วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผญาอีสานโดยสังเขป Phaya Esan

ผญาอีสานโดยสังเขป Phaya Esan

ภูมิหลัง วิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นในปัจจุบันย่อมมีพื้นฐานมาแต่อดีต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือถูกเรียกขานว่าภาคอีสาน  เมื่ออดีตนั้นได้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง  ซึ่งเป็นอาณาจักรอ้ายลาวเมื่อก่อนเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต  โดยมีอาณาเขตแผ่มาครอบคลุมตลอดดินแดนภาคอีสานในปัจจุบัน  อาทิเช่น  เวียงจันทร์  หลวงพระบาง  นครจำปาศักดิ์  ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้อพยพมาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบที่ราบสูง  ต่อมาอาณาจักรล้านช้างก็เสียอิสรภาพแก่กรุงธนบุรี  ดินแดนบริเวณนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน  โดยสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖  ได้ยกดินแดนอาณาจักรล้านช้าง(ลาว)  ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้เป็นของฝรั่งเศส  ส่วนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  คือพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมดยกให้เป็นของประเทศไทย               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานปัจจุบันแบ่งออกเป็น  ๑๙  จังหวัด  ดังนั้นชาวอีสานจึงเป็นชนชาติที่รวมกลุ่มกันมาแต่โบราณกาล  พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมประเพณีตลอดถึงอักษรใช้เป็นของตนเอง  โดยเฉพาะฮีตสิบสองคลองสิบสี่  (วิมลพรรณ  ปีตธวัชชัย, ฮีตสิบสอง, (สำนักพิมพ์มหาชน,กรุงเทพฯ หน้า ๒๗)  ภาคอีสานจึงเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย  คือบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน  สิ่งเหล่านี้ยืนยันถึงความเจริญในอดีตของดินแดนบริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี วิวัฒนาการของบทผญาช่วงแรกๆนั้นเป็นแบบมุขปาฐะ(Oral tradition)  คือการจำต่อๆกันมาต่อมา  แล้วมีการแตกย่อยคำผญาออกเป็นแขนงต่างๆอีกมากมาย  คำผญานั้นเป็นภูมิปรัชญาของอีสานโดยแท้จริง  ซึ่งช่วยผสานความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่างๆให้เชื่อมโยงเข้ากันได้เป็นอย่างดี  ตลอดถึงช่วยเป็นเครื่องจรรโลงใจ  เนื่องจากคำผญาบ้างคำก็เป็นบทผญาที่มีมาแต่เก่าแก่  ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ  บางครั้งก็เป็นปริศนาธรรม  ซ่อนเงื่อนปุ่มประเด็นเอาไว้ให้คนคิดกัน  ส่วนมากมักจะมีความเชื่อมโยงถึงหลักธรรมในทางพุทธศาสนาเป็นสำคัญปัจจัยที่ทำให้เกิดอีกอย่างคือ ความเชื่อ  วัฒนธรรม  ประเพณี             ๑ )  เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน  ซึ่งต้องเผชิญกับปัณหาต่างๆ  ทั้งสุขและทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าทันต่อภาวะแห่งธรรมชาติของชีวิต  จึงเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดคำประพันธ์ในเชิงนี้ออกมา  ซึ่งจะพบมากในเรื่องความรัก  ผิดหวัง  ทุกข์               ๒)  เกิดขึ้นจากประเพณีที่ถือสืบๆกันมา เช่น การชุ่มนุมในงานบุญต่างๆ               ๓)   เกิดขึ้นจากอิทธิพลทางศาสนา              ๔)  เกิดขึ้นมากจากความเป็นไปในสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น หนุ่มสาวเกี้ยวพาราสีกัน  ดังนั้นสุภาษิตจึงได้เจริญมาหลายกรณี  คือ ใช้ภาษาท้องถิ่นในการจารึก  และใช้อักษรตัวธรรมใช้บันทึกคำสอนในด้านศาสนา  และอักษรไทยน้อยใช้จารึกนิทานธรรมเรื่องต่าง ๆ  และจารึกในทางฉันทลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นภาคอีสาน  คือโคลงสาร  กาพย์  และร่าย(ฮ่าย)

๓.๑  ความหมายของผญา ก.  ความหมายตามรูปศัพท์            ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรม  วรรณกรรม  และนักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวว่า “ผญา”หมายถึง “ปัญญา ,  ปรัชญา, ความฉลาด,”  มีลักษณะเป็นคำภาษิตที่มีหมายลึกซึ่ง  เรียกว่าผญา  และคำว่า  “ภาษิต”  หมายถึงคำพูดที่เป็นคติ  คำพูดดี1 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  (ติสฺสมหาเถระ)  ได้ให้ความหมายว่า  “  ผญาหรือผะหยา” คือปัญญา,  ปรัชญา  ความฉลาด  ,เป็นคำพูดที่มีความหมายลึกซึ่งในเชิงเปรียบเทียบ2             จารุบุตร  เรื่องสุวรรณ  ผู้เชี่ยวชาญทางวรรณกรรมอีสานได้ให้คำนิยามว่า  “ผญา”  เป็นคำนาม  แปลว่า  ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด3             ร.ศ.  บุปผา  บุญทิพย์  ได้ให้ความหมายของผญาว่า  ผญาเป็นคำภาษาอีสาน  สันนิษฐานว่ามาจากป  รัชญา  เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ “ปร” ไปเป็นเสียง “ผ” ดังในคำว่า  “เปรต”เป็นเผด  โปรด  เป็นโผด  หมากปราง  เป็น  หมากผาง  แปรง เป็น แผง  ดังนั้นคำว่า  “ปรัชญา” อาจเป็น ผัชญาแล้วเป็น  “ผญา” อีกต่อหนึ่ง  ผญาคือคำพูดของนักปราชญ์  ซึ่งแฝงไว้ด้วยคติ  แง่คิด  คำพูดที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้  ความสามารถของผู้พูด4               อ. ธวัช  ปุณโณทก  ได้ให้ความหมายของคำว่าผญาภาษิตว่า  หมายถึงถ้อยคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายให้สติเตือนใจ  หรือข้อความพิเศษที่จะสั่งสอน5 สวิง  บุญเจิม  ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ผญา”ไว้ว่า  เป็นคำคล้องจองที่นักปราชญ์โบราณอีสานคิดขึ้น  เพื่อให้ในกรณีต่างๆ อาทิ  ใช้ในด้านคำสั่งสอน เรียกว่า “ผญาภาษิต”  หรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว  เรียกว่า “ผญารักหรือผญาเกี้ยว”  และใช้ในกรณีที่เป็นเชิงเปรียบเทียบให้คิดเรียกว่า  “ผญาปริศนาธรรม”  จากทัศนะของนักปราชญ์ทั้งหลาย  พอสรุปได้ว่า  “ผญา”  ตรงกับคำว่า  “ปรัชญา  ในภาษาสันสกฤตและคำว่า  “ปัญญา”  ในภาษาบาลี  ดังนั้นคำว่า  “ผญา”  จึงแปลว่า  “ปรัชญา, ปัญญา, หรือความรอบรู้  หมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่ฉลาดหลักแหลมและคมคายลึกซึ่งยิ่งนัก  รวมความไปถึงถ้อยคำอันแสดงให้เห็นถึงปัญญาความรอบรู้ของผู้พูดด้วย  ดังคำพังเพยแต่โบราณอีสานบทหนึ่งกล่าวว่า  “ มีเงินเต็มภาชน์  บ่ท่อมีผญาเต็มพุง”  (มีเงินเติมภาชนะไม่เท่ามีปัญญารอบรู้ในวิทยาการต่างๆ) หรือ  “อดได้เป็นพญา  เพราะมีผญาแพ้เพิ่น”  (ไม่ได้เป็นเจ้าคนนายคนเพราะมีไม่ปัญญาเท่าเข้า)  นอกจากนั้นยังช่วยเตือนสติได้เป็นอย่างดี

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons