มีผู้ขอให้ผมแนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ตั้งแต่เริ่มต้นเลยว่า จะให้ปฏิบัติอย่างไร
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มาจากประสบการณ์ส่วนตัวล้วน ๆ ที่ผมจะฝากไว้ท่านมือใหม่ ที่ล้มเหลวอยู่เสมอในการปฏิบัติธรรมไว้พิจารณาผมอยากจะบอกท่านที่เข้ามาอ่านก่อนว่าถ้าท่านยังติดหนึบเนียวแน่นดังกาละแมติดฟันในตำราละก็ อย่าอ่านต่อเลยครับ เพราะจะทำให้ท่านมีอคติกับผมไปเปล่า ๆ เมื่อท่านมีอคติอย่างเดียวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าท่านปรามาสต่อผมต่อ นี่ซิครับ ผมไม่ต้องการให้บทความต่าง ๆ ที่ผมเขียนเพื่อให้ท่านดับทุกข์ กลับนำท่านลงสู่ทุกข์เสียเอง สิ่งใดมีคุณอนันต์ ก็จะมีโทษมหันต์เช่นกัน ถ้าใช้ไม่เป็นเชิญเข้าเรื่องได้ครับ สำหรับสาธุชนมีใจเป็นกลางที่อยากทราบประสบการณ์ของผม
****************************
1. วิปัสสนาจะไม่ได้ผลอะไรเลย ถ้าไม่มี .จิตรู้. ที่แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 เป็นผู้สังเกตการณ์ความไม่เที่ยงในขันธ์ 5
>> นี่คือกุญแจหลักสำหรับการเริ่มต้นการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ครับ
สิ่งแรกสุดที่ท่านต้องกระทำ คือ ศีกษาให้เข้าใจก่อน ว่าวิธีการที่จะฝึกฝนเพื่อให้ .จิตรู้. แยกตัวออกจากขันธ์ 5 นั้นมีวิธีการปฏิบัติฝึกฝนอย่างไร ไม่ใช่ว่า ท่านเห็นเขา นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ เดินจงกรม บริกรรมพุทโธ แล้วก็ปฏิบัติลงไปเลยโดยที่ท่านไม่เข้าใจเลยว่า การปฏิบัติที่ท่านเห็นเขาทำกันนั้น อย่างไรจึงได้ผล
ผมไม่อยากนำคำว่า สมถะ วิปัสสนา มาพูดให้ท่านสับสนในการฝึกฝนการปฏิบัติว่าอย่างไรคือสมถะ อย่างไรคือวิปัสสนา แต่ผมขอนำคำว่า การปฏิบัติคือการฝึกฝน สัมมาสติ ให้ตั้งมั่นจนเป็นสัมมาสมาธิ เมื่อตั้งมั่นได้แล้ว จิตรู้ เขาจะแยกตัวออกมาสังเกตขันธ์ 5 ของเขาเองโดยที่ท่านไม่มีสิทธิไปบงการอะไรในตัว .จิตรู้. ได้เลย เมื่อ .จิตรู้.ออกมาสังเกตอาการของขันธ์ 5 เอง นี่แหละครับ วิปัสสนา ได้เริ่มต้นแล้ว
2. แล้วจะปฏิบัติอย่างไรให้ .จิตรู้.แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 ได้
>> ท่านต้องฝึกฝนครับ ฝึกฝนสิ่งที่ผมเรียกว่า สัมมาสติ นั้นเองหลักการฝึกฝนสัมมาสติ ก็คือ
2.1 การที่รู้สึกตัว ที่สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่เกร็ง เป็นธรรมชาติเวลาฝึกอย่าให้มีความรู้สึกว่าต้องทำ แต่ให้ฝึกด้วยความรู้สึกว่า กำลังลองทำเล่น ๆ
2.2 ไม่ต้องการอยากรู้อะไร
ท่านอ่านถึงข้อ 2.2 ก็จะเกิดแอบงงได้ เพราะสำนักต่าง ๆ ที่มีสอนการปฏิบัติธรรมทั่วไปในประเทศไทย บอกว่า ต้องรู้ ต้องกำหนด แต่ผมกลับบอกว่า ไม่ต้องการอยากรู้อะไร ผมเขียนผิดหรือเปล่าผมขอเรียนท่านว่า ไม่ผิดหรอกครับ แต่ขอให้ท่านอ่านต่อไปและทำความเข้าใจตรงนี้ให้ดีมาก ๆ สักหน่อย อ่านซ้ำหลาย ๆ รอบก็ยิ่งดีครับ
ในข้อ 2.1 ผมบอกว่า ท่านต้องรู้สึกตัว ที่สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่เกร็ง เมื่อท่านรู้สึกตัวอยู่ สิ่งที่ท่านจะพบต่อมาก็คือ ตาท่านจะมองเห็นอยู่ หูก็จะได้ยินอยู่ ร่างกายก็รู้สัมผัสได้อยู่ และอื่น ๆ ในระบบปราสาทในร่างกายของท่านทำงาน ทั้งหมดนี้ ต้องเป็นการรู้ที่เป็นไปเอง (ย้ำชัด ๆ นะครับ ว่า ต้องเป็นการรู้ที่เป็นไปเอง ) ทีเป็นดังนี้เพราะท่านรู้สึกตัวอยู่นั้นเอง ผมจะใช้คำว่า การรู้ที่เป็น multitasking ก็ได้ (เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันที่ทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน ) (แต่ถ้าท่านยึดตำรา ตำราว่า การรู้จะรู้ได้ทีละอย่าง นั้นคือตำรา ที่ผมบอกแล้วว่า ถ้าท่านยึดติดตำรา อย่าเข้ามาอ่านเลย )
ผมขอให้ท่านทดลองด้วยตัวเองก็ได้ในตอนนี้ ขอให้ท่านรู้สึกตัวอยู่อย่างสบาย ๆ ตาท่านมองเห็นใช่ใหม่หูท่านก็ได้ยินใช่ใหม ถ้ามีลมพัดมา หรือ ท่านเปิดแอร์หรือพัดลม แล้วลมพัดมาโดนกาย ท่านก็รู้สึกได้ใช่ใหม ท่านจะเห็นว่า การรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ท่านไม่ได้ทำอะไรเลย เพียงแต่รู้สึกตัวธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง และรู้ได้พร้อมกันหลาย ๆ อย่างในคราวเดียวกัน
ผมขอให้ท่านสังเกตต่อไปว่า การรู้ที่มาจากการรู้สึกตัวนี้ จะเป็นการรู้ที่เบา ๆ และก็บางทีก็รู้ บางทีก็จะไม่รู้ แสดงว่าการรู้ของท่านยังไม่ต่อเนื่อง นี่เพราะท่านยังเป็นมือใหม่ที่มีกำลังสัมมาสติอ่อนนั้นเอง แต่ถ้าท่านฝึกฝนต่อไป จนสัมมาสมาติมีกำลัง การรู้ของท่านจะต่อเนื่องได้มากขึ้น
ปัญหาของมือใหม่ที่เกิดเสมอ ๆ เพราะได้รับคำสอนว่า การรู้ต้องรู้ชัด
มือใหม่ก็จะใช้วิธีการจ้องไปยังจุดที่ต้องการจะรู้ชัด เช่น ผู้ที่ฝึกลมหายใจ ก็ได้รับคำสอนว่า ให้ไปจ้องที่ปลายจมูกเพื่อจะรู้ลมให้ชัด ผู้ที่เดินจงกรมก็จะจ้องที่เท้าเพื่อที่จะรู้การกระทบที่เท้าให้ชัด นี่เป็นการขัดแย้งกับข้อ 2.2 ที่ผมเขียนไว้อย่างจัง เพราะการอยากรู้โดยการจ้องที่ปลายจมูก หรือ ที่เท้า ล้วนเป็นกระทำด้วยความอยาก อันเป็นตัณหา ในอริยสัจจ์ 4 ข้อ 2 พระพุทธองค์ก็สอนไว้ชัดว่า ตัณหา คือต้นเหตุแห่งทุกข์ ต้องละ มัน แต่นี่ท่านที่ไปจ้องปลาย จ้องเท้า การจ้องเป็นการไม่ได้เดินตามคำสอนนี้เลย
เมื่อท่านเป็นมือใหม่ ที่เริ่มต้นด้วยการฝึกรู้ลมหายใจ จะเป็นสิ่งทียากลำบากมากที่จะรู้ลมหายใจ โดยการไม่จ้องลมส่วนมากคนใหม่ ๆ ที่ผมแนะนำการปฏิบัติ ผมจะให้เขาฝึกด้วยกายานุปัสสนาที่ไม่ใช้ลมหายใจ เพราะการรู้ลมหายใจโดยไม่จ้องลม เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากกว่าวิธีอื่น ผมมีเขียนเรื่องการฝึกกายานุปัสสนาไว้ที่เรื่องเมื่อท่านมือใหม่ ฝึกกรรมฐานอื่นที่ไม่ใช่ลมหายใจไปมาก ๆ เช่นสัก 1 ปี กำลังสัมมาสติของท่านจะแข็งแรงขึ้น และสามารถรู้ลมหายใจได้เองโดยไม่ต้องจ้องลมหายใจเลย ท่านก็สามารถฝึกลมหายใจได้เองต่อไป
3. ทำไม ผมจึงให้เริ่มที่กายานุปัสสนา ไม่ใช่การดูจิต อย่างทีตอนนี้กำลังนิยมกัน
>> อย่างที่ผมได้เขียนไว้ข้างต้นแล้ว การปฏิบัติจะได้ผล ก็ต่อเมื่อ .จิตรู้. เขาแยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 แล้วเท่านั้น ถ้าท่านเป็นมือใหม่ที่จิตรู้ยังไม่แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 แล้วท่านไปดูจิต มันจะไม่ได้ผลครับเพราะท่านจะไม่เห็นอาการของจิต เพราะการเห็นอาการของจิตนั้น จะต้องเป็นการเห็นด้วย .จิตรู้. จึงจะได้ผลแห่งวิปัสสนาถ้าการรู้อาการของจิตที่ไม่ใช่ จิตรู้ จะเป็นการนึกคิดเอา อันเป็นสัญญาและสังขาร
การฝึกกายานุปัสสนาที่ถูกต้องตามหลักการที่ผมให้ไว้ในข้อ 2 เมื่อฝึกไปบ่อย ๆ ฝึกมาก ๆ ก็จะมีขบวนการภายในที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ ที่ท่านมองไม่เห็น นั้นคือ สัมมาสติมีการพัฒนากำลังมากขึ้น และ จิตรู้ ก็พร้อมจะมารู้เห็นการทำงานของขันธ์ 5 ได้ตามความเป็นจริง อันเป็นการเจริญวิปัสสนาด้วย จิตรู้
แนะนำอ่านเรื่อง
ทำไมผมสอนแต่กายานุปัสสนา ไม่สอนการดูเวทนา ไม่สอนการดูจิต ไม่สอนการดูธรรม แล้วจะครบสูตรได้อย่างไรถ้า "จิตรู้" ยังไม่เกิด จะไม่เห็นไตรลักษณ์ที่แท้จริงกายานุปัสสนา ทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง
4. จะวัดผลแห่งการปฏิบัติได้อย่างไรว่าได้ผลแล้ว
>> เมื่อ จิตรู้ แยกตัวออกมาจากขันธ์ 5 แล้ว จิตรู้ เขาจะทำงานของเขาเอง ใหม่ๆ จิตรู้ ยังไม่มีพลังมากพอ การรับรู้ขันธ์ 5 ของจิตรู้ก็อาจดีบ้าง ไม่ดีบ้าง อันเป็นธรรมดา ขอให้ท่านฝึกฝนต่อไป แบบเดิม ที่ผมเขียนข้อ 2 เพื่อให้จิตรู้มีกำลังมากขึ้นไปอีก ยิ่งฝึกมากแบบข้อ 2 จิตรู้ ยิ่งตั้งมั่น ยิ่งมีกำลังมากขึ้น เมื่อจิตรู้ยิ่งมีกำลัง การที่จิตรู้พิจารณาขันธ์ 5 เองยิ่งถี่มากขึ้น ( ผมขอให้ท่านเข้าใจว่า คำว่า พิจารณาขันธ์ 5 นี้ ต้องเป็นการพิจารณาเองด้วยจิตรู้เท่านั้น จึงจะได้ผล การทีท่านไปคิดเอาเองว่า นี่เป็นไตรลักษณ์ ด้วยการใช้ความคิด ไม่ใช่การพิจารณาธรรมอันเป็นขบวนการแห่งวิปัสสนา ) เมื่อ จิตรู้ พิจารณาขันธ์ 5 เองบ่อย ๆ จิตรู้ ก็จะมีความรู้มากขึ้นเอง
แต่ท่านจะรู้ด้วยตัวเองว่า ทุกข์ท่านได้ลดลงไปจากเดิมซึ่งผมขอแนะนำให้ท่านวัดผลการปฏิบัติด้วยวิธีที่ผมเขียนไว้คือการวัดผลอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเองก็คือการที่ท่านเผลอสติที่ลดลงไปกว่าเดิม ยิ่งท่านฝึกยิ่งมากการเผลอสติก็ยิ่งลดลง จนประหนึ่งว่า ท่านมีสติตลอดเวลาในขณะที่ท่านตื่นอยู่ ท่านทำอะไร ก็มีสติอยู่เสมอ นั้นเองยิ่งท่านมีสติต่อเนื่องมากเท่าใด ทุกข์ยิ่งลดลงไปเรื่อยๆ นี่เป็นผลจากปัญญาที่เกิดขึ้นในจิตใจของท่านที่ลดละ ตัณหา อย่างเป็นอัตโนมัตินั้นเอง
5. บทสรุป
ผมหวังว่า สิ่งที่ผมเขียนนี้ จะทำให้เท่ามองภาพออกถึงการปฏิบัติว่าท่านจะดำเนินตัวเองอย่างไร เพื่อให้เข้าสู่ทางแห่งการพ้นทุกข์ผมได้เขียนเรื่องการปฏิบัติที่เป็นพืนฐานไว้มากมาย หลายเรื่องในการธรรมปฏิบัติ ขอให้ท่านทยอยอ่าน และยิ่งเมื่อท่านได้ฝึกฝนไปเป็นระยะและมาอ่านทวนเป็นระยะ จะทำให้ท่านเข้าใจการปฏิบัติได้มากขึ้น
ผมขอเน้นย้ำแก่ท่านมือใหม่ว่า การปฏิบัติในข้อ 2 นั้น ท่านไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้่น ท่านฝึกสัมมาสติไปได้แก่กล้าแค่ไหนก็ตาม ท่านก็ยังคงใช้การฝึกแบบข้อ 2 อยู่ดีอนึ่ง เมื่อท่านฝึกไปเรื่อย ๆ จะมีสภาวะธรรมบางอย่างปรากฏขึ้นแก่ท่่านให้รู้ได้เป็นระยะ ๆสภาวะธรรมเหล่านี้ ถ้าท่านเกิดหลงไปว่า ฉันได้ก้าวหน้าแล้ว การปฏิบัีติต้องไปปรัีบเปลี่ยนวิธีการในข้อ 2 และจะก้าวหน้าต่อไป ถ้าท่านคิดอย่างนี้แล้วละก็ผมขอบอกท่านว่า ท่านหลงทางครับ เพราะนั้นจะเป็น วิปัสสนูกิเลส ที่เกิดขึ้นแก่ท่านท่านเกิดหลงมันว่ามันเป็นจริง
ธรรมแห่งองค์พระศาสดาได้ตรัสสอนไว้ว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา นี่คือความจริงแท้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ท่านจะยิ่งเข้าใจคำนี้มากขึ้นทุกขณะจิต ยิ่งท่านมีกำลังสัมมาสติยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปทุกที ทุกทีธรรมปฏิบัิติ ไม่เหมือนเลี้ยงเด็กอ่อน ที่ต้องเปลี่ยนชนิดของนมผง ชนิดอาหาร ตามอายุเด็กธรรมปฏิบัตินั้น ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตใจ ที่ไร้กิเลส ตัณหา แต่อุดมด้วยสัมมาสติของแท้มีอย่างเดียว ไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างไรทั้งสิ้นในการฝึกฝนฝึกเพื่อให้เป็นปรกติของจิตใจ