กายานุปัสสนา ทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง
ความสำคัญของกายานุปัสสนา ไม่ใช่อยู่ที่เป็นหมวดแรกของสติปัฏฐาน 4 แต่อยู่ที่รากฐานความมั่นคงของการฝึกสติสัมปชัญญะสำหรับผู้ปฏิบัติที่มาฝีกใหม่ หรือ ผู้ปฏิบัติเก่าแต่สติสัมปชัญญะง่อนแง่นเหมือนฟันผุจะหลุดออกจากเหงือกแล้ว
จิตที่พร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนา คือ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิตั่งมั่นอยู่
ถ้าใครที่จิตยังไม่ตั้งมั่นพอ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี้คือกุญแจที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน
ถ้าเราเข้าไปอ่านดูในพระไตรปิฏกในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเห็นว่ามีหลายหมู่ ( ตามตำราเรียกกันว่า "บรรพ" ) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาสมควรเลือกใช้ให้ถูกต้องกับสภาพจิตของตนว่า ในขณะนี้ จิตเราเป็นอย่างนี้ สมควรใช้บรรพใหนในการเจริญสติปัฏฐาน เรื่องการเลือกบรรพ เปรียบเหมือนการเลือกยา ไม่มียาที่ดีสำหรับทุกข์โรค แต่ผู้กินยาต้องรู้อาการแล้วฉลาดในการเลือกยาให้ถูกกับโรคที่เป็นอยู่
ในบทความนี้ ผมจะไม่บอกว่า บรรพใหนดีอย่างไร เพราะทุกบรรพดีหมดสำหรับสภาวะจิตแบบหนึ่ง ๆ บ้างก็อ้างตำราว่า อาณาปานสติ ดีที่สุดที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง แต่อาณาปานสติ ไม่ใช่ของง่ายสำหรับผู้ฝึกใหม่ ถ้าท่านเป็นผู้ฝึกใหม่และไม่มีครูอาจารบ์ที่รู้จริงแนะนำสั่งสอนอาณาปานสติ ผมแนะนำว่า อย่าได้เริ่มด้วยบรรพนี้ เพราะท่านจะปฏิบัติผิดอย่างแน่นอน กลายเป็นอาณาปานไร้สติ เสียเวลาเปล่า และท้อแท้ หมดกำลังใจไปได้
สำหรับผู้ที่กำลังอกหักรักครุดเสียใจกับความรัก คงหนีไม่พ้น หมวดอสุภกรรมฐาน หรือ ความไม่งดงามแห่งกาย มองเข้าไป แล้วอาจทำให้หายอกหักได้
แต่สำหรับคนปรกติที่มาใหม่ กำลังของสติสัมปชัญญะยังอ่อนนัก แถมไร้อาจารย์ที่รู้จริงเป็นผุ้ฝึกสอน ผมก็ขอแนะนำให้เข้าหาสำนักสอนที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งแต่ละสำนักก็จะมีดีกันคนละอย่าง ผมจะไม่ขอเอ่ยอ้างสำนักใดเป็นพิเศษ แล้วแต่วาสนาของท่านในเรื่องนี้ ถ้าท่านไปพบสำนักดี เข้ากับจริตของตนได้ ก็จะไปได้ดี ถ้าท่านเผอิญไปพบสำนักที่ไม่เข้ากับจริตของตน ก็คงต้องวนเวียนหาเอาใหม่ให้เหมาะกับจริตต่อไป
ปัจจุบัน วิชาดูจิต กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย
แต่ถ้าท่านยังไม่มีกำลังพอในสติสัมปชัญญะ ท่านจะล้มเหลวไม่เป็นท่าในการดูจิต เพราะกิเลสที่เกิดในจิตจะดึงท่านเข้าไปคลุกอยู่กับมัน ทำให้ท่านหลง ท่านโกรธ ท่านโลภ ไปกับมันด้วย
ทางเดียวก็คือ ท่านต้องกลับมาที่กายานุปัสสนาสติปัฏฐานก่อน ให้ฐานมันแน่น มันแกร่ง จนกำลังของจิตตสังขารดึงจิตท่านเข้าไปคลุกไม่ได้นั่นแหละ ท่านจึงจะใช้วิชาดูจิตอย่างได้ผล
ขอสรุปสรรพคุณกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไว้สั้น ๆ สำหรับผู้มาฝึกใหม่ดังนี้
1 ไว้เป็นสมถกรรมฐาน แก้อาการจิตตก จิตไม่ผ่องใส
2 ไว้เป็นสมถกรรมฐาน สำหรับเพิ่มกำลังแห่งสติสัมปชัญญะ
นักมวยไม่หมั่นฝึกซ้อม ย่อมถูกน๊อคคาเวทีฉันใดนักปฏิบัติไม่หมั่นเจริญกายานุปัสสนา ก็จะถูกกิเลสน๊อคได้ฉันนั้น เช่นกัน
2 การกลับมาเป็นปกติของใจได้เร็ว คือ การวัดผลการปฏิบัติุ
เมื่อวานได้ไปพูดคุยกัยญาติธรรมเรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ มีคำถามทีน่าสนใจถามมาว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า การปฏิบัติเดินมาถูกต้อง ถูกทางแล้ว
ในขณะที่ท่านกำลังฝึกฝนการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ท่านสังเกตเห็นได้ไหมว่า จิตใจท่านจะเฉย ๆ ไม่มีอะไรภายใน นี่คือสภาพที่เป็นปกติของจิตใจ ท่านจะดูเหมือนว่า ท่านฝึกฝนมา 1 หรือ 2 ขั่วโมง ไม่เห็นได้อะไรเลย นี่คือความจริงครับ ที่ท่านจะรู้สึกแบบนั้นเสมอ ๆ เมื่อท่านลงมือฝึกฝน
แต่ถ้าท่านได้กลับเข้าสู่โลกแห่งชีวิตของท่านจริง ๆเมื่อไร ขอให้ท่านคิดถึงอดีตซิครับ ท่านจะเห็นว่า ท่านมีเรื่องราว มีปัญหาปวดหัว ที่เข้ามาในชีวิตของท่านวันหนึ่ง ๆ เป็นสิบ ๆ เรื่อง ทีเดียว เวลาท่านมีปัญหาขึ้นมา จิตใจท่านจะไม่เป็นสุขเลย นี่คือความเป็นจริงของชีวิตทีท่านไม่อาจหลักเลี่ยงได้ที่ต้องพบ ทุกคนมีปัญหาชีวิตทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่ตื่นนอน ถึงต้องกลับมานอนอีกครั้งทีนี้ขอให้ท่านเทียบระหว่างตอนที่ท่านกำลังฝึกฝน ที่จิตใจปกติ เฉย ๆ ไม่มีอะไร กับ ตอนที่ท่านพบปัญหาชีวิตซิครับว่า ท่านว่าอย่างไรจะน่าเป็นมากกว่า ท่านคงตอบได้ดีกว่าใคร
การฝึกฝนการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์นั้น ในขณะที่ท่านฝึกอยู่ ท่านจะได้ผลแห่งจิตใจที่เป็นปกติ คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ผลแห่งการฝึกนั้น เมื่อท่านฝึกจนชำนาญ จิตใจท่านจะมีความสามารถอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ ก็คือ ความสามารถในการหยุด แห่งสภาวะที่จิตใจที่กำลังแปรปรวนให้กลับมาเป็นปกติได้ ยิ่งท่านฝึกมายิ่งชำนาญ ท่านยิ่งหยุดได้เร็ว
ท่านลองพิจารณาดูครับว่า ถ้าจิตใจท่านกลับมาปกติแบบตอนที่ท่านกำลังฝึกฝนได้เร็ว มันจะทำให้ท่านคลายทุกข์ได้เร็วและดีสำหรับท่านแค่ไหน เมื่อจิตใจท่านดี เป็นปกติ ท่านก็ทำงานทำหน้าทีของท่านได้ดี จริงไหมครับ นี่คือสิ่งที่ท่านจะได้ในการฝึกฝน
เมื่อท่านฝึกใหม่ ๆ การคลายทุกข์ในจิตใจ จะยังไม่ได้ผล หรือ ได้ผลแต่น้อย นีเพราะกำลังแห่งสัมมาสติ ท่านยังไม่แข็งแกร่งพอ ท่านต้องหมั่นฝึกฝนต่อไป แล้ว จิตใจท่านจะยิ่งแข็งแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ยิ่งฝึกยิ่งแข้งแกร่ง ฝึกจนวันหนึ่ง ท่านจะรู้ว่า ไม่มีอะไรที่จะมาทะลวงเข้าไปในจิตใจท่านได้อีก จิตใจท่านจะปกติอย่างนี้ตลอดไปนี่คือการวัดผลแห่งการปฏิบัติครับ
ท่านจะเห็นว่า ในตำราได้กล่าวถึงระดับพระอริยบุคคลไว้ 4 ประเภท นั้นคือตำรา ผมไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่สิ่งทีผมแสดงไว้ในการวัดผล ท่านสามารถประเมินศักยภาพ ประเมินประสิทธิผล แห่งการปฏิบัติของท่านได้เองด้วยตนเอง ไม่ต้องไปหาใครมาประเมินให้ท่านเลย เพราะท่านจะรู้ได้ด้วยตัวท่านเองครับ นี่คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนจริง ๆ ได้จริง เห็นจริง พิสูจน์ได้จริง