน งานประจำวัน กิจกรรมต่างๆที่พึงกระทำ จง ทำโดยรู้สึกตัวทั้งสิ้น จงพลิกได้ถ้าพลิก อย่ายึดติดรูปแบบ ประยุกต์ อิริยาบท ทั้งหมด ให้มีความรู้สึกตัว
แต่เมื่อท่านพยายามจะรู้สึกตัวให้ได้ตลอด จะมีตัวมาขัดการรู้สึกตัว ที่ท่านพยายามกระตุ้นอยู่นั้น มันก็คือ “ความคิด” ของท่านนั่นเอง
ให้ท่านทิ้งความคิด แล้วดีดตัว กลับมารู้สึกตัวต่อไป ทำทุกครั้งที่คิด ไม่ต้องไปเสียดายว่า เผลออีกแล้ว ไม่น่าเลย ให้สลัดความคิด “ทุกๆความคิด” -เน้นนะท่าน- กลับมารู้สึกตัวเท่านั้นพอ และไม่ต้องตามไปบอกตัวเองต่อว่า เมื่อกี้คิดอะไร สลัดแล้วสลัดเลย ในระยะแรกท่านจะอึดอัด พอสมควร เพราะความคิดมันถูกเบรค ไม่ต้องวิจารณ์ใดๆ ไม่ต้องมองหาความจริงแห่งสัจธรรม ไม่ต้องเลย ถ้ามาในรูปการคิด ดีดทิ้งให้หมด ไม่ต้องสงสัยว่าทำไปทำไม ถ้าสงสัยให้สลัดความสงสัยทิ้งเสีย แล้ว กลับมารู้สึกตัว
ถ้าท่านโกรธอยู่ แล้วจับได้ว่า มีความคิดอะไรเข้ามา ให้รู้จักใช้ปัญญา จงใช้ ความรู้สึกที่โกรธนั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น ใจเต้นแรง เลือดสูบฉีด ให้ดีดความคิดทิ้ง แล้ว อาศัย ความแรงของการเต้นของหัวใจ หรือ ความรู้สึกของเลือดที่สูบฉีด เป็นตัวกระชากกลับมารู้สึกตัว ไปรู้สึกที่หัวใจ และเลือดนั้น ทำทุกครั้งที่คิด จนกว่าจะหายโกรธ
ให้ประยุกต์ใช้วิธีนี้ เมื่อ มีความ โลภ หรือ อารมณ์ทางเพศ เกิดขึ้นด้วย
ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับ ความเป็นไปของเวลา การอยู่บนปัจจุบัน บนสภาวะที่ท่านรู้สึกตัว มันเป็นสิ่งๆนั้น ทั้งหมดอยู่แล้ว เป็นโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องพยายามไปเข้าใจอะไรทั้งสิ้น แม้แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ ก็ไม่ต้องคิด ว่ารู้สึกตัวอยู่ ถ้าคิด ให้เขี่ยทิ้ง : )
ท่านจะเห็นว่า จริงๆแล้วคือ ข้าพเจ้าพยายามแนะให้ท่าน “ไม่ต้องทำอะไรเลย” แต่ในความเป็นจริง ท่านจะพยายามคิด พยายามหาเหตุผล เพื่อตอบคำถามให้ตัวเอง จงหยุดสิ่งเหล่านั้น หยุดความพยายามจะบรรลุ หยุดความคิดเหล่านี้ให้หมด
“แต่อย่าไปห้ามไม่ให้คิด ปล่อยให้คิด แต่รู้การคิดให้เร็ว แล้วรีบกลับมารู้สึกตัว ”
“ถ้ามันไม่คิดท่านจะไม่รู้” เมื่อท่านพยายามห้ามความคิด เพราะเข้าใจว่าจะสงบ
ประการแรกท่านจะปวดหัวอย่างหนัก เพราะฝืนธรรมชาติ
ประการที่สอง ท่านจะหล่นลงไปที่ชั้น สมถะ คือพยายามจะไม่ฟุ้ง
อาการใดๆเกิดขึ้นก็ตาม จงรู้อยู่บนสภาวะนั้นๆ ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่รับ
ท่านไม่ต้องก้าวหน้าอะไรทั้งสิ้น รู้สึกตัว และรู้สึกตัว เท่านั้น เพียงพอแล้ว คำว่ารู้สึกตัว จริงๆแล้ว มันค่อนข้างกว้าง เมื่อแรกท่านจะรู้สึกกายก่อน เมื่อท่านพยายามจะสลัดความคิด ไปเรื่อยๆ ความรู้สึกตัวที่กาย จะพัฒนาเป็น รู้สึกตัวที่ความคิด มันจะทันเข้าๆ และในระหว่างที่ กระบวนการจากกายไปความคิดนี้ ท่านจะได้ของแถมมาคือ รู้สึกตัวถึงเวทนา ตามภาษาของ สติปัฏฐาน 4
ที่ข้าพเจ้าผ่านมา ข้าพเจ้าจัด เจ้าเวทนานี้ มันไว้ ใน หมวดกาย ซึ่งก็ คือ “รูป” นั่นเอง ส่วนความคิด ก็คือ “นาม” และการเห็น รูปกับนามพร้อมกันก็คือ เห็น “ธรรมในธรรม” แบบหยาบๆนั้นเอง
ไม่ต้องไปพยายามแยก รูปกับนาม เพียงแต่ให้รู้จักไว้เฉยๆ เอา ความรู้สึกตัวทั้งหมดที่ผ่านการขัดเกลาไม่หยุดหย่อนนั้น “รู้เข้า” ไปในการรู้สึกตัว แต่ให้ “รู้ออก” จากความคิด
ทั้งหมดนั่นเรียกว่า “การกระตุ้น”
ผลที่ตามมาจากกระบวนการทั้งหมดนี้คือ
- เข้าใจสาเหตุของทุกข์ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ต้องให้ใครมาบอก
- ไม่สนความคิด และความเชื่อตัวเอง ซึ่งต่อมาจะเป็นบันไดให้หลุดจากสมมติ ทั้งปวง
- ไม่กลัว ฤกษ์ยาม โชคลาง ไม่สนดวงชะตา
- รู้ว่า จะไปสุดทางต้องทำอย่างไร
- ความสงสัยทั้งหมด ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะได้คำตอบขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหน หรือ ถามจากใคร (ส่วนใหญ่เป็นความรู้นอกตัว คือความรู้ ที่เอามาใช้จัดการกับตัวเองไม่ได้มาก)
- มีความสามารถในการมองออกว่าใครพูดธรรม ใครรู้จริง ใครจำของจริงมาพูด และใครรู้ไม่จริง
- เมื่อเข้าใจแล้ว มันจะหวนปฏิบัต อยู่อย่างนั้น พยายามจะรู้สึกตัวอยู่อย่างนั้น พยายามสลัดความคิดอยู่อย่างนั้น ทุกวันเวลา มันพยายามไปเอง
ข้าพเจ้ามั่นใจว่าถ้าใครก็ตาม สามารถกระทำตามข้อความขั้นต้นได้ทั้งหมด “ทิ้งความอยากรู้อยากเป็นอยากมีทั้งหมดได้” “ทำทั้งวัน” คือไม่สนว่าทำไปทำไม เขาคนนั้นจะเป็น “โสดาบันขั้นต้น” ภายใน 1 เดือน หมายถึงผลที่ตามมาจากกระบวนการ ยังเกิดไม่ครบ แต่ท่านจะรู้ตัวเองว่า มีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป ในระดับจิตใจตัวเอง ข้าพเจ้ายืนยันคำพูดตัวเอง
แต่อย่าพยายามทำ เพือให้สำเร็จภายใน 1 เืดือน ถ้าความคิดนี้มา ให้ดีดทิ้ง
เมื่อท่านจบตรงนี้ ข้าพเจ้า “จัดเอาเอง” ว่าเป็นขั้นของ “โสดาบัน” แล้ว
ข้อเสียของระยะนี้คือ
- ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังผู้ใด เพราะรู้เอง เห็นเองเข้าใจเอง
- พยายามจะพูดสิ่งที่ตัวรู้ ให้คนอื่นฟัง คิดไม่หยุด ทบทวนสิ่งที่รู้ ขึ้นมา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วกไปวนมา เฝ้าถามตัวเองว่าถูกไหมๆ
- เถียงทุกคน ตัวเองถูก ตัวเองเก่งอยู่คนเดียว
- หลงอยู่ในความคิด ติดความรู้ที่เกิด
- ลืมการกลับมารู้สึกตัว
“วิธีแก้” ปล่อยให้คิด พล่ามในใจไปเรื่อยๆ แต่เมื่อรู้แล้วว่าตกอยู่ในวังวน ตัวนี้ ให้ พยายามสลัด ความคิดทั้งหมด ออกมา แล้วรู้สึกตัวอย่างเดิม
แต่ในขณะที่เป็นจะไม่รู้ตัว เพราะติดความคิดสดใหม่นั้นๆ ช่วงแรกจะยากมาก เพราะจิตดีใจ ที่ได้รู้ความคิดใหม่ๆ คลายสงสัยจากสิ่งที่เคยคลาใจเกือบทั้งหมด ความรู้ที่มีค่าที่สุดเมื่อตอนที่ข้าพเจ้าผ่านจุดนี้มาคือ เข้าใจว่า พุทธศาสนาคืออะไร ? พระพุทธเจ้าสอนอะไร ? และต้องทำอย่างไร ?
สิ่งที่คุ้มครองบุคคลระดับนี้ไว้คือ ความรู้ที่รู้ขึ้นมา ในรูปความคิดนั่นเอง ให้สลัดออกให้หมด พยายามดึงตัวเองมารู้สึกตัวให้บ่อยที่สุด แล้วความคิดสดใหม่นั้นๆ จะลดลงไปเรื่อยๆ อาจใช้เวลาซักหน่อย ขอท่านจงเพียรเถิด
ระยะที่ว่า นี้คือเกิด “วิปัสสนู”
เมื่อหลุดจาก วิปัสสนู
ระยะต่อมา ข้าพเจ้าจัดเอาเองว่าเป็น “สกิทาคามี” อาจจะผิดก็ได้ อย่าไปเชื่อหมอนี่มากนัก
ความรู้สึกตัวเริ่มกลมกลืนในชีวิตประจำวัน อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น เข้าใจชีวิตมากขึ้น ต่อสู้กับอารมณ์ ต่างๆ “อย่างอยาก” เอาชนะ
ระยะนี้ จะมีความรู้แจ้งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางดับทุกข์ ที่เกิดกับข้าพเจ้าคือ รู้ว่า ศีลแท้ๆ คืออะไร ? สมาธิแท้ๆ คืออะไร ? อะไรคือ ความอิสระที่แท้จริงของมนุษย์ ? แต่สภาวะทางจิตใจ ยังไม่กลายเป็นสภาวะนั้นๆ เต็มๆ
มันเพียงแต่รู้ไว้ในหัว คือความรู้นำตัวสภาวะไปก่อน คือ เป็นมิจฉาฑิฐิขั้นสุดยอด นั่นเอง
แต่สภาวะทางจิตใจจะพัฒนามากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ต่อสู้กับอารมณ์ได้พอสมควร
ระยะนี้จะเข้าใจข้อธรรมปริศนาธรรมต่างๆ ที่เป็นคำพูดงุนงง น่าฉงนเกือบทั้งหมด เข้าใจแก่นของคำสอนต่างๆ ไม่สนตำรา เขี้ยงทิ้งคำภีร์ ไม่สนประเพณี จารีต กฏหมาย แต่ไม่ทุกข์ ที่ต้องอยู่ใต้กฏนั้นๆ และไม่สนว่าใครจะมาว่า ว่ารู้ผิดรู้ถูกอย่างไร รู้จักเลือก มองคนออก จิตใจสบาย แต่มีอาการทุกข์ แทรกซ้อนเป็นระยะๆ
และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะหาโอกาสปฏิบัตธรรมอยู่นั่น มันเป็นไปเอง วันไหนไม่ทำรู้สึกไม่ปกติ แม้จะไม่ทำเข้ารูปแบบ แต่จะพยายามประยุกต์ใช้กับรูปแบบวิถีประจำวันไปเรื่อยๆ
ปัญหาของระยะนี้คือ
- พอใจในความรู้ที่มี เอาตัวรอดได้แล้ว
- อิ่มเอิบ ภาคภูมิ
- มีทุกข์ปรากฏอยู่ การขจัดทุกข์ของขั้นนี้ อาศัยสิ่งที่รู้แจ้งขึ้นมา บอกตัวเองว่า มันเป็นแบบนี้ๆ จิตใจจะอ่อนลง แต่ไม่ขาด เพราะเป็นการเอาความคิดซึ่งเป็น “นาม” ไปปราบทุกข์ ซึ่งเป็น “รูป” มันคานกันไม่ลง แต่ใช้จัดการทุกข์ได้ แต่ไม่สะบั้น พูดง่ายๆคือ เอาทุกข์ไปปราบทุกข์ มันจึงยังทุกข์ แต่มองทุกข์ตัวนี้ไม่ออก
วิธีแก้ระยะนี้ อันนี้ส่วนตัวมากๆ คนอื่นอาจใช้วิธีอื่น
ในตอนนั้น ข้าพเจ้าพยายามตัดความคิดออกทั้งหมด เพื่อจะเอาตัวรู้อย่างเดียว ซึ่งทำได้เป็นช่วงๆ บางช่วงว่าง แต่ว่างแบบ ตันๆ อย่างที่ข้อความเคยตั้งไว้เป็นกระทู้ คือเห็น ไตรลักษณ์ เห็นว่า ความพยายามก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดด้วย จากนั้น เข้าใจ สมถะ-วิปัสนาอย่างแท้จริง ทิ้งความพยายาม ตั้งแต่บัดนั้น
หลังจากนั้น เห็นอย่างเดียว เห็นทุกอย่าง เท่าที่เห็นได้ เกิดจบ เปลี่ยนแปลง บังคับไม่ได้ มันจึงวาง วางไปเองเลย
เมื่อพ้นระยะนี้มา ไม่สนแล้วว่าตัวเองเป็นขั้นอะไร ไม่สนความรู้ทั้งหมด รู้จำ รู้จัก รู้แจ้ง ไม่เอาเลย สลัดออกทั้งหมด สนใจแต่รู้สึกตัวเท่านั้น ไม่เชิงสนใจ คือมันดึงกลับมาเอง ใส่ความพยายามน้อยมากๆ คือถ้าพยายาม มันจะพยายามไปเอง โดยไม่มีความพยายาม
ตัดความคิดขาดมาก ไม่มีระลอกสอง คุมอารมณ์ขั้นหยาบอยู่ทั้งหมด (ไม่เชิงคุม เพราะบางอย่างไม่เกิดเอง มันเกิดเดี๋ยวเดี๋ยว แล้วจบเตัวเอง) พวก กามารมณ์ โกรธ คุมอยู่อย่างไม่อึดอัด แต่ การเผลอยังมี แต่น้อยมาก ข้าพเจ้าอยู่ตรงนี้ พวกท่านเร่งตามมาเถิด ทุกอิริยาบท แทบจะเป็นการปฏิบัต ไปหมดแล้ว ไม่มีฝืนให้ทำ เป็นไปโดยธรรมชาติ มีแต่การระวังแบบบางๆ ดูความคิดอยู่แทบทุกเวลา รู้สึกตัวอยู่เสมอ
ทั้งหมดถ่ายทอดไว้ เผื่อเป็นประโยชน์กับท่านๆ มันเป็นการเขียนแบบกว้างๆ ในส่วนปลีกย่อยให้ท่าน หาค้นคว้า เอาจากตัวท่านเอง อย่ากลัวที่จะผิด เพราะมันเป็นครูที่ดีเสมอ “แต่จงผิดบนทางที่ถูก”
อย่าสนจริต ว่าชั้นเ้ข้ากับแบบนั้น แบบนี้ได้ดีกว่า “ถูกจริตกับถูกวิธีเป็นคนละ เรื่องกัน” ข้าพเจ้าเข้าใจอย่างนั้น
ข้าพเจ้าไม่สนใจว่าท่านมองข้าพเจ้าอย่างไร บางคนอาจมองว่ารู้มาก แต่ข้าพเจ้าแทบไม่รู้อะไรอื่นใด นอกจากเรื่องของตัวเอง เพียงแต่ในเรื่องของตัวเองนั้นรู้จริง และทำได้จริง
สิ่งที่อดนอน นั่งพิมพ์ ให้ท่านนี้ ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าท่านไม่ลองนำไปทำ และข้าพเจ้ามิได้ยกตัวเสมอครูของท่านๆ เป็นเพียงผู้นำของจริงมาบอก มาเล่า
ข้าพเจ้าทำได้เพียงแนะนำ ครูของท่านคือตัวท่านเอง เรียนรู้จากตัวท่านเองให้มาก อย่าทิ้งไปแม้เสี้ยววินาที ที่จะเรียนรู้ จากครูที่จะอยู่กับท่านไปชั่วชีวิต ท่านมีโอกาสครั้งเดียวเท่านั้น ที่จะอยู่กับครูคนนี้
อธิบาย เรื่อง โสดาบัน สกิทาคามี ซักนิด จงอย่าติดกับภาษาตัวหนังสือเหล่านี้ ความอยากที่จะเป็น จะมี จะรู้ จะขวางทางท่านเอาไว้
และบุคคลพวกนี้มิได้ วิเศษอะไร ถ้ามองจากระดับของข้าพเจ้า มันมิได้หมายความว่า ท่านเหนือธรรมดา แน่ เจ๋ง สำหรับข้าพเจ้า มันเป็นคำใช้เรียกแทน สภาวะที่เกิด และปัญหาที่สิงอยู่ ในสภาวะนั้นๆ เท่านั้น
อย่าไปเข้าใจว่า บุคคลเหล่านี้ มีรังสี รัศมี สีโน้น สีนี้ ห่อหุ้มร่างกาย รถชนไม่เป็นไร ด้วยบุญบารมี ถอดจิต ระลึกชาติ เข้าญาณ ออกญาณ อ่านใจคนอื่นได้ มองทะลุสิ่งของ นั่นพวกผิดปกติ มันจะเกิดกับท่านหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่กับข้าพเจ้าไม่เกิด และไม่สนใจด้วย
สิ่งที่เราๆ ท่านๆ เรียกว่า ธรรม นี้ คือเรื่องธรรมดาๆ นี่เอง ไม่มีอะไร ไม่ใช่อภินิหาญ แต่ผลลัพธ์ ของมันทรงอานุภาพยิ่ง คือ ท่านจะจัดการกับตัวเองได้ ท่านจะรู้วิธี หลบหลีกป้องกัน จากทุกข์
ท่านอาจจะอ่านบทความนี้ แล้วรู้สึกเหมือนจะเคลียร์ แต่ไม่เคลียร์ นั้นเป็นเพราะว่า
1. ท่านยังมิได้ทำ
2. สภาวะที่ว่ายังไม่เกิดกับท่าน ท่านจึงยังมิเข้าใจ ว่าหมอนี่หมายถึงอะไร
จงอย่าสนเรื่องของคนอื่น ท่านจะรู้ตัวท่านเองดีที่สุด ถ้าท่านทำได้ มันจะได้ผลกับท่านเท่านั้น ถ้าท่านทำไม่ได้คนอื่นจะวิ่งมาช่วยท่านด้วยทางที่เค้าเชื่อว่าช่วยท่านได้ แต่ถ้าท่านทำได้ คนจะริษยา และด่าทอท่าน เตรียมตัวเอาไว้ แต่ท่านจะไม่เป็นทุกข์เลย เรื่องของคนมันเป็นอย่างนั้น น่าขันเสียจริง ไปนอนล่ะนะท่าน
......... สาธุ คุณ Koknam ........

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons