วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปแนวคำถามตอบ นักธรรมตรี

สำหรับตัวอย่างข้อสอบนั้นไม่แนะนำให้อ่านคำถาม แล้วอ่านคำตอบไปด้วยจากประสบการณ์ของข้าพเจ้า อ่านแล้วมักจะอ่านเลย ไม่เหลือกระไรไว้ในความทรงจำ ควรอ่านคำถามแล้วปิดคำตอบ ถ้าคิดไม่ออกจำไม่ได้ ควรกลับไปเปิดตำรา หาคำตอบเสียรอบหนึ่ง ก็จะสร้างความคุ้นเคยเหมือนการเปิดพจนานุกรม จากนั้นค่อยดูเฉลย วิชาวินัยมุขนี้ข้าพเจ้าย่นย่อมาจากข้อสอบย้อนหลังไปยี่สิบกว่าปี เลขในวงเล็บจะเป็นตัวบอกว่า ออกข้อสอบบ่อยแค่ไหน การตอบนั้นควรตอบให้กระชับ ตรงจุดตรงประเด็น มิต้องตอบน้ำท่วมทุ่งเช่นที่ข้าพเจ้าทำ ที่ข้าพเจ้าทำคำตอบแบบครอบจักรวาล ก็เป็นเพราะการย่นย่อข้อสอบหลาย ๆ ปีนั่นเอง บางทีในหัวข้อเดียวกันหลายปี ก็เอามารวมอยู่ในข้อเดียวเทคนิคการจำนั้นก็เป็นเรื่องของแต่ละท่าน สำหรับข้าพเจ้าผู้มีสมรรถนะความทรงจำเสื่อมถอย เลอะเลือน ย่อมต้องใช้ลูกล่อลูกชนทุกวิถีที่จะทำให้จำได้ ก็จะ
ขอแนะเทคนิคไว้พอเป็นสังเขป ด้วยความที่เนื้อหาการสอบถึง ๔ วิชา อาจจะมากสักหน่อย สำหรับผู้ที่บวชเฉพาะช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน จึงต้องมีเทคนิคในการจำ ในวิชาวินัยมุข อย่างคำว่า อาคาริยวินัย กับ อนาคาริยวินัย ข้าพเจ้านั่งอ่านไปอ่านมาอยู่img01

นาน ก็ไม่สามารถจำได้ พอไปดูเรื่องอื่น กลับมาทำข้อนี้ก็ลืมเสียอีกแล้ว จึงจำเป็นอาคาร อาคาร คือบ้าน บ้าน คือคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน อาคาริยวินัย ก็คือศีลของคฤหัสถ์ มีศีล ๕, ศีล ๘ เป็นต้น ส่วนอนาคา ก็ไม่ใช่บ้าน ไม่มีบ้าน ก็เป็นนักบวช อนาคาริยวินัย ก็คือศีลของบรรพชิต ในพระพุทธศาสนา มีศีล ๒๒๗ เป็นต้น เช่นนี้ก็ไม่สับสนอีกต่อไป หรือ สาณัตติกะ กับ อนาณัตติกะ ใช้วิธีจำว่า สาณัต คือ ส + อาณัติส คือ สั่ง อาณัติ คือ สัญญาณให้ทำ รวมความเป็น สาณัตติกะ ต้องอาบัติแม้สั่งให้ผู้อื่นทำ อนาณัตติกะ ก็จำคำว่า อน แปลว่า ไม่ คือ ไม่ต้องอาบัติถ้าสั่งให้ผู้อื่นทำ อีกตัวอย่างในอธิกรณสมถะ ๗ ตัสสปาปิยสิกา ก็แยกเป็น ตัส เหมือน ตัด คือ ตัดสินปาปะ คือ บาป ตัดสินบาป คือ ตัดสินลงโทษ ตัสสปาปิยสิกา คือ ระงับด้วยการลงโทษ เป็นต้น ส่วนชื่อวรรคของปาจิตตีย์ อ่านเผิน ๆ ก็ดูง่าย ๆ แต่เวลาเขียนจริงต้องเขียนเรียงลำดับให้ถูกต้องด้วย ข้าพเจ้าจึงเอาคำนำหน้าของแต่ละวรรค มาเป็นอุบายในการจำ ว่า มุ ภู โอ โภ อ สุ สัป สห รัต แหม... อย่างนี้ท่านที่ชอบท่องพระบาลีก็คงยิ้ม เพราะของถนัด แต่สมองชรา ๆ ของข้าพเจ้า ขืนจำเป็นรหัสลับดาวินชี่โค้ดเช่นนี้ คงตกหายอยู่หน้าห้องสอบเป็นแน่ ข้าพเจ้าเลยแต่งเป็นกลอน ว่า “มุทะลุภูเขาโอ โภชะอะ สุระสัป สหรัฐ” ซึ่งแปลได้ว่า มุ คือ มุสาวาทวรรค ภู คือ ภูตคามวรรค โอ คือ โอวาทวรรค โภ คือ โภชนวรรค อะ คือ อเจลกวรรค สุ คือ สุราปานวรรค สัป คือ สัปปาณวรรค สห คือ สหธรรมมิกวรรค รัฐ คือ รตฺนวรรค เช่นนี้ก็ได้ทั้งลำดับถูกต้อง ไม่สับสนด้วย เรื่องจะไปแต่งเป็นกลอนหรืออะไรให้พิสดารแค่ไหน
เป็นเรื่องของท่าน สำคัญให้จำได้เท่านั้น เทคนิคเช่นนี้จะมีประโยชน์มากในวิชาธรรมวิภาค เพราะธรรมะหลายหัวข้อ ชื่อซ้ำ ๆ กัน แต่สลับลำดับบ้าง เพิ่มอย่างนี้ ลดอย่างนั้นบ้าง อย่างอธิษฐานธรรม ๔ นี่ ข้าพเจ้าก็จำเป็นว่า อธิษฐานไปสู่จุดอื่น ไป คือ ปอป คือ ปัญญา สู่ คือ สอ ส คือ สัจจะ จุด คือ จอ จ คือ จาคะ อื่น คือ ออ อ คืออุปสมะ เช่นนี้เป็นต้น ไม่ทำเช่นนี้เวลาจำไปมาก ๆ หมวด มันจะตีกันเองเท่าที่วิเคราะห์ข้อสอบวิชาวินัยมุขย้อนหลังไป สิ่งที่สมควรท่องแบบให้ได้ คือปาราชิก ๔, สังฆาทิเสส ๑๓, อนิยต ๒ เพราะออกข้อสอบซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง ส่วนนิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ ถ้าท่องได้ก็ดี ท่องไม่ได้ ก็จำเนื้อหาให้ได้

228387_185133948203821_100001216522700_543859_4240915_nวรรคเท่านั้น ก็ควรจำชื่อให้ได้ ส่วนเนื้อหาก็ควรอ่านให้ครบมีย่อไว้ให้ ปีล่าสุด ออกขนาดของผ้าอาบน้ำฝนมา อยู่ตอนท้ายของรตฺนวรรค มีอยู่ ๔-๕ รายการท่องให้หมด ส่วนเรื่องเสขิยวัตร ก็เช่นเดียวกัน เช่น ข้อสอบปี ๔๒ ออกคำถามว่า เสขิยวัตรแต่ละหมวด ว่าด้วยเรื่องอะไร เช่นนี้ก็ควรต้องท่องให้ได้ เพราะมีแค่ ๔ หมวดเองวิชาพุทธประวัติ ควรจำเวลา สถานที่ บุคคล เหตุการณ์ ธรรมะที่แสดง ให้แม่นยำ เช่น ทรงอธิษฐานเพศบรรพชิต ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ หรือทรงปลงอายุสังขาร  ณ ปาวาลเจดีย์ บ้านเวฬุวคาม เมืองไพศาลีแคว้นวัชชี เป็นต้นส่วนวิชาเรียงความกระทู้ธรรม ควรจำแบบฟอร์ม ให้ขึ้นใจ เขียนซ้ำไปซ้ำมาหลาย ๆ รอบ ก็จะช่วยได้มาก ระวังเรื่องลายมือ และความสะอาดให้มาก ควรเขียนตัวใหญ่ ๆ เพราะผู้ตรวจ มักเป็นพระผู้ใหญ่ทุกวิชาควรหัดเขียนให้คล่องมือ อย่าอ่านอย่างเดียว แล้วคิดว่าจะจำได้ ศัพท์พระบาลีบางคำ จำได้ว่าอ่านอย่างไร แต่เวลาเขียนจริง สะกดไม่ถูกบ้าง ตกหล่นบ้างนึกไม่ออกบ้าง เรียงลำดับไม่ถูกบ้าง แม้คำพื้น ๆ พบบ่อย ๆ เช่น พระอรหันต์ขีณาสพพอเวลาเขียนจริง บางทีนึกไม่ออกว่า ใช้ นอหนู หรือ ณอเณร เป็นต้น

ปัญหาวิชาธรรมวิภาค


เกาะที่มีต้นปาล์ม๑. ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร (๔๘)
ตอบ ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
จะเป็นคนหลงลืม จะทำจะพูดจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒. การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด (๕๑)
ตอบ ไม่ได้ ฯ เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๓. หิริกับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร (๔๙) เป็นธรรมคุ้มครองโลกอย่างไร
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือ ความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่ว ส่วนโอตตัปปะ
คือ ความเกรงกลัวผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ
เพราะเมื่อบุคคลทั้งหลาย มีธรรม ๒ ประการนี้ประจำใจ ย่อมไม่ทำผิดทำบาป ไม่
เบียดเบียน หรือสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กันและกัน ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔. ในทางโลก ดูคนงามกันที่รูปร่างหน้าตา ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกัน
ที่ไหน (๕๐)
ตอบ ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ
ขันติ ความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๕. ขันติกับโสรัจจะ ต่างกันอย่างไร และควรประกอบธรรมทั้ง ๒ นี้ในขณะไหน
เป็นธรรมที่ทำให้งามได้อย่างไร (๔๗)
ตอบ ขันติ คือ ความอดทน โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยม เจียมเนื้อเจียมตัว ถ่อมตน
ต่างกันที่ ขันติ เป็นความงามภายใน โสรัจจะ เป็นความงามภายนอก ควรประกอบ
ธรรมทั้งสองนี้เสมอ ฝึกให้เป็นนิสัย เวลาต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ก็จะได้รับความ
เคารพ ความเกรงใจ แม้ผู้พบเห็น มิได้ปฏิสัมพันธ์ด้วยก็ชื่นชม นิยมชมชอบ ฯ
ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีใจหนักแน่นไม่แสดงความวิการออกมาให้
ปรากฏ แม้จะประสบความดีใจ เสียใจ ก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจให้สุภาพ สงบ
เสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้ จึงทำให้งาม ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๖. บุคคลทำเช่นไร จึงได้ชื่อว่าบุพการีบ้าง กตัญญูกตเวทีบ้าง  จงแสดงตัวอย่างประกอบกับอธิบาย
ตอบ บุคคลที่ทำคุณแก่ผู้อื่นก่อน ชื่อว่าบุพการี บุคคลที่รู้คุณที่ท่านทำแล้ว ชื่อว่ากตัญญู บุคคลที่ตอบแทนคุณท่าน ชื่อว่ากตเวทีผู้ที่ชื่อบุพการี ได้แก่ พระพุทธเจ้า ให้คุณแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอนให้รู้ดี รู้ชอบตามพระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน, บิดามารดา ให้คุณแก่บุตรธิดา, ครูบาอาจารย์ ให้คุณแก่ลูกศิษย์ เป็นต้นผู้ที่ชื่อกตัญญูกตเวที ก็คือ พุทธบริษัท บุตรธิดา ลูกศิษย์ รู้บุญคุณของบุพการีและตอบแทนท่าน เช่น สืบทอดพระศาสนา บำรุงพระศาสนา บูชาด้วยอามิสบูชาบ้างบูชาด้วยปฏิบัติบูชาคือปฏิบัติตามคำสั่งสอนบ้าง เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า, เลี้ยงดูปูเสื่อเมื่อท่านแก่ชรา ช่วยทำกิจการงานต่าง ๆ ของท่าน ดำรงรักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ประพฤติตนให้ดีเหมาะสมที่จะรับทรัพย์มรดก ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เมื่อท่านถึงแก่กรรม เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา และแสดงความเคารพท่าน เสนอตัวรับใช้ท่าน เชื่อฟังคำแนะนำ คำสั่งสอนของท่าน และปฏิบัติตาม เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์
กุหลาบแดง๗. ทุจริต คืออะไร มีเท่าไร อะไรบ้างตอบ ทุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทุจริต การทำความชั่วทางกาย เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
เบียดเบียนสัตว์ ทำร้ายสัตว์ การลักขโมย การผิดลูกเมียคนอื่น
๒. วจีทุจริต การทำความชั่วทางวาจา เช่น การพูดโกหก คำหยาบ
ส่อเสียด เพ้อเจ้อ
๓. มโนทุจริต การคิดเลวคิดชั่ว เช่น คิดฆ่าเขา คิดอยากได้ของเขา คิด
ผิดทำนองคลองธรรม ฯ

กุหลาบแดง๘. พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า คือใคร รวมเรียกว่าอย่างไร รัตนะ๓ นั้น มีคุณอย่างไร  ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร
ตอบ พระพุทธเจ้า คือผู้ที่ออกแสวงหาความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตาม พระธรรมเจ้า คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระสงฆ์เจ้า คือผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย สืบทอดพระศาสนาจนมาถึงปัจจุบัน สั่งสอนให้บุคคลทั่วไปประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่ละเมิดศีล รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย ฯรัตนะ ๓ คือ.

๑. พุทธรัตนะ มีคุณคือตรัสรู้ในอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง และสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
๒. ธรรมรัตนะ มีคุณคือ ย่อมรักษาไม่ให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามพระ
ธรรมตกไปสู่โลกอันชั่ว มีอบายภูมิ ๔ เป็นต้น
๓. สังฆรัตนะ มีคุณคือ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม และสืบทอดพระศาสนาเพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามากนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ
กุหลาบแดง๙. เพราะเหตุไร หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
ตอบ เพราะใจเป็นธรรมชาติสำคัญ ถ้าใจเศร้าหมอง ก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว การทำชั่วมีผลเป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ
กุหลาบแดง๑๐. มโนสุจริตคืออะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ คือ การประพฤติชอบด้วยใจ ฯไม่โลภอยากได้ของเขา ๑, ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑, เห็นชอบตามคลองธรรม ๑ ฯ

กุหลาบแดง๑๑. โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ข้อ คืออะไรบ้าง ข้อไหนเป็นคำสั่ง ข้อไหนเป็นคำสอน
ตอบ โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ข้อ ได้แก่
๑. สัพพปาปัสสอกรณัง เว้นจากทุจริต
๒. กุสสลัสสูปสัมปทา ประกอบสุจริต
๓. สจิตตปริโยทปนัง ทำใจให้หมดจากเครื่องเศร้าหมองชื่อว่า โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหัวใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา แสดงในวันมาฆบูชา มีจาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้น คือ
๑. เป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. ภิกษุมารวมกันโดยมิได้นัดหมายจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
๓. ภิกษุทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
๔. ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุสัมปทาเว้นจากทุจริต เป็นคำสั่ง ประกอบสุจริต และ ทำใจให้หมดจากเครื่องเศร้าหมองเป็นคำสอน ฯ
กุหลาบแดง๑๒. กุศลมูล กับ อกุศลมูล คืออะไร มีเท่าไร เมื่อเกิดแล้ว ควรปฏิบัติเช่นไร
ตอบ กุศลมูล คือ รากเหง้าแห่งความดี มี ๓ อย่าง ได้แก่
๑. อโลภะ การไม่อยากได้ของเขา
๒. อโทสะ การไม่ขึ้งเกลียด อาฆาตพยาบาท โมโหโทโส
๓. อโมหะ การมีความเห็นถูกมีความเห็นชอบ ไม่มัวเมาอกุศลมูล คือ รากเหง้าแห่งความชั่ว ได้แก่
๑. โลภะ การอยากได้ของเขา
๒. โทสะ ความโกรธเกลียด อาฆาตพยาบาท
๓. โมหะ ความโง่ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรมเมื่อเกิดแล้วควรปฏิบัติโดยเจริญปธาน เป็นคุณธรรมหลัก กล่าวคือ ถ้าอกุศมูลเกิดขึ้นแล้ว ให้ใช้ ปหานปธาน เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้ากุศลมูลเกิดขึ้นแล้วให้ใช้ อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ

กุหลาบแดง๑๓. คนเราจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากอะไร
ตอบ คนประพฤติดีมีมูลเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อโมหะส่วนคนประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ ฯ
กุหลาบแดง๑๔. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องมีอินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ สำรวม
อินทรีย์นั้น คืออย่างไร
ตอบ คือระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐิพพะ รู้ธรรมารมณ์ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๕. จะประพฤติตนให้ถูก ควรประพฤติในทางเช่นไร
ตอบ จะประพฤติตนให้ถูก ไม่ผิดพลาดไปจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องปฏิบัติตามอปัณณกปฏิปทา ๓ ได้แก่
๑. อินทรียสังวร คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติไว้เสมอมิให้หลงใหลไปกับผัสสะทั้งหลาย
๒. โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
๓. ชาคริยานุโยค คือ พึงขยันหมั่นเพียร ไม่เห็นแก่นอนมากเกินไป
เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๖. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร มีเท่าไหร่ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั้น ข้อไหนกำจัดอะไร
ตอบ บุญกิริยาวัตถุ คือที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ มี ๓ ประการ คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา เจริญสมาธิ ฟังธรรมทานมัย กำจัดโลภะ สีลมัย กำจัดโทสะ ภาวนามัย กำจัดโมหะ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๗. ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่าอะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง ฯ
มี ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ๑, โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ๑,
โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ๑, ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๘. บุคคลผู้หวังความเจริญ ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร ตอบให้ครบ
ตอบ ควรตั้งอยู่ใน วุฑฒิธรรม ๔ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ ได้แก่
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบสัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ พูดคุยแลกเปลี่ยนขอคำแนะนำจากสัตบุรุษ
๓. โยนิโสมนสิการ พินิจพิเคราะห์ธรรมที่ได้สดับตรับฟังมา
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ นำธรรมที่ใคร่ครวญแล้วไปปฏิบัติให้สำเร็จผลและ อปริหานิยธรรม ๗ ธรรมที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม หวังความเจริญเพียง
ถ่ายเดียว ได้แก่
๑. หมั่นประชุมเนือง ๆ
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพียง
๓. ไม่บัญญัติเพิ่ม ไม่รื้อถอนพุทธบัญญัติ
๔. ให้ความเคารพประธานที่ประชุม
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
๗. ตั้งใจอยู่ว่า ผู้ที่ยังไม่มาขอให้มา ผู้ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๙. หลักธรรมดุจล้อนำไปสู่ความเจริญ มีกี่อย่างตอบให้ครบ มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ตอบ หลักธรรมดุจล้อนำไปสู่ความเจริญ คือ จักร ๔ ได้แก่
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศหรือ สถานที่ที่สมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ การคบหาสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา การเป็นผู้สร้างความดีไว้แต่กาลก่อนมีความเกี่ยวเนื่องกันคือ การอยู่ในประเทศอันควรย่อมทำให้พบสัตบุรุษได้ง่าย เมื่อคบหาสัตบุรุษแล้ว ก็ย่อมเป็นเหตุให้คิดดีพูดดีทำดี ทำตัวให้เหมาะสมตามคำแนะนำของท่าน ครั้นเมื่อตั้งตนไว้ชอบแล้ว ก็ย่อมทำความดีเป็นทุนสำหรับไปเกิดในภพภูมิข้างหน้าที่ดี หรือได้อยู่ในภูมิประเทศอันควร หมุนเวียนเจริญขึ้น ๆ เช่นนี้เรื่อยไป ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๐. ปธานคือความเพียร ๔ มีอะไรบ้าง งดเหล้าเข้าพรรษาอนุโลมเข้าในปธานข้อไหน
ตอบ มี ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม ฯอนุโลมเข้าในปหานปธาน ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๑. อธิษฐานธรรมคืออะไร มีกี่อย่าง ตอบให้ครบ
ตอบ อธิษฐานธรรม คือ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มี ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้
๒. สัจจะ มีความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๒. พรหมวิหาร ๔ คืออะไรบ้าง ข้อไหนสำคัญที่สุด
ตอบ พรหมวิหาร ๔ คือ ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม หรือธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามเป็นผู้ใหญ่ ได้แก่
๑. เมตตา ความรัก อยากให้เขามีความสุข
๒. กรุณา ความสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์
๓. มุทิตา การพลอยยินดี เมื่อเขามีความสุข
๔. อุเบกขา การปล่อยวาง หรือ วางเฉย เมื่อไม่สามารถช่วยเขาได้ข้ออุเบกขาสำคัญที่สุด หากขาดอุเบกขา เมื่อเกิดเหตุไม่เป็นไปดังตั้งใจ ในอีก ๓ ข้อเข่น สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ แต่ช่วยอย่างไรก็ช่วยไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง คิดเสียว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ก็จะอยู่เป็นสุข หาไม่แล้ว ก็จะเกิดอุปาทาน เป็นทุกข์เป็นร้อน มิได้เป็นเครื่องอยู่ของพรหมอีกต่อไป ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๓. ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมาย เพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง
ตอบ ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จตามที่มุ่งหมาย เพราะขาดอิทธิบาท ๔ ได้แก่
๑. ฉันทะ ความพอใจในงานที่ทำ
๒. วิริยะ ความเพียร
๓. จิตตะ ความมีใจจดจ่องานที่ทำ
๔. วิมังสา ความคิดใคร่ครวญอย่างดีในงานที่ทำ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๔. สติปัฏฐาน เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้บรรลุพระนิพพาน ทราบว่ามีเท่าไร
ตอบ สติปัฏฐาน ทราบว่ามี ๔ อย่าง ได้แก่
๑. กายานุปัสสนา การพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ พิจารณาอาการ
๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
๒. เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์ พิจารณาความรู้สึก
สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นต้น
๓. จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์
๔. ธัมมานุปัสสนา การคิดใคร่ครวญธรรมเป็นอารมณ์
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๕. ธาตุกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง กำหนดพิจารณาอย่างไร ธาตุมีลักษณะแข้นแข็งคือธาตุอะไร
ตอบ ธาตุกัมมัฏฐาน มี ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน พิจารณาส่วนที่เป็นก้อน แข็ง จับต้องได้ เช่น เนื้อกระดูก เป็นต้น
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ พิจารณาส่วนที่มีลักษณะเอิบอาบ ไหลได้ เช่น น้ำเลือด น้ำหนอง เป็นต้น
๓. วาโยธาต ธาตุลม พิจารณาส่วนที่มีลักษณะพัดไปมา เช่น ลมหายใจเป็นต้น
๔. เตโชธาตุ ธาตุไฟ พิจารณาส่วนที่มีลักษณะร้อน เช่น อุณหภูมิในร่างกายที่ใช้เผาผลาญอาหาร เป็นต้น ฯ
คือ ธาตุดิน ฯ

 

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๖. ปัจจยปัจจเวกขณะ  กับ อภิณหปัจจเวกขณะ มีความหมายอย่างไร
ตอบ ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาปัจจัย ๔ มี เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยยารักษาโรค ก่อนบริโภคว่า เราจะบริโภคปัจจัย ๔ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป หรือระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น มิได้ต้องการความสวยงาม สนุกสนาน เมามัน ให้เกินสมควรอภิณหปัจจเวกขณะ คือ การพิจารณาความจริงของชีวิต ทุก ๆ วัน ให้เป็นธรรมดา ว่า
๑. ชราธัมโมมหิ ชรัง อนตีโต เรามีความแก่ชราเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความแก่ชราไปได้
๒. พยาธิธัมโมมหิ พยาธิง อนตีโต เรามีความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดาเราไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓. มรณธัมโมมหิ มรณัง อนตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. สัพเพหิ เม ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว เราต้องพลัดพรากจากของที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา
๕. กัมมัสสโกมหิ เรามีกรรมเป็นของตน ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๗. ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นข้อความนี้อยู่ในหมวดธรรมอะไร ท่านให้พิจารณาอย่างนี้เพื่ออะไร
ตอบ อยู่ในหมวดอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ฯ เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้น คนนั้น เป็นที่รักของเรา จักไม่ต้องเสียใจในเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น คนนั้น จริง ๆ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๘. ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่างคืออะไรบ้าง ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์เพราะเหตุไร

ตอบ คือ ๑. สัทธา ความเชื่อ
๒. วิริยะ ความเพียร
๓. สติ ความระลึกได้
๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๕. ปัญญา ความรอบรู้ ฯเพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๙. คนที่ไม่มีความสะทกสะท้าน กล้าพูดแสดงในที่ชุมชน เพราะมีธรรมอะไร
ตอบ คนที่ไม่มีความสะทกสะท้าน กล้าพูดแสดงในที่ชุมชน เพราะมี เวสารัชชกรณธรรม ๕ ธรรมเป็นปัจจัยให้กล้าหาญ ได้แก่
๑. สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
๒. สีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓. พาหุสัจจะ เป็นผู้ศึกษามาก ฟังมาก มีความรู้มาก
๔. วิริยารัมภะ เป็นผู้มีความเพียร
๕. ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๓๐. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง ข้อไหนหนักที่สุด จะได้รับโทษอย่างไร
ตอบ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อว่า อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิตขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยุสงฆ์ให้แตกกัน ฯ สังฆเภทโทษหนักที่สุด ฯจะได้รับโทษคือ ต้องไปสู่ทุคติ ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ฯ
กุหลาบแดง๓๑. การฟังธรรมมีอานิสงส์อย่างไร ตอบให้ครบ
ตอบ การฟังธรรม มีอานิสงส์ ๕ อย่าง ชื่อว่า ธัมมัสวนานิสงส์ ได้แก่
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง
๒. แม้ธรรมที่เคยฟังแล้ว ย่อมเข้าใจมากขึ้น
๓. บรรเทาความสงสัย
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้อง หรือ ทำให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๕. ขณะฟังธรรม จิตใจย่อมผ่องแผ้ว
กุหลาบแดง๓๒. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง โดยย่อเรียกว่าอะไร
ตอบ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ เรียกว่า นามรูป ฯ

กุหลาบแดง๓๓. ธรรมอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี เรียกว่าอะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ ธรรมอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี เรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูปสวย กลิ่นหอม รส
อร่อย เสียงเพราะ สัมผัสระหว่างเพศ
๒. ปฏิฆะ ความโกรธ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ ง่วงเหงาหาวนอน
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย ตกลงใจไม่ได้ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๓๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ จัดเข้าในขันธ์ไหนในขันธ์ ๕เพราะเหตุไร
ตอบ จัดเข้าในสังขารขันธ์ ฯ เพราะความฟุ้งซ่านและรำคาญ เป็นเจตสิกธรรมที่เกิด
ขึ้นกับใจ ฯ
กุหลาบแดง๓๕. อินทรีย์ ๖ กับ อารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ อินทรีย์ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มีความสัมพันธ์กันคือ อินทรีย์ ๖ เป็นอายตนะภายใน เป็นตัวรับรู้ หรือทำให้เกิดความรู้ เชื่อมกับ อารมณ์ ๖ ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก เป็นตัวถูกรับรู้ หรือถูกสัมผัสจากอายตนะภายในทั้ง ๖ หรืออาจกล่าวอย่างนี้ตา เป็นใหญ่ในการเห็น อารมณ์ คือ รูปหู เป็นใหญ่ในการฟัง อารมณ์ คือ เสียงจมูก เป็นใหญ่ในการสูด ดม อารมณ์ คือ กลิ่นลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้ม อารมณ์ คือ รสกาย เป็นใหญ่ในการต้อง อารมณ์ คือ โผฏฐัพพะใจ เป็นใหญ่ในการรู้ อารมณ์ คือ ธรรมารมณ์ ฯ

กุหลาบแดง๓๖. คารวะ คืออะไร มีกี่อย่าง ข้อว่า คารวะในความศึกษา หมายถึงอะไร
ตอบ คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ มี ๖ อย่าง ฯหมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ

กุหลาบแดง๓๗. สาราณิยธรรม แปลว่าอะไร ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติอย่างไร
ตอบ สาราณิยธรรม แปลว่า ธรรมที่ทำให้ระลึกถึงกัน มี ๖ ประการ ได้แก่
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา
๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยเสมอกัน ไม่เก็บไว้บริโภคคนเดียว
๕. รักษาศีลให้เสมอผู้อื่น
๖. มีความเห็นร่วมกับผู้อื่นมีผลแก่ผู้ปฏิบัติคือ ไปไหนมาไหนก็จะมีแต่ผู้รักใคร่ คิดถึงกัน สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๓๘. อปริหานิยธรรม คืออะไร ข้อ ๑ ความว่าอย่างไร ข้อ ๔ ความว่าอย่างไร
ตอบ อปริหานิยธรรม คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อยังความไม่เสื่อมให้แก่ผู้ปฏิบัติ มีแต่เจริญถ่ายเดียว ฯ
ข้อ ๑ ความว่า หมั่นประชุมเนือง ๆ ฯ
ข้อ ๔ ความว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้นเชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ฯ
กุหลาบแดง๓๙. มรรคมีองค์แปดจัดเข้าในสิกขา ๓ ได้หรือไม่ ถ้าได้จงจัดมาดู
ตอบ ได้ จัดดังนี้ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในปัญญาสิกขาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลสิกขาสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตสิกขา ฯ
กุหลาบแดง๔๐. พาหุสัจจะ เป็นอริยทรัพย์อย่างหนึ่งนั้น อธิบายอย่างไร
ตอบ อธิบายว่า พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามากนั้น ได้ชื่อว่าอริยทรัพย์ เพราะเป็นเหตุให้ได้อิฏฐผล มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และไมตรีเป็นต้น ทั้งไม่เป็นภาระแก่เจ้าของ และที่ดีพิเศษกว่าทรัพย์สินเงินทองทั่วไป คือยิ่งใช้ยิ่งมี ฯ

กุหลาบแดง๔๑. ในมรรคมีองค์ ๘ คำว่า “เพียรชอบ” คือเพียรอย่างไร
ตอบ คือ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๑, เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๑,เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๑, เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ๑ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๒. ทรัพย์ประเภทไหน เรียกว่าอริยทรัพย์ ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร
ตอบ ทรัพย์ที่เรียกว่าอริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง ได้แก่
๑. สัทธา เชื่อในสิ่งควรเชื่อ
๒. สีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓. หิริ ความละอายต่อบาป
๔. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามาก
๖. จาคะ การสละสิ่งของ และความสุขส่วนตัว แก่คนที่ควรให้
๗. ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะเป็นคุณธรรมเครื่องบำรุงจิตให้อบอุ่น ไม่ต้องกังวล
เดือดร้อน เป็นทรัพย์อันประเสริฐ ไม่มีตัวตน โจรลักไม่ได้ ใช้เท่าใดไม่ต้องกลัวหมดสิ้นและยังประโยชน์สุขทั้งชาตินี้ ชาติหน้า ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๓. โลกธรรม คืออะไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรพิจารณาอย่างไร
ตอบ คือ ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกอยู่ และสัตวโลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น ฯในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๔. มละ คืออะไร เป็นศิษย์ได้ดีและทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร
ตอบ มละ คือมลทิน ฯ
จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ

 

ปัญหาวิชาคิหิปฏิบัติ


เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๕. คิหิปฏิบัติ คืออะไร หมวดธรรมต่อไปนี้ คือ อิทธิบาท ๔, สังคหวัตถุ ๔,
อธิษฐานธรรม ๔, ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔, ปาริสุทธิศีล ๔ หมวดไหนมีในคิหิปฏิบัติ (๔๙)
ตอบ คือ หลักปฏิบัติของคฤหัสถ์ ฯสังคหวัตถุ ๔ และ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ มีในคิหิปฏิบัติ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๖. เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว ควรทำอะไรบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ในโภคทรัพย์ที่ได้มานั้น
ตอบ ควรทำ
๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
๓. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ
๔. ทำพลี ๕ อย่าง คือ
๔.๑ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
๔.๒ อติถิพลี ต้อนรับแขก
๔.๓ ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔.๔ ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากร เป็นต้น
๔.๕ เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
๕. บริจาคทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๗. มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข พระพุทธศาสนาแสดงความสุขของผู้ครองเรือนไว้อย่างไร
ตอบ แสดงไว้ ๔ อย่าง คือ สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ ๑, สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค ๑, สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้ ๑, สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ๑ ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๘. กรรมกิเลส คืออะไร มีอะไรบ้าง สิ่งที่ตรงกันข้ามกรรมกิเลส คืออะไร
ตอบ กรรมกิเลส คือ การกระทำที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง มี ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ พรากชีวิตผู้อื่น
๒. อทินนาทาน การลักทรัพย์ผู้อื่น
๓. กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติล่วงประเวณีในบุคคลที่มีผู้หวงแหน
๔. มุสาวาท การโกหกสิ่งที่ตรงข้ามกรรมกิเลส คือ
๑. เมตตา กรุณา ปล่อยนก ปล่อยปลา
๒. ทาน สัมมาอาชีวะ ให้ทาน ประกอบอาชีพสุจริต
๓. กามสังวร มีความสำรวมในกาม
๔. สัจจวาจา พูดความจริง
เกาะที่มีต้นปาล์ม๔๙. อบายมุข ๔ มีอะไรบ้าง เที่ยวกลางคืนมีโทษอย่างไร
ตอบ อบายมุข ๔ หรือ ปากทางแห่งความเสื่อม มีดังนี้
๑. ความเป็นนักเลงผู้หญิง
๒. ความเป็นนักเลงสุรา
๓. ความเป็นนักเลงพนัน
๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร ข้อนี้สำคัญที่สุด เพราะคนพาลจะชักชวนไปในอบายมุขอื่น ๆ ฯ
เที่ยวกลางคืนมีโทษดังนี้
๑. ชื่อว่าไม่รักตัว
๒. ชื่อว่าไม่รักครอบครัว
๓. ชื่อว่าไม่รักษาสมบัติ
๔. เป็นที่ระแวงสงสัยของผู้อื่น
๕. มักถูกใส่ความ
๖. ได้รับความลำบาก ฯ

กุหลาบแดง๕๐. บุคคลจะได้รับประโยชน์ปัจจุบัน จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมอะไร
ตอบ บุคคลจะได้รับประโยชน์ปัจจุบัน จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรม ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ได้แก่
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจการงานการศึกษาเล่าเรียน ในการทำธุระหน้าที่ของตน
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ทั้งทรัพย์และการงานไม่ให้เสื่อมไป
๓. กัลยาณมิตตา คบบัณฑิต ไม่คบคนชั่ว
๔. สมชีวิตา เลี้ยงชีพตามสมควรแก่ฐานะ และกำลังทรัพย์ที่หาได้ ฯธรรม ๔ อย่างนี้ ชื่อว่าหัวใจเศรษฐี ก็เรียก ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๕๑. มิตรแท้ มี ๔ จำพวก คือใครบ้าง
ตอบ มิตรแท้ ๔ จำพวก ได้แก่
๑. มิตรให้อุปการะ
๒. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
๓. มิตรแนะประโยชน์ ดีที่สุด อาจแนะได้ทั้งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและอาจถึงนิพพานสมบัติ มิตรอื่นได้แค่ มนุษย์สมบัติ
๔. มิตรมีความรักใคร่
กุหลาบแดง๕๒. ข้อว่า “แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้” ดังนี้ เป็นลักษณะของมิตรแท้ ประเภทใด
ตอบ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ฯ
กุหลาบแดง๕๓. สมบัติ ยศ อายุ ท่านว่าเป็นผลที่สมหมายยาก ธรรมอะไร จึงจะได้สมหมาย
ตอบ สมบัติ ยศ อายุ จะเป็นผลที่สมหมายจากการปฏิบัติ ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย
๔ ได้แก่
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๕๔. นาย ก เป็นผู้ฉลาดในการเล่นพนันฟุตบอล เขาหวังให้นาย ข ผู้เป็นเพื่อนมีเงินทองไว้ก่อร่างสร้างตัว จึงชักชวน นาย ข ให้เล่นด้วย นาย ก จัดเข้าใน
ประเภทมิตรแนะประโยชน์ได้หรือไม่ เพราะเหตุไร

ตอบ ไม่ได้ ฯ เพราะ นาย ก กำลังชักชวนในทางฉิบหาย ผิดลักษณะมิตรแนะประโยชน์ ฯ
กุหลาบแดง๕๕. บุคคลผู้สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นไว้ได้ เพราะตั้งอยู่ในธรรมอะไร ตอบ บุคคลผู้สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นไว้ได้ เพราะตั้งอยู่ในสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่
๑. ทาน การแบ่งปันแก่ผู้ควรได้รับ
๒. ปิยวาจา การโอภาปราศรัยด้วยวาจาสุภาพ เรียบร้อย ไพเราะ พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. อัตถจริยา การปฏิบัติตนให้เรียบร้อย ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตตา การเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตน วางตัวเหมาะสมแก่กาลเทสะ ฯ
เกาะที่มีต้นปาล์ม๕๖. ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นานเพราะเหตุไร
ตอบ ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นาน เพราะสถาน ๔ ได้แก่
๑. แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
๒. บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
๓. รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
๔. ตั้งสตรี หรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นแม่เรือน พ่อเรือน
กุหลาบแดง๕๗. ฆราวาสผู้ครองเรือน ตั้งอยู่ในธรรมข้อใด (๔๙)
ตอบ ฆราวาสผู้ครองเรือน ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ ได้แก่
๑. สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน
๒. ทมะ ความอดกลั้น ข่มใจ
๓. ขันติ ความอดทน
๔. จาคะ เสียสละของหรือความสุขส่วนตัวแก่ผู้ที่ควรให้

กุหลาบแดง๕๘. คฤหัสถ์แสวงหาโภคทรัพย์โดยทางที่ชอบนั้น คือทางใด จงอธิบาย
ตอบ คฤหัสถ์แสวงหาโภคทรัพย์โดยทางที่ชอบนั้น คือ ทางสุจริต ยึดศีล ๕ เป็นหลักธรรมประจำใจ กิจการใด ๆ นั้นสมควรหาโทษไม่ได้ ดังนี้ ต้องไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ๑, ไม่ทุจริตฉ้อโกง ลักทรัพย์ ๑, ไม่ล่วงประเวณี ๑, ไม่โป้ปดมดเท็จเพื่อประโยชน์ส่วนตน ๑, และไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดมึนเมา ๑ แล้วเว้นจากมิจฉาวณิชชา ๕ ด้วย
เกาะที่มีต้นปาล์ม๕๙. จงเขียนศีล ๕ พร้อมทั้งคำแปลมาดู
ตอบ ศีล ๕ มีดังนี้
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์ของผู้อื่น
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการละเมิดประเวณี
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการกล่าวเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุราของมึนเมาสิ่งเสพติดทุกประเภท
เกาะที่มีต้นปาล์ม๖๐. การค้าขายสุรา เป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นไว้อย่างไร
ตอบ ทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นมิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม เป็นข้อห้าม
อุบาสกไม่ควรประกอบ ฯ
กุหลาบแดง๖๑. อุบาสก อุบาสิกา ควรเว้นค้าขายที่ไม่ชอบธรรม อะไรบ้าง
ตอบ อุบาสก อุบาสิกา ควรเว้นค้าขายที่ไม่ชอบธรรม หรือ มิจฉาวณิชชา ๕ ดังนี้
       ๑. เว้นจากการค้าอาวุธ
       ๒. เว้นจากการค้ามนุษย์
       ๓. เว้นจากการค้าสัตว์เพื่อฆ่า
       ๔. เว้นจากการค้าสิ่งเสพติด
       ๕. เว้นจากการค้ายาพิษ ฯ

กุหลาบแดง๖๒. การค้าขายสัตว์เพื่อเอาไปฆ่าเป็นอาหาร เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต
หรือไม่ เพราะเหตุไร อุบาสกควรปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้
ตอบ ไม่ผิด ฯ เพราะไม่ได้เป็นผู้ฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า ฯอุบาสกควรเว้นการค้าขายชนิดนี้เสีย ฯ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๖๓. สมบัติ และ วิบัติ ของอุบาสกอุบาสิกามีอะไรบ้าง
ตอบ สมบัติ ของอุบาสกอุบาสิกา มี ๕ ประการ ได้แก่
       ๑. เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
       ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล รักษาศีลสม่ำเสมอตามสถานะของตน
       ๓. เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่ตื่นมงคล
       ๔. ไม่แสวงหาบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา
       ๕. หมั่นทำบุญในเขตพระพุทธศาสนา
วิบัติ ของอุบาสกอุบาสิกา มี ๕ ประการ ได้แก่
     ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
     ๒. เป็นผู้ทุศีล
     ๓. ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ตื่นมงคล
     ๔. แสวงหาบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา
     ๕. ขวนขวาย แสวงหา ทำบุญนอกเขตพระพุทธศาสนาก่อน
เกาะที่มีต้นปาล์ม๖๔. ทิศ ๖ ในคิหิปฏิบัติ มีอะไรบ้าง แต่ละทิศหมายถึงใคร
ตอบ

      ๑. ทิศเบื้องหน้า หมายถึง มารดาบิดา
      ๒. ทิศเบื้องขวา หมายถึง อาจารย์
      ๓. ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตรภรรยา
      ๔. ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง มิตร
      ๕. ทิศเบื้องต่ำ หมายถึง บ่าว
      ๖. ทิศเบื้องบน หมายถึง สมณพราหมณ์ ฯ

 

เกาะที่มีต้นปาล์ม๖๕. คฤหัสถ์และบรรพชิต มีหน้าที่จะพึงปฏิบัติแก่กันและกันอย่างไรบ้าง (๔๗)
ตอบ คฤหัสถ์ควรบำรุงบรรพชิตด้วยการทำ การพูด การคิดประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน ด้วยให้อามิสทาน ส่วนบรรพชิตควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดีอนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ทำสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่มบอกทางสวรรค์ให้ ฯ
กุหลาบแดง๖๖. อบายมุข คืออะไร ดื่มน้ำเมามีโทษอย่างไรบ้าง
ตอบ อบายมุข คือ ปากทางแห่งความเสื่อม หรือเหตุเครื่องฉิบหาย ดื่มน้ำเมามีโทษ
ดังนี้
     ๑. เป็นเหตุให้เสียทรัพย์
     ๒. เป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท
     ๓. เป็นเหตุแห่งโรคร้าย
     ๔. เป็นเหตุให้ถูกตำหนิติเตียน
     ๕. เป็นเหตุให้กลายเป็นคนไม่ละอาย
     ๖. เป็นเหตุบั่นทอนปัญญา ฯ
                                  สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
                  ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์. ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.
                                    ขนฺติ หิตสุขาวหา.
                ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข. ส. ม.

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons