วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง พ.ศ.๒๕๕๓

__16_138

กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางาม
ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘
----------------
แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า
๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน แต่
จะซ้ำคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อ
สมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

_42_154
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑. สังขตธรรม คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร ?
๑. คือธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ฯ
มีลักษณะ คือ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความดับไปในที่สุด และ
เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ฯ
๒. วิมุตติ กับ วิโมกข์ ต่างกันอย่างไร ? สมุจเฉทวิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ?
๒. ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ แต่ก็พ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะได้เท่ากัน
โดยอรรถ ฯ
มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป
ไม่กลับเกิดอีก ฯ
๓. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปใน
ทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
๓. มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ

มีอธิบายว่า
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง จัดเป็นกิจจญาณ
๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจที่ควรทำให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๔. ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ?
๔. ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓ ฯ ภูมิ หมายถึงภาวะ
อันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ
๕. กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะ
เพราะเหตุไร ?
๕. ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์ ได้ชื่อว่าโยคะ
เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมม
อยู่ในสันดาน ฯ
๖. จริต ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? คนมีจริตมักนึกพล่านจะพึงแก้ด้วยกัมมัฏฐาน
อะไร ?
๖. ได้แก่ ๑. ราคจริต ๒. โทสจริต ๓. โมหจริต
๔. วิตักกจริต ๕. สัทธาจริต ๖. พุทธิจริต ฯ
พึงแก้ด้วยวิธีเพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ฯ
17
๗. พระพุทธคุณ ๙ บท คืออะไรบ้าง ? บทไหนจัดเป็นอัตตหิตสมบัติและ
ปรหิตปฏิบัติ ?
๗. คือ อรหํ, สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู, อนุตฺตโร
ปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสานํ, พุทฺโธ, ภควา ฯ
๕ บทเบื้องต้นเป็นอัตตหิตสมบัติ ๔ บทเบื้องปลายเป็นปรหิตปฏิบัติ ฯ
๘. พระโสดาบัน แปลว่าอะไร ? หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ละสังโยชน์อะไร
ได้ขาดบ้าง ?
๘. แปลว่าผู้แรกเข้าถึงกระแสพระนิพพาน ฯ
ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ขาด ฯ
๙. ธุดงค์ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ธุดงค์ที่ภิกษุถือได้มีกำหนด
เฉพาะกาล คือข้อใด ? เพราะเหตุใด ฯ
๙. เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ รุกขมูลิกังคะ และ อัพโภกาสิกังคะ ฯ
ธุดงค์ ๒ ข้อนี้ภิกษุถือได้เฉพาะกาลนอกพรรษา เพราะในพรรษาภิกษุต้อง
ถือเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยประจำ ตามพระวินัยนิยม ฯ
18
๑๐. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพหูสูต เพราะประกอบด้วยคุณสมบัติ
อะไรบ้าง ?
๑๐. ประกอบด้วย
๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
๒. ธตา ทรงจำได้
๓. วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา
๔. มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ
๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ ฯ
*********

_18_142
ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑. พุทธบริษัท ๔ ผู้เป็นอริยสาวก มีลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังกันอย่างไร ?
บุคคลแรกของแต่ละบริษัทนั้นคือใคร ?
๑. มีลำดับอย่างนี้ คือ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา และภิกษุณี ฯ
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นคนแรกของภิกษุบริษัท
บิดาของพระยสะ เป็นคนแรกของอุบาสกบริษัท
มารดาและภรรยาของพระยสะ เป็นคนแรกของอุบาสิกาบริษัท
พระนางปชาบดี โคตมี เป็นคนแรกของภิกษุณีบริษัท ฯ
๒. พระอัญญาโกณฑัญญะมีมูลเหตุจูงใจอะไร จึงได้ออกบวชตามอุปัฏฐาก
พระมหาบุรุษขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา ?
๒. เพราะได้เคยเข้าร่วมทำนายพระลักษณะของพระมหาบุรุษโดยเชื่อมั่นว่าจะตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้า จึงตามอุปัฏฐากด้วยหวังว่า เมื่อพระมหาบุรุษตรัสรู้
จักทรงเทศนาโปรด ฯ

๓. มารยาทดีมีความสำรวมย่อมเป็นศรีของสมณะ สามารถจะปลูกศรัทธา
เลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้พบเห็น นี่เป็นปฏิปทาจริยาวัตรของพระสาวกรูปใด ?
จงเล่าประวัติของท่านโดยย่อ
๓. ของพระอัสสชิเถระ ฯ
ท่านเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาจนได้บรรลุพระอรหัต
แล้ว ได้เป็นกำลังในการประกาศพระศาสนา อุปติสสปริพาชกพบเห็นแล้วเกิด
ความเลื่อมใส ขอฟังธรรมจากท่าน แล้วได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ฯ
๔. ยสกุลบุตรได้ฟังธรรมอะไรจากพระศาสดาเป็นครั้งแรก ? ณ ที่ไหน ?
๔. ได้ฟัง อนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ฯ
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ
๕. พระสาวกผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีบริวารมากคือใคร ? ท่านมีบริวารมาก
เพราะเหตุไร ?
๕. พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ
เพราะท่านรู้จักเอาใจบริษัท รู้จักสงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมบ้าง ฯ
๖. พระพุทธโอวาทว่า เราจะไม่ละสติที่ไปในกาย คือพิจารณาร่างกาย
เป็นอารมณ์ ดังนี้ พระองค์ตรัสกะสาวกรูปใด ? พระสาวกรูปนั้นเป็น
เอตทัคคะในทางใด ?
๖. พระมหากัสสปะ ฯ
เป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์ ฯ

๗. พระมหากัจจายนะเคยได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้ไปเผยแผ่
พระศาสนาแทนพระองค์เมื่อครั้งไหน ? ได้ผลอย่างไร ?
๗. เมื่อครั้งที่ท่านบรรลุพระอรหัต และอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ได้ทูลเชิญ
พระพุทธเจ้าให้เสด็จไปกรุงอุชเชนี เพื่อประกาศพระศาสนาตามพระราชประสงค์
ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แต่พระพุทธเจ้ารับสั่งให้ท่านไปแทน ฯ
พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ฯ
๘. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระโมฆราชด้วยเรื่องอะไร ? มีความหมาย
อย่างไร ?
๘. ด้วยเรื่องสุญญตานุปัสสนา ฯ มีความหมายว่า ให้พิจารณาเห็นโลกโดย
ความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าเป็นตัวตนของเราเสีย ฯ
ศาสนพิธี
๙. คำว่า เจริญพระพุทธมนต์กับสวดพระพุทธมนต์ใช้ต่างกันอย่างไร ? การ
ทำบุญฉลองอัฐิจัดเข้าในอย่างไหนใน ๒ อย่างข้างต้น ?
๙. เจริญพระพุทธมนต์ใช้ในงานมงคล สวดพระพุทธมนต์ใช้ในงานอวมงคล ฯ
จัดเข้าในการเจริญพระพุทธมนต์ แต่ไม่ต้องตั้งขันน้ำมนต์และสายสิญจน์ ฯ
๑๐. งานทำบุญต่อนามหรือต่ออายุ คืองานทำบุญเช่นไร ?
๑๐. คืองานทำบุญที่คณะญาติของผู้กำลังป่วยหนักจัดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยหายป่วย
และเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลในบั้นปลายแห่งชีวิตของตน หรือ
เป็นความประสงค์ของผู้จะทำบุญต่ออายุเองเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ฯ
*********

_62_113
ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑. อาทิพรหมจริยกาสิกขา กับ อภิสมาจาริกาสิกขา ต่างกันอย่างไร ?
๑. ต่างกันดังนี้ อาทิพรหมจริยกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุทธอาณา เป็น
สกิ ขาบทอนั มาในพระปาตโิ มกข  เปน็ ขอ้ บงั คบั โดยตรงทีภ่ กิ ษจุ ะตอ้ งประพฤติ
ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วนอภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเนื่องด้วย
อภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อันมานอก
พระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤติ ฯ

๒. วินัยกรรม กับ สังฆกรรม มีความหมายต่างกันอย่างไร ? การทำ
วินัยกรรมนั้น มีจำกัดบุคคลและสถานที่บ้างหรือไม่อย่างไร ?
๒. ต่างกันอย่างนี้ กรรมที่ภิกษุแต่ละรูปหรือหลายรูปจะพึงทำตามพระวินัย เช่น
พินทุ อธิษฐาน วิกัปจีวร เป็นต้น เรียกว่าวินัยกรรม กรรมที่ภิกษุ
ครบองค์เป็นสงฆ์ มีจำนวนอย่างต่ำตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจะพึงทำ เช่น
อปโลกนกรรมเป็นต้น เรียกว่าสังฆกรรม ฯ
จำกัดบุคคลและสถานที่ไว้ดังนี้
๑. แสดงอาบัติ ต้องแสดงแก่ผู้เป็นภิกษุด้วยกัน
๒. อธิษฐาน ต้องทำเอง
๓. วิกัป ต้องวิกัปแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี นางสิกขมานา
สามเณร สามเณรี รูปใดรูปหนึ่ง
๔. ห้ามไม่ให้ทำในที่มืด แต่ทำในสีมาหรือนอกสีมาใช้ได้ทั้งนั้น ฯ
๓. ตามนัยแห่งอรรถกถา อาจารย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? คำขอนิสสัย
อาจารย์ว่าอย่างไร ?
๓. มี ๔ ประเภท ฯ
คือ ๑. ปัพพัชชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
๔. อุทเทสาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม ฯ
ว่า อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ ฯ
24
๔. กิริยาที่แสดงความอ่อนน้อมต่อกันและกันเป็นความดีของหมู่ แต่ต้องทำให้
ถูกต้องตามกาลเทศะ ในข้อนี้ควรงดเว้นในกรณีใดบ้าง ? จงบอกมาสัก
๕ ข้อ
๔. ได้แก่ในเวลาดังต่อไปนี้ (ตอบเพียง ๕ ข้อ)
๑. ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี คืออยู่กรรม เพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส
๒. ในเวลาถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ที่ถูกห้ามสมโภคและสังวาส
๓. ในเวลาเปลือยกาย
๔. ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง
๕. ในเวลาอยู่ในที่มืดที่แลไม่เห็นกัน
๖. ในเวลาที่ท่านไม่รู้ คือนอนหลับหรือขลุกขลุ่ยอยู่ด้วยธุระอย่างหนึ่ง หรือ
ส่งใจไปอื่น แม้ไหว้ ท่านก็คงไม่ใส่ใจ
๗. ในเวลาขบฉันอาหาร
๘. ในเวลาถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ ฯ
๕. ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจำพรรษา ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป
เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
๕. ๔ รูป พึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาติโมกข์
๓ รูป พึงประชุมกันทำปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันในโรงอุโบสถ
แล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
๑ รูป พึงอธิษฐาน ฯ

๖. อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจาร
ปาปสมาจาร อเนสนา ?
๖. คือ การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ ฯ
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่าง ๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร ความเลี้ยงชีพไม่สมควร
จัดเข้าในอเนสนา ฯ
๗. ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าโคจรสัมปันโนผู้ถึงพร้อมด้วยโคจรเพราะปฏิบัติอย่างไร ?
๗. เพราะเว้นอโคจร ๖ จะไปหาใครหรือจะไปที่ไหน เลือกบุคคล เลือกสถาน
อันสมควร ไปเป็นกิจลักษณะในเวลาอันควร ไม่ไปพร่ำเพรื่อ กลับในเวลา
ประพฤติตนไม่ให้เป็นที่รังเกียจของเพื่อนสหธรรมิกเพราะการไปเที่ยว ฯ
๘. ยาวกาลิกกับยาวชีวิกได้แก่กาลิกเช่นไร ? กาลิกระคนกันมีกฎเกณฑ์กำหนด
อายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
๘. ยาวกาลิก ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ยาวชีวิก
ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล ฯ
กฎเกณฑ์กำหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุน้อยที่สุด ฯ เช่นยาผง เป็นยาวชีวิก
คลุกกับน้ำผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ต้องถืออายุ ๗ วัน เป็นเกณฑ์ ฯ
๙. คำว่า อันโตวุฏฐะ อันโตปักกะ สามปักกะ หมายถึงอะไร ?
๙. อันโตวุฏฐะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุเก็บไว้ในที่อยู่ของตน ฯ
อันโตปักกะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุหุงต้มภายใน (ที่อยู่ของตน) ฯ
สามปักกะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุทำให้สุกเอง ฯ

๑๐. ภิกษุจะฉันสิ่งใด ๆ ต้องรับประเคนก่อน มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษอะไรบ้าง
ที่ไม่ต้องรับประเคนก่อนก็ฉันได้ ?
๑๐. ยกเว้นเป็นพิเศษเฉพาะภิกษุอาพาธถูกงูกัด ให้ฉันยามหาวิกัฏ ๔ คือมูตร คูถ
เถ้า และดินได้ ฯ
*********

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons