วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๒.๓ การจัดรูป ๒๘ ตามนัยแห่งรูปกลาปะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

๓.๒.๓ การจัดรูป ๒๘ ตามนัยแห่งรูปกลาปะ

 

๑) ลักษณะของรูปกลาปะตามนัยพุทธปรัชญาถือว่า รูปทั้ง ๒๘ เมื่อเกิดไม่ได้เกิดทีละรูป แต่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นกลุ่มๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ จะเกิดขึ้นหรือแยกอยู่ตามลำพังรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ รูปที่เกิดเป็นกลุ่มๆดังนี้เองเรียกว่า รูปกลาปะ ลักษณะสำคัญของรูปกลาปะนี้ เมื่อว่าโดยชนิดแล้วมี ๔ ชนิดคือ (๑) เอกุปปาทะ เกิดพร้อมกับจิต (๒) เอกนิโรธะ ดับพร้อมกับจิต (๓) เอกาลัมพนะ มีอารมณ์เป็นอันเดียว (๔) เอกวัตถุกะ อาศัยวัตถุเดียวกันกับจิต๒๖ จากลักษณะของรูปกลาปะข้างต้นนั้นมีข้อที่หน้าสังเกตุ ๒ ประการ คือ ประการแรก ลักษณะของรูปกลาปะเป็นไปทำนองเดียวกันกับจิตและเจตสิก กล่าวคือ ลักษณะสำคัญของจิตและลักษณะสำคัญของจิตและเจตสิกนั้นประกอบด้วย (๑) เกิดพร้อมกัน (๒) ดับพร้อมกัน (๓) มีวัตถุอาศัยอย่างเดียวกัน และ (๔) มีอารมณ์เดียวกัน๒๗ ประการที่ ๒ คือที่อาศัยรวมของรูปกลาปะนั้น คือมหาภูตรูป ๔ มหาภูตรูป ๔ จึงเป็นรูปสำคัญเป็นหลักให้รูปอื่น ๆ อิงอาศัย บรรดามหาภูตรูป ๔ นั้น ปฐวีธาตุเป็นธาตุที่สำคัญ เป็นตัวยืนหรือทรงตัวอยู่จริง ๆ ส่วนอาโปธาตุเป็นส่วนที่ช่วยยึดปฐวีธาตุ เตโชธาตุเป็นธาตุที่ช่วยให้อบอุ่น ให้คงสภาพไม่ให้เน่าเสีย วาโยธาตุเป็นธาตุส่วนที่ช่วยให้มีการยืดหยุ่นเคลื่อนไหว ดังนั้น จากแง่ของมหาภูตรูปด้วยกัน ปฐวีธาตุยังเป็นธาตุที่รองรับของอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุอีกชั้นหนึ่ง

เนื่องจากปฐวีธาตุ (หรือปฐมรูป) เป็นธาตุที่แข็ง และเป็นธาตุที่ทรงตัวอยู่จริง ๆ ดังนั้น ธาตุนี้จึงสามารถทอนย่อยลงเป็นหน่วยเล็กที่สุดได้ พุทธปรัชญาได้ทอนย่อยปฐวีธาตุลงเป็นหน่วยเล็กที่สุด เรียกว่า ปรมาณู ปรมาณูเป็นหน่วยเล็กที่สุด ไม่อาจทอนให้เล็กกว่านี้อีกต่อไป คือมีขนาน ๑๐–๑๐ ซ.ม.แม้ว่าพุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันจะแตกต่างกันในเรืองของระยะกาลเวลาและกระบวนการที่ไดมาซึงความจริงก็ตาม แต่หน่วยปรมณูในพุทธปรัชญามีขนานใกล้เคียงกับอะตอม(ปรมณู) ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดตามทรรศนะทางวิทยาศาสตร์ คืออะตอม(ปรมณู)หนึ่งมีขนาน๑๐–๘ซ.ม.

พุทธปรัชญาได้อธิบายถึงคุณสมบัติของปรมณูปฐวีธาตุแต่ละปรมณูว่าปรมณูเหล่านี้ แม้จะมีขนานเล็กมากเพียงไร มันก็มิได้ตั้งอยู่โดยลำพังในรูปของบัษณะเชิงเดี่ยว แต่มันดำรงอยู่ในแบบของรูปกลาปะ คือมีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแบบเชิงซ้อน ดังนั้น ปรมณูหรือกลาปะตามทรรศนะของพุทธปรัชญาจึงต่างจากปรมณูของกลุ่มสสารนิยม กลุ่มสสารนิยมถือว่า ปรมณูของสสารนั้นแต่ละปรมาณูมีเนื้อเดียวกันตลอด ปราศจาก รส สี กลิ่น ร้อน เย็น แข็งทั้งสิ้น มีเพียงแต่รูปร่างและน้ำหนัก ส่วนพุทธปรัชญาเห็นต่างไปว่า ปรมาณูหรือรูปกลาปะหนึ่ง ๆ นั้น นอกจากจะมีขนานและน้ำหนักแล้ว ยังประกอบด้วยองค์ประอื่นๆ อีก

องค์ประกอบของรูปกลาปะ ตามทรรศนะของพุทธปรัชญาถือว่า รูปกลาปะหนึ่งๆ ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อยที่สุด ๘ อย่างทุกรูปกลาปะไป จะมีน้อยกว่านั้นไม่ได้ แต่มีมากกว่านั้นได้ องค์ประกอบ ๘ อย่างดังกล่าว คือ (๑) ปฐวี=ธาตุดิน (๒) อาโป=ธาตุน้ำ (๓) เตโช=ธาตุไฟ (๔) วาโย=ธาตุลม (๕) วัณณะ=รูปร่างหรือสี (๖) คันธะ=กลิ่น (๗) รสะ=รส และ(๘) โอชะ=โอชา พุทธปรัชญาถือว่า องค์ประกอบ ๘ อย่างนี้ไม่อาจแยกจากกันได้ และเป็นพื้นฐานประจำในรูปกลาปะแต่รูปกลาปะและเรียกองค์ประกอบที่เป็นพื้นฐานประจำเหล่านี้ว่า สุฏฐกลาปะ

๒ ) ประเภทของรูปกลาปะ รูปกลาปะนี้ เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว มี ๔ ประเภท คือ ๑) กัมมชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ๒) จิตตชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากจิต ๓) อุตุชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุ ๔) อาหารรูป คือกลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร มีนัยอธิบาย

๓ ) กัมมชกลาปะ กัมมชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม มี ๙ กลาปะ หรือ ๙ กลุ่ม คือ (๑.) จักขุทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีจักขุปสาทเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิต ๑ และจักขุปสาทรูป ๑ (๒). โสตทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีโสตปสาทรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภรูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และโสตปสาทรูป ๑ (๓). ฆานทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีฆานปสาทรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และฆานปสาทรูป ๑ (๔.) ชิวหาทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีชิวหาปสาทรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และชิวหาปสาทรูป ๑ (๕.) กายทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีกายปสาทรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และกายปสาทรูป ๑ (๖.) อัตถิภาวทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีอัตถิภาวรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และอัตถิภาวรูป ๑ (๗.) ปุริสภาวทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป มีปุริสภาวรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และปุริสภาวรูป ๑ (๘.) วัตถุทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ มีหทัยรูปเป็นใหญ่ ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ และหทัยวัตถุรูป ๑ (๙.) ชีวินวกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๙ รูป มีชีวิตรูปเป็นใหญ่ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ และชีวิตรูป ๑

กัมมชกลาปะ ๙ นี้เกิดไดแต่ในสิ่งที่มีชีวิต คนเราจะมีกัมมชกลาปะได้เพียง ๘ กลาปะเท่านั้น คือคนหนึ่งจะเป็นได้เฉพาะปุริสภาวทสกกลาปะหรืออิตถีภาวทสกลาปะเพียงอย่างเดียว จะเป็นทั้งสองพร้อมกันไม่ได้ ในบรรดากัมมชกลาปะนั้น กัมมชกลาปะที่๑ - ๘ ประกอบด้วยรูป ๑๐ รูปกัมมชกลาปะที่ ๙ -มี ๙ รูป แต่บรรดารูปทั้งหลายในรูปกลาปะแต่ละกลาปะนั้น จะมีเพียงรูปหนึ่งที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่ ส่วนรูปนอกนั้นเป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการทำหน้าที่ของรูปที่เป็นใหญ่นั้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น กัมมชกลาปะ ๙ กลุ่มนี้ประกอบด้วยกัมมชรูป ๑๗ รูปยกเว้นแต่ปริเฉทรูป แต่รูปที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่โดยตรงนั้นมีอยู่ ๙ รูป ส่วนรูปนอกนั้นเป็นองค์ประกอบช่วยในการทำหน้าที่ของรูปที่เป็นใหญ่ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เช่น จักขุทสกลาปะ เป็นกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป ได้แก่อวินิพโภครูป ๘ รูป ชีวิตรูป ๑ รูปและจักขุปสาทรูป ๑ รูป ในกลุ่มรูป ๑๐รูปเหล่านี้ จักขุปสาทรูปเป็นใหญ่ในการทำหน้าที่คือการเห็น ส่วนรูปอีก ๙ รูปไม่ได้ทำหน้าที่เห็น แต่จักขุปสาทรูปจะทำหน้าที่ในการเห็นได้ก็ต้องมี ๙ รูป ดังกล่าวแล้วนั้นเป็นพื้นฐานในการเห็น ส่วนกัมมชกลาปะอีก ๘ กลาปะมีโสตกลาปเป็นต้น

๔ ). จิตตชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มี ๖ กลาปะหรือ ๖ กลุ่ม ดังนี้

๑). สุทธัฎฐกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๘ รูปคคืออวินิโภครูป ๘ สุทธัฏฐกลาปะนี้เกิดในเวลาที่ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือไม่มีการพูด ในขณะที่จิตใจอ่อน ไม่เข็มแข็ง เช่น การหายใจ หน้าซีด เวลาโกรธ ขนลุกชัน หรือในเวลากลัวเป็นต้น

๒). กายวิญญัตินวกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๙ รูป คืออวินิพโภครูป ๘ และกายวิญญัติ ๑ กายวิญญัตินวกกลาปะนิ้เกิในเวลาที่มีการเคลื่อนไหวกายในขอระที่มีจิตใจอ่อน ไม่เข็มแข็ง เช่นการยืน การเดิน การนั่ง การนอนคู้ การเหยียดกาย เป็นต้น

๓). วจีวิญญัติสัททกสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๐ รูป คืออวินิพโภครูป ๘ วจีวิญญัติ ๑ และสัททรูป ๑ วจีวิญญัติสัททสกกลาปะนี้ เกิดในเวลาพูด อ่านหนังสือ หรือร้องเพลงและในเวลาที่จิตใจอ่อนแอ ท้อถอย หรือรู้สึกไม่สบาย

๔.) ลหุตาทิเอกาทสกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๑ รูป คืออวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปะนี้ เกิดในเวลาที่ไม่มีการเคลื่อนไหวการหรือในเวลาเปล่งเสียงพูดในขณะที่จิตใจสบาย เข็มแข็ง หรือในขณะที่ดีใจ เช่น อาการแจ่มใสชื่นบาน หรืออาการขนลุกพองที่เกิดด้วยอำนาจปีติเป็นต้น

๕.) กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ และกายวิญญัติ ๑ กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาปะนี้เกิดเมือ่เวลาเคลื่อนไหวร่างกายในเวลาที่จิตใจสบาย เข็มแข็ง เช่นการยืน การเดิน การนั่ง การนอน การเหลียวซ้าย และการเหลียวขวาเป็นต้นที่คล่องแคล่วหรือสะดวกสบาย

๖.) วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๒ รูปได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ วจีวิญญัติ ๑ และสัททรูป ๑ วจีวิญญัติสัททหลุตาทิเตรสกกลาปะนี้ เกิดเมื่อเวลาพูด อ่านหนังสือ หรือร้องเพลงเป็นต้น ในขณะที่จิตใจสบาย เข็มแข็ง ทำหให้การพูดหรือการอ่านเป็นต้นเป็นไปโดยสะดวกและคล่องแคล่ว

ในจิตตชกลาปะ ๖ กลาปะนี้ ๔ กลาปะคือ สุทธัฏฐกลาปะ กายวิญญัตินวกกลาปะ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปะ และกายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาปะ เป็นสัพพฐานิกกลาปะ คือตั้งอยู่ทั่วไปในร่างกายส่วน ๒ กลาปะ คือวจีวิญญัติสัทททสกกลาปะ และวจีวิญญัติสัททลหุตาเตรสกกลาปะเป็นปเทสกลาปะคือตั้งอยู่ในที่บางแห่งของร่างกาย

๕). อุตุชกลาปะ อุตุชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน มี ๔ กลาปะหรือ ๔ กลุ่ม ดังนี้คือ

๑). สัทธัฏฐกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๘ รูป ได้แก่อวินิพโภครูป ๘ สัทธัฏฐกลาปะที่เป็นอุตุชกลาปะนี้เกิดมีได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่ใชีวิต สำหรับสิ่งที่มีชีวิตนั้น สุทธัฏฐกลาปะนี้เกิดขึ้นในเลาที่ร่างกายไม่เป็นปกติ เช่น อ่อนเพลีย หรือไม่สบาย เป็น ส่วนในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ แม่น้ำ ภูเขา พื้นดิน ก้อนหิน เป็นต้น มีเฉพาะสุทธัฏฐกลาปะคือ อวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น และอุตุชกลาปะ นี้นับว่าเป็นพื้นฐานในการรักษากายหรือรูปมิให้เน่าเปื่อย และเป็นพื้นฐานของรูปกลาปะอื่นๆ เพราะถ้าไม่มีอุตุชกลาปะนี้แล้ว รูปกลาปะอื่นๆก็ไม่อาจปรากฏตั้งอยู่ได้เลย

๒). สัททนวกกลาปปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๙ รูป ได้แก่อวินิพโภครูป ๘ และสัททรูป ๑ สัททนวกกลาปะเกิดขึ้นได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่เกิดในสิ่งที่มีชีวิต ได้แก เสียงกรน เสียงท้องลั่น เสียงตบมือ และเสียงดีดนิ้วเป็นต้น ที่เกิดในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น เสียงน้ำไหล เสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เสียงฆ้อง และเสียงกลองเป็นต้น

๓). ลหุตาทิเอกาทสกกลาปะ คือกุ่มรูปจำนวน ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครุป ๘ และวิการรูป ๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปะนี้เกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น ไม่อาจเกิดในสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้ เพราะวิการูป๓ เกิดร่วมได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น และรูปกลาปะนี้เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายสบายเป็นปกติ หรือแข็งแรง

๔). สัททลหุตาทิทวาทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๒ รูป ได้แก่อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ และวิการรูป ๓ รูปกลาปะนี้เกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เช่น เสียงกรน เสียงตบมือ หรือเสียงท้องร้องเป็นต้น ซึ่งเป็นไปโดยแจ่มใสชัดเจน อุตุชกลาปะทั้ง ๔ นี้ เกิดขึ้นในสิ่งที่มีชิวตได้ทุกกลาปะ แต่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิตเกิดเพียงแค่ ๒ กลาปะเท่านั้น คือ สุทธัฏฐกลาปะ และสัททนวกกลาปะ อุตุชกลาปะทั้ง ๔ นี้ เกิดได้ในทุกๆส่วนของร่างกาย

๖). อาหารชกลาปะ อาหารชกลาปะ คือกลุ่มรูปที่เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน มี ๒ กลาปะหรือ ๒ กลุ่ม ดังนี้คือ

๑). สุทธัฏฐกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สุทธัฏฐกลาปะในอาหารชกลาปะนี้ เกิดขึ้นเมื่อบริโภคอาหารเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายอึดอัด ไม่สบาย คลื่นเหียรหรือไม่กระปรี้กระเปร่าเป็นต้น เพราะอาหารชกลาปะที่เกิดจากอาหารนั้นไม่ประกอบด้วยวิการรูป ๓ นั่นเอง

๒). ลหุตาทิเอกาทสกกลาปะ คือกลุ่มรูปจำนวน ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป และวิการรูป ๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาปะนี้เกิดขึ้นเมื่อบริโภคอาหารต่างๆ เข้าไปแล้ว ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่าแข็งแรงขึ้นเพราะอาหารชกลาปะที่เกิดจากอาหารนั้นประกอบดว้ยวิการรูป ๓

อาหารชกลาปะทั้ง ๒ กลาปะนี้ เกิดได้แต่ในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เพราะอาหารชกลาปะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกัมมโอชา(อัชฌัตตโอชา) ที่อยู่ภายในร่างกายคนได้ช่วยอุดหนุนอุตุโอชา(พหิทธโอชา) ซึ่งเป็นโอชาที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ ที่คนกลืนกินเข้าไปอีกต่อหนึ่ง ดังนั้น โอชาในอาหารจึงไม่ใช่อาหารชกกลาปะ แต่จะเป็นอาหารชกลาปะได้ ก็ต่อเมื่อโอชาในอาหารนั้นถูกอุดหนุนหรือส่งเสริมโดยกัมมโอชาที่มีอยู่ใน่างกายของคนอีกทอดหนึ่งก่อน อาหารชกลาปะทั้ง ๒ ชนิดเกิดได้ทั่วไปในทุกส่วนของร่างกาย

รูปกลาปะทั้ง ๔ ประเภทตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อนับจำนวนรูปกลาปะแล้ว มีทั้งหมด ๒๑ กลาปะ แต่ในรูปกลาปะทั้ง ๒๑ กลาปะนี้ เมื่อนับโดยจำนวนรูปแล้วมีเพียง ๒๓ รูป เว้นรูป ๕ รูปคือ ปริเฉทรูป ๑ ลักขณะรูป ๔ รูป ๕ รูปนี้ไม่จัดว่าเป็นรูปกลาปะ เพราะปริเฉทรูปเป็นรูปกำหนดขอบเขต ซึ่งคั่นอยู่ระหว่างรูปกลาปะต่อรูปกลาปะ ไม่เป็นองค์ประกอบร่วมของรูปกลาปะอย่างแท้จริง ส่วนลักขณะรูป ๔ เป็นรูปที่เป็นเครื่องหมายของรูปกลาปะ ซึ่งไม่เป็นองค์ประกอบร่วมของรูปกลาปะเช่นเดียวกัน


๒๖ คู่มือการศึกษารูปสังคหวิภาค,อ้างแล้ว, หน้า ๘๓

๒๗เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons