วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พุทธภาษิตกับบุคคลทั่วไป

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เกาะที่มีต้นปาล์ม.๔ พุทธภาษิตกับบุคคลทั่วไป

บุคคลย่อมมีลักษณะและนิสัยต่างกัน ทั้งบุรุษและสตรี พระพุทธศาสนามีทรรศนะกับบุคคลทั่วไปในลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบลักษณะของคนว่าบ้างคนชอบทำแต่ไม่ชอบพูด แต่บางคนชอบพูดมากกว่าทำ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบคนในโลกนี้เหมือนวลาหก ๔อย่างคือ

๑) ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก

๒) ฝนตก ฟ้าไม่ร้อง

๓) ฟ้าไม่ร้อง ฝนไม่ตก

๔) ฟ้าร้อง ฝนตก

คนที่ชอบพูด พูดเก่ง พูดน่านับถือ แต่ไม่ชอบทำ ทำไม่ได้ตามที่พูด เช่นพูดเรื่องศีลได้อย่างแจ่มชัด แต่ตนเองเป็นคนไม่มีศีล อธิบายเรื่องสัจจะได้อย่างกว้างขวางแต่ตนเองไม่รักษาคำสัจ บางคนเรียนจบนวังคสัตถุศาสน์ คือ สุตะ เคยยะ ไวยากร ถาคา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรมและเวทัลละ แต่ไม่รู้ความจริงว่านี้ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้คือวิถีดำเนินไปสู่ความดับทุก บุคคลประเภทนี้จัดเป็น ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก ส่วนคนบางคนชอบทำแต่ไม่ชอบพูด เป็นคนมีศีลมีกัลยาณธรรมแต่ไม่พูดไม่คุยให้เป็นที่ฟุ้งซ่าน ไม่ทำความรำคาญแก่สังคม แม้ไม่ได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ แต่ก็สามารถรู้ความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ คนประเภทนี้เรียกว่า ฝนตก ฟ้าไม่ร้อง

คนบางคนไม่พูดและไม่ทำคือไม่ได้เรื่องอะไรเลย หาดีไม่ได้และไม่ศึกษาเล่าเรียน ไม่รู้ความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ คนประเภทนี้เรียกว่า ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก และคนอีกลักษณะหนึ่งที่สำคัญคือเป็นคนทั้งชอบพูดและชอบทำทำได้ตามที่พูด คือพูดอย่างใดก็ทำได้อย่างนั้น เช่น สอนเขาเรื่องศีลห้า ตนเองก็รักษาศีลห้าได้อย่างเคร่งครัด หรือสอนเขาเรื่องอบายมุข ตนเองก็เว้นอบายมุขได้อย่างเด็ดขาด และได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ ทั้งรู้ความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ คนประเภทนี้เรียกว่า ฟ้าร้อง ฝนตก ซึ่งเป็นที่ต้องการของสังคม ถ้ามีบุคคลในลักษณะมากก็จะทำให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรื่อง มีความผาสุกได้ ดังภาษิตของหาริตเถระ มาในขุททกนิกาย เถรคาถาว่า “ บุคคลทำสิ่งใด จึงควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ก็ไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด”๑๓ และบุคคลอีกลักษณะหนึ่งที่เปรียบเหมือนน้ำ ๔ ประเภท คือ

๑) น้ำตื่น เงาลึก

๒) น้ำลึก เงาตื่น

๓) น้ำตื่น เง่าตื่น

๔) น้ำลึก เง่าลึก

น้ำเป็นของเหลวโดยธรรมชาติ และสามารถแปรเปลี่ยนสถานะได้ จากของเหลวเป็นของแข็งก็ได้เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำ และในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนเป็นไอได้เมื่อได้รับความร้อนสูง การเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะของบุคคลนั้น ได้ง่ายขึ้นเพราะการมองคนดูแต่ข้างนอกก็ไม่อาจทราบความในได้ เพราะบางคนมีกิริยาท่าทางดี การเดิน การยืน การนั่ง ดูสง่าผ่าเผย จะก้าวหน้าหรือถอยหลัง จะเหลียวจะแลหรือคู้แขนเหยียดแขน ตลอดจนการแต่งตัวก็น่าเลื่อมใสแต่ไม่มีวิชา ความรู้ไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร ไม่มีคุณวิเศษในตัว ไม่รู้ว่านี้ทุกข์นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์บุคคลลักษณะนี้เรียกว่า น้ำตื่น แต่เงาลึก

แต่ให้ทางที่กลับกันบุคคลที่มีลักษณะที่ปากกับใจตรงกัน เห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้นเป็นคนที่มีกิริยาท่าทางต่างๆไม่น่าเลื่อมใจ หรือไม่น่าไว้ใจแต่กลับเป็นคนที่มีคุณธรรมสูงส่ง ได้รับการศึกษาดีเป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักทางเสื่อมและทางเจริญ ว่านี้คือทุกข์ นี้คือเหตุแห่งทุกข์ นี้คือทางดับทุกข์ นี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์เรียกบุคคลลักษณะอย่างนี้ว่าเป็น คนประเภทน้ำลึก เงาตื่น

บางคนมีกิริยามารยาทไม่ดี การแต่งกายไม่เรียบร้อยทั้งไม่มีวิชาความรู้ ไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งความเสื่อม เป็นคนที่ไม่มีคุณธรรมในตัว จัดคนประเภทนี้เรียกว่า น้ำตื่น เงาตื่น แต่บางคนมีกิริยามารยาทดีงามด้วย การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน รู้กาลควรและไม่ควร ดูน่าเคารพและภูมิฐานเป็นคนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ทั้งเป็นคนมีชาความรู้ ว่านี้คือทุกข์นี้คือสาเหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์ ลักษณะอย่างนี้จัดว่าเป็นคนประเภท น้ำลึก เงาก็ลึกด้วย การดูคนถ้ามองให้ดีจะทราบว่ามีส่วนที่จะรู้ได้ว่าคนนั้นๆมีคุณธรรมที่ลึกหรือไม่ เป็นที่เป็นบัณฑิตหรือไม่ก็จะทราบได้ด้วยวิธีการดูคนแบบพุทธวิธีนี้เช่นกัน

ต้นไม้ ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่นำมาดูว่าบุคคลในสังคมมีลักษณะอย่างไร คือต้นไม้โดยธรรมชาติย่อมมีทั้งแก่นและเปลือกหรือกระพี้ซึ่งเป็นลักษณะที่สอนให้มองคนให้รอบครอบมีความระมัดระวังอย่าเชื่อใครง่ายๆ เข้ากับสำนวนไทยว่า อย่าเชื่อใจทางอย่าวางใจคน มันจะจนใจตัวเอง ซึ่งคติธรรมให้คนรู้จักรังคน พุทธเจ้าทรงเปรียบคนในโลกมีลักษณะเป็นต้นไม้ที่มีแก่นและไม้กระพี้ ดังนี้

๑) ไม้กระพี้ มีไม้กระพี้เป็นบริวาร

๒) ไม้กระพี้มีไม้แก่นเป็นบริวาร

๓) ไม้แก่นมีไม้กระพี้เป็นบริวาร

๔) ไม้แก่นมีไม้แก่นเป็นบริวาร

เป็นคติธรรมที่น่าคิดมากว่าคนเราจะเลือกคบมิตรดีบ้างหรือเลวบ้างนั้นย่อมหารู้ไม่ว่าคนที่ตนเองคบอยู่นั้นเป็นคนมีแก่นหรือว่าเป็นเพียงกระพี้ ถ้าหากได้บริวารที่น้ำแต่ทุกข์และโทษมาสู่ตนเองนั้นเป็นบริวารที่เป็นกระพี้ ดังสำนวนไทยว่าคบคนให้ดูหน้า เชื้อผ้าให้ดูเนี้อนั้นเอง คนบางคนในโลกนี้เป็นคนที่ไร้เมตตาธรรม ไม่มีความเอื้ออาทรต่อกัน ไม่มีศีลธรรมทำอะไรก็หวังจะเอาเปรียบคนอื่นอยู่ตลอดไป คือหวังแต่ได้ฝ่ายเดียว ขาดความกรุณาต่อกัน เป็นคนเห็นแก่ตัวจนเกินควร เห็นแต่ประโยชน์ของตนเป็นสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม แม้แต่มิตรสหายของเขาก็เป็นเหมือนกับนาย คือเป็นคนไร้ศีลธรรมเหมือนกัน คนที่มีลักษณะนี้จัดเป็นไม้กระพี้ มีไม้กระพี้เป็นบริวาร แต่มีอีกอย่างที่บริวารเป็นคนดี เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นเรื่องสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตน แต่เจ้านายเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่มีเมตตาธรรมแก่คนรอบข้าง ชอบเอาเปรียบผู้อื่น คนลักษณะนี้มีมากมายในสังคม ถ้าบ้านเมืองมีบริวารอย่างมากเท่าไรก็จะดี จัดได้ว่าเป็นการควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ จัดเป็นไม้กระพี้แต่มีไม้แก่นเป็นบริวาร

บ้านเมืองจะเรื่องรุ่งต้องผดุงศาสนา คุณธรรมย่อมนำพาชาวประชาสุขเจริญ คือบางคนเป็นผู้นำรัฐ หรือผู้นำองค์การต่างๆมีศีลธรรม และมีวัฒนธรรมที่เจริญ ไม่มีอคติต่อบริวารของตน ไม่ผูกพยาบาทต่อผู้อื่น เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้ร่วมงาน มุ่งทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองเป็นหลัก บำบัดทุกข์แก่ปวงประชาไม่เห็นแก่ประโยชน์สุขของตนเอง แต่กลับกันว่ามีบริวารเป็นคนที่ตรงกันข้าม แต่ก็ยังดีที่หัวหน้าเป็นคนดีอยู่บ้าง คนลักษณะนี้จัดเป็นคนมีแก่น แต่บริวารเป็นกระพี้

ส่วนบุคคลที่จัดว่าเป็นอุดมคติที่สุดคือ คนมีศีลธรรม มุ่งพัฒนาตนเองและชาติบ้านเมืองให้ก้าวหน้า เป็นคนมีคุณธรรมที่สมบูรณ์ ตลอดถึงบริวารของเขาก็เป็นคนมีเมตตาต่อเพื่อนร่วมประเทศ มุ่งความสุขแก่ปวงประชา คนกลุ่มนี้จัดเป็นประเภทมีไม้แก่นเป็นหัวหน้าและมีไม้แก่นเป็นบริวาร

อสรพิษ ได้ยินชื่อก็น่ากลัวแล้วสำหรับบุคคลลักษณะนี้ หมายถึงคนที่พูดดีเขาก็โกรธ เป็นคนเจ้าโทสะเมื่อโกรธมากๆก็จะผูกพยาบาทจองเวรแก่ผู้อื่นได้ง่าย ทำอะไรไม่ชอบใจก็จะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เป็นคนโกรธง่าย เหมือนอรพิษย่อมพ้นพิษใส่ศัตรูได้ง่าย คนอย่างนี้ควรระวังให้ดี พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบบุคคลอย่างนี้ไว้ว่า

๑) มีพิษแล่น พิษไม่ร้ายแรง

๒) มีพิษร้าย พิษไม่แล่น

๓) มีพิษแล่น และมีพิษร้าย

๔) มีพิษไม่แล่น และไม่ร้าย

T040311_01Pมนุษย์ปุถุชนย่อมมีกิเลสคือราคะ โทสะ และโมหะเป็นสิ่งที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดารมีพิษคือความโกรธซึ่งเป็นโทษแก่เจ้าของใจเองและเป็นพิษต่อบุคคลรอบตัว คนลักษณะอย่างนี้แม้เขาพูดด้วยดีแต่ถ้ามีอะไรทำให้เสียอารมณ์เพียงนิดก็โกรธ เรียกว่าเป็นคนชอบโกรธเป็นนิสัย แต่ไม่ผูกโกรธ ไม่จองเวรใครเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าเป็นคนมีพิษแล่น และไม่ร้ายแรง ส่วนคนที่มีพิษร้ายด้วยและไม่แล่นด้วย คนลักษณะอย่างนี้ควรหลีกให้ห่างเอาไว้จะดี เพราะเป็นคนที่มีพิษที่นอนเนื่องอยู่นานๆ ไม่เจือจางง่ายๆ แต่ก็เป็นคนที่โกรธคนอยาก ไม่จองเวรใครง่ายๆ แต่ถ้าเมื่อใดบุคคลชนิดนี้ได้โกรธใครเข้า มักจะผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรจองกรรมกันข้ามภพข้ามชาติได้ เรียกคนอย่างนี้ว่าเป็นคนมีพิษร้าย และพิษไม่แล่น

คนบางคนมีนิสัยขี้โกรธ ใครทำอะไรให้ผิดใจนิดหน่อยก็โกรธแล้วก็ไม่ค่อยจะหายเร็วด้วย คิดอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมต่อไป คนมีนิสัยแบบนี้ไม่ควรคบด้วยจัดว่าเป็นมิตรเทียม ซึ่งน่ากลัวคนประเภทนี้จัดเป็นคนมีพิษแล่น และมีพิษร้าย ส่วนคนลักษณะสุดทายคือ เป็นคนมีจิตใจสงบเยือกเย็น มั่นคงหนักแน่นในเหตุผล เป็นคนสุขุมรอบคอบแม้จะถูกยั่วให้โกรธก็ไม่โกรธง่าย หากจะมีความโกรธเกิดขึ้น ก็ข่มเสียได้ทันไม่แสดงความโกรธออกมาให้เป็นที่น่าเกลียดน่าอาย และเป็นคนไม่เก็บความโกรธเข้าไว้ในใจ เป็นคนมีขันติธรรมและมีเมตตาเป็นหลักใจ คนประเภทนี้เรียกว่ามีพิษไม่แล่น และไม่มีพิษร้ายต่อใคร จัดว่าเป็นคนรักษาประโยชน์ทั้งสองเอาไว้ได้

หนู มีนิสัยรักความอิสระและอาศัยอยู่ใต้พื้นดินโดยธรรมชาติ จะออกจากรูมาก็เมื่อต้องการหาอาหารกินและกัดกินไปทั่ว ไปหากินที่ไหนก็ขุดดินหากินไปเรื่อย บางครั้งหนูตัวเดียวจะมีรูออกหลายช่องทาง เมื่อเวลามีภัยมาถึงตัวก็จะวิ่งออกไปอีกทางหนึ่ง นี้คือนิสัยของหนู ย่อมเปรียบได้กับคนบางคนในโลกนี้มี ๔ ลักษณะคือ

๑) ขุดรู แต่ไม่อยู่

๒) อยู่ แต่ไม่ขุดรู

๓) ไม่ขุดรู และไม่อยู่

๔) ขุดรูด้วย อยู่ด้วย

เปรียบให้เห็นว่ามนุษย์บางคนในสังคมเป็นคนศึกษาเรียนมามากเป็นคนฉลาด แต่ไม่มีศีลธรรมเป็นเครื่องกำกับจิตใจ ย่อมเป็นสาเหตุให้ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้ เรียกฉลาดแกมโกง คนอย่างนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นคนมีการศึกษาดี แต่ไม่นำความรู้นั้นมาปรับให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เปรียบด้วยคนเรียนสุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ แต่ไม่ได้รับประโยชน์จากการเรียน คือไม่รู้ว่านี้คือทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางแห่งความดับทุกข์ คนอย่างนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า ขุดรู แต่ไม่อยู่ ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนแต่กลับรู้หลักในการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ คนลักษณะนี้จัดว่าเป็นคน อยู่แต่ไม่ได้ขุดรู และคนที่ไม่มีทั้งสองอย่างคือไม่ได้เรียนด้วยและไม่สนใจในการปฏิบัติธรรมด้วยคนกลุ่มนี้จัดเป็นคน ไม่ขุดรูและไม่อยู่ แต่คนบางคนในโลกนี้ทั้งได้ศึกษาด้วยและเพียรพยายามแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วย จัดเป็นคนประเภทที่สุดคือขุดรูและอาศัยอยู่ด้วย คนอีกนัยหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบเป็นดังเช่นหม้อซึ่งมีลักษณะ ๔ ประการคือ

๑) หม้อเปล่า ปิด

๒) หม้อเต็ม เปิด

๓) หม้อเปล่า เปิด

๔) หม้อเต็ม ปิด

คนบางคนในโลกนี้มีกิริยาท่าทางดี มีมารยาทเรียบร้อย การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ดูงามสง่าน่าเลื่อมใส แต่ภายในเป็นคนไม่มีทั้งวิชชา ไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนไม่รู้ความจริงว่านี้คือทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ เป็นคนดีแต่ภายนอกเข้าในลักษณะสุภาษิตไทยว่า ข้างนอกสดใส ขางในเป็นโพง คนประเภทนี้จัดเข้าในคนหม้อเปล่า และปิด นัยตรงกันก็มีคนอีกอย่างที่ข้างนอกมองดูเป็นคนไม่เรียบร้อยแต่กับเป็นคนที่รู้จักทางแห่งความพ้นทุกข์ คนอย่างนี้จัดเป็นคนหม้อเต็มและเปิด ส่วนบุคคลที่กิริยาก็ไม่ดี ทั้งยังไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน มารยาทไม่งดงามด้วย และไม่รู้ทางพ้นทุกข์ คนอย่างนี้จัดเป็นคนเปล่าทั้งสองส่วนคือเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดด้วย ส่วนคนกลุ่มสุดท้ายเป็นคนงามทั้งวิชาการและมีมารยาทงดงามสง่า เป็นคนสุภาพเรียบร้อยและรู้ว่านี้คือทุกข์ นี้คือสาเหตุแห่งทุกข์ นี้คือหนทางให้ทุกข์ดับคนอย่างนี้จัดเป็นคนที่เหมือนหม้อเต็มและปิด การดูบุคคลในโลกนี้อยากที่จะทราบได้ว่าใครเป็นคนมีคุณธรรม หรือไม่มีคุณธรรมภายนเลยเพราะมนุษย์รู้จักการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดี สามารถล้อล่วงคนโง่ให้หลงได้เสมอแต่พระพุทธเจ้าผู้ศาสดาของโลกพระองค์ทรงให้พิจารณาคนให้ดีอย่าดูแต่ภายนอกของคนให้ดูถึงภายในของเขาด้วย คนในโลกนี้มีลักษณะเหมือนดอกไม้ ๔ อย่าง คือ ๑) สีไม่งาม มีกลิ่นเหม็น ๒) สีไม่งาม มีกลิ่นหอม ๓) สีงาม มีกลิ่นเหม็น ๔) สีงาม มีกลิ่นหอม การดูคนเป็นสิ่งสำคัญมากทุกองค์ควรเลือกสรรคนที่มีความรู้ความสามารถให้ทำหน้าที่แทนเรา เช่นการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฏรก็เหมือนกัน ถ้าเลือกเอาคนที่ไม่มีวิชาความรู้ ความประพฤติไม่ดี และเป็นคนโง่ด้วยเหมือนดอกไม้สีไม่งามและมีกลิ่นเหม็น แต่ในทางกลับกันเลือกสรรคนดี มีคุณธรรม มีมารยาทงามทั้งภายในและภายนอกมุ่งทำหน้าที่เพื่อประชาชน เปรียบเหมือนมีดอกไม้ที่มีสีงามและมีกลิ่นหอมด้วย พระพุทธเจ้าทรงเปรียบมนุษย์ในโลกนี้เหมือนดอกบัว ๔ อย่าง คือ

๑) ดอกบัวที่พ้นน้ำ จักบานในวันนี้

๒) ดอกบัวที่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ จักบานในวันต่อๆไป

๔) ดอกบัวที่อยู่ใต้โคนตม จักบานหรือไม่บานก็ได้ในวันข้างหน้า

คนในลักษณะนี้เป็นคนที่อยู่เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เร็ว คือเมื่อได้ฟังพระสัทธรรมก็สามารถตรัสรู้ธรรมได้เลยจัดเป็นดอกที่พ้นน้ำ ส่วนบุคคลที่ต้องศึกษาเล่าเรียนและฝึกอบรมมาดี เพื่อได้ฟังธรรม แต่ยังไม่สำเร็จในขณะฟังแต่มีจิตเพียรพยายามจนบรรลุในวันต่อมาจัดเป็นคนที่เหมือนดอกบัวที่จักบานในวันพรุ่งนี ส่วนคนที่มีเหมือนดอกบัวที่จัดบานในวันต่อไปนั้น จะต้องให้การศึกษาและปรับอินทรีย์ต่างให้ไปก่อน เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์ดีก็จักรู้ธรรมในวันข้างหน้า ส่วนบุคคลชนิดสุดท้ายนี้ไม่มีประโยชน์ที่จะฝึกเลยปล่อยให้เป็นอาหารของปลาและเต่า คนทั้งสี่จำพวกนี้ก็ดีเป็นการใช้อุปมาอุปมัยเป็นเหมือนดอกบัวต่างวันกันบาน ทำให้คนรู้ว่ามนุษย์ในโลกนี้จะทำให้เหมือนกันนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่จะต้องพยายามฝึกหัดขัดเกลาจิตของตนเองไปเรื่อยๆ ด้วยการสร้างบารมีต่างๆให้พร้อม แต่บางคนกลับไม่เป็นเช่นนั้นคือมีทุกอย่างพร้อมแต่กลับไม่ทำ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของคนเอาไว้อีก ๔ ประการคือ

๑ มืดมา มืดไป

๒) มืดมา สว่างไป

๓) สว่างมา มืดไป

๔) สว่างมา สว่างไป

คนที่มืดมานั้นเปรียบเหมือนคนที่เกิดมาในตระกูลต่ำ เช่นตระกูลจัณฑาลหรือตระกูลคนเทขยะ เป็นต้น มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง มีรูปร่างผิวพรรณทรามมีโรคมาก เป็นง่อยหรือพิการเพราะอำนาจแห่งกรรม ยิ่งไปกว่านั้นเป็นคนไม่ศีลธรรม ไม่มีเมตตาธรรม ถึงได้เป็นมนุษย์ก็เป็นได้แต่เพียงร่างกายแต่จิตใจไม่เป็นมนุษย์เลย เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอบายภูมิ คนจำพวกนี้จัดเป็นคนมืดมาและมืดไป ส่วนบุคคลที่รู้ว่าตนเองเป็นเกิดในตระกูลต่ำ การเลี้ยงชีพก็ฝืดเคืองแต่กลับมีสัมมาทิฏฐิ เป็นคนจนแต่มักช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักรักษาศีลและให้ทานตามกำลังทรัพย์ของตน เมื่อถึงกาลมรณะก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์มีอารมณ์ที่ดีงาม จัดเป็นคนมืดมาแต่สว่างไป คนกลุ่มที่สามคือมาเกิดในโลกมนุษย์ก็เป็นคนในตระกูลสูงมีทุกอย่างสมบูรณ์แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ชอบช่วยเหลือคนอื่นเป็นคนตระหนี่ในทรัพย์สมบัติ ไม่เคยรักษาศีลให้ทาน เมื่อดับกายทำลายขันธ์ก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก จัดเป็นคนสว่างมาแต่มืดไป ส่วนคนกลุ่มที่สี่ก็มีทุกอย่างเหมือนคนกลุ่มที่สาม แต่เป็นคนมีศีลธรรม รู้จักให้ทานรักษาศีล รู้จักทางเสื่อมและทางเจริญ รู้ว่านี้คือทุกข์ นี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ นี้เป็นหนทางดับทุกข์ นี้เป็นทางดับทุกข์ เมื่อตายไปก็ไปเกิดในสวรรค์ จัดว่าเป็นคนสว่างมาและสว่างไป

เมื่อเป็นอย่างนี้พุทธศาสนามุ่งสอนให้คนรู้จักเลือกวิธีดำเนินชีวิตของตนให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม มีปัญญาประคับประคองตนเองให้เดินในทางสายกลางคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางให้ทุกข์ชีวิตได้พบกับความสันติสุข ทั้งต่อตัวเองและสังคมส่วนรวม ดังนั้นพุทธภาษิตกับบุคคลทั่วไปที่จะนำมาเสนอต่อไปนี้โดยสังเขป เพื่อเป็นแนวทางแห่งคติชีวิตต่อไป ดังนี้คือ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๓.๔.๑. พุทธภาษิตกับจุดมุ่งหมายของชีวิต

ความเพียร แปลว่า ความเป็นผู้กล้า ได้แก่กล้าแข็งในการทำงาน ไม่กลัวต่อหนาวร้อนลมแดดหรือความยากลำบากต่างๆ มีความบากบั่นก้าวหน้า ไม่หยุดนิ่งหรือถอยหลัง มีน้ำใจเข็มแข็งในการทำงาน ไม่ย่อท้อต่อการกระทำ ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค มีจิตใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในการทำงานทุกอย่าง ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากเพื่อทำงานให้สำเร็จ นี้เป็นองค์คุณของความเพียร ความเพียรนี้มีคุณต่อทุกคน เมื่อคนมีความเพียรอยู่ย่อมจะสำเร็จได้ทุกอย่าง และความเพียรนี้เป็นเหตุปัจจัยส่งไปถึงการดับทุกข์ได้ด้วย คือทุกข์ลำบากทุกอย่างที่มีอยู่จะล้วงพ้นไปได้ด้วยดีเมื่อคนนั้นมีความเพียร เมื่องานทุกอย่างสำเร็จลงคนก็พ้นทุกข์ ความเพียรช่วยคนได้อย่างนี้เอง

ความเพียรคือคุณค่าชีวิตของมนุษย์ อันมีทั้งคุณค่าทางวัตถุทั้งทางวิญญาณและคุณค่าทางสังคม คุณค่าดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วยความพรากเพียรบากบั่นของมนุษย์เอง พระพุทธเจ้าเป็นนักสัจจนิยมและเป็นนักเหตุผลนิยมชั้นยอดเยี่ยมได้ทรงประกาศความจริงตามที่มันเป็นจริง และทรงมองดดูสิ่งทั้งหลายด้วยสายพระเนตรผู้รู้แจ้งโลก พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันว่า เราตถาคตกล่าวว่า กลางคืนเป็นกลางคืน และกล่าวว่ากลางวันเป็นกลางวัน ข้อนี้หมายความว่า พูดความจริงตามที่มันเป็นจริง มิได้พลิกแพลงให้เป้นอย่างอื่น พระองค์ทรงายอมรับความสามารถของมนุษญ์อย่างสูงและไม่มีอะนอกเหนือความสมารถและความพากเพียรของมนุษย์ในลักษณะนี้ พระองค์ทรงยอมรับถึคุณค่าของมนุษย์ทุกๆลักษณะทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ สาระสำคัญในเรื่องนี้ก็คือลักษณะพิเศษแห่ง ความตั้งใจของมนุษย์ ความพยายามพากเพียรของมนุษย์ และความเข็มแข็งของมนุษย์ ดังนั้น พระองค์จึงตรัสรับรองว่า “วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร” “ คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล” “ผู้ใด เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำ พึ่งเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคงมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น”

ข้อนี้หมายถึงความพากเพียรของมนุษย์ด้วยตนเอง การพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นตามหลักพุทธศาสนานั้น ต้องลงมือทำทันที โดยไม่ต้องรอคอยอำนาจเบื้องบนช่วยเหลือ ต้องพยายามพึ่งตนเองและรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง ไม่ให้โยนความผิดและความถูกไปให้เทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสพุทธภาษิตรับรองว่า

“ ตนเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของเราได้”

“ผู้มีตนอันฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึงที่หาได้โดยยากยิ่ง”

“ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง ย่อมบริสุทธิ์

ผุดผ่องเอง ความบริสุทธิ์และความเศร้าหมองเป็นของตนเอง

ไม่มีใครมาทำให้เราเศร้าหมองและบริสุทธิ์ได้เลย”

“พวกเธอจงพยายามทำความเพียรบากบั่นเองเถิด เราตถาคตเป็น

แต่ผู้บอกแนวทางให้เท่านั้น”

T110211_01Pจากพุทธพจน์ที่นำมานี้ ล้วนแต่สอนให้คนเรารู้จักพึงตนเอง ด้วยความพยายามพากเพียรของตนเอง ให้เชื่อมั่นในตัวเอง หรือพูดอย่าง่ายๆก็คือ ให้เป็นตัวของตัวเอง จึงจะประสบสิ่งที่เราต้องการในชีวิตของเราอย่างสมบูรณ์ เมื่อกล่าวถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์ คุณค่าคือสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นความนิยมของสังคม ที่จัดเป็นจริยธรรมส่วนบุคคลและส่วนรวม ตลอดถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณ คุณค่าทั้งสองอย่างนี้แตกก็สำคัญด้วยกัน ทั้งทางโลกคือความร่ำรวยทางด้านวัตถุ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ชื่อเสียง ยศ สรรเสริญ สุข ทั้งหมดนี้จะมีขึ้นมาได้ต้องอาศัยความเพียรเป็นพื้นฐานนั้นเอง

พุทธธรรมที่เป็นคุณค่าทางจิตวิญญาณได้แก่ คุณธรรมที่ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจ ธรรมะทั้งกล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทรรศนะ ดังนั้นธรรมะจึงเป็นคุณค่าทั้งทางคดีโลกและทางจิต มนุษย์ถ้าไม่มีธรรมะประจำใจแล้วยากที่จะร่ำรวย อยากมียศศักดิ์และชื่อเสียงลือชาปรากฏในสังคม ตลอดถึงการยอมรับนับถือจากบุคคลต่างๆในสังคมได้ ถึงแม้ว่าอาจจะได้รับมรดกจากบรรพบุรุษก็ยากที่จะรักษาเอาไว้ได้นานๆ สุดท้ายก็จะถึงความพินาศฉิบหาย แต่ถ้ามีคุณธรรมประจำใจแล้ว สิ่งดังกล่าว ถ้ายังไม่มีก็จะเกิดขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็จะเจริญยิงขึ้น ดังนักนักปราชญ์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ธรรมะเป็นคุณค่าสำคัญแห่งชีวิตของคนทั้งทางวัตถุและจิตใจ การตีความหมายของหลักธรรมในแง่คิดเรื่องการรักษาทั้งทางกายและใจในความสุขทางกายและทางจิต

เกาะที่มีต้นปาล์ม๓.๒.๒ หลักการพัฒนาชีวิต

คำว่า “มงคล” ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ พระเทพเวที หมายถึงสิ่งที่ทำให้มีโชคดีธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ(พระเทพเวที) ในมังคลัตถทีปนีหมายถึงสาเหตุที่ทำให้ถึงความเจริญด้วยมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติเป็นมงคล(ชัยวัฒน์)

สาเหตุที่พระพุทธองค์ตรัสมงคล ๓๘ ข้อ ท่านเล่าไว้ว่า ชาวชมพูทวีปถกเถียงกันว่าอะไรคือมงคลแห่งชีวิต บางพวกเสนอว่า การได้เห็นแต่สิ่งที่ดี ๆ เป็นมงคล บางพวกว่าการได้ยินแต่เสียงที่ไพเราะเป็นมงคล แต่ถูกพวกอื่นคัดค้านหาเหตุผลมาหักล้างจนตกลงกันไม่ได้ว่าความคิดเห็นของฝ่ายใดถูกต้อง

จากกรณีดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่ถกเถียงกัน แม้แต่เทวดาทั้งหลายก็ถกเถียงกันด้วย แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จนกาลเวลาล่วงไป ๑๒ ปี ท้าวสักกเทวราช(พระอินทร์) จึงส่งเทวดามาทูลถามพระพุทธเจ้าที่พระเชตวัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า มงคลที่คนทั้งหลายเข้าใจนั้นเป็นมงคลภายนอก เป็นมงคลของ “นักคิด” คือคิดเอาว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แต่มงคลของพระองค์เป็นมงคลของ “นักทำ” คือต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเกิดมงคล (เสฐียรพงษ์) จากนั้นพระองค์ก็ทรงแสดงมงคล ๓๘ ประการ

เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิต หรือมงคล ๓๘ ประการนี้มีปรากฏในมงคลสูตรหรือบทสวดมนต์ ในเวลาชาวบ้านทำบุญต่าง ๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน เป็นต้น พระสงฆ์จะสวดพระสูตรนี้เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้ทำบุญ มงคลสูตรคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่ชีวิต มี ๓๘ ประการ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ตั้งชื่อสูตรนี้ว่า “สูตรสำเร็จแห่งชีวิต” ให้เหตุผลว่าชีวิตจะประสบความสำเร็จไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรมจะต้องเดินตาม “สูตร” ที่พระพุทธเจ้าวางไว้ แม้กระทั่งพระสิริมังคลาจารย์นักปราชญ์ชาวล้านนาไทย ได้แต่งหนังสืออธิบายพระสูตรนี้โดยพิสดารชื่ออ้างในแง่วิชาการครบถ้วน(เสฐียรพงษ์) และเป็นสูตรในการเรียนของนักปริยัติอย่างสมบูรณ์ จนกลายเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนกระทั่งชั้นสูง

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑ การไม่คบคนพาล

คำว่า มงคล แปลว่า เหตุเป็นเครื่องเจริญแห่งสมบัติทั้งปวง หมายถึงสิ่งที่นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ เพราะเหตุนี้คนทุกคนจงปรารถนามงคล ต้องการให้มีมงคลอยู่กับตัว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การไม่คบคนพาลเป็นมงคลสูงสุด คือเป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยนัยตรงกันข้ามการคบคนพาลไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง

คำว่า พาล แปลว่า ผู้ประทำลายประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย หมายความว่า ทำลายความสุข ความเจริญทั้งฝ่ายตนและผู้อื่น ยึดถือเอาแต่สิ่งทีไม่เป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทำความพินาศให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่น เพราะใจไม่ยืดธรรมเป็นหลัก นี้เป็นลักษณะของคนพาล เพราะคนพาลมีลักษณะทำลายประโยชน์และทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าการไม่คบคนพาล เป็นมงคลสูงสุดดังนี้

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒ การคบบัณฑิต

คำว่า บัณฑิต แปลว่า ผู้ประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ด้วยปัญญา คำว่า ปัญญา หมายถึงปรีชาที่รอบรู้ในเหตุผล รู้จักความเจริญและความเสื่อม รู้จักอุบายที่จะทำตน และผู้ที่อยู่ในโอวาทของตนให้พ้นจากความเสื่อม และให้ถึงความเจริญได้ ผู้ที่ประกอบปัญญาเช่นนี้เรียกว่า บัณฑิต การคบหมายถึง การไปมาหาสู่ ทำความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ไต่ถามอรรถและธรรมและประพฤติตามโอวาท ดังนั้น การคบบัณฑิตเป็นเหตุให้ความสุข ความเจริญ คือทำตนให้มีความรู้ความสามารถรักษามารยาทให้ดีงาม ทำใจให้สงบระงับ ล่วงพ้นอุปสรรคต่างๆได้ ได้รับแต่ความสวัสดีเพราะเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคลสูงสุดดังนี้

เกาะที่มีต้นปาล์ม๓ การบูชาผู้ที่ควรบูชา

คำว่า บูชา หมายถึงให้ด้วยความนับถือ ได้แก่ให้ปัจจัยสี่ และดอกไม้เป็นต้น และหมายถึงการสักการะ เคารพนบนอบและกราบไหว้ตลอดจนปฏิบัติตามคำสั่งสอน คำว่า ผู้ที่ควรบูชา หมายถึงผู้ที่เจริญกว่า โดยคุณสมบัติ ในฝ่ายพรรพชิต อุปัชฌาย์อาจารย์เป็นผู้ควรบูชาของศิษย์ ผู้แก่อาวุโสเป็นผู้ควรบูชาของผู้อ่อนอาวุโส บรรพชิตทั้งหมดเป็นผู้ควรบูชาของพวกคฤหัสถ์ ฝ่ายคฤหัสถ์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ควรบูชาของประชาราษฎร์ บิดามารดาเป็นผู้ตรวจบูชาของบุตรธิดา พี่เป็นผู้ควรบูชาของน้อง สามีและพ่อตาแม่ยายควรเป็นที่บูชาของภรรยา โดยกำหนดบุคคลอย่างสูงสุด ผู้ที่ควรบูชาหมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั่วไป ที่ว่าเป็นมงคล เพราะการบูชาท่านเหล่านั้น เป็นเหตุให้ได้รับความสุขและเจริญด้วยอายุ วรรณ เป็นต้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าการบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นมงคลสูงสุด

เกาะที่มีต้นปาล์ม๔ การอยู่ในปฏิรูปเทศ

คำว่า ปฏิรูปเทศ แปลว่า ประเทศที่สมควร หรือประเทศที่เหมาะสม หมายถึงถิ่นที่เหมาะแก่งานที่จะทำหรือมีคนดีอยู่มาก ในมงคลทีปนีท่านอธิบายไว้หลายนัย เป็นต้นว่าถิ่นที่คนอยู่อาศัย เช่นคามนิคม นคร และชนบทเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าปฏิรูปประเทศ ประเทศที่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ประเทศที่มีการบำเพ็ญกุศล เช่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น และประเทศที่เจริญรุ่งเรืองด้วยศีลธรรมชื่อว่า ปฏิรูปเทศ การอยู่ในประเทศที่ดีย่อมเป็นเหตุให้ได้สมาคมกับคนดี และได้อบรมตนให้มีความรู้ดี มีความประพฤติชอบเป็นโอกาสให้ได้ประกอบความดี ซึ่งเป็นทางแห่งความสุข และความเจริญก้าวหน้า ฉะนั้นพุทธปรัชญาจึงกล่าวว่าการอยู่ในปฏิรูปเทศจึงเป็นมงคล

เกาะที่มีต้นปาล์ม๕ ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน

คำว่า บุญ ได้แก่กุศลกรรมเครื่องชำระสันดานให้บริสุทธิ์หมายถึงความประพฤติชอบ ทางกายวาจาและใจ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา กล่าวโดยสรุปแล้วหมายถึงความสุข ส่วนคำว่า ปางก่อน หมายถึงชาติก่อน คือชาติที่ล่วงมาแล้ว และหมายเอาในปัจจุบันชาติด้วยในส่วนที่เป็นอดีต พุทธปรัชญาถือว่าบุญเป็นเหตุให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติรวมความว่า เมื่อก่อนทำความดีเอาไว้จึงได้ความสุข เป็นเครื่องเตือนใจได้เป็นอย่างดีว่าเมื่อบุคคลได้ทำบุญเอาไว้ย่อมมีความสุข

เกาะที่มีต้นปาล์ม๖ การตั้งตนไว้ชอบ

คำว่า ตน ได้แก่อัตภาพร่างกายพร้อมทั้งจิตใจ คือ ร่างกายทั้งสิ้นที่มีวิญญาณ อีกนัยหนึ่ง สภาพที่เสวยความสุขความทุกข์คือรับสุขรับทุกข์ได้ ชื่อว่า ตนกล่าวให้เข้าใจง่าย ตนคือตัวเรานี้เอง ตนในความหมายอีกนัยคือ กายและใจ การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงทำตนให้มีศีล คือมีกาย วาจาเรียบร้อย ทำตนให้มีศรัทธา คือเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อในสิ่งที่มีเหตุมีผล และทำตนให้มี จาคะ คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ตระหนี่ เมื่อทำได้อย่างนี้ ชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบจะมีแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากภัยอันตรายทุกอย่าง ฉะนั้น พุทธปรัชญาจึงถือว่าเป็นทางแห่งความก้าวหน้า

เกาะที่มีต้นปาล์ม๗ ความเป็นพหูสูต

คำว่า พหูสูต แปล่า ผู้สดับมาก ผู้เรียนมาก ผู้ได้ยินได้ฟังมากคือ เป็นผู้คงแก่เรียนนั่นเองคำว่า ความเป็นพระหูสูตรคือ ความเป็นผู้คงแก่เรียน หมายถึงความเป็นผู้ศึกษามาก ได้ยินได้ฟังมาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ความฉลาดสามารถรู้จักผิด ชอบชั่วดี ได้ถูกต้องตามเป็นจริง ส่วนในกรณีที่เป็นมงคลนั้นคือเป็นเหตุให้สง่างามในชุมชน หรือได้รับอิฐผลมีความสรรเสริญเป็นผลตลอดถึงความเป็นเหตุให้ละความชั่ว หันกลับมาประพฤติความดีแล้วก็ทำตนให้บริสุทธิ์ได้ ดังนั้นพุทธปรัชญาจึงกล่าวว่าเป็นพหูสูตร

เกาะที่มีต้นปาล์ม๘ การมีศิลปะ

คำว่า ศิลปะ มีความหมายหลายอย่าง เช่นการฝีมือ การช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏได้อย่างงดงาม น่าดูน่าชมและให้เกิดความซาบซึ้งดูดดื่ม สะเทือนใจ ตลอดจนความชำนิชำนาญในการต่างๆ สรุปก็คือมีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม ศิลปะเป็นเหตุให้ได้รับความสรรเสริญ และตั้งตัวได้ในปัจจุบันคือได้ทรัพย์ ยศ ไมตรี ด้วยปัจจัยเหล่านี้พุทธปรัชญาถือว่าเป็นทางเจริญของชีวิต

เกาะที่มีต้นปาล์ม๙ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว

คำว่า วินัย หมายเอาวินัยทั้งสองฝ่ายคือ วินัยของบรรพชิต กล่าวคือการไม่ต้องอาบัติ ๗ กองคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส นิสสัคคียปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเสนียะ ทุกกฏ ทุพภาษิต ส่วนในวินัยอีกประการคือ วินัยของฝ่ายคฤหัสถ์ได้แก่ การเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขาพยาบาท ปองร้ายเขา และเห็นผิดจากคลองธรรม

ส่วนคำว่า การศึกษาแล้ว หมายถึง สำรวมตนไม่ต้องโทษเครื่องเศร้าหมอง คือไม่ประพฤติผิดวินัยและดำรงให้ตั้งอยู่ในคุณคือมารยาท พุทธปรัชญาจึงมองว่าเป็นทางแห่งความเจริญเพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต


๑๓ ขุ. เถร. 26/309

ขุ. สุ. ๒๕ / ๓๖๑

ขุ.ชา. ฉกฺก. ๒๗ / ๑๙๕

. ขุ.ธ. ๒๕ / ๓๐

ขุ. ธ. ๒๕ /๓๖

ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๖

ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๗ , ขุ. มหา. ๒๙ / ๓๗ , ขุ. จู. ๓๐ / ๑๑๖

ขุ. ธ. ๒๕ / ๒๗๖

ที. ปา. ๑๑ /๔๒๐/ ๓๐๑ , องฺ ปญฺจก. ๒๒ / ๑๐๘ / ๑๕๒ , องฺ จตุกฺก. ๒๑ / ๑๕๐ / ๑๘๙

องฺ ทุก. ๒๑ / ๓๑๕ / ๑๐๑

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons