วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พุทธประวัติโดยย่อ น.ธ.ตรี

DSC08813พุทธประวัติโดยย่อตามแนวข้อสอบสนามหลวง
พระโคตรของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ ศากยะ มีพระเจ้าโอกกากราชเป็นปฐมกษัตริย์ มีพระราชบุตร ๔ พระองค์ พระราชบุตรี ๕ พระองค์ ครั้งหนึ่งสมัยที่พระมเหสีองค์แรกทิวงคตแล้ว พระบาทท้าวเธอได้มีมเหสีใหม่ แลมเหสีใหม่ได้ประสูติพระราชบุตร ยังความปลื้มปีติเป็นอันมาก จึงพลั้งปากให้พรแก่พระนาง ๑ ข้อซึ่งพระนางก็ได้ทูลขอพระราชสมบัติแก่พระราชโอรส พระเจ้าโอกกากราชยับยั้งอยู่หลายเพลา แต่ไม่เป็นผล จำต้องรักษาสัจจะของกษัตริยาธิราช จึงให้พระราชบุตรอันเกิดแต่พระมเหสีองค์แรกเสด็จไปสร้างเมืองใหม่ ในดงไม้สักกะ ที่อยู่แห่งกบิลดาบส
จึงตั้งชื่อนครว่า “กบิลพัสดุ์” แล้วอภิเษกสมรสกันเอง เว้นแต่พระเชฏฐภคินี ได้มีจิตปฏิพัทธ์กับพระเจ้ากรุงเทวทหะ เมื่อได้อภิเษกสมรสกันแล้วได้ตั้งโกลิยวงศ์สืบมา ครั้นสร้างเมืองสำเร็จแล้ว พระเจ้าโอกกากราชทราบความสำเร็จนี้ และการอภิเษกกันเองของพระราชบุตร พระราชธิดาเพื่อคงขัตติยะโลหิตมิให้จางเจือจึงอุทานว่า สักกาแปลว่า สามารถยิ่งแล้วหนอ จึงได้ชื่อว่า สักกชนบท สืบมาลำดับพระโคตรที่สำคัญ ของสิทธัตถราชกุมารนั้นอาจย้อนไปถึงพระเจ้าชัยเสนะ(พระไปยกา(ทวด)) ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ มีพระราชบุตร ๑ พระราชบุตรี ๑ได้แก่ สีหหนุ(พระอัยกา(ปู่)) และ ยโสธรา ตามลำดับ เมื่อพระเจ้าชัยเสนะสวรรคตแล้ว สีหหนุกุมารได้ครองราชย์ต่อ อภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนา(พระอัยยิกา(ย่า)) มีพระราชบุตร ๕ พระองค์ ได้แก่ สุทโธทนะ ๑ (พระชนก(พ่อ)), สุกโกทนะ ๑,อมิโตทนะ ๑, โธโตทนะ ๑, และ ฆนิโตทนะ ๑ มีพระราชบุตรี ๒ พระองค์ ได้แก่ปมิตา ๑ และ อมิตา ๑ ส่วนพระนางยโสธรา (พระอัยยิกา(ยาย)) ไปเป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าอัญชนะ (พระอัยกา(ตา)) มีพระราชบุตร ๒ พระองค์ ได้แก่ สุปปพุทธะ ๑และ ทัณฑปาณิ ๑ มีพระราชบุตรี ๒ พระองค์ ได้แก่ มายา ๑ (พระชนนี(แม่)) และปชาบดี ๑ ภายหลังเมื่อพระเจ้าสีหหนุสวรรคตแล้ว สุทโธทนะกุมารก็ขึ้นครองราชย์ มีพระนางมายาเป็นมเหสี ประสูติสิทธัตถะโอรส ใต้ต้นสาละ ในอุทยานลุมพินีวันระหว่างทางกรุงกบิลพัสดุ์ กับ กรุงเทวทหะ วันศุกร์ เพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) ปีจอ
ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี เวลาสายใกล้เที่ยง

262129_198002336916982_100001216522700_626071_6370412_nเมื่อประสูติได้ ๓ วัน อสิตดาบส หรือกาฬเทวิลดาบสผู้เป็นที่นับถือของพระเจ้าสุทโธทนะ ทราบข่าวการประสูติของกุมารก็มาเยี่ยม เห็นลักษณะถูกต้องตามตำหรับมหาบุรุษลักษณะจึงอภิวาทพระราชโอรส และกล่าวทำนายเป็น ๒ ลักษณะ คือถ้าครองเพศฆราวาสก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ถ้าครองเพศบรรพชิตก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก พระเจ้าสุทโธทนะเห็นดาบสที่ตนนับถืออภิวาทบุตรของตน ก็บังเกิดความนับถือพระราชโอรสเป็นอันมากเมื่อประสูติได้ ๕ วัน ก็ให้ประชุมพระญาติ เชิญพราหมณ์มา ๑๐๘ คน มาฉันโภชนาหาร แล้วขนานพระนามว่า “สิทธัตถราชกุมาร” คัดเลือกจนเหลือพราหมณ์
๘ คน ให้ทำนายลักษณะ ก็ทำนายเป็น ๒ ลักษณะเช่นเดียวกับอสิตดาบส มีเพียงโกญฑัญญพราหมณ์คนเดียวที่ทำนายเป็นทางเดียวว่า จะได้ออกบวชเป็นศาสดาเอกของโลกเมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายา ก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะจึงมอบพระราชโอรสให้พระนางปชาบดีโคตมีเลี้ยงสืบมา พระนางเองภายหลังก็มีพระราชบุตรของตนทรงพระนามว่า “นันทกุมาร” และมีพระราชบุตรี ทรงนามว่า“รูปนันทา”
เมื่อพระชนมายุได้ ๗ ชันษา พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบกขรณีขึ้น ๓ สระปลูกอุบลบัวขาบสระ ๑, ปลูกประทุมบัวหลวงสระ ๑, ปลูกบุณฑริกบัวขาวสระ ๑ เมื่อเจริญจนควรศึกษาศิลปวิทยาได้ ก็มอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร พระราชกุมารเรียนรู้จนสิ้น เมื่อคราวเข้าร่วมพิธีแรกนาขวัญ ทรงนั่งอยู่โดดเดี่ยว เจริญอานาปานสติ บรรลุปฐมฌาน เกิดเหตุอัศจรรย์เงาต้นหว้าไม่เคลื่อนตามพระอาทิตย์ พระราชบิดาทรงทราบ จึงเสด็จมาถวายบังคม

เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษา ก็ได้พระนางยโสธรา (พระนางพิมพา) พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระนางอมิตา กับ พระเจ้าสุปปพุทธะ เจ้ากรุงเทวทหนคร เป็นชายาพระราชบิดาทรงสร้างประสาท ๓ ฤดูบำรุงบำเรอสุดความสามารถให้เพลิดเพลินในกามสุข อยู่มาจนมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา มีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า“ราหุลกุมาร ตามคำอุทานว่า “ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ” ซึ่งแปลว่า บ่วงเกิดแล้วหนอสิทธัตถะราชกุมารมีพระญาติรุ่นราวคราวเดียวกันตามลำดับดังนี้ “อานันทะ” โอรสพระเจ้าสุกโกทนศากยะ, “มหานามะ” และ “อนุรุทธ” กับ “โรหิณี” โอรสและธิดาพระเจ้าอมิโตทนศากยะ, “เทวทัต” กับ “ยโสธรา” ราชบุตรและราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตาต่อมาได้ทรงเห็น เทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และ สมณะ เกิดธรรมสังเวชว่า แม้เราจะมีอำนาจวาสนา ก็มิอาจพ้น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไปได้ จึงรู้สึกพอใจในเพศสมณะ คืนหนึ่งตื่นบรรทมขึ้นมากลางดึก แลเห็นนางสนมนอนสิ้นสมประดี กลาดเกลื่อนท้องพระโรงประดุจกองซากศพในป่าช้า เกิดความเบื่อหน่ายถึงที่สุด จึงหนีออกบวชเวลากลางคืน ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จ ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละจึงใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลี ครองเพศบรรพชิตแต่บัดนั้น

img15โกณฑัญญพราหมณ์ทราบข่าวมหาบุรุษออกผนวชสมดังคำที่ตนทำนาย จึงชักชวนบุตรของพราหมณ์ออกบวชติดตามมหาบุรุษ มี วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ ชื่อว่า ปัญจวัคคีย์ หรือ เบญจวัคคีย์แปลว่า พวก ๕ ดังนี้

หลังจากได้เสวยบรรพชาสุข ณ อนุปิยอัมพวัน เป็นเวลา ๗ วัน จึงเสด็จเข้าบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทราบความ จึงเสด็จมาเชื้อเชิญให้ครองราชย์ร่วมกัน แต่มหาบุรุษปฏิเสธว่า ทรัพย์ในโลก และกามสุขมิใช่สิ่งที่พระองค์
ต้องการ พระองค์ออกบวชเพื่อสัพพัญญุตญาณ ลำดับนั้นพระเจ้าพิมพิสารบังเกิดความเลื่อมใส ทูลขอปฏิญญาว่า “ถ้าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ขอได้โปรดเสด็จมาแสดงธรรมโปรดข้าพระองค์ด้วย” พระมหาบุรุษทรงรับปฏิญญานั้นเมื่อออกบวชแล้วก็ได้ไปฝึกฝนหาวิชาความรู้ในสำนักที่มีชื่อเสียงมากสมัยนั้นคือ สำนักของ อาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร บรรลุฌานสมาบัติ ๗ และ ๘ คือ อากิญจัญญายตนฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอาจารย์ทั้งสองชวนให้อยู่ที่สำนัก สั่งสอนศิษย์ต่อไป แต่มหาบุรุษปฏิเสธ คิดว่านี่ยังมิใช่ที่สุดของธรรม มิใช่ทางแห่งสัพพัญญุตญาณ จึงออกจากสำนักเข้าบำเพ็ญพรต
ด้วยตนเองในป่า ณ อุรุเวลาเสนานิคม ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยมีวิธีบำเพ็ญดังนี้กดพระทนต์(ฟัน)ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ(เพดานปาก)ด้วยพระชิวหา(ลิ้น)ไว้ให้แน่นจนพระเสโท(เหงื่อ)ไหลออกจากพระกัจฉะ(รักแร้) ๑, กลั้นลมหายใจ อัสสาสะปัสสาสะ จนเกิดเสียงอื้อในช่องพระกรรณ(หู)ทั้งสอง ปวดพระเศียรเป็นกำลัง ๑, อดพระกระยาหารจนพระฉวีวรรณเศร้าหมอง ทรงซูบผอมเหลือแต่พระตะโจ(หนัง) หุ้มพระอัฐิ(กระดูก) จนเมื่อลูบพระวรกาย เส้นพระโลมา(ขน)หลุดติดพระหัตถ์(มือ) ๑ครั้นบำเพ็ญอยู่ ๖ ปี มิได้บรรลุธรรมวิเศษอะไร วันหนึ่งท้าวสักกเทวราชทราบดำริของมหาบุรุษแล้ว จึงทรงดีดพิณให้มหาบุรุษสดับ เส้นหนึ่งตึงเกินไป ไม่นานก็ขาด เส้นหนึ่งหย่อนเกินไปก็ไม่เป็นเสียง อีกเส้นหนึ่งขึงพอดี ๆ เสียงก็ไพเราะจับใจ มหาบุรุษได้สดับแล้วก็นำมาเทียบกับการปฏิบัติของตน เกิดปัญญา ยึดเอามัชฌิมาปฏิปทาเป็นที่ตั้ง เพลาเช้าจึงเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อฉันพระกระยาหาร จะได้มีกำลังเพื่อการบำเพ็ญทางจิตต่อไป

img40เหล่าปัญจวัคคีย์เห็นมหาบุรุษเสด็จออกบิณฑบาตเช่นนั้น ก็คิดว่า มหาบุรุษสิ้นความเพียรเสียแล้ว กลายเป็นผู้มักมากไปเสียแล้ว จึงพากันหนี ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันรุ่งเช้า วันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระมหาบุรุษประทับนั่ง ณใต้ต้นไทรนามว่า อชปาลนิโครธ นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐี แห่งอุรุเวลาเสนานิคมได้นำข้าวมธุปายาสมาถวาย พระมหาบุรุษทรงปั้นได้ ๔๙ ก้อน แล้วเสวยจนหมดแล้วนำถาดไปเสี่ยงทายในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานว่า “แม้ข้าพเจ้าจักได้ตรัสรู้
พระสัพพัญญุตญาณ ขอให้ถาดนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำ” ด้วยอำนาจแห่งพระโพธิญาณ ถาดทองคำก็ลอยทวนน้ำขึ้นไป ประมาณ ๘๐ ศอกแล้วจมลงสู่นาคพิภพของพญากาฬนาคราช มหาบุรุษบังเกิดความมั่นใจ สรงน้ำ พักผ่อน จนเพลาเย็นครั้นแล้วก็นำหญ้าคา ๘ กำ ที่โสตถิยพราหมณ์มีศรัทธาถวายระหว่างทาง ปูที่
โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า“ถ้ายังมิได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด จักไม่เสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์เพียงนั้น ถึงแม้เนื้อ และเลือดจักเหือดแห้งไปก็ตามที” แล้วทรงตั้งกายตรงดำรงพระสติมั่นอยู่
เพลานั้น พระยาวสวัตดีมาร เกรงมหาบุรุษจะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ จักพ้นไปจากอำนาจ จึงนำเหล่าเสนามารมาผจญ พระมหาบุรุษทรงรำลึกถึงบารมี ๑๐ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตาอุเบกขา ที่ตนได้ทำมา แล้วให้นางวสุนธราแม่พระธรณีมาเป็นสักขีพยาน นางบีบน้ำ
ออกจากมวยผม เป็นน้ำที่มหาบุรุษได้กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลแล้วในอดีตกาล ปรากฏเป็นกระแสน้ำหลากยิ่งกว่า มหาสมุทรทั้ง ๔ พัดพาเอาพระยามารและเสนาพ่ายกลับไป ครั้นพระยามารหนีกลับไปแล้ว ก็ทรงดำรงจิตมั่นบรรลุพระญาณตามลำดับดังนี้

ปฐมยาม บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ไม่จำกัด

มัชฌิมยาม บรรลุจุตูปปาตญาณ หยั่งรู้การเกิดตายของสรรพสัตว์ ไม่มีประมาณ
ปัจฉิมยาม บรรลุอาสวักขยญาณ หยั่งรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ
มรรค ทำให้หมดสิ้นซึ่งอาสวะ กิเลสทั้งปวงเมื่อได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเสวยวิมุตติสุข อยู่ ๗ สัปดาห์สัปดาห์และแห่ง ได้แก่สัปดาห์ที่ ๑ ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์สัปดาห์ที่ ๒ ประทับยืนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรงเพ่งดูรัตนบัลลังก์ที่ตรัสรู้ ไม่กระพริบตาเลยตลอด ๗ วัน เรียกว่า อนิมิสเจดีย์สัปดาห์ที่ ๓ ทรงเนรมิตที่จงกรมระหว่าง อนิมิสเจดีย์ กับต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วเสด็จจงกรม ณ ที่นั้น ตลอด ๗ วัน เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์สัปดาห์ที่ ๔ ทรงประทับ ณ เรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตถวาย อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด ๗วัน เรียกว่า รัตนฆรเจดีย์สัปดาห์ที่ ๕ ทรงประทับ ณ โคนต้นไทร อชปาลนิโครธ ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพราหมณ์หุหุกชาติคนหนึ่งมาสนทนาด้วยและมีธิดามาร ๓ นางคือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี มายั่วยวนพระศาสดา แต่พระองค์ขับไล่เสีย

img22สัปดาห์ที่ ๖ ทรงประทับนั่งในท่าขัดสมาธิ ใต้ต้นจิก อันมีนามว่า มุจจลินท์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เสวยวิมุตติอยู่ตลอด ๗ วัน เพลานั้นมีฝนตกตลอด พระยานาคมุจจลินท์มีความเลื่อมใส จึงมาขดขนดครอบพระองค์ ๗ รอบ แผ่พังพานเหนือพระเศียร กันลมฝนสัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับนั่งใต้ต้นเกด ราชายตนะ อยู่ทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพ่อค้าชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางผ่านมา จึงนำข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนมาน้อมถวาย พระพุทธเจ้าทรงรับภัตตาหารด้วยบาตรที่ ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔นำมาถวาย อธิษฐานเป็นบาตรใบเดียว ทรงสนทนาด้วย จนเขาทั้งสองมีความศรัทธาขอถึงพระพุทธ และพระธรรม เป็นสรณะตลอดชีวิต จึงเรียกอุบาสกคู่แรกผู้ถึงรัตนะ
๒ คือ พระพุทธ และ พระธรรมว่า เทฺววาจิกอุบาสก
ผ่านสัปดาห์ที่ ๗ ไปแล้ว พระองค์เสด็จประทับที่ใต้ต้นไทร อชปาลนิโครธอีกครั้ง คิดทบทวนถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ เห็นว่า เป็นธรรมที่มีผู้รู้ตามได้ยากยิ่ง จึงน้อมพระทัยไปในทางไม่เผยแผ่ธรรมที่ทรงบรรลุแต่อย่างใด ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระดำริ จึงทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ดังนี้พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ สนฺตีธสตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ

พระองค์ทรงพิจารณาอุปนิสัยของเวไนยสัตว์แล้ว จึงเปรียบกับบัว ๔ เหล่าดังนี้๑. อุคฆฏิตัญญู บัวพ้นน้ำ ได้แก่ ผู้ที่มีธุลีกิเลสในตาน้อย แม้ได้สดับธรรมเพียงย่อ ๆ ก็ดวงตาเห็นธรรม๒. วิปจิตัญญู บัวเสมอน้ำ ได้แก่ ผู้ที่มีกิเลสปานกลาง แม้ได้สดับธรรมโดยพิสดารแล้ว ก็อาจดวงตาเห็นธรรม๓. เนยยะ บัวใต้น้ำ ได้แก่ผู้ที่มีปัญญาพอที่จะบรรลุธรรมได้ เมื่อฟังธรรมบ่อย ๆ ก็จะเห็นธรรมในวันต่อ ๆ ไป๔. ปทปรมะ บัวใต้ตม ได้แก่ผู้มีปัญญาด้อย อาจบรรลุธรรมได้ในชาติต่อ ๆไปลำดับนั้นจึงดำริว่าจะเสด็จไปโปรด อาฬารดาบส กาลามโคตร กับ อุทกดาบส รามบุตร ผู้อาจารย์ ทว่าท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงดำริถึงปัญจวัคคีย์ซึ่งหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ระหว่างทางได้พบอุปกาชีวกเดินสวนทางมา เห็นพระฉวีวรรณผ่องใสน่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงทูลถามว่า “อินทรีย์ท่านผ่องใสนัก ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นครูของท่าน ท่านพอใจธรรมของใคร” พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ตถาคตเป็นผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีใครเป็นครู ไม่ได้พอใจธรรมของใคร” อุปกาชีวกไม่เชื่อจึงหลีกไปเมื่อไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหล่าปัญจวัคคีย์เห็นพระพุทธองค์เสด็จมา ก็ตกลงกันว่าจะไม่ลุกต้อนรับ เพราะพระองค์กลายเป็นผู้มักมากเสียแล้ว ครั้นเข้ามาใกล้ด้วยความเคยชิน ก็ลุกขึ้นต้อนรับเช่นที่เคยปฏิบัติมา แต่เชื้อเชิญโดยออกพระนาม และใช้สัพพนามแทนพระองค์ว่า“อาวุโส” (ใช้เรียกผู้ที่มีอายุน้อยกว่า)

พระองค์จึงตรัสเตือนถึง ๓ ครั้งว่า “พวกเธออย่าเรียกตถาคตเช่นนั้นเลยตถาคตได้ตรัสรู้เองโดยชอบเป็นพระอรหันต์แล้ว ขอจงเงี่ยโสตสดับฟังธรรมเถิด”เหล่าปัญจวัคคีย์ก็ไม่เชื่อทูลคัดค้านทั้ง ๓ วาระ จนพระองค์ต้องตรัสเตือนว่า “ท่านทั้งหลาย ยังจำได้อยู่หรือว่า ตถาคตเคยตรัสอย่างนี้มาในกาลก่อน”ปัญจวัคคีย์พิจารณาแล้วเห็นว่า ตลอด ๖ ปี ที่ติดตามอุปัฏฐาก พระองค์มิได้เคยตรัสเช่นนี้เลยจึงละทิฏฐิตั้งใจสดับฟังธรรมเมื่อปัญจวัคคีย์ละทิฏฐิแล้ว พระองค์จึงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีเนื้อความโดยย่อคือ ธรรมส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรเสพ ๒ ประการ คือ กามสุขัลลิกานุโยค การตั้งอยู่ในกามอย่างยิ่ง ๑ แล อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนอย่างยิ่ง ๑ควรปฏิบัติตามแนวมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายกลาง แลแสดงมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ,สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, และ สัมมาสมาธิ เป็นที่สุด แลแสดงอริยสัจ ๔ตามลำดับไปจนจบ แสดงจบ โกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผลพระพุทธเจ้าได้ทราบว่า พระโกณฑัญญะบรรลุธรรมแล้ว จึงอุทานว่า “อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญ” แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ จึงได้ชื่อว่า พระอัญญาโกณฑัญญะแต่นั้น โกณฑัญญะทูลขออุปสมบท พระองค์ทรงประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาว่า “จงมาเป็นภิกษุเถิด” ดังนี้ พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นภิกษุรูปแรกในบวรพุทธศาสนา แลวันนี้จึงเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงเรียกว่า “วันอาสาฬหบูชา” ส่วนสหายคนอื่น ๆ ได้ทูลขออุปสมบทและบรรลุโสดาปัตติผลในวันต่อ ๆ มาครั้นถึงวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ พระองค์ได้แสดง อนัตตลักขณสูตร ภิกษุทั้ง ๕ก็บรรลุอรหัตตผล รวมมีพระอรหันต์ขณะนั้น ๖ องค์

img34พรรษาแรก พระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั่นเอง วันหนึ่ง ยสกุลบุตร ผู้บิดาสร้าง ปราสาท ๓ ฤดู ไว้ปรนเปรอ เกิดความเบื่อหน่ายในกามสุข แลไปเห็นนางบำเรอหลับใหลไม่ได้สติ บ้างผ้าหลุด บ้างกรน บ้างกัดฟัน บ้างน้ำลายไหล บังเกิดอสุภะนิมิต เห็นเป็นซากศพ ยังความเบื่อหน่ายเป็นล้นพ้น จึงหนีออกมากลางดึก รำพันว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”พระพุทธเจ้าตรวจดูอุปนิสัยสัตว์แต่เช้าตรู่ จึงแกล้งมาเดินจงกรมอยู่ สดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ” ยสกุลบุตรได้สดับดังนั้น
แล้ว เกิดความพอใจ จึงถอดรองเท้าเข้าไปนมัสการพระพุทธองค์ เมื่อนั้นพระองค์จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา ความโดยย่อกล่าวถึง อานิสงส์ของ การให้ทาน การรักษาศีลสวรรค์ โทษของกามสุขบนสวรรค์ การออกจากกาม (ทาน สีล สวรรค์ กามาทีนพเนกขัมมานิสงส์) ยสกุลบุตรได้สดับแล้วบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นเศรษฐีผู้บิดาออกตามหา มาพบรองเท้าก็จำได้ จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธองค์จึงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ เศรษฐีผู้บิดาฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส ขอเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ตลอดชีวิต ถือเป็นอุบาสกคนแรกของพระศาสนา ส่วนยสกุลบุตรน้อมใจสดับตาม ใจก็พลันหลุดจากอาสวะกิเลส อุปาทานทั้งหลาย บรรลุอรหัตตผล รวมขณะนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นบนโลก๗ องค์ วันรุ่งขึ้นเศรษฐีได้อาราธนาพระพุทธเจ้าไปฉันภัตตาหารที่เรือนของตน เมื่อเสด็จถึง พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ให้มารดา แลภรรยาเก่าของ พระยสะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลเช่นกัน ต่อมาสหายของพระยสะ ๔ คน ได้แก่วิมละ ๑, สุพาหุ ๑, ปุณณชิ ๑ และ ควัมปติ ๑ มาหาพระยสะ ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม แลได้บรรลุอรหัตตผลทั้งสิ้น รวมมีพระอรหันต์ขณะนั้น ๑๑ องค์กาลต่อมา สหายขอพระยสะอีก ๕๐ คน ก็มาหาพระยสะ ได้ฟังธรรม ก็บรรลุอรหัตตผลทั้งสิ้น จึงมีพระอรหันต์เป็น ๖๑ องค์ พระพุทธเจ้าจึงให้พระอรหันตสาวก๖๐ องค์ ออกเผยแผ่พระศาสนา เพื่อประโยชน์ของสรรพสัตว์ เมื่อภิกษุทั้งหลาย

ออกไปเผยแผ่พระศาสนา มีผู้ศรัทธาขออุปสมบทจำนวนมาก ทว่าไม่สามารถบวชด้วยตนเองได้ ต้องพามาอุปสมบทกับพระพุทธเจ้า จึงร่วมกันทูลขออนุญาต พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุบวชกุลบุตรได้เอง โดยให้กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า เป็นสรณะ เรียกว่า ติสรณคมนอุปสัมปทาเมื่อนั้นพระพุทธองค์พำนักอยู่ในกรุงพาราณสีพอควรแล้ว จึงเสด็จสู่ตำบลอุรุเวลา ระหว่างทางพบ ภัททวัคคีย์ หรือ สหาย ๓๐ คน กำลังตามหาหญิงแพศยาที่ลักห่อเครื่องประดับไป เหล่าภัททวัคคีย์จึงทูลถามพระองค์ว่า เห็นหญิงผู้หนึ่งหรือไม่พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสถามกลับว่า “กุมารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะเห็นอย่างไร ท่านจะพึงแสวงหาหญิงนั้นดีกว่า หรือจะพึงแสวงหาตนดีกว่า” เหล่าภัททวัคคีย์ตอบว่า “พึงแสวงหาตนดีกว่า” พระพุทธองค์จึงเชิญให้นั่งลงฟังธรรม ตรัสแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ เหล่าภัททวัคคีย์ก็บรรลุอรหัตตผลทั้ง ๓๐ คน พระพุทธองค์บวชให้ แล้วส่งท่านทั้งหลายไปเผยแผ่พระศาสนาตามทิศนั้น แล้วทรงเสด็จต่อไปถึงตำบลอุรุเวลา อันเป็นที่ตั้งอาศรมของปุราณชฎิล ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ ๑,นทีกัสสปะ ๑ และ คยากัสสปะ ๑ เป็นพวกบูชาไฟ มีบริวาร ๕๐๐, ๓๐๐ และ ๒๐๐ตามลำดับ พระองค์ทรงแสดง อาทิตตปริยายสูตร ความโดยย่อกล่าวถึง อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ อายตนะภายนอก ๖ มี รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนด้วย ราคัคคิ โทสัคคิ โมหัคคิ (ไฟราคะไฟโทสะ ไฟโมหะ) ท่านทั้งหลายจงเพียรเผาไฟกิเลสที่เกิดแต่ใจเถิด เหล่าชฎิลทั้งหลายก็ถึงอรหัตตผล ทูลขออุปสมบททั้ง ๑,๐๐๓ คน สมัยนั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุบริวาร ยับยั้งอยู่ ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมบริวารได้กิตติศัพท์จึงมาเข้าเฝ้า ทูลขอให้แสดงธรรมโปรดพระองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ พระเจ้าพิมพิสารได้บรรลุโสดาปัตติผลข้าราชบริวารได้โสดาปัตติผล ๑๑ ใน ๑๒ ส่วน ที่เหลือขอถึงไตรสรณคมน์ พระเจ้าพิมพิสารทูลอาราธนา ให้พระพุทธองค์พำนักอยู่ในกรุงราชคฤห์เพื่อแสดงธรรมโปรดสัตว์ แลถวายสวนไผ่เวฬุวันอุทยานของพระองค์ เป็นวัดแรกของพระศาสนา ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า

img45ลำดับนั้น อุปติสสะ บุตรของนางสารี และ โกลิตะ บุตรของนางโมคคัลลี บวชอยู่สำนักสัญชัยปริพาชก สองสหายมิได้บรรลุธรรมวิเศษให้พึงพอใจ จึงชวนกันออกหาโมกขธรรม สัญญากันว่า หากใครได้พบก่อน จักรีบมาบอกอีกฝ่ายหนึ่ง อุปติสสะได้มาพบ พระอัสสชิ มีผิวพรรณหมดจด จริยาสงบน่าเลื่อมใส จึงถามว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านสอนว่าอะไร พระอัสสชิตอบว่า “เย ธมฺมา เหตุ ปปฺภวา เตสํเหตุ– ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณติ” ซึ่งแปลเป็นใจความวา่ ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับไปแห่งธรรมนั้น พระองค์มีปกติตรัสอย่างนี้ อุปติสสะ ฟังแล้วดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผล จึงนำธรรมไปกล่าวแก่ โกลิตะ ก็บรรลุธรรมเช่นกัน แล้วจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นได้อุปสมบทแล้ว อุปติสสะ ได้ชื่อว่า พระสารีบุตร โกลิตะ ได้ชื่อว่า พระโมคคัลลานะพระโมคคัลลานะ บวชได้ ๗ วัน บรรลุอรหัตตผล ทรงตั้งให้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เอตทัคคะด้านฤทธิ์ ระหว่างบำเพ็ญเพียร เกิดความง่วง พระพุทธเจ้าเสด็จแสดงอุบาย ๘ ประการ เพื่อระงับความง่วง ได้แก่ มีสัญญาอย่างไร ใส่ใจสัญญานั้นให้มาก ๑, พิจารณาธรรมที่ฟังมาแล้ว ๑, ท่องบ่นธรรมนั้น ๑, ยอนหูทั้งสอง เอามือลูบตัว ๑, ยืนขึ้น เอาน้ำลูบตัว เหลียวซ้ายแลขวา ๑, ใส่ใจถึงแสงสว่าง ๑, เดินจงกรม ๑,และ สำเร็จสีหไสยาสน์ ๑ พร้อมทั้งตรัสสอนให้สำเหนียกในใจอีก ๓ ข้อ คือ เราจักไม่ชูงวง เข้าไปสู่สกุล ๑, เราจักไม่พูดส่อเสียด ๑ และเราจักไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ส่วนพระสารีบุตรบวชได้ ๑๕ วัน ขณะกำลังถวายงานพัดพระพุทธเจ้า ทีฆนขปริพาชกมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ อวดอ้างอย่างมิจฉาทิฏฐิ ๓ ประการ ได้แก่ คนบางพวกว่า สิ่งทั้งหลายควรแก่เรา เราชอบทั้งหมด๑, คนบางพวกว่า สิ่งทั้งหลายไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบทั้งหมด ๑, และ คนบางพวกว่า บางสิ่งควรแก่เรา เราชอบใจ บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ๑ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม เวทนาปริคคหสูตร ทีฆนขปริพาชกบรรลุโสดาปัตติผล พระสารีบุตรบรรลุอรหัตตผล ทรงตั้งให้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เอตทัคคะด้านปัญญา

ครั้งนั้น ปิปผลิมาณพ ตกอยู่ในข่ายพระญาณ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จประทับรอที่ใต้ต้นไทรชื่อว่า พหุปุตตนิโครธ ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เมื่อได้พบพระพุทธองค์จึงได้ขออุปสมบท พระองค์จึงทรงประทานอุปสมบทให้ด้วยการประทานโอวาท ๓ ข้อว่า กัสสปะ ท่านพึงศึกษาเถิดว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และยำเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า, เป็นผู้ปานกลาง และเป็นผู้บวชใหม่ อย่างแรงกล้า ๑, ธรรมใดประกอบด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูตั้งใจสดับ และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น ๑,เราจักไม่ละสติออกจากกาย ๑ เรียกอุปสมบทวิธีนี้ว่า โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา บวชได้ ๘ วันก็บรรลุอรหัตตผล ทรงตั้งให้เป็นผู้เอตทัคคะด้านยินดีธุดงควัตรครั้นทรงประกาศพระศาสนาอยู่ได้ ๙ เดือน หลังตรัสรู้ พอถึงวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับ วันมาฆบูชา จึงได้แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา ๓ ข้อ มีใจความว่า
                            สพฺพปาปสฺสอกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง
                            กุสฺสลสฺสูปสมฺปทา การทำกุศลทั้งปวง
                            สจิตฺตปริโยทปนํ การรักษาจิตให้ผ่องแผ้วอยู่เสมอ
pic10การประชุมครั้งนั้นชื่อว่า จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้แก่ วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ๑, ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๑, ภิกษุทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ๑ และ ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุสัมปทา ๑กาลต่อมา เมื่อเห็นว่า มีผู้ออกบวชมากมาย พระศาสนาเป็นปึกแผ่นมากแล้ว จึงโอนอำนาจทั้งหมดให้สงฆ์ปกครองกันเอง แลทรงอนุญาตการบวชแบบใหม่ชื่อ ญัตติจตุตถกัมมวาจาอุปสัมปทา ผู้บวชด้วยวิธีนี้คนแรกคือ พระราธะ มีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ การบวชแบบนี้ใช้กันมาจนปัจจุบัน แลทรงยกการบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทามาใช้บวชสามเณรแทน

เช้าวันหนึ่ง สิงคาลมาณพ กำลังไหว้ทิศต่าง ๆ อยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปถาม ทราบความแล้วจึงตรัสแสดงธรรมว่า ทิศทั้ง ๖ นั้น แท้จริงแล้ว เป็นดังนี้ คือ ทิศเบื้องหน้า หมายถึง บิดามารดา ทิศเบื้องขวา หมายถึง ครูบาอาจารย์ ทิศเบื้องซ้ายหมายถึง เพื่อน มิตรสหาย ทิศเบื้องหลัง หมายถึง ลูก ภรรยา ทิศเบื้องล่าง หมายถึงบริวาร ทิศเบื้องบน หมายถึง สมณพราหมณ์ สิงคาลมาณพได้สดับแล้วเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตครั้นพระพุทธองค์ประกาศพระศาสนาได้ระยะหนึ่ง กิตติศัพท์ระบือไกลไปถึงพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ จึงแต่งตั้งให้ กาฬุทายีอำมาตย์พร้อมคณะ ไปทูลเชิญพระพุทธองค์ให้เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ กาฬุทายีเดินทางไปถึงวัดเวฬุวัน พร้อมคณะ ขณะพระพุทธองค์กำลังแสดงธรรมอยู่ สดับธรรมนั้นแล้วบรรลุอรหัตตผลทั้งหมด แล้วทูลเชิญสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเสด็จเดินทางวันละ ๑ โยชน์เป็นเวลา ๒ เดือน รวมระยะทาง ๖๐ โยชน์ เมื่อไปถึงเหล่าประยูรญาติ บ้างถือทิฏฐิว่าอาวุโสกว่า บ้างไม่แสดงความเคารพ พระพุทธองค์จึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศ โปรยธุลีดินจากพระบาทลงบนศีรษะของประยูรญาติเหล่านั้น เพื่อทำลายความมานะถือตัว แลยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นแล้วพระพุทธบิดาเห็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็ประนมถวายอภิวาท ๓ ครั้ง เหล่าประยูรญาติก็สิ้นทิฏฐิก้มลงกราบตาม ขณะนั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์มี “ฝนโบกขรพรรษ” ตกโปรยปราย มีสีแดง ตกลงพื้นก็ไม่เปียกเฉอะแฉะ ผู้ปรารถนาให้เปียกก็เปียก ผู้ไม่ปรารถนาให้เปียก ก็ไม่เปียกเลย พระพุทธองค์จึงได้อธิบายว่า ฝนนี้ก็เคยตกลงมาครั้งหนึ่งแล้ว สมัยพระเวสสันดร พระประยูรญาติได้ฟังแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แยกย้ายกันกลับ
วันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสาวก ก็ออกเที่ยวบิณฑบาตตามปกติชาวเมืองราชคฤห์บางคนไม่เข้าใจเห็นเป็นการเสียเกียรติที่ลูกกษัตริย์จะมาขอทาน จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะทราบความจึงรีบเสด็จมาห้าม พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “การบิณฑบาตนี้ ถือเป็นธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ

img61พระองค์ปฏิบัติสืบ ๆ กันมา การเป็นสมณะที่แท้นั้น ต้องไม่ประมาทในบิณฑบาต คือยินดีตามที่ได้มา และพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติธรรมที่ทุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” ตรัสจบ พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาปัตติผล ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมสงฆ์สาวกเข้าไปในพระราชวังถวายภัตตาหารด้วยความบันเทิงใจครั้นเทศนาโปรดพระประยูรญาติได้ ๗ วัน ก็เสด็จกลับกรุงราชคฤห์ ประทับแรมอยู่ ณ สีตวัน มีเศรษฐีหนุ่มผู้หนึ่งชื่อ สุทัตตะ แต่ผู้คนละแวกนั้นเรียกเขาว่าอนาถบิณฑิกเศรษฐี เพราะความใจกว้างตั้งโรงทานไว้เลี้ยงคนอนาถาของเขา ได้ยินคำว่า พระพุทธเจ้า ก็รู้สึกศรัทธาจึงได้มานมัสการแลฟังธรรม พระพุทธเจ้าแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็บรรลุโสดาปัตติผล แลแสดงตนเป็นอุบาสกในพระศาสนา แล้วอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองสาวัตถึในแคว้นโกศลชนบท ส่วนตนเดินทางล่วงหน้าสู่เมืองสาวัตถีบ้านของตน ขอซื้อสวนของพระเชตราชกุมาร เพื่อสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ใช้ชื่อว่า วัดเชตวันมหาวิหาร ตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับพระราชกุมารว่า วัดที่สร้างจะต้องตั้งชื่อเป็นชื่อท่าน

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ อยู่ ๔๕ พรรษาพรรษาสุดท้ายทรงประทับอยู่ ณ บ้านเวฬุวคาม เมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ทรงประชวรด้วยโรคปักขันทิกาพาธอย่างหนักจนเกือบปรินิพพาน ทว่าทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสน-ขันติ วันหนึ่งขณะประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ ทรงมีพระประสงค์ให้พระอานนท์อาราธนาให้พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ต่อ จึงทรงทำนิมิตโอภาสโดยตรัสกับพระอานนท์ว่า“อานันทะ ดูก่อน อานนท์ เมืองไพศาลีนี้ เป็นสถานที่รื่นรมย์ ทัศนียภาพสวยงาม มีทั้งปาวาลเจดีย์ และ โคตมเจดีย์ ถ้าบุคคลได้เจริญอิทธิบาท ๔ และมีความปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ต่อชั่วกัปหรือมากกว่านั้น ย่อมสามารถทำได้” พระอานนท์ฟังแล้วก็มิได้เข้าใจพระพุทธประสงค์ นิ่งอยู่ ครั้นพระอานนท์หลีกไปแล้ว พระยาวสวัตดีมารจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้พระองค์ปรินิพพานเสีย พระองค์พิจารณาแล้วจึง

ตรัสว่า “ดูก่อน มารผู้ชั่วช้า ท่านอย่าพยายามมากเลย ตถาคตจักปรินิพพานไม่ช้านี้คือต่อจากนี้ไป ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน” เพลานั้นตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ เมื่อพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร ฉับพลันก็เกิดเหตุอัศจรรย์แผ่นดินไหวกึกก้องทั่วปฐพี เสียงกลองทิพย์ก็อื้ออึงไปในอากาศ พระอานนท์เห็นเหตุดังนั้น ก็เข้าเฝ้าทูลถามถึงเหตุของแผ่นดินไหว พระพุทธเจ้าจึงมีพระดำรัสตรัสตอบว่า เหตุของแผ่นดินไหวมีด้วยกัน ๘ อย่าง คือ ลมกำเริบ ๑, ผู้มีฤทธิ์บันดาล ๑, พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์ ๑, พระโพธิสัตว์ประสูติ ๑, พระตถาคตตรัสรู้ ๑, พระตถาคตแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร ๑, พระตถาคตปลงอายุสังขาร ๑, พระตถาคตเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑ ดังนี้แล้วพระอานนท์จึงมาคิดได้ว่า เหตุทุกอย่างได้เกิดขึ้นแล้วเหลือแต่การปลงอายุสังขาร และปรินิพพานเท่านั้น เห็นว่าแผ่นดินไหวคราวนี้คงเป็นเพราะพระองค์ปลงอายุสังขารเป็นแน่ จึงทูลอาราธนาให้เสวยอายุอยู่ต่อ แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะรับอาราธนาจากพระยาวสวัตดีมารแล้ว

จากนั้นเสด็จประทับ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ประชุมสงฆ์ประทานโอวาท แล้วตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายว่า ต่อไปอีก ๓ เดือนข้างหน้า ตถาคตจักปรินิพพาน วันรุ่งขึ้นบิณฑบาตในเมืองไพศาลี ยืนมองเมืองไพศาลีเป็นครั้งสุดท้ายด้วยอาการ นาคาวโลก (การมองดูเยี่ยงช้าง) แล้วก็เสด็จสู่บ้านภัณฑุคาม บ้านหัตถี
คาม อัมพคาม และชัมพุคามตามลำดับ จนลุเข้าโภคนคร ประทับ ณ อานันทเจดีย์ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งแสดงมหาปเทส ๔ อย่าง เพื่อเป็นเครื่องวินิจฉัยพระธรรมวินัย ต่อมาเสด็จไปยังเมืองปาวา ประทับ ณ อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร นายจุนทะถวายสุกรมัทวะ และโภชนาหารอันประณีตแด่พระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ได้มีพระพุทธบัญชาให้นายจุนทะถวายสุกรมัทวะแด่พระองค์รูปเดียว ที่เหลือให้ฝังดินเสีย ครั้นฉันภัตตาหารเรียบร้อย โรคปักขันทิกาพาธก็กำเริบ มีเวทนาอย่างแรงกล้า ทรงระงับด้วยอธิวาสนขันติ แล้วตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เราไปเมืองกุสินารากันเถิด”ระหว่างทางแวะพักผ่อนใต้ร่มไม้ ทรงกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงให้พระอานนท์ไปตักน้ำในแม่น้ำมาถวาย

พระอานนท์เห็นน้ำขุ่นจึงไม่ยอมไปตักมา จนพระพุทธองค์ต้องตรัสย้ำถึง ๓ ครา เมื่อตักมาน้ำขุ่นก็ใสด้วยพุทธานุภาพ จากนั้นก็เดินทางต่อ พบนายปุกกุสะ ราชบุตรแห่งมัลลกษัตริย์ ลูกศิษย์อาฬารดาบส กาลามโคตร พระองค์จึงทรงแสดงสันติวิหารธรรมโปรด ด้วยความศรัทธา เธอจึงถวายผ้าสิงคิวรรณผืน ๑ อีกผืนถวายพระอานนท์เมื่อนายปุกกุสะหลีกไปแล้ว พระอานนท์ก็ถวายผ้านั้นแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับ ทันทีนี่นุ่งผ้าทั้งสองนั้นปรากฏดุจถ่านไฟปราศจากเปลว ผิวพรรณพระวรกายก็ผ่องใสยิ่งนัก พระอานนท์เห็นดังนั้นก็ทูลสรรเสริญ พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า กายของตถาคตจะผุดผ่องใสยิ่งใน ๒ เวลา คือ เวลาได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑และ เวลาจะปรินิพพาน ๑ ครั้นได้ลงสรงน้ำในแม่น้ำกกุธานทีแล้ว ทรงเสด็จบรรทมด้วยสีหไสยาสน์บริเวณสวนมะม่วง ตรัสแก่พระอานนท์ว่า อานนท์วันข้างหน้าอาจมีผู้เข้าใจว่าตถาคตเสด็จปรินิพพานเพราะสุกรมัทวะของนายจุนทะ เธอจงบอกเขาว่าตถาคตตรัสว่าบิณฑบาตที่ได้บุญมาก มีอานิสงส์ยิ่งกว่าบิณฑบาตทานในกาลอื่นมี ๒คือ บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้ ๑ และ บิณฑบาตที่นายจุนทะถวายในวันใกล้ปรินิพพาน ๑
จากนั้นเสด็จสู่เมืองกุสินารา โดยเสด็จผ่านแม่น้ำหิรัญญวดี ถึงเมืองกุสินาราเพียงวันเดียว วันนั้นเป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ประทับแรม ณ สาลวัน อันเป็นพระราชอุทยานของพระเจ้ามัลละ ทรงเสด็จขึ้นบรรทม หันพระเศียรไปทางทิศเหนือสำเร็จ สีหไสยาสน์ระหว่างต้นสาละคู่ แล้วมิคิดจะลุกขึ้นอีกเลย กิริยานี้เรียกว่าอนุฏฐานไสยาสน์ ต่อมาทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชายิ่งกว่าอามิสบูชา ตรัสถึงสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ได้แก่ สถานที่ตถาคตประสูติ คือ ลุมพินีวัน ๑, สถานที่ตถาคตตรัสรู้ คือ ต้นศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม ๑, สถานที่แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรคือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ๑ และสถานที่ตถาคตปรินิพพาน คือต้นสาละคู่ ณสาลวโนทยาน ๑ แล้วตรัสถึงอานิสงส์ว่า ผู้ที่มีศรัทธาได้ไปเยือนสังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใสแล้ว ครั้นตายไปย่อมเข้าสู่สุคติในโลกสวรรค์ และตรัสถึงการปฏิบัติตนต่อสตรีของภิกษุว่า การไม่เห็นสตรีนั่นแหละดี ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูด

ด้วย ถ้าต้องพูดด้วยก็ต้องพูดความระมัดระวัง มีสติอย่างยิ่ง ครั้นแล้วก็ตรัสถึงถูปารหบุคคล อัฐิของบุคคลที่ควรบรรจุไว้บูชาในสถูป ๔ จำพวก คือ พระอัฐิพระพุทธเจ้า ๑, พระอัฐิพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑, พระอัฐิของพระอรหันตสาวก ๑ และพระอัฐิของพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑ ตรัสปลอบพระอานนท์ทีกำลังเศร้าโศก และสรรเสริญพระอานนท์ต่อหน้าหมู่สงฆ์ว่า พระอานนท์เป็นยอดพระอุปัฏฐาก เป็นพหูสูต มีสติรอบคอบ มีความเพียร มีปัญญามาก และรู้จักกาลเทศะ พระอานนท์กราบทูลให้เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองอื่น เพราะกุสินาราเป็นเมืองเล็ก พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสีย แล้วแสดงให้ทราบว่า เมืองกุสินารานี้ในอดีตเคยเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า กุสาวดีราชธานี มีพระเจ้าจักรพรรดิราชพระนามว่า มหาสุทัศน์ปกครองแผ่นดินโดยธรรม ลำดับถัดมา พระองค์ให้แจ้งข่าวการปรินิพพานของพระองค์ แก่เหล่ามัลลกษัตริย์ และได้เข้าเฝ้าพระองค์เป็นวาระสุดท้าย กาลนั้นสุภัททปริพาชกได้ขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหา แต่ถูกพระอานนท์ห้ามไว้ พระimg40พุทธเจ้าได้สดับแล้วก็อนุญาตให้สุภัททะเข้ามา แสดงธรรม ประทานอุปสมบทให้ แล้วให้เฝ้าเพียรปฏิบัติ
อยู่จนบรรลุอรหัตตผลในคืนนั้น เป็นปัจฉิมสาวกที่ทันเห็นพระพุทธเจ้าในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทเป็นครั้งสุดท้ายความว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจของตน และของคนอื่นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด” จากนั้นก็ไม่ตรัสอะไรอีกเลย เสด็จดับขันธปรินิพพาน รวมพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษาครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๗ วัน ทางมัลลกษัตริย์จะถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดพระเถระไป ๑ รูป คือพระมหากัสสปะ กำลังเดินทางมา ฝ่ายพระมหากัสสปะได้เห็นอาชีวกเดินถือดอกมณฑารพกั้นศีรษะมา ดอกมณฑารพนี้เป็นดอกไม้ทิพย์ มีอยู่เฉพาะบนสวรรค์ จึงสอบถามที่มา ได้ความว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์

ขีณาสพได้แสดงธรรมสังเวช ส่วนภิกษุปุถุชนร่ำไห้ปิ่มจะขาดใจ บัดนั้นสุภัททวุฑฒบรรพชิต ผู้บวชเมื่อแก่ ก็กล่าวจาบจ้วงพระวินัยว่า “พวกท่านอย่าเศร้าโศกไปเลยพระมหาสมณะปรินิพพานเสียก็ดีแล้ว ต่อจากนี้จะได้ไม่มีใครมาจ้องจับผิด ว่าสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร” พระมหากัสสปะฟังคำเช่นนั้นแล้ว ก็ได้แต่สลดใจที่ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้เพียงไม่กี่เพลา ก็มีผู้กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยเสียแล้ว แต่ไม่ได้ว่ากระไรเพราะต้องรีบเดินทางครั้นพอพระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยบริวารไปถึงแล้ว ได้ทำประทักษิณถวายสักการะพระบรมศพเรียบร้อย ฉับพลันก็เกิดพระเพลิงพวยพุ่งขึ้นเองด้วยอานุภาพเทวดาเป็นที่อัศจรรย์ เหลือเพียงสิ่งที่พระองค์ทรงอธิษฐานไว้มิให้เพลิงไหม้คือ ผ้าห่อพระบรมศพชั้นใน ๑, ชั้นนอก ๑, พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔, พระรากขวัญทั้ง ๒และ พระอุณหิส ๑ พอถวายพระเพลิงเสร็จสิ้น เหล่ากษัตริย์ทั้ง ๗ หัวเมืองทราบข่าวการปรินิพพาน ก็กรีฑาทัพมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ฝ่ายมัลลกษัตริย์ในกรุงกุสินารามิยอมแบ่งให้ ด้วยเหตุที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์เสด็จมาปรินิพพานในเมืองของเขา แสดงว่า ทรงมีเจตนาให้ มัลลกษัตริย์ครอบครองพระบรมสารีริกธาตุแต่ผู้เดียว ครั้งนั้นโทณพราหมณ์ผู้เคยประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการแก่เหล่าลูกกษัตริย์ทั้งหลาย จึงเกลี้ยกล่อมแนะให้มัลลกษัตริย์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเท่า ๆ กัน ให้กษัตริย์ทั้งหลายนำไปสักการะบูชาปฐมสังคายนา ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๓ เดือน ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ ประชุมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ปรารภเหตุเพราะสุภัททวุฑฒบรรพชิต กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย พระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเถระเป็นผู้ตอบพระวินัย พระอานนทเถระเป็นผู้ตอบพระธรรม ใช้เวลาทำ ๗ เดือน จึงเสร็จ ได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้า
อชาตศัตรู

สังคายนาครั้งที่ ๒ ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๑๐๐ ปี ณ วาลิกาคาม เมืองไพศาลี ประชุมพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป มีพระยสกากัณฑกบุตรเป็นประธานพระ เรวตเถระเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเถระเป็นผู้ตอบ ปรารภเหตุที่ภิกษุวัชชีบุตรประพฤติย่อหย่อนแสดงวัตถุ ๑๐ ประการคัดค้านพระธรรมวินัย ใช้เวลาทำ ๘
เดือนจึงเสร็จ ได้รับอุปถัมภ์จากพระเจ้ากาลาโศกราช กษัตริย์เมืองไพศาลีสังคายนาครั้งที่ ๓ ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๒๓๔ ปี ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ประชุมพระมหาเถระจำนวน ๑,๐๐๐ รูป มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระมัชฌันติกเถระกับพระมหาเทวเถระเป็นผู้ตอบ
ปรารภเหตุที่มีเดียรถีย์ปลอมบวชในพระศาสนาเพื่อลาภสักการะ ใช้เวลาทำอยู่ ๙เดือน จึงเสร็จ ได้รับอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์เมืองปาฏลีบุตรการสังคายนาครั้งหลัง ๆ ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ ฯ                             อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต.
                              บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์.
                                                องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๕๙
                                        โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ
                                 ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.
                                   นัย. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๖.

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons