วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี มือใหม่ป้ายแดง ตอนที่ 5



เมื่อเดินตามวิถีแห่ง.มรรค. .ผล.ก็จะเกิดตามมาเอง
ผมเคยเขียนเรื่อง อริยสัจจ์ 4 ไว้หลาย ๆ ที่ในบทความ ของผม ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่า อยู่ที่ไหนกันบ้าง แต่ถ้าท่่านที่เพิ่งเข้ามาอ่าน และไม่เคยอ่านเรื่องเดิมที่ผมเขียนไว้แล้ว จะอ่านใหม่ในตอนนี้ ผมจะเขียนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านมองภาพรวมของ อริยสัจจ์ 4 ได้
คำถามในใจท่าน ....ทำไมต้องมองภาพรวมของอริยสัจจ์ 4 ออกคำตอบจากใจผม.... การมองภาพรวมของอริยสััจจ์ 4 นั้นจะทำให้ท่านเข้าใจวิถีทางแห่งการพ้นทุกข์ตามหลักการของอริยสัจจ์ 4 อย่างถูกต้อง เมื่อท่านเข้าใจหลักการและภาพรวมแล้ว ท่านจะปฏิบัติต่อไปได้ถูกต้องแบบไม่หลงทาง เมื่อไม่หลงทาง ก็คือถูกทางตามอริยสัจจ์ 4 เมื่อถูกทางก็จะถึงปลายทาง คือ การสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้
คำถามในใจท่าน .... ที่สอน ๆ กันตอนนี้ไม่ถูกทางหรืออย่างไร คำตอบในใจผม .... ที่สอนกันตอนนี้มีทั้งถูกทางและไม่ถูกทาง แต่ที่ไม่ถูกทางจะมีจำนวนที่มากกว่า และค่อนข้างแพร่หลายในประเทศไทย การแพร่หลายนี้ จะทำให้คนที่ยังไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติหลงเข้าไปเป็นพวกด้วย และยิ่งขยายตัวมากขึ้น มีการตอบตำถามแนะนำสิ่งผิดทางมากมายทางอินเตอร์เนท ทั้ง ๆ คนเองก็ยังไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ตนเชื่อนั้นคือ ทางสายผิด เมื่อมีการบอกต่อกันไปมาก ๆ สิ่งที่ผิด ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปในความเห็นของคนไทย
คำตอบในใจผม .... การเขียนขัดแย้งในอินเตอร์เนทไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น คนที่มาเขียนไว้จะไม่เชื่อไม่ยอมรับความเห็นที่ชัดแย้งกับความเชื่อของเขาอยู่แล้ว และจำนวนคนทีมาเขียนในแนวทางที่ผิดมีมาก เมื่อคนไม่รู้เข้ามาอ่าน เมื่อเห็นว่าคนส่วนใหญ่บอกว่าเป็นสิ่งนี้ ก็จะเชื่อตามจำนวนคนที่บอก เรื่องนี้เปรียบได้กับในสมัยโบราณ ที่คนเืชื่อว่าโรคแบน พอกาลิเลโอ ค้นพบว่าโลกกลม และออกมาประกาศ ก็ไม่มีใครเชื่อเขาเลย นี่คือ เสียงจากหมู่มาก ที่น้อมนำคนที่ไม่รู้เรื่องเข้าเป็นพวกได้ คำตอบในใจผม ... นี่คือสิ่งทีผมได้ทำแล้ว บอกวิธีการปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยสัจจ์ 4 ตามหลักของพุทธศาสนา ที่ผมขอชักชวนให้ท่านอ่านและพิจารณาอีกครั้งด้วยปัญญาของท่านเอง
เชิญอ่านได้ครับ....
ในอริบสัจจ์ 4 นักเรียนชั้นมัธยมก็เรียน คนทั่้ว ๆ ก็รู้ว่า ประกอบด้วยองค์ 4 คือ ทุกข์ / สมุทัย / นิโรธ / มรรค
คำถามที่ 1. ทำไมต้องเริ่มที่ ทุกข์ ในเมื่อในหลักวิทยาศาสตร์ ต้องแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย คำตอบ ..... ที่อริยสัจจ์ 4 ต้องเริ่มที่ทุกข์ เพราะว่า ปุถุชนโดยทั่้ว ๆ ไปจิตใจมืดบอดด้วยปัญญาเพราะถูกโมหะ(โมหะ เป็นชื่อของกิเลสตัวหนึ่ง) เข้าควบคุมจิตใจไว้ ทำให้ปุถุชนมองไม่เห็นสาเหตุแห่งทุกข์ คือ กิลส ตัณหา อย่างแท้จริงแต่ปุึถุชน จะมองเห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของเขาได้ นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งความคิดที่จะปฏิวัติตนเอง ที่จะหนีจากกองทุกข์นั้น
ทุกข์ ในอริยสัจจ์จึงเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการทั้งปวง ทั้งด้าน 1. เป็นแรงชักนำ (motivation) 2. เป็นสิ่งที่เมื่อรู้แล้ว จะเป็นการพัฒนากำลังจิตให้เข็มแข็ง เพื่อสามารถจะต้านทานแก่กิเลสได้ในระยะแรก ๆ และสามารถเห็น กิเลส ตัณหา ซึ่งก็คือ สมุทัย ได้ในะระยต่อไป เมื่อจิตใจมีพลังเข็มแข็งมากขึ้นในระยะต่อไปอีกด้วย
คำถามที 2. ทำไมต้องนำ สมุทัย เป็นข้อที่ 2 คำตอบ.... สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งก็คือ กิเลส ตัณหา นั้นเอง ดังที่กล่าวไว้แล้วในข้อ1 ว่า ในปุถุชนที่ไม่ได้ฝึกฝนตามหลักอริยสัจจ์ 4 จะมองไม่เห็นกิเลส ตัณหา เพราะถูกโมหะุเข้าครอบครองจิตใจจนมืดบอด เมื่อปุถุชนฝึกฝนให้เห็นทุกข์อริยสัจจ์อยู่เนือง ๆ จิตใจก็จะมีพลังและจะเห็นกิเลส ตัณหา อันเป็นสมุทัยได้ในระยะต่อมา
คำถามที่ 3 ทำไมต้องนำ นิโรธ เป็นข้อที่ 3 คำตอบ .. ผลแห่งการเห็นทุกข์อริยสัจจ์ในข้อ 1 ทำให้เห็น กิเลส ตัณหาในข้อ 2 เมื่อเห็นกิเลส ตัณหาได้ กิเลส ตัณหาย่อมดับไปเองตามหลักธรรมชาติแห่งไตรลักษณ์ เมื่อกิเลส ตัณหาดับไปแล้ว ทุกข์ใจก็จะไม่กิด ซึ่งก็คือ นิโรธ อันเป็นสภาพในขณะที่จิตใจไม่มีกิเลส ตัณหา
คำถามที่ 4 ทำไมต้องนำ มรรค เป็นข้อที่ 4 คำตอบ.. ข้อ 1 /2 / 3 เป็นเหมือนคำอธิบายหลักการการดับทุกข์ของอริยสัจจ์ 4 เมื่อได้เข้าใจหลักการแล้วและเกิดศรัทธาแล้ว ก็ให้ดำเนินการในข้อ 4 ก็คือวิธีการลงมือปฏิบัติ เมื่อได้ลงมือปฏิบัติตามหลักการในข้อ 1 / 2 / ก็จะเห็นผลในข้อ 3 ได้เอง
มรรค ในข้อ 4 ความเข้าใจในการปฏิบัติ ก็คือสัมมาทิฐิ การปฏิบัติสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปฏิบัติ ถ้าเข้าใจผิดเสียแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เกิดผลแห่งนิโรธได้เลย
เมื่อผู้ปฏิบัติดำเนินครบ 4 ข้อ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และเห็นผลแห่งอริยสัจจ์ คือ นิโรธ ได้แล้ว เขาย่อมเชื่อมั่นในคำสอนแห่งพุทธศาสนาอย่างไม่ลังเลในใจอีกเพราะเห็นได้เห็นจริง ได้พิสูจน์จริงดังที่สอนแล้วทุกประการเมื่อเขาได้เห็นจริงแล้ว เขาย่อมมีกำลังใจ มีความศรัทธา มีความมุ่งมั่นในข้อที่ 4 คือมรรค ที่พากเพียรให้รู้ในทุกข์ (ดังข้อ 1 )สกัดกั้นกิเลส ตัณหา ไม่ให้เขาสู่จิตใจ (ดังข้อ 2 )จนได้ผลแห่งนิโรธ คือ ความไม่ทุกข์ใจอีก (ดังข้อที่ 3 )
นี่คือวิถีทางแห่งมรรค เมื่อได้เดินตามมรรค ผลย่อมได้เองคล้ายกับ เราได้อ่านวิธีการปลูกต้นมะม่วงว่าทำอย่างไร และได้ลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่เรียนรู้มาต้นมะม่วงย่อมออกผลเป็นมะม่วงให้เราได้รับประทานอย่างแน่นอนที่สุด
-------------- ขอท่านผู้มีปัญญาพิจารณาดูคำสอนของพระพุทธองค์เถิดว่าเป็นอย่างไรการไปนั่งสมาธิตัวนิ่งแข็งแบบฤาษี ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์อย่างแน่นอนเพระาการนั่งสมาธิแบบฤาษีนั้น เ็ป็นการกดจิตในนิ่ง ไม่ให้รับรู้อะไรเลยเมื่อไม่รู้อะไรเลย ทุกข์ในข้อ 1 ก็ไม่อาจรู้ได้การกดจิตให้นิ่ง ทำให้จิตถูกโมหะ อันเป็นตัณหา เข้าครอบงำ นี่ก็เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคำสอนอริยสัจจ์ 4 ในข้อ 2 แล้ว ผลแห่งข้อ 3 คือนิโรธ จะเกิดขึ้นได้อย่างไรกันในพุทธประวัติก็มีการกล่าวไว้ถึงเ้จ้าชายสิทธัตถะได้ออกจากสำนักฤาษีที่ได้ไปเรียนมาว่าพระองค์ทรงทราบว่า แนวทางนี้ไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ ขอท่านที่เป็นพุทธบริษัทใช้ปัญญาพิจารณาดูเถิดว่า สิ่งที่ท่านกำลังฝึกฝนอยู่ หรือกำลังพบายามเพยแพร่อยู่นั้น ถูกต้องตามหลักอริยสัจจ์ 4 หรือไม่
การเห็นจิตว่างที่ไม่มีอะไร คือ การปฏิบัติที่ต่อจากขั้นต้น
1....ตามที่ผมได้เขียนเรื่องสำหรับนักปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ที่ต้องการจะเริ่มต้นไว้ที่เรื่อง เมื่อท่านได้ลงมือฝึกฝนด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ไม่มีความอยากในจิตใจมาสักระยะหนึ่ง อาจเป็นตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป กำลังจิตของท่านจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อกำลังจิตเพิ่มขึ้น จิตรู้ ก็จะมีพลังมากขึ้นในการรับรู้สภาวะธรรมที่ปรากฏขึ้นด้วยกำลังแห่งสัมมาสตินั้น
2....อะไร คือการบ่งบอกว่า กำลังสัมมาสติดีขึ้น >> คำตอบก็คือ ท่านเห็นความคิดได้ เห็นอาการของจิตได้ครับยิ่งท่านฝึกมากขึ้น กำลังยิ่งตั้งมั่น กำลังสัมมาสติยิ่งเห็นความคิด เห็นอาการของจิตได้มากขึ้น โดยที่ความคิด หรือ อาการของจิตจะไม่ลาก จิตรู้ กลับเข้าไปในการปรุงแต่งที่กำลังเกิดขึ้น
3. เมื่อจิตรู้ของท่านตั่งมั่นและมีประสิทธิภาพดีในดังข้อ 2 แล้วต่อไป ผมขอให้ท่านสังเกตดูเป็นระยะ ๆ แต่อย่าเอาแบบเอาเป็นเอาตายเลยครับ ขอให้สังเกตแบบสบาย ๆ ก็พอ ไม่ได้ก็ให้หยุดไว้ก่อน วันหน้าค่อยมาสังเกตใหม่สิ่งที่ผมให้สังเกตก็คือ ขอให้ท่านสังเกตว่า เมื่อความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่งหยุดไปนั้น ท่านเห็นความว่าง ในที่ ๆ ความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่งหยุดไปไหมครับหรือ ผมจะกล่าวอีกอย่างก็คือ เมื่อความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่ง ยังไม่เกิด มันจะมีความว่างอยู่ก่อน แล้ว ความคิด หรือ อาการของจิตปรุงแต่ง นั้นแหละ ที่เกิดในความว่าง
อันนี้ ถ้าจะเปรียบทางโลก ก็ให้ท่านนึกถึงการจุดดอกไม้ไฟครับก่อนจุดดอกไม้ไฟ ท่านจะเห็นท้องฟ้าที่มืดมิด ไม่มีอะไร เป็นความว่างอย่างหนึ่ง พอดอกไม้ไฟปรากฏขึ้น ดอกไม้ไฟก็จะปรากฏที่ความว่างอันมืดมิดนี้ การเห็นความว่างนี้ ห้ามจ้องเอานะครับ ให้สังเกตเบา ๆ เท่านั้น เพราะถ้าไปจ้องหา จะเป็นความว่างอีกแบบหนึ่ง ที่เป็นความว่างแบบพวกทำสมาธิแบบฤาษีเขาทำกัน ความว่าง 2 แบบนี้ไม่เหมือนกันเมื่อท่านเห็นความว่างแบบที่ผมบอกที่ว่าไม่จ้องเอา ท่านจะเห็นความว่างทั้ง 2 แบบคือ แบบที่ไม่จ้องเอง และ ความว่างแบบสมาธิแบบฤาษี ถ้าท่านจ้องเอา ท่านเห็นสมาธิแบบฤาษี ท่านจะไม่เห็นความว่างที่ผมบอกไว้
ผมยอมรับครับว่า การเห็นความว่างที่ว่านี้ ไม่ใช่ของง่ายครับและการเห็นได้ต้องเป็นผู้มีกำลังสัมมาสติตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิมาก ๆ เท่านั้น และใจก็ต้องไม่มีความอยากด้วยครับ จึงจะเห็นมันได้ใหม่ ๆ เมื่อท่านเห็นความว่างที่ผมว่าได้นี้ ท่านอาจจะเห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง นี่เป็นเพราะกำลังจิตของท่านยังไม่แกร่งพอ แต่ถ้าแกร่งพอ ท่านจะเห็นได้นาน เห็นได้เกือบตลอดเวลา และถ้าแกร่งมากจริงๆ ท่านจะเห็นได้ตลอดเวลาเมื่อท่านตื่นอยู่
4. เมื่อท่านฝึกต่อไป ท่านจะพบกับสภาวะต่อไปอีก นั้นคือ ความว่าง มันก็ไม่มี มันจะมีแต่ความรู้สึกล้วน ๆ ที่เกิดอยู่ที่เป็นไตรลักษณ์ตลอดเวลา ที่มันเกิดอยู่ลอย ๆ ที่ไม่มีอะไรรองรับ และ ความรู้สึกความเป็นตัวตนของท่านก็ไม่มีด้วย
5. ผมเองไม่อยากนำสิ่งทีเป็นคำในวิชาการมาเขียนนัก เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในวิชาการ ไม่สามารถระบุได้ว่า สิ่งที่เราเห็นนั้นมันตรงกับสิ่งที่กล่าวไว้ในตำราอย่างนั้น แต่เมื่อคราวจำเป็น ผมก็ขอนำมาเขียนไว้ดังนี้แต่ผมขอบอกท่านก่อนว่า สิ่งที่ผมเขียนนี้ มาจากความเข้าใจส่วนตัว ที่เทียบเคียงกับตำรา อาจผิดก็ได้ครับ ดังนั้น ผู้ที่ติดตำราแน่นมาก ๆ ขอให้ผ่านข้อ 5 นี้ไปครับ กรุณาอย่าได้อ่าน เดียวท่านจะหงุดหงิดใจ และมีอคติกับผมอีก
สิ่งทีผมกล่าวถึงในข้อ 4 นั้น ผมเข้าใจว่า มันคือสภาพของจิตที่แท้จริง ที่มันเป็นความว่าง แบบไม่มีอะไร เป็นสุญญตา ครับและการเห็นจิตที่มันเป็นของว่างที่ไม่มีอะไรนี้ จะเห็นได้ด้วยสัมมาญาณไม่ใช่สัมมาสติ ซึ่งสัมมาญาณนี้ต้องผ่านสัมมาสติที่มีกำลังมากมาก่อน และ เห็นไตรลักษณ์ของอาการของจิตมาก่อนอย่างโชกโชนจึงจะเกิดสัมมาญาณนี้ได้ (เรื่องสัมมาญาณนี้ ผมคาดเดาเอานะครับ )เมื่อท่านเห็นสภาวะแห่งจิตแท้ ที่เป็นความว่าง ซึ่งก็คือ ความเป็นสุญญตา ที่มันไม่มีอะไร ท่านก็จะเข้าใจความเป็นอนัตตาแห่งจิตใจที่แท้จริงได้
6. เมื่อท่านเห็นจิตว่างทีไม่มีอะไรในข้อ 4 ได้ และท่านยิ่งฝึกต่อไปอีกท่านจะเห็นจิตว่างปรากฏอยู่ได้นานขึ้น และจะเห็นอาการของจิต หรือ ความคิด หรือ อาการของเวทนาทางกาย ล้วนเกิดในความว่างทีไม่มีอะไรนี้ทั้งสิ้นในการฝึกของท่านเมื่อท่านเห็นจิตว่างได้แล้ว ขอให้ท่านหมั่นฝึกฝนและเห็นว่า "สภาวะธรรมล้วนเกิดลอย ๆ อยู่ในความว่างทีไม่มีอะไรนี่เอง สภาวะธรรมเมื่อเกิดขึ้น แล้วก็จะดับลงไปในความว่างที่ไม่มีอะไรเช่นกัน"เมื่อท่านเห็นความว่างแบบนี้ได้เสมอ ๆ ท่านก็จะยิ่งเข้าใจว่าทุกข์มี แต่ไม่มีผู้รับทุกข์ นั้นคืออย่างไร
7.เรื่องที่ผมเขียนนี้ ผมตั้งใจว่า สำหรับผู้มีความตั้งใจจริงและมีปัญญาที่ต้องการจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏอย่างแท้จริง จะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ว่า เมื่อเขาผ่านขั้นต้นแล้ว ต่อไปการปฏิบัติจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะคำกล่าวที่ออกจากปากของท่านผู้รู้ทุกวันนี้ ที่ว่า "ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ด้วยใจที่เป็นกลางนั้น" มันหยาบมากและไม่ชี้อะไรที่เป็นประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติที่ต้องการจะพ้นทุกข์ได้เลย

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons