วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบติวเข้มวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมโทตอน 1

img21แนวข้อสอบติวเข้ม นักธรรมโท ที่ท่านถืออยู่นี้ ข้าพเจ้าจัดทำขึ้นเป็นวาระที่สอง ตามคำเรียกร้องของผู้ที่ได้รับ แนวข้อสอบติวเข้ม นักธรรมตรี ไปเมื่อ ๒ ปีก่อนผู้ได้รับ และใส่ใจอ่าน สามารถสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนนักธรรมนั้น ไม่ยาก ต้องอาศัยความต่อเนื่อง ขยันหมั่นเพียร เข้าเรียนสม่ำเสมอ แล้วนำแนวข้อสอบมาใช้ทดสอบความรู้ที่ร่ำเรียนมา เมื่อใกล้สอบการใช้แนวข้อสอบ มาดูหนังสือแบบลวก ๆ สุกเอาเผากิน ก่อนสอบไม่กี่วันหวังเพียงให้สอบผ่าน เป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างยิ่ง ภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา สมควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ฆราวาสที่ใส่ข้าวให้เรามีกินมีฉันทุกวัน มีภาระหน้าที่ทางโลกเป็นอันมาก ไม่ใคร่มีเวลามาศึกษาพระธรรมวินัย ศาสนพิธี หรือความในพระไตรปิฎกมากนัก พวกเขาหวังพึ่งเหล่าพระภิกษุสามเณรศากยบุตรพุทธชิโนรส จักนำคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสั่งสอนแนะนำแก่เขาทั้งหลายหรือเป็นที่พึ่ง ให้ธรรมะที่จรรโลงใจ ในยามที่เขาประสบกับความทุกข์ทางโลก หาก
ท่านทั้งหลายไม่ใส่ใจศึกษาร่ำเรียน ไม่ขึ้นเรียน จำเนื้อหาธรรมะไม่ได้ ไม่เข้าใจธรรมะมาอ่านหนังสือเตรียมสอบแบบขอไปที เมื่อเวลาใกล้สอบ ครั้นสอบเสร็จแล้ว ก็ลืมเสียสิ้น อย่างนี้ท่านทั้งหลายจักเป็นที่พึ่งให้ใครได้
ภิกษุที่ขึ้นมาเรียนนักธรรมโท แสดงว่า มิได้บวชไปตามประเพณีแล้ว แม้เมื่อลาสิกขาไป คนทั้งหลาย ย่อมยอมรับนับถือในฐานะผู้ที่บวชเรียนแล้ว สมควรที่จักเป็นที่พึ่ง ที่ปรึกษาให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ หรือแม้บวชต่อไป เพื่อแสวงหาพระนิพพาน ปริยัติธรรม จักช่วยให้มองภาพรวมของชีวิตในสมณเพศ เนื้อหาในการเรียน
นักธรรมโทนั้น ขึ้นสู่ขั้นมัชฌิมะ ได้แก่ การปฏิบัติพระกรรมฐาน อภิสมาจารซึ่งเป็นพระวินัยขั้นละเอียด มีหัวข้อธรรมมากมายให้ท่องจำ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสมณะ ดังนั้นภิกษุสามเณรจึงไม่ควรละเลยการเรียน ควรใส่ใจ ขยันหมั่นเพียร ทรงจำข้อธรรมไว้ให้ได้มากที่สุด เท่าที่ทำได้ จักได้เป็นที่พึ่งของพุทธบริษัทต่อไป

ในส่วนนี้ ข้าพเจ้าก็จักได้แนะแนวทาง การเรียนนักธรรมโทไว้เสียเป็นปฐมปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวก ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเราสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ มาช่วยในการเรียนได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องเล่นเทป หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม บันทึกเสียงอาจารย์ มาเปิดฟังวิชาธรรมวิภาคหรืออภิสมาจาร ในตอนเช้า หลังออกบิณฑบาต จักช่วยลดภาระการท่องจำไปได้มากฟังวันละครึ่งชั่วโมง ก็เพียงพอแล้ว ขอเพียงท่านทำสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน ถึงเวลาเตรียมสอบท่านจักรู้สึกว่า การสอบนักธรรมโทให้ผ่าน ไม่ยากนักในส่วนของวิชาธรรมวิภาค มีเนื้อหาค่อนข้างมาก ข้อสอบแต่ละปีออกไม่
ค่อยซ้ำกัน จึงต้องใช้ความเพียรมาก หมวดที่นิยมออกข้อสอบทุกปี จักเป็นหมวดหลังๆ เช่น กรรม ๑๒ ธุดงค์ ๑๓ และลักษณะข้อสอบจักอ้างอิงข้ามหมวดเปรียบเทียบกันเช่น เทียบเวทนา ๓ กับเวทนา ๕, เทียบวิญญาณฐิติ กับสัตตาวาส, เทียบกาม กับกามคุณ ฯลฯ ต้องสามารถท่องจำคำนิยามได้อย่างแม่นยำ มิฉะนั้น จักสับสนได้ ดังได้นำตัวอย่างข้อสอบย้อนหลังมาแสดง (ตัวอย่างข้อสอบ หัวข้อธรรมอาจไม่เรียง
ตามลำดับ ด้วยถือการจัดหน้ากระดาษเป็นสำคัญ)
img25

วิชาอนุพุทธประวัติ ควรจำไปตามลำดับ อย่างน้อย ควรท่องจำ ๔๙ ลำดับแรก และเอตทัคคะทั้งหมด ให้ได้ อนุพุทธะที่มีบทบาทมาก จักออกข้อสอบบ่อย เช่นพระอัญญาโกณฑัญญะ, พระยสะ, พระอุรุเวลกัสสปะ, พระสารีบุตร, พระโมคคัลลานะ, พระมหากัสสปะ, พระมหากัจจายนะ, พระอชิตะ, พระโมฆราช, พระราธะ, พระ
ปุณณมันตานีบุตร, พระกาฬุทายี, พระนันทะ, พระราหุล, พระอุบาลี, พระภัททิยะ,พระอนุรุทธ, พระอานนท์, พระภัคคุ, พระรัฐบาล, พระมหาปันถกะ, พระจูฬปันถกะ,พระปิณโฑลภารทวาชะ, พระกังขาเรวตะ, พระวักกลิ, พระวังคีสะ, พระปิลินทวัจฉะ,พระกุมารกัสสปะ, พระขทิรวนิยเรวตะ เป็นต้น ควรจำเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นแก่อนุพุทธะแต่ละองค์ เช่น พระสงฆ์องค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ, ผู้ได้รับเอตทัคคะทางมีบริวารมาก ได้แก่ พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น หัวข้อธรรมที่เกี่ยวข้องเช่น ทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่พระยสะ, พระปุณณมันตานีบุตร เสวนาธรรมกับพระสารีบุตร เรื่อง วิสุทธิ ๗, พระอนุรุทธ ตรึกถึง มหาปุริสวิตก ๘ เป็นต้น

๖. เทศนา ๒ มีอะไรบ้าง เทศนา ๒ อย่างนั้น ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ มี ปุคคลาธิฏฐานา มีบุคคลเป็นที่ตั้ง ๑, ธัมมาธิฏฐานา มีธรรมเป็นที่ตั้ง ๑ ฯต่างกันอย่างนี้
การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความเพียร โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ เป็น ปุคคลาธิฏฐานา ฯส่วนการยกธรรมแต่ละข้อ มาอธิบายความหมายอย่างเดียว เช่น สติ แปลว่า ความระลึกได้ หมายความว่า ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดอะไร ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน จึงทำ จึงพูดออกไป เป็นต้น เป็น ธัมมาธิฏฐานา ฯ

๗. ความเห็นว่าเที่ยง และเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นอย่างไร มติในทางพระพุทธศาสนาเป็นเช่นไร จงอธิบาย  ความเห็นว่า “ถึงคราวเคราะห์ดีก็ดีเอง ถึงคราวเคราะห์ร้าย ก็ร้ายเอง” อย่างนี้ เป็นทิฏฐิอะไร จงอธิบาย คติ
ทางพระพุทธศาสนาต่างจากความเห็นนี้อย่างไร
ตอบ ความเห็นว่าเที่ยง หรือสัสสตทิฏฐิ หมายถึง เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของยั่งยืนเคยเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น เช่น มนุษย์ตายไป แล้วก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ฯความเห็นว่าขาดสูญ หรืออุจเฉททิฏฐิ หมายถึง เห็นว่า สิ่งทั้งหลายล้วนสูญสิ้นไป ไม่มีการกลับมาเกิดอีก ไม่มีชาติหน้า ฯมติในทางพระพุทธศาสนา เห็นว่า สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน มีแต่ความแปรผันวนเวียนไปมาในสังสารวัฏ ตามกฎแห่งกรรม ความเห็นว่าเที่ยง จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ไม่มีการสูญ มีแต่การพ้นไปจากวัฏสงสาร ไม่กลับมาเกิดอีก เรียกว่าพระอรหันต์ การเวียนเกิด ก็เพราะมีเหตุปัจจัย คือ มีอวิชชา ตัณหา กรรม พาให้เกิดความเห็นว่า ขาดสูญ จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ ในมติทางพระพุทธศาสนา ฯเป็นอเหตุกทิฏฐิ คือเห็นว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่มีเหตุปัจจัย คนเราจะได้ดี หรือได้ร้าย ตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดีก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุปัจจัยอื่น ๆ ฯพระพุทธศาสนาถือว่า สังขตธรรมทั้งปวง เกิดแต่เหตุ

๘. ปฏิสันถาร คืออะไร จงแสดงวิธีปฏิสันถารตามความรู้ที่ได้ศึกษามา มีประโยชน์แก่ผู้ทำอย่างไรบ้าง
ตอบ คือ การต้อนรับผู้มาเยือน ด้วยการพูดจาโอภาปราศรัย หรือด้วยการรับรองด้วยสิ่งของต้อนรับ ตามสมควร ด้วยไมตรีจิต ฯปฏิสันถารที่ได้ศึกษามามี ๒ อย่าง คือ
ก) อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยสิ่งของ ได้แก่ การจัดหาวัตถุสิ่งของ
ต้อนรับ เช่น ข้าว น้ำ หรือที่พัก เป็นต้น
ข) ธัมมปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยธรรม ได้แก่ การแสดงการต้อนรับ
ตามความเหมาะสมแก่ผู้มาเยือน หรือการให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ เป็นต้น ฯ
มีประโยชน์อย่างนี้คือ
ก) เป็นอุบายสร้างความสามัคคี และยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
ข) เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกัน ให้มั่นคงยิ่งขึ้น ฯ

๙. รูปในขันธ์ ๕ แบ่งเป็น ๒ ได้แก่อะไรบ้าง จงอธิบายมาสั้น ๆ พอเข้าใจ
ตอบ ได้แก่ มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ มีธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลมและอุปาทายรูป คือ รูปอาศัย เป็นอาการของมหาภูตรูป ฯ

img22๑๐. วิมุตติคืออะไร (๔๕) เจโตวิมุตติ กับปัญญาวิมุตติ ต่างกันอย่างไรวิมุตติ ๒ กับวิมุตติ ๕ จัดเป็นโลกิยะ และโลกุตตระอย่างไร
ตอบ คือ ความหลุดพ้น ฯเจโตวิมุตติ คือ การหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ เป็นของผู้บำเพ็ญฌาน หรือ ที่เรียกว่าสมถยานิก แล้วจึงมาบำเพ็ญวิปัสสนาต่อ ส่วนปัญญาวิมุตติ คือ การหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา เป็นของผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน หรือ ที่เรียกว่า วิปัสสนายานิก ฯอีกนัยหนึ่ง เรียกเจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ เรียกปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา ฯวิมุตติ ๒ เป็นโลกุตตระอย่างเดียว ฯ ส่วนวิมุตติ ๕ เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ ฯ

๑๑. อกุศลวิตก ๓ มีโทษอย่างไร แก้ด้วยวิธีอย่างไร
ตอบ กามวิตก ทำให้ใจเศร้าหมอง เป็นเหตุให้มัวเมาติดอยู่ในกามสมบัติ แก้ด้วยการเจริญกายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐานพยาบาทวิตก ทำให้เดือดร้อนกระวนกระวายใจ คิดทำร้ายผู้อื่น แก้ด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหารวิหิงสาวิตก ย่อมครอบงำจิต ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่นโดยเห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตัว แก้ด้วยการเจริญกรุณาพรหมวิหาร และโยนิโสมนสิการ ฯ

๑๒. อายตนะภายใน อายตนะภายนอก เป็นต้น ได้ชื่อว่า ปิยรูป สาตรูปเพราะเหตุไร โดยตรงเป็นที่เกิดเป็นที่ดับแห่งกิเลสอะไร
ตอบ เพราะเป็นสภาวะที่รักที่ชอบใจ ด้วยเพ่งอิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้ง ฯเป็นที่เกิด เป็นที่ดับแห่งตัณหา ฯ

๑๓. พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่าไหนว่า มีลักษณะเหมือนกับไฟ ที่ทรงอุปมาเช่นนั้น เพราะเหตุไร
ตอบ กิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ฯเพราะเมื่อกิเลสทั้ง ๓ กองนี้ กองใดกองหนึ่งเกิดขึ้นภายในใจของบุคคล จะแผดเผาก่อให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นภายในใจ ฯ

๑๔. คำว่า อธิปเตยยะ แปลว่าอะไร มีอะไรบ้าง บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหนได้หรือไม่

ตอบ แปลว่า ความเป็นใหญ่ มี ๓ คือ อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่ ๑,โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่ ๑, ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ ๑ ฯจัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ

๑๕. วิโมกข์ คืออะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ คือ ความพ้นจากกิเลส ฯมี สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ

๑๖. กรรมและทวาร คืออะไร อภิชฌาเป็นกรรมใด และเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย
ตอบ กรรม คือ การกระทำ ทวาร คือ ทางเกิดของกรรม ฯอภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวารเช่น มีความอยากได้ แล้วลูบคลำพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้ แล้วบ่นรำพึงรำพันว่า ทำอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้นและเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้ แล้วรำพึงในใจ ฯ

๑๗. สังขารทั้งหลายไม่เป็นอนัตตาหรือ เพราะเหตุไรในธรรมนิยามจึงใช้คำว่า
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จงอธิบาย
ตอบ สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา ธรรมทั้งหลายในธรรมนิยาม หมายสังขตธรรมและอสังขตธรรม สังขตธรรมได้แก่สังขารนั่นเอง อสังขตธรรมได้แก่วิสังขาร คือ พระนิพพาน ฯ

๑๘. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธ มีอธิบายอย่างไร
ตอบ มี ก) สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
ข) กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
ค) กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
มีอธิบายอย่างนี้
ก) ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธ จัดเป็นสัจจญาณ
ข) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้งจัดเป็น กิจจ
ญาณ
ค) ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว
จัดเป็นกตญาณ ฯ

๑๙. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง
ตอบ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ฯพระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ ๑, วิจิกิจฉา ๑, สีลัพพตปรามาส ๑ ฯ

img07๒๐. ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่าดำรงอยู่ในอริยวงศ์ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไรเมื่อดำรงอยู่ในอริยวงศ์ถูกต้องดีแล้วจะได้รับผลอย่างไร
ตอบ เพราะเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะตามมีตามได้ และยินดีในการเจริญกุศล และละอกุศล ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสติสัมปชัญญะ ฯย่อมได้รับผล คือ ความสุขใจ และปลอดโปร่งใจ เพราะความประพฤติดีปฏิบัติชอบของตน และไม่ต้องเดือดร้อนใจ ย่อมครอบงำยินดี และความไม่ยินดีเสียได้ ความยินดีและความไม่ยินดี ก็ไม่อาจครอบงำท่านได้ และใคร ๆ ก็มิอาจติเตียนท่านได้ ฯ

๒๑. กิจจญาณ คืออะไร เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร
ตอบ คือ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ฯปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรรู้ ทุกขสมุทัย ควรละ ทุกขนิโรธ ควรทำให้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ควรทำให้เกิด ฯ

๒๒. ปาฏิหาริย์คืออะไร (๔๔) มีอะไรบ้าง อย่างไหนเป็นอัศจรรย์ที่สุด
ตอบ คือ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ มี อิทธิปาฏิหาริย์ มีฤทธิ์เป็นอัศจรรย์๑, อาเทสนาปาฏิหาริย์ ทายใจเป็นอัศจรรย์ ๑, อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ๑ ฯอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ที่สุด

๒๓. พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า
พุทธัตถจริยา คือทรงประพฤติอย่างไร ตอบ ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือ ได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนา โปรดเหล่าเวไนยสัตว์ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ให้รู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกขาบท อันเป็นอาทิพรหมจริยกาสิกขา และอภิสมาจาร ฯ

๒๔. พุทธจริยา และพุทธิจริต ต่างกันอย่างไร
ตอบ พุทธจริยา คือ พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงประพฤติ หรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อเวไนยสัตว์ ฯ
พุทธิจริต เป็นหนึ่งในอัชฌาสัยของบุคคล มี ๖ ประเภท ได้แก่ ราคจริต โทสจริตโมหจริต วิตักกจริต สัทธาจริต พุทธิจริต ฯ

๒๕. กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่า วัฏฏะ เพราะเหตุไร จงอธิบาย
ตอบ เพราะมีลักษณะวน คือ หมุนเวียนเกิดเป็นวงจรซ้ำซาก ฯอธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว วิบากจากกรรมนั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อได้รับวิบากแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสขึ้นอีก ฯ
๒๖. คำว่า พระโสดาบัน และสัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร
ตอบ พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลเบื้องต้น ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ ได้แก่สักกายทิฏฐิ ๑, วิจิกิจฉา ๑, สีลัพพตปรามาส ๑ ฯสัตตักขัตตุปรมะ คือ พระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ
๒๗. อบาย ได้แก่อะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ ได้แก่ ภูมิ กำเนิด หรือพวก อันหาความเจริญมิได้ ฯมี นิรยะ คือนรก ๑, ติรัจฉานโยนิ คือกำเนิดดิรัจฉาน ๑, ปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต ๑, อสุรกาย คือพวกเจ้าทิฏฐิ ๑ ฯ
๒๘. อาหารของสัตว์นรกและเปรต คืออะไร คนจำพวกไหน เปรียบเหมือนอสุรกายในอบาย ๔
ตอบ สัตว์นรกมีอาหาร เป็นกรรมอย่างเดียว เปรต มีผลทานที่ญาติทำอุทิศให้ด้วย ฯคนลอบทำโจรกรรม ย่องเบา หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น ค้าขายมนุษย์ เสพหรือค้ายาเสพติด เมื่อถูกจับได้ จักละอาย ตรงกับคำว่า “อสุระ” แปลว่า ไม่กล้า ฯ

๒๙. ในอปัสเสนธรรม ข้อว่า “พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง” คำว่า “ของอย่างหนึ่ง” ในข้อนี้ได้แก่อะไร ผู้พิจารณานั้น ได้ประโยชน์อย่างไร
ตอบ ได้แก่ ปัจจัย ๔ บุคคล และธรรม เป็นต้น ทำให้เกิดความสบาย ฯได้ประโยชน์อย่างนี้ คือ ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งขึ้น ทำกิเลสและอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เสื่อมไป ฯ
๓๐. ทิฏฐุปาทาน ลีลัพพตุปาทาน คืออะไร
ตอบ ทิฏฐุปาทาน คือ ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นผิด ด้วยอำนาจความอวดดื้อถือดี ไม่รับความคิดเห็นของคนอื่น สีลัพพตุปาทาน คือ ถือมั่นธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมาจนชิน ด้วยความเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ จนหลงงมงาย

๓๑. พรหมวิหาร กับอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร อย่างไหนเป็นปฏิปทา โดยตรงของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
ตอบ ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือ แผ่โดยเจาะจงตัวบุคคล หรือจำกัดในกลุ่มของบุคคลจัดเป็นพรหมวิหาร ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจง ไม่จำกัด จัดเป็นอัปปมัญญา ฯอัปปมัญญา เป็นปฏิปทาของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ฯ
๓๒. กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ
ตอบ เรียกว่า โอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์เรียกว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
เรียกว่า อาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน ฯ
262129_198002336916982_100001216522700_626071_6370412_n๓๓. เวทนา ๓ และเวทนา ๕ ได้แก่อะไรบ้าง จัดกลุ่มเทียบกันอย่างไร
ตอบ เวทนา ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉย ๆ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ฯเวทนา ๕ ได้แก่ สุข โสมนัส ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา ฯในเวทนา ๓ สุข คือ สุขกาย และสุขใจซึ่งในเวทนา ๕ สุขกาย คือ สุข สุขใจคือ โสมนัส
ในเวทนา ๓ ทุกข์ คือ ทุกข์กาย และทุกข์ใจ ซึ่งในเวทนา ๕ ทุกข์กาย คือทุกข์ ทุกข์ใจ คือ โทมนัส
ส่วน เฉย ๆ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ในเวทนา ๓ คือ อุเบกขา ในเวทนา ๕ ฯ
๓๔. กิจในอริยสัจ แต่ละอย่างนั้น มีอะไรบ้าง
ตอบ ก) ปริญญา รู้ทุกขสัจ
ข) ปหานะ ละสมุทัยสัจ
ค) สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
ง) ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด
๓๕. โยนิ คืออะไร มีอะไรบ้าง เทวดา และสัตว์นรก จัดอยู่ในโยนิไหน
ตอบ กำเนิด ฯ
ชลาพุชะ เกิดในครรภ์
อัณฑชะ เกิดในไข่
สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล
โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ฯ
เทวดา และสัตว์นรก จัดอยู่ใน
โอปปาติกะ ฯ

๓๖. ทักขิณา คืออะไร ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ มีอะไรเป็นเครื่องหมาย กำหนดรู้ได้อย่างไร
ตอบ คือ ของทำบุญ ฯมีกัลยาณธรรมของทายก หรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า
บริสุทธิ์ และมีความเป็นผู้ทุศีล และอธรรม ของทายก หรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า ไม่บริสุทธิ์ ฯกำหนดรู้ได้อย่างนี้ทั้งทายก ทั้งปฏิคาหก เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ทักขิณานั้นชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียวทั้งสองฝ่ายบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย ฯ
๓๗. วิญญาณกับสัญญา ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร
ตอบ วิญญาณทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่ออายตนะภายใน กับอายตนะ
ภายนอกมากระทบกัน เรียกว่า ผัสสะ เช่นเมื่อมะนาวมากระทบลิ้น เกิดการรับรู้รส
เปรี้ยวขึ้น เป็นต้น ส่วนสัญญา ทำหน้าที่จำได้ หมายรู้เท่านั้น จำได้ คือ ทราบว่า สิ่ง
ที่มากระทบอายตนะทั้งหก คืออะไร เช่น เห็นปลาฉลาม แล้วจำได้ว่าเป็นปลาฉลาม
หมายรู้ คือ เทียบเคียงสิ่งที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน กับสิ่งที่เคยรับรู้แล้ว เช่น ไม่เคยเห็น
ปลาโลมามาก่อน แต่เคยเห็นปลาฉลาม ก็หมายรู้ว่า คงเป็นปลาชนิดหนึ่ง คล้ายปลา
ฉลาม เป็นต้น ฯ
๓๘. มานะ คืออะไร ว่าโดยย่อ ๓ อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ คือ ความสำคัญตัวว่า เป็นนั่น เป็นนี่ นึกเปรียบเทียบ ความถือตัวถือตน ฯ
ได้แก่ สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา ๑, สำคัญตัวว่าเสมอเขา ๑, สำคัญตัวว่าด้อยกว่าเขา ๑
๓๙. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่า มาร เพราะเหตุไร กิเลสมาร และมัจจุมาร จัดเข้าใน
อริยสัจข้อใดได้หรือไม่ เพราะเหตุไร
ตอบ เพราะบางที ทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียก็มี ฯ
ได้ ฯ กิเลสมาร จัดเข้าในทุกขสมุทัยสัจ เพราะกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มัจจุมาร จัด
เข้าในทุกขสัจ เพราะเป็นตัวทุกข์ ฯ

๔๐. มาร คืออะไร เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร (๔๙,๔๔) มัจจุมารได้แก่
อะไร ได้ชื่อว่า เป็นมารเพราะเหตุไร
ตอบ คือ ผู้ฆ่า หรือ สิ่งที่ล้างผลาญทำลายความดี ชักนำให้ทำบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้
ทำความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ
หมายถึง อกุศลกรรม ฯ
ได้แก่ ความตาย ฯ ชื่อว่า เป็นมาร เนื่องเพราะเมื่อความตายบังเกิดแก่บุคคลใด
บุคคลนั้นย่อมหมดโอกาสในการทำคุณความดีใด ๆ อีกต่อไป ฯ
๔๑. วิมุตติ คืออะไร ตทังควิมุตติ มีอธิบายว่าอย่างไร (๔๗) ในวิมุตติ ๕ วิมุตติ
อย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตตระ
ตอบ คือ ความทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ฯ
มีอธิบายว่า ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว ด้วยการระงับ กด ข่ม เลี่ยง ฯ
ตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ จัดเป็นโลกิยวิมุตติ ส่วน สมุทเฉทวิมุตติ
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ จัดเป็นโลกุตตรวิมุตติ ฯ
๔๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล คืออย่างไร ครูสอนศิษย์ ปิดบังอำพรางความรู้
ไม่บอกให้สิ้นเชิง จัดเข้าในมัจฉริยะข้อไหน
ตอบ คือ หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิต ก็
หวงอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น
ธัมมมัจฉริยะ ฯ
๔๓. พระธรรมคุณบทใด มีความหมายตรงกับคำว่า “ท้าให้มาพิสูจน์ได้” พระ
ธรรมคุณบทนั้น มีอธิบายว่าอย่างไร
ตอบ บทว่า เอหิปัสสิโก ฯ
มีอธิบายว่า พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถที่จะให้พิสูจน์ได้ทุกเวลา
ปฏิบัติแล้วให้ผลจริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง พ้นทุกข์ได้จริง ฯ
๔๔. สุทธาวาสมีกี่ชั้น อะไรบ้าง เป็นที่เกิดของใคร
ตอบ มี ๕ ชั้น ได้แก่ อวิหา ๑, อตัปปา ๑, สุทัสสา ๑, สุทัสสี ๑, อกนิฏฐา ๑ ฯ
เป็นที่เกิดของพระอนาคามี ฯ

img15๔๕. อัญญสัตถุทเทส คืออะไร หมายถึงผู้ประพฤติเช่นไร อัญญสัตตุเทส ต่าง
จากสังฆเภทอย่างไร
ตอบ คือ ถือศาสดาอื่น หมายถึงภิกษุผู้ถือครองเพศบรรพชิตอยู่ หันไปเข้ารีตเดียร์ถีย์
ต้องห้ามมิให้อุปสมบทอีก หากมีจิตฝักใฝ่ศาสนาอื่น สมควรสิกขาลาเพศเสียก่อน ฯ
ต่างกัน คือ อัญญสัตถุทเทสนั้น ละทิ้งศาสนาเดิมของตน เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น
แต่ไม่ทำลายพวกเดิมของตน
ส่วนสังฆเภทนั้น ยังอยู่ในศาสนาเดิมของตน แต่ทำลายพวกตนเองให้แตกแยก เป็น
พรรค เป็นพวก ฯ
๔๖. บุคคลผู้มีปกติต่อไปนี้ ก) ผู้มีปกติรักสวยรักงาม ข) ผู้มีปกตินึกพล่าน จัดเข้า
ในจริตอะไร จะพึงแก้ด้วยธรรมข้อใด
ตอบ ก) จัดเข้าในราคจริต พึงแก้ด้วยเจริญกายคตาสติ หรืออสุภกัมมัฏฐาน
ข) จัดเข้าในวิตักกจริต พึงแก้ด้วยเพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติ ฯ
๔๗. พระธรรมคุณบทว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสดีแล้ว ที่ว่า ดีแล้ว นั้นมีอธิบายอย่างไร (๔๗)
ตอบ มีอธิบายอย่างนี้คือ ดีทั้งในส่วนปริยัติ และดีทั้งในส่วนปฏิเวธ ในส่วนปริยัติ ได้
ชื่อว่าดี เพราะตรัสไม่วิปริต เพราะแสดงข้อปฏิบัติโดยลำดับกัน มีความไพเราะใน
เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด มีทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และเพราะ
ประกาศพรหมจรรย์อย่างนั้น ส่วนในปฏิเวธนั้น ได้ชื่อว่า ดี เพราะปฏิปทา กับพระ
นิพพาน ย่อมสมควรแก่กัน และกัน ฯ
๔๘. อริยบุคคล ๘ ได้แก่ใครบ้างจัดเข้าในพระเสขะและพระอเสขะได้อย่างไร
ตอบ ได้แก่ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ๑, พระผู้
ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ๑, พระผู้ตั้งอยู่ใน
อนาคามิมรรค ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ๑ และ
พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล ๑ ฯ
จัดเข้าได้อย่างนี้ อริยบุคคล ๗ บุคคลแรก เรียกว่า พระเสขะ อริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ใน
อรหัตตผล เรียกว่า พระอเสขะ ฯ

๔๙. การจ้องตาต่อตา กับผู้หญิงสาว แล้วชื่นใจ จัดเป็นเมถุนสังโยคได้หรือไม่
เพราะเหตุไร
ตอบ ได้ เพราะอาการเช่นนั้น อิงอาศัยกาม ฯ
๕๐. อะไรเรียกว่า อนุสัย เพราะเหตุไรจึงชื่อเช่นนั้น (๔๘,๔๔) กิเลสชื่อว่า สังโยชน์
มีอธิบายอย่างไร
ตอบ กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานสัตว์ เรียกว่า อนุสัย ฯ
เพราะกิเลสทั้ง ๗ อย่าง ล้วนเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน บางที
ไม่แสดงอาการ ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมายั่วยวน จึงแสดง ครั้นอารมณ์ยั่วยวน
ภายนอกหมดไป อาการก็สงบนิ่ง ประหนึ่งผู้ที่หมดกิเลสแล้วอยู่เช่นนี้ ฯ
กิเลสที่ได้ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะเป็นกิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้กับภพ ไม่ให้หลุดพ้นไปได้ ฯ
๕๑. พระพุทธคุณบทว่า “อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้
ไม่มีใครยิ่งกว่า” คำว่า “บุรุษที่ควรฝึกได้” นั้น หมายถึงบุคคลเช่นไร
ตอบ หมายถึง บุคคลผู้มีอุปนิสัยที่อาจฝึกให้ดีได้ และมีศรัทธา ได้แก่ อุคฆฏิตัญญู ผู้
มีปัญญามาก วิปจิตัญญู ผู้มีปัญญาปานกลาง และ เนยยะ ผู้มีปัญญาเล็กน้อย ส่วน
ปทปรมะ ผู้ไร้ปัญญา มิอาจฝึกได้ ฯ
๕๒. วิญญาณฐิติ ต่างจากสัตตาวาสอย่างไร นิโรธสมาบัติ กับสัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติต่างกัน หรือเหมือนกัน
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณฐิติ ภพเป็นที่อยู่แห่ง
สัตว์ เรียกว่า สัตตาวาส ฯ
ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือท่านผู้เข้าถึงสมาบัติชนิดนี้แล้ว
ย่อมไม่มีทั้งสัญญา และเวทนา ฯ
๕๓. พระสงฆ์ ในบทสังฆคุณ ๙ ท่านหมายถึงพระสงฆ์เช่นไร คำว่า “อุชุปฏิปนฺโน
เป็นผู้ปฏิบัติตรง” คือปฏิบัติเช่นไร
ตอบ หมายถึง พระสาวกผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษ ฯ
คือ ไม่ปฏิบัติลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่ประพฤติเหลวไหล ประพฤติตรงต่อพระ
ธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ

๕๔. ในพระพุทธคุณ บทว่า อรหํ แปลว่าอย่างไรได้บ้าง  ที่แปลว่า เป็นผู้หัก
กำแห่งสังสารจักรนั้น กำแห่งสังสารจักร ได้แก่อะไร พระพุทธคุณต่อไปนี้ มี
คำแปลว่าอย่างไร ก) สุคโต ข) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
ตอบ แปลว่า เป็นผู้เว้นไกลจากกิเลส และบาปกรรม
เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร
เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนเขา
เป็นผู้ควรรับความเคารพนับถือของเขา
เป็นผู้ไม่มีข้อลับ ข้อเสียหาย อันจะพึงซ่อน เพื่อมิให้คนอื่นรู้ ฯ
ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ก) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
ข) เป็นสารถีแห่งบุรุษพึงฝึกได้ ไม่มีบุรุษอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
img61๕๕. พระสงฆ์ดีอย่างไร จึงจัดว่า เป็นนาบุญของโลก
ตอบ พระสงฆ์ เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักขิณาที่บริจาคแก่ท่าน ย่อมมีผลานิสงส์ ดุจนาที่มีดิน
ดี และไถดี พืชที่หว่าน ที่ปลูกลง ย่อมมีผลิตผลไพบูลย์ จึงชื่อว่า นาบุญของโลก ฯ
๕๖. บารมี คืออะไร อธิษฐานบารมี คือการทำอย่างไร
ตอบ ปฏิปทาอันยิ่งยวด หรือคุณธรรมที่ประพฤติอย่างยิ่งยวด ได้แก่ ความดีที่
บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด ฯ
คือความตั้งใจมั่น ตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน
และดำเนินการตามนั้นอย่างแน่วแน่ ฯ
๕๗. สมุทัยวาร กับ นิโรธวาร ในปฏิจจสมุปบาท ต่างกันอย่างไร (๕๑)
ตอบ สมุทัยวาร คือ การแสดงความเกิดแห่งผล เพราะเกิดแห่งเหตุ ฯ
ส่วนนิโรธวาร คือ การแสดงความดับแห่งผล เพราะดับแห่งเหตุ ฯ
๕๘. กรรม หมายถึงการกระทำเช่นไร
ตอบ หมายถึง การกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่มีเจตนาจงใจทำ เป็นได้ทั้งฝ่ายดี ฝ่าย
ชั่ว หรือเป็นกลาง ๆ ฯ

๕๙. พุทธภาษิตว่า ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แต่
ปรากฏว่า ผู้ทำกรรมชั่ว ยังได้รับสุขก็มี ผู้ทำกรรมดียังได้รับทุกข์ก็มี ที่เป็น
เช่นนี้เพราะเหตุไร
ตอบ เพราะกรรมบางอย่าง ให้ผลในภพนี้ บางอย่างให้ผลในภพหน้า หรือในภพต่อ ๆ
ไป ผู้ทำกรรมชั่วได้รับสุข เพราะกรรมชั่วยังไม่ได้ช่องให้ผลในขณะนั้น กรรมดีที่เขาทำ
ไว้ในอดีต กำลังให้ผลอยู่ แต่กรรมชั่วนั้น ยังไม่สูญหายไป ยังติดตามให้ผลอยู่เสมอ
เป็นแต่ยังไม่ได้ช่องเท่านั้น ส่วนผู้ทำกรรมดี ที่ไม่ได้รับสุขในขณะนั้น เพราะกรรมชั่วที่
เขาได้ทำไว้ในอดีต กำลังให้ผลอยู่ จึงต้องรับทุกข์ลำบากอยู่ในขณะนั้น แต่กรรมดีที่ทำ
ไว้นั้น ยังไม่สูญหายไป ยังติดตามเขาไป เหมือนเงาตามตัว ฉะนั้น เมื่อได้ช่อง ก็ย่อม
ให้ผลทันที ฯ
๖๐. ในกรรม ๑๒ กรรมที่ให้ผลตามลำดับ ได้แก่กรรมอะไรบ้าง อุปฆาตกรรม มี
อธิบายอย่างไร
ตอบ ได้แก่ ก) ครุกรรม กรรมหนัก
ข) พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมชิน
ค) อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน
ง) กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ ฯ
อุปฆาตกรรม เป็นกรรมที่แรง ซึ่งตรงกันข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม เข้า
ตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดในตระกูลมั่ง
คั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น ฯ
๖๑. อุปัตถัมภกกรรม กับ อุปปีฬกกรรม ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร
ตอบ อุปัตถัมภกกรรม ทำหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนผลแห่งชนกกรรม ส่วนอุปปีฬก
กรรม ทำหน้าที่บีบคั้นผลแห่งชนกกรรม ฯ
๖๒. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ก) อโหสิกรรม ข) กตัตตากรรม
ตอบ ก) คือ กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว เป็นกรรมล่วงคราวแล้ว เลิกให้ผลเปรียบ
เหมือนพืชสิ้นยางแล้ว เพาะไม่ขึ้น ฯ
ข) คือ กรรมสักว่าทำ ได้แก่กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ฯ

๖๓. คำต่อไปนี้ มีความหมายอย่างไร
ก) ชนกกรรม
ข) อุปัตถัมภกกรรม
ค) ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
ง) อุปปัชชเวทนียกรรม
จ) กตัตตากรรม
ตอบ ก) กรรมแต่งให้เกิด
ข) กรรมสนับสนุน
ค) กรรมให้ผลในภพนี้
ง) กรรมให้ผลในภพหน้า
จ) กรรมสักว่าทำ คือกรรมที่
ทำด้วยไม่จงใจ ฯ
๖๔. ธุดงค์ คืออะไร ข้อใดของปัจจัย ๔ ไม่มีในธุดงค์
ตอบ คือ ข้อปฏิบัติพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย
สันโดษ มิใช่ข้อบังคับ ฯ
เภสัช หรือ ยารักษาโรค ไม่มีในธุดงค์ ฯ
๖๕. ในธุดงค์ ๑๓ นั้น ธุดงค์ที่ถือได้เฉพาะกาลมีอะไรบ้าง การถือธุดงค์ ย่อม
สำเร็จด้วยอาการอย่างไร
ตอบ ก) รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
ข) อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้ง ๆ เป็นวัตร ฯ
สำเร็จด้วยการสมาทาน คือด้วยอธิษฐานใจ หรือแม้ด้วยเปล่งวาจา ฯ
๖๖. ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คืออย่างไร ธุดงค์ข้อใด ที่ภิกษุ
สมาทานสำเร็จด้วยอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง
ตอบ คือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหา และใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล มาเย็บย้อม
ทำจีวรใช้เอง ฯ
คือ เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ถือเฉพาะอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน
และนั่งเท่านั้น ฯ
๖๗. คำว่า ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์ ในนิทเทสแห่งวิชชา ๓ หมายถึงเห็นอย่างไร
ตอบ หมายถึง การเห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ดี มีผิวพรรณไม่งาม ได้ดี
ตกยาก รู้ชัดว่า เหล่าสัตว์เป็นไปตามกรรม ฯ

img34๖๘. ธุดงค์ ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร อารัญญิกังคธุดงค์ คือการถือปฏิบัติ
อย่างไร
ตอบ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ฯ
คือ การถืออยู่ป่าเป็นวัตร หมายถึงการพักอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า หรือบริเวณป่า
และจะต้องห่างจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น หรือ ๕๐๐ ชั่วธนู ฯ
๖๙. อัตตกิลมถานุโยค กับการบำเพ็ญธุดงควัตร ต่างกันอย่างไร (๔๗) คำว่า
“วัตร” ในธุดงควัตร หมายถึงอะไร ผู้ถือธุดงค์ข้อเตจีวริกังคะอย่างเคร่ง มีวิธี
ปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ลำบาก เพื่อเผาผลาญกิเลส
ตามลัทธิทรมานตน ๑ เพื่อให้บาปกรรมหมดไปในลัทธิอื่น ๆ ๑ เพราะการทรมานนั้น
หรือเพื่อบูชาพระเจ้า ซึ่งเมื่อทราบแล้ว จะทรงโปรดให้ประสบผลที่น่าปรารถนา ส่วน
การบำเพ็ญธุดงควัตร บัญญัติขึ้น เพื่อจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อ
ความมักน้อยสันโดษ ฯ
หมายถึงข้อปฏิบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ตามแต่ใครจะสมัครถือ ฯ
มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น เว้นจีวรผืนที่ ๔ เสีย แม้จะซักหรือ
จะย้อมอันตรวาสก ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่ง และใช้สังฆาฏิห่มแทน ฯ
๗๐. สัทธรรมในจรณะ ๑๕ คืออะไรบ้าง
ตอบ คือ สัทธา ความเชื่อ ๑, หิริ ความละอายแก่ใจ ๑, โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด
๑, พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก ๑, วิริยะ ความเพียร ๑, สติ ความระลึกได้ ๑,
ปัญญา ความรอบรู้ ๑ ฯ

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons