วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฐินและอานิสงส์กฐิน

20121107_091811

งานบุญกฐิน ถือเป็นงานบุญที่มีอานิสงส์มากรองจากงานบุญผะเหวด คือมีอานิสงส์ 80 กันฑ์

อานิสงส์ 1 กันฑ์ เปรียบได้กับ การที่เราเอาผ้าไหม ไปถูภูเขาที่มีความสูง 1000 โยชน์ปีละหนึ่งครั้งให้ราบเรียบ จะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ ภูเขาถึงจะกลายเป็นที่ราบงานบุญกฐิน จะกระทำได้หลังออกพรรษา โดยมีระยะเวลา 1 เดือน และวัดแต่ละวัดสามารถรับกองกฐินได้เพียงหนึ่งกองเท่านั้น จึงมีการจองกฐินกันล่วงหน้ากับวัดที่ต้องการจะถวายกองกฐิน ยกเว้นกฐินพระราชทานไม่ต้องจองสิ่งสำคัญที่สุดในการทอดกฐิน คือ ผ้ากฐิน (ไตรจีวร) ส่วนปัจจัยและข้าวของอื่นๆ ถือเป็นบริวาร เป็นส่วนเสริมเข้ามาการได้ถวายผ้าแด่พระภิกษุได้รับอานิสงส์มากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นผ้ากฐินยิ่งได้รับอาสงส์มากยิ่งกว่างานบุญที่ถือว่าเป็นงานบุญที่มีอานิสงส์มาก ได้แก่

1. งานบุญบวชลูกชาย

2. งานบุญกฐิน

3. งานบุญผะเหวต (การได้ฟังการเทศน์มหาชาติตั้งแต่ต้นจนจบ ถือว่าได้รับอานิสงส์มากกว่างานบุญใดๆ)

เทศกาลกฐิน

" กฐิน" มีความหมายเกี่ยวข้องกันถึง ๔ ประการ คือ

๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่า สะดึงก็ได้

๒. เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวร ตามแบบหรือกรอบไม้นั้น

๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ ในการถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร

๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบ

จากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกฐินที่เป็นชื่อกรอบไม้กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้นั้นเนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวมผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียกผ้านุ่งว่า สบง ผ้าห่มว่า จีวร ผ้าห่มซ้อนว่า สังฆาฏิการทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัด เย็บ ย้อมทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จหรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้น ก็รื้อเก็บไว้ในการทำผ้าเช่นนั้นอีกในปีต่อ ๆ ไปการรื้อแบบไม้นี้ เรียกว่า เดาะ ฉะนั้นคำว่า กฐินเดาะหรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า

กฐินที่เป็นชื่อของผ้า

หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาดหรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้ว ก็เป็นอันใช้ได้กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญคือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่ง หรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทานคือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล ๑ เดือนดังกล่าวในกฐินที่เป็นชื่อของผ้า ถ้าถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก

กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม

คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็ จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาล การหาผ้า การทำจีวรทำได้ยากไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วันแต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้เป็นจีวรได้ตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔จากข้อความข้างต้น จะเห็นว่าความหมายของคำว่า กฐินมีความเกี่ยวข้องกันทั้ง ๔ ประการเมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐิน คือแสดงความพอใจว่าได้กรานกฐินเสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี

คำว่า การกรานกฐิน คือ การลาดหรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบ เพื่อตัดเย็บย้อมทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งคำว่า การจองกฐิน คือการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นเมื่อนี้แล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขต เวลา ๑ เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย

คำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึง การที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็น

ชอบ ว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่าผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือ การเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่า อะ- ปะ- โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วจึงต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐินดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น

ในปัจจุบันมีผู้ถวายผ้ามากขึ้นมีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้นการใช้ไม้ แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไปเพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบ ไม้แม่แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่าถวายผ้ากฐินเหมือนกัน และเนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย จึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณะประโยชน์ร่วมไปกับการ บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน

บุญกฐิน

ทำบุญกฐินกันหรือยังค่ะ เหลือเวลาอีกไม่ถึง 10 วันสำหรับการทำบุญใหญ่ประจำ ที่ได้บุญมากมายมหาศาล ทำให้ได้นะค่ะ เพราะบุญจะช่วยเราได้ในเวลาเราต้องเผชิญสิ่งแย่ๆการทอดกฐิน นับว่าเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีช่วงเวลาจำกัดเพียงปีละ ๑ เดือน คือระหว่าง แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น ประเพณีการทอดกฐินนี้ ประชาชนชาวไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงส์แรง เพราะทำในเวลาจำกัด และต้องการทำการจองกฐินกันก่อน เพราะ 1 วัดจะรับได้เพียงกฐินเดียวเท่านั้น ในปัจจุบันนี้มักทำกันเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางทีก็มีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวารซึ่งจัดทำกันไว้อย่างประณีตบรรจง

อานิสงส์กฐิน

การ ทำบุญกฐินนี้ได้บุญมาก เพราะเป็นทานที่พิเศษยิ่งกว่าทานอื่นใด ด้วยเป็นทั้ง "กาลทาน" และ "สังฆทาน" นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้(คฤหัสถ์)และผู้รับ(พระสงฆ์ ) ได้บุญด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผู้ให้ย่อมได้บุญอันไพบูลย์ทั้งในชาตินี้และชาติต่อๆ ไป เช่น

o ทำให้เป็นผู้มีความมั่งคั่ง

o มั่นคงในโภคทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานo เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป

o เป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นในสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย แม้ละโลก แล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์

เหตุที่การทอดกฐินได้บุญมาก

1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป

3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้

5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น(จาก 1 เจ้าภาพ)

7. เป็น พระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง20121106

อานิสงส์ของกฐิน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า"โภ ปุริสะ ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้นจะไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า๕๐๐ ชาติ" นั่นหมายความว่า ถ้าหมดอายุเทวดา หรือนางฟ้าจุติแล้วก็เกิดทันที ๕๐๐ ครั้ง เมื่อบุญหย่อนลงมานิดหน่อย เกิดเป็นเทวดาเกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้า จักรพรรดิปกครองโลก ๕๐๐ ชาติ เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ๕๐๐ ชาติแล้ว บุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เมื่อเป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติแล้ว ก็เป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ หลังจากเป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติแล้ว ก็เป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ(จากพระสูตรภาษาบาลี)

ผล บุญของการทำกฐินนั้นมากมาย หากต้องการสรุปสั้นให้เห็นภาพก็อธิบายได้ว่า แม้ว่าเราตักบาตรและทำสังฆทานทุกวันตลอดชีวิต ก็อาจจะได้บุญไม่เท่าการทำบุญด้วยกฐินเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฐินที่นำเงินที่ได้ไปสร้างโบสถ์ วิหาร หรือซื้อที่ในวัด เราก็จะได้บุญหลายต่อจากบุญกฐินด้วย และได้บุญวิหารทานด้วย(ซึ่งได้บุญมากและได้บุญทุกครั้งทีมีคนใช้สิ่งที่เรา สร้าง)

หาก ใครที่กำลังจะทำบุญด้วยกฐินหรือทำไปแล้วก็ขอโมทนาบุญด้วย แต่หากใครที่ยังไม่ได้ทำ ยังเหลือเวลาจนถึงวันลอยกระทง ลองหาวัดใดสักวัด แล้วทำบุญที่ได้บุญมากมายมหาศาลนี้ ด้วยการทำบุญกฐินกันเถอะครับ

หมายเหตุ

ทำเองคนเดียวก็ได้บุญมากแล้ว แต่หากเราชวนผู้อื่นทำด้วย ก็จะได้บุญมากมายมหาศาล และบุญจากการชวนผู้อื่นทำบุญ จะช่วยให้เรามีบริวารที่ดีและมีเพื่อนที่ดีด้วยครับ

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons