วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๑๐ การกล่าววาจาที่เป็นสุภาษิต

223202_183476678369548_100001216522700_532760_1921793_n

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๐ การกล่าววาจาที่เป็นสุภาษิต

คำว่า วาจา ได้แก่คำที่แปลงออกไปคำที่กล่าวออกไป คำที่เจรจากัน หมายถึงคำพูดนั่นเองที่ว่าเป็นสุภาษิตได้แก่ เป็นคำที่กล่าวดีคือประกอบด้วยองค์ ๕ ประการคือกล่าวถูกกาลเทศะ ๑ กล่าวจริง ๑ กล่าวอ่อนหวาน ๑ กล่าวมีประโยชน์ ๑ กล่าวด้วยจิตมีเมตตา ๑ คำพูดที่ประกอบด้วยองค์๕นี้เรียกว่า เป็นคำสุภาษิต ลักษณะที่ว่าเป็นมงคลนั้นคือ เป็นเหตุให้ได้รับความเกษมสำราญ มีเกียรติ ความรัก และความเคารพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๑ การบำรุงมารดาบิดา

มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรธิดาอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นพระพรหมของบุตรธิดา คือมีเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อบุตรธิดา เป็นบุรพเทพของบุตรธิดา คือคอยพิทักษ์รักษาบุตรธิดาก่อนคนอื่นเป็นบุรพาจารย์ ของบุตรธิดา คือบรมสั่งสอนบุตรธิดาก่อนครูอาจารย์อื่นๆ ฉะนั้น บุตรธิดาจึงต้องบำรุงท่านด้วยสถาน ๕ คือ

         กุหลาบแดง๑ ) เลี้ยงดูท่านให้ได้รับความสุข

        กุหลาบแดง๒ ) ดำรงวงศ์ตระกูลของท่าน

        กุหลาบแดง๓ ) ช่วยทำกิจการงานของท่าน

        กุหลาบแดง๔ ) ทำตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก

        กุหลาบแดง ๕ ) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

การบำรุงมารดาบิดาด้วยสถานะ ๕ อย่างนี้ย่อมได้รับยกย่องสรรเสริญจากคนทุกชั้น แม้ได้รับภัยอันตรายก็ปลอดภัย เช่น ถูกอาวุธที่อาบยาพิษก็ไม่ตาย ตกอยู่ในหมู่คนที่ดุร้ายก็พ้นมาได้แม้ถูกคุมขังถูกจองจำก็พ้นได้ เพราะเหตุที่นี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การบำรุงมารดาบิดา เป็นมงคลสูงสุด

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๒ การสงเคราะห์บุตรธิดา

ลักษณะที่พุทธปรัชญาได้กล่าวถึงการที่บิดามารดาควรกระทำต่อบุตรธิดาของตนเองเอาไว้๕วิธีด้วยกันคือ

๑ ) ห้ามบุตรไม่ให้กระทำความชั่ว

๒ ) ให้บุตรกระทำแต่ความดี

๓ ) ให้บุตรได้ศึกษาวิชาความรู้

๔ ) หาสามีหรือภรรยาที่สมควรให้

๕ ) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาที่สมควร

ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงบุตรไว้ ๓ ลักษณะคือ (๑) อภิชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ดีกว่าบิดามารดา เช่นบิดามารดาเป็นคนไม่มีศีล แต่บุตรเป็นคนมีศีล บิดามารดาชอบดื่มสุราเล่นการพนันแต่บุตรไม่มีพฤติกรรมอย่างนั้นเป็นต้น (๒) อนุชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ทำตามบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีลบุตรก็เป็นคนมีศีล เข้าลักษณะว่าบิดามารดาเป็นคนอย่างไรบุตรก็เป็นอย่างนั้นด้วย และ (๓) อวชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ต่ำกว่าบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีล แต่บุตรไม่มีศีล มารดาบิดาเป็นคนกระทำแต่กรรมดีส่วนบุตรธิดาเป็นคนชอบกระทำแต่กรรมชั่วเป็นต้น พุทธศาสนาเน้นว่าการที่สังคมครอบครัวมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันอย่างนี้ย่อมนำมาแต่ความเจริญก้าวหน้า วงศ์ตระกูลก็จะมั่นคงเป็นปึกแผ่น มีแต่ความสุขตลอดไป

T120711_03P

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๓ การสงเคราะห์ภรรยา

พุทธศาสนาเน้นกล่าวสอนถึงการที่จะเลือกคู่ชีวิตได้ ๗ ประการคือ

๑) วธกาภริยา คือภรรยาที่เป็นดังเพชฌฆาตคือคิดทำลายล้างสามีอยู่ตลอดเวลา

๒) โจรีภริยา คือภรรยาดังโจร คือคอยลักและยักยอกทรัพย์ของสามีเอาไปเที่ยวบ้าง เล่นการพนันบ้าง ตลอดถึงการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบ้างย่อมอยู่ในกลุ่มของภรรยาอย่างโจร

๓ ) อัยยาภริยา คือภรรยาอย่างนาย คือข่มขี่สามีให้อยู่ในอำนาจเหมือนนายกับบ่าว

๔) มาตาภริยา ภรรยาดังมารดา คือ รักสามีเหมือนมารดารักบุตร ไม่ทำความเดือดร้อนรำคาญให้กับสามี

๕ ) ภคินีภริยา ภรรยาดังน้องสาว คือรักเคารพนับถือสามีเหมือนพี่ชาย ไม่กล่าวคำล่วงเกินสามี

๖ ) สขีภริยา ภรรยาดังสหาย คือเป็นเพื่อนเจ็บเพื่อนตายร่วมสุขร่วมทุกข์กับสามี ไม่คิดหน่ายหนีแม้ในยามตากยาก

๗ ) ทาสีภริยา ภรรยาดังทาสี คือมีความรักเคารพยำเกรงสามี ไม่แสดงกิริยาวาจาล่วงเกินสามีภรรยาประเภท ๑ ,๒ , ๓, ท่านกล่าวว่าไม่สมควรสงเคราะห์เพราะไม่ใช่ภรรยาที่ดี ควรสงเคราะห์ภรรยาประเภท ๔, ๕ ,๖, ๗, ด้วยวิธีสงเคราะห์ ๕ อย่างคือ

๑) ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา

๒ ) ด้วยไม่ดูหมิ่น

๓ ) ไม่นอกใจสามี

๔ ) มอบความเป็นใหญ่ในบ้านเรือนให้

๕ ) ให้เครื่องแต่งตัว

การสงเคราะห์ภรรยา เป็นเหตุให้ครอบครัวได้รับความสุขและมีความเจริญ ก้าวหน้าฉะนั้นพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเป็นมงคลสูงสุด

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๔ การงานไม่อากูล

การงานหมายถึงหน้าที่ , ธุระ , กิจการที่ต้องทำ, เรื่องที่ต้องทำตามหน้าที่ , ไม่อากูลคือไม่วุ่นวาย, ไม่สับสน ไม่ยุ่งเหยิง

การงานไม่อากูลได้แก่การงานที่ทำเป้ฯระเบียบเรียบร้อยไม่คั่งค้าง ไม่ทอดทิ้งรีบเร่งทำติดต่อกันไปด้วยความเพียรและความรอบคอบ การงานเช่นนี้เป็นเหตุให้ได้รับความสุข และความเจริญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคลสูงสุด

T110211_01P

๑๕ การให้

ทาน แปลว่าการให้ หมายถึงการให้ปันสิ่งของของตนที่ควรให้แก่คนที่ควรให้ เป็นการเฉลี่ยความสุขแก่ผู้อื่น แสดงให้เห็นน้ำใจอันดีงาม คือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารี ไม่เป็นคนคับแคบเป็นแก่ตัว การให้นั้นมี ๓ ลักษณะ คือ ๑ การให้เพื่ออนุเคราะห์ ๒ ให้เพื่อสงเคราะห์ ๓ ให้เพื่อบูชา

อนุเคราะห์ได้แก่การให้ความช่วยเหลือ คือให้แก่ผู้ที่มีฐานะด้อยกว่าเรา เช่น ผู้มีอาหารไม่พอรับประทาน มีเครื่องนุ่งห่มไม่พอใช้สอย ให้เพื่อช่วยให้เขามีความสุขสบายขึ้น การให้เพื่อสงเคราะห์นั้นหมายถึงจิตมีมีเมตตาอารีเป็นมูลฐาน คือให้แก่ผู้ที่มีฐานะเสมอกันกับผู้ให้ แม้จะไม่ให้เขาก็ไม่เดือดร้อน แต่เห็นว่าเขาเป็นญาติพี่น้องบ้าง เป็นเพื่อนฝูงบ้าง เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงบ้างให้เพื่อแสดงน้ำใจเผื่อแผ่อารีและนับถือในเขา

การให้อีกอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความเคารพรับเป็นรากฐาน คือการให้เพื่อบูชาคุณ คือให้แก่ผู้ใหญ่ที่มีอายุฐานะและคุณความดีสูงกว่าตน เช่นให้บิดามารดา ครู อาจารย์ และผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีคุณงามความดีทั่วไป ตลอดถึงพระสงฆ์สามเณร ท่านเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากเรา หากแต่เราระลึกถึงพระคุณของท่านที่มีต่อเรา และต่อส่วนรวมคือประเทศชาติจึงให้เพื่อบูชาท่าน

อีกนัยหนึ่งคือ การให้อภัย คือความเบียดเบียดผู้อื่นไม่มีเวรต่อกันและไม่ทำตนเองให้มีภัยต่อใครๆ แม้เขาจะล่วงเกินก้าวร้าวก็ระบับความโกรธได้ การให้อภัยเป็นการให้ชั้นสูง ผู้ที่จะให้อภัยได้ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง การให้ทุกอย่างตามที่กล่าวมานี้เป็นเหตุให้คนรักใคร่เคารพนับถือ และเป็นเหตุให้ได้รับความสุขโสมนัสทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่าเป็นมงคลสูงสุด

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๖ การประพฤติธรรม

คำว่า ธรรม แปลว่า สภาพที่ทรงไว้คือ ทรงสัตว์ไว้มิให้ตกต่ำ หรือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว โดยใจความก็คือความดีความชอบ ความถูกต้อง และความสมควร ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีจำนวนมาก แต่จะนำมากล่าวโดยสังเขปคือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ซึ่งแยกเป็น

ไม่ฆ่าสัตว์

กายสุจริต คือความประพฤติชอบทางกาย ๓ ไม่รักทรัพย์

ไม่ประพฤติผิดในกาม

ไม่พูดเท็จ

วจีสุจริต ความประพฤติชอบทางวาจา ๔ ไม่พูดคำส่อเสียด

ไม่พูดคำหยาบ

ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ

ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น

มโนสุจริต ความประพฤติชอบทางใจ ๓ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

เห็นชอบตามคลองธรรม คือเห็นว่าทำดีได้ดี

ธรรมคือกุศลกรรมบถนี้ เป็นเหตุให้ปลอดภัย เป็นเหตุให้หมดทุกข์ และเป็นทางแห่งความเจริญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า การประพฤติธรรมนำมาซึ่งความสุขดังนี้

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๗ การสงเคราะห์ญาติ

คำว่า ญาติ แปลว่า พี่น้องที่ยังรับรู้กันได้ หมายถึงคนที่สืบเชื้อสายวงศ์วานกันทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา แม้คนที่มิได้สืบเชื้อสายวงศ์วานเดียวกัน แต่มีความรักใคร่คุ้นเคยสนิทสนมกันรู้สุขทุกข์ของกันและกัน ก็นับว่าเป็นญาติกันได้ ดังพุทธภาษิตว่า วิสาสา ปรมา ญาติ ความคุ้นเคยกันเป็นญาติอย่างดียิ่ง

คำว่า สงเคราะห์ แปลว่า ช่วยเหลืออุดหนุนการสงเคราะห์ญาติท่านจำแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) อามิสสงเคราะห์ ได้แก่ให้ข้าว เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคและให้ทุนทรัพย์เพื่อสร้างฐานะครอบครัว หรือช่วยเหลือทำธุระการงานของญาติให้สำเร็จตามปรารถนา(๒) ธรรมอามิส คือการสงเคราะห์โดยธรรม ได้แก่การชักชวนญาติมิตรให้เว้นการทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี เช่นเว้นการดื่มสุราและเว้นการเล่นการพนัน ตลอดถึงการชักชักจูงคนให้มีความเพียร ขยันทำหน้าที่การงานโดยสุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม และช่วยให้คนมีสติปัญญามากขึ้น เพื่อการเอาตัวรอดในสังคมได้ การสงเคราะห์ญาติเช่นนี้เป็นการแสดงอัธยาศัยอันดีงามเป็นเหตุให้หมู่ญาติมีความรักใคร่เคารพนับถือ ทำให้เกิดความอบอุ่น และปราศจากศัตรู

untitled

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๘ การงานที่ไม่มีโทษ

หมายถึงไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม มี ๔ อย่างคือ

๑) การรักษาอุโบสถศีล

๒) การขวานขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการกุศล คือเมื่อเห็นผู้อื่นทำความดี ก็ยินดีช่วยเหลือด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์พร้อมทั้งกำลังปัญญา ช่วยตามกำลังความสามารถและด้วยความเต็มใจไม่นิ่งดูดาย หรือริษยาในความดีของผู้อื่น

๓) การสาธารณะกุศลต่างๆ เช่นปลูกต้นไม้ในวัดวาอาราม ขุดสระน้ำ ทำที่พักผ่อน

๔) การทำสะพาน สร้างถนน สร้างศาลาพักร้อนตามถนนหนทาง เพื่อประโยชน์ประชาชนได้พักอาศัยและได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง การทำความดี ๔ ลักษณะนี้ เป็นกรรมที่ไม่มีโทษมีแต่ประโยชน์ คือเป็นเหตุให้พ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้รับแต่ความสุขใจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑๙ การงดเว้นจากบาป

บาปในที่ทั่วไปได้แก่ความชั่ว ความเลวร้าย ความชั่วร้าย เรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนเหตุแห่งความทุกข์ แต่ให้หลักการนี้หมายเอากรรมกิเลส คือกรรมที่ทำให้เศร้าหมองมี ๔ อย่างคือ ( ๑ ) ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ (๒) อทินนาทาน การรักทรัพย์ (๓) กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติในกาม (๔) มุสาวาท การพูดเท็จ ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการงดเว้นไว้ ๓ อย่างคือ

๑) สัมปัตติวิรัต คือการงดเว้นเมื่อประจวบกับเหตุนั้นๆ คือไม่คิดที่จะงดเว้นมาก่อนแต่เมื่อเหตุนั้นๆมาถึงตัวเข้า จะลวงละเมิดก็ได้แต่ไม่ล่วง เช่นเห็นสัตว์ซึ่งถึงจะฆ่าก็ฆ่าได้แต่ไม่ฆ่า เห็นทรัพย์ซึ่งถ้าจะลักก็ลักได้ แต่ไม่ลัก เห็นหญิงถ้าจะล่วงเกินก็ล่วงเกินได้ แต่ไม่ล่วงเกิน ได้โอกาสที่จะพูดเท็จ แต่ไม่พูดเพราะนึกถึงชาติ ตระกูลและฐานะของตน เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมา เว้นความชั่วนั้นๆได้

๒) สมาทานวิรัติ คือการงดเว้นเพราะสมาทานคือ ได้ปฏิญาณไว้ว่าจะไม่ทำอย่างนั้นๆเช่น รับศีลแล้วก็รักษาได้อย่างเคร่งครัด

๓) สมุทเฉทวิรัติ คือการงดเว้นบาปได้เด็ดขาด คือไม่ทำความชั่วตลอดชีวิต เป็นการงดเว้นของพระอริยบุคคล

การงดเว้นจากบาป คือ การงดเว้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่ทำเรื่องที่จะให้ถึงความเดือดร้อนจึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อนมีแต่ความสุข ความร่มเย็น

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

คำว่า น้ำเมา คือน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเป็นของเสพติดให้โทษ ทำผู้ดื่มให้ขาดสติสัมปชัญญะขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำอะไรตามอารมณ์ไม่คำนึงถึงเหตุผล ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตัว จนไม่นึกถึงศีลธรรมกลายเป็นคนชั่วไป น้ำเมามี ๒ อย่าง คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว เรียกว่าสุราอย่างหนึ่ง น้ำเมาที่หมักหรือแช่ คือยังไม่ได้กลั่น เรียกว่าเมรัยอย่างหนึ่ง แม้ของเสพติดให้โทษอย่างอื่น เช่น กัญชา ฝิ่น เฮโรอิน เป็นต้น ก็จัดเข้าในข้อนี้ได้ เพราะทำผู้เสพติดให้เสียคนยิ่งกว่าสุราและเมรัยเสียอีก เป็นทางแห่งความเสื่อมเรียกว่า อบายมุข

เป็นทางแห่งความเสื่อมของชีวิต ใครก็ตามที่ชอบดื่มเหล้า ชอบเที่ยวกลางคืน เที่ยวดูมหรสพ เล่นการพนันประจำ คบกับคนชั่ว และขี้เกียจทำการงาน ชีวิตของเขาก็จะมีแต่ความเสื่อมเพราะประสบความหายนะต่าง ๆ โทษของอบายมุขทั้ง ๖(ดื่มน้ำเมา) นั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อเตือนสติให้ชาวพุทธให้รู้ถึงความหายนะจะบังเกิดขึ้นได้กับคนที่มักหลงงมงายอยู่ในเรื่องเหล่านี้

การเสพสุราที่เรียกว่าสุราปานะนั้น ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการดื่มสุรานั้น สุราปานะนี้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้เป็นข้อศีลข้อหนึ่งในจำนวนศีล ๕ และได้ทรงแสดงโทษอย่างหนักของการดื่มสุราไว้ในอังคุตตรนิกายบาลีว่า “สุราเมรยปานํ ภิกฺขเว อาเสวิตํ พหุลีกตํ นิรยสํวตฺตนิกํ ติรจฺแนโยนิสํวตฺตนิกํ เปตฺติวิสยสํวตฺตนิกํ โย สพฺพลหุโก สุราเมรยปานสฺส วิปาโก โส มนุสฺสภูตสฺส อุมฺมตฺตภูตสฺส อุมฺมตฺตสํวตฺตนิโก โหตีติ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและน้ำเมาต่าง ๆ นี้ เมื่อดื่มเสมอ ๆ ดื่มมากเข้า ดื่มหลาย ๆ ครั้งเข้า ย่อมสามารถนำเข้าไปสู่นิรยภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปรตรวิสัยภูมิ โทษของการดื่มสุราเมรัย อย่างเบาที่สุดนั้น เมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยกุศลกรรมอื่น ๆ ผู้นั้นก็ย่อมเป็นบ้าง.......”(องฺ.อฎฐก)

T180511_05C

“ยํ เว ปิวิตฺวา ทุจฺจริตํ จรนฺติ กาเยน วาจาย ว เจตสา จ

นิรยํ วชนฺติ ทุจฺจริตํ จริตฺวา ตสฺสา ปุณฺณํ กุมฺภมิมํ กิณาถ”(ขุ.ชา)

แปลว่า “บุคคลที่ดื่มสุราแล้ว ย่อมประพฤติด้วยกาย วาจาและใจครั้นประพฤติแล้วก็ต้องไปตกนรก ขอท่านจงช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้”

ในทางพระพุทธศาสนาสอนให้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา เพราะการดื่มน้ำเมา เพราะการดื่มน้ำเมานั้นถือว่าเป็นฐานของการประมาท ถ้าจะว่าตามกฎเกณฑ์ของศีลแล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำเมา ดื่มเข้าไปก็ต้องเมา เมื่อเมาก็ต้องเป็นฐานประมาทเช่นนั้น ต่างกนแต่ว่าประมาทน้อยหรือประมาทมากเท่านั้น(สมเด็จพระญาณสังวรฯ) การดื่มน้ำเมาจัดเป็นอบายมุขเพราะอาจมีโทษในแง่ของการผิดกฎหมาย เมื่อหลงลืมสติไปกระทำขึ้น ทางพระพุทธศาสนาจึงมีคำสอนในเรื่องการรักษาศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ อันหมายถึงคุณธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ๕ ประการ(เว้นจากการปลงชีวิต)

คนที่งดการดื่มสุรา ก็หมายถึงผู้ที่ไม่ก่อเวร เนื่องจากการเป็นผู้ไม่ประมาทและมีสติอยู่ทุกเมื่อจึงได้ชื่อว่าผู้มีเจตนาขับไล่เวร ชื่อว่าเป็นมงคลเพราะตรงกันข้ามกับเจตนาของผู้ก่อเวรนั้น ในเรื่องนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

“ความงดและความเว้นจากบาปนั้นแม้ทั้งนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ

แห่งการละมีละภัยและเวรอันเป็นไปในทิฎฐธรรมและเป็น

ไปในสัมปรายภพเป็นต้นและบรรลุคุณวิเศษมีประการต่าง ๆ

ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักดื่มน้ำเมา ย่อมไปอรรถไม่รู้ธรรม

ย่อมทำอันตรายแก่มารดา บิดา ย่อมทำอันตรายแม้แก่พระ

พุทธะ พระปัจเจกพุทธ และสาวกของพระตถาคต ย่อม

ถูกครหาในทิฎฐธรรมถึงทุคติในสัมปรายภพ ถึงความ

เป็นบ้าในภพต่อ ๆ ไป ส่วนผู้สำรวมจาการดื่มน้ำเมาย่อม

ถึงความเข้าไปสงบ โทษเหล่านั้นและคุณสมบัติอันตรงกัน

ข้ามจากโทษนั้น เพราะฉะนั้น ความสำรวมจากการดื่มน้ำ

เมานี้ บัณฑิตพึ่งทราบว่าเป็นมงคล”(มงฺคลตทีปนี)

พุทธปรัชญากล่าวว่า เป็นทางเสื่อมและชี้ถึงโทษภัยไว้ ๖ อย่าง คือ (๑) ทำให้เสียทรัพย์ (๒) ทำให้ทะเลาะวิวาท (๓) ทำให้เกิดโรคภัย (๔) ถูกติเตียน (๕) ไม่รู้จักอาย (๖) ทอนปัญญา ดังนั้นควรระมัดระวัง และงดเว้น ไม่ดื่ม การงดเว้นของมึนเมาและของเสพติดให้โทษต่างๆได้เป็นเหตุให้พ้นจากโทษ ๖ อย่าง และทำให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะ มีหิริโอตตัปปะ รู้ผิดชอบชั่วดี รู้การอันควรและไม่ควร

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons