วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๓.๒ เวทนาโดยเภทนัย

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

๓.๓.๒ เวทนาโดยเภทนัย

เวทนาเภทนัย คือ การแบ่งจิตโดยถือตามความแตกต่างของเวทนา ๕ คือ สุขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ดีทางกาย ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีทางกาย โสมนัสเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ดีทางใจ โทมนัสเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีทางใจ อุเบกขาเวทนา การเสวยอารมณ์ปานกลางทางใจ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง เมื่อแบ่งตามเวทนาเภทนัย ก็ได้ ๕ ประเภทดังนี้

๑.สุขเวทนาจิต คือ จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา (สุขกาย) มี ๑ ดวง คือ สุขสหคตกายวิญญาณจิต (จิตที่ ๒๔ ในกุศลวิปากจิต ๘)

๒.ทุกขเวทนาจิต คือ จิตที่เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา (ทุกข์กาย) มี ๑ ดวง คือ ทุกขสหคตกายวิญญาณจิต (จิตที่ ๑๗ ในอกุศลวิปากจิต ๗)

.โสมนัสเวทนาจิต คือ จิตที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา (สุขใจ) มี ๓๐ ดวง คือ

โสมนัสโลภมูลจิต ๔ (คือจิตดวงที่ ๑-๔ ในอกุศลจิต ๘)

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ (คือจิตดวงที่ ๒๗ ในกุศลวิปากจิต ๘)

กามโสมนัส ๑๘clip_image002 โสมนัสกามาวจรกุศลจิต ๔ (คือจิตที่ ๓๑–๓๔ ในกามาวจรกุศลจิต)

โสมนัสกามาวจรวิปากจิต ๔(คือจิตที่ ๓๙ -๔๒ ในกามาวจรวิปากจิต ๘)

โสมนัสกามาวจรกิริยาจิต ๔ (คือจิตที่ ๔๗ -๕๐ ในกามาวจรกิริยาจิต ๘)

รูปาวจรกุศลจิต ๔ (คือจิตที่ ๕๕–๕๘ ในรูปาวจรกุศลจิต ๕)

ฌานโสมนัส ๑ รูปาวจรวิปากจิต ๔ (คือจิตที่ ๖๐–๖๓ ในรูปาวจรกิริยาจิต ๕)

รูปาวจรกิริยาจิต ๔ (คือจิตที่ ๖๕–๖๘ ในรูปาวจรกิริยาจิต ๕)

๔.โทมนัสเวทนาจิต คือ จิตที่เกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา (ทุกข์ใจ) มี ๒ ดวง คือ โทสมูลจิต ๒ (คือจิตที่ ๙–๑๐)

๕.อุเบกขาเวทนาจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับอุเบกขาเวทนามี ๕๕ ดวง คือ

อุเบกขาโลภมูลจิต ๔ (คือจิตที่ ๕-๘ ในโลภมูลจิต ๘)

อุเบกขาโมหมูลจิต ๒ (คือจิตที่ ๑๑–๑๒ ในโมหมูลจิต ๒)

กามอุเบกขา ๓ อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ (คือจิตที่ ๑๓–๑๖,๑๘–๑๙ ในอกุศลวิปากจิต ๗

จิตที่ ๒๐–๒๓,๒๕–๒๖ ในกุศลวิปากจิต ๘ และจิตที่ ๒๘–๒๙ในกริยาจิต ๓)

อุเบกขากามาวจรกุศลจิต ๔ (คือจิตที่ ๓๕–๓๘ ในกามาวจรกุศลจิต ๘)

อุเบกขากามาวจรวิปากจิต ๔ (คือจิตที่ ๔๓–๔๖ ในกามาวจรวิปากจิต๘)

อุเบกขากามาวจรกิริยาจิต ๔ (คือจิตที่ ๕๑–๕๔ ในกามาวจรกิริยาจิต๘)

รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ (คือจิตที่ ๕๙,๖๔,๖๙ ในรูปาวจรจิต ๑๕)

มหัคคตอุบกขา ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ (คือจิตที่ ๗๐–๘๐ ในอรูปาวจรจิต ๑๒)

โลกุตตรอุเบกขา ๘ โลกุตตรจิต ๘ (คือจิตที่ ๘๒–๘๙ ในโลกุตตรจิต ๘)

๓.๔ . สัญญาขันธ์ [Perception]

คำว่าสัญญา แปลว่า ความจำได้หมายรู้ สิ่งที่เรียกว่าสัญญานี้ ไม่ได้มีความหมายเพียงการจำได้เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงการจดจำสิ่งที่ผ่านมาได้แม้จะนาน เช่น เห็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เราเคยเห็นมาก่อน ว่ามันมีรูปร่างอย่างนี้มันคือผลไม้ชนิดเป็นต้น ดังนั้นความจำต่างๆตามทรรศนะพุทธปรัชญาจึงได้ชื่อว่า เป็นกองแห่งความจำในวิถีชีวิตของคนๆหนึ่งถ้าไม่มีความพิการทางสมองก็จะสามารถจดจำบุคคลและเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสได้ ดังนั้นสัญญาขันธ์ซึ่งทำหน้าที่รับรู้อารมณ์และจำอารมณ์ตามที่อารมณ์นั้นมากระทบ ในสังยุตตนิกาย พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายเกี่ยวกับสัญญา ดังความว่า “ดูกรภิกขุทั้งหลาย เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าสัญญา เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่าสัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้างสีขาวบ้าง๓๗ ดังนั้นสัญญาขันธ์ หรือกองแห่งสัญญา ก็เพราะสัญญามีหลายอย่าง เมื่อรวมเอาสัญญาที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าด้วยกันจึงเรียกว่ากองแห่งสัญญา จัดเป็นสัญญา ๖ อย่าง ดังนี้

๑) รูปสัญญา คือความจำรูปต่างๆได้ว่ามีรูปอะไร สีอย่างไร มีลักษณะอย่างไร เป็นคนหรือเป็นสิ่งของ

๒) สัททสัญญา คือความจำเสียงได้ กำหนดได้ว่าเป็นเสียงต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงสัตว์หรือเสียงดนตรี

๓) คันธสัญญา คือความจำกลิ่นได้คือสามารถกำหนดรู้ได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็น กลิ่นคนหรือกลิ่นดอกไม้

๔) รสสัญญา คือความจำรสได้คือสามารถกำหนดรู้ว่า รสหวาน รสเปรี้ยว

๕) โผฏฐัพพสัญญา คือความจำสิ่งสัมผัสทางกายได้ คือสามารถกำหนดรู้ได้ว่า สิ่งที่สัมผัสนั้นมีลักษณะ อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน หรือเย็น

๖) ธัมมสัญญา คือความจำเรื่องราวต่างๆ หรือมโนภาพได้คือ สามารถกำหนดรู้ได้ว่าสิ่งที่เป็นอารมณ์ที่ใจนึกถึงนั้น มีลักษณะอย่างไร งาม น่าเกลียด ไม่เที่ยง เป็นความดี หรือความชั่ว ๓๘และสัญญา ๑๐ คือความกำหมาย,แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาเจริญกรรมฐาน คือ อนิจจสัญญา กำหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร อนัตตสัญญา กำหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งร่างกาย อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง สัพพสังขารุสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก๓๙

Mirror%20Of%20Water%20%20Cover

๓.๕ สังขารขันธ์ [Mental formation]

สังขารขันธ์ แปลว่ากองแห่งสังขาร สังขารซึ่งเป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ นี้มีสภาพเป็น ๒ อย่างคือเมื่อกล่าวโดยแห่งการปรุงแต่งจากเหตุปัจจัย มันก็เป็นสังขารในไตรลักษณ์ แต่ถ้าหมายความถึงส่วนที่เป็นความปรุงแต่งจิตให้ดี ชั่วหรือเป็นกลางๆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นคุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลหรืออกุศล มันก็เป็นสังขารตามนัยแห่งขันธ์ ๕ ซึ่งมีกล่าวไว้ในสังยุตนิกายพระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงลักษณะของขันธ์ไว้ว่า

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุใดจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่าสังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือเวทนา โดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญา โดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารโดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมคือวิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ๔๐

คำว่าสังขาร ที่ปรากฏในไตรลักษณ์จะมีความนัยที่แตกต่างจากสังขารในขันธ์ ๕ กล่าวคือสังขารในไตรลักษณ์นั้น หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตาอำนาจของสิ่งปรุงแต่งหรือเหตุปัจจัย ซึ่งมีความหมายตรงกับสังขตธรรม คืออุปาทินกสังขาร ได้แก่สังขารที่มีชีวิตและมีวิญญาณครอง เช่นมนุษย์ สัตว์เดียรัจฉานชนิดต่างๆ รวมทั้งเทวดา เปรต สัตว์นรก และอนุปาทินกสังขาร คือสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง เช่น ต้นไม้ ก้อนดิน รถยนต์ เป็นต้น ส่วนสังขารในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็รวมอยู่ในสังขารของไตรลักษณ์ แต่สังขารขันธ์นั้นหมายถึงองค์ประกอบของจิตเรียกว่า เจตสิก ซึ่งทำหน้าที่ปรุงแต่งจิตให้คิดดี คิดไม่ดีหรือคิดเป็นกลางๆคือไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่าอภิสังขาร๔๑ (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ , เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม) ตามทรรศนะพุทธศาสนามี ๓ อย่างคือ

๑) ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ คือสภาวะที่ปรุงแต่งจิตดี หรือเป็นกุศลหรือคิดดี ได้แก่เจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร

๒) อปุญญภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือบาป หรือสภาวะที่ปรุงแต่งจิตชั่ว หรือเป็นอกุศลหรือคิดชั่ว ซึ่งได้แก่อกุศลเจตนาทั้งปวง

๓) อเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอเนญชา ซึ่งเป็นสภาวะที่ปรุงแต่งจิตไม่ดีไม่ชั่วหรือเป็นอัพยากฤตหรือกล่าวอีกอย่างว่าจิตคิดเป็นกลางๆ ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน

อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ซึ่งเป็นสภาพที่ปรุงแต่ง คือ(๑) กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่อัสสาสะและปัสสาสะ คือลมหายใจเข้าออก (๒) วจีสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่วิตกและวิจาร (๓) จิตตสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่สัญญาและเวทนา๔๒ ซึ่งเป็นสังขารในขันธ์ ๕ นี้ จัดเป็นนามธรรมโดยมีเจตนา ความจงใจเป็นผู้นำต่างจากสังขารในไตรลักษณ์ กล่าวคือสังขารทั่วๆไปหมายเอาทั้งวัตถุและจิตซึ่งเป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม สังขารตามนัยแห่งอภิธรรม จัดเป็นเจตสิกได้ ๕๒ อย่าง ถ้าเทียบกับการแบ่งตามนัยแห่งขันธ์ ๕ แล้วเจตสิกก็ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก และสังขารเจตสิก ในจำนวนสังขารทั้งหมดคือเจตสิก ๕๒ นั้น จัดเป็นเวทนา ๑ เป็นสัญญา ๑ ที่เหลือนอกนั้นอีก ๕๐ อย่างเป็นสังขารทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสังขารขันธ์จึงเท่ากับเจตสิก ๕๐ อย่าง ซึ่งแบ่งย่อยได้ดังนี้ คือ

๑) อัญญสมานาเจตสิก คือเจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว

(๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก คือเจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตทุกดวง กล่าวคือ ผัสสะ เอกัคคตา (สมาธิ) ชีวิตทรีย์ มนสิการ(จำนวนเดิมมี ๗ ทั้งเวทนาและสัญญา)

(๒) ปกิณณกเจตสิก คือเจตสิกที่เกิดกับจิตได้ทั่วๆไป ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว กล่าวคือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ (ความปักใจ) วิริยะ ปีติ และฉันทธ

๒) อกุศลเจตสิก คือเจตสิกที่เป็นอกุศล ๑๔ คือ

(๑) อกุศลสาธารณเจตสิก (คือเกิดกับจิตที่เป็นอกุศล ๔ คือ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ

(๒) ปกิณณกเจตสิก คือเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เป็นฝ่ายอกุศลแต่ไม่ทั่วไปทุกครั้ง มี ๑๐ ประการ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ และวิจิกิจฉาเป็นต้น

๓) โสภณเจตสิก คือเจตสิกดีงาม กล่าวคือเกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต มี ๒๕ คือ

(๑) โสภณสาธารณเจตสิก คือเกิดกับจิตที่ดีงามทุกดวง มี ๑๙ ดวงคือ ศรัทธา สติ หิริ โอตัปปะ อโลภะ อโทสะ (เมตตา) ตัตรมัชฌัตตตา(อุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งนามกาย คือกองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา(ความคล่องแคล่วแห่งนามกายคือกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งนามกายคือกองเจตสิก) จิตตุชุกตาT251109_04CC

(๒) ปกิณณกโสภณเจตสิก คือเจตสิกที่เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ทั่วไปมี ๖ ดวงคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (รวมเรียกว่าวีรตีเจตสิก๓ ) กรุณา มุทุตา (เรียกกันว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒) และปัญญา อีกนัยหนึ่งที่ท่านกล่าวว่าสังขารที่มีเจตนา จัดเป็น ๖ หมวด คือ รูปสัญญาเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา และธรรมสัญญเจตนา ๔๓

ดังนั้นสังขารในขันธ์ ๕ นี้โดยธรรมชาติของมันเองก็เป้นสิ่งที่เกิดจากาการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย มันจึงเป็นสังขารอย่างหนึ่งตามความหมายของสังขารในไตรลักษณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือสังขารในขันธ์ ๕ เป็นทั้งสังขารตามความหมายของสังขารในไตรลักษณ์ และสังขารตามนัยของสังขารในขันธ์ ๕ ถ้ากล่าวอีกแง่นหนึ่งคือเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย มันก็เป็นสังขารในความหมายของพระไตรลักษณ์ แต่ถ้ากล่าวจากแง่ที่มันเป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ ซึ่งมีหน้าที่ปรุงแต่งจิต(วิญญาณขันธ์) คือการคิดดี เรียกว่ากุศลจิต การคิดไม่ดีเรียกว่าอกุศลจิต หรือคิดปรุงแต่งเป็นสภาพธรรมกลางๆเรียกว่าอัพยกฤต มันก็เป็นสังขารขันธ์ของขันธ์ ๕

สังขาร ในไตรลักษณ์หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามอำนาจของเหตุปัจจัย ซึ่งมีความหมายตรงกับสังขารในคำว่า สังขตธรรม ตามนัยนี้พุทธศาสนาถือว่าเป็นสังขารในไตรลักษณ์ กล่าวคือ มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าในธรรมนิยาม ๓ว่า๔๔ “สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา” แปลว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง “สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา” แปลว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ส่วนธรรมพระองค์ทรงตรัสว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ตามทรรศนะทางพุทธศาสนากล่าวว่าสังขารนั้นไม่ได้มีอยู่เฉพาะสังขตธรรมแต่ยังมีสังขารอย่าหนึ่งที่เรียกว่า “วิสังขาร” ซึ่งไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งนั้นเรียกว่า พระนิพพาน ซึ่งเป็นวิสังขารหรืออสังขตธรรม ซึ่งอยู่เหนือโลกธรรม เรียกว่าเป็นสังขตธรรมที่อยู่เหนือโลก เรียกว่า โลกุตตรธรรม


๓๗ สํ . ขนฺธ. ๑๗ / ๑๕๙

๓๘ ที. ปา. ๑๑ / ๓๐๙ / ๒๕๕ องฺ. ฉกฺก. ๒๒ / ๓๓๔ / ๔๖๑

๓๙ ที. ปา. ๑๑ / ๔๗๓ / ๓๔๐ อง. ทสก. ๒๔ / ๖๐/ ๑๑๖

๔๐ สํ. ขนฺธ. ๑๗ / ๑๕๙

๔๑ พระธรรมปิฏก, (ป.อ. ปยุตโต) , พจนานุกรมพุทศาสน์ ฉบับประมวลธรรม,พิมพ์ครั้งที่ ๘,(กรุงเทพฯ,โรงพิมพ์มหาจุฬาลงการราชวิทยาลัย,๒๕๓๘) , หน้า ๑๓๐

๔๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๔

๔๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๐–๓๑

๔๔ องฺ. ติกฺก. ๒๐ / ๕๗๖ / ๓๖๘

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons