วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มุมมือใหม่ป้ายแดง ต้อนที่ 1


มีผู้ขอให้ผมแนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ตั้งแต่เริ่มต้นเลยว่า จะให้ปฏิบัติอย่างไร
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มาจากประสบการณ์ส่วนตัวล้วน ๆ ที่ผมจะฝากไว้ท่านมือใหม่ ที่ล้มเหลวอยู่เสมอในการปฏิบัติธรรมไว้พิจารณาผมอยากจะบอกท่านที่เข้ามาอ่านก่อนว่าถ้าท่านยังติดหนึบเนียวแน่นดังกาละแมติดฟันในตำราละก็ อย่าอ่านต่อเลยครับ เพราะจะทำให้ท่านมีอคติกับผมไปเปล่า ๆ เมื่อท่านมีอคติอย่างเดียวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าท่านปรามาสต่อผมต่อ นี่ซิครับ ผมไม่ต้องการให้บทความต่าง ๆ ที่ผมเขียนเพื่อให้ท่านดับทุกข์ กลับนำท่านลงสู่ทุกข์เสียเอง สิ่งใดมีคุณอนันต์ ก็จะมีโทษมหันต์เช่นกัน ถ้าใช้ไม่เป็นเชิญเข้าเรื่องได้ครับ สำหรับสาธุชนมีใจเป็นกลางที่อยากทราบประสบการณ์ของผม
**************************** 1. วิปัสสนาจะไม่ได้ผลอะไรเลย ถ้าไม่มี .จิตรู้. ที่แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 เป็นผู้สังเกตการณ์ความไม่เที่ยงในขันธ์ 5
>> นี่คือกุญแจหลักสำหรับการเริ่มต้นการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ครับ สิ่งแรกสุดที่ท่านต้องกระทำ คือ ศีกษาให้เข้าใจก่อน ว่าวิธีการที่จะฝึกฝนเพื่อให้ .จิตรู้. แยกตัวออกจากขันธ์ 5 นั้นมีวิธีการปฏิบัติฝึกฝนอย่างไร ไม่ใช่ว่า ท่านเห็นเขา นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ เดินจงกรม บริกรรมพุทโธ แล้วก็ปฏิบัติลงไปเลยโดยที่ท่านไม่เข้าใจเลยว่า การปฏิบัติที่ท่านเห็นเขาทำกันนั้น อย่างไรจึงได้ผล
ผมไม่อยากนำคำว่า สมถะ วิปัสสนา มาพูดให้ท่านสับสนในการฝึกฝนการปฏิบัติว่าอย่างไรคือสมถะ อย่างไรคือวิปัสสนา แต่ผมขอนำคำว่า การปฏิบัติคือการฝึกฝน สัมมาสติ ให้ตั้งมั่นจนเป็นสัมมาสมาธิ เมื่อตั้งมั่นได้แล้ว จิตรู้ เขาจะแยกตัวออกมาสังเกตขันธ์ 5 ของเขาเองโดยที่ท่านไม่มีสิทธิไปบงการอะไรในตัว .จิตรู้. ได้เลย เมื่อ .จิตรู้.ออกมาสังเกตอาการของขันธ์ 5 เอง นี่แหละครับ วิปัสสนา ได้เริ่มต้นแล้ว
2. แล้วจะปฏิบัติอย่างไรให้ .จิตรู้.แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 ได้
>> ท่านต้องฝึกฝนครับ ฝึกฝนสิ่งที่ผมเรียกว่า สัมมาสติ นั้นเองหลักการฝึกฝนสัมมาสติ ก็คือ 2.1 การที่รู้สึกตัว ที่สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่เกร็ง เป็นธรรมชาติเวลาฝึกอย่าให้มีความรู้สึกว่าต้องทำ แต่ให้ฝึกด้วยความรู้สึกว่า กำลังลองทำเล่น ๆ 2.2 ไม่ต้องการอยากรู้อะไร ท่านอ่านถึงข้อ 2.2 ก็จะเกิดแอบงงได้ เพราะสำนักต่าง ๆ ที่มีสอนการปฏิบัติธรรมทั่วไปในประเทศไทย บอกว่า ต้องรู้ ต้องกำหนด แต่ผมกลับบอกว่า ไม่ต้องการอยากรู้อะไร ผมเขียนผิดหรือเปล่าผมขอเรียนท่านว่า ไม่ผิดหรอกครับ แต่ขอให้ท่านอ่านต่อไปและทำความเข้าใจตรงนี้ให้ดีมาก ๆ สักหน่อย อ่านซ้ำหลาย ๆ รอบก็ยิ่งดีครับ
ในข้อ 2.1 ผมบอกว่า ท่านต้องรู้สึกตัว ที่สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่เกร็ง เมื่อท่านรู้สึกตัวอยู่ สิ่งที่ท่านจะพบต่อมาก็คือ ตาท่านจะมองเห็นอยู่ หูก็จะได้ยินอยู่ ร่างกายก็รู้สัมผัสได้อยู่ และอื่น ๆ ในระบบปราสาทในร่างกายของท่านทำงาน ทั้งหมดนี้ ต้องเป็นการรู้ที่เป็นไปเอง (ย้ำชัด ๆ นะครับ ว่า ต้องเป็นการรู้ที่เป็นไปเอง ) ทีเป็นดังนี้เพราะท่านรู้สึกตัวอยู่นั้นเอง ผมจะใช้คำว่า การรู้ที่เป็น multitasking ก็ได้ (เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันที่ทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน ) (แต่ถ้าท่านยึดตำรา ตำราว่า การรู้จะรู้ได้ทีละอย่าง นั้นคือตำรา ที่ผมบอกแล้วว่า ถ้าท่านยึดติดตำรา อย่าเข้ามาอ่านเลย )
ผมขอให้ท่านทดลองด้วยตัวเองก็ได้ในตอนนี้ ขอให้ท่านรู้สึกตัวอยู่อย่างสบาย ๆ ตาท่านมองเห็นใช่ใหม่หูท่านก็ได้ยินใช่ใหม ถ้ามีลมพัดมา หรือ ท่านเปิดแอร์หรือพัดลม แล้วลมพัดมาโดนกาย ท่านก็รู้สึกได้ใช่ใหม ท่านจะเห็นว่า การรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ท่านไม่ได้ทำอะไรเลย เพียงแต่รู้สึกตัวธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง และรู้ได้พร้อมกันหลาย ๆ อย่างในคราวเดียวกัน
ผมขอให้ท่านสังเกตต่อไปว่า การรู้ที่มาจากการรู้สึกตัวนี้ จะเป็นการรู้ที่เบา ๆ และก็บางทีก็รู้ บางทีก็จะไม่รู้ แสดงว่าการรู้ของท่านยังไม่ต่อเนื่อง นี่เพราะท่านยังเป็นมือใหม่ที่มีกำลังสัมมาสติอ่อนนั้นเอง แต่ถ้าท่านฝึกฝนต่อไป จนสัมมาสมาติมีกำลัง การรู้ของท่านจะต่อเนื่องได้มากขึ้น
ปัญหาของมือใหม่ที่เกิดเสมอ ๆ เพราะได้รับคำสอนว่า การรู้ต้องรู้ชัด มือใหม่ก็จะใช้วิธีการจ้องไปยังจุดที่ต้องการจะรู้ชัด เช่น ผู้ที่ฝึกลมหายใจ ก็ได้รับคำสอนว่า ให้ไปจ้องที่ปลายจมูกเพื่อจะรู้ลมให้ชัด ผู้ที่เดินจงกรมก็จะจ้องที่เท้าเพื่อที่จะรู้การกระทบที่เท้าให้ชัด นี่เป็นการขัดแย้งกับข้อ 2.2 ที่ผมเขียนไว้อย่างจัง เพราะการอยากรู้โดยการจ้องที่ปลายจมูก หรือ ที่เท้า ล้วนเป็นกระทำด้วยความอยาก อันเป็นตัณหา ในอริยสัจจ์ 4 ข้อ 2 พระพุทธองค์ก็สอนไว้ชัดว่า ตัณหา คือต้นเหตุแห่งทุกข์ ต้องละ มัน แต่นี่ท่านที่ไปจ้องปลาย จ้องเท้า การจ้องเป็นการไม่ได้เดินตามคำสอนนี้เลย
เมื่อท่านเป็นมือใหม่ ที่เริ่มต้นด้วยการฝึกรู้ลมหายใจ จะเป็นสิ่งทียากลำบากมากที่จะรู้ลมหายใจ โดยการไม่จ้องลมส่วนมากคนใหม่ ๆ ที่ผมแนะนำการปฏิบัติ ผมจะให้เขาฝึกด้วยกายานุปัสสนาที่ไม่ใช้ลมหายใจ เพราะการรู้ลมหายใจโดยไม่จ้องลม เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากกว่าวิธีอื่น ผมมีเขียนเรื่องการฝึกกายานุปัสสนาไว้ที่เรื่องเมื่อท่านมือใหม่ ฝึกกรรมฐานอื่นที่ไม่ใช่ลมหายใจไปมาก ๆ เช่นสัก 1 ปี กำลังสัมมาสติของท่านจะแข็งแรงขึ้น และสามารถรู้ลมหายใจได้เองโดยไม่ต้องจ้องลมหายใจเลย ท่านก็สามารถฝึกลมหายใจได้เองต่อไป
3. ทำไม ผมจึงให้เริ่มที่กายานุปัสสนา ไม่ใช่การดูจิต อย่างทีตอนนี้กำลังนิยมกัน
>> อย่างที่ผมได้เขียนไว้ข้างต้นแล้ว การปฏิบัติจะได้ผล ก็ต่อเมื่อ .จิตรู้. เขาแยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 แล้วเท่านั้น ถ้าท่านเป็นมือใหม่ที่จิตรู้ยังไม่แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 แล้วท่านไปดูจิต มันจะไม่ได้ผลครับเพราะท่านจะไม่เห็นอาการของจิต เพราะการเห็นอาการของจิตนั้น จะต้องเป็นการเห็นด้วย .จิตรู้. จึงจะได้ผลแห่งวิปัสสนาถ้าการรู้อาการของจิตที่ไม่ใช่ จิตรู้ จะเป็นการนึกคิดเอา อันเป็นสัญญาและสังขาร
การฝึกกายานุปัสสนาที่ถูกต้องตามหลักการที่ผมให้ไว้ในข้อ 2 เมื่อฝึกไปบ่อย ๆ ฝึกมาก ๆ ก็จะมีขบวนการภายในที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ ที่ท่านมองไม่เห็น นั้นคือ สัมมาสติมีการพัฒนากำลังมากขึ้น และ จิตรู้ ก็พร้อมจะมารู้เห็นการทำงานของขันธ์ 5 ได้ตามความเป็นจริง อันเป็นการเจริญวิปัสสนาด้วย จิตรู้
แนะนำอ่านเรื่อง ทำไมผมสอนแต่กายานุปัสสนา ไม่สอนการดูเวทนา ไม่สอนการดูจิต ไม่สอนการดูธรรม แล้วจะครบสูตรได้อย่างไรถ้า "จิตรู้" ยังไม่เกิด จะไม่เห็นไตรลักษณ์ที่แท้จริงกายานุปัสสนา ทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง
4. จะวัดผลแห่งการปฏิบัติได้อย่างไรว่าได้ผลแล้ว
>> เมื่อ จิตรู้ แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 แล้ว จิตรู้ เขาจะทำงานของเขาเอง ใหม่ๆ จิตรู้ ยังไม่มีพลังมากพอ การรับรู้ขันธ์ 5 ของจิตรู้ก็อาจดีบ้าง ไม่ดีบ้าง อันเป็นธรรมดา ขอให้ท่านฝึกฝนต่อไป แบบเดิม ที่ผมเขียนข้อ 2 เพื่อให้จิตรู้มีกำลังมากขึ้นไปอีก ยิ่งฝึกมากแบบข้อ 2 จิตรู้ ยิ่งตั้งมั่น ยิ่งมีกำลังมากขึ้น เมื่อจิตรู้ยิ่งมีกำลัง การที่จิตรู้พิจารณาขันธ์ 5 เองยิ่งถี่มากขึ้น ( ผมขอให้ท่านเข้าใจว่า คำว่า พิจารณาขันธ์ 5 นี้ ต้องเป็นการพิจารณาเองด้วยจิตรู้เท่านั้น จึงจะได้ผล การทีท่านไปคิดเอาเองว่า นี่เป็นไตรลักษณ์ ด้วยการใช้ความคิด ไม่ใช่การพิจารณาธรรมอันเป็นขบวนการแห่งวิปัสสนา ) เมื่อ จิตรู้ พิจารณาขันธ์ 5 เองบ่อย ๆ จิตรู้ ก็จะมีความรู้มากขึ้นเอง
แต่ท่านจะรู้ด้วยตัวเองว่า ทุกข์ท่านได้ลดลงไปจากเดิมซึ่งผมขอแนะนำให้ท่านวัดผลการปฏิบัติด้วยวิธีที่ผมเขียนไว้คือการวัดผลอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเองก็คือการที่ท่านเผลอสติที่ลดลงไปกว่าเดิม ยิ่งท่านฝึกยิ่งมากการเผลอสติก็ยิ่งลดลง จนประหนึ่งว่า ท่านมีสติตลอดเวลาในขณะที่ท่านตื่นอยู่ ท่านทำอะไร ก็มีสติอยู่เสมอ นั้นเองยิ่งท่านมีสติต่อเนื่องมากเท่าใด ทุกข์ยิ่งลดลงไปเรื่อยๆ นี่เป็นผลจากปัญญาที่เกิดขึ้นในจิตใจของท่านที่ลดละ ตัณหา อย่างเป็นอัตโนมัตินั้นเอง
5. บทสรุป ผมหวังว่า สิ่งที่ผมเขียนนี้ จะทำให้เท่ามองภาพออกถึงการปฏิบัติว่าท่านจะดำเนินตัวเองอย่างไร เพื่อให้เข้าสู่ทางแห่งการพ้นทุกข์ผมได้เขียนเรื่องการปฏิบัติที่เป็นพืนฐานไว้มากมาย หลายเรื่องในการธรรมปฏิบัติ ขอให้ท่านทยอยอ่าน และยิ่งเมื่อท่านได้ฝึกฝนไปเป็นระยะและมาอ่านทวนเป็นระยะ จะทำให้ท่านเข้าใจการปฏิบัติได้มากขึ้น
ผมขอเน้นย้ำแก่ท่านมือใหม่ว่า การปฏิบัติในข้อ 2 นั้น ท่านไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้่น ท่านฝึกสัมมาสติไปได้แก่กล้าแค่ไหนก็ตาม ท่านก็ยังคงใช้การฝึกแบบข้อ 2 อยู่ดีอนึ่ง เมื่อท่านฝึกไปเรื่อย ๆ จะมีสภาวะธรรมบางอย่างปรากฏขึ้นแก่ท่่านให้รู้ได้เป็นระยะ ๆสภาวะธรรมเหล่านี้ ถ้าท่านเกิดหลงไปว่า ฉันได้ก้าวหน้าแล้ว การปฏิบัีติต้องไปปรัีบเปลี่ยนวิธีการในข้อ 2 และจะก้าวหน้าต่อไป ถ้าท่านคิดอย่างนี้แล้วละก็ผมขอบอกท่านว่า ท่านหลงทางครับ เพราะนั้นจะเป็น วิปัสสนูกิเลส ที่เกิดขึ้นแก่ท่านท่านเกิดหลงมันว่ามันเป็นจริง
ธรรมแห่งองค์พระศาสดาได้ตรัสสอนไว้ว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา นี่คือความจริงแท้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ท่านจะยิ่งเข้าใจคำนี้มากขึ้นทุกขณะจิต ยิ่งท่านมีกำลังสัมมาสติยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปทุกที ทุกทีธรรมปฏิบัิติ ไม่เหมือนเลี้ยงเด็กอ่อน ที่ต้องเปลี่ยนชนิดของนมผง ชนิดอาหาร ตามอายุเด็กธรรมปฏิบัตินั้น ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตใจ ที่ไร้กิเลส ตัณหา แต่อุดมด้วยสัมมาสติของแท้มีอย่างเดียว ไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างไรทั้งสิ้นในการฝึกฝนฝึกเพื่อให้เป็นปรกติของจิตใจ

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มือใหม่ป้ายแดง ตอนที่ 2


ตัวอย่างการฝึกเพื่อการรู้กาย
ผมได้เน้นอยู่ในหลายบทความที่ผ่านมา นี้ว่าจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิและ.จิตรู้ เกิดแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุเริ่มต้นให้ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งได้อย่างแท้จริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญวิปัสสนาที่จะได้ผลต่อไปจนเกิดสภาวะการปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เพื่อการหลุดพ้นแห่งวงจรทุกข์ได้
มีผู้ถามว่า แล้วจะฝึกอย่างไรกันละ เพื่อให้ จิตมันตั้งมั่น ไม่เผลอนาน และ จิตรู้ เกิดได้ ซึ่งผมขอเฉลยว่า ต้องฝึกการรู้กาย ครับผมมีเขียนบทความใน นี้เรื่อง กายานุปัสสนาทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง ลองอ่านเพิ่มเติมได้ครัย
การฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีหลายวิธีการในการฝึก เช่นการนั่งสมาธิดูลมหายใจ การเดินจงกรม เป็นต้น ซึ่งท่านผู้อ่านจะสามารถหาอ่านได้มากมายใน internet
สำหรับบทความนี้ ผมจะนำเสนอวิธีการฝึกเพื่อการรู้กาย อันเป็นวิธีการที่ผมเคยนำไปสอนผู้ปฏิบัติใหม่ เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย ๆ สามารถปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีโอกาส จะนั่งท่าไหนก็ได้ ขอให้นั่งให้สบาย จะฝึกตอนว่าง ตอนดู TV ตอนฟังวิทยุก็ยังได้ ตอนเข้าห้องน้ำกำลังถ่ายก็ฝึกได้ ตอนอาบน้ำก็ฝึกได้ ขอให้ฝึกให้มาก ๆ ครับ วิธีฝึกขอให้ดูจากรูปข้างล่างนี้
หลักสำคัญในการฝึกมีอยู่ 2 อย่างที่ละเลยไม่ได้เลย ก็คือ
1 ในขณะฝึก อย่าใจลอย อย่าพูดคุยกับใคร แต่ฟังเขาพูดได้ นั่นคือให้รู้สึกตัวอย่างเป็นธรรมชาติ และสบาย ๆ อย่าได้เกร็งส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จำไว้นะครับ ต้องเป็นธรรมชาติและสบาย ๆ
2 ในขณะที่กำลังเคลือนมือไปมาเพื่อการฝึก เมื่อฝึกใหม่ ๆ ท่านอาจจะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของฝ่ามือได้ ท่านไม่ต้องไปกังวลใจในเรื่องนี้ แต่ผู้ฝึกไม่ว่าจะใหม่เพียงใด ต้องรู้สึกถึงการลูบของฝ่ามือกับแขนได้อย่างแน่นอน การรู้สึก ก็เพียงรู้สึกอย่างเป็นธรรมชาติเช่นกัน ขอให้ลองดูง่าย ๆ ดังนี้ ให้ลองเปิด TV ดูแล้วลูบแขนไปด้วยในขณะดู TV ถ้าท่านยังรู้สึกได้ถึงการลูบการสัมผัสนี้ที่เกิดขึ้น ก็ใช้ได้แล้ว ขอเพียงให้รู้สึกก็พอ ไม่ต้องไปคิดว่า รู้สึกอย่างไร ถ้าท่านฝึกแล้วรู้สึกได้และรู้สึกด้วยว่าเป็นธรรมชาติ นั่นแหละใช้ได้แล้ว
การฝึกนี้สมควรฝึกบ่อย ๆ ฝึกทุกวัน ทุกโอกาสที่ทำได้ ถ้าท่านมีเวลาสั้น ๆ เข่น 5 - 10 นาที ก็ขอให้ฝึก แต่ขอให้ฝึกจำนวนครั้งให้มากเข้าไว้ ถ้ามีเวลาว่างมากเช่นกำลังดู TV ก็ควรฝึกไปด้วยได้นาน ๆ เพราะการฝึกนี้จะเป็นการสะสมกำลังความตั้งมั่นให้เป็นสัมมาสมาธิ และการเกิดขึ้นของ .จิตรู่. ได้
อย่าลืมนะครับ ว่า การฝึกตั้งสบาย ๆ เป็นธรรมชาติ รู้สึกตัว และรู้สึกถึงการลูบการสัมผัสได้ ง่ายไหมครับวิธีนี้
ตอนนี้ ถ้าท่านเป็นมือใหม่ในการฝึก อย่าเพิ่งไปดูจิตในตอนนี้ เอาเป็นรู้สึกถึงกายก่อน ให้ฝึกไปมาก ๆ เอาเป็นว่า สัก 3 เดือนขึ้นไป แล้วทีนี้ท่านจะฝึกควบคู่ไปด้วย ทั้งรู้กาย ทั้งรู้จิต ก็พอจะได้แล้วครับ
**** เวลาลูบ ให้ลูบอย่าง นุ่มนวล ทนุทถอมเหมือนกำลังลูบเด็กอ่อนอันเป็นที่รักของเรา ลูบเบา ๆ แต่ให้สบาย ๆ อย่าเกร็ง อย่าสักแต่ว่าลูบแบบผ่าน ๆ ไปชนิดว่าขอไปที อย่างนี้จะไม่ได้ผลดีสำหรับคนฝึกใหม่ *****
ขออภัยด้วยครับ รูปไม่สวยเท่าใด ผมทำได้แค่นี้เอง

ท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกก้าวหน้าแล้วขอให้ท่านสังเกตดูครับว่า เมื่อท่านฝึกไปเรื่อย ๆ ท่านจะเริ่มรู้อาการของกายก่อน เช่น เวลากระพริบตาก็จะรู้ได้ เวลาอ้าปากเคี้ยวอาหารก็จะรู้ได้ว่าปากมันขยับไปมา เป็นต้น นี่เป็นการบอกว่า ท่านกำลังฝึกได้ผลแล้วครับ ขอให้ฝึกต่อไป ฝึกต่อไปนะครับ แล้วผลที่ได้จะยิ่งมากขึ้น มากขึ้น เพราะเป็นการสะสมของสัมมาสมาธิ นั้นเอง
*********** ถ้าลูบมือแล้วเมื่อย จะใช้.ลูบขา.ก็ได้เช่นกัน หรือจะลูบท้อง หรือ อะไรก็ได้ ที่สดวกและสบาย
********************** ตัวอย่างที่ 2
ท่านอาจใช้การฝึกโดยวิธีกำมือ-แบบมือ ฝึกไปเรื่อย ๆ ช้า ๆ สบาย ๆ แทนการลูบแขนก็ได้ วิธีนี้ สามารถใช้ในหลาย ๆ สถานที่ ที่คนเขาไม่สังเกตเห็นได้ เช่น ขณะนั่งรถเมล์ ในขณะเข้าประชุมในบริษัท ขณะรอคิวซื้อสิ้นค้า ในขณะที่กำลังนอนแต่ยังไม่หลับจำไว้นะครับ ต้องสบาย ๆ ค่อย ๆ ทำ และรู้สึกตัว และรู้ความรู้สึกเมื่อมีการกำมือ แบบมือ
******************
ตัวอย่างที่ 3 การเดินจงกรม การเดินจงกรม ก็คือ การเดินกลับไปกลับมาและฝึกฝนการมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิไปด้วยในขณะเดิน วิธีเดิน ก็คือ เดินธรรมดาแบบที่ท่านกำลังเดินเป็นปรกติอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ต้องช้าเป็น slow motionแต่ขอให้เดินแบบสบาย ๆ เหมือนท่านเดินสูดอากาศยามเช้าที่บริสุทธิ ท่านไม่ต้องรีบเร่งในการเดินเดินไปช้า ๆ สบาย ๆ ในขณะที่เดิน ตาท่านยังคงมองเห็นภาพดีอยู่ แต่ท่านไม่ต้องจ้องมองอะไรเป็นพิเศษหูคงได้ยินอยู่ ขอให้ท่านสังเกตว่า ในขณะที่ท่านกำลังเดินนั้น จะมีความรู้สึกสั่นไหวที่กล้ามเนื้อขาด้วยในขณะที่เดินจงกรมอยู่ขอให้เดินแบบนี้กลับไปกลับมา บ่อย ๆ ในการเดินจงกรมนั้น ท่านสามารถใช้ฝึกในชิวิตประจำวันได้ด้วย เช่น ขณะเดินไปทำงาน เดินในที่ทำงาน เดินไปรับประทานอาหารกลางวัน หรือ เดินซื้อของกินของใช้
ทีนี้ ท่านอาจเคยฝึกสายวัดป่า ที่เดินจงกรมพร้อมบริกรรมพุทโธ ท่านจะบริกรรม หรือ ไม่บริกรรม มันไม่สำคัญครับแต่ที่สำคัญก็คือ ท่านต้องเดินอย่างมีความรู้สึกตัว พร้อมรู้ความรู่สึกจากการทำงานของระบบประสาทต่าง ๆ ของร่างกายของท่านไม่ยากเลยใช่ใหมครับการเดินจงกรม ********************* ตัวอย่างที 4
ใช้ปลายนิ่งโป้ง และ นิ้วชี้ สัมผัสแตะ - ปล่อย แตะ-ปล่อย เบา ๆ เป็นจังหวะ ไป ขอให้ทำอย่างสบายๆ อย่าเครียด อย่าเกร็ง เมื่อท่านแตะนิ่ว ก็จะรู้สึกถึงการสัมผัสที่เกิดขึ้นจากการแตะ เมื่อนิ้วไม่แตะกัน ความรู้สึกนั้นก็หายไป ท่านี้จะดี เพราะคนอื่นเขาจะไม่รู้ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ จึงไม่เป็นที่สังเกตของคนอื่น
*********************
ตัวอย่างที่ 6
ท่านไปหาซื้อพัดมา 1 อ้น ไม่ต้องแพง ราคาสัก 20 -30 บาท ในขณะทีท่านกำลังนั่งรอพระเพื่อใส่บาตร หรือ นั่งดู TV ที่บ้าน ก็ใช้พัดที่ซื้อมานี้ครับ พัดไปมาเบาๆ เพื่อคลายร้อน หรือ เพื่อไล่ยุง ในขณะที่พัดอยู่ ขอให้ท่านพัดอย่างสบาย ๆ ในขณะที่ท่านพัดอยู่พร้อมดัวยความรู้สึกตัว ท่านจะรับรู้ลมทีมากระทบผิวหนังของท่านได้ ตาท่านก็ยังเห็นอยู่ หูท่านก็ยังได้ยิน เมื่อมื่อท่านส่ายไปมาในขณะที่พัด ท่านก็รู้สึกถึงการเคลื่อนการไหวของมือได้ด้วย
เมื่อท่านใช้พัด ท่านก็ลดการใช้พัดลมได้ เท่ากับประหยัดไฟฟ้าที่ใช้ แถมยังเป็นการฝีกฝนกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไปในตัวทีเดียว
วิธีใช้พัดนี้ ดีมากสำหรับประเทศไทยทีมีอากาศร้อน เมื่อท่านฝึกใช้พัด มันจะเป็นธรรมชาติและคนที่เห็นท่านจะไม่รู้ว่าท่านกำลังฝึกอยู่ ดังนั้น ท่านใช้ในการฝึกยังสถานที่ต่าง ๆ ในทีชุมชนได้เป็นอย่างดี
*********************** ตัวอย่างที่ 7 ถ้าท่านมีเศษกระดาษที่ใช้เขียนแล้วไม่ใช้ หรือ ถุงอลูมิเนียมบาง ๆ ที่เขาใส่กาแฟ หรือใส่ครีมใส่กาแฟ ท่านเอามา 1 แผ่น แล้วขยำให้มันเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดพอเหมาะ ให้ท่านลองกำลูกกลม ๆ นี่ในมือขอให้กำได้สบาย ๆ ไม่ใหญ่ไป ไม่เล็กไป เนื่องจากกระดาษ หรือ ถุงอลูมิเนียมจะมีความแข็งเล็กน้อย เมื่อท่านขยำเป็นก้อนกลม มันจะไม่เรียบ ผิวของมันจะขรุขระ เมื่อท่านกำในมือจะรู้สึกได้ดีในการฝึกในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะดูทีวี ก็กำลูกกลม ๆ นี้เล่นไปมา ตาก็ดูทีวีไปด้วย มือก็กำลูกกลมนี้เล่นไปด้วยอย่างสบาย ๆ
******************
ตัวอย่างที่ 8 ท่าฝึกของท่านเอง สำหรับที่ท่านการฝึกฝนมาแล้วอย่างมากและมีความขยันหมั่นเพียรในการฝึก เช่น ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปแล้ว ในการฝึกในระดับนี้ ท่านสามารถประยุกต์ท่าฝึกต่าง ๆ ขึ้นมาได้เอง เพราะท่านจะเข้าใจว่า การฝึกที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ขอให้ท่านหาท่าฝึกที่เหมาะกับท่าน แล้ว ให้ท่านฝึกท่าของท่านเอง
*********************** **หลักการและเหตุผล**

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี มือใหม่ป้ายแดง ตอนที่ 3


ทำไมผมสอนแต่กายานุปัสสนา ไม่สอนการดูเวทนา ไม่สอนการดูจิต ไม่สอนการดูธรรม แล้วจะครบสูตรได้อย่างไร
ถ้าท่านติดตามอ่านบทความของผมในบล๊อกนี้และมีความสงสัยว่า ทำไมผมสอนแต่กายานุปัสสนา ไม่สอนการดูเวทนา ไม่สอนการดูจิต ไม่สอนการดูธรรม แล้วจะครบสูตรของสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างไรซึ่งเรื่องนี้ ผมขออธิบายดังนี้
สิ่งที่ผมอธิบายการฝึกฝนการลูบแขนอันเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ก็เพราะว่า การฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพื่อให้ท่านเกิด สติสัมปชัญญะ ก่อน เป็นสิ่งทีฝึกได้ง่ายสำหรับคนส่วนใหญ๋ ใคร ๆ ก็ฝึกได้ ไม่ต้องรู้อะไรมาก ฝึก ๆ เข้าไปนั้นแหละ แล้ว สติสัมปชัญญะของท่านก็จะเกิดได้เอง แต่มีข้อแม้ว่า ต้องฝึกอย่างถูกต้อง และต้องฝึกบ่อย ๆ สมำเสมอเท่านั้นเอง
เมือสติสัมปชัญญะของเท่านเกิดแล้ว และท่านยังฝึกต่อไปอีกอย่างสม่ำเสมอ ต่อไป จิตรู้ ของเท่านจะเกิดขึ้น เมื่อฝึกต่อไปอีก จิตรู้ ที่เกิดจะตั้งมั่นมากขึ้น ปรากฏการรู้ได้นานขึ้น ซึ่งเมื่อถึงตอนนี้แล้ว สิ่งที่เรียกว่า กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา ก็จะเห็นได้เองด้วย .จิตรู้. อันเป็นครบทั้ง 4 สูตรของสติปัฏฐาน 4 นั่นเองแต่ถ้าจิตรู้ ยังไม่เกิด ยังไม่ตั้งมั่น ไม่มีทางเลยที่การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จะครบถ้วนอย่างแท้จริง
สำหรับท่านที่ฝึกมาในแนวอื่น ถ้าการฝึกของท่านก่อให้เกิดความตั้งมั่นแห่งจิตรู้ ก็ใช้ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าท่านฝึกมาเนินนาน แล้ว ยังไม่รู้เลยว่า จิตรู้ เกิดนี่เป็นอย่างไร ท่านสมควรจะมองการฝึกของท่านเสียใหม่ เพราะค่อนข้างแน่นอนครับว่า มันจะไม่ตรงทางตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ซะแล้วครับ
ถ้า "จิตรู้" ยังไม่เกิด จะไม่เห็นไตรลักษณ์ที่แท้จริง
ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องถูกทาง และขยันหมั่นเพียรแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนในจิตใจของผู้ปฏิบัติก็คือ " จิตรู้ " ก่อตัวขึ้น
เมื่อ "จิตรู้" ก่อตัวขึ้น ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเห็นได้ของการแปรเปลี่ยนของจิตใจ โดยจะเริ่มจากการแปรเปลี่ยนที่เป็นของหยาบๆ ก็คือ ความโกรธ ก่อนเมื่อผู้ปฏิบัติเห็น ความโกรธ ที่เกิดขึ้นได้ ใหม่ ๆ แต่สัมมาสมาธิยังไม่ตั้งมั่นพอ ความโกรธ ที่จิตรู้ เห็น ก็อาจไม่ทนทานอยู่ได้ และจิตรู้จะหายไป ทำให้ผู้ปฏิบัติหลงไปกับความโกรธที่เกิดขึ้นนั้นแทน
แต่เมื่อเขาได้มีความเพียร หมั่นเจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิอยู่เสมอ สัมมาสมาธิของเขาจะตั้งมั่นขึ้น และ จะสามารถคงอยู่ต่อไปเมื่อ ความโกรธ เกิดขึ้น การตั้งมั่นของสัมมาสมาธิ นอกจากจะเห็นความโกรธเกิดขึ้นแล้ว เขาจะเห็น การหยุดและสลายไปของความโกรธอีกด้วย นี่คือการเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งอย่างแท้จริงที่ผู้เจริญวิปัสสนาต้องเห็นอย่างนี่ จึงจะเกิดปัญญาทางพุทธศาสนาได้
ถ้า จิตรู้ ของเท่านยังไม่เกิด หรือยังไม่ตั้งมั่น ท่านจะไม่เห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งอย่างแท้จริง แต่ท่านกำลังคิดเอาเองว่าท่านเห็นไตรลักษณ์ ถ้าเป็นอย่างนี้ ปัญญาทางพุทธศาสนาจะไม่เกิดแก่ท่าน
การเห็นไตรลักษณ์ของจิตตสังขารอย่างแท้จริงด้วย จิตรู้ อยู่บ่อย ๆ อยู่ เนื่อง ๆ ยังเป็นปัญญาขั้นต้นในพุทธศาสนา ที่เห็นความไม่เที่ยงแห่งจิตตสังขารได้ ต่อเมื่อ การเห็นไตรลักษณ์ที่แท้จริงด้วยจิตรู้ อยู่เสมอจนจิตเข้าใจและยอมรับ จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นในระยะต่อมา และเกิดความรู้ในอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้น อันเป็นปัญญาในพุทธศาสนา ปัญญาในพุทธศาสนา ไม่มีการคิดเอาเอง ต้องเห็นด้วยจิตรู้ จึงจะถูกต้อง และเมื่อเกิดปัญญาในพุทธศาสนาแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ ทุกข์ทางใจจะเริ่มลดน้อยลงไปเอง
ของดีในพุทธศานาอยู่ตรงนี้ เราได้มาพบคำสอนที่ประเสริฐแล้ว ถ้ายังจะหวังรอพระศรีอารยเมตไตรอยู่อีก ก็เท่ากับเราเสียไปเปล่า ๆ 1 ชาติหรือพระพุทธองค์ได้บอกว่า ท่านเป็นเพียงผู้บอกทาง แต่เราต้องเดินเองตามทางที่ท่านบอก จึงจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ แต่ว่า ท่าน... เริ่มเดินหรือยังครับ

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี มือใหม่ป้ายแดง ตอนที่ 4

กายานุปัสสนา ทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง
ความสำคัญของกายานุปัสสนา ไม่ใช่อยู่ที่เป็นหมวดแรกของสติปัฏฐาน 4 แต่อยู่ที่รากฐานความมั่นคงของการฝึกสติสัมปชัญญะสำหรับผู้ปฏิบัติที่มาฝีกใหม่ หรือ ผู้ปฏิบัติเก่าแต่สติสัมปชัญญะง่อนแง่นเหมือนฟันผุจะหลุดออกจากเหงือกแล้ว
จิตที่พร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนา คือ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิตั่งมั่นอยู่ ถ้าใครที่จิตยังไม่ตั้งมั่นพอ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี้คือกุญแจที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน
ถ้าเราเข้าไปอ่านดูในพระไตรปิฏกในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเห็นว่ามีหลายหมู่ ( ตามตำราเรียกกันว่า "บรรพ" ) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาสมควรเลือกใช้ให้ถูกต้องกับสภาพจิตของตนว่า ในขณะนี้ จิตเราเป็นอย่างนี้ สมควรใช้บรรพใหนในการเจริญสติปัฏฐาน เรื่องการเลือกบรรพ เปรียบเหมือนการเลือกยา ไม่มียาที่ดีสำหรับทุกข์โรค แต่ผู้กินยาต้องรู้อาการแล้วฉลาดในการเลือกยาให้ถูกกับโรคที่เป็นอยู่
ในบทความนี้ ผมจะไม่บอกว่า บรรพใหนดีอย่างไร เพราะทุกบรรพดีหมดสำหรับสภาวะจิตแบบหนึ่ง ๆ บ้างก็อ้างตำราว่า อาณาปานสติ ดีที่สุดที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง แต่อาณาปานสติ ไม่ใช่ของง่ายสำหรับผู้ฝึกใหม่ ถ้าท่านเป็นผู้ฝึกใหม่และไม่มีครูอาจารบ์ที่รู้จริงแนะนำสั่งสอนอาณาปานสติ ผมแนะนำว่า อย่าได้เริ่มด้วยบรรพนี้ เพราะท่านจะปฏิบัติผิดอย่างแน่นอน กลายเป็นอาณาปานไร้สติ เสียเวลาเปล่า และท้อแท้ หมดกำลังใจไปได้
สำหรับผู้ที่กำลังอกหักรักครุดเสียใจกับความรัก คงหนีไม่พ้น หมวดอสุภกรรมฐาน หรือ ความไม่งดงามแห่งกาย มองเข้าไป แล้วอาจทำให้หายอกหักได้
แต่สำหรับคนปรกติที่มาใหม่ กำลังของสติสัมปชัญญะยังอ่อนนัก แถมไร้อาจารย์ที่รู้จริงเป็นผุ้ฝึกสอน ผมก็ขอแนะนำให้เข้าหาสำนักสอนที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งแต่ละสำนักก็จะมีดีกันคนละอย่าง ผมจะไม่ขอเอ่ยอ้างสำนักใดเป็นพิเศษ แล้วแต่วาสนาของท่านในเรื่องนี้ ถ้าท่านไปพบสำนักดี เข้ากับจริตของตนได้ ก็จะไปได้ดี ถ้าท่านเผอิญไปพบสำนักที่ไม่เข้ากับจริตของตน ก็คงต้องวนเวียนหาเอาใหม่ให้เหมาะกับจริตต่อไป
ปัจจุบัน วิชาดูจิต กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย แต่ถ้าท่านยังไม่มีกำลังพอในสติสัมปชัญญะ ท่านจะล้มเหลวไม่เป็นท่าในการดูจิต เพราะกิเลสที่เกิดในจิตจะดึงท่านเข้าไปคลุกอยู่กับมัน ทำให้ท่านหลง ท่านโกรธ ท่านโลภ ไปกับมันด้วย ทางเดียวก็คือ ท่านต้องกลับมาที่กายานุปัสสนาสติปัฏฐานก่อน ให้ฐานมันแน่น มันแกร่ง จนกำลังของจิตตสังขารดึงจิตท่านเข้าไปคลุกไม่ได้นั่นแหละ ท่านจึงจะใช้วิชาดูจิตอย่างได้ผล
ขอสรุปสรรพคุณกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไว้สั้น ๆ สำหรับผู้มาฝึกใหม่ดังนี้ 1 ไว้เป็นสมถกรรมฐาน แก้อาการจิตตก จิตไม่ผ่องใส 2 ไว้เป็นสมถกรรมฐาน สำหรับเพิ่มกำลังแห่งสติสัมปชัญญะ
นักมวยไม่หมั่นฝึกซ้อม ย่อมถูกน๊อคคาเวทีฉันใดนักปฏิบัติไม่หมั่นเจริญกายานุปัสสนา ก็จะถูกกิเลสน๊อคได้ฉันนั้น เช่นกัน
2 การกลับมาเป็นปกติของใจได้เร็ว คือ การวัดผลการปฏิบัติุ
เมื่อวานได้ไปพูดคุยกัยญาติธรรมเรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ มีคำถามทีน่าสนใจถามมาว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า การปฏิบัติเดินมาถูกต้อง ถูกทางแล้ว
ในขณะที่ท่านกำลังฝึกฝนการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ท่านสังเกตเห็นได้ไหมว่า จิตใจท่านจะเฉย ๆ ไม่มีอะไรภายใน นี่คือสภาพที่เป็นปกติของจิตใจ ท่านจะดูเหมือนว่า ท่านฝึกฝนมา 1 หรือ 2 ขั่วโมง ไม่เห็นได้อะไรเลย นี่คือความจริงครับ ที่ท่านจะรู้สึกแบบนั้นเสมอ ๆ เมื่อท่านลงมือฝึกฝน
แต่ถ้าท่านได้กลับเข้าสู่โลกแห่งชีวิตของท่านจริง ๆเมื่อไร ขอให้ท่านคิดถึงอดีตซิครับ ท่านจะเห็นว่า ท่านมีเรื่องราว มีปัญหาปวดหัว ที่เข้ามาในชีวิตของท่านวันหนึ่ง ๆ เป็นสิบ ๆ เรื่อง ทีเดียว เวลาท่านมีปัญหาขึ้นมา จิตใจท่านจะไม่เป็นสุขเลย นี่คือความเป็นจริงของชีวิตทีท่านไม่อาจหลักเลี่ยงได้ที่ต้องพบ ทุกคนมีปัญหาชีวิตทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่ตื่นนอน ถึงต้องกลับมานอนอีกครั้งทีนี้ขอให้ท่านเทียบระหว่างตอนที่ท่านกำลังฝึกฝน ที่จิตใจปกติ เฉย ๆ ไม่มีอะไร กับ ตอนที่ท่านพบปัญหาชีวิตซิครับว่า ท่านว่าอย่างไรจะน่าเป็นมากกว่า ท่านคงตอบได้ดีกว่าใคร
การฝึกฝนการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์นั้น ในขณะที่ท่านฝึกอยู่ ท่านจะได้ผลแห่งจิตใจที่เป็นปกติ คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ผลแห่งการฝึกนั้น เมื่อท่านฝึกจนชำนาญ จิตใจท่านจะมีความสามารถอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ ก็คือ ความสามารถในการหยุด แห่งสภาวะที่จิตใจที่กำลังแปรปรวนให้กลับมาเป็นปกติได้ ยิ่งท่านฝึกมายิ่งชำนาญ ท่านยิ่งหยุดได้เร็ว ท่านลองพิจารณาดูครับว่า ถ้าจิตใจท่านกลับมาปกติแบบตอนที่ท่านกำลังฝึกฝนได้เร็ว มันจะทำให้ท่านคลายทุกข์ได้เร็วและดีสำหรับท่านแค่ไหน เมื่อจิตใจท่านดี เป็นปกติ ท่านก็ทำงานทำหน้าทีของท่านได้ดี จริงไหมครับ นี่คือสิ่งที่ท่านจะได้ในการฝึกฝน
เมื่อท่านฝึกใหม่ ๆ การคลายทุกข์ในจิตใจ จะยังไม่ได้ผล หรือ ได้ผลแต่น้อย นีเพราะกำลังแห่งสัมมาสติ ท่านยังไม่แข็งแกร่งพอ ท่านต้องหมั่นฝึกฝนต่อไป แล้ว จิตใจท่านจะยิ่งแข็งแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ยิ่งฝึกยิ่งแข้งแกร่ง ฝึกจนวันหนึ่ง ท่านจะรู้ว่า ไม่มีอะไรที่จะมาทะลวงเข้าไปในจิตใจท่านได้อีก จิตใจท่านจะปกติอย่างนี้ตลอดไปนี่คือการวัดผลแห่งการปฏิบัติครับ
ท่านจะเห็นว่า ในตำราได้กล่าวถึงระดับพระอริยบุคคลไว้ 4 ประเภท นั้นคือตำรา ผมไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่สิ่งทีผมแสดงไว้ในการวัดผล ท่านสามารถประเมินศักยภาพ ประเมินประสิทธิผล แห่งการปฏิบัติของท่านได้เองด้วยตนเอง ไม่ต้องไปหาใครมาประเมินให้ท่านเลย เพราะท่านจะรู้ได้ด้วยตัวท่านเองครับ นี่คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนจริง ๆ ได้จริง เห็นจริง พิสูจน์ได้จริง

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี มือใหม่ป้ายแดง ตอนที่ 5



เมื่อเดินตามวิถีแห่ง.มรรค. .ผล.ก็จะเกิดตามมาเอง
ผมเคยเขียนเรื่อง อริยสัจจ์ 4 ไว้หลาย ๆ ที่ในบทความ ของผม ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่า อยู่ที่ไหนกันบ้าง แต่ถ้าท่่านที่เพิ่งเข้ามาอ่าน และไม่เคยอ่านเรื่องเดิมที่ผมเขียนไว้แล้ว จะอ่านใหม่ในตอนนี้ ผมจะเขียนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านมองภาพรวมของ อริยสัจจ์ 4 ได้
คำถามในใจท่าน ....ทำไมต้องมองภาพรวมของอริยสัจจ์ 4 ออกคำตอบจากใจผม.... การมองภาพรวมของอริยสััจจ์ 4 นั้นจะทำให้ท่านเข้าใจวิถีทางแห่งการพ้นทุกข์ตามหลักการของอริยสัจจ์ 4 อย่างถูกต้อง เมื่อท่านเข้าใจหลักการและภาพรวมแล้ว ท่านจะปฏิบัติต่อไปได้ถูกต้องแบบไม่หลงทาง เมื่อไม่หลงทาง ก็คือถูกทางตามอริยสัจจ์ 4 เมื่อถูกทางก็จะถึงปลายทาง คือ การสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้
คำถามในใจท่าน .... ที่สอน ๆ กันตอนนี้ไม่ถูกทางหรืออย่างไร คำตอบในใจผม .... ที่สอนกันตอนนี้มีทั้งถูกทางและไม่ถูกทาง แต่ที่ไม่ถูกทางจะมีจำนวนที่มากกว่า และค่อนข้างแพร่หลายในประเทศไทย การแพร่หลายนี้ จะทำให้คนที่ยังไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติหลงเข้าไปเป็นพวกด้วย และยิ่งขยายตัวมากขึ้น มีการตอบตำถามแนะนำสิ่งผิดทางมากมายทางอินเตอร์เนท ทั้ง ๆ คนเองก็ยังไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ตนเชื่อนั้นคือ ทางสายผิด เมื่อมีการบอกต่อกันไปมาก ๆ สิ่งที่ผิด ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปในความเห็นของคนไทย
คำตอบในใจผม .... การเขียนขัดแย้งในอินเตอร์เนทไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น คนที่มาเขียนไว้จะไม่เชื่อไม่ยอมรับความเห็นที่ชัดแย้งกับความเชื่อของเขาอยู่แล้ว และจำนวนคนทีมาเขียนในแนวทางที่ผิดมีมาก เมื่อคนไม่รู้เข้ามาอ่าน เมื่อเห็นว่าคนส่วนใหญ่บอกว่าเป็นสิ่งนี้ ก็จะเชื่อตามจำนวนคนที่บอก เรื่องนี้เปรียบได้กับในสมัยโบราณ ที่คนเืชื่อว่าโรคแบน พอกาลิเลโอ ค้นพบว่าโลกกลม และออกมาประกาศ ก็ไม่มีใครเชื่อเขาเลย นี่คือ เสียงจากหมู่มาก ที่น้อมนำคนที่ไม่รู้เรื่องเข้าเป็นพวกได้ คำตอบในใจผม ... นี่คือสิ่งทีผมได้ทำแล้ว บอกวิธีการปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยสัจจ์ 4 ตามหลักของพุทธศาสนา ที่ผมขอชักชวนให้ท่านอ่านและพิจารณาอีกครั้งด้วยปัญญาของท่านเอง
เชิญอ่านได้ครับ....
ในอริบสัจจ์ 4 นักเรียนชั้นมัธยมก็เรียน คนทั่้ว ๆ ก็รู้ว่า ประกอบด้วยองค์ 4 คือ ทุกข์ / สมุทัย / นิโรธ / มรรค
คำถามที่ 1. ทำไมต้องเริ่มที่ ทุกข์ ในเมื่อในหลักวิทยาศาสตร์ ต้องแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย คำตอบ ..... ที่อริยสัจจ์ 4 ต้องเริ่มที่ทุกข์ เพราะว่า ปุถุชนโดยทั่้ว ๆ ไปจิตใจมืดบอดด้วยปัญญาเพราะถูกโมหะ(โมหะ เป็นชื่อของกิเลสตัวหนึ่ง) เข้าควบคุมจิตใจไว้ ทำให้ปุถุชนมองไม่เห็นสาเหตุแห่งทุกข์ คือ กิลส ตัณหา อย่างแท้จริงแต่ปุึถุชน จะมองเห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของเขาได้ นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งความคิดที่จะปฏิวัติตนเอง ที่จะหนีจากกองทุกข์นั้น
ทุกข์ ในอริยสัจจ์จึงเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการทั้งปวง ทั้งด้าน 1. เป็นแรงชักนำ (motivation) 2. เป็นสิ่งที่เมื่อรู้แล้ว จะเป็นการพัฒนากำลังจิตให้เข็มแข็ง เพื่อสามารถจะต้านทานแก่กิเลสได้ในระยะแรก ๆ และสามารถเห็น กิเลส ตัณหา ซึ่งก็คือ สมุทัย ได้ในะระยต่อไป เมื่อจิตใจมีพลังเข็มแข็งมากขึ้นในระยะต่อไปอีกด้วย
คำถามที 2. ทำไมต้องนำ สมุทัย เป็นข้อที่ 2 คำตอบ.... สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งก็คือ กิเลส ตัณหา นั้นเอง ดังที่กล่าวไว้แล้วในข้อ1 ว่า ในปุถุชนที่ไม่ได้ฝึกฝนตามหลักอริยสัจจ์ 4 จะมองไม่เห็นกิเลส ตัณหา เพราะถูกโมหะุเข้าครอบครองจิตใจจนมืดบอด เมื่อปุถุชนฝึกฝนให้เห็นทุกข์อริยสัจจ์อยู่เนือง ๆ จิตใจก็จะมีพลังและจะเห็นกิเลส ตัณหา อันเป็นสมุทัยได้ในระยะต่อมา
คำถามที่ 3 ทำไมต้องนำ นิโรธ เป็นข้อที่ 3 คำตอบ .. ผลแห่งการเห็นทุกข์อริยสัจจ์ในข้อ 1 ทำให้เห็น กิเลส ตัณหาในข้อ 2 เมื่อเห็นกิเลส ตัณหาได้ กิเลส ตัณหาย่อมดับไปเองตามหลักธรรมชาติแห่งไตรลักษณ์ เมื่อกิเลส ตัณหาดับไปแล้ว ทุกข์ใจก็จะไม่กิด ซึ่งก็คือ นิโรธ อันเป็นสภาพในขณะที่จิตใจไม่มีกิเลส ตัณหา
คำถามที่ 4 ทำไมต้องนำ มรรค เป็นข้อที่ 4 คำตอบ.. ข้อ 1 /2 / 3 เป็นเหมือนคำอธิบายหลักการการดับทุกข์ของอริยสัจจ์ 4 เมื่อได้เข้าใจหลักการแล้วและเกิดศรัทธาแล้ว ก็ให้ดำเนินการในข้อ 4 ก็คือวิธีการลงมือปฏิบัติ เมื่อได้ลงมือปฏิบัติตามหลักการในข้อ 1 / 2 / ก็จะเห็นผลในข้อ 3 ได้เอง
มรรค ในข้อ 4 ความเข้าใจในการปฏิบัติ ก็คือสัมมาทิฐิ การปฏิบัติสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปฏิบัติ ถ้าเข้าใจผิดเสียแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เกิดผลแห่งนิโรธได้เลย
เมื่อผู้ปฏิบัติดำเนินครบ 4 ข้อ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และเห็นผลแห่งอริยสัจจ์ คือ นิโรธ ได้แล้ว เขาย่อมเชื่อมั่นในคำสอนแห่งพุทธศาสนาอย่างไม่ลังเลในใจอีกเพราะเห็นได้เห็นจริง ได้พิสูจน์จริงดังที่สอนแล้วทุกประการเมื่อเขาได้เห็นจริงแล้ว เขาย่อมมีกำลังใจ มีความศรัทธา มีความมุ่งมั่นในข้อที่ 4 คือมรรค ที่พากเพียรให้รู้ในทุกข์ (ดังข้อ 1 )สกัดกั้นกิเลส ตัณหา ไม่ให้เขาสู่จิตใจ (ดังข้อ 2 )จนได้ผลแห่งนิโรธ คือ ความไม่ทุกข์ใจอีก (ดังข้อที่ 3 )
นี่คือวิถีทางแห่งมรรค เมื่อได้เดินตามมรรค ผลย่อมได้เองคล้ายกับ เราได้อ่านวิธีการปลูกต้นมะม่วงว่าทำอย่างไร และได้ลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่เรียนรู้มาต้นมะม่วงย่อมออกผลเป็นมะม่วงให้เราได้รับประทานอย่างแน่นอนที่สุด
-------------- ขอท่านผู้มีปัญญาพิจารณาดูคำสอนของพระพุทธองค์เถิดว่าเป็นอย่างไรการไปนั่งสมาธิตัวนิ่งแข็งแบบฤาษี ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์อย่างแน่นอนเพระาการนั่งสมาธิแบบฤาษีนั้น เ็ป็นการกดจิตในนิ่ง ไม่ให้รับรู้อะไรเลยเมื่อไม่รู้อะไรเลย ทุกข์ในข้อ 1 ก็ไม่อาจรู้ได้การกดจิตให้นิ่ง ทำให้จิตถูกโมหะ อันเป็นตัณหา เข้าครอบงำ นี่ก็เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคำสอนอริยสัจจ์ 4 ในข้อ 2 แล้ว ผลแห่งข้อ 3 คือนิโรธ จะเกิดขึ้นได้อย่างไรกันในพุทธประวัติก็มีการกล่าวไว้ถึงเ้จ้าชายสิทธัตถะได้ออกจากสำนักฤาษีที่ได้ไปเรียนมาว่าพระองค์ทรงทราบว่า แนวทางนี้ไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ ขอท่านที่เป็นพุทธบริษัทใช้ปัญญาพิจารณาดูเถิดว่า สิ่งที่ท่านกำลังฝึกฝนอยู่ หรือกำลังพบายามเพยแพร่อยู่นั้น ถูกต้องตามหลักอริยสัจจ์ 4 หรือไม่
การเห็นจิตว่างที่ไม่มีอะไร คือ การปฏิบัติที่ต่อจากขั้นต้น
1....ตามที่ผมได้เขียนเรื่องสำหรับนักปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ที่ต้องการจะเริ่มต้นไว้ที่เรื่อง เมื่อท่านได้ลงมือฝึกฝนด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ไม่มีความอยากในจิตใจมาสักระยะหนึ่ง อาจเป็นตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป กำลังจิตของท่านจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อกำลังจิตเพิ่มขึ้น จิตรู้ ก็จะมีพลังมากขึ้นในการรับรู้สภาวะธรรมที่ปรากฏขึ้นด้วยกำลังแห่งสัมมาสตินั้น
2....อะไร คือการบ่งบอกว่า กำลังสัมมาสติดีขึ้น >> คำตอบก็คือ ท่านเห็นความคิดได้ เห็นอาการของจิตได้ครับยิ่งท่านฝึกมากขึ้น กำลังยิ่งตั้งมั่น กำลังสัมมาสติยิ่งเห็นความคิด เห็นอาการของจิตได้มากขึ้น โดยที่ความคิด หรือ อาการของจิตจะไม่ลาก จิตรู้ กลับเข้าไปในการปรุงแต่งที่กำลังเกิดขึ้น
3. เมื่อจิตรู้ของท่านตั่งมั่นและมีประสิทธิภาพดีในดังข้อ 2 แล้วต่อไป ผมขอให้ท่านสังเกตดูเป็นระยะ ๆ แต่อย่าเอาแบบเอาเป็นเอาตายเลยครับ ขอให้สังเกตแบบสบาย ๆ ก็พอ ไม่ได้ก็ให้หยุดไว้ก่อน วันหน้าค่อยมาสังเกตใหม่สิ่งที่ผมให้สังเกตก็คือ ขอให้ท่านสังเกตว่า เมื่อความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่งหยุดไปนั้น ท่านเห็นความว่าง ในที่ ๆ ความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่งหยุดไปไหมครับหรือ ผมจะกล่าวอีกอย่างก็คือ เมื่อความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่ง ยังไม่เกิด มันจะมีความว่างอยู่ก่อน แล้ว ความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่ง นั้นแหละ ที่เกิดในความว่าง
อันนี้ ถ้าจะเปรียบทางโลก ก็ให้ท่านนึกถึงการจุดดอกไม้ไฟครับก่อนจุดดอกไม้ไฟ ท่านจะเห็นท้องฟ้าที่มืดมิด ไม่มีอะไร เป็นความว่างอย่างหนึ่ง พอดอกไม้ไฟปรากฏขึ้น ดอกไม้ไฟก็จะปรากฏที่ความว่างอันมืดมิดนี้ การเห็นความว่างนี้ ห้ามจ้องเอานะครับ ให้สังเกตเบา ๆ เท่านั้น เพราะถ้าไปจ้องหา จะเป็นความว่างอีกแบบหนึ่ง ที่เป็นความว่างแบบพวกทำสมาธิแบบฤาษีเขาทำกัน ความว่าง 2 แบบนี้ไม่เหมือนกันเมื่อท่านเห็นความว่างแบบที่ผมบอกที่ว่าไม่จ้องเอา ท่านจะเห็นความว่างทั้ง 2 แบบคือ แบบที่ไม่จ้องเอง และ ความว่างแบบสมาธิแบบฤาษี ถ้าท่านจ้องเอา ท่านเห็นสมาธิแบบฤาษี ท่านจะไม่เห็นความว่างที่ผมบอกไว้
ผมยอมรับครับว่า การเห็นความว่างที่ว่านี้ ไม่ใช่ของง่ายครับและการเห็นได้ต้องเป็นผู้มีกำลังสัมมาสติตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิมาก ๆ เท่านั้น และใจก็ต้องไม่มีความอยากด้วยครับ จึงจะเห็นมันได้ใหม่ ๆ เมื่อท่านเห็นความว่างที่ผมว่าได้นี้ ท่านอาจจะเห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง นี่เป็นเพราะกำลังจิตของท่านยังไม่แกร่งพอ แต่ถ้าแกร่งพอ ท่านจะเห็นได้นาน เห็นได้เกือบตลอดเวลา และถ้าแกร่งมากจริงๆ ท่านจะเห็นได้ตลอดเวลาเมื่อท่านตื่นอยู่
4. เมื่อท่านฝึกต่อไป ท่านจะพบกับสภาวะต่อไปอีก นั้นคือ ความว่าง มันก็ไม่มี มันจะมีแต่ความรู้สึกล้วน ๆ ที่เกิดอยู่ที่เป็นไตรลักษณ์ตลอดเวลา ที่มันเกิดอยู่ลอย ๆ ที่ไม่มีอะไรรองรับ และ ความรู้สึกความเป็นตัวตนของท่านก็ไม่มีด้วย
5. ผมเองไม่อยากนำสิ่งทีเป็นคำในวิชาการมาเขียนนัก เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในวิชาการ ไม่สามารถระบุได้ว่า สิ่งที่เราเห็นนั้นมันตรงกับสิ่งที่กล่าวไว้ในตำราอย่างนั้น แต่เมื่อคราวจำเป็น ผมก็ขอนำมาเขียนไว้ดังนี้แต่ผมขอบอกท่านก่อนว่า สิ่งที่ผมเขียนนี้ มาจากความเข้าใจส่วนตัว ที่เทียบเคียงกับตำรา อาจผิดก็ได้ครับ ดังนั้น ผู้ที่ติดตำราแน่นมาก ๆ ขอให้ผ่านข้อ 5 นี้ไปครับ กรุณาอย่าได้อ่าน เดียวท่านจะหงุดหงิดใจ และมีอคติกับผมอีก
สิ่งทีผมกล่าวถึงในข้อ 4 นั้น ผมเข้าใจว่า มันคือสภาพของจิตที่แท้จริง ที่มันเป็นความว่าง แบบไม่มีอะไร เป็นสุญญตา ครับและการเห็นจิตที่มันเป็นของว่างที่ไม่มีอะไรนี้ จะเห็นได้ด้วยสัมมาญาณไม่ใช่สัมมาสติ ซึ่งสัมมาญาณนี้ต้องผ่านสัมมาสติที่มีกำลังมากมาก่อน และ เห็นไตรลักษณ์ของอาการของจิตมาก่อนอย่างโชกโชนจึงจะเกิดสัมมาญาณนี้ได้ (เรื่องสัมมาญาณนี้ ผมคาดเดาเอานะครับ )เมื่อท่านเห็นสภาวะแห่งจิตแท้ ที่เป็นความว่าง ซึ่งก็คือ ความเป็นสุญญตา ที่มันไม่มีอะไร ท่านก็จะเข้าใจความเป็นอนัตตาแห่งจิตใจที่แท้จริงได้
6. เมื่อท่านเห็นจิตว่างทีไม่มีอะไรในข้อ 4 ได้ และท่านยิ่งฝึกต่อไปอีกท่านจะเห็นจิตว่างปรากฏอยู่ได้นานขึ้น และจะเห็นอาการของจิต หรือ ความคิด หรือ อาการของเวทนาทางกาย ล้วนเกิดในความว่างทีไม่มีอะไรนี้ทั้งสิ้นในการฝึกของท่านเมื่อท่านเห็นจิตว่างได้แล้ว ขอให้ท่านหมั่นฝึกฝนและเห็นว่า "สภาวะธรรมล้วนเกิดลอย ๆ อยู่ในความว่างทีไม่มีอะไรนี่เอง สภาวะธรรมเมื่อเกิดขึ้น แล้วก็จะดับลงไปในความว่างที่ไม่มีอะไรเช่นกัน"เมื่อท่านเห็นความว่างแบบนี้ได้เสมอ ๆ ท่านก็จะยิ่งเข้าใจว่าทุกข์มี แต่ไม่มีผู้รับทุกข์ นั้นคืออย่างไร
7.เรื่องที่ผมเขียนนี้ ผมตั้งใจว่า สำหรับผู้มีความตั้งใจจริงและมีปัญญาที่ต้องการจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏอย่างแท้จริง จะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ว่า เมื่อเขาผ่านขั้นต้นแล้ว ต่อไปการปฏิบัติจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะคำกล่าวที่ออกจากปากของท่านผู้รู้ทุกวันนี้ ที่ว่า "ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ด้วยใจที่เป็นกลางนั้น" มันหยาบมากและไม่ชี้อะไรที่เป็นประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติที่ต้องการจะพ้นทุกข์ได้เลย

รู้-ไม่รู้ ไม่ใช่ฉัน


หลวงปู่เทสก์ เป็นครูผู้จุดประกายปล่อยรู้
เรื่องเกี่ยวกับใจเดิม ใจแท้
ท่านจะพูดแยกให้ฟังเข้าใจง่าย
คือใจ กับ จิต
ถ้าใจน่ะจะอยู่นิ่งๆเปนประภัสสร
ส่วนจิตจะเปนตัวคิด ตัวออกไปเที่ยวรักโกรธหลง
รู้-ไม่รู้ ไม่ใช่ฉัน ทั้งนั้นเลย
ทุกข์สุขเฉย ล้วนแต่ขันธ์ ทั้งนั้นหนา
ฉันไม่มี ทุกๆที่ ทุกเวลา
ทั้งโลกนี้ โลกหน้า ไม่มีฉัน
แต่ก่อนนั้น ฉันนี้ เคยมีอยู่
แต่เมื่อรู้ ความจริง ทุกสิ่งนั้น
เป็นเพียงธาตุ เป็นเพียงขันธ์ ทุกสิ่งอัน
ตั้งแต่นั้น ฉันเริ่มหาย สลายไป
เมื่อฉันหาย กายใจ ก็เริ่มเบา
เมื่อยกเขา ออกจากใจ ไปเสียได้
ไม่มีฉัน ไม่มีเขา เบาสบาย
"อยาก"ทั้งหลาย ก็ไม่มี ที่ไหนเลย

ปล่อยรู้. ทั้งหมดเลย

ปล่อยรู้. ทั้งหมดเลย รู้ชัดสลัดทิ้งไม่อิงอ้าง
รู้ทุกอย่างวางทุกสิ่งที่ได้รู้
ธรรมทั้งหลายสักว่าเห็นสักว่าดู
ไม่มีกู รู้ของกู แต่อย่างใด
รู้-ไม่รู้ ไม่ใช่ฉัน ทั้งนั้นเลย
ทุกข์สุขเฉย ล้วนแต่ขันธ์ ทั้งนั้นหนา
ฉันไม่มี ทุกๆที่ ทุกเวลา
ทั้งโลกนี้ โลกหน้า ไม่มีฉัน
แต่ก่อนนั้น ฉันนี้ เคยมีอยู่
แต่เมื่อรู้ ความจริง ทุกสิ่งนั้น
เป็นเพียงธาตุ เป็นเพียงขันธ์ ทุกสิ่งอัน
ตั้งแต่นั้น ฉันเริ่มหาย สลายไป
เมื่อฉันหาย กายใจ ก็เริ่มเบา
เมื่อยกเขา ออกจากใจ ไปเสียได้
ไม่มีฉัน ไม่มีเขา เบาสบาย
"อยาก"ทั้งหลาย ก็ไม่มี ที่ไหนเลย.

ตายก่อนตาย

ตายก่อนตาย.
.
.
ฉันขอตาย ก่อนที่กาย จะตายจริง
ฉันขอทิ้ง ไม่อิงซบ ภพชาติไหน
ตายก่อนตาย ไม่เสียดาย อะไรๆ
หลับสบาย เมื่อตายจริง มาถึงเอย
เพราะฉันเห็น อะไรๆ ไม่จริงแท้
เห็นมีแต่ อนิจจัง ธรรมเปิดเผย
มีเกิดขึ้น แล้วก็ตาย ทั้งนั้นเลย
ยังไม่เคย เห็นอะไรๆ อยู่ได้นาน
ฉันคงไม่ เสียดาย ที่ตายก่อน
ไม่รีบร้อน ที่ได้ตาย ก่อนตายนั้น
เมื่อได้ตาย ก่อนกายใจ กลายเป็นควัน
ลมหายใจ ที่เหลือนั้น สุดบรรยาย

"รู้นี้ไม่มีฉัน"

"รู้นี้ไม่มีฉัน"
.
.
ไม่ใช่ฉัน แต่เป็นขันธ์ ขอฟันธง
พูดตรงๆ ฉันไม่มี ที่ไหนๆ
มีแต่ธาตุ มีแต่ขันธ์ ปรุงแต่งไป
สุดแท้แต่ เหตุปัจจัย จะให้เป็น
ถึงที่หมาย แล้วหรือยัง ไม่ฟันธง
โลภโกรธหลง นั้นคงมี ให้ได้เห็น
แต่ไม่ใช่ ตัวฉันมี ตัวฉันเป็น
ไม่ใช่เล่นลิ้นคำ จำนรรจา
ธรรมที่พบ ประสพเห็น เป็นอย่างนี้
ทุกๆที่ ไม่มีฉัน ให้กังขา
เพราะเห็นปฏิจจสมุปบาท เป็นวิชชา
ธรรมสัมมา จึงได้พบ ประสพเอย

ปล่อยรู้

คนไม่มีรู้(ปล่อยรู้)
O ปล่อยทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่ใจรู้
ไม่พันตู คลุกเคล้าปน จนใจเปอะ
ใจเดิมๆ มันใส ไม่มีเลอะ
ปล่อยรู้เถอะ เจอะใจว่าง สว่างใส
Oแล้วจะปล่อย รู้ได้ อย่างไรกัน
วานแบ่งปัน บอกหน่อย จะได้ไหม?
ถ้าอยากรู้ ก็ต้องยอม พร้อมพลีกาย
ชีพถวาย สูงสุด เป็นพุทธบูชา
Oพุทธพจน์ พุทธธรรม นำมาคิด
ย้ำเตือนจิต เตือนใจ เเสวงหา
ทุกสำนัก ศึกษาเปรียบ เทียบตำรา
ใช้กาลามสูตร พิสูจน์ไป
Oเหตุและผล เป็นอาวุธ สุดสำคัญ
ใช้ฟาดฟัน แผ่วถาง ทางน้อยใหญ่
มรรคแปด โพชฌงค์ ตัดตรงไป
ไม่หวั่นไหว ไม่ยอมแพ้ ได้แลเห็น
.
.
Oเอาผัสสะ ทุกอย่าง เป็นครูสอน
เอานิวรณ์ ฌานญาณ เป็นเครื่องเล่น
เวทนา ตัณหา เปรียบโคลนเลน
ถ้ากระเซ็น ถูกใจ ให้รีบล้าง
Oไม่หลงเชื่อ สิ่งใด ทั้งหมดสิ้น
เสียงได้ยิน กลิ่นได้ดม ตาชมร่าง
ลิ้นได้รส โผฐฐัพพะ สัมผัสวาง
ธรรมมารมณ์ สมเอ่ยอ้าง จ้างไม่เชื่อ
Oยิ่งรู้ไป ใจยิ่ง ไม่รับรู้
ให้ทนดู จนใจบ่น กูละเบื่อ
สรรพสิ่ง เกิดแล้วหาย ตายเป็นเบือ
มันเหลือเชื่อ ตัวเราตาย ได้ทั้งวัน
Oภพชาติ เกิดดับ นับไม่ถ้วน
สังขารชวน ล้วนปรุงแต่ง เลยทั้งนั้น
อวิชชา ต้นกำเนิด เกิดก่อนครรถ์
สติกั้น ปัญญาแทง ให้แท้งซะ
.
.
Oอย่าให้ก่อ กำเนิด เกิดวิญญาณ
จะเป็นฐาน สร้างรูปนาม ลามอายะตะนะ
ถึงตอนนั้น มันเริ่มมี ผีผัสสะ
ทีนี้แหละ ผีเวทนา ตัณหาดิ้น
Oอุปทาน พาลยึด เป็นตัวกู
ทั้งตาหู จมูก กายใจลิ้น
สร้างภพชาติ ว่ายแหวก แหกโบยบิน
ไม่จบสิ้น ชาติชรา โศกาครวญ
Oเป็นเส้นทาง ลางๆ บอกกับท่าน
ที่ตัวฉัน เคยเดินผ่าน ไม่ผันผวน
ใครจะเชื่อ หรือไม่เชื่อ ไม่กล้าชวน
แค่สำนวน ปรุงแต่งผ่าน ให้อ่านกัน
Oเมื่อท่านอ่าน วานท่าน ปล่อยรู้เสีย
ได้ไม่เพลีย เสียเวลา มารู้ฉัน
ฉันจะรู้ ไม่รู้ ให้จบกัน
เพราะว่าฉัน นั้นมันคน ไม่มีรู้
.
.
Oแค่คนโง่ ดักดาน สันดานแย่
เพราะมัวแต่ ปล่อยรู้หมด น่าอดสู
ฉีกตำรา เผาเล่น เซ่นไหว้ครู
ไม่มีผู้ ใดกล้ารับ นับเป็นศิษย์
Oไม่กล้าตู่ ผู้ใด เป็นอาจารย์
มาเป็นฐาน ขานรับ กับความคิด
ต้องขอโทษ หากทำให้ ใครหงุดหงิด
สัญญาฉัน. คงวิปริต ผิดเพี้ยนเอย
ปล่อยรู้

ทุกข์เพราะมีกู

ทุกข์เพราะมีกู
ทุกความเชื่อ มีสิทธิ์ทุกข์ พอๆกัน
เมื่อเชื่อนั้น มันพัวพัน ตัณหาอยู่
ไมว่าพุทธ คริสต์อิสลาม พราหมฮินดู
ยังมีกู ยังมีสิทธ์ ทุกข์พอกัน
ทุกข์นั้นเกิด จากความอยาก หากกำหนด
มันเป็นกฏ สากล ชนทุกชั้น
พออยากได้ ไม่อยากได้ ทุกข์ทันควัน
ยังไม่ทัน ตั้งเนื้อ ตั้งตัวเลย
เชื่อโลกหน้า มี-ไม่มี ทุกข์ไม่ดับ
แม้นนั่งหลับ หรือลืมตา ดูเฉยๆ
ทุกข์มีสิทธ์ สะกิดแอบ แนบชิดเชย
กว่าจะรู้ตัว ก็เสวยทุกข์ แล้วเต็มคำ.

น่าขัน " อนัตตา



น่าขัน " อนัตตา "
" มันเป็นการน่าขัน ที่ไม่มีอะไรน่าขันเท่า.
น่าขัน ที่ต้องการจะให้มีตัวตนที่แท้จริงเป็นผู้หลุด
แล้วหลุดไปมีตัวตนที่แท้จริงอยู่.
ถ้าเราบอกเขาว่า "จงวางให้หมด"
เขาก็รับคำ แล้วย้อนถามเราว่า
" อ้าว ! วางหมดแล้ว ต่อจากนี้ไปจะให้ยึดอะไรอีกเล่า ?"
มันจึงน่าขัน.
หรือท่านจะเห็นเป็นอย่างไร ?
น่าขันที่สุด ก็คือ มีการสอนว่ามี'ตัวตน'ที่แท้จริงอยู่ในเบญจขันธ์นี้ แต่มิใช่ตัวเบญจขันธ์เอง.
"ตัว" ตัวนั่นแหละ จะเป็นผู้เดินไปตามอริยมรรคและเป็นผู้หลุดพ้นออกไปมี'ตัว'อยู่อย่างบริสุทธิ์แท้จริง.
ฟังดูเถิด. ตัวหลุดไปมีตัวอยู่อย่างบริสุทธิ์แท้จริง เป็นตัวเดียวกับนิพพาน หรืออสังขตธรรม หรือโลกุตตรธรรม.
จงมองดูตัณหาอันเหนียวแน่นของคนที่กอดรัด'ตัว'เพราะต้องการตัวเถิด. เพราะปล่อยความเห็นว่า'ตัว'ออกเสียไม่ได้ จึงต้องถูกมัดติดอยู่กับหลักตออันหนึ่ง ซึ่งจะหลุดออกมาไม่ได้ เพราะความไม่สร่างแห่งความต้องการตัวของตนเอง.
"ข้อคิดอิสระ"
พุทธทาสภิกขุ
๒๒ กันยายน ๒๔๘๕

หาธรรมได้จากทุกข์

หาธรรมได้จากทุกข์
o ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม หรอกนะท่าน
เพียงแค่อ่าน ไม่อาจทำ ให้บรรลุ
ถ้าเห็นทุกข์ ก็เห็นธรรม อันเอกอุ
จึงทะลุ ทะลวงธรรม กำแพงได้
o ไม่มีทุกข์ มรรคผล ก็ไม่มี
นิโรธมี มันจึงมีสมุทัย
ธรรมต่างๆ ล้วนพึ่งพิง อิงอาศัย
เป็นปัจจัย อาศัยเอื้อ เกื้อหนุนกัน
o อยากได้ผล แต่ไม่ทน ดูรู้ทุกข์
อยากได้สุข ทุกเช้าเย็น เป็นอรหันต์
เอาแต่สุข ทุกข์ไม่เอา มันเอาได้ที่ไหนกัน
มีแต่ฝัน มีแต่ตรึก นึกเอาเอง
o ความยึดมั่น ถือมั่น นั่นแหละทุกข์
ว่านี้สุข นี้ไม่สุข กำหนดเพ่ง
สร้างตำรา วิธีค้น อลเวง
ของข้าเจ๋ง ของเอ่งเจ๊ง โล้งเล้งดัง
o สิทธัตถะ สละคิด ไม่ติดพัน
ทุกอาจารย์ ทุกสำนัก ไม่ปักฝัง
อย่างนี้ใช่ นี้ไม่ใช่ ใจไม่ฟัง
เดินหันหลัง ขึ้นสู่ฝั่ง สุญญตา
o กำหนดรู้ ดูทุกข์ ที่จิตใจ
มันเกิดได้ เพราะอะไร อย่างไรนา
เมื่อเฝ้าดู มันจึงเห็น อวิชชา
สร้างตัณหา สร้างมายา อุปาทาน
o มันไม่มี ตัวตน คนที่ไหน
เหตุปัจจัย ปรุงแสดง แต่งธาตุขันธ์
รูปเวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ
ผูกประสาน ถักใยเห็น ให้เป็นคน
o อย่างนี้มี อย่างนี้ มันจึงมี
มันไม่มี สิ่งใดๆ ให้ฉงน
มันไม่มี ผีหรือเปรต วิเศษคน
มีแต่ผล มีแต่เหตุ เกิดดับอยู่
o มัชฌิมา ทางสายกลาง สว่างล้ำ
มันคือธรรม ที่พ้นไป จากของคู่
มี-ไม่มี ใช่-ไม่ใช่ รู้-ไม่รู้
เมื่อเฝ้าดู ก็รู้เห็น มันเป็นเช่นนั้นเอง
o มันเห็นทุกข์ ทุกๆอย่าง ตอนที่อยาก
ยังไม่อยาก ก็ไม่ทุกข์ ไม่คร่ำเคร่ง
พออยากเกิด ทุกข์มันก็ เริ่มบรรเลง
เริ่มเขย่ง เริ่มกระโดด โลดแล่นไป
o อยากมันเกิด ตอนที่รูปกระทบตา
เสียงภาษากระทบหู รู้คิดไหว
กลิ่นหอมหวน จมูกดม ชมชอบใจ
กายลูบไล้ จิตกระเส่า เร้าอารมณ์
o “คิด”เริ่มปรุง สิ่งที่รับ รู้สัมผัส
รูปขยับ เวทนาตัณหาผสม
เริ่มอยากได้ ไม่อยากได้ ผูกเงื่อนปม
ทุกข์ระทม เริ่มก่อเกิด กำเหนิดภพ
o เห็นทุกข์ได้ ก็ได้ธรรมอันล้ำเลิศ
จิตประเสริฐ รู้เห็นธรรม ผ่านประสพ
ใจสะอาด ใจสว่าง ทางค้นพบ
กราบเคารพ นบน้อมธรรม พุทธบูชา
o โปรดอย่ากลัว ความทุกข์ เลยนะท่าน
เพราะทุกข์มัน ซ่อนนิพพาน นะท่านขา
โปรดเฝ้าดู โปรดเฝ้ารู้ ทุกเวลา
ทุกข์จะพา ให้สมหวัง ถึงฝั่งเอย

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ชีวิตกับวิญญาณ โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 23 ก.ค. 58

ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

อริยชีวิต โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 7 ส.ค. 58



ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

ตั้งสติ โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 14 ส.ค. 58

ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

อกาลิโก โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 22 ส.ค. 58



ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

กิจในอริยสัจ4 โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 19 มี.ค. 2558



ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี








อนัตตา โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 29 ส.ค. 58

ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

กองทุกข์ กองทุน โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 27 ก.ย. 58

ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

นิพพานสูตร โดย หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร วันที่ 17 ส.ค. 58



ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

กายคือแดนธรรม โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร


ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

สติ ปัญญา ญาณ โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร วันที่ 13 ก.พ. 2558

ถ่ายทอดสดกิจกรรมฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วัดผาซ่อนแก้ว ความจริงไม่มีใครทุกข์





การถ่ายทอดเรื่องราวของเหตุปัจจัย ที่ทำให้เข้าใจหลักในการดำเนินชีวิต โดยชี้ให้เห็นถึงวงเวียนแห่งทุกข์ ในหลักของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเริ่มต้นโดยความไม่รู้ตามความเป็นจริง โดยทางออกนั้นคือความเข้าใจในเหตุ-ปัจจัย ที่มาที่ไปของความทุกข์ ในหลักของวิสุทธิ ๗

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รายการภาษาธรรมภาษาใจ ปี2556-7

          รายการภาษาธรรมภาษาใจ ย้อนหลังหลายๆปีที่ผ่านมาที่เคยออกอากาศผ่านมาแล้ว
ท่านสามารถดาวโหลดเสียงธรรมะเก่าๆที่เคยออกอากาศทางสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม คลื่น fm 100.25 mhz คลื่นพุทธบูชา

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ดาวโหลดหรือรับฟังรายการปี 2559

ต่อไปนี้อาตมาจะนำเสนอแนวปฏิบัติธรรมต่างๆผ่านทางเว็ปบล็อก
อาจจะมีประโยชน์ต่อท่านที่ฝึกมาแล้วติดขัด จิตไปสามารถก้าวข้าม
ความหลงในตัวรู้ ตัวผู้เห็น 

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons