วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มือใหม่ป้ายแดง ตอนที่ 2


ตัวอย่างการฝึกเพื่อการรู้กาย
ผมได้เน้นอยู่ในหลายบทความที่ผ่านมา นี้ว่าจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิและ.จิตรู้ เกิดแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุเริ่มต้นให้ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งได้อย่างแท้จริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญวิปัสสนาที่จะได้ผลต่อไปจนเกิดสภาวะการปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เพื่อการหลุดพ้นแห่งวงจรทุกข์ได้
มีผู้ถามว่า แล้วจะฝึกอย่างไรกันละ เพื่อให้ จิตมันตั้งมั่น ไม่เผลอนาน และ จิตรู้ เกิดได้ ซึ่งผมขอเฉลยว่า ต้องฝึกการรู้กาย ครับผมมีเขียนบทความใน นี้เรื่อง กายานุปัสสนาทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง ลองอ่านเพิ่มเติมได้ครัย
การฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีหลายวิธีการในการฝึก เช่นการนั่งสมาธิดูลมหายใจ การเดินจงกรม เป็นต้น ซึ่งท่านผู้อ่านจะสามารถหาอ่านได้มากมายใน internet
สำหรับบทความนี้ ผมจะนำเสนอวิธีการฝึกเพื่อการรู้กาย อันเป็นวิธีการที่ผมเคยนำไปสอนผู้ปฏิบัติใหม่ เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย ๆ สามารถปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีโอกาส จะนั่งท่าไหนก็ได้ ขอให้นั่งให้สบาย จะฝึกตอนว่าง ตอนดู TV ตอนฟังวิทยุก็ยังได้ ตอนเข้าห้องน้ำกำลังถ่ายก็ฝึกได้ ตอนอาบน้ำก็ฝึกได้ ขอให้ฝึกให้มาก ๆ ครับ วิธีฝึกขอให้ดูจากรูปข้างล่างนี้
หลักสำคัญในการฝึกมีอยู่ 2 อย่างที่ละเลยไม่ได้เลย ก็คือ
1 ในขณะฝึก อย่าใจลอย อย่าพูดคุยกับใคร แต่ฟังเขาพูดได้ นั่นคือให้รู้สึกตัวอย่างเป็นธรรมชาติ และสบาย ๆ อย่าได้เกร็งส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จำไว้นะครับ ต้องเป็นธรรมชาติและสบาย ๆ
2 ในขณะที่กำลังเคลือนมือไปมาเพื่อการฝึก เมื่อฝึกใหม่ ๆ ท่านอาจจะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของฝ่ามือได้ ท่านไม่ต้องไปกังวลใจในเรื่องนี้ แต่ผู้ฝึกไม่ว่าจะใหม่เพียงใด ต้องรู้สึกถึงการลูบของฝ่ามือกับแขนได้อย่างแน่นอน การรู้สึก ก็เพียงรู้สึกอย่างเป็นธรรมชาติเช่นกัน ขอให้ลองดูง่าย ๆ ดังนี้ ให้ลองเปิด TV ดูแล้วลูบแขนไปด้วยในขณะดู TV ถ้าท่านยังรู้สึกได้ถึงการลูบการสัมผัสนี้ที่เกิดขึ้น ก็ใช้ได้แล้ว ขอเพียงให้รู้สึกก็พอ ไม่ต้องไปคิดว่า รู้สึกอย่างไร ถ้าท่านฝึกแล้วรู้สึกได้และรู้สึกด้วยว่าเป็นธรรมชาติ นั่นแหละใช้ได้แล้ว
การฝึกนี้สมควรฝึกบ่อย ๆ ฝึกทุกวัน ทุกโอกาสที่ทำได้ ถ้าท่านมีเวลาสั้น ๆ เข่น 5 - 10 นาที ก็ขอให้ฝึก แต่ขอให้ฝึกจำนวนครั้งให้มากเข้าไว้ ถ้ามีเวลาว่างมากเช่นกำลังดู TV ก็ควรฝึกไปด้วยได้นาน ๆ เพราะการฝึกนี้จะเป็นการสะสมกำลังความตั้งมั่นให้เป็นสัมมาสมาธิ และการเกิดขึ้นของ .จิตรู่. ได้
อย่าลืมนะครับ ว่า การฝึกตั้งสบาย ๆ เป็นธรรมชาติ รู้สึกตัว และรู้สึกถึงการลูบการสัมผัสได้ ง่ายไหมครับวิธีนี้
ตอนนี้ ถ้าท่านเป็นมือใหม่ในการฝึก อย่าเพิ่งไปดูจิตในตอนนี้ เอาเป็นรู้สึกถึงกายก่อน ให้ฝึกไปมาก ๆ เอาเป็นว่า สัก 3 เดือนขึ้นไป แล้วทีนี้ท่านจะฝึกควบคู่ไปด้วย ทั้งรู้กาย ทั้งรู้จิต ก็พอจะได้แล้วครับ
**** เวลาลูบ ให้ลูบอย่าง นุ่มนวล ทนุทถอมเหมือนกำลังลูบเด็กอ่อนอันเป็นที่รักของเรา ลูบเบา ๆ แต่ให้สบาย ๆ อย่าเกร็ง อย่าสักแต่ว่าลูบแบบผ่าน ๆ ไปชนิดว่าขอไปที อย่างนี้จะไม่ได้ผลดีสำหรับคนฝึกใหม่ *****
ขออภัยด้วยครับ รูปไม่สวยเท่าใด ผมทำได้แค่นี้เอง

ท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกก้าวหน้าแล้วขอให้ท่านสังเกตดูครับว่า เมื่อท่านฝึกไปเรื่อย ๆ ท่านจะเริ่มรู้อาการของกายก่อน เช่น เวลากระพริบตาก็จะรู้ได้ เวลาอ้าปากเคี้ยวอาหารก็จะรู้ได้ว่าปากมันขยับไปมา เป็นต้น นี่เป็นการบอกว่า ท่านกำลังฝึกได้ผลแล้วครับ ขอให้ฝึกต่อไป ฝึกต่อไปนะครับ แล้วผลที่ได้จะยิ่งมากขึ้น มากขึ้น เพราะเป็นการสะสมของสัมมาสมาธิ นั้นเอง
*********** ถ้าลูบมือแล้วเมื่อย จะใช้.ลูบขา.ก็ได้เช่นกัน หรือจะลูบท้อง หรือ อะไรก็ได้ ที่สดวกและสบาย
********************** ตัวอย่างที่ 2
ท่านอาจใช้การฝึกโดยวิธีกำมือ-แบบมือ ฝึกไปเรื่อย ๆ ช้า ๆ สบาย ๆ แทนการลูบแขนก็ได้ วิธีนี้ สามารถใช้ในหลาย ๆ สถานที่ ที่คนเขาไม่สังเกตเห็นได้ เช่น ขณะนั่งรถเมล์ ในขณะเข้าประชุมในบริษัท ขณะรอคิวซื้อสิ้นค้า ในขณะที่กำลังนอนแต่ยังไม่หลับจำไว้นะครับ ต้องสบาย ๆ ค่อย ๆ ทำ และรู้สึกตัว และรู้ความรู้สึกเมื่อมีการกำมือ แบบมือ
******************
ตัวอย่างที่ 3 การเดินจงกรม การเดินจงกรม ก็คือ การเดินกลับไปกลับมาและฝึกฝนการมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิไปด้วยในขณะเดิน วิธีเดิน ก็คือ เดินธรรมดาแบบที่ท่านกำลังเดินเป็นปรกติอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ต้องช้าเป็น slow motionแต่ขอให้เดินแบบสบาย ๆ เหมือนท่านเดินสูดอากาศยามเช้าที่บริสุทธิ ท่านไม่ต้องรีบเร่งในการเดินเดินไปช้า ๆ สบาย ๆ ในขณะที่เดิน ตาท่านยังคงมองเห็นภาพดีอยู่ แต่ท่านไม่ต้องจ้องมองอะไรเป็นพิเศษหูคงได้ยินอยู่ ขอให้ท่านสังเกตว่า ในขณะที่ท่านกำลังเดินนั้น จะมีความรู้สึกสั่นไหวที่กล้ามเนื้อขาด้วยในขณะที่เดินจงกรมอยู่ขอให้เดินแบบนี้กลับไปกลับมา บ่อย ๆ ในการเดินจงกรมนั้น ท่านสามารถใช้ฝึกในชิวิตประจำวันได้ด้วย เช่น ขณะเดินไปทำงาน เดินในที่ทำงาน เดินไปรับประทานอาหารกลางวัน หรือ เดินซื้อของกินของใช้
ทีนี้ ท่านอาจเคยฝึกสายวัดป่า ที่เดินจงกรมพร้อมบริกรรมพุทโธ ท่านจะบริกรรม หรือ ไม่บริกรรม มันไม่สำคัญครับแต่ที่สำคัญก็คือ ท่านต้องเดินอย่างมีความรู้สึกตัว พร้อมรู้ความรู่สึกจากการทำงานของระบบประสาทต่าง ๆ ของร่างกายของท่านไม่ยากเลยใช่ใหมครับการเดินจงกรม ********************* ตัวอย่างที 4
ใช้ปลายนิ่งโป้ง และ นิ้วชี้ สัมผัสแตะ - ปล่อย แตะ-ปล่อย เบา ๆ เป็นจังหวะ ไป ขอให้ทำอย่างสบายๆ อย่าเครียด อย่าเกร็ง เมื่อท่านแตะนิ่ว ก็จะรู้สึกถึงการสัมผัสที่เกิดขึ้นจากการแตะ เมื่อนิ้วไม่แตะกัน ความรู้สึกนั้นก็หายไป ท่านี้จะดี เพราะคนอื่นเขาจะไม่รู้ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ จึงไม่เป็นที่สังเกตของคนอื่น
*********************
ตัวอย่างที่ 6
ท่านไปหาซื้อพัดมา 1 อ้น ไม่ต้องแพง ราคาสัก 20 -30 บาท ในขณะทีท่านกำลังนั่งรอพระเพื่อใส่บาตร หรือ นั่งดู TV ที่บ้าน ก็ใช้พัดที่ซื้อมานี้ครับ พัดไปมาเบาๆ เพื่อคลายร้อน หรือ เพื่อไล่ยุง ในขณะที่พัดอยู่ ขอให้ท่านพัดอย่างสบาย ๆ ในขณะที่ท่านพัดอยู่พร้อมดัวยความรู้สึกตัว ท่านจะรับรู้ลมทีมากระทบผิวหนังของท่านได้ ตาท่านก็ยังเห็นอยู่ หูท่านก็ยังได้ยิน เมื่อมื่อท่านส่ายไปมาในขณะที่พัด ท่านก็รู้สึกถึงการเคลื่อนการไหวของมือได้ด้วย
เมื่อท่านใช้พัด ท่านก็ลดการใช้พัดลมได้ เท่ากับประหยัดไฟฟ้าที่ใช้ แถมยังเป็นการฝีกฝนกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไปในตัวทีเดียว
วิธีใช้พัดนี้ ดีมากสำหรับประเทศไทยทีมีอากาศร้อน เมื่อท่านฝึกใช้พัด มันจะเป็นธรรมชาติและคนที่เห็นท่านจะไม่รู้ว่าท่านกำลังฝึกอยู่ ดังนั้น ท่านใช้ในการฝึกยังสถานที่ต่าง ๆ ในทีชุมชนได้เป็นอย่างดี
*********************** ตัวอย่างที่ 7 ถ้าท่านมีเศษกระดาษที่ใช้เขียนแล้วไม่ใช้ หรือ ถุงอลูมิเนียมบาง ๆ ที่เขาใส่กาแฟ หรือใส่ครีมใส่กาแฟ ท่านเอามา 1 แผ่น แล้วขยำให้มันเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดพอเหมาะ ให้ท่านลองกำลูกกลม ๆ นี่ในมือขอให้กำได้สบาย ๆ ไม่ใหญ่ไป ไม่เล็กไป เนื่องจากกระดาษ หรือ ถุงอลูมิเนียมจะมีความแข็งเล็กน้อย เมื่อท่านขยำเป็นก้อนกลม มันจะไม่เรียบ ผิวของมันจะขรุขระ เมื่อท่านกำในมือจะรู้สึกได้ดีในการฝึกในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะดูทีวี ก็กำลูกกลม ๆ นี้เล่นไปมา ตาก็ดูทีวีไปด้วย มือก็กำลูกกลมนี้เล่นไปด้วยอย่างสบาย ๆ
******************
ตัวอย่างที่ 8 ท่าฝึกของท่านเอง สำหรับที่ท่านการฝึกฝนมาแล้วอย่างมากและมีความขยันหมั่นเพียรในการฝึก เช่น ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปแล้ว ในการฝึกในระดับนี้ ท่านสามารถประยุกต์ท่าฝึกต่าง ๆ ขึ้นมาได้เอง เพราะท่านจะเข้าใจว่า การฝึกที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ขอให้ท่านหาท่าฝึกที่เหมาะกับท่าน แล้ว ให้ท่านฝึกท่าของท่านเอง
*********************** **หลักการและเหตุผล**

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons