วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบสนามหลวงวิชาวินัยมุขนักธรรมเอก

แนวข้อสอบสนามหลวงวิชาวินัยมุข เล่ม ๓

ประจำปีการศึกษา 2554

 

img21๑. อย่างไรเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง และสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงนั้นสามารถทำสังฆกรรมใดได้บ้าง สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม มีกำหนดจำนวนไว้อย่างไร ทำกรรมอะไรได้บ้าง

ตอบ ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา แปลว่าแดนมีสังวาสเสมอกัน เป็นแดนที่กำหนดความพร้อมเพรียง มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกันทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุผู้ไม่มาเข้าประชุมเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ฯสามารถทำสังฆกรรมทั้ง ๔ ประเภท มีอปโลกนกรรม เป็นต้นได้ ฯมีกำหนดจำนวนไว้ดังนี้

-จตุวรรค สงฆ์มีจำนวน ๔ รูป ทุกอย่าง เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท อัพภาน

-ปัญจวรรค สงฆ์มีจำนวน ๕ รูป ทุกอย่าง เว้นอุปสมบทในที่หาภิกษุง่าย อัพภาน

ทสวรรค สงฆ์มีจำนวน ๑๐ รูป ทุกอย่าง เว้นอัพภาน

-วีสติวรรค สงฆ์มีจำนวน ๒๐ รูป ทุกอย่าง ฯ

๒. สังฆกรรมจำแนกออกเป็นกี่ประเภท เรียกโดยชื่อมีอะไรบ้าง กรรมอะไรบ้างที่สงฆ์จตุวรรคทำได้

ตอบ ๔ ประเภท ได้แก่ อปโลกนกรรม ๑, ญัตติกรรม ๑, ญัตติทุติยกรรม ๑, ญัตติ

จตุตถกรรม ๑ ฯทุกอย่าง เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท อัพภาน ฯ๓. อปโลกนกรรมมีกี่อย่าง อะไรบ้าง

ตอบ มี ๕ อย่าง

๑. นิสสารณา นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

๒. โอสารณา รับสามเณรผู้ถูกนาสนะแล้วกลับประพฤติเรียบร้อยให้เข้าหมู่

๓. ภัณฑูกรรม บอกขออนุญาตปลงผมคนผู้จะบวชอันภิกษุจะทำเอง

๔. พรหมทัณฑ์ ประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายาก

๕. กัมมลักขณะ อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นต้น ฯ

๔. การตั้งญัตติและสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมอะไรบ้าง ในสังฆกรรมทั้ง ๔สังฆกรรมทั้ง ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้

ตอบ การตั้งญัตติ มีในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ส่วนการสวดอนุสาวนา มีในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ฯญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น ทำนอกสีมาไม่ได้ เพราะต้องญัตติ ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมาก็ได้ เพราะไม่ต้องตั้งญัตติ ฯ

๕. คำว่า บัญญัติ อนุสาวนา อปโลกนะ อุปสัมปทาเปกขะ ได้แก่อะไร จงชี้แจงภิกษุผู้สามารถสวดกรรมวาจาได้แม่นยำและสละสลวย ต้องพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ตอบ ญัตติ ได้แก่ คำเผดียงสงฆ์

อนุสาวนา ได้แก่ คำประกาศปรึกษาและตกลงของสงฆ์

อปโลกนะ ได้แก่ การอบรมกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งบัญญัติ ไม่ต้องสวดอนุสาวนา

อุปสัมปทาเปกขะ ได้แก่ กุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท ฯอย่างนี้ คือ รู้จักประเภทของอักขระ ๑, รู้จักฐานกรณ์ของอักขระ ๑, ว่าเป็น ๑ ฯ

๖. ในสีมาเดียวกัน ภิกษุจะประชุมกันทำสังฆกรรมวันหนึ่ง ๒ ครั้งไม่ได้ ข้อนี้มีความจริงเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ มีความจริงเป็นอย่างนี้ คือ สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุโบสถ ปวารณา ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกัน จะต้องพร้อมเพรียงกันทำ จะแยกกันทำ ๒ พวก ๒ ครั้งไม่ได้ แต่สังฆกรรมบางอย่าง เช่น อุปสมบทกรรม อัพภานกรรมจะทำวันเดียวหลายครั้งก็ได้ ฯ

๗. สังฆกรรมย่อมวิบัติเพราะเหตุไรบ้าง ภิกษุ ๓ รูป ประชุมกันในสีมาสวด

ปาติโมกข์ ชื่อว่าวิบัติเพราะเหตุไหน

ตอบ สังฆกรรมย่อมวิบัติ (คือใช้ไม่ได้ แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ) เพราะเหตุ ๔ อย่าง

คือ เพราะวัตถุบ้าง เพราะสีมาบ้าง เพราะปริสะบ้าง เพราะกรรมวาจาบ้าง ฯชื่อว่าวิบัติเพราะปริสะ ฯ

๘. ในสังฆกรรมทั้ง ๔ นั้น การสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมไหนบ้าง ในแต่ละกรรมนั้นให้สวดกี่ครั้ง

ตอบ มีอยู่ในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ในญัตติทุติยกรรมให้สวด ๑ ครั้งในญัตติจตุตถกรรมให้สวด ๓ ครั้ง ฯ

๙. สังฆกรรมแต่ละประเภท ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในที่เช่นไร

ตอบ อปโลกนกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในเขตสีมา หรือนอกเขต

สีมาก็ได้ ฯญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำในเขตสีมาเท่านั้น จะเป็นพัทธสีมาหรืออพัทธสีมาก็ได้ ฯ

๑๐. ภัณฑุกรรม และอุกเขปนียกรรม คืออะไร จัดเป็นสังฆกรรมประเภทไหน

ตอบ ภัณฑุกรรม คือ กรรมที่ภิกษุแจ้งให้สงฆ์ทราบเพื่อปลงผมคนผู้มาขอบวชซึ่งยัง

ไม่ได้ปลงผมมาก่อน และภิกษุจะปลงให้เอง ฯอุกเขปนียกรรม คือ กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าต้องอาบัติเรียกว่าไม่เห็นอาบัติ หรือไม่ทำคืนอาบัติ หรือมีทิฏฐิบาปไม่ยอมสละอันเป็นการเสียสีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา ฯภัณฑุกรรม จัดเป็นอปโลกนกรรม ฯ อุกเขปนียกรรม จัดเป็นญัตติจตุตถกรรม ฯ

๑๑. กรรมวาจาวิบัติเพราะสวดผิดฐานกรณ์นั้นอย่างไร

ตอบ คือ การสวดธนิตเป็นสิถิล ๑, สวดสิถิลเป็นธนิต ๑, สวดวิมุติเป็นนิคคหิต ๑,

สวดนิคคหิตเป็นวิมุต ๑ ฯ

๑๒. ในเวลาสวดกรรมวาจานั้น กำหนดด้วยสงฆ์นิ่งอยู่จนถึงบาลีคำใด อุปสมบทกรรมจึงนับว่าเป็นการสำเร็จ

ตอบ กำหนดด้วยสงฆ์นิ่งอยู่จนถึงคำว่า โส ภาเสยฺย ที่แปลว่า ท่านผู้นั้นพึงพูดท้ายอนุสาวนาที่ ๓ จึงนับว่าเป็นการสำเร็จ ฯ

๑๓. แดนที่มีสังวาสเสมอกันเรียกว่าอะไร มีประโยชน์อย่างไร

ตอบ เรียกว่า สมานสังวาสสีมา ฯมีประโยชน์อย่างนี้ คือภิกษุผู้อยู่ในเขตนี้ มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน เป็นแดนที่กำหนดความพร้อมเพรียง ภิกษุผู้อยู่ในสีมานี้ทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุผู้ไม่มาเข้าประชุมเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ฯ

img14๑๔. การผูกพัทธสีมาในบัดนี้ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร

ตอบ การผูกพัทธสีมา มีวิธีปฏิบัติดังนี้

๑. พื้นที่อันจะสมมติเป็นสีมาต้องได้รับอนุญาตจากบ้านเมืองก่อน

๒. ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ในเขตสีมา หรือนำฉันทะของเธอมา

๓. สวดถอน

๔. เตรียมนิมิตไว้ตามทิศ

๕. เมื่อสมมติสีมา ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ภายในนิมิต

๖. ทักนิมิต

๗. สวดสมมติสีมา ฯ

๑๕. สีมาสังกระ คืออะไร สีมาสังกระด้วยเหตุอะไรบ้าง สงฆ์จะทำ สังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร

ตอบ คือสีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาสมมติไว้เดิมและสีมาสมมติขึ้นใหม่ ฯ

สีมาสังกระด้วยเหตุ ๔ คือ

๑. สมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน

๒. วัตถุพาดพิงถึงกันในระหว่างสีมาทั้งสอง

๓. สงฆ์ ๒ หมู่จะทำสังฆกรรมเวลาเดียวกัน ไม่เว้นระหว่างแนวสงฆ์ให้ห่างกันพอได้ตามกำหนด

๔. ทำสังฆกรรมในเรือหรือแพที่ผูกกับหลักปักไว้บนตลิ่ง หรือทำในที่ไม่ได้กำหนดตามอุทกุกเขป ฯสงฆ์ทำสังฆกรรมในเขตสีมาเดิมได้ ทำในสีมาสมมติขึ้นใหม่ เป็นสีมาวิ

๑๖. สมานสังวาสสีมา ติจีวราวิปปวาสสีมา และ อุทกุกเขปสีมา ได้แก่สีมาเช่นไร ในการถอน และสมมติสมานสังวาสสีมา และติจีวราวิปปวาสสีมามีวิธีปฏิบัติก่อนหลังอย่างไร

ตอบ สมานสังวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่มีพระพุทธนุญาตให้สงฆ์สมมติเป็นแดนมีสังวาสเสมอกัน ภิกษุผู้อยู่ในเขตนี้มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน

สมานสังวาสสีมานี้ ทรงพระพุทธานุญาตให้สมมติ ติจีวราวิปปวาส ซ้ำลงได้อีก เว้นบ้าน และอุปจารบ้านอันตั้งอยู่ในสีมานั้นติจีวราวิปปวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่สงฆ์สมมติให้เป็นแดน ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้นอุทกุกเขปสีมา ได้แก่ สีมาที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง ฯในการถอน ให้ถอนติจีวราวิปปวาสสีมาก่อน ถอนสมานสังวาสสีมาภายหลัง ในการสมมติ ให้สมมติสมานสังวาสสีมาก่อน สมมติติจีวราวิปปวาสสีมาภายหลัง ฯ

๑๗. สีมาเป็นหลักสำคัญแห่งสังฆกรรมอย่างไร พัทธสีมากำหนดขนาดพื้นที่ไว้

อย่างไร

ตอบ สีมาเป็นเขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำกรรม พระศาสดาทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำภายในสีมา เพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ ฯกำหนดขนาดพื้นที่ไว้อย่างนี้ คือ ไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูปนั่งไม่ได้และไม่ให้ใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ ฯ

๑๘. วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตกำหนดเขตสีมามีกี่อย่าง อะไรบ้าง ปัจจุบันนิยมใช้วัตถุอะไรเป็นนิมิต และวัตถุที่จะใช้เป็นนิมิตนั้นได้มีกำหนดไว้อย่างไร

ตอบ มี ๘ อย่างคือ ภูเขา ๑, ศิลา ๑, ป่าไม้ ๑, ต้นไม้ ๑, จอมปลวก ๑, หนทาง ๑,

แม่น้ำ ๑, แม่น้ำ ๑, น้ำ ๑ ฯนิยมใช้ศิลาเป็นนิมิต มีกำหนดไว้ดังนี้ เป็นศิลาแท้ หินปนแร่ ใช้ได้ทั้งหมด ๑, เป็นศิลามีก้อนโตไม่ถึงตัวช้าง ขนาดเท่าศีรษะโคหรือกระบือเขื่อง ๆ ๑, เป็นศิลาแท่งเดียว

๑, อย่างเล็กขนาดเท่าก้อนน้ำอ้อยหนัก ๓๒ ปละ ราว ๕ ชั่งก็ใช้ได้ ฯ

๑๙. สถานที่ที่เป็นสีมาตามพระวินัยไม่ได้ มีหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ ไม่มี เพราะในป่าที่ไม่มีบ้าน ก็จัดเป็นสัตตัพภันตรสีมา ในน่านน้ำที่ได้ขนาด ก็จัดเป็นอุทกุกเขปสีมา ผืนแผ่นดินที่มีหมู่บ้านก็จัดเป็นคามสีมา แม้สีมันตริกซึ่งคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมาก็จัดเป็นคามสีมา ฯ

๒๐. การทักนิมิตในทิศทั้ง ๘ นั้น ทักทิศละหนถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุไร จงเขียนคำทักนิมิตในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาดู

ตอบ ไม่ถูกต้อง ฯที่ถูกต้องนั้นเมื่อเริ่มต้นทักนิมิตในทิศบูรพาแล้วทักมาโดยลำดับจนถึงนิมิตสุด ต้องวนไปทักนิมิตในทิศบูรพาซ้ำอีก ฯคำทักนิมิตในทิศตะวันออกเฉียงเหนือว่าดังนี้ “อุตฺตราย อนุทิสาย นิมิตฺตํ” ฯ

๒๑. วิสุงคามสีมา พัทธสีมา ได้แก่สีมาเช่นไร กฐิน เป็นสังฆกรรมอะไร การรับกฐิน ตลอดจนถึงกราน ต้องทำในสีมาอย่างเดียว หรือทำนอกสีมาก็ได้

ตอบ วิสุงคามสีมา ได้แก่เขตที่สงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกให้เป็นแผนกหนึ่งจากบ้านพัทธสีมา ได้แก่วิสุงคามสีมานั้นเองอันสงฆ์ผูกแล้ว คือสมมติเป็น

สมานสังวาสสีมาแล้ว ฯกฐิน เป็นญัตติทุติยกรรม ฯการรับกฐิน การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน และการกรานกฐินทำในสีมา หรือนอกสีมาก็ได้ การสวดญัตติทุติยกรรมวาจาให้ผ้ากฐินต้องทำในสีมาอย่างเดียว ฯ

img15๒๒. ภิกษุผู้สวดกรรมวาจาเป็นคู่ มีทางสันนิษฐานอย่างไร

ตอบ มีทางสันนิษฐาน ดังนี้

๑. ธรรมเนียมสวดอย่างอื่น มีสวดภาณวารเป็นต้น สวดทีละคู่

๒. สวดรูปเดียวอาจจะตกหล่น สวดคู่คงตกหล่นไม่พร้อมกัน เป็นอันทานกันอยู่

ในตัวเอง รูปหนึ่งอาจพลาดเป็นล่ม ฯ

๓. เนื่องมาจากอุปสมบทคราวละคู่ สวดรูปหนึ่งสวดกรรมวาจาสำหรับอุปสัมปทาเปกขะรูปหนึ่ง ฯ

๒๓. กฐินเดาะหรือไม่เดาะ กำหนดรู้ได้อย่างไร

ตอบ กฐินเดาะ กำหนดรู้ได้ด้วยอาวาสปลิโพธและจีวรปลิโพธขาด หรือสิ้นเขตจีวรกาลที่ขยายออกไปอีก ๔ เดือน กฐินไม่เดาะ กำหนดรู้ได้ด้วยอาวาสปลิโพธ หรือจีวรปลิโพธอย่างใดอย่างหนึ่งยังไม่ขาด และยังอยู่ในเขตจีวรกาล ที่ขยายออกไปอีก๔ เดือน ฯ

๒๔. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสร้างโรงอุโบสถแล้ว ภายหลังรื้อ

สร้างใหม่ จะต้องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่หรือไม่ จงชี้แจง

ตอบ ถ้าสร้างอยู่ในเขตวิสุงคามสีมาเดิมที่ได้รับพระราชทานไว้ ไม่ต้องขอพระราชทานใหม่ แต่ถ้าสร้างพ้นเขตวิสุงคามสีมาที่กำหนดเดิมนั้น ต้องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ ฯ

๒๕. ศัพท์ว่า “บรรพชา” มีอธิบายว่าอย่างไร การบรรพชาและการอุปสมบท สำเร็จด้วยวิธีอะไร นอกจากอภัพบุคคลและผู้มีบรรพชาโทษแล้วบุคคลประเภทใดบ้างที่ถูกห้ามไม่ให้อุปสมบท

ตอบ มีอธิบายว่า ศัพท์นี้ หมายเอาการบวชทั่วไป รวมทั้งอุปสมบทด้วยก็มี หมายเอาเฉพาะการบวชเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบทก็มี หมายถึงการบวชลำพังเป็นสามเณรก็มี ฯการบรรพชาสำเร็จด้วยวิธีไตรสรณคมน์ และการอุปสมบทสำเร็จด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ฯคือ

๑. คนไม่มีอุปัชฌาย์

๒. คนไม่มีบาตร คนไม่มีจีวร หรือไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร

๓. คนยืมบาตร จีวร หรือยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา ฯ

๒๖. ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้น ๆ เรียกว่าอะไรพึงสวดสมมติด้วยกรรมวาจาประเภทใด

ตอบ เรียกว่า เจ้าอธิการ ฯพึงสวดสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ฯ

๒๗. วัตถุสมบัติในการอุปสมบทคืออะไร ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง

ตอบ คือผู้จะเข้ารับการอุปสมบท ฯประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ เป็นชาย ๑, มีอายุครบ ๒๐ ปี ๑, ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่นถูกตอน หรือเป็นกะเทย ๑, ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๑, ไม่เคยต้องปาราชิก หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งที่เป็นภิกษุ ฯ

๒๘. คำว่า “เจ้าอธิการ” ในพระวินัยหมายถึงใคร มีกี่แผนก อะไรบ้าง การให้ภิกษุ

ถือเสนาสนะเป็นหน้าที่ของใคร ผู้นั้นพึงปฏิบัติอย่างไร

ตอบ หมายถึงภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำกิจการของสงฆ์ มี ๕ แผนก ได้แก่

เจ้าอธิการแห่งจีวร ๑, เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๑, เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๑, เจ้าอธิการแห่งอาราม ๑, เจ้าอธิการแห่งคลัง ๑ ฯเป็นหน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะพึงกำหนดฐานะของภิกษุผู้ถือเสนาสนะว่า เป็นใหญ่หรือผู้น้อย เป็นผู้มีอุปการะแก่สงฆ์หรือหามิได้ เป็นผู้เล่าเรียนหรือประกอบกิจในทางใดบ้าง เป็นต้น แล้วพึงให้ถือเสนาสนะ ฯ

๒๙. ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติให้เป็นภัตตุทเทสกะ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเช่น

ไร ภัตรที่ควรแจกเฉพาะมีกี่อย่าง อะไรบ้าง

ตอบ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้คือ เว้นอคติ คือฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ

ภยาคติ ๑, รู้จักภัตรที่ควรแจกหรือมิควรแจก ๑, รู้จักลำดับที่พึงแจก ๑ ฯมี ๕ อย่างคือ

๑. อาคันตุกภัตร อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ

๒. คมิยภัตร อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะไปอยู่ที่อื่น

๓. คิลานภัตร อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ

๔. คิลานุปัฏฐากภัตร อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

๕. กุฏิภัตร อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้อยู่ในกุฏิที่เขาสร้าง

img22๓๐. ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่กิจสงฆ์ ที่เป็นองค์สรรพสาธารณะทั่วไปต้องประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง และที่เป็นองค์เฉพาะกิจต้องประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง

ตอบ ต้องประกอบด้วยองค์ที่เป็นสาธารณะทั่วไป ๔ ประการ คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความกลัว ฯ

ต้องประกอบด้วยองค์ที่เป็นสาธารณะทั่วไป ๔ ประการแล้ว และรวมข้อว่า เข้าในการ

ทำหน้าที่อย่างนั้นเข้าด้วย เป็น ๕ ประการ ฯ

๓๑. ภิกษุผู้นับเข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้น ๆ ต้องเป็นภิกษุเช่นไร เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุที่อยู่ในสีมาเดียวกัน นับเข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมทั้งหมดใช่หรือไม่ จงอธิบาย

ตอบ ต้องเป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสียจากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ และเป็นสมานสังวาสของกันและกัน ฯไม่ใช่ เพราะภิกษุที่เหลือจากจำนวนผู้ไม่มาเข้ากรรม เป็นผู้ควรให้ฉันทะ สงฆ์ทำกรรมเพื่อภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ไม่นับเข้าในจำนวนสงฆ์ และไม่ใช่ผู้ควรให้ฉันทะแต่เป็นผู้ควรเข้ากรรมนั้น ฯ

๓๒. กรานกฐิน คืออะไร อธิบายพอเข้าใจ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้กรานกฐินได้ในเดือนใด

ตอบ คือเมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในเดือนท้ายฤดูฝน พอจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง

ได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นเอาไปทำเป็นจีวรแล้วเสร็จ

ในวันนั้นแล้วมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาทั้งหมดนี้คือกรานกฐิน ฯทรงอนุญาตในท้ายฤดูฝน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ฯ

๓๓. วัดมีพระจำพรรษาวัดละ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐินนิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน เป็นกฐินหรือไม่ เพราะเหตุใดในคัมภีร์บริวาร ภิกษุผู้ควรกรานกฐินประกอบด้วยองค์เท่าไร บอกมา ๓ ข้อ

ตอบ ไม่เป็นกฐิน เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินมี ๓ คือ เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด ๑, อยู่ในอาวาสเดียวกัน ๑, ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ๑ ฯ

ประกอบด้วยองค์ ๘ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ) รู้จักบุพพกรณ์ ๑, รู้จักถอนจีวร ๑, รู้จัก

อธิษฐานจีวร ๑, รู้จักการกราน ๑, รู้จักาติกาคือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๑, รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน ๑, รู้จักการเดาะกฐิน ๑, รู้จักอานิสงส์กฐิน ๑ ฯ

๓๔. คำว่า “กฐิน” เป็นชื่อของอะไร มีชื่อเรียกอย่างนั้นเพราะเหตุไร

ตอบ เป็นชื่อของสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ฯเพราะมีชื่อออกจากไม้ดึงที่ลาดหรือกางออก เพื่อขึงจีวรเย็บ ฯ

๓๕. การอปโลกน์ และการสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทใด

การกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ พึงกล่าวว่าอย่างไร

ตอบ จัดเป็นอปโลกนธรรม จัดเป็นญัตติทุติยกรรม ฯอิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ ฯ

๓๖. ผ้าที่ไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐิน ได้แก่ผ้าเช่นไรบ้าง

ตอบ เช่นนี้ คือ ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามา ๑, ผ้าที่ได้มาโดยอาการอัน

มิชอบ คือ ทำนิมิตได้มา พูดเลียบเคียงได้มา และผ้าเป็นนิสสัคคีย์ ๑, ผ้าที่ได้มาโดย

บริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้ ฯ

๓๗. ในอุปสมบทกรรม อภัพบุคคล หมายถึงใคร จำแนกโดยประเภทมีเท่าไร

อะไรบ้าง

ตอบ หมายถึงบุคคลที่ไม่สมควรแก่การอุปสมบท อุปสมบทไม่ขึ้น ถูกห้ามไม่ให้

อุปสมบทตลอดชีวิต ฯมี ๓ ประเภท เพศบกพร่อง ไม่รู้ว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง ๑, ประพฤติผิดพระธรรมวินัย เช่น ฆ่าพระอรหันต์ ๑, ประพฤติผิดต่อกำเนิดของเขาเอง คือฆ่าบิดามารดา ๑ ฯ

๓๘. ภิกษุได้รับอานิสงส์กฐิน เข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่บอกเวลา ต้องอาบัติ

อะไรหรือไม่ เพราะเหตุไร

ตอบ ในกรณีที่รับนิมนต์แล้ว ไปในที่นิมนต์ ภายหลังภัตรเข้าบ้านโดยไม่บอกเวลาไม่

ต้องอาบัติ ซึ่งได้รับยกเว้นด้วยอานิสงส์ที่ว่าเที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖

แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์ ฯแต่ในกรณีที่ไม่ได้รับนิมนต์เข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งรัตนวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ ยกเว้นในกรณีรีบด่วน เช่น ภิกษุอาพาธฉุกเฉิน ฯ

๓๙. สงฆ์ผู้ทำกรรมในการให้ผ้ากฐิน มีกำหนดจำนวนอย่างน้อยไว้เท่าไร ที่กำหนดไว้อย่างนั้น มีพระพุทธประสงค์อย่างไร

ตอบ มี ๕ รูปเป็นอย่างน้อย ฯมีพระพุทธประสงค์ว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นบุคคลผู้รับผ้ากฐิน เหลืออีก ๔ รูปเป็นสงฆ์กรานและอนุโมทนา จึงกำหนดอย่างนั้น ฯ

๔๐. บุคคลเช่นไร ห้ามบวชตลอดชีวิต อภัพบุคคลที่ถูกห้ามอุปสมบทเพราะกระทำผิดต่อพระศาสนา มีกี่ประเภท ใครบ้าง บุคคลที่ถูกห้ามบวช แต่บวชโดยไม่รู้ จะพึงแก้ไขอย่างไร

ตอบ อภัพบุคคล ไม่คู่ควรแก่การบวช ฯมี ๗ ประเภท คือ คนฆ่าพระอรหันต์ ๑, คนทำร้ายภิกษุณี ได้แก่ผู้ข่มขืนภิกษุณีในอัชฌาจาร ๑, คนลักเพศ คือคนถือเพศเป็นภิกษุเอง ๑, ภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑,ภิกษุต้องปาราชิก ๑, ภิกษุทำสังฆเภท ๑, คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ๑พึงแก้ไขด้วยนาสนา คือขับออกเสีย ฯ

img25๔๑. ภิกษุที่เรียกในบาลีว่า ผู้เข้ากรรม คือใคร และต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ

อย่างไร

ตอบ คือภิกษุผู้เข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้น ๆ ฯต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้คือ เป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสียจากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ และเป็นสมานสังวาสของกันและกัน ฯ

๔๒. บรุพกิจก่อนแต่อุปสมบท มีอะไรบ้าง กิจทั้งหมดนั้นที่จัดเป็นญัตติกรรมทำ

เป็นการสงฆ์ คือกิจอะไรบ้าง

ตอบ มีการให้บรรพชา ขอนิสสัย ถืออุปัชฌายะ ขนานชื่อมคธแห่งอุปสัมปทาเปกขะ

บอกนามอุปัชฌายะ บอกบาตรจีวร สั่งอุปสัมปทาเปกขะให้ออกไปยืนข้างนอก สมมติ

ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม เรียกอุปสัมปทาเปกขา

เข้าในสงฆ์ ให้ขออุปสมบท สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯกิจเหล่านี้คือ การสมมติภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึง

อันตรายิกธรรม การเรียกอุปสัมปทาเปกขาเข้าในสงฆ์ การสมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ จัดเป็นญัตติกรรมทำเป็นการสงฆ์ ฯ

๔๓. ปัจฉิมกิจแห่งการอุปสมบทมีอะไรบ้าง ตอบเพียง ๒ ข้อ

ตอบ มี ๖ ข้อ (ตอบเพียง ๒ ข้อ) คือ วัดเงาแดดในทันที ๑, บอกประมาณแห่งฤดู ๑,

บอกส่วนแห่งวัน ๑, บอกสังคีติ ๑, บอกนิสสัยสี่ ๑, บอกอกรณียกิจสี่ ๑ ฯ

๔๔. ไตรจีวร กำหนดให้เรียกผ้านุ่งว่า อันตรวาสก เรียกผ้าห่มว่าอุตตราสงค์ เรียก

ผ้าทาบว่า สังฆาฏิ ในเวลาไหนบ้าง ผ้า ๓ ผืนนั้น กำหนดให้เรียกว่า จีวร ในเวลาไหนบ้าง

ตอบ ในเวลาดังต่อไปนี้ คือ ในเวลาบอกบาตรจีวรแก่อุปสัมปทาเปกขะ ในเวลาอธิษฐานเป็นผ้าครอง ในเวลาปัจจุทธรณ์ และในเวลากรานกฐิน ฯในเวลาผ้า ๓ ผืนนั้น เป็นนิสสัคคีย์เพราะอยู่ปราศ คำเสียสละเรียกว่าจีวรทุกผืน และในเวลาผ้าเหล่านั้นเป็นอติเรกจีวร คำวิกัป คำถอนวิกัปรวมเรียกว่าจีวรทั้งสิ้น ฯ

๔๕. ภิกษุ ๒ ฝ่ายก่อวิวาทเพราะปรารถนาดีก็มี เพราะปรารถนาเลวก็มี อยากทราบว่าอย่างไรชื่อว่าก่อวิวาทเพราะปรารถนาดี อย่างไรชื่อว่าก่อวิวาทเพราะปรารถนาเลว

ตอบ ผู้ใดตั้งวิวาทเพราะเห็นแก่พระธรรมวินัย ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาดี ผู้ใดตั้ง

วิวาทด้วยทิฏฐิมานะ แม้รู้ว่าผิดก็ขืนทำ ผู้นั้นชื่อว่าทำด้วยปรารถนาเลว ฯ

๔๖. วิวาทาธิกรณ์ คืออะไร ระงับได้ด้วยอธิกรณสมถะข้อใดบ้าง วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยการตกลงกันเองมีอย่างไร

ตอบ คือ การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย ฯด้วยสัมมุขาวินัย การระงับต่อหน้า และเยภุยยสิกา การระงับด้วยถือเสียงข้างมาก ฯมีอย่างนี้ คือ

๑. สังฆสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าสงฆ์

๒. ธัมมสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าธรรม

๓. วินยสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าวินัย

๔. ปุคคลสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าบุคคล ฯ

๔๗. สัมมุขาวินัยสำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์นั้น มีวิธีอย่างไร อธิกรณ์ที่ภิกษุจะพึง

ยกขึ้นว่านั้น ต้องเป็นเรื่องที่มีมูล ก็เรื่องที่มีมูลนั้นมีลักษณะเช่นไรสัมมุขาวินัยมีองค์เท่าไร อะไรบ้าง

ตอบ มีวิธีอย่างนี้ คือ ด้วยการตกลงกันเอง ๑, ด้วยการตั้งผู้วินิจฉัย ๑, ด้วยอำนาจ

แห่งสงฆ์ ๑ ฯมีลักษณะ ๓ ประการ คือ เรื่องได้เห็นเอง ๑, เรื่องที่ได้ยินเอง หรือมีผู้บอกและเชื่อว่าเป็นจริง ๑, เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้น แต่รังเกียจโดยอาการ ฯมีองค์ ๔ คือ ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ๑, ในที่พร้อมหน้าธรรม ๑, ในที่พร้อมหน้าวินัย ๑,ในที่พร้อมหน้าบุคคล ๑ ฯ

๔๘. อนุวาทาธิกรณ์เช่นไร อันภิกษุจะพึงยกขึ้นว่าได้

ตอบ ต้องเป็นเรื่องมีมูล คือ เรื่องที่ได้เห็นเอง ๑, เรื่องที่ได้ยินเอง หรือมีผู้บอกและ

เชื่อว่าเป็นจริง ๑, เรื่องที่เว้นจาก ๒ สถานนั้น แต่รังเกียจโดยอาการ ๑ เช่น ได้ยินว่า

พัสดุชื่อนี้ของผู้มีชื่อนี้หายไป ได้พบพัสดุชนิดนั้นในที่อยู่ของภิกษุชื่อนั้น ฯ

๔๙. รัตติเฉท หมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง

ตอบ หมายถึง การขาดราตรีแห่ง (การประพฤติ) มานัต ฯมี ๑. อยู่ร่วม ๒. อยู่ปราศ

๓. ไม่บอก ๔. ประพฤติในคณะอันพร่อง ฯ

img27๕๐. อนุวาทาธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไม่รีบระงับ มีผลเสียอย่างไร ภิกษุผู้ต้องอนุวาทาธิกรณ์ พึงปฏิบัติอย่างไร

ตอบ มีผลเสีย คือทำให้เสียสีลสามัญญตา และเสียสามัคคีเป็นทางแตกเป็นนานาสังวาส จึงถึงเป็นนานานิกาย ฯพึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เคารพในผู้พิจารณา ๑, ให้การตามความเป็นจริง ๑, พึงเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของสงฆ์ ๑, ไม่ขุ่นเคือง ๑ ฯ

๕๑. อธิกรณ์อันสงฆ์วินิจฉัยแล้ว ฝ่ายไม่ชอบใจจักอุทธรณ์ได้หรือไม่ จงตอบให้มีหลัก

ตอบ อุทธรณ์ได้ก็มี อุทธรณ์ไม่ได้ก็มี โดยอธิบายว่า ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งสัปปาณวรรคปาจิตติยกัณฑ์ โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี สงฆ์ก็ดี รู้อยู่ว่าอธิกรณ์นั้นสงฆ์หมู่นั้นวินิจฉัยเป็นธรรมแล้ว ฟื้นขึ้นเพื่อวินิจฉัยใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อย่างนี้อุทธรณ์ไม่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นธรรม ฟื้นขึ้นไม่เป็นอาบัติ อย่างนี้ อุทธรณ์ได้ ฯ

๕๒. ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นร่วมกันกับส่วนใหญ่ ไม่ถือแต่มติของ

ตน เป็นธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ภิกษุปฏิบัติอย่างไรจึงจะรักษาธรรมนั้นได้

ตอบ ปฏิบัติอย่างนี้คือ เคารพในพระศาสดา ในพระธรรมวินัย และเคารพในสงฆ์ผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาพระธรรมวินัย สำคัญมติของสงฆ์นั้นว่าเป็นเนตติอันตนควรเชื่อถือและทำตาม ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมรักษาทิฏฐิสามัญญตานั้นไว้ได้ ฯ

๕๓. พระอรรถกถาจารย์แสดงลักษณะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสไว้เป็น ๕ คู่อย่างไรบ้าง

ตอบ เป็นอาบัติ และรู้ว่าเป็นอาบัติเป็นปกตัตตะ และรู้ว่าเป็นปกตัตตะไม่มีอันตราย และรู้ว่าไม่มีอันตรายอาจอยู่ และรู้ว่าอาจอยู่ ใคร่จะปิด และปิดไว้ ฯ

๕๔. การทำกรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้น แก่ภิกษุหรือคฤหัสถ์ ควรปฏิบัติอย่างไร

จึงจะไม่เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี

ตอบ พึงตั้งอยู่ในมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล ดำริโดยรอบคอบแล้วจึงทำ ไม่พึงใช้อำนาจที่ประทานไว้ เป็นทางนำมาซึ่งความแตกสามัคคี เช่น พวกภิกษุชาวโกสัมพีได้ทำมาแล้ว ฯ

๕๕. การคว่ำบาตรในทางพระวินัยหมายถึงอะไร และจะหงายบาตรได้เมื่อไร การคว่ำบาตรนี้ สงฆ์ทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร บอกมา ๓ ข้อ

ตอบ หมายถึง การไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ ไม่รับบิณฑบาต

ของเขา ๑, ไม่รับนิมนต์ของเขา ๑, ไม่รับไทยธรรมของเขา ๑ ฯเมื่อผู้ถูกคว่ำบาตรนั้นละโทษนั้นแล้ว กลับประพฤติดี ฯทำแก่คฤหัสถ์ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ) ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย ๑,ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย ๑, ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย ๑, ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย ๑, ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน ๑,กล่าวติเตียนพระพุทธ ๑, กล่าวติเตียนพระธรรม ๑, กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ฯ

๕๖. ภิกษุผู้เป็นโจทก์ จงใจหาความเท็จใส่ภิกษุอื่น และภิกษุผู้เป็นจำเลย จงใจปกปิดความประพฤติเสียของตนด้วยให้การเท็จ สงฆ์พึงนิคคหะด้วยกรรมอะไร

ตอบ สงฆ์พึงทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์ และตัสสปาปิยกากรรม แก่ภิกษุผู้

เป็นจำเลย ฯ

๕๗. วุฏฐานวิธี แปลว่าอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ในการทำวุฏฐานวิธีแต่ละอย่างนั้น ต้องการสงฆ์จำนวนเท่าไร

ตอบ แปลว่าระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ประกอบด้วย ปริวาส มานัตปฏิกัสสนา และอัพภาน ฯการให้ปริวาส ให้มานัต และทำปฏิกัสสนาต้องการสงฆ์จตุวรรค การให้อัพภานต้องการสงฆ์วีสติวรรค ฯ

๕๘. สังฆราชี คืออะไร

ตอบ คือ การที่ภิกษุแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย เพราะมีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยผิดแผกกันจนเกิดเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น หรือมีความปฏิบัติไม่สม่ำเสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากัน เกิดรังเกียจกันขึ้น แต่ยังไม่แยกทำอุโบสถ ปวารณา หรือสังฆกรรมอื่น ฯ

๕๙. ปริวาส คืออะไร มานัต คืออะไร

ตอบ ปริวาส คือ การประพฤติวัตรพิเศษอย่างหนึ่งเท่าจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติไว้ก่อน

จะประพฤติมานัตต่อไป ฯมานัต คือ การประพฤติวัตรพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นเวลา ๖ ราตรีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ฯ

๖๐. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ๑.ปฏิจฉันนาบัติ ๒.อันตราบัติ

ตอบ ปฏิจฉันนาบัติ หมายถึง อาบัติที่ภิกษุต้องแล้วปกปิดไว้อันตราบัติ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสสที่ภิกษุต้องเข้าอีกระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี ฯ

img33๖๑. เมื่อมุ่งถึงพระพุทธบัญญัติ ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความตั้งอยู่ยั่งยืนแห่ง

พระธรรมวินัย ควรปฏิบัติเช่นไร

ตอบ ควรปฏิบัติอย่างนี้ คือ ตั้งอยู่ในลัชชีธรรม ใคร่ความบริสุทธิ์ อาบัติที่ไม่ควรต้องอย่าต้องอาบัติ ที่ต้องแล้วพึงทำคืนเสีย เช่นนี้จักเป็นผู้มีศีลเสมอด้วยสพรหมจารีทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความตั้งอยู่ยั่งยืนแห่งพระธรรมวินัย ฯ

๖๒. ภิกษุเมื่อลาสิกขา ต้องทำเป็นกิจจะลักษณะด้วยการกล่าวคำปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าใครได้บ้าง และทำอย่างไรจึงเป็นกิจจะลักษณะ

ตอบ ต่อหน้าภิกษุด้วยกันหรือคนอื่นจากภิกษุก็ได้ ฯ ปฏิญญาอย่างนี้ คือ พร้อมด้วยจิต คือทำด้วยตั้งใจเพื่อลาสิกขาจริง ๆ พร้อมด้วยกาล คือด้วยคำเด็ดขาด ไม่ใช่รำพึง ไม่ใช่ปริกัป พร้อมด้วยประโยค คือปฏิญญาด้วยตนเอง พร้อมด้วยบุคคล คือผู้ปฏิญญาและผู้รับปฏิญญาเป็นคนปกติ พร้อมด้วยความเข้าใจ คือผู้รับปฏิญญาเข้าใจคำนั้นในทันที ฯ

๖๓. ใครเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน หรือเป็นผู้ขวนขวายเพื่อทำลายสงฆ์ได้ เหตุที่

สงฆ์จะแตกกันมีอะไรบ้าง จะป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร

ตอบ ภิกษุผู้ปกตัตตะเป็นสมานสังวาส อยู่ในสีมาเดียวกันเท่านั้น ย่อมอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันเป็นก๊กเป็นพวกได้ นางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสกอุบาสิกา หาอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ไม่ เป็นได้เพียงขวนขวาย เพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น ฯ ๒ อย่าง คือ มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยแตกต่างกันจนเกิดเป็นอธิกรณ์ ๑, ความประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วเกิดความรังเกียจกันขึ้น ๑ ฯจะป้องกันได้ด้วย ๒ วิธี คือ ต้องส่งเสริมและกวดขันการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มี ความเห็นชอบเหมือนกัน ๑, ต้องส่งเสริมและกวดขันความประพฤติของภิกษุ ทั้งหลายให้เสมอกัน ไม่ให้เป็นทางรังเกียจกัน ๑ ฯ

๖๔. วิวาทาธิกรณ์ที่วินิจฉัยในสงฆ์ไม่สะดวก จะเลือกภิกษุบางรูปหรือเป็นคณะหรือเป็นสงฆ์ให้แยกวินิจฉัย ซึ่งเรียกว่า อุพพาหิกาวิธี ผู้ที่ควรได้รับเลือกในวิธีนี้ ต้องมีองค์คุณกี่อย่าง อะไรบ้าง

ตอบ ต้องมีองค์คุณ ๑๐ อย่างคือเป็นผู้มีศีล ๑, เป็นพหุสูต ๑, เป็นผู้ทรงปาติโมกข์ ๑,เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัยไม่คลอนแคลน ๑, เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่วิวาทเข้าใจ และเลื่อมใส ๑, เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นให้ระงับ ๑, รู้เรื่องอธิกรณ์ ๑, รู้เหตุอธิกรณ์ ๑, รู้การตัดอธิกรณ์, รู้ทางตัดอธิกรณ์ ๑ ฯ

๖๕. การทำนาสนา คือการทำเช่นไร บุคคลที่ทรงอนุญาตให้นาสนามีกี่ประเภทใครบ้าง

ตอบ คือการยังบุคคลผู้ไม่ควรถือเพศ ให้ละเพศเสีย ฯบุคคลที่ทรงอนุญาตให้นาสนามี ๓ ประเภท คือ

๑. ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ

๒. บุคคลผู้อุปสมบทไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์

๓. สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง เช่นเป็นผู้มักผลาญชีวิตสัตว์

เป็นต้น ฯ

จบพระวินัย

------------228387_185133948203821_100001216522700_543859_4240915_n

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

๑. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คืออะไร

ตอบ คือ กฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะสงฆ์ มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ ฯ

๒. องค์กรการปกครองคณะสงฆ์สูงสุด คืออะไร ใครเป็นประธาน

ตอบ คือ มหาเถรสมาคม ฯ

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธาน ฯ

๓. มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง

ตอบ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

ก) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม

ข) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร

ค) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่

การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์

ง) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา

จ) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ฯ

๔. กรรมการมหาเถรสมาคมดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี

ตอบ กรรมการที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีกำหนดเวลา

กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง ดำรงอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี ฯ

๕. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ใครเป็นผู้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

ตอบ โดยอ้างมาตรา คำว่า คณะสงฆ์ และคณะสงฆ์อื่น แห่งมาตรา ๕ ทวิ ใน

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์หมายถึงใคร

ตอบ มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ฯคณะสงฆ์ หมายถึงบรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร ฯคณะสงฆ์อื่น หมายถึงบรรดาบรรพชิตจีนนิกายหรืออนัมนิกาย

IMG_8816๖. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมคือ

ใคร

ตอบ คืออธิบดีกรมการศาสนาโดยตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.๒๕๐๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๑๓ ความว่า ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ฯ

๗. ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กำหนดองค์ประกอบมหาเถรสมาคมไว้อย่างไร

ตอบ กำหนดไว้ดังนี้ สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดย

ตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะ

ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวนไม่เกิน ๑๒ รูป เป็นกรรมการ ฯ

๘. ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ กำหนดเจ้า

คณะปกครองสงฆ์ไว้กี่ชั้น ใครบ้าง

ตอบ กำหนดไว้ ๕ ชั้น คือ เจ้าคณะใหญ่ ๑, เจ้าคณะภาค ๑, เจ้าคณะจังหวัด ๑, เจ้า

คณะอำเภอ ๑, เจ้าคณะตำบล ๑ ฯ

๙. ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้จัดแบ่งเขตปกครองคณะ

สงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร

ตอบ แบ่งดังนี้ คือ ภาค ๑, จังหวัด ๑, อำเภอ ๑, ตำบล ๑

ส่วนจำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นตามที่กำหนด ในกฎมหาเถรสมาคม ฯ

๑๐. ตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕

กำหนดให้พระภิกษุสละสมณเพศในกรณีใดบ้าง

IMG_3085ตอบ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ก) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่

ยอมรับนิคหกรรมนั้น

ข) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ

ค) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง

ง) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฯ

๑๑. คณะสงฆ์จะตั้งเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคมได้

หรือไม่ จงอ้างมาตรา

ตอบ ไม่ได้ ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ ความว่า คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครอง

ของมหาเถรสมาคม ฯ

๑๒. พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมเมื่อทำผิดเช่นไร และผู้ได้รับนิคหกรรมให้สึก

ต้องสึกภายในเวลาเท่าไร

ตอบ เมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และนิคหกรรมที่จะลงโทษแก่ภิกษุนั้น

จะต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย ฯต้องสึกภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น ฯ

๑๓. ภิกษุรูปหนึ่งต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย ภิกษุนั้น

จะต้องปฏิบัติอย่างไร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาตราไหน

ตอบ ภิกษุนั้นต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ฯตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฯถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฯ

๑๔. พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ อ้างมาตราประกอบด้วย

ตอบ ไม่ได้ ฯ ตามมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕

๑๕. ศาสนสมบัติมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ใครเป็นผู้มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติ

ตอบ มี ๒ ประเภท ตามมาตรา ๔๐ คือ

๑. ศาสนาสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัด

หนึ่ง ฯ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการ

๒. ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ฯ ให้เป็นไปตาม

วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฯ

๑๖. ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก มีโทษอย่างไร

ตอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ ฯ

๑๗. ผู้ที่มิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอนจากความเป็นพระอุปัชฌาย์ กระทำการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษอย่างไร

ตอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ฯ

IMG_8570๑๘. เจ้าอาวาส ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง เจ้าอาวาสผู้

ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่อย่างไร

ตอบ สมเด็จพระสังฆราช ทรงแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด

แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ฯเจ้าอาวาสมีหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ดังนี้

๑. บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี

๒. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคมข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

๓. เป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์

๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ฯ

๑๙. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ กำหนดให้วัด

มีเท่าไร อะไรบ้าง ที่ดินที่เป็นสมบัติของวัดมีเท่าไร บอกมาให้ครบ

ตอบ วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ๑, สำนักสงฆ์ ๑ ฯ

ที่ดินที่เป็นของวัดมี ๓ ประเภท คือ ที่วัด ๑, ที่ธรณีสงฆ์ ๑, ที่กัลปนา ๑ ฯ

๒๐. พระราชบัญญัติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มาตรา ๓๑ ความว่าอย่างไร

ตอบ มาตรา ๓๑ มีความว่า วัดมี ๒ อย่าง คือ

๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

๒. สำนักสงฆ์ ฯ

๒๑. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนา และที่ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ที่เช่นไร นาย ก ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสให้เข้าปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่เช่นนั้นนานเกินสิบปี ภายหลังจะยึดที่ดินผืนนั้นเป็นสมบัติส่วนตัว จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัด โดยอ้างสิทธิครอบครองได้หรือไม่ เพราะเหตุไร (๔๘) ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดนั้นจะพึงตกแก่ใคร เจ้าพนักงาน ตามความในประมวลกฎหมายอาญา ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ได้แก่ใคร

ตอบ ที่วัดคือที่ที่ตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น ที่ธรณีสงฆ์คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด ที่

กัลปนาคือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ที่ศาสนสมบัติกลางคือที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระศาสนามิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง ฯไม่ได้ เพราะมาตรา ๓๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ บัญญัติว่า ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัด หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแล้วแต่กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ฯให้ตกเป็นของศาสนสมบัติกลาง จะแบ่งให้ใครไม่ได้ (มาตรา ๓๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕) ฯได้แก่พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา ๔๕) ฯ

๒๒. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้

หรือไม่ มีหลักปฏิบัติอย่างไร

ตอบ สามารถโอนได้มีหลักปฏิบัติตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะ

สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้

ก็บุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

262129_198002336916982_100001216522700_626071_6370412_n----------------------------------

ตณฺหาย อุฑฺฑิโต โลโก ชราย ปริวาริโต

มจฺจุนา ปิหิโต โลโก ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต.

โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้

จึงตั้งอยู่ในทุกข์. (พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๕๕.

-------------------------------------

ปนาปทายี ลภเต มนาปํ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ

วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ.

ผู้ให้ของชอบใจย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดีย่อมได้ของดี

ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ. (พุทฺธ) องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

--------------------------------------------

ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา

เอตํ ตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง. (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

-------------------------------------------------

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา.

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด,

บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด,

บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด,

และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด.

(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.

จบบริบูรณ์

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons