วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คุยกันก่อน37 นิวรณ์ ๕







 หลวงปู่ชา สุภทฺโท ท่านกล่าวว่า ....
"ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานๆ นับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใด ก็จะยิ่งเกิดปัญญามากเท่านั้น
ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรามีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้าและต้องปฏิบัติให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป
อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่านเพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง"

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ep36 งานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มหาโส กัสสโป



เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลวงปู่พระมหาโส กสัสโป ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะ และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต พระเกจิดังของภาคอีสาน ได้ละสังขารแล้วที่กุฏิวัดป่าคำแคนเหนือ หมู่ 2 ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ด้วยอาการชราภาพ เมื่อเวลา 12.20 น.ของวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา สิริอายุ 100 ปี 3 เดือน 8 วัน


 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในวัดป่าคำแคนเหนือ มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ศิษยานุศิษย์ ที่เคารพนับถือหลวงปู้พากันเดินทางมากราบไหว้สรีระสังขารหลวงปู่ และขอเช่าวัตถุมงคลของหลวงปู่โส กัสสโปอย่างเนื่องแน่น ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายสรีระสังขารหลวงปู่โส จากกุฏิของท่านมาที่ศาลาเปรียญกัสสโปนุสรณ์ ภายในวัดป่าคำแคนเหนือ เพื่อทำพิธีถวายน้ำหลวงอาบศพ "หลวงปู่โส กัสสโป”


 นอกจากนี้ ภายในวัดป่าคำแคนเหนือมีศิษยานุศิษย์นำอาหาร เช่น ก๊วยเตี๋ยว ข้าวเหนียว หมูปิ้งส้มตำ ข้าวจี่ กาแฟ น้ำดื่ม มาตั้งเป็นโรงทานเพื่อรองรับประชาชนที่เคารพนับถือหลวงปู่โสมากราบ มารดน้ำและกราบศพท่าน ได้มารับประทานอาหารจากโรงทานได้ตลอดเวลา


 พระสมุห์ สุภชัย เทวสุโภ อายุ 37 ปี พระอุปฐากหลวงปู่โส กัสสโป เปิดเผยว่า หลังจากทางวัดและลูกศิษย์หลวงปู่โส จัดงานครบรอบวัดเกิด 100 ปี ให้กับท่าน เมื่อ 18 พ.ย. 2558 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนได้ป่วยเพราะปอดติดเชื้อ จึงได้นำไปรักษาที่ รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น กระทั่งเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมาได้ออกจาก รพ.ศรีนครินทร์ฯ มาพักรักษาตัวอยู่ในกุฏิของท่าน กระทั่งเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เกิดอาการเสลดติดคอ หายใจไม่ออก กระทั่งเมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 16 ก.พ. ได้นอนหลับเมื่อคณะแพทย์จาก รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น มาตรวจก็บอกว่าหลวงปู่โสได้ละสังขารไปอย่างสงบ โดยนอนหลับตาและมีรอยยิ้มเล็กน้อย โดยแพทย์บอกว่าหลวงปู่โสชราภาพ


 พระสมุห์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่หลวงปู่โสมรณะภาพไปแล้ว ทางวัดป่าคำแคนเหนือ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่โส ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่เคารพศรัทธาหลวงปู่โสได้มากราบไหว้และเคารพศพหลวงปู่โสได้ตลอดเวลา ที่ศาลาการเปรียญกัสสโปนุสรณ์ โดยสรีระสังขารของท่านจะอยู่ในโรงทึบที่ทำด้วยไม้ประดู่จากธรรมชาติ โดยตั้งศพที่ศาลาการเปรียญฯ มีสวดอภิธรรมทุกวันจนครบ 1 เดือน จากนั้นให้มีสวดเฉพาะวันพระ

 นอกจากนี้ มีบำเพ็ญกุศลใหญ่ถวายหลวงปู่ 7 วัน 50 วัน 100 วัน จนกว่าจะได้ก่อสร้าง “เจดีย์บูรพาจารย์ วัดป่าคำแคนเหนือ” เสร็จเรียบร้อยก็จะมีการประชุมพิธีฌาปนกิจของหลวงปู่โสตามที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นมา ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นวันไหน เดือนอะไร แต่เป็นปี 2560 แน่นอน

 นายธวัช แตรยาว อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ 2 บ้านคำแคนเหนือ ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ผู้ศรัทธาหลวงปู่โสมากที่สุด เพราะมีวัตถุมงคลหลวงปู่โสติดตัว ซึ่งเป็นเหรียญหลวงปู่โสเก้า เหลี่ยม ตะกรุดมงคลจักรวาล เปิดเผยว่า หลวงปู่โส นับเป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย และท่านยังปฏิบัติศาสนกิจของท่านอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ทั้งการอบรมธรรมะแก่พระเณร อุบาสก อุบาสิกา การพัฒนาวัด การต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มากราบเยี่ยมที่วัด ซึ่งมีมาไม่เคยขาดสายเลยแม้แต่วันเดียว ไม่ว่าจะอยู่ไกลขนาดไหนก็มา ด้วยบารมีแห่งแสงธรรมขององค์หลวงปู่โส ที่จริงแล้วหลวงปู่ไม่เคยดำริให้สร้างวัตถุมงคลเลย แต่จะมีศิษยานุศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อหาทุนทรัพย์สร้างสาธารณะกุศล หลวงปู่โสก็มีเมตตาให้จัดสร้างและอธิฐานจิตให้ โดยวัตถุมงคลที่หลวงปู่อธิฐานจิตให้ล้วนมีพุทธคุณวิเศษ มีประสบการณ์แก่ผู้บูชาทั้งสิ้น

 “หลวงปู่โส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง 4 ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า "พ้นจากวัฏสงสาร" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป”

 หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่ง นับตั้งแต่อายุ 70 ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่สังคมทางโลกอีกเลยจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ต่อมาเมื่อท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็งจนถึงปัจจุบัน ท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น.

 ประวัติ หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 8 พ.ย. 2458 เวลาตี 2 (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ปีเถาะ) ปัจจุบันสิริอายุ 100 ปี 3 เดือน 8 วัน สถานที่เกิด : เกิดที่ บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน

 บรรพชาใน ปีพ.ศ.2477 เมื่อมีอายุ 19 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัฌชาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ (บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ธรรมทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติแตกฉาน จนสอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี ในปี พ.ศ.2478 อายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยมีพระอุปัฌชาอ่อน เป็นพระอุปัฌชาย์ ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น
ญัตติเป็นธรรมยุติ
 ปี 2480 ท่านได้กราบลาพระอุปัฌชาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปเปลี่ยนยัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ 17 ก.ค.2480 ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัฌชาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อยัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์
เป็นมหาเปรียญ
 หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปฏิยัติ(แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ(แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ (แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ 12 ท่านก็ได้แตกฉากบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง ด้วย แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ เพียง 4 ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า"พ้นจากวัฏสงสาร"อันเป็นเป้าหมาย สูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Ep 32 สติตั้งที่ใจละที่ใจ

หลักของพระพุทธศาสนา – วิธีดับทุกข์แบบของพระพุทธเจ้า 
“…เมื่อเรารู้จักเรื่องนามรูปแล้ว เราจะรู้จัก วัตถุ-ปรมัตถ์-อาการ
‘วัตถุ’ นี้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่าง
‘ปรมัตถ์’ ก็คือ กำลังเป็นอยู่-มีอยู่-เข้าใจอยู่-สัมผัสได้อยู่ในขณะนั้น
‘อาการ’ ก็หมายถึง ความเปลี่ยนแปลง
วัตถุทั้งหลายที่มองเห็นได้ด้วยตา จับถูกด้วยมือนั้น...มันก็เป็นอาการชนิดหนึ่ง เช่น บ้านเรือน...ก็มีการผุพังเปลี่ยนแปลงได้
บัดนี้ วัตถุอีกชนิดหนึ่งซึ่งมันมีจริง ๆ เห็นจริง ๆ เข้าใจจริง ๆ
วัตถุ...แปลว่า มีจริง วัตถุ...หมายถึง ของจริงที่มีอยู่ มันมีอยู่...มีอยู่หมดทุกคน อันนี้ชื่อว่า...‘การเขย่าธาตุรู้’ ของบุคคล มีอยู่แล้วทุก ๆ คน
แต่เมื่อเรายังไม่เห็น...นั้นแสดงว่า เรายังไม่เข้าใจ
แต่ตามความจริงมันมีอยู่แล้ว เมื่อเราดูอยู่นี้แหละ..เราเห็น
อ้อ วัตถุ...หมายถึง ตัวจริงของ ‘จิตใจ’ หรือว่า ‘ชีวิต’
ปรมัตถ์...ก็เรากำลังเห็นความเป็นอยู่ มีอยู่นี้แหละ
มันคิดขึ้นมา...อ้อ อาการเปลี่ยนแปลงของมันเป็นอย่างนั้น
ประเดี๋ยวมันคิดเรื่องนั้นขึ้นมา ประเดี๋ยวมันคิดเรื่องนี้ขึ้นมา
อันนี้เป็นอาการของความคิด เป็นวัตถุ-เป็นปรมัตถ์-เป็นอาการชนิดหนึ่ง
เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้แหละ...เรียกว่า เราเห็นธรรมอีกชนิดหนึ่ง
การเห็นธรรมชนิดนี้...เพื่อไปปราบ ความโลภ-ความโกรธ-ความหลง ให้หมดไป (เรียกว่า) เรารู้จักสมุฏฐานของความคิด
เมื่อเราไม่เห็นอันนี้แหละ ซึ่งก็คือ ความหลง
หลง...แปลว่า ไม่เห็น เมื่อไม่เห็น...ก็ไม่เข้าใจ
แล้วมันก็จะเป็นสมุฏฐานทำให้เกิดความโกรธ ทำให้เกิดความโลภขึ้นมา
‘มรรค’…ท่านว่า ‘เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์’
ดังนั้น มรรค...ก็คือ เราเอาสติมาคอยดูความคิด
นี้เอง...คือ ข้อปฏิบัติ
และในขณะเดียวกันก็จะทำการทำงานอะไรก็ได้
ปฏิบัติที่ว่า (คือ) คอยดูอยู่นี้ ไม่ใช่เอามือปฏิบัติมรรคนะ
มือนี้ก็ต้องทำการทำงานไปตามหน้าที่ของเรา
ส่วนใจนั้น...เราต้องคอยดูตัวความคิด
จึงว่า มรรค...เป็นข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์
เมื่อเราเห็นสมุฏฐานของมันแล้ว ก็เรียกว่า...
ซึ่งก็ต้องสมมติอีก เพราะคนที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง
ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ไม่เคยปฏิบัติ...จะไม่รู้เลย
จึงจำเป็นต้องมาว่าเรื่องสมมติ หรืออุปมา หรือเปรียบเทียบให้ฟังอีก
สมมติคนที่ไม่เคยเห็นวิธีใช้ไฟฟ้า...ไปเปิดไฟฟ้า
เขาก็ไปจับเอาที่ตัวหลอดไฟ แล้วหมุนอยู่อย่างนั้น
หมุนจนตาย...หลอดไฟก็ไม่สว่าง
เพราะที่นั่นไม่ใช่สมุฏฐานที่ไฟฟ้าจะสว่างได้
เปรียบก็ว่า
คนลักษณะนั้นเป็นผู้ที่ยังไม่รู้สมุฏฐานต้นเหตุของความคิด
เขาจึงคิดว่า โทสะ-โมหะ-โลภะ มีอยู่เป็นประจำ...เขาจึงพูดกันไปอย่างนี้
ส่วนคนที่รู้จักสมุฏฐานของความคิดแล้ว
เขาก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่า โทสะ-โมหะ-โลภะ ไม่มีเลย
ดังนี้ สองคนนี้...ความเห็นไม่ตรงกันแล้ว
ดังนั้น การสอนธรรมะนั้น...จึงไม่เหมือนกัน
ผมจึงพูดว่า ตัวสมุฏฐานของโทสะ-โมหะ-โลภะ
ไม่มีปรากฏเกิดขึ้นมาได้...เพราะว่าเราเห็น
ถึงเวลาแล้ว...ที่เราจะไปทำความสว่างให้ตัวชีวิตจิตใจของเราให้ถูกวิธี เหมือนกับการที่จะไปเปิดไฟฟ้า...ไปทำความสว่างให้กับหลอดไฟฟ้าอย่างนั้น เราไม่ต้องจับหลอดไฟ...ไปกดที่สวิตซ์ไฟ...แล้วมันก็ทำความสว่างที่หลอดโน้นเอง
อันนี้ก็เหมือนกัน...ความจริงแล้ว เราไม่ต้องไปว่ามัน
เจ้าตัว ความโกรธ-ความโลภ-ความหลง...เพราะว่ามันไม่มี
เพียงแต่ขอให้เรามีสติเท่านั้น
อันตัวสตินี้...มันมีอยู่แล้ว มันมีตรงกันข้ามอยู่กับความหลง
ซึ่งความจริงแล้ว...ความหลงไม่มี
เมื่อเรามีสติคอยระมัดระวัง ดูจิตดูใจอยู่…ความหลงก็ไม่มี
เมื่อความหลงไม่มี โทสะจะเกิดขึ้นได้อย่างไร...เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะมีสติคุมอยู่แล้ว
โลภะจะเกิดมาในรูปใด...มาไม่ได้ เพราะปัญญารอบรู้อยู่แล้ว
อันนี้แสดงว่า ‘เราเห็นสมุฏฐาน’…เราต้องปฏิบัติอย่างนี้
เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เราต้องคอยดู...ดูมันอยู่อย่างนี้แหละ
แล้วมันจะเกิดปัญญาแว้บขึ้นมา...มันจะเกิดความดีใจติดมาด้วย
ยังไม่ใช่ใจดีนะตอนนี้ ดีใจ...แล้วภูมิใจว่าตัวเองรู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรม อย่างซาบซึ้ง ปราบความหลงผิดได้แล้ว...เป็นอย่างนั้น
เกิดปีติ...ปีติอันนี้ มันจะมาชักชวนให้เราลืมต้นเหตุสมุฏฐานของความคิด เมื่อไปติดปีติแล้ว...เราลืม อันนี้ชื่อว่า...ถูกน้อย เพราะเมื่อมันไปติดปีติ...ตัวความสุขนั้นแล้ว มันจะปราบความหลงไม่ได้
ตัวนี้จึงถือว่า...มันยังเป็นการเอาหินทับหญ้าอยู่…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พูดคุยกันก่อน Ep30 เรื่องสีของจิตช่วยในการปฏิบัติอย่างไร





เจโตปริยญาณและประโยชน์ 

     เจโตปริยญาณ แปลว่ารู้ใจคน คือรู้อารมณ์จิตใจคนและสัตว์ ว่าขณะนี้เขามีอารมณ์จิตเป็นอย่างไร มีความสุข หรือทุกข์ หรือมีอารมณ์ผ่องใส เพราะไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจให้ขุ่นมัว ที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์เฉยๆ ไม่มี สุขและทุกข์เจือปน รู้จิตของผู้นั้น แม้แต่จิตของเราเองว่า มีกิเลสอะไรเป็นกิเลสนำ คือมีอะไรกล้าในขณะนี้จิตของ ผู้นั้นเป็นจิตประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลเป็นจิตของท่านผู้ทรงฌาน หรือเป็นจิตประกอบด้วยนิวรณ์รบกวน เป็นพระอริยะชั้นใด 

การจะรู้จิตของท่านผู้ใดว่ามีอารมณ์จิตของผู้ทรงฌาน หรือเป็นพระอริยะอันดับใดนั้น เราเองต้องเป็นผู้ ทรงฌานระดับเดียวกันหรือสูงกว่าการจะรู้ว่าท่านผู้นั้นเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่และระดับใด เราก็ต้องเป็นพระอริยะ ด้วยและมีระดับเท่า หรือสูงกว่า ท่านที่มีฌานต่ำกว่าจะรู้ระดับฌานของท่านผู้ได้ฌานสูงกว่าไม่ได้ ท่านที่ไม่ได้ทรง ความเป็นอริยะ จะรู้คุณสมบัติทางจิตของพระอริยะไม่ได้ 

ท่านที่เป็นพระอริยะต่ำกว่า จะรู้ความเป็นพระอริยะสูงกว่า ไม่ได้ กฎนี้เป็นกฎตายตัวควรจดจำไว้อย่าพยากรณ์บุคคลผู้ทรงคุณสูงกว่า ถ้าไม่ได้อะไรเลยก็จงอย่ากล้าพยากรณ์ ผู้อื่น เพราะพยากรณ์พลาดจากความเป็นจริง มีโทษหนักในทางปฏิบัติ เพราะเราจะกลายเป็นโมฆโยคีไป คือประกอบ ความเพียรด้วยการไร้ผล ในฐานะที่อาจเอื้อมยกตนเหมือนพระอริยะ เป็นกรรมหนักมาก ควรละเว้นเด็ดขาด

สีของจิต 
     สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ 

     ๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
     ๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
     ๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
     ๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
     ๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควร หรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
     ๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบ ก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร 

สีของจิตโดยย่อ
เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ

     ๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง 
     ๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ 
     ๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
     
กายในกาย เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้า ตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไร 

ขอตอบว่า เป็นกายประเภทอทิสมานกายคือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหน ทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่า หนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย 

กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ

    ๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ ตายแล้วไปอบายภูมิ 

     ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก

     ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์ 

     ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลือง แพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม 

     ๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็น ประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะ รู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย 

     ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึง ว่าท่านพวกนั้น ไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตาม กรรมที่ให้ผลแรงกว่า 

     เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือ การรู้อารมณ์จิตของ ตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่ง ปรากฏแก่จิต 

เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรก ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกน ที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบไว้ภายนอก 

ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้ว เคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนใน สั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก 

จิตของพระอริยะ
     ๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกาย ออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว 
     ๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่ 
     ๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง 
     ๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย 
     ๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก 

กระแสจิต ที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจและพยายามแสวงหามาให้ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียชีวิต เพราะได้มาซึ่งกระแสจิตผ่องใสเป็นประกายแล้ว ก็ควรเอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกาย ก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ ไม่มีทุกข์ภัยเจือปนเลย

ท่านที่ได้ เจโตปริยญาณ มีผลเพื่อเสริมสร้างความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตอย่างนี้ และสามารถควบคุมจิตให้สะอาดผ่องใส ปราศจากละอองธุลี อันเป็นผลของกิเลสตลอดเวลา รวมทั้งรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นด้วย การรู้อารมณ์จิตของท่านผู้อื่น ก็มีประโยชน์มาก เพราะถ้ารู้ว่าท่านผู้ใดทรงคุณธรรมสูงกว่า เพราะกระแสจิตผ่องใสกว่า จนพยากรณ์ไม่ได้ 

แสดงว่าสูงกว่าเราด้วยคุณธรรมแน่แล้ว ก็ควรรีบเข้าไปกราบไหว้ท่าน ขอให้ท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเพื่อผลต่อไป ถ้าเห็นว่าด้อยกว่า ก็ควรคิดให้อภัยเมื่อผู้นั้นล่วงเกิน หรือพลั้งพลาด ถ้าเป็นครู สอนสมณธรรม ก็ได้ประโยชน์มาก จะได้ให้กรรมฐานที่พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยและจริตศิษย์ จะได้ผลว่องไวในการปฏิบัติ 

     สำหรับทราบกายในกายก็เหมือนกัน กายคือจิต จิตก็คือกาย เพราะเวลาถอดกายในออก ก็มีสภาพเป็นกาย ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่งตามที่คนทั่วไปคิด เมื่อถอดกายในกายออก กายในจะปรากฏตามบุญญาธิการที่สั่งสมอบรม ไว้ ถ้าบุญมีผลเพียงเทวดา กายในกายก็จะมีรูปเป็นเทวดา เมื่อออกจากร่างนี้ไปสู่ภพอื่น ถ้ามีฌาน ร่างกายในก็จะ ปรากฏเป็นพรหม ถ้าหมดกิเลส กายในกายก็จะสดสะอาด มีประกายออก ร่างใสคล้ายแก้วสุกสว่างมีแสงสว่างมาก ร่างอย่างนี้จะปรากฏเมื่อถอดกายในกายออกท่องเที่ยว 

     เจโตปริยญาณนี้ นอกจากจะรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนและสัตว์แล้ว ก็ยังรู้ภาวะของจิตใจคนและสัตว์ที่มีบุญและ บาปสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือรู้อารมณ์จิตของตนเองว่า ขณะนี้เป็นจิตที่ประกอบด้วย กุศลหรืออกุศล จิตมีกิเลสอะไรสั่งสมอยู่มากน้อยเพียงใด กิเลสที่สำคัญก็คือ กิเลสที่เป็นอนุสัย คือกิเลสที่มีกำลัง น้อยไม่ค่อยจะแสดงอาการปรากฏชัดเจนนัก 

แต่ก็ฟูขึ้นในบางขณะ ยามปกติก็มีอาการนิ่งสงบ เช่น อารมณ์สมถะที่ เป็น อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ อารมณ์ของสมถะนั้นจะแสดงอาการสงบแนบนิ่งมาก จนความไหวทางจิตในเรื่อง ความใคร่ ความโกรธแค้นขุ่นเคือง ความสั่งสมผูกพันไม่มีอาการปรากฏ จนเจ้าของเองคิดว่า เรานี่สำเร็จมรรคผลเสีย แล้วหรือ แต่พอนานๆ เข้าก็มีฟูขึ้นน้อยๆ เกิดขึ้นในยามสงัด คือไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อ

เช่น ครุ่นคิดถึงความสวยสด งดงามของรูป ความไพเราะเพราะพริ้งจากเสียง ความหอมหวนจากกลิ่นรสอันโอชะจากรสต่าง ๆ และความนิ่มนวล ของสัมผัส อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในยามที่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น แต่จิตคิดไปและจะระงับได้ เพราะการพิจารณาใน กรรมฐานที่มีอาการตรงกันข้าม เช่น อสุภะเป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะกำลังฌานในสมถะ ก็มีกำลังที่จะกดขี่กิเลส ให้สงบระงับแนบสนิทได้ แต่มิใช่ว่าทำลายกิเลสให้สิ้นอำนาจเด็ดขาด เป็นแต่ปรามให้สงบระงับไปได้ชั่วคราวเท่านั้น ในยามที่อำนาจสมถะปรามกิเลสให้สงบนี้

ท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงหลงผิด คิดว่าสำเร็จมรรคผล ถ้าเราสำรวจตรวจ จิตไว้เสมอตลอดวันเวลาแล้วเราก็จะทราบชัดว่า จิตเราสะอาดจริง หรือยังมีสิ่งโสมมแปดเปื้อนอยู่ จะรู้ได้เพราะสี ของจิต สีจะชัดหรือใสจางก็ตามและจะเป็นสีอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสีจะเป็นสีแดง สีดำ สีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เว้นไว้
แต่สีใสและสีประกายพรึกเต็มดวงของจิต สีใสที่ไม่มีประกายหรือสีใสมีประกายไม่เต็ม ยังมีสีใสปกติปนอยู่ ก็จงเร่ง ตำหนิตนเองได้แล้วว่า นี่เรายังคบความเลวไว้มากมาย 

เพราะสีใสชื่อว่าเป็นสีประเสริฐ คือเป็นการแสดงออกของ อุเบกขาจิตแต่ทว่าสีใสธรรมดาที่ไม่มีประกายนั้นเป็นสีใสของฌานโลกีย์ มีอันที่จะสลายตัวกลับมาเป็นสีขุ่นมัวคือสี แดง สีดำเต็มขนาดได้เพราะฌานโลกีย์ยังมีเสื่อม ยังจัดเป็นจิตเลว 

สำหรับนักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต่อเมื่อไรชำระจิต ให้ใสสะอาดเป็นปกติ และมีประกายเต็มดวงโดยที่ไม่ต้องคอยปรับปรุงแก้ไข มองดูด้วยญาณเมื่อไรก็เป็นประกาย แพรวพราว ถึงแม้จะประสบกับศัตรูเก่าที่เคยอาฆาตคุมแค้นกันมาแต่ปางก่อน จะถูกเสียดสีถากถางด้วยวาจาปรา มาสอย่างไรก็ตามจิตสงบระงับ อำนาจโทสะ ไม่ฟูออก จิตใจมีอาการปกติ สม่ำเสมอ ตรวจดูด้วยญาณ ตรวจขณะที่ ถูกด่าก็พบว่าจิตใสประกายแพรวพราว 

แม้อารมณ์ราคะหรืออื่นใดก็ตามมายั่วเย้า จิตใจก็สดใสเป็นปกติอย่างนี้ใช้ ได้ นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลแต่ไม่ชมตัวเอง แต่ต้องคอยตำหนิตัวเองตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตรวจจิตซ้ำๆ ซากๆ ตลอดวันเวลา อย่างนี้จึงจะสมควร และเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริง หากทำได้อย่างนี้ ท่านมีหวังถึงพระนิพพาน ในชาตินี้ เพราะอารมณ์จิตที่ผ่องใสเป็นประกายเต็มดวงนั้น เป็นจิตที่ชำระกิเลสไม่เหลือ เป็นจิตของพระอรหันต์เท่านั้น 

ท่านจึงยกย่องนักปฏิบัติที่ได้เจโตปริยญาณว่า เป็นผู้ใกล้ต่อพระนิพพานมากกว่าการได้ญาณ อย่างอื่น ท่านที่กล่าว อย่างนี้ก็เพราะว่า ญาณนี้สามารถคอยชำระจิต คือตรวจสอบจิตของตนได้ตลอดเวลา แม้แต่อารมณ์กิเลสที่เป็นอนุสัย ก็ยังรู้ ฉะนั้น นักปฏิบัติผู้หวังความพ้นทุกข์แก่ตนแล้ว จงพยายามฝึกฝนตนให้ชำนาญในเจโตปริยญาณนี้และเล่นให้ คล่องแคล่วว่องไวจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว

จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน


เจโตปริยญาณและประโยชน์




เจโตปริยญาณและประโยชน์ 

     เจโตปริยญาณ แปลว่ารู้ใจคน คือรู้อารมณ์จิตใจคนและสัตว์ ว่าขณะนี้เขามีอารมณ์จิตเป็นอย่างไร มีความสุข หรือทุกข์ หรือมีอารมณ์ผ่องใส เพราะไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจให้ขุ่นมัว ที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์เฉยๆ ไม่มี สุขและทุกข์เจือปน รู้จิตของผู้นั้น แม้แต่จิตของเราเองว่า มีกิเลสอะไรเป็นกิเลสนำ คือมีอะไรกล้าในขณะนี้จิตของ ผู้นั้นเป็นจิตประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลเป็นจิตของท่านผู้ทรงฌาน หรือเป็นจิตประกอบด้วยนิวรณ์รบกวน เป็นพระอริยะชั้นใด 

การจะรู้จิตของท่านผู้ใดว่ามีอารมณ์จิตของผู้ทรงฌาน หรือเป็นพระอริยะอันดับใดนั้น เราเองต้องเป็นผู้ ทรงฌานระดับเดียวกันหรือสูงกว่าการจะรู้ว่าท่านผู้นั้นเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่และระดับใด เราก็ต้องเป็นพระอริยะ ด้วยและมีระดับเท่า หรือสูงกว่า ท่านที่มีฌานต่ำกว่าจะรู้ระดับฌานของท่านผู้ได้ฌานสูงกว่าไม่ได้ ท่านที่ไม่ได้ทรง ความเป็นอริยะ จะรู้คุณสมบัติทางจิตของพระอริยะไม่ได้ 

ท่านที่เป็นพระอริยะต่ำกว่า จะรู้ความเป็นพระอริยะสูงกว่า ไม่ได้ กฎนี้เป็นกฎตายตัวควรจดจำไว้อย่าพยากรณ์บุคคลผู้ทรงคุณสูงกว่า ถ้าไม่ได้อะไรเลยก็จงอย่ากล้าพยากรณ์ ผู้อื่น เพราะพยากรณ์พลาดจากความเป็นจริง มีโทษหนักในทางปฏิบัติ เพราะเราจะกลายเป็นโมฆโยคีไป คือประกอบ ความเพียรด้วยการไร้ผล ในฐานะที่อาจเอื้อมยกตนเหมือนพระอริยะ เป็นกรรมหนักมาก ควรละเว้นเด็ดขาด

สีของจิต 
     สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ 

     ๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
     ๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
     ๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
     ๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
     ๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควร หรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
     ๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบ ก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร 

สีของจิตโดยย่อ
เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ

     ๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง 
     ๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ 
     ๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
     
กายในกาย เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้า ตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไร 

ขอตอบว่า เป็นกายประเภทอทิสมานกายคือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหน ทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่า หนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย 

กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ

    ๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ ตายแล้วไปอบายภูมิ 

     ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก

     ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์ 

     ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลือง แพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม 

     ๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็น ประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะ รู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย 

     ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึง ว่าท่านพวกนั้น ไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตาม กรรมที่ให้ผลแรงกว่า 

     เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือ การรู้อารมณ์จิตของ ตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่ง ปรากฏแก่จิต 

เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรก ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกน ที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบไว้ภายนอก 

ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้ว เคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนใน สั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก 

จิตของพระอริยะ
     ๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกาย ออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว 
     ๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่ 
     ๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง 
     ๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย 
     ๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก 

กระแสจิต ที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจและพยายามแสวงหามาให้ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียชีวิต เพราะได้มาซึ่งกระแสจิตผ่องใสเป็นประกายแล้ว ก็ควรเอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกาย ก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ ไม่มีทุกข์ภัยเจือปนเลย
 
ท่านที่ได้ เจโตปริยญาณ มีผลเพื่อเสริมสร้างความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตอย่างนี้ และสามารถควบคุมจิตให้สะอาดผ่องใส ปราศจากละอองธุลี อันเป็นผลของกิเลสตลอดเวลา รวมทั้งรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นด้วย การรู้อารมณ์จิตของท่านผู้อื่น ก็มีประโยชน์มาก เพราะถ้ารู้ว่าท่านผู้ใดทรงคุณธรรมสูงกว่า เพราะกระแสจิตผ่องใสกว่า จนพยากรณ์ไม่ได้ 

แสดงว่าสูงกว่าเราด้วยคุณธรรมแน่แล้ว ก็ควรรีบเข้าไปกราบไหว้ท่าน ขอให้ท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเพื่อผลต่อไป ถ้าเห็นว่าด้อยกว่า ก็ควรคิดให้อภัยเมื่อผู้นั้นล่วงเกิน หรือพลั้งพลาด ถ้าเป็นครู สอนสมณธรรม ก็ได้ประโยชน์มาก จะได้ให้กรรมฐานที่พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยและจริตศิษย์ จะได้ผลว่องไวในการปฏิบัติ 

     สำหรับทราบกายในกายก็เหมือนกัน กายคือจิต จิตก็คือกาย เพราะเวลาถอดกายในออก ก็มีสภาพเป็นกาย ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่งตามที่คนทั่วไปคิด เมื่อถอดกายในกายออก กายในจะปรากฏตามบุญญาธิการที่สั่งสมอบรม ไว้ ถ้าบุญมีผลเพียงเทวดา กายในกายก็จะมีรูปเป็นเทวดา เมื่อออกจากร่างนี้ไปสู่ภพอื่น ถ้ามีฌาน ร่างกายในก็จะ ปรากฏเป็นพรหม ถ้าหมดกิเลส กายในกายก็จะสดสะอาด มีประกายออก ร่างใสคล้ายแก้วสุกสว่างมีแสงสว่างมาก ร่างอย่างนี้จะปรากฏเมื่อถอดกายในกายออกท่องเที่ยว 

     เจโตปริยญาณนี้ นอกจากจะรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนและสัตว์แล้ว ก็ยังรู้ภาวะของจิตใจคนและสัตว์ที่มีบุญและ บาปสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือรู้อารมณ์จิตของตนเองว่า ขณะนี้เป็นจิตที่ประกอบด้วย กุศลหรืออกุศล จิตมีกิเลสอะไรสั่งสมอยู่มากน้อยเพียงใด กิเลสที่สำคัญก็คือ กิเลสที่เป็นอนุสัย คือกิเลสที่มีกำลัง น้อยไม่ค่อยจะแสดงอาการปรากฏชัดเจนนัก 

แต่ก็ฟูขึ้นในบางขณะ ยามปกติก็มีอาการนิ่งสงบ เช่น อารมณ์สมถะที่ เป็น อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ อารมณ์ของสมถะนั้นจะแสดงอาการสงบแนบนิ่งมาก จนความไหวทางจิตในเรื่อง ความใคร่ ความโกรธแค้นขุ่นเคือง ความสั่งสมผูกพันไม่มีอาการปรากฏ จนเจ้าของเองคิดว่า เรานี่สำเร็จมรรคผลเสีย แล้วหรือ แต่พอนานๆ เข้าก็มีฟูขึ้นน้อยๆ เกิดขึ้นในยามสงัด คือไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อ
 
เช่น ครุ่นคิดถึงความสวยสด งดงามของรูป ความไพเราะเพราะพริ้งจากเสียง ความหอมหวนจากกลิ่นรสอันโอชะจากรสต่าง ๆ และความนิ่มนวล ของสัมผัส อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในยามที่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น แต่จิตคิดไปและจะระงับได้ เพราะการพิจารณาใน กรรมฐานที่มีอาการตรงกันข้าม เช่น อสุภะเป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะกำลังฌานในสมถะ ก็มีกำลังที่จะกดขี่กิเลส ให้สงบระงับแนบสนิทได้ แต่มิใช่ว่าทำลายกิเลสให้สิ้นอำนาจเด็ดขาด เป็นแต่ปรามให้สงบระงับไปได้ชั่วคราวเท่านั้น ในยามที่อำนาจสมถะปรามกิเลสให้สงบนี้

ท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงหลงผิด คิดว่าสำเร็จมรรคผล ถ้าเราสำรวจตรวจ จิตไว้เสมอตลอดวันเวลาแล้วเราก็จะทราบชัดว่า จิตเราสะอาดจริง หรือยังมีสิ่งโสมมแปดเปื้อนอยู่ จะรู้ได้เพราะสี ของจิต สีจะชัดหรือใสจางก็ตามและจะเป็นสีอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสีจะเป็นสีแดง สีดำ สีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เว้นไว้
แต่สีใสและสีประกายพรึกเต็มดวงของจิต สีใสที่ไม่มีประกายหรือสีใสมีประกายไม่เต็ม ยังมีสีใสปกติปนอยู่ ก็จงเร่ง ตำหนิตนเองได้แล้วว่า นี่เรายังคบความเลวไว้มากมาย 

เพราะสีใสชื่อว่าเป็นสีประเสริฐ คือเป็นการแสดงออกของ อุเบกขาจิตแต่ทว่าสีใสธรรมดาที่ไม่มีประกายนั้นเป็นสีใสของฌานโลกีย์ มีอันที่จะสลายตัวกลับมาเป็นสีขุ่นมัวคือสี แดง สีดำเต็มขนาดได้เพราะฌานโลกีย์ยังมีเสื่อม ยังจัดเป็นจิตเลว 

สำหรับนักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต่อเมื่อไรชำระจิต ให้ใสสะอาดเป็นปกติ และมีประกายเต็มดวงโดยที่ไม่ต้องคอยปรับปรุงแก้ไข มองดูด้วยญาณเมื่อไรก็เป็นประกาย แพรวพราว ถึงแม้จะประสบกับศัตรูเก่าที่เคยอาฆาตคุมแค้นกันมาแต่ปางก่อน จะถูกเสียดสีถากถางด้วยวาจาปรา มาสอย่างไรก็ตามจิตสงบระงับ อำนาจโทสะ ไม่ฟูออก จิตใจมีอาการปกติ สม่ำเสมอ ตรวจดูด้วยญาณ ตรวจขณะที่ ถูกด่าก็พบว่าจิตใสประกายแพรวพราว 

แม้อารมณ์ราคะหรืออื่นใดก็ตามมายั่วเย้า จิตใจก็สดใสเป็นปกติอย่างนี้ใช้ ได้ นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลแต่ไม่ชมตัวเอง แต่ต้องคอยตำหนิตัวเองตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตรวจจิตซ้ำๆ ซากๆ ตลอดวันเวลา อย่างนี้จึงจะสมควร และเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริง หากทำได้อย่างนี้ ท่านมีหวังถึงพระนิพพาน ในชาตินี้ เพราะอารมณ์จิตที่ผ่องใสเป็นประกายเต็มดวงนั้น เป็นจิตที่ชำระกิเลสไม่เหลือ เป็นจิตของพระอรหันต์เท่านั้น 

ท่านจึงยกย่องนักปฏิบัติที่ได้เจโตปริยญาณว่า เป็นผู้ใกล้ต่อพระนิพพานมากกว่าการได้ญาณ อย่างอื่น ท่านที่กล่าว อย่างนี้ก็เพราะว่า ญาณนี้สามารถคอยชำระจิต คือตรวจสอบจิตของตนได้ตลอดเวลา แม้แต่อารมณ์กิเลสที่เป็นอนุสัย ก็ยังรู้ ฉะนั้น นักปฏิบัติผู้หวังความพ้นทุกข์แก่ตนแล้ว จงพยายามฝึกฝนตนให้ชำนาญในเจโตปริยญาณนี้และเล่นให้ คล่องแคล่วว่องไวจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว

จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

สีของจิตเกี่ยวอะไรกับการปฏิบัติธรรม



สีของจิต
      สีของจิตนี้ บางแห่งก็เรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ การที่จะรู้อารมณ์จิตนั้นต้องมี เจโตปริยญาณ ก่อนจึงจะรู้อารมณ์ของจิต สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านกล่าวไว้ดังนี้
  1. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
  2. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
  3. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งมีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
  4. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว
  5. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
  6. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
สีของจิตโดยย่อ
      เพื่อให้เห็นกันง่าย ๆ ยิ่งขึ้น โดยแบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่างคือ
  1. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
  2. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
  3. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
      กายในกาย สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนั้น เป็นกายประเภทอทิสมานกาย คือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกาย หรือกายซ้อนกายนี้ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่น จากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไปและทำอะไรต่ออะไรอยู่ ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริง จำเรื่องราวที่ไปทำได้ กายนั้นแหละที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่มีอยู่ในมหาสติปัฏฐาน กายในกายนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
  1. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
  2. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา จะต่างกันตรงที่ผิวพรรณ สัดส่วน ขาวดำ งดงามต่างกัน แต่ลักษณะบอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
  3. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
  4. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
  5. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
      ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดที่นั้น ๆ หมายถึงว่า ท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกที่ไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่า
      การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการรู้อารมณ์จิตของตนเองสำคัญมาก คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตว่า ขณะนี้เราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฎนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการคือสีใสคล้ายแก้ว ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน 4
  • ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบาง ๆ เคลือบไว้ภายนอก
  • ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง
  • ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่า ตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนในสั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย
  • ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนแก้วลอยอยู่ในอก
จิตของพระอริยะ

  1. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกายออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นเจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
  2. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
  3. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
  4. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
  5. ท่านที่บรรลุอรหันต์ กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก กระแสจิตที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจแสวงหาให้ได้ เอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกายก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เคล็ดการปฏิบัติของ หลวงตาบัว

เคล็ดการปฏิบัติของ หลวงตาบัว
อาการของจิตทุกอาการที่เกิดขึ้นต้องดับและแปรปรวน อย่าตื่นเงาของจิตตัวเองจะเดือดร้อน ความรู้ว่าเผลอและไม่เผลอเป็นทางที่ถูกต้องแล้ว ความเสื่อมความเจริญเป็นอาการของโลก ให้รู้เท่าผู้รู้ว่าเสื่อมหรือเจริญ นี่แหละเป็นธรรมที่คงที่ ความรับรู้ทุกขณะนี้แลเป็นธรรมยั่งยืน เราเป็นนักปฏิบัติอย่าหลงตามอาการของความเสื่อมความเจริญ จงรู้ตามอาการ จึงจัดว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรม ดวงไฟยังมีดอกแสงควันไฟ ต้องแสดงความเกิดความดับจากดวงไฟเป็นธรรมดา จิตยังมีอาการเกิดๆ ดับๆ ซึ่งเกิดจากดวงจิตต้องมีเช่นเดียวกัน ข้อสำคัญอย่าหลงตาม เสื่อมจงรู้ตาม เจริญจงรู้ตาม เผลอหรือไม่เผลอ จงรู้ตามทุกอาการ จึงจัดว่านักค้นคว้าความรู้เท่าในอาการเกิดๆ ดับๆของสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาเสมอไป นั่นแลจัดว่าเป็นผู้รู้ จะรู้เท่าทันโลกและเรียนรู้โลกจบ จึงจะพบของจริง
กระพี้ต้องหุ้มห่อแก่นไม้ไว้ฉันใด กระพี้ธรรมก็ห่อหุ้มปกปิดแก่นธรรมไว้ฉันนั้น อาการเกิดๆดับๆ ดี ชั่ว เสื่อม เจริญ เผลอไม่เผลอ เหล่านี้จงทราบว่าเป็นกระพี้ธรรมปกปิดแก่นธรรมคือของจริงไว้ ใครหลงตามชื่อว่าคว้าเอากระพี้ธรรม จะนำความเสื่อมความเจริญเป็นต้นมาผันดวงใจให้ดิ้นรน จะตามดูโลกและรู้โลกของตนไม่จบ จะพบแต่ของปลอม อาการที่ปรากฏขึ้นมาจากจิต จะดี ชั่ว สุข ทุกข์ เสื่อม เจริญ เผลอ ไม่เผลอ เศร้าหมอง ผ่องใส นี้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญา จงตามรู้ทุกอาการอย่าด่วนถือเอา การเดินทางต้องมีสูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ตลอดทางจนถึงที่อยู่ฉันใด การเดินธรรม (คือการดำเนินทางจิต) ต้องประสบอาการต่างๆ มีดีชั่วเป็นต้น ซึ่งจะเกิดจากจิตเช่นเดียวกัน จนถึงจุดจบของสมมุติ จึงจะไม่ประสบอาการเช่นนี้อีก การเดินทางอย่าถือความร้อนหนาว ความสูงต่ำในระยะทางมาเป็นอุปสรรค จงมุ่งถึงความถึงที่ประสงค์เป็นสำคัญ การดำเนินทางใจ อย่าถืออาการดีชั่ว เป็นต้น ที่เกิดจากใจมาเป็นอุปสรรค จงตั้งใจพิจารณาสิ่งที่มาสัมผัสด้วยปัญญาตลอดไป จนถึงจุดจบของสิ่งที่มาสัมผัส อย่าหวั่นไหวตามอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะใจ จะเป็นนักรบต้องประสบกับข้าศึกคืออารมณ์ จงสู้รบด้วยปัญญา จนเห็นความจริงของอารมณ์นั้นๆ ครูเอกของเราก่อนหน้าจะปรากฏเป็นองค์ศาสดาของเรา ต้องผ่านข้าศึกเช่นเดียวกับเรา แม้อาจารย์ของเราจะนำธรรมมาสอนเราได้ต้องขุดค้นขึ้นมาจากอุปสรรค คือสิ่งที่กระทบเช่นเดียวกับเรา ฉะนั้นจงต่อสู้จนสุดฝีมือ จะสมชื่อว่าเราเป็นศิษย์มีครูแท้
ข้าศึกของเราทุกวันที่เป็นไปอยู่ ไม่มีวันสงบศึกกันได้ ก็เนื่องจากเราเป็นศึกกับตัวเราเอง คือถ้าใจสงบลงไม่ได้ ศึกก็ยังสงบลงไม่ได้ แท้จริงบาปมารเป็นต้น ไม่มีตั้งค่ายแนวรบรอรบกับเราอยู่สถานที่ใดๆ แต่ใจดวงเดียวเท่านี้ตั้งตัวเป็นเจ้าบาปเจ้ามารประหัตประหารกับเรา ถ้าเราเข้าใจว่าบาปมารคอยเราอยู่ภายนอก ไม่ย้อนกลับความรู้เข้ามาดูจิตผู้เป็นมารตัวแท้ ข้าศึกของเราจะหาวันสงบไม่ได้ จงทราบว่าเรื่องทุกข์ที่เป็นไปในกายแลจิตของเราตลอดเวลา ถ้าเรามองข้ามทุกข์ก้อนนี้ไป อริยสัจคือของจริงอันประเสริฐ ก็เป็นอันว่าเรามองข้ามไปเช่นเดียวกัน อริยสัจมีอยู่กับเราทุกเวลา จงตั้งปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงของอริยสัจที่มีอยู่ พระพุทธเจ้าถึงนิพพานเพราะพิจารณาอริยสัจ เห็นอริยสัจ อย่าส่งใจไปหาบาปบุญนอกจากกายใจจะผิดหลักผิดทาง อดีตอนาคตจงเป็นเป็นไฟ อย่าส่งใจไปเกาะเกี่ยว ปัจจุบันคือความเพียร มีสติจำเพาะหน้าพิจารณาไตรลักษณ์อันมีอยู่กับตนนี่แล เป็นธรรมแผดเผาบาปมารได้แท้ จงตั้งจิตลงตรงนี้ ฉะนั้นจงพากันตั้งใจ คุณทั้งสองมีวาสนาบารมีอันได้สร้างไว้มากแล้ว อย่าเสียใจ ไม่เสียทีเลย จงเร่งเข้า.
7 ธันวาคม 2502
การอบรมจิต จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยดีในอาการของธรรมทุกแง่ (อาการของจิต) ซึ่งเกิดขึ้นจากจิต ความสัมผัสรับรู้ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ นั้นแลเรียกว่า ความเพียร ดีชั่ว สุขทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส จงตามรู้ด้วยปัญญาแล้วปล่อยไว้ตามสภาพ ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นจงกำหนดรู้ อย่าถือเอาแม้แต่อย่างเดียว รู้ชั่วปล่อยชั่ว กลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน นี้ก็ชื่อว่าหลง จงระวังการมีสติหรือเผลอสติในขณะๆ นั้นๆ อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น จงกำหนดเฉพาะหน้า พิจารณาเฉพาะหน้ากายมีอยู่ จิตมีอยู่ ชื่อว่าธรรมมีอยู่ อย่าหลงธรรมว่ามีนอกไปจากกายกับจิต ไตรลักษณ์หรือสติปัญญาก็ต้องมีอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน จงพิจารณาในจุดที่บอกนั้น แม้ที่สุดทำผู้รู้หรือสติให้รู้อยู่ในวงกายตลอด โดยไม่เจาะจงในกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ถูก ข้อสำคัญให้จิตตั้งอยู่ในกาย อย่าใช้ความอยากเลยเหตุผลที่ตนกำลังทำอยู่ก็แล้วกัน การทำถูกจุดผลจะค่อยเกิดเอง ไม่มีใครแต่งหรือบังคับ อย่าส่งจิตไปตามอดีตที่ล่วงแล้ว ไม่มีประโยชน์แม้แต่น้อย

16 มีนาคม 2503
จงดูความเคลื่อนไหวของใจที่แสดงความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาการของใจ มันเกิดไปถึงไหนและดับไปถึงไหน มันเกิดที่ไหนมันก็ดับลงที่นั่นเอง จงพิจารณาให้ชัดต่อความเกิด-ดับของใจ ความเกิดกับความดับที่ปรากฏขึ้นจากใจ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ควรถือเอา จงฆ่าแม่คือใจให้ตาย ลูกคืออาการก็จะหมดปัญหาทันที แม้จะปรากฏเกิดๆ ดับๆ ก็ไม่เป็นปัญหาและไม่มีพิษสงอะไรอีกต่อไปอีก อาการของใจจึงจะกลายเป็นขันธ์ล้วนๆ ไม่มีกิเลสเจือปน จะหมดกังวลใดๆ ลงทันที

เมษายน 2504
ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นานๆ ไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิด ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดสติปัญญาจินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิ เพราะจิตของเราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไปๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้นทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง

เมื่อพิจารณาไปพอสมควรแล้ว บางครั้งจิตอาจจะสงบลงในท่ามกลางแห่งภาวนา แล้วก็หยุดพิจารณา เมื่อมันหยุดพิจารณา ไปนิ่ง รู้เฉยอยู่ ให้กำหนดตัวผู้รู้ ในขณะกำหนดตัวผู้รู้ จิตจะหยุด นิ่งอยู่ ก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นแหละ อย่าไปรบกวน น้ำใจกำลังจะนิ่ง ในเมื่อน้ำใจนิ่ง ไม่มีคลื่นไม่มีฟอง ไม่มีอารมณ์มารบกวน เราก็จะสามารถเห็นจิตเห็นใจของเราได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนๆ กับน้ำทะเลที่มันนิ่ง เราสามารถมองเห็น เต่า ปลา กรวด ทราย สาหร่าย อยู่ใต้น้ำได้ถนัด ฉันใด ในเมื่อจิตของเรานิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน เราก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในจิตของเราได้อย่างชัดเจน อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Ep 26 มันไม่มีอะไร เลย จะละมันอย่างไร

พาหิยะ ! เธอจงเห็นสักแต่ว่าเห็น
จงฟังสักแต่ว่าฟัง และจงรู้สักแต่ว่ารู้
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจักไม่มีในโลกนี้
และในโลกไหน ๆ นั่นคือที่สุดแห่งทุกข์
----------------------
“อาวุโส !” พระนารทะกล่าว
ข้าพเจ้ายินดีนำเรื่องของท่านพาหิยะ
มาเล่าสู่ท่านผู้มีอายุฟังเท่าที่ข้าพเจ้าทราบ
ท่านพาหิยะมีประวัติที่น่าสนใจ
เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชสลดจิตท่านหนึ่ง
และน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ประมาท
มาแต่เบื่องต้นแล้วกลับตนในภายหลัง
........
“สมัยหนึ่ง ประชาชนชาวสุปปารกะ
พากันแตกตื่นชื่นชมนักพรตหนุ่มผู้หนึ่ง
ซึ่งมีแต่ท่อนไม้แห้งผูกด้วยเปลือกปอ
เป็นเครื่องพันกาย ไม่มีเสื้อผ้าอาภรณ์
อย่างอื่นอีกเลย เขามีมือถือกระเบื้อง
รูปกลม ๆ เป็นภาชนะอาหาร
เที่ยวเดินภิกขาจาร
จากประตูเรือนนั้นสู่ประตูเรือนนี้
และจากประตูเรือนนี้สู่ประตูเรือนโน้น
......
อาการที่สำรวม มีสายตาทอดลงต่ำ
และเคร่งขรึมพูดน้อยประกอบกับ
ลักษณะอันแปลกประหลาดของเขา
ทำให้คนทั้งหลายมองดู
ด้วยความนิยมชมชื่น
และเรียกเขาว่า “พระอรหันต์”
.......
ก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อย
ท่ามกลางมหาสมุทร
ซึ่งบ้าระห่ำด้วยคลื่นลม
สำเภาลำหนึ่งค่อย ๆ แล่น
ฝ่าเกลียวคลื่นเข้าสู่ฝั่ง
..........
แต่มันทนต่อการกระแทกกระทั้น
ของกระแสคลื่น ซึ่งโหมเข้ามา
เหมือนภูเขาไม่ไหวจึงแตกทำลายลง
เสียงร่ำไห้ระงมของผู้อาศัยมาในเรือ
เคล้าไปกับเสียงคลื่นลม
และแล้วก็ละลายไปในมหาสมุทรนั่นเอง
คนเป็นจำนวนมากจมลง
และกลายเป็นเหยื่อของ
มัจฉาปาณกชาติในท้องทะเล

เจริญพระพุทธมนต์ฉบับย่อ

เชิญมาสวดเจริญพระพุทธมนต์    มนต์คือพระธรรมคำสอนที่อยู่ในรูปแบบคาถา  หรือแต่งเป็นคำฉันท์ เพื่อสรรเสริญ พุทธบารมี ธรรมบารี สังฆบารี ทั้งบทสวดและผู้สวด ย่อมมีอานิสงส์มาก พุทธมนต์เปลี่ยนพลังงานลบให้บวกได้ เปลื่ยนสนามพลังงานมืดในจิตให้สว่างไสวได้

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

นักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ

นักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร
คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเองเบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อนคือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุงหาแต่ง ไปหาก่อหาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบเพราะ ฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา
ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรมให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปากวิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคนไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต 
ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย เอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไปจนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหนตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเองไม่ต้อง ว่ากับปาก ตาของเราหลับแล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเองตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป
เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีกความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้นแล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่าง ไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว
นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้วกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบจิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริงแล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล



วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แค่รู้ ก็พอแล้ว


จงจำไว้ด้วยว่ามันไม่ใช่แต่ขันธ์ 5 ของฉัน แม้แต่ขันธ์ 5ของเธอ ก็เหมือนกัน ขันธ์ 5ของคนอื่นใด ๆ ในโลกก็เหมือนกัน แม้วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุเหล็ก ตึก บ้านช่อง วัตถุแข็ง อ่อน อากาศคือ ธาตุลม ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ฐานที่ตั้งของความสุข มันเป็นฐานที่ตั้งแห่งความทุกข์ มันไม่มีสภาพทรงตัว ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนในที่สุดมันก็สลายตัว ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อนัตตา
ความจริงฉันไม่มีอะไรวิเศษเลย ขันธ์ 5 ของฉันมันก็เลว มันจะพังสลาย สภาพร่างกายก็ไม่ดี ความจำก็ไม่ดี อะไรก็ไม่ดี ทุกอย่างมันหาความดีอะไรไม่ได้ตราบใดที่พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระจอมไตรยังมีอยู่ครบถ้วน ทั้งพระธรรมวินัย ในขณะนั้นถ้าคนเอาจริงปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนเป็นพระอรหันต์ได้หมดทุกคน
การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ก็ดี เขาศึกษากันตัวเดียว คือ สักกายทิฏฐิ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิ คือ ร่างกาย (หรือ ขันธ์ 5 หรือ รูปนาม) ได้ตัวเดียวก็เป็นพระอรหันต์ก่อนที่จะใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ อันดับแรกต้องเข้าฌานให้ถึงที่สุดที่เธอทรงได้เข้าฌานออกฌานสลับกันมาสลับกันไป ให้มันมีอาการทรงตัว แล้วทำจิตให้ทรงในฌานให้แนบสนิททรงตัว มีความสุขที่สุด ถ้าได้สมาบัติ 8 เป็นกำลังใหญ่ ถ้าได้มโนมยิทธิก็ยกจิตไปไว้พระนิพพานกับองค์สมเด็จพระบรมพิชิตมารสัมมาสัมพุทธเจ้า ถอยกำลังถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาขันธ์ 5 ว่า ขันธ์ 5 มันเป็นภัยสำหรับเรา มันเป็นวัตถุธาตุที่สร้างแต่ทุกข์ สร้างแต่โทษ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข มองดูขันธ์ 5 คือ ร่างกายเกิดมาเราต้องเลี้ยงดูมันเท่าไร มันชอบอะไร เราให้มันกินหมด แต่เราคือจิตไม่ต้องการให้มันป่วย แล้วร่างกายยังขืนป่วย เพลีย เจ็บปวด หิวกระหาย ร้อนหนาว ยุ่งวุ่นวาย ฉันก็ไม่เคยต้องการให้มันแก่มันก็แก่ แล้วคนที่ตายไปก่อนเราเขาไม่ต้องการจะตายมันก็ตาย ในเมื่อร่างกายหรือขันธ์ 5 มันมีความเลวทรามอย่างนี้ จิตเราจะคบค้าสมาคมมันเพื่อประโยชน์อันใด
ตั้งใจจับจุดไว้เพื่อพระโสดาบัน
1. ระงับความพอใจในขันธ์ 5 เสีย คิดว่าร่างกายมันตายอยู่ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกไม่ลืมความตาย เป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนารวมกัน
2. ทรงศีลให้บริสุทธิ์ ควรทำเป็นสีลานุสสติกรรมฐาน ทรงศีลให้เป็นกำลังฌาน คือ ทรงอารมณ์อยู่ในศีลตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องทางใจ ไม่ใช่ต้องไปนั่งหลับตาปี๋ ให้ลืมตาทำงาน คุยกับหมากับแมว หรือเจอะหน้าคนด่าคนนินทา ศีลเราทรงตัวไม่หวั่นไหวใช้ได้ เป็นการตัดสังโยชน์ ข้อ 2 สีลัพตปรามาส
3. ตัดวิจิกิจฉา โดยการน้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัยทั้ง 3 ประการ คือ ทรงพระกรรมฐาน 3 ให้เป็นฌาน คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ให้ทรงตัว
4. ตัดสินใจทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ต้องการเกิดเป็นคนรวยสวยแข็งแรง ไม่ต้องการเกิดเป็นเทพ เทวดา พรหม กำลังใจมุ่งพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐานการที่จะหลีกหนีบาปกรรมชั่วหรือนรกได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ทั้ง 4 ข้อนี้ หรือตัดสังโยชน์ 3 ประการได้ ท่านให้ชื่อว่าผู้เข้ากระแสพระนิพพาน คือ พระโสดาบัน ท่านผู้นั้นบาปเก่าทั้งหมดตามไม่ทัน ไม่สามารถถูกลงโทษได้แล้วก็ท่านผู้นั้นจะไม่มีการตกนรก ไม่เกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานต่อไปอีกทุกชาติที่เกิด จะวนเวียนเฉพาะเป็นมนุษย์ เทวดากับพรหม และต่อไปถ้ากำลังใจเต็มไม่สนใจร่างกาย ไม่สนใจเทวดาพรหมก็ไปนิพพาน
การเป็นพระสกิทาคามีก็มี 4 ข้อ เช่นพระโสดาบัน แต่มีคุณธรรมเพิ่มขึ้นมาจากศีล 5 ข้อ คือ กรรมบถ 10 คือ เพิ่มอีก 5 ข้อ นอกจากศีล 5 แล้วคือไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่คิดอยากได้ของของผู้อื่น ไม่คิดผิดจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ คือ มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ไม่มีอะไรในโลกนี้จีรังแน่นอ มีแต่ความเสื่อมทรุดโทรมสูญหายแตกสลายในที่สุด
การปฏิบัติจิตเพื่อเป็นพระอนาคามี คือ นอกจาก 4 ข้อ แรกของการเป็นพระโสดาบัน และกรรมบท 10 ของพระสกิทาคามีแล้วก็เพิ่ม
1. กายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน ให้ชั่งใจควบกับสักกายทิฏฐิ นอกจากเห็นว่าร่างกายตายแน่แล้ว เมื่อมีชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความสกปรกเน่าเหม็นตลอดเวลา
2. ระงับความโกรธความพยาบาท ด้วยความเมตตา พรหมวิหาร 4 หรือ ระงับด้วยญาณสมาบัติ ใช้วิปัสสนาญาณ คือ สักกายทิฏฐิควบคุมไว้ คนที่เขาโกรธเรา แกล้งเรา ด่าว่าเรา เขาด่าขันธ์ 5 และขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว จิตเราก็ไม่ใช่ขันธ์ 5 เขาอยากจะดุด่าก็เชิญว่าไปตามใจ เราไม่สะดุ้งสะเทือน คนด่าว่าเราเขาก็ตกนรกไปเอง
ความเป็นพระอรหันต์ นั่นก็เป็นเรื่องขี้ผงแล้วง่ายมาก เพิ่มเข้ามาจากร่างกาย ธาตุ 4 คือ รูปทั้งหมดในโลกอย่าคิดว่าดีงาม
1. อย่าติดในรูปฌาน ที่เราเข้าฌานได้ว่าเป็นของวิเศษ รูปฌานก็คือร่างกาย ธาตุ 4 คือ รูปทั้งหมดในโลกอย่าคิดว่าดีงาม
2. อย่าติดในอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณนัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา นาสัญยตนะ ที่เราได้แล้วว่าเป็นของวิเศษ ให้ถือว่าเป็นกำลังใหญ่ที่ช่วยให้เราคือ จิตเข้าประหัตประหารกิเลส โลภ โกรธ หลง เท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้อรูปฌานก็ไม่จำเป็น อรูปฌาน ก็คือ นามในขันธ์ 5 มีสังขาร ความคิด เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ วิญญาณ ประสาท ไม่ใช่ของจิต
3. กำจัดมานะออกจากจิต อย่าทะนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ ได้อภิญญา สมาบัติเราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา เราดีเท่าเขา อารมณ์นี้ไม่ดีก็ทิ้งไปเสีย ด้วยการคิดว่า ทุกคนเกิดมามีทุกข์จากขันธ์ 5 เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นกัน ให้มีเมตตาเห็นอกเห็นใจทั้งคนและสัตว์
4. อุทธัจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน ไร้สาระ คือ คิดทางโลกไม่มี พระอนาคามีก็ฟุ้งไปในด้านของกุศลที่ไม่ตรงกับพระนิพพาน คือ คิดว่า แค่เทวดา พรหมก็พอ ท่านห้ามคิดแบบนั้น ให้จิตมุ่งตรงพระนิพพานเป็นพรหมก็ไม่พ้นทุกข์
5. อวิชชา เป็นสังโยชน์ข้อ 10 ข้อสุดท้าย ตัดอารมณ์พอใจ (ฉันทะ) อารมณ์รัก (ราคะ ) ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เพราะมีปัญญาเข้าใจแล้วว่า พระนิพพานเป็นแดนทิพย์ อมตะสูญจากความทุกข์ ความไม่แน่นอน สูญจากขันธ์ 5 ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอิสระเสรีจากบาปกรรม มีความสุขชั่วกาลนาน มีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืนมีความสุขหาเปรียบมิได้ ทุกอย่างเป็นทิพย์วิเศษ จิตเป็นสุขสมปรารถนาทุกประการ
พระพุทธเจ้าท่านตรัส บอกว่า พระนิพพานดับธาตุทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดที่โลกมี ดับขันธ์ 5 หมด พระนิพพานไม่มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง ไม่มีตัณหา อุปาทาน ไม่มีบาปกรรม ไม่มีร่างกายแบบคนนี้ แต่ว่า อายตนะ ตาหู จมูก ลิ้น กายทิพย์ มีจิตทิพย์ที่จะสะอาดบริสุทธิ์ มีกายโปร่งใสแพรวพราวสว่างไสว ไม่รู้สึกไม่มีระบบประสาทสมอง อยากรู้อะไรรู้ได้เพราะจิตเป็นทิพย์
ทุกข์ ใด ๆ ไม่มี แต่ความรู้สึกเป็นสุข มีเมตตา มีห่วงลูกห่วงหลานแต่ไม่เป็นทุกข์ เพราะท่านมีอุเบกขาไม่ต้องกินต้องถ่ายหรือหลับ ไม่มีการอ่อนเพลีย



อนัตตา

จงจำไว้ด้วยว่ามันไม่ใช่แต่ขันธ์ 5 ของฉัน แม้แต่ขันธ์ 5ของเธอ ก็เหมือนกัน ขันธ์ 5ของคนอื่นใด ๆ ในโลกก็เหมือนกัน แม้วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุเหล็ก ตึก บ้านช่อง วัตถุแข็ง อ่อน อากาศคือ ธาตุลม ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ฐานที่ตั้งของความสุข มันเป็นฐานที่ตั้งแห่งความทุกข์ มันไม่มีสภาพทรงตัว ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนในที่สุดมันก็สลายตัว ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อนัตตา
ความจริงฉันไม่มีอะไรวิเศษเลย ขันธ์ 5 ของฉันมันก็เลว มันจะพังสลาย สภาพร่างกายก็ไม่ดี ความจำก็ไม่ดี อะไรก็ไม่ดี ทุกอย่างมันหาความดีอะไรไม่ได้
ตราบใดที่พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระจอมไตรยังมีอยู่ครบถ้วน ทั้งพระธรรมวินัย ในขณะนั้นถ้าคนเอาจริงปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนเป็นพระอรหันต์ได้หมดทุกคน
การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ก็ดี เขาศึกษากันตัวเดียว คือ สักกายทิฏฐิ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิ คือ ร่างกาย (หรือ ขันธ์ 5 หรือ รูปนาม) ได้ตัวเดียวก็เป็นพระอรหันต์
ก่อนที่จะใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ อันดับแรกต้องเข้าฌานให้ถึงที่สุดที่เธอทรงได้เข้าฌานออกฌานสลับกันมาสลับกันไป ให้มันมีอาการทรงตัว แล้วทำจิตให้ทรงในฌานให้แนบสนิททรงตัว มีความสุขที่สุด ถ้าได้สมาบัติ 8 เป็นกำลังใหญ่ ถ้าได้มโนมยิทธิก็ยกจิตไปไว้พระนิพพานกับองค์สมเด็จพระบรมพิชิตมารสัมมาสัมพุทธเจ้า ถอยกำลังถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาขันธ์ 5 ว่า ขันธ์ 5 มันเป็นภัยสำหรับเรา มันเป็นวัตถุธาตุที่สร้างแต่ทุกข์ สร้างแต่โทษ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข มองดูขันธ์ 5 คือ ร่างกายเกิดมาเราต้องเลี้ยงดูมันเท่าไร มันชอบอะไร เราให้มันกินหมด แต่เราคือจิตไม่ต้องการให้มันป่วย แล้วร่างกายยังขืนป่วย เพลีย เจ็บปวด หิวกระหาย ร้อนหนาว ยุ่งวุ่นวาย ฉันก็ไม่เคยต้องการให้มันแก่มันก็แก่ แล้วคนที่ตายไปก่อนเราเขาไม่ต้องการจะตายมันก็ตาย ในเมื่อร่างกายหรือขันธ์ 5 มันมีความเลวทรามอย่างนี้ จิตเราจะคบค้าสมาคมมันเพื่อประโยชน์อันใด
ตั้งใจจับจุดไว้เพื่อพระโสดาบัน
1. ระงับความพอใจในขันธ์ 5 เสีย คิดว่าร่างกายมันตายอยู่ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกไม่ลืมความตาย เป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนารวมกัน
2. ทรงศีลให้บริสุทธิ์ ควรทำเป็นสีลานุสสติกรรมฐาน ทรงศีลให้เป็นกำลังฌาน คือ ทรงอารมณ์อยู่ในศีลตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องทางใจ ไม่ใช่ต้องไปนั่งหลับตาปี๋ ให้ลืมตาทำงาน คุยกับหมากับแมว หรือเจอะหน้าคนด่าคนนินทา ศีลเราทรงตัวไม่หวั่นไหวใช้ได้ เป็นการตัดสังโยชน์ ข้อ 2 สีลัพตปรามาส
3. ตัดวิจิกิจฉา โดยการน้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัยทั้ง 3 ประการ คือ ทรงพระกรรมฐาน 3 ให้เป็นฌาน คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ให้ทรงตัว
4. ตัดสินใจทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ต้องการเกิดเป็นคนรวยสวยแข็งแรง ไม่ต้องการเกิดเป็นเทพ เทวดา พรหม กำลังใจมุ่งพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน
การที่จะหลีกหนีบาปกรรมชั่วหรือนรกได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ทั้ง 4 ข้อนี้ หรือตัดสังโยชน์ 3 ประการได้ ท่านให้ชื่อว่าผู้เข้ากระแสพระนิพพาน คือ พระโสดาบัน ท่านผู้นั้นบาปเก่าทั้งหมดตามไม่ทัน ไม่สามารถถูกลงโทษได้แล้วก็ท่านผู้นั้นจะไม่มีการตกนรก ไม่เกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานต่อไปอีกทุกชาติที่เกิด จะวนเวียนเฉพาะเป็นมนุษย์ เทวดากับพรหม และต่อไปถ้ากำลังใจเต็มไม่สนใจร่างกาย ไม่สนใจเทวดาพรหมก็ไปนิพพาน
การเป็นพระสกิทาคามีก็มี 4 ข้อ เช่นพระโสดาบัน แต่มีคุณธรรมเพิ่มขึ้นมาจากศีล 5 ข้อ คือ กรรมบถ 10 คือ เพิ่มอีก 5 ข้อ นอกจากศีล 5 แล้วคือไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่คิดอยากได้ของของผู้อื่น ไม่คิดผิดจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ คือ มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ไม่มีอะไรในโลกนี้จีรังแน่นอ มีแต่ความเสื่อมทรุดโทรมสูญหายแตกสลายในที่สุด
การปฏิบัติจิตเพื่อเป็นพระอนาคามี คือ นอกจาก 4 ข้อ แรกของการเป็นพระโสดาบัน และกรรมบท 10 ของพระสกิทาคามีแล้วก็เพิ่ม
1. กายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน ให้ชั่งใจควบกับสักกายทิฏฐิ นอกจากเห็นว่าร่างกายตายแน่แล้ว เมื่อมีชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความสกปรกเน่าเหม็นตลอดเวลา
2. ระงับความโกรธความพยาบาท ด้วยความเมตตา พรหมวิหาร 4 หรือ ระงับด้วยญาณสมาบัติ ใช้วิปัสสนาญาณ คือ สักกายทิฏฐิควบคุมไว้ คนที่เขาโกรธเรา แกล้งเรา ด่าว่าเรา เขาด่าขันธ์ 5 และขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว จิตเราก็ไม่ใช่ขันธ์ 5 เขาอยากจะดุด่าก็เชิญว่าไปตามใจ เราไม่สะดุ้งสะเทือน คนด่าว่าเราเขาก็ตกนรกไปเอง
ความเป็นพระอรหันต์ นั่นก็เป็นเรื่องขี้ผงแล้วง่ายมาก เพิ่มเข้ามาจากร่างกาย ธาตุ 4 คือ รูปทั้งหมดในโลกอย่าคิดว่าดีงาม
1. อย่าติดในรูปฌาน ที่เราเข้าฌานได้ว่าเป็นของวิเศษ รูปฌานก็คือร่างกาย ธาตุ 4 คือ รูปทั้งหมดในโลกอย่าคิดว่าดีงาม
2. อย่าติดในอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณนัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา นาสัญยตนะ ที่เราได้แล้วว่าเป็นของวิเศษ ให้ถือว่าเป็นกำลังใหญ่ที่ช่วยให้เราคือ จิตเข้าประหัตประหารกิเลส โลภ โกรธ หลง เท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้อรูปฌานก็ไม่จำเป็น อรูปฌาน ก็คือ นามในขันธ์ 5 มีสังขาร ความคิด เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ วิญญาณ ประสาท ไม่ใช่ของจิต
3. กำจัดมานะออกจากจิต อย่าทะนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ ได้อภิญญา สมาบัติเราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา เราดีเท่าเขา อารมณ์นี้ไม่ดีก็ทิ้งไปเสีย ด้วยการคิดว่า ทุกคนเกิดมามีทุกข์จากขันธ์ 5 เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นกัน ให้มีเมตตาเห็นอกเห็นใจทั้งคนและสัตว์
4. อุทธัจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน ไร้สาระ คือ คิดทางโลกไม่มี พระอนาคามีก็ฟุ้งไปในด้านของกุศลที่ไม่ตรงกับพระนิพพาน คือ คิดว่า แค่เทวดา พรหมก็พอ ท่านห้ามคิดแบบนั้น ให้จิตมุ่งตรงพระนิพพานเป็นพรหมก็ไม่พ้นทุกข์
5. อวิชชา เป็นสังโยชน์ข้อ 10 ข้อสุดท้าย ตัดอารมณ์พอใจ (ฉันทะ) อารมณ์รัก (ราคะ ) ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เพราะมีปัญญาเข้าใจแล้วว่า พระนิพพานเป็นแดนทิพย์ อมตะสูญจากความทุกข์ ความไม่แน่นอน สูญจากขันธ์ 5 ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอิสระเสรีจากบาปกรรม มีความสุขชั่วกาลนาน มีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืนมีความสุขหาเปรียบมิได้ ทุกอย่างเป็นทิพย์วิเศษ จิตเป็นสุขสมปรารถนาทุกประการ
พระพุทธเจ้าท่านตรัส บอกว่า พระนิพพานดับธาตุทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดที่โลกมี ดับขันธ์ 5 หมด พระนิพพานไม่มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง ไม่มีตัณหา อุปาทาน ไม่มีบาปกรรม ไม่มีร่างกายแบบคนนี้ แต่ว่า อายตนะ ตาหู จมูก ลิ้น กายทิพย์ มีจิตทิพย์ที่จะสะอาดบริสุทธิ์ มีกายโปร่งใสแพรวพราวสว่างไสว ไม่รู้สึกไม่มีระบบประสาทสมอง อยากรู้อะไรรู้ได้เพราะจิตเป็นทิพย์
ทุกข์ ใด ๆ ไม่มี แต่ความรู้สึกเป็นสุข มีเมตตา มีห่วงลูกห่วงหลานแต่ไม่เป็นทุกข์ เพราะท่านมีอุเบกขาไม่ต้องกินต้องถ่ายหรือหลับ ไม่มีการอ่อนเพลีย
จากหนังสือ ธรรมประทานพร

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons