วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อนุพุทธประวัติโดยย่อ (บางองค์)นักธรรมโท

อนุพุทธประวัติโดยย่อ (บางองค์)

img40เกาะที่มีต้นปาล์ม๑. พระอัญญาโกณฑัญญเถระ และสหาย
ก) อยู่บ้านโทณวัตถุ
ข) เป็น ๑ ในพราหมณ์ ๘ คน ที่ทำนายพระลักษณะของมหาบุรุษ มีอายุน้อยที่สุด และทำนายเป็นคติเดียว คือ มหาบุรุษต้องออกผนวช และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน ค) มีสหายพราหมณ์ออกบวชติดตามมหาบุรุษ ๔ คน ได้แก่ วัปปะ ภัททิยะมหานามะ อัสสชิ เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ง) วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ได้ฟังพระธรรมเทศนา ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นปฐมเทศนา แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับไปเป็นธรรมดา” ส่วนสหายบรรลุธรรมในลำดับถัด ๆ มา ได้แก่ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ได้ดวงตาเห็นธรรมในวันแรม ๑ ค่ำ, ๒ ค่ำ, ๓ ค่ำและ ๔ ค่ำ เดือน ๘ ตามลำดับจ) พระพุทธองค์ทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ ๆ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ จึงได้คำนำหน้าชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ แต่บัดนั้น ฉ) ได้ทูลขออุปสมบทแล้ว ได้เป็นพระสงฆ์องค์แรก และครบองค์ของพระรัตนตรัย
ช) พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทให้ด้วยพระวาจาว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ”
ซ) บวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ฌ) ปัญจวัคคีย์ทั้งหมด บรรลุอรหัตตผลด้วยการฟังพระธรรมเทศนา ชื่ออนัตตลักขณสูตร ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘

ญ) บวชแล้ว ได้กลับบ้านเกิด ได้เห็นอุปนิสัยของปุณณมาณพ ผู้เป็นหลานชาย ชักชวนให้บวชแล้ว ได้ชื่อว่า พระปุณณมันตานีบุตรฎ) ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นยอดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน (ประสบการณ์มาก)ฏ) พระอัสสชิ มีจริยามารยาทสงบเสงี่ยมน่าเลื่อมใส ครั้งหนึ่ง เข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ อุปติสสมาณพเห็นจริยาสงบเสงี่ยมนั้น ได้เกิดความเลื่อมใส ขอฟังธรรม พระอัสสชิได้แสดงธรรมโดยย่อว่า “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับไปแห่งธรรมนั้น
พระมหาสมณะ มีปกติตรัสอย่างนี้” อุปติสสมาณพได้ดวงตาเห็นธรรมทูลขออุปสมบทแล้ว ได้ชื่อว่า “พระสารีบุตร”

๒. พระยสเถระ และสหาย
ก) เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสี บิดามีทรัพย์มาก สร้างปราสาท ๓ ฤดูให้ มีนางบำเรอประโคมดนตรีขับกล่อมตลอดเวลา วันหนึ่ง ตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นเหล่านางสนมหลับไหลไม่ได้สติ มีสภาพไม่ต่างจากซากศพในป่าช้า เกิดอสุภนิมิต แล้วเบื่อหน่าย เปล่งอุทานว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอที่นี่ขัดข้องหนอ” แล้วสวมรองเท้าออกจากเรือนไป
ข) พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ ได้สดับเสียงอุทานแล้ว จึงตรัสว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง จงมาที่นี่เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน” ยสกุลบุตรได้ยินเช่นนั้น ก็ถอดรองเท้า แล้วเข้าไปถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ฟังพระพุทธองค์ทรงแสดง อนุปุพพิกถา ได้ดวงตาเห็นธรรม
ค) รุ่งเช้าบิดาของยสะ ออกติดตาม เห็นรองเท้าของยสะถอดไว้ จำได้ จึงเข้าไปดู พระศาสดาทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ทำให้เศรษฐีมองไม่เห็นบุตร และยสกุลบุตรมองไม่เห็นบิดา ตรัสให้เศรษฐีนั่งลง แล้วแสดง อนุปุพพิกถา บิดาของยสะ ได้ธรรมจักษุ เป็นปฐมอุบาสก คือ ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นคนแรกของโลก ส่วนยสกุลบุตร ได้สดับธรรมอีกครั้ง บรรลุอรหัตตผล

ง) ยสกุลบุตร บรรลุธรรมแล้ว ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา ด้วยพระดำรัสว่า “ท่านจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์”
โดยมิได้ตรัสว่า “เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ” เพราะยสะนั้นสำเร็จพระอรหันต์แล้ว
จ) เมื่อสหายของพระยสะ อีก ๕๔ คน ปรากฏชื่อสี่ท่าน ได้แก่ วิมละ สุพาหุปุณณชิ และควัมปติ ทราบข่าวว่า พระยสะออกบวช จึงชวนกันมาหาพระยสะ ได้ฟังอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุ
อรหัตตผล ตามลำดับ เวลานั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์พระบรมศาสดาได้ส่งสาวกทั้ง ๖๐ องค์ออกไปประกาศพระศาสนา

๓. พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ และพระคยากัสสปะก) ตระกูลกัสสปโคตร มีพี่น้อง ๓ คน บวชเป็น ชฎิล บำเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟ ตั้งอาศรมเรียงลำดับไปตามริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราข) อุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐, นทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐ และคยากัสสปะ ๒๐๐
ค) ได้ฟังพระธรรมเทศนา “อาทิตตปริยายสูตร” แล้วบรรลุอรหัตตผล
ง) พระอุรุเวลกัสสปะ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
จ) ครั้งที่ พระพุทธเจ้า เสด็จจาริกถึงเมืองราชคฤห์ พร้อมภิกษุทั้ง ๑๐๐๓ประทับ ณ ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม) พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมบริวาร ได้เข้าเฝ้า เกิดความสงสัยในคุณธรรมระหว่างพระพุทธเจ้า กับพระอุรุเวลกัสสปะ พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะ ประกาศความไม่มีแก่นสารของลัทธิเดิม พระอุรุเวลกัสสปะจึงได้อภิวาทลงแทบพระบาท กล่าวถึงลัทธิตนว่า หาสาระแก่นสารมิได้ คนทั้งหลายสิ้นความสงสัย ตั้งใจสดับพระธรรมเทศนา ที่สุดของพระธรรมเทศนานั้นคน ๑๑ ใน ๑๒ ส่วนได้ดวงตาเห็นธรรม ที่เหลือตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

img34๔. พระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานะก) อุปติสสมาณพ กับโกลิตมาณพเป็นสหายกัน ครั้งหนึ่งนั่งดูมหรสพแล้วเกิดความเบื่อหน่าย คิดว่า ทั้งผู้เล่นผู้ดูไม่เกิน ๑๐๐ ปีก็ตายสิ้น การออกแสวงหาโมกขธรรมจักประเสริฐกว่า ทำความตกลงกันว่า หากผู้ใดพบโมกขธรรมก่อน ให้มาบอกอีกฝ่ายหนึ่ง อุปติสสะไปพบพระอัสสชิ เห็นจริยาน่าเลื่อมใส จึงขอฟังธรรม พระอัสสชิแสดงธรรมโดยย่อ อุปติสสมาณพ ก็ดวงตาเห็นธรรม จึงไปบอกธรรมแก่โกลิตมาณพ ได้บรรลุธรรมเช่นกัน แล้วชวนกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขออุปสมบทพระพุทธเจ้าประทานการอุปสมบทให้ ได้ชื่อว่า พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร บวชแล้ว ๑๕ วัน บรรลุอรหัตตผล ด้วยพระธรรมเทศนา ชื่อว่า เวทนาปริคคหสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ขณะนั่งถวายงานพัด ส่วนพระโมคคัลลานะ บวชได้ ๗ วันบรรลุอรหัตตผล ด้วยพระธรรมเทศนา ธาตุกรรมฐานข) พระสารีบุตร เป็นอัครสาวกเบื้องขวา เป็นพระธรรมเสนาบดี เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีปัญญามาก อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตดุจมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร
ค) พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย เป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือ ผู้ควบคุมการก่อสร้างวัดบุพพาราม กรุงสาวัตถี ที่นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวายพระพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก
ง) พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ให้อุบายแก้ความโงกง่วง แก่พระโมคคัลลานะ ๘ประการ ได้แก่ เธอมีสัญญาอย่างไร ควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก ๑,พิจารณาธรรมที่ได้ฟังมา ๑, สาธยายธรรมที่ได้ฟังได้เรียนมา ๑, ยอนหูทั้งสองข้าง ลูบตัวด้วยฝ่ามือ ๑, ควรลุกขึ้นยืน ลูบนัยน์ตา และใบหน้าด้วยน้ำ แหงนดูท้องฟ้า ๑, ทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือมีแสงสว่างทั้งกลางวันกลางคืน ๑, เดินจงกรม ๑, สำเร็จสีหไสยาสน์ ๑

จ) พระพุทธเจ้าตรัสให้โอวาทพระโมคคัลลานะ พึงสำเหนียกในใจอีก ๓ประการ คือ จักไม่ชูงวงถือตัวเข้าไปสู่ตระกูล ๑, จักไม่พูดคำอันเป็นเหตุให้เถียงกัน ๑, จงหลีกออกเร้นอยู่ตามวิสัยของสมณะ ๑

ฉ) พระโมคคัลลานะ นิพพานหลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน อัฐิของพระโมคคัลลานะ ได้นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ใกล้ประตูวัดพระเวฬุวัน ส่วนอัฐิของพระสารีบุตร บรรจุไว้ในเจดีย์ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

๕. พระมหากัสสปเถระ
ก) เมื่ออายุ ๒๐ ปี บิดามารดาจัดให้แต่งงานกับนางภัททกาปิลานี แต่ไม่ปรารถนาจักครองชีวิตคู่ เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตแล้ว จึงสละทรัพย์ทั้งหลายออกบวช
ข) พบพระพุทธเจ้า ทูลขออุปสมบท พระองค์ประทานการบวชให้ด้วยการให้โอวาท ๓ ข้อ ได้แก่ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และเกรงใจอย่างแรงกล้าในภิกษุผู้เป็นเถระ มัชฌิมะ และนวกะ ๑, เราจักตั้งใจฟังธรรม ซึ่งประกอบด้วยกุศล พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น ๑, เราจักไม่ละสติไปในกาย ๑ เรียกว่า โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา บวชได้ ๘ วัน บรรลุอรหัตตผล เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์คุณ

ค) เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพตกรุงราชคฤห์ ปรารภเหตุที่มีภิกษุกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย ประชุม
พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ทำอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ ได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าอชาตศัตรูง) ได้รับประทานผ้าสังฆาฏิจากพระพุทธองค์ และได้รับยกย่องว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอพระองค์จ) นิพพานอายุประมาณ ๑๒๐ ปี ณ กุกกุฏสัมปาตบรรพต กรุงราชคฤห์

๖. พระมหากัจจายนะ
ก) เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร
ข) แสดงภัทเทกรัตตสูตร โดยย่อให้พิสดาร แสดงถึงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ได้แก่ ผู้ไม่ครุ่นคิดถึงอดีต ไม่เพ้อฝันถึงอนาคต พิจารณาให้เห็นความจริงในปัจจุบัน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
ค) แสดงมธุรสูตร แก่พระเจ้ามธุราช ใจความโดยย่อ กล่าวถึงความไม่แตกต่างกันของวรรณะ ๔ เหล่า ทำดีก็มีสวรรค์เป็นที่ไป ทำชั่วก็ไปอบาย

๗. พระเถระ ๑๖ องค์ ผู้เคยเป็นศิษย์พราหมณ์พาวรี
ก) อชิตมาณพทูลถามปัญหาเป็นคนแรก ๔ ข้อ ได้แก่
๑. โลกคือหมู่สัตว์ ถูกอะไรปิดบังไว้ อะไรเป็นเหตุจึงไม่มีปัญญามองเห็น อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้ให้สัตวโลกติดอยู่ และอะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตวโลกนั้นทรงวิสัชนาว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้ ปิดบังไว้ ตัณหา และความประมาท ปิดกั้นปัญญา ตัณหา คือความอยาก ฉาบไล้สัตวโลกให้ติดอยู่ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตวโลก
๒. อะไรเป็นเครื่องห้าม เครื่องปิดกั้นความอยาก ซึ่งเป็นดุจกระแสน้ำหลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง จะละความอยากได้ด้วยธรรมอะไรทรงวิสัชนาว่า สติ เป็นเครื่องห้าม ป้องกันความอยาก และจะละความอยากได้เพราะปัญญา
๓. ปัญญา สติ กับนามรูปนั้น จะดับไป ณ ที่ใดทรงวิสัชนาว่า เพราะวิญญาณดับไปก่อน นามรูปจึงดับ ณ ที่นั้น
๔. ชนผู้เห็นธรรมแล้ว และผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้ ยังมีอีกมากขอกราบทูลถามความประพฤติของปวงชนพวกนั้นทรงวิสัชนาว่า ภิกษุผู้เห็นธรรมแล้ว และผู้ยังต้องศึกษาอยู่ เป็นคนไม่มีความกำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอิริยาบถ

ข) โมฆราชมาณพ ได้กราบทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๑๕ ว่าข้าพระองค์จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่แลเห็นทรงวิสัชนาว่า ท่านจงเป็นผู้มีสติ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่า ตัวของเราทุกเมื่อ ท่านจะข้ามพ้นมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้
ค) พระโมฆราช เป็นเอตทัคคะ ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
ง) ที่สุดของการวิสัชนาปัญหา ปิงคิยมาณพผู้เดียว ได้เพียงโสดาบัน เพราะมีจิตกระสับกระส่ายถึงพราหมณ์พาวรีผู้มีศักดิ์เป็นลุง นอกนั้นบรรลุอรหัตตผล ในเพศฆราวาส

๘. พระราธเถระ
ก) เป็นคนจนเข็ญใจ ต้องการบวช ไม่มีใครรับเป็นธุระเลย จนพระพุทธเจ้าตรัสถามว่า ใครที่ระลึกถึงอุปการคุณของพราหมณ์นี้ได้บ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่า เคยได้รับบิณฑบาตจากราธพราหมณ์ทัพพีหนึ่ง จึงทรง
ให้พระสารีบุตร เป็นพระอุปัชฌาย์  ข) เป็นรูปแรกที่บวชด้วย ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ค) ตำราเก่า(มมร.)ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้ว่านอนสอนง่าย ตำราใหม่(พศ.)ว่าเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย และเป็นเอตทัคคะ ผู้มีปฏิภาณยอดเยี่ยม
๙. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
ก) เป็นหลานพระอัญญาโกณฑัญญะข) ตั้งอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่ข้องด้วยหมู่ มีความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ได้เสวนาธรรมกับพระสารีบุตรถึงเรื่อง วิสุทธิ ๗ ได้แก่สีลวิสุทธิ ๑, จิตตวิสุทธิ ๑, ทิฏฐิวิสุทธิ ๑, กังขาวิตรณวิสุทธิ ๑, มัคคามัคคญาณ ทัสสนวิสุทธิ ๑, ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ๑, ญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ ได้วิสัชนาพร้อมอุปมาเปรียบด้วยรถ ๗ ผลัดค) เอตทัคคะ ผู้เป็นธรรมกถึก

๑๐. พระกาฬุทายีเถระ
ก) เป็นสหชาติกับพระมหาบุรุษ  ข) เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ มากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า
เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ถือโอกาสขออุปสมบท  ค) เอตทัคคะ ด้านผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส

๑๑. พระนันทเถระ
ก) กำลังจะเข้าพิธีอาวาหมงคล กับนางชนบทกัลยาณี พระบรมศาสดาเสด็จไปทำภัตกิจในงานนั้นด้วย หลังเสร็จภัตกิจ ทรงส่งบาตรให้นันทกุมารถือตามเสด็จกลับพระวิหาร พระพุทธองค์ทรงถามว่า ดูก่อน นันทะ เธอจักบวชหรือ นันทกุมารไม่มีใจอยากบวช แต่ด้วยความเคารพจึงจำใจบวช บวชแล้วก็กระสันอยากสึก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุดังนั้น จึงพาพระนันทะเที่ยวไปในเทวโลก ให้เห็นเหล่านางเทพอัปสรที่งดงามกว่านางชนบทกัลยาณี เห็นดังนั้นแล้ว จึงดำริว่า ความรักไม่มีที่สิ้นสุด เกิดความเบื่อหน่าย ตั้งใจบำเพ็ญเพียร ไม่นานก็บรรลุอรหัตตผลข) เอตทัคคะ ด้านเป็นผู้สำรวมอินทรีย์

๑๒. พระราหุลเถระ
ก) เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธรา (พิมพา)
ข) พระนางยโสธราตรัสให้ราหุลกุมาร ทูลขอสมบัติจากพระพุทธเจ้า พระ
ศาสดาจึงประทานอริยทรัพย์ให้ คือ การบวช
ค) เป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา มีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์
ง) เอตทัคคะ ด้านผู้ใคร่ในการศึกษา
img14

๑๓. พระเถระศากยบุตร ๖ องค์
ก) พระอุบาลีเถระ เป็นบุตรของนายช่างกัลบก ในเมืองกบิลพัสดุ์ ได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นนายภูษามาลาประจำพระองค์
ข) พระอุบาลีเถระ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย ในการปฐมสังคายนา
พระไตรปิฎก และเป็นเอตทัคคะ ด้านผู้ทรงจำพระวินัย

ค) พระภัททิยเถระ บวชแล้ว มักเปล่งอุทานว่า สุขหนอ ๆ เพราะสมัยเป็น
กษัตริย์ไปทางไหนก็ต้องมีองค์รักษ์คุ้มครอง หวาดสะดุ้งต่ออันตราย
บวชแล้ว จักไปไหนก็สบายใจ และเป็นเอตทัคคะ ด้านผู้เกิดในตระกูลสูงง) พระอนุรุทธเถระ ขณะบำเพ็ญเพียร ตรึกถึงมหาปุริสวิตก ๘ ข้อ และเป็นเอตทัคคะ ด้านผู้ทรงทิพพจักขุญาณ
จ) พระอานนทเถระ เป็นสหชาติกับมหาบุรุษ และพุทธอุปัฏฐาก
ฉ) พระอานนทเถระ บรรลุโสดาปัตติผล ด้วยสดับธรรมเทศนาของพระปุณณมันตานีบุตร
ช) ก่อนรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก ได้ทูลขอพรจากพระพุทธองค์ ๘ ข้อได้แก่ อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์ ๑, อย่าประทานบาตรอันประณีตแก่ข้าพระองค์ ๑, อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของ
พระองค์ ๑, อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์ ๑, จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับเขาไว้ ๑, ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทซึ่งมาเฝ้าพระองค์แต่ที่ไกล ได้เข้าเฝ้าในขณะที่มาได้ทันที ๑, ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าเฝ้าทูลถามได้เมื่อนั้น ๑, ถ้าพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอพระองค์มาตรัสธรรมเทศนาเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์ ๑ซ) พร ๔ ข้อแรก ป้องกันคนตำหนิว่า พระอานนท์อุปัฏฐากเพื่อลาภ ๓ ข้อท้าย ป้องกันคำครหาว่า จักอุปัฏฐากไปทำไม เพราะกิจแม้เท่านี้ พระ
พุทธองค์ยังไม่ทรงอนุเคราะห์ฌ) พระอานนทเถระ เป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม ในการปฐมสังคายนา พระไตรปิฎก และเป็นเอตทัคคะ ด้านเป็นพหูสูต มีสติ มีคติมีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
๑๔. พระโสณโกฬิวิสเถระ
ก) เดินจงกรมจนเท้าแตก
ข) เอตทัคคะ ด้านผู้ปรารภความเพียร

๑๕. พระรัฐบาลเถระ
ก) แสดงธรรมุเทศ แก่พระเจ้าโกรัพยราช (เนื้อหาอยู่ในตัวอย่างข้อสอบ)
ข) เอตทัคคะ ด้านผู้บวชด้วยศรัทธา
๑๖. พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
ก) บวชด้วยความต้องการภัต (ก้อนข้าว) จึงมีชื่อนำหน้าว่า “ปิณโฑละ”ข) เคยเหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้จันทน์ ที่เศรษฐีแขวนไว้บนยอดไม้ เพื่อพิสูจน์ว่า อรหันต์มีจริงในโลก และเป็นเอตทัคคะ ด้านผู้บันลือสีหนาท
๑๗. พระมหาปันถกเถระ
ก) เป็นพี่ชายของพระจูฬปันถกเถระ และเป็นเอตทัคคะ ด้านผู้เจริญภาวนา
๑๘. พระจูฬปันถกเถระ
ก) บวชแล้วกลายเป็นคนปัญญาทึบ แม้พุทธคุณเพียงบทเดียว ท่องจำอยู่ ๔เดือนก็จำไม่ได้ พระพี่ชายจึงไล่ออกจากสำนัก พระศาสดาทรงทราบแล้ว จึงเสด็จไปเตือนสติ แล้วมอบผ้าขาว ให้นำไปถู บริกรรมว่า รโชหรณํ ๆ ที่สุดก็บรรลุอรหัตตผล พร้อมปฏิสัมภิทา จักแสดงให้พระพี่ชายทราบถึงความเป็นอรหันต์ จึงเนรมิตร่างขึ้นพันร่าง
ข) เอตทัคคะ ด้านผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
๑๙. พระโสณกุฏิกัณณเถระ
ก) ได้ชื่อนี้ เพราะประดับด้วยตุ้มหูราคาประมาณหนึ่งโกฏิ
ข) เอตทัคคะ ด้านผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
๒๐. พระลกุณฏกภัททิยเถระ
ก) รูปร่างต่ำเตี้ยเหมือนคนแคระ ใครล้อ หาว่าเป็นสามเณร ก็ไม่โกรธ
ข) เอตทัคคะ ด้านผู้มีเสียงไพเราะ
๒๑. พระกังขาเรวตเถระ
ก) เมื่อพระเรวตะได้กัปปิยวัตถุมาแล้ว มีความสงสัยในสิ่งนั้นว่า ควรแก่สมณบริโภคหรือไม่ พิจารณาถ้วนถี่แล้วจึงบริโภค จึงมีคำนำหน้าชื่อว่า“กังขา” และเป็นเอตทัคคะ ด้านผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

๒๒. พระวักกลิเถระ
ก) ออกบวชเพราะหลงในพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงให้โอวาทว่า ดูก่อน วักกลิ การเพ่งมองดูร่างกายอันเปื่อยเน่าเช่นนี้ จักมีประโยชน์อะไร ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม แต่พระวักกลิ มิได้เชื่อฟัง พระศาสดาจึงขับพระวักกลิออกจากสำนัก พระวักกลิบังเกิดความน้อยใจ จักไปกระโดดหน้าผาตายขณะเดินขึ้นเขาคิชฌกูฏ พระองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีไปเฉพาะหน้าตรัสพระธรรมเทศนา พระวักกลิก็บรรลุอรหัตตผล ข) เอตทัคคะ ด้านผู้เป็นสัทธาธิมุต คือ พ้นจากกิเลสด้วยความศรัทธา
๒๓. พระวังคีสเถระ
ก) รู้ ฉวสีสมนต์ เป็นมนต์พิเศษ เคาะกะโหลกศีรษะศพ แล้วทราบที่ไปพระพุทธเจ้านำกะโหลกของพระอรหันต์มาให้เคาะแล้วไม่ทราบ จึงขอเรียนมนต์จากพระบรมศาสดา ท่านจึงให้บวชเพื่อเรียนพุทธมนต์
ข) เอตทัคคะ ด้านผู้มีปฏิภาณในการผูกคาถา
๒๔. พระปิลินทวัจฉะ
ก) เกิดเป็นพราหมณ์มา ๕๐๐ ชาติ จึงชอบเรียกผู้อื่นว่า “วสละ” (คนถ่อย)
ข) เอตทัคคะ ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
๒๕. พระกุมารกัสสปเถระ
ก) เป็นบุตรของภิกษุณีที่ตั้งครรภ์ก่อนบวชโดยไม่รู้ตัว เกิดข้อครหา พระอุ
บาลีเป็นผู้วินิจฉัยว่า ไม่มีความผิด พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรับเลี้ยงไว้
ครั้นเจริญวัยขึ้น ได้ทราบความจริง เกิดความสลดใจ จึงขออนุญาตบวช
ข) เอตทัคคะ ผู้แสดงธรรมได้วิจิตร
๒๖. พระขทิรวนิยเรวตเถระ
ก) บวชแล้ว พำนักอยู่ในป่าต้นตะเคียน พระพุทธเจ้าไปเยี่ยม พร้อมด้วย
ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เนรมิตเรือน ๕๐๐ หลัง ที่จงกรม ๕๐๐ ที่
และที่พักกลางวันกลางคืน ๕๐๐ ที่ และเป็นเอตทัคคะ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

๒๗. พระสีวลีเถระ
ก) ดำรงอยู่ในครรภ์พระมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันข) เอตทัคคะ ผู้มีลาภมาก๒๘. พระพาหิยทารุจีริยเถระก) เป็นพ่อค้าเรือสำเภา เรืออัปปาง แต่รอดตาย ขึ้นฝั่งได้ ผ้านุ่งหาย จึงเอาเปลือกไม้มานุ่งห่ม ชาวเมืองเห็นแล้ว นึกว่า เป็นพระอรหันต์ นำข้าวของมาถวายเป็นอันมาก จนสำคัญว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง ๆ พรหมที่
เคยเป็นเพื่อนกัน มาเตือนสติว่า ท่านยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นอรหันต์แท้ ได้อุบัติแล้ว จงรีบไปฟังธรรมด้วยความไม่ประมาทเถิด จึงได้รีบเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งกลางวันกลางคืนเมื่อไปถึง กำลังเป็นเวลาบิณฑบาตของพระศาสดา แต่พาหิยะฯ ไม่รอช้า ขอฟังธรรมทันที เพราะมิรู้ว่า ความตายจักมาเยือนเมื่อไหร่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสยับยั้งอยู่ ๓ เพลา เพื่อให้พาหิยะฯ คลายจากปีติ และความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง แสดงธรรมแล้ว พาหิยะฯ บรรลุอรหัตตผล ทูลขออุปสมบท แต่พาหิยะฯ ไม่มีจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์เพราะไม่เคยถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนา พระศาสดาจึงทรงให้ไปแสวงหามาก่อน ระหว่างทางถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดตายข) เอตทัคคะ ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน (ขิปปาภิญญา)
๒๙. พระพากุลเถระ
ก) เป็นบุตรเศรษฐี ในเมืองโกสัมพี เกิดได้ ๕ วัน ถูกปลาใหญ่กิน แต่มิได้เป็นอันตราย ปลาว่ายน้ำไปติดข่ายของชาวประมงเมืองพาราณสีเศรษฐีเมืองพาราณสีรับซื้อไว้ ผ่าท้องออกพบเด็กทารก จึงเลี้ยงดูรักใคร่
เหมือนบุตรของตน ต่อมาบิดามารดาทราบเรื่อง จึงมาขอลูกคืน แต่เศรษฐีไม่ยอม ตกลงกันไม่ได้ จึงทูลถวายฎีกาแด่พระเจ้าพาราณสีพระองค์วินิจฉัยให้ผลัดกันเลี้ยงดู คราวละ ๔ เดือน จึงได้ชื่อว่า พากุละ
ข) เอตทัคคะ ผู้มีอาพาธน้อย

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons