ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
----------------------------------------
๑. | ๑.๑ | โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ? |
| ๑.๒ | บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงามเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? |
๑. | ๑.๑ | เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ ๑) หิริ ความละอายแก่ใจ ๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว |
| ๑.๒ | เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่างคือ ๑) ขันติ ความอดทน ๒) โสรัจจะ ความเสงี่ยม |
๒. | ๒.๑ | ทุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? |
| ๒.๒ | คนที่รับปากรับคำเขาไว้แล้ว แต่ไม่ทำตามนั้นจัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? |
๒. | ๒.๑ | ทุจริต คือประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย มี ๓ คือ ๑) ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต ๒) ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต ๓) ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก มโนทุจริต |
| ๒.๒ | จัดเข้าในวจีทุจริต |
๓. | ๓.๑ | มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่วเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
| ๓.๒ | สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? |
๓. | ๓.๑ | เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึงรากเง่าของอกุศล มี ๓ คือ ๑) โลภะ อยากได้ ๒) โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๓) โมหะ หลง ไม่รู้จริง |
| ๓.๒ | เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ คือ ๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒) สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา |
๔. | ๔.๑ | หลักธรรมดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? |
| ๔.๒ | อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ข้อไหนเป็นอันตรายที่สุด ? เพราะเหตุไร ? |
๔. | ๔.๑ | มี ๔ อย่างคือ ๑) ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร ๒) สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ ๓) อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ๔) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน |
| ๔.๒ | ข้อ ๓ คือ เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นอันตรายที่สุด เพราะอันตรายข้ออื่น ๆ ย่อมรวมลงในกามคุณทั้งสิ้น |
๕. | ๕.๑ | อธิษฐานธรรมคือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? |
| ๕.๒ | ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ? |
๕. | ๕.๑ | มี ๔ อย่างคือ ๑) ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ ๒) สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง ๓) จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ ๔) อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ |
| ๕.๒ | เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่างคือ ñ) ©Ñ¹·Ð ¾Íã¨ÃÑ¡ã¤Ãèã¹ÊÔ觹Ñé¹ ๒) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น ๓) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ ๔) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น |
๖. | ๖.๑ | อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? |
| ๖.๒ | อะไรเรียกว่า สัมผัส ? |
๖. | ๖.๑ | มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้ ตา เป็นใหญ่ในการเห็นอารมณ์ คือรูป หู เป็นใหญ่ในการฟังอารมณ์ คือเสียง จมูก เป็นใหญ่ในการสูดดมอารมณ์ คือกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้มอารมณ์ คือรส กาย เป็นใหญ่ในการถูกต้องอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ ใจ เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ คือธรรม |
| ๖.๒ | การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในมี ตา เป็นต้น กับอายตนะ ภายนอก มีรูปเป็นต้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น ทั้ง ๓ อย่างนี้ รวมกันในขณะเดียวกัน เรียกว่า สัมผัส |
๗. | ๗.๑ | มละคือมลทิน หมายถึงอะไร ? |
| ๗.๒ | มลทินข้อที่ ๑ และข้อที่ ๙ คืออะไร ? แก้ด้วยธรรมอะไร ? |
๗. | ๗.๑ | หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส |
| ๗.๒ | มลทินข้อที่ ๑ คือ โกรธ แก้ด้วยเจริญเมตตา และมลทินข้อที่ ๙ คือ เห็นผิด แก้ด้วยสัมมาทิฏฐิ |
๘. | ๘.๑ | เหตุให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? |
| ๘.๒ | เมื่อปฏิบัติตามเหตุนั้นแล้วจะได้รับผลอะไร ? |
๘. | ๘.๑ | เรียกว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ มี ๔ อย่างคือ ๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ๓) กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๔) สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร |
| ๘.๒ | จะได้รับผล คือ ทรัพย์ ยศ ไมตรี เป็นต้นในปัจจุบัน |
๙. | ๙.๑ | ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นานเพราะสถานใดบ้าง ? |
| ๙.๒ | ฆราวาสผู้ครองเรือนควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ? |
๙. | ๙.๑ | เพราะสถาน ๔ คือ ๑) แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ๒) บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า ๓) รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ ๔) ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน |
| ๙.๒ | ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ ๑) สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน ๒) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน ๓) ขันติ อดทน ๔) จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน |
๑๐. | ๑๐.๑ | จงเขียนศีล ๕ ข้อที่ ๕ พร้อมทั้งคำแปล |
| ๑๐.๒ | สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกามีอะไรบ้าง ? |
๑๐. | ๑๐.๑ | สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี แปลความว่า เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท |
| ๑๐.๒ | มี ๑) ประกอบด้วยศรัทธา ๒) มีศีลบริสุทธิ์ ๓) ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๔) ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา ๕) บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา ตรงข้ามกับสมบัติทั้ง ๕ นี้ เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา |
ปัญหาและเฉลยพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันศุกร์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
----------------------------------------
๑. | ๑.๑ | พุทธประวัติคืออะไร ? | ||
| ๑.๒ | มีความสำคัญอย่างไรที่ต้องเรียนรู้ ? | ||
๑. | ๑.๑ | คือ เรื่องที่พรรณนาความเป็นไปของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า | ||
| ๑.๒ | มีความสำคัญในการศึกษาและปฏิบัติพระพุทธศาสนา เพราะแสดง พระพุทธจริยาให้ปรากฏ เช่นเดียวกับตำนานย่อมมีความสำคัญต่อชาติของตน ที่ให้รู้ได้ว่า ชาติได้เป็นมาแล้วอย่างไร | ||
๒. | ๒.๑ | เจ้าชายสิทธัตถะทรงปรารภถึงอะไรจึงเสด็จออกบรรพชา ? | ||
| ๒.๒ | ทรงบรรพชาเมื่อพระชันษาเท่าไร ? และทรงบรรพชาได้กี่ปีจึงตรัสรู้ ? | ||
๒. | ๒.๑ | ทรงปรารภถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย และ สมณะ | ||
| ๒.๒ | เมื่อพระชันษา ๒๙ ปี, และทรงบรรพชาได้ ๖ ปี จึงตรัสรู้ | ||
๓. | ๓.๑ | ญาณ ๓ ที่พระพุทธองค์ทรงได้ในวันตรัสรู้คืออะไรบ้าง ? | ||
| ๓.๒ | ญาณข้อไหน ที่ทำให้พระองค์ทรงสำเร็จความเป็นพุทธะโดยสมบูรณ์ ? | ||
๓. | ๓.๑ | คือ ๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๒) จุตูปปาตญาณ ๓) อาสวักขยญาณ | ||
| ๓.๒ | ญาณ ข้อที่ ๓ | ||
๔. | ๔.๑ | พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาเมื่อไร ? | ||
| ๔.๒ | ใจความแห่งปฐมเทศนานั้นว่าด้วยเรื่องอะไร ? | ||
๔. | ๔.๑ | เมื่อวันเพ็ญ เดือนอาสาฬหะ สองเดือนหลังจากตรัสรู้ | ||
| ๔.๒ | ว่าด้วยที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ, มัชฌิมาปฏิปทา, และอริยสัจ ๔ | ||
๕. | พระธรรมเทศนาต่อไปนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน และมีผลอย่างไร ? | |||
| ๕.๑ | อนัตตลักขณสูตร ๕.๒ อาทิตตปริยายสูตร | ||
๕. | ๕.๑ | ทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีผลให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้บรรลุอรหัตตผล | ||
| ๕.๒ | ทรงแสดงที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยา มีผลให้พระภิกษุปุราณชฎิลบรรลุอรหัตตผล | ||
๖. | ๖.๑ | พระพุทธองค์เสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งแรกภายหลังตรัสรู้ประทับที่ไหน ? | ||
| ๖.๒ | ทรงรับถวายพระอารามแห่งแรกชื่ออะไร ? | ||
๖. | ๖.๑ | ประทับ ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม | ||
| ๖.๒ | ชื่อว่าเวฬุวนาราม | ||
๗. | ๗.๑ | พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เมืองอะไร ? | ||
| ๗.๒ | ทรงรับภัตตาหารมื้อสุดท้ายที่เมืองอะไร ? | ||
๗. | ๗.๑ | ที่เวฬุวคาม เขตเมืองเวสาลี | ||
| ๗.๒ | ที่ปาวานคร | ||
| ศาสนพิธี | |||
๘. | ผู้ศึกษามีความรู้เรื่องศาสนพิธีต่อไปนี้อย่างไร ? | |||
| ๘.๑ | บุญพิธี ๘.๒ ทานพิธี | ||
๘. | รู้อย่างนี้คือ | |||
| ๘.๑ | บุญพิธี ว่าด้วยวิธีทำบุญมี ๒ อย่างคือ ทำบุญงานมงคล เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญฉลองอายุ เป็นต้น และทำบุญงานอวมงคล เช่น งานศพ เป็นต้น | ||
| ๘.๒ | ทานพิธี ว่าด้วยพิธีถวายทานต่าง ๆ เช่น สังฆทาน เป็นต้น | ||
๙. | จงอธิบายวิธีปฏิบัติของพิธีกรรมต่อไปนี้ ? | |||
| ๙.๑ | วิธีกราบเบญจางคประดิษฐ์ ๙.๒ วิธีกรวดน้ำ | ||
๙. | ๙.๑ | การกราบเบญจางคประดิษฐ์ มีวิธีปฏิบัติดังนี้ ชายนั่งคุกเข่าท่าพรหม หญิงนั่งคุกเข่าราบท่าเทพธิดา เข่าทั้งสองจดพื้น ประนมมือไหว้ หมอบกราบลง ทอดฝ่ามือทั้งสองที่พื้น ให้ฝ่ามือห่างกันเล็กน้อย ก้มศีรษะลงระหว่างฝ่ามือทั้งสองนั้น ให้หน้าผากจดพื้น | ||
ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑. | ๑.๑ | ปริเยสนา ๒ อย่างตามความในพระสูตรท่านแสดงไว้อย่างไร ? | ||
| ๑.๒ | ภิกษุควรแสวงหาเลี้ยงชีพอย่างไรจึงเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ ? | ||
๑. | ๑.๑ | แสดงว่า แสวงหาสิ่งอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลส เป็นธรรมดา คือธรรมอันเกษมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง จัดเป็นอริย ปริเยสนา แสวงหาสิ่งอันมีชรา พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลสเป็นธรรมดา ทั้งที่สภาพเช่นนั้นก็มีในตนอยู่พร้อมแล้ว จัดเป็นอนริยปริเยสนา | ||
| ๑.๒ | ภิกษุแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอุบายอันสมควร ทั้งไม่เป็นโลกวัชชะมีโทษทางโลกและไม่เป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่นจึงจะเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ | ||
๒. | ๒.๑ | ปรีชาหยั่งรู้อะไรจัดเป็นกิจจญาณ ? | ||
| ๒.๒ | สิกขาคืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? | ||
๒. | ๒.๑ | ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยเป็นสภาพที่ควรละเสีย ทุกขนิโรธเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด จัดเป็นกิจจญาณ | ||
| ๒.๒ | ปฏิปทาที่ตั้งไว้เพื่อศึกษา คือฝึกหัดไตรทวารไปตาม ชื่อว่าสิกขา มี ๓ อย่างคือ อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง ๑ อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตยิ่ง ๑ อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญายิ่ง ๑ | ||
๓. | ๓.๑ | อัปปมัญญา ๔ กับพรหมวิหาร ๔ ต่างกันอย่างไร ? | ||
| ๓.๒ | อะไรเรียกว่า อริยวงศ์ ? แจกออกเป็นเท่าไร ? อะไรบ้าง ? | ||
๓. | ๓.๑ | ต่างกันอย่างนี้คือ อัปปมัญญาได้แก่การแผ่โดยไม่เจาะจงตัว และไม่มีจำกัด ส่วนพรหมวิหารได้แก่การแผ่โดยเจาะจงตัว หรือโดยไม่เจาะจงตัวแต่ยังจำกัดมุ่งเอาหมู่นี้หมู่นั้น | ||
| ๓.๒ | ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะเรียกว่า อริยวงศ์ แจกออกเป็น ๔ คือ | ||
| ๑) สันโดษด้วยจีวรตามมีตามเกิด ๒) สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามเกิด ๓) สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามเกิด ๔) ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล | |||
๔. | ๔.๑ | อุปาทานคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? | ||
| ๔.๒ | กำเนิด ๔ มีอะไรบ้าง ? | ||
๔. | ๔.๑ | คือการถือมั่นข้างเลว ได้แก่การถือรั้น มี ๔ คือ กามุปาทาน ถือมั่นในกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะ ว่าตน ๑ | ||
| ๔.๒ | คือ ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ๑ อัณฑชะ เกิดในไข่ ๑ สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๑ โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ๑ | ||
๕. | ๕.๑ | การสำรวมระวังปิดกั้นอกุศลเรียกว่าอะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? | ||
| ๕.๒ | สติสังวร สำรวมด้วยสตินั้น มีอธิบายอย่างไร ? | ||
๕. | ๕.๑ | เรียกว่า สังวร มี ๕ คือ ๑) สีลสังวร สำรวมด้วยศีล ๒) สติสังวร สำรวมด้วยสติ ๓) ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ ๔) ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ ๕) วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร | ||
| ๕.๒ | มีอธิบายว่า สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นระวังรักษามิให้อกุศลธรรมเข้า ครอบงำ เมื่อเห็นรูปเป็นต้น ทั้งมีสติไม่ฟั่นเฟือนลืมหลง ระลึกได้ก่อนแต่ทำ พูด คิด ไม่ให้ผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ประมาทหลงทำกรรมชั่ว | ||
๖. | ๖.๑ | ทำไมท่านจึงเปรียบวิสุทธิ ๗ เหมือนรถ ๗ ผลัด ? | ||
| ๖.๒ | อะไรจัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ? | ||
๖. | ๖.๑ | เพราะวิสุทธิ ๗ นี้ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุพระนิพพาน ท่านจึงเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัดต่างส่งต่อซึ่งคนผู้ไปให้ถึงสถานที่ปรารถนา | ||
| ๖.๒ | วิปัสสนาญาณ ๙ จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ | ||
๗. | จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ | |||
| ๗.๑ | ภควา ๗.๒ โอปนยิโก | ||
๗. | ๗.๑ | ภควา คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทรงทำการใด ก็ ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้จำแนกแจกธรรม | ||
| ๗.๒ | โอปนยิโก คือพระธรรมมีคุณควรน้อมเข้ามาในใจของตนหรือควรน้อมใจเข้าไปหาพระธรรมนั้นด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ | ||
๘. | ๘.๑ | บารมีคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? | ||
| ๘.๒ | สังโยชน์อะไรเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ? มีอะไรบ้าง ? | ||
๘. | ๘.๑ | คือคุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยวดยิ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ๑ ศีล ๑ เนกขัมมะ ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ ๑ ขันติ ๑ สัจจะ ๑ อธิษฐาน ๑ เมตตา ๑ อุเบกขา ๑ | ||
| ๘.๒ | สังโยชน์เบื้องต่ำคืออย่างหยาบเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ มี ๕ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ กามราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑ | ||
๙. | จงอธิบายคำต่อไปนี้ | |||
| ๙.๑ | มิจฉาสมาธิ ๙.๒ สัมมาสมาธิ | ||
๙. | ๙.๑ | มิจฉาสมาธิ คือการตั้งจิตไว้ผิด โดยนำสมาธิที่ได้นั้นไปใช้ในผิดทาง เช่น สะกดจิตในทางหาลาภให้แก่ตนเอง ในทางหาผลประโยชน์ ทำให้ผู้อื่นหลงงมงายในวิชาความรู้ ในทางให้ร้ายผู้อื่นและในทางนำให้หลง | ||
| ๙.๒ | สัมมาสมาธิ คือการตั้งจิตไว้ชอบในองค์ฌาน ๔ หรือมีนัยตรงกันข้ามกับ มิจฉาสมาธิข้างต้น | ||
๑๐. | ๑๐.๑ | ธุดงค์ ๑๓ ท่านกล่าวว่า เป็นวัตรจริยาพิเศษอย่างหนึ่งไม่ใช่ศีลนั้น คืออย่างไร ? | ||
| ๑๐.๒ | ธุดงค์นั้น ท่านบัญญัติไว้เพื่ออะไร ? | ||
๑๐. | ๑๐.๑ | คือการสมาทานหรือข้อที่ถือปฏิบัติจำเพาะผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติไม่มีโทษ มีแต่ให้คุณแก่ผู้ถือปฏิบัติ | ||
| ๑๐.๒ | เพื่อเป็นอุบายบรรเทาขัดเกลาและกำจัดกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อยและสันโดษ เป็นต้น | ||
ปัญหาและเฉลยอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันศุกร์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑. | ๑.๑ | อนุพุทธบุคคลคือบุคคลพวกไหน ? ได้ชื่อว่าอย่างนั้นเพราะเหตุไร ? | |
| ๑.๒ | อนุพุทธบุคคล เป็นนักบวชหรือบุคคลทั่วไป ? | |
๑. | ๑.๑ | คือบุคคลผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นผู้รู้ตาม พระพุทธเจ้า | |
| ๑.๒ | เป็นนักบวชก็มี เป็นบุคคลทั่วไปก็มี | |
๒. | ๒.๑ | การศึกษาอนุพุทธประวัติให้ประโยชน์อย่างไรต่อเจ้าของประวัติ ? | |
| ๒.๒ | การศึกษาอนุพุทธประวัติให้คุณค่าอย่างไรต่อผู้ศึกษา ? | |
๒. | ๒.๑ | เป็นการประกาศเกียรติคุณพระสาวกผู้เป็นอุปการะแก่พระศาสนา ได้เชิดชูพระคุณท่าน นำเพื่อนร่วมศาสนาให้เกิดปสาทะและนับถือ ความดีของพระสาวกปรากฏแล้วจักเชิดชูพระเกียรติคุณของพระศาสดายิ่งขึ้น | |
| ๒.๒ | ให้คุณค่าในด้านกำหนดและจดจำวัตรปฏิบัติอันงดงามของท่านมาเป็นปฏิปทาเครื่องดำเนินชีวิตของตน | |
๓. | ๓.๑ | พระโกณฑัญญะได้เกิดความรู้เห็นอย่างไรก่อน จึงนับว่าเป็นปฐมอริยสาวก ? | |
| ๓.๒ | ท่านได้รับเกียรติยศเป็นพิเศษเพราะเหตุนี้อย่างไรบ้าง ? | |
๓. | ๓.๑ | ได้เกิดความรู้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา คือได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) แล้วทูลขอบวชกับพระพุทธองค์ จึงนับได้ว่าเป็นปฐมอริยสาวกใน พระศาสนา | |
| ๓.๒ | เมื่อท่านเกิดความรู้เห็นดังนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงเปล่งอุทาน ว่า “ÍÚÒÊÔ Çµ âÀ ⡳ڱÚâ ÍÚÒÊÔ Çµ âÀ ⡳ڱÚâ” แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ แต่นั้นมา ท่านมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ข้อนี้เป็นเกียรติยศพิเศษสำหรับท่านผู้เป็นปฐมอริยสาวก | |
๔. | ๔.๑ | พระสาวกรูปใดได้รับการบวชด้วยญัตติจตุตถกรรมเป็นรูปแรก ? | |
| ๔.๒ | พระสาวกรูปนั้นได้รับยกย่องเป็นเลิศในทางไหน ? | |
๔. | ๔.๑ | พระราธะ | |
| ๔.๒ | ในทางมีปฏิภาณ คือญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา | |
๕. | ๕.๑ | พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตรคู่กับพระโมคคัลลานะโดยอุปมาไว้ อย่างไร ? | |
| ๕.๒ | ที่ตรัสอุปมาไว้อย่างนั้นเพราะเหตุไร ? | |
๕. | ๕.๑ | พระพุทธองค์ตรัสอุปมาว่า พระสารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้ทารกเกิด พระโมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น | |
| ๕.๒ | ที่ตรัสอุปมาไว้อย่างนั้นเพราะพระสารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผล พระโมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนที่ สูงกว่านั้น | |
๖. | ๖.๑ | การพบกันของพระอัสสชิและอุปติสสปริพาชกมีผลต่อพระพุทธศาสนา อย่างไร ? | |
| ๖.๒ | พระสารีบุตรมีปัญญาเลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายนั้น มีอะไรเป็นเครื่อง ยืนยัน ? | |
๖. | ๖.๑ | มีผลเกิดขึ้นดังนี้คือ ๑) อุปติสสปริพาชกได้ความเลื่อมใสในวัตรของพระอัสสชิ ๒) อุปติสสปริพาชกได้ฟังธรรมแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ๓) อุปติสสปริพาชกได้ชักชวนเพื่อนไปบวช ฟังธรรมแล้วได้บรรลุ ธรรม ๔) พระพุทธองค์ได้อัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา | |
| ๖.๒ | มีพระพุทธดำรัสตรัสยกย่องพระสารีบุตรว่า เป็นยอดแห่งพระสาวกผู้มีปัญญาและตรัสสรรเสริญว่า พระสารีบุตรสามารถแสดงธรรมจักร และจตุราริยสัจ ได้กว้างขวางพิสดารแม้นกับพระองค์ ประกอบกับพระธรรมเทศนาที่ท่าน ได้แสดงไว้ในโอกาสนั้น ๆ ส่องให้เห็นถึงอัจฉริยภาพอย่างแท้จริงของท่าน ในด้านนี้ | |
๗. | ๗.๑ | ธรรมุทเทศคืออะไรบ้าง ? ๗.๒ ใครแสดงแก่ใคร ? | |
๗. | ๗.๑ | ธรรมุทเทศ คือ ๑) โลกคือหมู่สัตว์อันชรานำเข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืน ๒) โลกคือหมู่สัตว์ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จำเพาะตน ๓) โลกคือหมู่สัตว์ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ๔) โลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา | |
| ๗.๒ | พระรัฐบาลแสดงถวายพระเจ้าโกรัพยะ | |
| ศาสนพิธี | ||
๘. | ๘.๑ | คำว่า สวดมาติกาหรือสดับปกรณ์ หมายถึงอะไร ? | |
| ๘.๒ | คำทั้งสองนั้นใช้ต่างกันอย่างไร ? | |
๘. | ๘.๑ | หมายถึงการสวดบทมาติกาของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรือที่เรียกว่า สัตตัปปกรณาภิธรรม ซึ่งมีการบังสุกุลเป็นที่สุด เป็นประเพณีนิยมจัดให้พระสงฆ์สวดในงานทำบุญหน้าศพอย่างหนึ่ง | |
| ๘.๒ | คำว่าสวดมาติกา ใช้ในงานศพราษฎรสามัญทั่วไป ส่วนคำว่า สดับปกรณ์ ใช้เรียกโดยโวหารทางราชการในงานหลวง (ศพหรืออัฐิของเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป) | |
๙. | ๙.๑ | ผ้าวัสสิกสาฎกคือผ้าเช่นไร ? | |
| ๙.๒ | ผ้าจำนำพรรษาคือผ้าเช่นไร ? | |
๙. | ๙.๑ | คือ ผ้าสำหรับภิกษุใช้นุ่งในเวลาอาบน้ำฝนหรืออาบน้ำทั่วไป เรียกกันว่า ผ้าอาบน้ำฝนบ้าง ผ้าอาบบ้าง ผ้านี้เกิดขึ้นเฉพาะฤดูกาลที่ทรงอนุญาตเป็นบริขารพิเศษชั่วคราว อธิษฐานไว้ใช้ได้ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน พ้นจากเขตนั้นเป็นธรรมเนียมให้วิกัป | |
| ๙.๒ | คือ ผ้าที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน เว้นผ้ากฐิน | |
๑๐. | ๑๐.๑ | ศาสนพิธีเล่ม ๒ แสดงอุโบสถกรรมไว้กี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? | |
| ๑๐.๒ | แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ? | |
๑๐. | ๑๐.๑ | มี ๓ ประเภท คือ สังฆอุโบสถ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑ | |
| ๑๐.๒ | มีความแตกต่างกันดังนี้ | |
| ๑) | สังฆอุโบสถ คือ อุโบสถกรรมที่พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมสวด พระปาฏิโมกข์ | |
๒) | ปาริสุทธิอุโบสถ คือ อุโบสถกรรมที่พระภิกษุน้อยกว่า ๔ รูป มีเพียง ๓ รูป หรือ ๒ รูป ร่วมกันทำเป็นการคณะ ให้แต่ละรูปบอกความบริสุทธิ์ของตน ๆ | ||
๓) | อธิษฐานอุโบสถ คืออุโบสถกรรมที่พระภิกษุรูปเดียวทำเป็นการบุคคลด้วยการอธิษฐานความบริสุทธิ์ใจของตนเอง | ||
ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันเสาร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑. | ๑.๑ | สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร ? ทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? |
| ๑.๒ | กายบริหาร ข้อที่ ๓ และข้อที่ ๗ มีความว่าอย่างไร ? |
๑. | ๑.๑ | เรียกว่า อภิสมาจาร ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ และเพื่อความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จำต้องมีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดีของตระกูล |
| ๑.๒ | มีความว่าดังนี้ |
| ข้อที่ ๓ อย่าพึงไว้เล็บยาว การขัดมลทินหรือแคะมูลเล็บเป็นกิจควรทำ | |
| ข้อที่ ๗ อย่าพึงแต่งเครื่องประดับต่างๆ เช่น ตุ้มหู สายสร้อยและแหวน เป็นต้น | |
๒. | ๒.๑ | บาตรที่ทรงอนุญาตมีกี่ชนิด ? อะไรบ้าง ? บาตรแสตนเลสจัดเข้าในชนิดไหน ? |
| ๒.๒ | บาตรที่ทรงห้ามมีกี่ชนิด ? อะไรบ้าง ? |
๒. | ๒.๑ | มี ๒ ชนิด คือ ๑ บาตรดินเผา ๒ บาตรเหล็ก บาตรแสตนเลสจัดเข้าในบาตรเหล็ก |
| ๒.๒ | มี ๑๑ ชนิด คือ ๑ บาตรทอง ๒ บาตรเงิน ๓ บาตรแก้วมณี ๔ บาตรแก้วไพฑูรย์ ๕ บาตรแก้วผลึก ๖ บาตรแก้วหุง ๗ บาตรทองแดง ๘ บาตรทองเหลือง ๙ บาตรดีบุก ๑๐ บาตรสังกะสี ๑๑ บาตรไม้ |
๓. | ๓.๑ | นิสัยคืออะไร ? เหตุให้นิสัยระงับมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? |
| ๓.๒ | ภิกษุเช่นไรควรได้นิสัยมุตตกะ ? |
๓. | ๓.๑ | นิสัย คือ กิริยาที่พึ่งพิงของสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ต่อพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ เหตุให้นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์ มี ๕ คือ ๑ หลีกไปเสีย ๒ สึกเสีย ๓ ตายเสีย ๔ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๕ สั่งบังคับ ส่วนเหตุให้นิสัยระงับจากพระอาจารย์ เพิ่มอีก ๑ ข้อ คือ อันเตวาสิกรวมเข้ากับพระอุปัชฌาย์ของเธอ |
| ๓.๒ | ภิกษุผู้ควรได้นิสัยมุตตกะ คือ ๑) เป็นผู้มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ สติ ๒) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟัง มามาก มีปัญญา ๓) รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำพระปาฏิโมกข์ได้ แม่นยำ ทั้งมีพรรษาพ้น ๕ |
๔. | ๔.๑ | วัตรคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? |
| ๔.๒ | วัตถุอนามาสคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
๔. | ๔.๑ | วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ในกิจนั้น ๆ แก่บุคคลนั้น ๆ มี ๓ อย่าง คือ ๑ กิจวัตร ๒ จริยาวัตร ๓ วิธิวัตร |
| ๔.๒ | วัตถุอนามาส คือวัตถุไม่ควรจับต้อง มีดังนี้ |
| ๑) ผู้หญิง รวมทั้งเครื่องแต่งกาย ทั้งรูปที่ทำมีสัณฐานเช่นนั้น และ ดิรัจฉานตัวเมีย ๒) ทอง เงิน และรัตนะ ๓) ศัสตราวุธ ๔) เครื่องดักสัตว์ ๕) เครื่องประโคมทุกอย่าง ๖) ข้าวเปลือก และผลไม้อันเกิดอยู่ในที่ | |
๕. | ๕.๑ | กิจอันสงฆ์จะพึงทำก่อนสวดปาฏิโมกข์มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? |
| ๕.๒ | สงฆ์สวดปาฏิโมกข์อยู่ ภิกษุอื่นมาถึง หรือมาถึงเมื่อสวดจบแล้ว พึงปฏิบัติ อย่างไร ? |
๕. | ๕.๑ | มี ๙ อย่างคือ ๑ กวาดโรงอุโบสถ ๒ ตามประทีป ๓ ปูอาสนะ ๔ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ๕ นำปาริสุทธิของภิกษุผู้เจ็บไข้มา ๖ นำฉันทะ ของเธอมาด้วย ๗ บอกฤดู ๘ นับภิกษุ ๙ สั่งสอนนางภิกษุณี |
| ๕.๒ | พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ ถ้าภิกษุมาใหม่มากกว่าภิกษุที่ประชุมกันอยู่ ต้องสวดตั้งต้นใหม่ ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า ส่วนที่สวดไปแล้วก็แล้วกันไป ให้ภิกษุที่มาใหม่ฟังส่วนที่ยังเหลืออยู่ต่อไป ถ้ามาเมื่อสวดจบแล้ว แม้มากกว่า ก็ไม่ต้องสวดซ้ำอีก ให้ภิกษุที่มาใหม่บอกปาริสุทธิในสำนักภิกษุ ผู้สวดผู้ฟังปาฏิโมกข์แล้ว |
๖. | ๖.๑ | ความรู้อะไรบ้างที่จัดเป็นดิรัจฉานวิชา ? |
| ๖.๒ | ภิกษุประพฤติเช่นไรเรียกว่าทำศรัทธาไทยให้ตกไป ? |
๖. | ๖.๑ | ความรู้ที่จัดเป็นดิรัจฉานวิชา คือ |
| ๑) ความรู้ในทางทำเสน่ห์ ๒) ความรู้ในทางทำให้ผู้นั้นผู้นี้ถึงความวิบัติ ๓) ความรู้ในทางใช้ภูตผีอวดฤทธิ์เดชต่าง ๆ ๔) ความรู้ในทางทำนายทายทัก ๕) ความรู้อันทำให้หลงงมงาย เช่น หุงปรอท | |
| ๖.๒ | ภิกษุรับของที่เขาถวาย เพื่อเกื้อกูลแก่พระศาสนาแล้ว ไม่บริโภค แต่ กลับนำไปให้แก่คฤหัสถ์เสีย ทำให้ผู้บริจาคเสื่อมศรัทธา เช่นนี้เรียกว่า ทำศรัทธาไทยให้ตกไป (ยกเว้น อนามัฏฐบิณฑบาต ทรงอนุญาตพิเศษ ให้แก่มารดาบิดาได้) |
๗. | ๗.๑ | อเนสนาได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ? |
| ๗.๒ | การทำวิญญัติคือการทำอย่างไร ? จัดเข้าในอุปปถกิริยาประเภทไหน ? |
๗. | ๗.๑ | อเนสนาได้แก่ กิริยาแสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร แสดงโดยเค้ามี ๒ อย่างคือ |
| ๑) การแสวงหาเป็นโลกวัชชะ มีโทษทางโลก ๒) การแสวงหาเป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ | |
| ๗.๒ | การทำวิญญัติ คือ การออกปากขอของต่อบุคคลที่ไม่ควรขอ หรือในเวลาที่ไม่ควรขอ เช่น ขอต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ขอในยามปกติที่มิได้ทรงอนุญาต เป็นต้น จัดเข้าในอุปปถกิริยาประเภทอเนสนา |
๘. | ๘.๑ | จงให้ความหมายของคำว่า กาลิก ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก |
| ๘.๒ | น้ำอ้อยเป็นกาลิกอะไร ? |
๘. | ๘.๑ | กาลิก คือของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลำคอลงไป ยาวกาลิก คือของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าชั่วเที่ยงวัน ยามกาลิก คือของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว คือ ๑ วัน กับ ๑ คืน สัตตาหกาลิก คือของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ๗ วัน ยาวชีวิก คือของที่ให้บริโภคได้เสมอ ไม่จำกัดกาล |
| ๘.๒ | ถ้าเป็นน้ำอ้อยสด จัดเป็นยามกาลิก ถ้าเป็นน้ำอ้อยเคี่ยวจนแข้นแข็ง จัดเป็นสัตตาหกาลิก |
๙. | ๙.๑ | อุกเขปนียกรรม สงฆ์ควรทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติเช่นไร ? |
| ๙.๒ | อธิษฐาน (บริขาร) มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? |
๙. | ๙.๑ | ควรทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ ที่เรียกว่า ไม่เห็นอาบัติ หรือยอมรับว่าเป็นอาบัติแต่ไม่แสดง ที่เรียกว่า ไม่ทำคืนอาบัติ |
| ๙.๒ | มี ๒ อย่างคือ |
| ๑) อธิษฐานด้วยกาย คือเอามือลูบบริขารที่จะอธิษฐานนั้นเข้า ทำความผูกใจตามคำอธิษฐาน ๒) อธิษฐานด้วยวาจา คือลั่นคำอธิษฐานนั้น ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้ | |
๑๐. | ๑๐.๑ | สมบัติของภิกษุในทางพระวินัยมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? |
| ๑๐.๒ | ภิกษุประพฤติเช่นไร ได้ชื่อว่า โคจรวิบัติ ? |
๑๐. | ๑๐.๑ | มี ๔ คือ ๑) สีลสมบัติ ๒) อาจารสมบัติ ๓) ทิฏฐิสมบัติ ๔) อาชีวสมบัติ |
| ๑๐.๒ | ภิกษุไปสู่บุคคลก็ดี สถานที่ก็ดี อันภิกษุไม่ควรไป คือ หญิงแพศยา ๑ หญิงหม้าย ๑ สาวเทื้อ ๑ ภิกษุณี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ร้านสุรา ๑ ได้ชื่อว่า โคจรวิบัติ |
ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑. | ๑.๑ | คำว่าโลก ในพระบาลีว่า “เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ฯปฯ” หมายถึงอะไร ? |
| ๑.๒ | พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์อย่างไร ? |
๑. | ๑.๑ | คำว่า โลก โดยตรงหมายถึงแผ่นดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อมหมายถึง หมู่สัตว์ผู้อยู่อาศัย |
| ๑.๒ | ทรงมีพระประสงค์ให้พิจารณาดูให้รู้จักของจริง เพราะในโลกที่กล่าวนี้ย่อมมีพร้อมมูลบริบูรณ์ด้วยสิ่งที่มีคุณและโทษ พระบรมศาสดาทรง ชักชวนให้มาดูโลก เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริง จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ |
๒. | ๒.๑ | บุคคลเช่นไรชื่อว่าหมกอยู่ในโลก ? |
| ๒.๒ | ผู้หมกอยู่ในโลกได้รับผลอย่างไร ? |
๒. | ๒.๑ | บุคคลผู้ไร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งอัน ให้โทษ ย่อมระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ย่อมติดในสิ่งอันเป็นอุปการะ ชื่อว่าหมกอยู่ในโลก |
| ๒.๒ | ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียง สามิส คือ มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ เป็นเหตุแห่งความติด ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้ |
๓. | ๓.๑ | นิพพิทาคืออะไร ? |
| ๓.๒ | ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร ? |
๓. | ๓.๑ | นิพพิทา คือความหน่ายในทุกข์ |
| ๓.๒ | อย่างนี้คือ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายใน ทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลินยึดมั่นหมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา |
๔. | ๔.๑ | สังขาร ในอธิบายแห่งปฏิปทาของนิพพิทานั้น ได้แก่อะไร ? |
| ๔.๒ | จะพึงกำหนดรู้สังขารนั้นโดยความเป็นอนัตตาด้วยอาการอย่างไร ? |
๔. | ๔.๑ | ได้แก่ สภาพอันธรรมดาแต่งขึ้น โดยตรงได้แก่เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันธรรมดาคุมกันเข้าเป็นกายกับใจ |
| ๔.๒ | ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ๑) ด้วยไม่อยู่ในอำนาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา ๒) ด้วยแย้งต่ออัตตา ๓) ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ๔) ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่าง หรือหายไป ๕) ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย |
๕. | ๕.๑ | วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์อย่างไร ? |
| ๕.๒ | อิฏฐารมณ์ จัดเป็นทุกข์ด้วยหรือไม่ ? ถ้าจัดได้ จัดเข้าในทุกข์หมวดไหน ? |
๕. | ๕.๑ | ได้แก่ วิปฏิสารคือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์คือถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย |
| ๕.๒ | อิฏฐารมณ์ จัดเป็นทุกข์ด้วยเหมือนกัน จัดเข้าในหมวดสหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน |
๖. | ๖.๑ | สมถภาวนา เป็นอุบายสงบระงับจิตอย่างไร ? |
| ๖.๒ | คนที่มีจิตมักลืมหลง สติไม่มั่นคง ควรเจริญกัมมัฏฐานบทใด ? |
๖. | ๖.๑ | สมถภาวนา เป็นอุบายเครื่องสำรวมปิดกั้นนีวรณูปกิเลส มิให้เกิด ครอบงำ จิตสันดานได้ ดังบุคคลปิดทำนบกั้นน้ำไว้มิให้ไหลไปได้ฉะนั้น และเป็นอุบายข่มขี่สะกดจิตไว้มิให้ดิ้นรนฟุ้งซ่านได้ ดังนายสารถีฝึกม้าให้เรียบร้อย ควรเป็นราชพาหนะได้ฉะนั้น |
| ๖.๒ | ควรเจริญอานาปานัสสติ เพราะอานาปานัสสติกัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของคนที่เป็นโมหจริต |
๗. | ๗.๑ | สันติแปลว่าอะไร ? มีปฏิปทาที่จะดำเนินอย่างไร ? |
| ๗.๒ | สันติเป็นโลกิยะ หรือโลกุตตระ ? |
๗. | ๗.๑ | สันติ แปลว่า ความสงบ มีปฏิปทาที่จะดำเนินคือ ปฏิบัติสงบกาย วาจา ใจ จากโทษเวรภัย ละโลกามิส คือเบญจพิธกามคุณ ๕ มีสันติเป็นวิหารธรรม |
| ๗.๒ | สันติเป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ |
๘. | ๘.๑ | ผู้จะเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐานพึงกำหนดอะไร ? |
| ๘.๒ | เพราะเหตุใด ตจปัญจกกัมมัฏฐาน ท่านจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน ? |
๘. | ๘.๑ | พึงกำหนดพิจารณากายเป็นที่ประชุมแห่งส่วนน่าเกลียดข้างบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา ข้างล่างตั้งแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ให้เห็นว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ |
| ๘.๒ | ที่เรียกว่ามูลกัมมัฏฐานนั้น เพราะเป็นกัมมัฏฐานเดิมที่กุลบุตรผู้มาบรรพชา ย่อมได้รับสอนกัมมัฏฐานนี้ไว้ก่อนจากพระอุปัชฌาย์ เหมือนดังได้รับมอบศัสตราวุธไว้สำหรับต่อสู้กับข้าศึก คือกามฉันท์ อันจะทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ |
๙. | ๙.๑ | เจริญมรณัสสติอย่างไรจึงจะแยบคาย ? |
| ๙.๒ | อะไรเป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา ? |
๙. | ๙.๑ | เจริญพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ สติ ระลึกถึงความตาย ๑ ญาณ รู้ว่าความตายจักมีแก่ตน ๑ เกิดสังเวชสลดใจ ๑ เจริญอย่างนี้ จึงจะแยบคาย |
| ๙.๒ | ความกำหนดรู้ว่า สังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นลักษณะของวิปัสสนาภาวนา |
๑๐. | ๑๐.๑ | สมถะ กับ วิปัสสนา ให้ผลต่างกันอย่างไร ? |
| ๑๐.๒ | เมื่อจะเจริญกัมมัฏฐานพึงปฏิบัติอย่างไร ? |
๑๐. | ๑๐.๑ | ให้ผลต่างกันดังนี้ สมถะ ให้ผลอย่างต่ำ ทำให้ระงับนิวรณ์บางอย่างได้ อย่างสูง ทำให้ เข้าถึงฌานต่าง ๆ ได้ ส่วนวิปัสสนา ให้ผลอย่างต่ำ ทำให้ได้ปัญญาเห็นสัจจธรรม อย่างสูงทำให้ได้บรรลุอริยผล พ้นจากสังสารทุกข์ |
๑๐.๒ | พึงปฏิบัติอย่างนี้ ในชั้นต้นพึงศึกษาให้รู้ว่า กัมมัฏฐานชนิดไหนชั้นใด ในกัมมัฏฐานนั้น ๆ มีความมุ่งหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ในที่นี้ควรศึกษาให้รู้กัมมัฏฐาน ๒ อย่างคือ ๑) สมถกัมมัฏฐาน ๒) วิปัสสนากัมมัฏฐาน |
ปัญหาและเฉลยพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันศุกร์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑. | ๑.๑ | ลักษณะทั้ง ๒ ที่พระพุทธองค์ทรงเห็นในมัชฌิมยามแห่งราตรีตรัสรู้คือ อะไรบ้าง ? | |
| ๑.๒ | พระอุทานที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งในปัจฉิมยามมีความว่าอย่างไร ? | |
๑. | ๑.๑ | คือ ๑) ปัจจัตตลักษณะ ได้แก่การกำหนดโดยความเป็นกอง ๒) สามัญลักษณะ ได้แก่การกำหนดโดยความเป็นสภาพเสมอกัน คือ ความเป็นของไม่เที่ยง | |
| ๑.๒ | มีความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดเสนามาร คือ ชรา พยาธิ มรณะเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น | |
๒. | ๒.๑ | ที่สุดโต่งอันบรรพชิตไม่ควรเสพนั้นคืออะไรบ้าง ? | |
| ๒.๒ | ที่สุดโต่งนั้นมีโทษอย่างไร ? | |
๒. | ๒.๑ | คือ ๑) กามสุขัลลิกานุโยค ๒) อัตตกิลมถานุโยค | |
| ๒.๒ | มีโทษดังนี้ | |
| กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือ ผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ | ||
| อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ | ||
๓. | ๓.๑ | พระอัครสาวก ๒ รูปมีชื่อเรียกอะไรบ้าง ? เหตุไรจึงเรียกอย่างนั้น ? | |
| ๓.๒ | พระอัสสชิแสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกมีความว่าอย่างไร ? และมีผล อย่างไร? | |
๓. | ๓.๑ | มีชื่อเรียก อุปติสสะ หรือสารีบุตร ๑ เรียก โกลิตะ หรือ โมคคัลลานะ ๑ ที่เรียกว่า อุปติสสะ เพราะเรียกตามโคตร ที่เรียกว่า สารีบุตร เพราะเป็นบุตรของ นางสารีพราหมณี ส่วนที่เรียกว่า โกลิตะ เพราะเรียกตามโคตร ที่เรียกว่า โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคคัลลานีพราหมณี | |
| ๓.๒ | มีความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนั้นและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสอนอย่างนี้ มีผล คือ อุปติสสปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา | |
๔. | ๔.๑ | พระมหากัสสปเถระประพฤติธุดงควัตรเพราะเห็นอำนาจประโยชน์ อย่างไร ? | |
| ๔.๒ | เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญแก่พระพุทธศาสนา อย่างไร ? | |
๔. | ๔.๑ | เพราะเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างคือ ๑) การอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตน ๒) เพื่ออนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง จะได้เป็นทิฏฐานุคติแห่ง คนผู้มาเกิดในภายหลัง เมื่อทราบว่า สาวกของพระพุทธเจ้าได้ ประพฤติอย่างนี้ เขาจะได้ประพฤติตาม ซึ่งเป็นทางอำนวยสุขแก่ เขาเอง | |
| ๔.๒ | ท่านได้เป็นประธานทำสังคายนาเป็นครั้งแรก | |
๕. | ๕.๑ | คำว่า “ภทฺเทกรตฺโต” ผู้มีราตรีเดียวอันเจริญ คือการปฏิบัติอย่างไร ? | |
| ๕.๒ | พระสาวกรูปใดได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ฉลาดอธิบายความย่อให้พิสดาร ? | |
๕. | ๕.๑ | คือการปฏิบัติอย่างนี้ คือ เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท | |
| ๕.๒ | พระมหากัจจายนะ | |
๖. | ๖.๑ | ปัญหาว่า “พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร” ใครถามใคร ? มีคำตอบอย่างไร ? | |
| ๖.๒ | พระศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลงแล้ว มีผลอะไรเกิดแก่มาณพ ๑๖ คน ? | |
๖. | ๖.๑ | พระสารีบุตรถามพระยมกะ มีคำตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ไม่เที่ยง ดับไปแล้ว | |
| ๖.๒ | มีผลคือ มาณพ ๑๕ คน เว้นปิงคิยมาณพ ส่งใจไปตามธรรมเทศนา มีจิตพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ส่วนปิงคิยมาณพเป็นแต่ได้ญาณเห็นในธรรม | |
๗. | ๗.๑ | พระปุณณมันตานีบุตรเป็นชาวเมืองไหน ? ตั้งอยู่ในคุณธรรมอะไรบ้าง ? | |
| ๗.๒ | ใครถามว่า “ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร” ? ใครตอบ ? ตอบว่า อย่างไร ? | |
๗. | ๗.๑ | เป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ ตั้งอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่ชอบเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ความรู้เห็นในวิมุตติ | |
| ๗.๒ | พระสารีบุตรเป็นผู้ถาม พระปุณณมันตานีบุตรเป็นผู้ตอบ และตอบว่า เราประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความดับไม่มีเชื้อ | |
๘. | ๘.๑ | เพราะเห็นอานิสงส์อะไร พระอานนท์จึงทูลขอพรข้อที่ ๘ ? | |
| ๘.๒ | พระอุบาลีออกบวชพร้อมใครบ้าง ? ที่ไหน ? ท่านได้รับเอตทัคคะ ทางไหน ? | |
๘. | ๘.๑ | เพราะเห็นอานิสงส์ว่าหากมีผู้มาถามว่า ธรรมนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงในที่ใด ? ถ้าท่านตอบไม่ได้ เขาจะพูดได้ว่า ท่านตามเสด็จพระศาสดาตลอดกาลนาน ไม่รู้แม้แต่เรื่องเท่านี้ | |
| ๘.๒ | พระอุบาลีออกบวชพร้อมกับ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานันทะ พระภัคคุ พระกิมพิละ พระเทวทัต ที่อนุปิยนิคม ได้รับเอตทัคคะทางเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงวินัย | |
๙. | จงอธิบายข้อความต่อไปนี้ | ||
| ๙.๑ | ทรงทำอายุสังขาราธิฏฐาน ๙.๒ ทรงปลงอายุสังขาร | |
๙. | ๙.๑ | ทรงทำอายุสังขาราธิฏฐาน หมายถึง ทรงตั้งพระหฤทัยจักอยู่แสดงธรรม สั่งสอนแก่มหาชน และตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดำรงพระชนม์อยู่ จนกว่า พุทธบริษัทจะตั้งมั่นและได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลาย ประดิษฐานให้มั่นคงถาวรสำเร็จประโยชน์แก่นิกรทุกหมู่เหล่า | |
| ๙.๒ | ทรงปลงอายุสังขาร หมายถึง ทรงกำหนดวันปรินิพพานนับแต่วันเพ็ญเดือน ๓ ไปอีก ๓ เดือน คือปลงพระทัยว่าจะบำเพ็ญพุทธกิจต่อไปอีกไม่ได้แล้ว | |
๑๐. | ๑๐.๑ | เมื่อรวมเจดีย์ซึ่งแสดงไว้ในบาลี อรรถกถา และฎีกา มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? | |
| ๑๐.๒ | อันตรธาน ๕ อย่าง อย่างไหนสำคัญกว่า ? เพราะเหตุไร | |
๑๐. | ๑๐.๑ | มี ๔ คือ ธาตุเจดีย์ ๑ บริโภคเจดีย์ ๑ ธรรมเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑ | |
๑๐.๒ | ปริยัติอันตรธานสำคัญกว่า เพราะปริยัติเสื่อมลงในกาลใด พระศาสนาย่อมเสื่อมถอยในกาลนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ตราบใด พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่ตราบนั้น เพราะว่าปริยัติเป็นรากแก้วของพระศาสนา ปฏิบัติเป็นแก่น ปฏิเวธ เป็นผล เมื่อรากแก้วขาดแล้ว แก่นและผลก็พลอยหมดไปตามกัน | ||
ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันเสาร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
------------------------------
๑. | ๑.๑ | การตั้งญัตติและสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมอะไรบ้าง ในสังฆกรรม ทั้ง ๔ ? |
| ๑.๒ | สังฆกรรม ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ? |
๑. | ๑.๑ | การตั้งญัตติ มีในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ส่วนการสวดอนุสาวนา มีในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม |
| ๑.๒ | ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น ทำนอกสีมาไม่ได้ เพราะต้องตั้งญัตติ ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมา ก็ได้ เพราะไม่ต้องตั้งญัตติ |
๒. | ๒.๑ | พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้หรือไม่ ? ถ้ามี กำหนดไว้อย่างไร ? |
| ๒.๒ | สถานที่ที่เป็นสีมาตามพระวินัยไม่ได้ มีหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? |
๒. | ๒.๑ | มีกำหนดไว้ คือกำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งไม่ได้และไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ สีมาเล็กเกินไปใหญ่เกินไป เป็นสีมาวิบัติ ใช้ไม่ได้ |
| ๒.๒ | ไม่มี เพราะในป่าที่ไม่มีบ้าน ก็จัดเป็นสัตตัพภันตรสีมา ในน่านน้ำที่ได้ขนาด ก็จัดเป็นอุทกุกเขปสีมา ผืนแผ่นดินที่มีหมู่บ้านก็จัดเป็นคามสีมา แม้สีมันตริกซึ่งคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมาก็จัดเป็นคามสีมา |
๓. | ๓.๑ | คำว่า “เจ้าอธิการ” ในพระวินัยหมายถึงใคร ? มีกี่แผนก ? อะไรบ้าง ? |
| ๓.๒ | การให้ภิกษุถือเสนาสนะเป็นหน้าที่ของใคร ? ผู้นั้นพึงปฏิบัติอย่างไร ? |
๓. | ๓.๑ | หมายถึงภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์ มี ๕ แผนก คือ |
| ๑) เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒) เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓) เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔) เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕) เจ้าอธิการแห่งคลัง | |
| ๓.๒ | เป็นหน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะพึงกำหนดฐานะของภิกษุผู้ถือเสนาสนะว่า เป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย เป็นผู้มีอุปการะแก่สงฆ์หรือหามิได้ เป็นผู้เล่าเรียนหรือประกอบกิจในทางใดบ้าง เป็นต้น แล้วพึงให้ถือเสนาสนะ |
๔. | ๔.๑ | วัดมีพระจำพรรษาวัดละ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐิน นิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน เป็นกฐินหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? |
| ๔.๒ | ในคัมภีร์บริวาร ภิกษุผู้ควรกรานกฐินประกอบด้วยองค์เท่าไร ? บอกมา ๓ ข้อ |
๔. | ๔.๑ | ไม่เป็นกฐิน เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินมี ๓ คือ |
| ๑) เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด ๒) อยู่ในอาวาสเดียวกัน ๓) ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป | |
| ๔.๒ | ประกอบด้วยองค์ ๘ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ) |
| ๑) รู้จักบุพพกรณ์ ๒) รู้จักถอนไตรจีวร ๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร ๔) รู้จักการกราน ๕) รู้จักมาติกาคือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๖) รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน ๗) รู้จักการเดาะกฐิน ๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน | |
๕. | ๕.๑ | จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ๑. ปฏิจฉันนาบัติ ๒. อันตราบัติ |
| ๕.๒ | สัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ? |
๕. | ๕.๑ | ๑) ปฏิจฉันนาบัติ หมายถึง อาบัติที่ภิกษุต้องแล้วปกปิดไว้ ๒) อันตราบัติ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสสที่ภิกษุต้องเข้าอีกระหว่าง ประพฤติวุฏฐานวิธี |
| ๕.๒ | มีองค์ ๔ คือ |
| ๑) ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ๒) ในที่พร้อมหน้าธรรม ๓) ในที่พร้อมหน้าวินัย ๔) ในที่พร้อมหน้าบุคคล | |
๖. | ๖.๑ | การคว่ำบาตรในทางพระวินัยมีความหมายว่าอย่างไร ? |
| ๖.๒ | การคว่ำบาตรนี้ สงฆ์ทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร ? บอกมา ๓ ข้อ |
๖. | ๖.๑ | มีความหมายว่าไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการคือ |
| ๑) ไม่รับบิณฑบาตของเขา ๒) ไม่รับนิมนต์ของเขา ๓) ไม่รับไทยธรรมของเขา | |
| ๖.๒ | ทำแก่คฤหัสถ์ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ) |
| ๑) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย ๒) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย ๓) ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย ๔) ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย ๕) ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน ๖) กล่าวติเตียนพระพุทธ ๗) กล่าวติเตียนพระธรรม ๘) กล่าวติเตียนพระสงฆ์ | |
๗. | ๗.๑ | ใครเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน หรือเป็นผู้ขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์ได้ ? |
| ๗.๒ | เหตุที่สงฆ์จะแตกกันมีอะไรบ้าง ? จะป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร ? |
๗. | ๗.๑ | ภิกษุผู้ปกตัตตะเป็นสมานสังวาส อยู่ในสีมาเดียวกันเท่านั้น ย่อมอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันเป็นก๊กเป็นพวกได้ นางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา หาอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ไม่ เป็นได้เพียงขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น |
| ๗.๒ | มี ๒ อย่างคือ |
| ๑) มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยแตกต่างกันจนเกิดเป็นอธิกรณ์ ๒) ความประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วเกิดความ รังเกียจกันขึ้น | |
| จะป้องกันได้ด้วย ๒ วิธีคือ | |
| ๑) ต้องส่งเสริมและกวดขันการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มีความ เห็นชอบเหมือนกัน ๒) ต้องส่งเสริมและกวดขันความประพฤติของภิกษุทั้งหลาย ให้เสมอกัน ไม่ให้เป็นทางรังเกียจกัน | |
| ||
| พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ | |
๘. | ๘.๑ | กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี ? |
| ๘.๒ | ผู้จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคม มีกำหนดไว้อย่างไร ? |
๘. | ๘.๑ | กรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีกำหนดเวลา ส่วนกรรมการมหาเถรสมาคมที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี |
| ๘.๒ | มีกำหนดไว้ว่าต้องเป็นอธิบดีกรมการศาสนา (โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๓ ความว่า ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง) |
๙. | ๙.๑ | ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดนั้นจะพึงตกแก่ใคร ? |
| ๙.๒ | การดูแลและจัดการศาสนสมบัติ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของใคร ? |
๙. | ๙.๑ | ให้ตกเป็นของศาสนสมบัติกลาง จะแบ่งให้ใครไม่ได้ (มาตรา ๓๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕) |
| ๙.๒ | การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการศาสนา การดูแลและจัดการศาสนสมบัติของวัด กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ เจ้าอาวาส (การดูแลและจัดการศาสนสมบัติกลาง บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐ ว่า ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนา เพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย และมาตรา ๔๑ ว่า ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติกลาง ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้งบประมาณนั้นได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดมีในมาตรา ๓๗ (๑) ว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัด กิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีและใน มาตรา ๔๐ ว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง) |
๑๐. | ๑๐.๑ | เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง ? |
| ๑๐.๒ | เจ้าอาวาสผู้ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่อย่างไร ? |
๑๐. | ๑๐.๑ | สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ |
๑๐.๒ | เจ้าอาวาสมีหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้ | |
๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนัก อาศัยอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม ๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์ ๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล |