วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

พระคาถากะระณียะเมตตะสุตตัง สูตรว่าด้วยเมตตาไม่มีประมาณ


กะระณียะเมตตะสุตตัง

       กะระณียะมัตถะกุสะเลนะยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะสุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานิ
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะอัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะอัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิเยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุสัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา 
ทีฆา วา เย มะหันตา วามัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐาเย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วาสัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะนาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญานาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตังอายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุมานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
         เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิงมานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะอะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วาสะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะพรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวาทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธังนะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
 

 
คำแปล กรณียเมตตสูตร
   กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจที่พระอริยเจ้าผู้บรรลุแล้วซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่สงบระงับได้กระทำแล้ว กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้องอาจ ซื่อตรงและประพฤติตนดี เป็นผู้ที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่มีมานะอันยิ่ง เป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผูประพฤติทำให้กายและจิตเบา  มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันสงบนิ่ง มีปัญญาฆ่ากิเลส เป็นผู้ไม่คะนองกาย วาจา ใจ และไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย   ไม่พึงกระทำกรรมที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายติเตียนผู้อื่นว่าทำแล้วไมีดี   พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ท้ังหลายทั้งปวง จงเผ็นผู้มีสุข มีจิตเกาะพระนิพพานแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย และจงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด  ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ทั้งที่มีตัณหาเครื่องทำให้ใจสะดุ้งอยู่ และผู้มั่นคงคือไม่มีตัณหาแล้ว ทั้งที่มีกายยาว ใหญ่ ปานกลาง หรือกายสั้น หรือผอม อ้วน เป็นผู้ที่เราเห็นแล้วก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกลก็ดี ทั้งที่เกิดมาในโลกนี้แล้ว และที่ยีงกำลังแสวงหาภพเป็นที่เกิดอยู่ก็ดี จงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขเถิด  สัตว์อื่นอย่าเพิ่งรังแกข่มเหงสัตว์อื่น อย่าเพิ่งดูหมิ่นใครในที่ใดๆ เลย ไม่ควรปรารถนาให้กันและกันมีความทุกข์ เพราะความกริ้วโกรธ และเพระาความเครียดแค้นกันเลย   มารดาย่อมตามรักษาบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด กุลบุตรพึงเจริญเมตตาจิตในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง แม้ฉันนั้น
      บุคคลพึงเจริญเมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่แคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู   ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงเพียงใด   ก็สามารถตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายเกล่าถึงกิริยาอย่างนี้ว่า เป็นการเจริญพรหมวิหารในศาสนานี้   บุคคลผู้ที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงความเห็นผิด เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา  นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความเข้าไปนอนในครรภ์เพื่อเกิดอีกโดยแท้แล ฯ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

วรรณกรรมเรื่องท้าวคำสอน

  วรรณกรรมเรื่องท้าวคำสอน 
       เนื้อเรื่องย่อ 
       ท้าวคำสอนเป็นกำพร้าอาศัยอยู่กับพระมหาเถระ  เมื่อเจริญวัยพระมหาเถระจึงสอนวิธีการเลือกคู่ครอง  ซึ่งท่านได้อรรถาธิบายถึงลักษณะหญิงประเภทต่างๆท้าวคำสอนก็ลาพระมหาเถระไปหาหญิงลักษณะดีเป็นคู่ครอง  ในที่สุดก็พบกับนางปังคำ  เป็นคนจนอยู่กระท่อมแต่ด้วยลักษณะถูกโสลกของหญิงดีเป็นเมียแก้ว  ท้าวคำสอนเกี้ยวพาราสีซึ่งตอนนี้กวีท่านได้นำเอาผญาเกี้ยวใส่เข้าไปซึ่งเป็นที่กินใจจนหนุ่มสาวนำมาเป็นผญาเกี้ยวกันสนทนากันอยู่เนืองๆ  ฉะนั้นถ้ารวมรวมสำนวนผญาที่หนุ่มสาวจ่ายกันนั้นก็น่าจะเป็นสำนวนที่จดจำมาจากเรื่องท้าวคำสอนเป็นส่วนใหญ่  ค่านิยมในการเลือกคู่ของชาวอีสานนั้นไม่เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก  หากแต่ว่าเน้นถึงลักษณะของสตรีที่เป็นสิริมงคล  ถึงแม้ว่ารูปร่างจะด้วยไปก็ตาม  แต่เน้นหญิงที่มีใจบุญสุนทาน  ดังนั้นวรรณกรรมท้าวคำสอนนี้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะนิสัยการเลือกคู่ของชาวอีสานได้ดี  คือเป็นเมียแก้วเมียขวัญ  และควรเป็นหญิงที่นำโชคมาให้สามีและครอบครัว  ใจบุญ  ซื่อสัตย์ต่อสามีและเป็นแม่บ้านที่ดีเป็นแม่ศรีเรือนนั้นเอง  แต่วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเพียงความพยายามที่จะกำหนดรูปแบบของหญิงที่ดีและไม่ดีเอาไว้เพื่อเป็นแนวทางของการเลือกอีกวิธีหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นจริงอย่างนั้นเสมอไป  คือคนที่จะมาเป็นคู่ครองจริงอาจจะไม่มีลักษณะตรงกับที่พระมหาเถระสั่งสอนเอาไว้ก็ได้  ดังตอนสุดท้ายของเรื่องท่าวกล่าวว่าดังนี้คือ 
    คำสอนท้าวฟังนางเว้าม้วนถืกโสลกแท้นางแก้วตอบขานนางนั้นชื่อว่านางปังคำเจ้าคำสอนต้านกล่าวนางเว้าจ้อยๆคำสอนท้าวนั่งฟัง  ท้าวก็มักยิ่งแท้ประสงค์แต่งเป็นเมีย  ถืกโสลกมหาเถรยอดหญิงแปงสร้าง  ชื่อว่าเป็นนางแก้วเคียงสองเสมอแว่น  มหาเถรแต่งให้เห็นแล้วถืกกะใจถืกลักษณะแท้ทั้งโสลกหญิงดี  บ่ได้มีทางติเยื่องประมาณพอน้อย  เป็นเพราะสายมิ่งเกี้ยวปางก่อนสายแนน  บุพพกรรมปางหลังจ่องดึงให้มาพ้อ  ผัวเป็นเทวบุตรแท้แสวงหาเมียมิ่ง  เมียเป็นเทวดาได้พ้อบุญกว้างส่งสนองแนนมิ่งนั้นคือดั่งวาสนา นั้นแล้ว  ชาติก่อนพุ้นเคยได้ฮ่วมผัวเมีย  แสนซิไปคนทางเกิดกันคนก้ำ  แม่นซิปรารถนาเว้นก็ยังนำเฮียงฮ่วมกันดายหนีบ่ม้มเวรเกี้ยวชาติลุ้น  แนมท่อ  สองประสงค์เว้นภายลุนจิ่งจำจาก  ผิว่าผัวบ่เว้นใจข้องต่อเมีย  จักได้กันเที่ยงแท้บ่เหินห่างสายแนน ฯ94 
       ลักษณะของหญิงที่เป็นสิริมงคลแก่สามีและครอบครัว  ซึ่งควรที่จะเลือกมาเป็นคู่ครองมีลักษณะสำคัญอยู่  ๓  ประการคือ 
สตรีที่นำโชคลาภมาสู่สามีและครอบครัว  ซึ่งจะมีวาสนาให้สามีให้สามีเจริญรุ่งเรืองและครอบครัวมีความสุขร่ำรวย ดังนี้ 
    ๑)    หญิงใดเอเลท้องปูมหลวงอุมบาตร 
        หญิงนั้นลอนท่อเป็นรูปร้ายบุญเจ้าหากมีแท้ดาย 
        ชายใดได้เข้าอยู่ซ้อนสุขร่วมบรม 
        สมบัติในเรือนมีพร่ำเพ็งเต็มเหย้า หั้นแล้วฯ 
    ๒)    หญิงใดคอตกปล้องหางตาแดงพอสน่อย 
        เมื่อนางยกย่างย้ายพอด้ามเกิ่งเสมอ 
        แม่นว่าท้าวเข้าได้อยู่ซ้อนเรียงร่วมเป็นเมียเมื่อใด 
        ยูท่างและทรงความสุขนั่งปองเป็นเจ้า 
    ๓)    หญิงใดมีปานดำขึ้นจักกกขาดูหลาก 
        หญิงนั้นใผผู้ใดกล่าวต้านโอมได้โชคมี แท้แล้ว 
    ๔)    หญิงใดโปแข่งน้อยคิ้วก่องกวมตา 
        หัวนมเป็นปานดำก็หากมีบุญแท้ 
        ใผผู้โอมเอาได้เป็นเมียโชคขนาดแท้ดาย 
        มันหากดูประเสริฐแท้เมือหน้าบ่ขวงแท้แล้ว 
    ๕)    หญิงใดขี้แมงวันจับสบเบื้องซ้ายสมบัติมั่งบุญมีท้าวเอย 
        ใผผู้โอมเอาได้เป็นเมียหากคูนยิ่งจริงด้าย 
    ๖)    หญิงใดใบหูห้วนหยุดปลายพดสน่อย 
        หญิงนั้นเป็นแม่ค้ายังซิได้มั่งมีเจ้าเอย 
        ยังได้ผมดำเลื่อมหางนกยูงเสมอภาค กันนั้น 
        ชายใดได้เข้าอยู่ซ้อนจักเป็นเจ้าเศรษฐี 
    ๗)    หญิงใดเสียงปากต้านหวานหูเว้าม่วน 
        ตาเชิดซ้ายคอปล้องรูปงาม 
        เกศาผมยาวได้วาปลายคืบหนึ่ง 
        หญิงนั้นควรค่าล้านคำม่วนชอบธรรม แท้ดาย 
    ความหมายคำศัพท์ 
    เอเล  -กางใหญ่        ลอนท่อ- หากว่า ผิว่า    พร่ำเพ็ง  -มากล้น    ยูท่าง  -สบาย มีความสุข  อยู่เย็น        ด้าม  เพียง  ประมาณ    เกิ่ง - กึ่ง  ครึ่ง        ซ้อน – คู่ครอง 
    คีค้อยคีค้อย-สม่ำเสมอ  ฟู –เจริญรุ่งเรือง  ฟูเฟื่อง 
ข.ลักษณะสตรีที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี 
    หญิงใดหลังตีนสูงขึ้นคือหลังเต่า 
    หญิงนั้นใจซื่อแท้ประสงค์ตั้งต่อผัวเจ้าเอย 
    ก็บ่มักเล่นชู้ชายอื่นมาชม 
    ก็ท่อจงใจรักต่อผัวคีค้อยคีค้อย 
    หญิงนั้นแม่นซิทำการสร้างอันใดก็เรืองรุ่งแท้แล้ว 
    แสนซิจมอยู่พื้นมาแล้วก็หากฟู 
ค. ลักษณะสตรีที่เป็นแม่บ้านที่ดีคือ 
    หญิงใดเฮ็ดกินพร้อมพอเกลือทั้งปลาแดก 
    หญิงนั้นแม่นเป็นข้อยเพิ่นฮ้อยชั้นควรให้ไถ่เอา ท่านเอย 
ง  ลักษณะสตรีที่มีโทษหรืออัปมงคล 
    ๑)  หญิงใดหน้าผากกว้างดังใหญ่โขโมนั้นนา 
    หญิงนั้นเป็นหญิงขวงอย่าเอาควรเว้นฯ 
    ๒)  หญิงใดฝาตีนกว้างกกขาทึบแข่งใหญ่ 
    หญิงนั้นใผเข้าอยู่ซ้อนสอนได้ก็บ่ฟัง 
    มันก็ขี้ถึ่แท้โถงโลกโลกา แท้ดายฯ 
    ๓)  หญิงใดฝีสบดำซ้ำเสมอหมากมอญสุกดังนั้น 
    อันว่าตัญหาในโลกาบ่อาจมีไผ่เพี้ยง 
    หญิงนั้นคนมีใจถ่อยร้ายเจ้าอย่าโอมเอาแท้เน้อ 
    ฝูงนี้หญิงอธรรมบาปเวรนำใช้ แท้แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

คำถอนอธิษฐาน

คำถอนอธิษฐาน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ถ้าหากในชาติหนึ่งชาติใดจนถึงในชาติปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าได้เคย
อธิษฐาน สาบาน ให้คำมั่นสัญญา หรือปรารถนาสิ่งใดๆ ดังต่อไปนี้ เช่น ข้าพเจ้าเคยปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ คู่บารมี หรือผู้ติดตาม ร่วมสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระเอตทัคคะสาวก ปรารถนาการบรรลุมรรคผลนิพพานเฉพาะต่อหน้า พระพักตร์ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ปรารถนาการ ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร หรือปรารถนาว่าจะเกิดตามติดกัน จะผูกพันกัน กับผู้หนึ่งผู้ใดไปทุกชาติด้วยความรักหรือด้วยความอาฆาตแค้นเกลียดชัง หรือปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะทำให้หลงผิดติดอยู่ในเดรัจฉานวิชชา หรือ ความปรารถนาอื่นใดนอกจากนี้ทั้งที่รู้ตัวก็ดีไม่รู้ตัวก็ดี ที่ตั้งใจก็ดีไม่ได้ ตั้งใจก็ดี ที่จำได้ก็ดีจำไม่ได้ก็ดี อันเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ข้าพเจ้า สิ้นกิเลสตัณหาบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานในปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขอตั้งจิต อธิษฐาน ถอดถอนคำอธิษฐาน คำมั่นสัญญา คำสาบาน หรือความ
ปรารถนาทั้งหมดเหล่านั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ด้วยพุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ และความ เมตตาอันไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ จากพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆ คุณ พระคุณบิดามารดา พระคุณครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ และบุญบารมี ที่ข้าพเจ้าที่ทำมาแล้วทุกภพทุกชาติ จงรวมกันเป็นตบะ เดชะ พละ ปัจจัย ดลบันดาลให้ถอดถอนคืนหรือลบล้างมิจฉาทิฏฐิ คำอธิษฐาน คำมั่น สัญญา คำสาบาน หรือความปรารถนาเหล่านั้น ได้เสียทั้งหมด และขอให้ เกิดสติ สมาธิ ปัญญา เป็นสัมมาทิฏฐิ  สิ้นกิเลสทั้งหมดในปัจจุบันนี้เดี๋ยวนี้ ด้วยเทอญ

บทแผ่เมตตา๑


บทแผ่เมตตา๑

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ที่ข้าพเจ้าเคย ล่วงเกินต่อทุกท่าน ทั้งทางกาย วาจา ใจ มาในทุกภพทุกชาติจนถึงในชาตินี้ ขอได้โปรดอโหสิกรรม อย่าได้จองเวรและเบียดเบียนซึ่งกันและกัน อีกเลย  จงรู้จักรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น 
และกรรมใดทางกาย วาจา ใจ ที่ท่านใดก็ตามได้เคยล่วงเกินต่อ ข้าพเจ้ามาในทุกภพทุกชาติจนถึงในชาตินี้ ข้าพเจ้าก็ขอให้อภัยให้ อโหสิกรรมทั้งหมด ไม่ขอถือเป็นโทษบาปเวรภัยให้ต้องมาชดใช้ซึ่งกัน และกันอีกเลย  ขออำนาจและอานุภาพทั้งหมดทุกประการอันไม่มีที่สุดไม่มีประมาณจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ ผู้มี พระคุณ คุณความดีของ เทพเทวดาทั้งหมด คุณความดีที่ข้าพเจ้าได้ทำ มาแล้วทั้งหมด โดยเฉพาะที่ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมพาตนให้ พ้นทุกข์นี้ จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนสรรพสัตว์ ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมด จงพ้นจากทุกข์ มีแต่ความสุขกายสุขใจ ให้ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย เสนียดจัญไรใดๆ ทั้งสิ้น ความปรารถนาใดที่เป็นกุศลจงสัมฤทธิ์ผลโดยทุกประการ ให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ธนสมบัติโดยสมบูรณ์ทุกประการ ให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา เป็นสัมมาทิฏฐิและวิชชา ดับมิจฉาทิฏฐิ นิวรณ์ กิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา และสังโยชน์ ๑๐ โดยถาวรสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

บทแผ่เมตตา ๒

บทแผ่เมตตา


พุทโธ ธัมโม สังโฆ   พุทโธ ธัมโม สังโฆ   พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอยู่ภพภูมิใด ไม่ว่าจะอยู่ โลกธาตุใด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลเพียงใด ทุกทิศทุกทาง ไม่มีที่สุดไม่มี ประมาณ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ก็ดี มิใช่มนุษย์ก็ดี ตลอดจนเทพเทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ นาค ครุฑ มนุษย์ คนธรรพ์ สรรพสัตว์ทั้งหมด เจ้ากรรม นายเวรที่เราได้เคยล่วงเกินทุกท่านทางกาย วาจา ใจ ทุกภพทุกชาติจนถึง ในชาตินี้ ทั้งที่รู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี ประมาทก็ดี ด้วยอวิชชาก็ดี และทุกท่าน ที่เคยล่วงเกินเราทั้งหมดทุกภพทุกชาติ เราก็ขอให้อภัยให้อโหสิกรรม
ทั้งหมดทั้งสิ้น
อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ถวายปัจจัยสี่ และผู้ที่สละชีวิตเลือดเนื้อ เป็น ทานเป็นอาหารมาทุกมื้อในทุกภพทุกชาติ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่ ผู้ที่รักใคร่และมีบุญคุณ เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา ลูก หลาน เหลน ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ลุง ป้า น้า อา ญาติพี่น้องทั้งหมด ข้าทาสบริวาร ผู้เคย ร่วมสร้างกุศลผลบุญบารมีคุณงามความดีร่วมกันมาทุกภพทุกชาติ ทุก ท่านที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่นี้และบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ก็ดี มิใช่มนุษย์ก็ดี และที่อยู่ในร่างกายของเราทั้งหมด
ขอให้พ้นจากทุคติภพ อย่าได้ผูกพยาบาท อาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน อีกเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันอีกเลย จงรู้จักรักษาตนให้พ้นจาก ทุกข์ภัยทั้งสิ้น ขอให้พ้นจากความทุกข์ยากลำบากทางกายและทางใจ ให้ เกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิ ดับมิจฉาทิฏฐิ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ได้รู้ธรรม เห็นธรรม มีใจเป็นธรรม สิ้นกิเลส พ้นทุกข์ บรรลุพระนิพพานโดยพลัน ด้วยเทอญ

บทสวดมนต์


บทสวดมนต์

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม  วิมุตติยา
( จบ)
พุทธัง เมตตังจิตตัง มะมะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมัง เมตตังจิตตัง มะมะ ธัมมะ ธัมมานุภาเวนะ
สังฆัง เมตตังจิตตัง มะมะ สังฆะ สังฆานุภาเวนะ
( จบ)
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ผู้ฉลาดพึงเจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวง, ไม่มีประมาณในโลกทั้งสิ้น อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง, ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยาขอสัตว์ทั้งหลายที่ประสบทุกข์ จงพ้นจากทุกข์, ที่ประสบภัย จงพ้นจากภัย   โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน และที่ประสบโศก จงพ้นจากความโศกเสียเถิด
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย ให้ทุกข์ทั้งปวง โศกทั้งปวง โรคทั้งปวง ภัยทั้งปวง, เคราะห์หามยามร้าย และเสนียดจัญไรทั้งปวง จงสูญหายไป สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต ขอให้ทรัพย์ทั้งปวง ลาภทั้งปวง จงบังเกิดแก่ท่าน รักขันตุ สุรักขันตุขออานุภาพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง จงมา ปกปักรักษาด้วยเถิด 
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ         
สุขีอัตตานัง  ปะริหะรันตุ

ยังกัญจิ กุสะลัง กัมมัง สัพเพหิ กะเตหิ กะตัง ปุญญังโน, อะนุโมทันตุ สุณัน ตุ โภนโต เย เทวา อัสมิง ฐาเน อะธิ คะตา ทีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ, มาตาปิตา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ ญาติกา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ อะยาติกา สุขิตา โหนตุ ทุก ขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ ปิสา สัพเพ ยักขา สัพเพ เปตา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ อาจะริยุปัชฌายา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ นักขัตตา สุขิตา โหนตุ  ทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ เทวา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ สัมปัตตีนัง สะมิชฌันตุ โว

พุทโธพระอะระหัง พุทธังรักษา ธัมโมพระอะระหัง ธัมมังรักษา สังโฆพระ อะระหัง สังฆังรักษา ทุกข์ โศก โรค ภัย เสนียดจัญไรใดๆ มีมา ความผิด ปกติธรรมชาติ ความไม่สมดุลธรรมชาติในธาตุทุกธาตุ ขันธ์ทุกขันธ์ สสาร พลังงาน และความว่างใดๆ มีมา ความผิดปกติธรรมชาติ ความไม่สมดุล ธรรมชาติในสติ สมาธิ ปัญญาใดๆ มีมา เซลล์เนื้องอก เซลล์เนื้อร้าย เซลล์เนื้อที่ผิดปกติ เชื้อโรคร้าย สารพิษร้ายใดๆ มีมา มิจฉาทิฏฐิ นิวรณ์ กิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา และสังโยชน์ ๑๐ ใดๆ มีมา อนัตตา สูญเปล่า นะสูญ โมสูญ พุทสูญ ธาสูญ ยะสูญ สูญหายไปด้วย นะโมพุทธา ยะ ยะธา พุทโมนะ สัมปะจิตโต ปัจฉามิ  
( จบ)

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons