วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๓ นามขันธ์ ๔

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๓ นามขันธ์ ๔

เหตุเกิดของนามขันธ์ เหตุเกิดของนามขันธ์ตามตามแนวพระสูตร ในพุทธปรัชญานั้นถือว่า จิตเป็นสังขารธรรมเช่นเดียวกับกาย คือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผุดขึ้นมาเฉย ๆ หรือมีใครสร้างหรือก่อมันขึ้นมา แต่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาโดยเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยตามทรรศนะ ของพุทธปรัชญานั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นผลที่เกิดจากอิทธิฤทธ์และการดลบรรดาลของคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง พุทธปรัชญาถือว่าไม่มีสิ่งทั้งหลายใด ๆที่อยู่เหนือ ธรรมชาติที่เรียกว่ากายและจิต ( นาม—รูป ) นี้ได้แต่ธรรมชาติที่เรียกว่ากายและจิตนี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปโดยธรรม (ธรรมนิยาม )ในพระสูตร มีข้อความในหลายสูตรที่แสดงถึงเหตุปัจจัยเกิดของจิต แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเพียงบางสูตร เพื่อเป็นแนวพิจารณาในทางการศึกษาเท่านั้น ดังนี้

.๓.๑. เวทนาขันธ์ [Feeling]

แปลตามศัพท์ว่า “เวทยตีติ ธรรมชาติใดย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่าเวทนา” เวทนาขันธ์คือกองเวทนา คำว่าเวทนาได้แก่ความรู้สึกของจิตเมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาทางอายตนะภายใน ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คำว่าการรับรู้อารมณ์นั้นไม่ตรงตามที่คนทั่วไปเข้าใจ คำว่าอารมณ์ในทางพุทธปรัชญานั้น หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้โดยผ่านทางอายตนะภายในทั้ง ๖ ดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนอารมณ์ที่จัดเป็นเวทนาขันธ์ตามนัยแห่งพุทธปรัชญาก็คือสิ่งที่เป็นอายตนะภายนอก ทั้ง ๖ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หมายถึงสิ่งที่มากระทบทางกายสัมผัส ซึ่งมีความหนาว ร้อน อ่อน และแข็งเป็นต้น และหมายถึงธรรมารมณ์อันเป็นวิถีแห่งอายตนะภายในสำหรับเป็นที่รับรู้อารมณ์ พุทธปรัชญาได้อธิบายเกี่ยวกับเวทนาไว้ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย ขันธวรรค ความว่า

“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าเวทนา เพราะเสวยอารมณ์

จึงเรียกว่าเวทนา เสวยอารมณ์อะไร เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์

ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง๒๘

ตามนัยพระสูตรกล่าวถึงเวทนานี้มุ่งแสดงถึงว่าจิตที่รับรู้อารมณ์ต่างๆทั้งสุขและทุกข์ตลอดถึงการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลางๆ กระบวนการของเวทนานั้นสืบทอดมาจากผัสสะ ซึ่งทำให้เกิดเวทนาซึ่งเป็นความรู้สึกต่ออารมณ์ที่มากระทบทางทวารทั้ง ๖ ตามพุทธปรัชญาถือว่า เวทนาแม้จะเป็นความรู้สึกต่ออารมณ์ก็จริง แต่ตัวมันเองมิได้เป็นผู้รู้หรือรู้สึกได้เอง แต่เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่รู้สึกต่ออารมณ์คือจิต จิตมีหน้าที่รับรู้อารมณ์นั้นๆโดยอาศัยกายเป็นฐาน เวทนานั้นในทรรศนะของพุทธปรัชญาจัดประเภทไว้หลายนัย คือถ้าแบ่งเวทนาตามอาการที่เสวยหรือคุณภาพทางความรู้สึกต่ออารมณ์ก็มี ๓ ลักษณะ๒๙

(๑) สุขเวทนา คือความรู้สึกดีใจ

(๒) ทุกขเวทนา คือความรู้สึกเสียใจ

(๓) อทุกขมสุขเวทนา คือความรู้สึกเสียและไม่เสียใจ บางครั้งเรียกว่าอุเบกขาเวทนาคือรู้สึกเฉยๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข และถ้าแบ่งตามนัยของความแตกต่างแห่งอินทรีย์ที่ปกครองอารมณ์นั้นๆ ชึ่งแบ่งเวทนาออกเป็น ๕ ลักษณะ๓๐ คือ

(๑) สุขเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุขอันเกิดแต่ทางร่างกาย

(๒) ทุกขเวทนา คือความรู้สึกเป็นทุกข์อันเกิดแต่ทางร่างกาย

(๓) โสมนัสเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุขอันเกิดแต่ทางใจ

(๔) โทมนัสเวทนา คือความรู้สึกเป็นทุกข์หรือคับแค้นอันเกิดแต่ทางใจ

(๕) อุเบกขาเวทนา คือความรู้สึกเป็นกลางๆอันเกิดแต่ทางใจ

และในเวทนาทั้งหลายยังสามารถแบ่งได้อีก ๖ ประการตามทวารที่รับรู้ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ๓๑คือ

๑) จักขุสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดขึ้นจากการรับรู้รูปารมณ์ทางตา

๒) โสตสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้ทางสัททารมณ์ทางหู

๓) ฆานสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่จากการรู้คันธารมณ์ทางจมูก

๔) ชิวหาสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้รสารมณ์ทางลิ้น

๕) กายสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้โผฏฐัพพารมณ์ทางกาย

๖) มโนสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้ธรรมารมณ์ทางใจ

ลักษณะของเวทนา ดังนี้ (๑) อนุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ (๒) วิสยรสสมฺโภครสา มีการเสวยรสของอารมณ์เป็นกิจ (๓) สุขทุกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีความสุขและทุกเป็นอาการปรากฎในปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย (๔) ผสฺสปทฎฺฐานา มีผัสสะเป็นเหตุใกล้

รูปแบบแห่งเวทนแบบที่ ๑

Enlightenment%20Cover

clip_image004จักขุสัมผัสชาเวทนา

clip_image008โสตสัมผัสชาเวทนา สุขเวทนา

clip_image011เวทนา ฆานสัมผัสชาเวทนา ทุกขมเวทนา

clip_image011[1]ชิวหาสัมผัสชาเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

clip_image004[1]กายสัมผัสชาเวทนา

clip_image014มโนสัมผัสชาเวทนา

รูปแบบที่ ๒

clip_image018 จักขุสัมผัสชาเวทนา

clip_image021 โสตสัมผัสชาเวทนา โสมนัสเวทนา

clip_image024 ฆานสัมผัสชาเวทนา โทมนัสเวทนา

clip_image025เวทนา ชิวหาสัมผัสชาเวทนา อุเบกขาเวทนา

clip_image027 กายสัมผัสชาเวทนา

clip_image029 มโนสัมผัสชาเวทนา สุขเวทนา

clip_image018[1] กายสัมผัสชาเวทนา ทุกขเวทนา

เมื่อดูตามแบบที่จัดประเภทของเวทนาทั้ง ๓ ลักษณะและเวทนา ทั้ง ๕ และเวทนาทั้ง ๖ แล้ว เป็นการแสดงตามนัยของคุณสมบัติของเวทนานี้นั้น พุทธปรัชญาถือว่า เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนแต่มีผัสสะเป็นมูลเหตุเกิดทั้งสิ้น ดังพุทธพจน์ว่า

…“ ดูกร อานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์ เป็นสิ่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น๓๒ “…สุขเวทนาเกิดขึ้นได้เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา…เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดแต่ผัสสะนั้นก็ดับไปด้วย ทุกขเวทนา…อทุกขมสุขเวทนา…”๓๓ “…ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด

…ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด..ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ..ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ…สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ…สฬายตนะมีรูปเป็นเหตุ…นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ…นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ…วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ..วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ…สังขารมีอะไรเป็นเหตุ…สังขารมีวิชชาเป็นเหตุ๓๔

เวทนานั้น จัดว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นหนึ่งในการทำงานรับรู้ทางอายตนะภายนอกหรือการที่มนุษย์จะเกิดสุขหรือทุกข์และเข้าใจต่อภาวะของโลกภายนอกได้ด้วยผัสสะเป็นสือกลางในการรับรู้อารมณ์ได้ เพราะมนุษย์ประกอบตัวเองขึ้นมาด้วยรูปร่างกายและจิตใจ ดังนั้นเวทนาจึงช่วยให้เกิดกระบวนการทำงานของการรับรู้ดำเนินต่อไป สำหรับมนุษย์ผู้ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ย่อมตกอยู่ภายใต้เวทนาทั้งหลาย นับว่าเวทนามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ เพราะมนุษย์ทั้งหลายล้วนมีอุดมคติเพื่อให้บรรลุผลคือการได้มาซึ่งความสุขอันเป็นเป้าหมายสุดท้าย

เพราะชีวิตของมนุษย์ทั้งปวงในโลกย่อมถือเอาสุขเวทนาเป็นจุดศูนย์กลางในการแสวงหาทรัพย์ทั้งภายนอกและภายในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายต่างก็แสวงหาสุขเวทนาเป็นแกนกลางแห่งชีวิตดังนั้นพุทธปรัชญาจึงมองว่าเวทนาทั้งหลายนี้ก่อให้เกิดตัณหาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความทุกข์ตามนัยแห่งพุทธปรัชญา บ้างครั้งจึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายลุ่มหลง หมกม่น และพัวพันสยบติดอยู่กับเวทนาทั้งหลาย ซึ่งเป็นเพียงผัสสะเท่านั้นตามหลักของพุทธปรัชญาให้มองเห็นเวทนาทั้งหลายเพียงเพื่อเป็นอนัตตาเท่านั้น

อันที่จริงสุขเวทนา และทุกขเวทนานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของธรรมชาติซึ่งมีเหตุปัจจัยในการนี้คือ ผัสสะเวทนาจะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยในชั้นของผัสสะ แต่มนุษย์ทั้งหลายกับมองเห็นเวทนาเป็นสิ่งที่ตัวเองต้องการ ดังนั้นจึงมีคนไม่น้อยตกอยู่ภายใต้กระแสของเวทนา กล่าวคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ทั้งที่ปราณีตและหยาบซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดเพราะอาศัยเหตุปัจจัยตามธรรมชาติและเกิดขึ้นตามขั้นตอนของมันไปจนตลอดสายตามนัยของปฏิจจสมุปบาท

พุทธปรัชญาถือว่า เวทนา ๓ กล่าวคือ สุขเวทนา คือความรู้สึกดีใจ ทุกขเวทนา คือความรู้สึกเสียใจ อทุกขมสุขเวทนาคือความรู้สึกเสียและไม่เสียใจ บางครั้งเรียกว่าอุเบกขาเวทนาคือรู้สึกเฉยๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกระบวนการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเหตุปัจจัย และถ้าแบ่งตามนัยของความแตกต่างแห่งอินทรีย์ที่ปกครองอารมณ์นั้นๆ ซึ่งแบ่งเวทนาออกเป็น ๕ ลักษณะ๓๕คือ สุขเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุขอันเกิดแต่ทางร่างกาย ทุกขเวทนา คือความรู้สึกเป็นทุกข์อันเกิดแต่ทางร่างกาย โสมนัสเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุขอันเกิดแต่ทางใจ โทมนัสเวทนา คือความรู้สึกเป็นทุกข์หรือคับแค้นอันเกิดแต่ทางใจ อุเบกขาเวทนา คือความรู้สึกเป็นกลางๆอันเกิดแต่ทางใจและในเวทนาทั้งหลายยังสามารถแบ่งได้อีก ๖ ประการตามทวารที่รับรู้ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ๓๖คือ จักขุสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดขึ้นจากการรับรู้รูปารมณ์ทางตา โสตสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้ทางสัททารมณ์ทางหู ฆานสัมผัสชาเวทนาคือเวทนาที่เกิดแต่จากการรู้คันธารมณ์ทางจมูก ชิวหาสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้รสารมณ์ทางลิ้น กายสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้โผฏฐัพพารมณ์ทางกาย มโนสัมผัสชาเวทนา คือเวทนาที่เกิดแต่การรับรู้ธรรมารมณ์ทางใจ เพื่อเป็นแนวในการศึกษาและเขาใจได้ง่ายขึ้น ผู้ศึกษาวิจัยจะเขียนสรุปรูปแบบแห่งเวทนาทั้งหลายตามนัยแห่งปัจจยาการของเวทนาอันมีผัสสะเป็นจุดศูนย์กลาง ดังนี้

                         มนุษย์

clip_image031clip_image032clip_image031[1]

clip_image033clip_image036รูปclip_image034 นามclip_image035

              อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖

clip_image037clip_image038clip_image037[1]clip_image039

clip_image040clip_image041clip_image013[1]clip_image013[2] ผัสสะ                                             clip_image042

clip_image043 เวทนา

clip_image044 สัญญา

clip_image045clip_image046clip_image031[2]clip_image047clip_image048 สังขาร

กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม

ถ้าถือเอาผัสสะเป็นจุดศูนย์กลางแล้วสาวไปหาเหตุปัจจัยอันเป็นเงื่อนต้นและสาวไปหาเหตุปัจจัยอันเป็นเบื้องปลายแล้วจะเห็นต้นเงื่อนว่า ผัสสะเกิดเพราะการประชุมพร้อมของธรรม ๓ ประการ กล่าวคือ อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ ในธรรม ๓ ประการนั้น อายตนะและอารมณ์จัดเป็นรูป( กาย ) วิญญาณจัดเป็นนาม (จิต) การประกอบกันเข้าหรือการทำงานร่วมกันของปรมัตถธรรมทั้ง ๒ คือ รูป และนามนี้ จึงเกิดภาวะของชีวิตหรือความเป็นมนุษย์หรือสัตว์เป็นต้นขึ้นมา คำว่ามนุษย์หรือสัตว์เป็นเพียงขั้นสมมติบัญญัติขึ้นเรียกสภาวะของการทำงานร่วมกันของปรมัตถธรรมทั้ง ๒ เท่านั้น

ถ้าสืบสาวไปหาเบื้องปลายโดยเริ่มจากเวReturn%20To%20Originality%20Coverทนาแล้วจะพบว่า เพราะผัสสะเกิดจึงทำให้เวทนาเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิดและทำให้เกิดสัญญาเกิด เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิดและสัญญาเกิด จึงทำให้สังขารเกิด และเพราะมีสังขาร จึงทำให้เกิดกรรม คือกรรมที่เป็นอกุศลที่เป็นกุศล และเป็นอัพยากตะ

ตามนัยแห่งเจตสิก ๕๒ ในพระอภิธรรมแล้ว ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นสัพพสาธารณเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบจิตทั้งหมด และประกอบร่วมในเจตสิกได้ทั้งหมด คือทั้งอกุศลเจตสิก(เจตสิกฝ่ายชั่วและทำให้จิตเป็นอกุศล) ทั้งโสภณเจตสิก (เจตสิกฝ่ายดีทำให้จิตเป็นกุศล) เมื่อผัสสะ เวทนา และสัญญาประกอบในฝ่ายอกุศลเจตสิกก็จะเป็นอกุศลไม่ดีไปด้วย เมื่อประกอบในฝ่ายโสภณเจตสิก ก็จะเป็นกุศลหรือไม่ดีไปด้วย

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของความดีหรือความชั่ว เป็นกุศลหรืออกุศบนั้น เริ่มตรงที่สังขารเป็นตัวปรุงแต่งจิตให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกุศลหรืออกุศลขึ้นมา สังขารคือความนึกคิด เจตนา ความมุ่งหมาย หรือเจตจำนงของจิต ควานึกคิด เจตนา หรือเจตจำนงจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเห็น หรือความเข้าใจ สังขารจะเป็นไปตามแนวทางหรือสอดคล้องกับความรู้ ความเห็นหรือความเข้าใจนั้นๆ สังขาร (ความนึกคิดหรือเจตจำนง) ที่เป็นไปตามความรู้ ความเห็นหรือความเข้าใจอันเป็นจุดเริ่มต้นนี้เอง นำไปสู่การลงมือกระทำ(กรรม) ที่เป็นไปในทางกายบ้าง ในทางวาจาบ้าง และเป็นไปในทางใจบ้าง ดังนั้นสุขหรือทุกข์จึงมีเหตุปัจจัยในการเกิด ดังพุทธพจน์ในภูมิสูตร๓๗ มีความว่า

“…สุข และทุกข์ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น สุกและทุกข์อาศัยเหตุอะไรเกิดขึ้นสุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น…เมื่อกายมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นไปภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นไปภายในย่อมบังเกิดขื้นเพราะความจงใจทางวาจาเป็นต้น หรือว่า เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นไปภายในย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางกายเป็นต้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้นเองบุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดสุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้างเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัวอยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเะป็นปัจจัยให้เกิดสุขและทุกข์อันเป็นไปภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง อวิชชาแทรกอยู่ในธรรมเหล่านี้ เพราะอวิชชาดับเพราะสำลอกไม่เหลือ กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดสุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี…ดังนั้นตามทรรศนะพุทธปรัชญาได้กล่าวถึงลักษณะแห่งเวทนาตามนัยแห่งอภิธรรม ซึ่งจัดแบ่งประเภทของเวทนาได้ ดังต่อไปนี้

เวทนา เป็นความรู้สึกของจิตที่มีต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ทางทวาร ๖ มี๓ ประการคือ

(๑) สุขเวทนา เป็นสุข สบายใจ ชื่นใจ หรือฟูใจ

(๒) ทุกขเวทนา เป็นทุกข์ เจ็บปวด ขมขื่น คับแค้น หรือบีบคั้นใจและ

(๓) อทุกขมสุขเวทนา เฉยๆหรือเป็นกลาง คือไม่สุขและไม่ทุกข์

พุทธปรัชญาถือว่าทุกครั้งที่เกิดความรู้อารมณ์ทั้ง ๖ จะต้องมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่างนี้เกิดรวมด้วยเสมอ วิญญาณที่ไม่มีเวทนา ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี เวทนาจัดเป็นกิจกรรมของจิตในขั้นรับรู้อารมณ์ คือขั้นที่จิตไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ขั้นของจิตที่ไปเกี่ยวข้องกับขั้นของเวทนานี้ ยังไม่จัดว่าดีหรือชั่ว เวทนานั้นเป็นธรรมที่ไม่ดีหรือชั่วโดยลำพังตนเอง ต่อเมื่อเวทนาที่ถึงขั้นของจิตมีเจตจำนงค์ต่ออารมณ์ หรือการกระทำต่ออารมณ์ที่มีสังขารเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จึงเรียกว่าดีหรือชั่ว เพราะในขั้นนั้นเป็นขั้นที่มีกุศลเหตุและอกุศลเหตุเข้าผสมแล้ว

เวทนาตามนัยแห่งจิตโดยถือตามลักษณะของเวทนาทั้ง ๕ กล่าวคือ สุขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ดีทางกาย ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีทางกาย โสมนัสเวทนา การเสวยอารมณ์ที่ดีทางใจ โทมนัสเวทนาการเสวยอารมที่ไม่ดีทางใจ อุเบกขาเวทนา การเสวยอารมณ์ปานกลางทางใจ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงเมื่อแบ่งตามเวทนาเภทนัย ก็ได้ ๕ ประเภทดังนี้

สุขเวทนาจิต คือจิตทีเกิดขึ้นพร้อมกับสุขเวทนา (สุขกาย) มี ๑ ดวง คือ สุขสหคตกายวิญญาณจิต (จิตที่ ๒๕ ในกุศลวิปากจิต ๘)

ทุขเวทนาจิต คือจิตที่เกิดพร้อมทุกขเวทนา (ทุกข์กาย) มี ๑ ดวง คือทุกขสหคตกายวิญญาณจิต (จิตที่ ๑๗ ในอกุศลวิปากจิต )

โสมนนัสเวทนาจิต คือจิตที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา(สุขใจ) มี๓๐ดวง คือ

โสมนัสโลภมูลจิต ๔ (คือจิตที่ ๑-๔ ในอกุศลจิต ๘)

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ (คือจิตที่ ๒๗ ในกุศลวิปากจิต ๘)

โสมนัสกามาวจรกุศลจิต ๔ (คือจิตที่ ๓๑ - ๓๔ ในกามาวจรกุศลจิต ๘)กามโสมนัส ๑๘

โสมนัสกามาวจรวิปากจิต ๔ (คือจิตที่ ๔๗ - ๕๐ ในกามาวจรกิริยาจิต ๘)

รูปาวจรกุศลจิต ๔ (คือจิตที่ ๕๕ -๕๘ ในรูปาวจรกุศลจิต ๕)

รูปาวจรวิปากจิต ๔ (คือจิตที่ ๖๐ - ๖๓ในรูปาวจรวิปากจิต ๕) ฌานโสมนัส ๑๒

รูปาวจรกิริยาจิต ๔ (คือจิตที่ ๖๔ - ๖๘ ในรูปาวจรกิริยาจิต ๕)

โทมนัสเวทนาจิต คือจิตที่เกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา (ทุกข์ใจ) มี ๒ ดวง คือโทสมูลจิต ๒ (คือจิตที่ ๙ - ๑๐)

อุเบกขาเวทนาจิต คือจิตที่เกิดพร้อมอุเบกขาเวทนา (ไม่สุขไม่ทุกข์) มี ๕๕ ดวงคือ

อุเบกขาโลภมูลจิต ๔ (คือจิตที่ ๕ - ๘ ในโลภมูลจิต ๘)

อุเบกขาโมหมูลจิต ๒ (คือจิตที่ ๑๑ - ๑๒ ในโมหมูลจิต ๒)

อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ (คือจิตที่ ๑๓–๑๖, ๑๘–๑๙ ในอกุศลวิปากจิต ๗

จิตที่ ๒๐–๒๓, ๒๕–๒๖ในกุศลวิปากจิต ๘ และ


๒๘ สํ. ขนฺธ.๑๗ /๑๕๙

๒๙ ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๒๘/๑๙๘) )

๓๐ สํ. สฬา. ๑๘/๔๓๔/๒๘๘

๓๑ สํ. นิ. ๑๖/๑๐/๓

๓๒ สํ. นิ. ๑๖ / ๘๒ / ๔๐

๓๓ ขุ. มหา. ๒๙ / ๔๘๑ / ๒๙๒

๓๔ ม. มู. ๑๒ / ๔๔๖ / ๓๙๐

๓๕ สํ. สฬา. ๑๘ / ๔๓๔ / ๒๘๘

๓๖ สํ. นิ. ๑๖ / ๑๐ / ๓

๓๗ สํ. นิ. ๑๖ / ๘๒–๘๓ / ๔๐–๔๑

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons