วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๒.๑.๓ บ่อเกิดของชีวิตมนุษย์

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๑.๓ บ่อเกิดของชีวิตมนุษย์

ในอรรถกถาสารัตถัปปกาสินี ท่านอธิบายถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรข้าต้นนั้นโดยท่านกล่าวขยายความคาถาจากพระสูตรข้างต้นนั้นไว้ว่า

“ในสัปดาห์แรกแห่งการปฏิสนธินั้น เกิดเป็นกลลรูปคือเป็นหยาดน้ำใสเหมือนน้ำมันงาในสัปดาห์ที่ ๒ หลังกลลรูปได้เกิดเป็นอัพพุทรูปขึ้น มีลักษณะเป็นฟอง สีเหมือนน้ำล้างเลือดในสัปดาห์ที่ ๓ หลังจากอัพพุทรูป ก็ได้เกิดเป็นเปสิรูปซึ่งมีลักษณะเหมือนชิ้นเนื้อที่เหลว ๆ สีแดง ในสัปดาห์ที่๔ หลังจากเปสิรูปก็ได้เกิดเป็นฆนรุปขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนมีสัณฐานเหมือนไข่ไก่ ในสัปดาห์ ๕ หลังจากฆนรูป จึงได้เกิดปัญจสาขาคือ รูปนั้นงอกออกเป็น ๕ ปุ่ม คือ เป็นศีรษะ ๑ มือ ๒ เท้า ๒ ต่อจากนั้นคือ ในสัปดาห์ที่ ๑๒ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ผม ขน เล็บ ก็ปรากฏขึ้น”๑๕

การที่พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงพัฒนาการของทารกที่อยู่ในครรภ์อย่างละเอียด เริ่มตั่งแต่เป็น Germ Cell เป็นต้นมา จึงเป็นตัวทารกอย่างสมบูรณ์ นี้ก่อให้เกิดความทึงและความประหลาดใจให้แก่วงการแพทย์ใปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อสมัยเมื่อ๒๕๐๐กว่าปีมาแล้วนั้นไม่มีเครื่องมือทันสมัย เช่น กล้องจุลทัศน์ หรือเอ็กซเรย์อันใดเลย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงหยั่งทราบได้ชัดเจน เหมือนกับมีเครื่องมือเหล่านี้ และยังทรงรู้ซึ่งไปกว่านี้อีกมาก ข้อนี้เกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์โดยแท้ อันไม่ใช่วิสัยที่ใครอื่นจะพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

สำหรับปัญหาที่ว่ามนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือ อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้กายเกิดขึ้นนั้น จะพบว่าในพุทธศาสนาเถรวาทได้กล่าวไว้ถึงจุดกำเนิดของมนุษย์ไว้หลายแห่ง ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีร่างกายเกิดขึ้นดังมีกล่าวไว้ในเสลาสูตร ได้กล่าวแสดงถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างกว้างๆว่า “ กายนี้ไม่มีใครสร้างไม่มีใครก่อขึ้นมา แต่กายนี้ก็เป็นสิ่งที่มีใช่ไม่มีเหตุ มีเกิดขึ้นเพราะเหตุมี และดับไปเพราะมีเหตุดับ เหตุของมันนั้นมิใช่เป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอก๑๖

ในมหาตัณหาสังขยสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงการที่มนุษย์ได้ก่อกำเนิดขึ้นในครรภ์ของมารดาว่า ต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการสมบูรณ์ คือ๑๗

๑. มาตา อุตุนี โหติ มารดามีระดู

๒. มาตาปิตโร สนฺนิปติตา โหนฺติ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน

๓. คนฺธพฺโพ ปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ มีสัตว์มาเกิด

ลักษณะของวิญญาณที่มาถือปฏิสนธิในครรภ์จะเกิดขึ้นโดย คันธัพพะ คือวิญญาณที่มีความพร้อมที่มาเกิดจะรอโอกาสที่จะเข้าถือปฏิสนธิในครรภ์ซึ่งจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ตามอำนาจแห่งกรรมของตนดังพุทธภาษิตว่า “ กมฺมํ สตฺเต วิภชฺชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย” กรรมจำแนกสัตว์ในเลวและประณีต ว่าจะเกิดกับใคร ที่ไหน เมื่อไร เมื่อได้โอกาสก็จะเข้าถือปฏิสนธิทันที แต่ถ้าหากขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่ง ชีวิตหรือสัตว์ในครรภ์ก็จะไม่ปฏิสนธิ จึงเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายเรื่องกำเนิดชีวิตเมื่อสองพันกว่าปีเศษมาแล้ว มิได้ขัดแย้งกับกำเนิดชีวิตตามแนววิทยาศาสตร์แต่อย่างใด การเกิดตามแนวทางวิทยาศาสตร์อธิบายได้เพียงเฉพาะขอบเขตแห่งประสาทสัมผัส พ้นประสาทสัมผัสไปแล้ววิทยาศาสตร์ก็รู้ไม่ได้ ภูมิที่สัตว์ถือเกิดตามหลักของพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่า การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์มีอยู่จริง ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามากมาย เช่น ใน คัมภีร์ชาดก เปตวัตถุ วิมานวัตถุ และพระสูตรอื่นๆอีก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในปาปวรรค แห่งคัมภีร์ธรรมบท ความว่า“สัตว์บางพวกเกิดในครรภ์ สัตว์บางพวกที่ทำกรรมชั่วไว้ไปเกิดในนรก สัตว์บางพวกที่ทำกรรมดีไว้ไปเกิดในสวรรค์ ส่วนท่านที่หมดกิเลสแล้วทั้งหลายย่อมนิพพาน

จากพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นชีวิตมนุษย์นั้นยืดยาวออกไปอีกตามอำนาจแห่งกรรมที่ตนเองทำเอาไว้ เว้นไว้แต่พระอรหันต์ผู้ที่หมดกิเลสแล้วย่อมไม่เกิดอีก ส่วนสัตว์ผู้ยังมีกิเลสอยู่ย่อมมีเหตุนำไปสู่การเกิดอีก ซึ่งจะวนเวียนกันอยู่ในภูมิ ๓๑ ภูมิ ดังที่กล่าวแล้วนั้น และในการถือกำเนิดก็ย่อมเกิดในกำเนิด ๔ คือ

๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ได้แก่กำเนิดของมนุษย์และสัตว์ที่คลอดออกมาเป็นตัว

๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ ได้แก่กำเนิดสัตว์เดรัจฉานแล้วมีการฟักออกมาเป็นตัว

๓. สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่สัตว์จำพวกที่เกิดในสิ่งปฏิกูลเช่นหนอนต่างๆ

๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ได้แก่กำเนิดเทวดาและสัตว์นรก๑๘

ในพุทธศาสนาเถรวาทย่อมรับว่าสัตว์ทั้งหลายจะต้องมีการถือกำเนิดอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่อย่างนี้ ซึ่งเป็นมาจากเหตุปัจจัยในส่วนอดีตก็มี ซึ่งเป็นผลมาจากกรรมเป็นสมุฏฐาน กำเนิดของสัตว์บางจำพวกเช่นมนุษย์จะถือกำเนิดก่อตัวขึ้นมาได้ก็ต้องอาศัยเหุตถึงสามประการคือ บิดามารดามีระดู และมีวิญญาณจึงจะถือกำเนิดเป็นตัวตนได้ ซึ่งต้องอาศัยครรภ์มารดาเป็นปัจจัยในการถือกำเนิด ดังนั้นพุทธปรัชญาถือว่าสัตว์ทั้งปวงมีพันธนาการมาจากตัณหาซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสลักที่ไม่ยอมให้สัตว์หนีรอดพ้นได้ง่ายๆ ดังพุทธพจน์ความว่า

" หมู่สัตว์ถูกตัณหา อันทำความสะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย

ดุจกระต่ายติดแร้ว กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้ว

ด้วยสังโยชน์ และธรรมเป็นเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ สิ้นกาลนาน " ๑๙

ก็เพราะเหตุว่า สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้อำนาจของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และแล้วกลับเกิดอีก วกเวียนกันไป หาที่สุดมิได้ แม้ความพอใจความเบิกบานสำราญใจตลอดถึงความสุขแบบโลกๆ นั่นเอง จะนำบุคคลให้ไปพบกับความทุกข์ เพราะว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นของที่เกิดขึ้นมีอยู่ เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และการพลัดพราก หรือสูญเสียความสนุกสนาน และความสุขนั้น ทำให้คนได้รับความทุกข์หนัก ร้ายยิ่งกว่าการไม่เคยได้รับความสุขมาก่อนเสียอีก

ตามนัยของพระอภิธรรมนั้น กล่าวว่ามนุษย์ซึ่งประกอบขึ้นมาด้วยรูปต่างๆถึง ๒๘รูป ในรูป ๒๘ ประการนั้นบางรูปเกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ อย่าง รูปบางอย่างเกิดด้วยเหตุเพียง ๓ สมุฏฐาน และบางรูปก็เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ อย่าง หรือรูปบางอย่างเกิดจากสมุฏฐานเดียว ในพระอภิธรรมท่านได้กล่าวว่าการวิวัฒนาการของรูปมนุษย์เป็นไปด้วยเหตุถึง ๓ กาล คือ

) ปฏิสนธิกาล คือรูปที่เกิดครั้งแรก ปฏิสนธิกาลคือรูปที่เกิดครั้งแรกนั้น กัมมชรูปหรือรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานมีจำนวน ๑๘ รูป และลักขณะรูป ๒ รูป คืออุปัจจยรูปและสันตติรูป รวมเป็น ๒๐ รูป เป็นรูปที่เกิดที่แรกที่สุด คือเกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ส่วนรูปอีก ๘ รูปนอกนั้น เป็นรูปที่เกิดจากจิตตสมุฏฐานบ้าง อุตุสมุฏฐานบ้างและอาหารสมุฏฐานบ้างซึ่งเป็นรูปที่เกิดในภายหลัง

) ปวัตติกาล คือรูปที่เกิดในกาลต่อมาหลังจากปฏิสนธิการจนถึงจุติกาล คือรูปที่เกิดหลังจากปฏิสนธิจิตแล้วก็เกิดเรื่อยๆไปตลอดชั่วอายุของมนุษย์ โดยมีกำหนดตามสมุฏฐานดังนี้ คือ

- กัมมชรูป คือกรรมอันส่งผลมาพร้อมกับปฏิสนธิจิตแล้ว ยังเกิดขึ้นในทุกขณะจิตเรื่อยไปนับแต่ปฐมภวังค์จนถึงจุติกาล

- จิตตชรูป คือรูปทีเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมภวังค์ คือหลังจากปฏิสนธิจิตดับลงแล้วเกิดเรื่อยไปทุกขณะจิตจนสิ้นจุติกาล

- อุตุชรูป คือรูที่เกิดแต่อุตุเป็นสมุฏฐานนั้นแยกได้ ๒ อย่าง คือ (๑) รูปที่เกิดจากอัชฌัตตอุตุ จะเกิดตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตอันเป็นจิตดวงแรก (๒) ส่วนรูปที่เกิดจากพหิทธอุตุนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อกายตั้งอย่างเรียบเร้อยแล้ว อุตุชรูปดังกล่าวงนี้จะตั้งอยู่เรื่อยไปทุกขณะจิตไม่ขาดสายจนกว่าจะสิ้นชีวิต

- อาหารชรูป คือรูปที่เกิดแต่โอชาเป้นสมุฆฐานั้น กำหนดได้เป็น ๒ อย่างเช่นกัน คือ (๑) รูปที่เกิดแต่อัชฌัตตโอชาหรือกัมมโอชา เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิจิต (๒) รูปที่เกิดจากพหิทธโอชาหรืออุตุโอชาเกิดขึ้น สัปดาห์ที่สองจะเริ่มแต่กายแล้ววิวัฒนาการเป็นอัพพุทะ ในช่วนี้อาหารที่มารดาบริโภคเรื่อแผ่ซืมซาบเข้าไป ในช่วง ๗ วันแรกตอนที่ยังเป็นกัลละ อาหารยังแผ่ซืมซาบเข้าไปไม่ได้

) จุติกาล คือรูปที่เกิดขึ้นในเวลาจุติ(ตาย) คือจิตตชรูป อุตุชรูป และอาหารรูป เว้นกัมมชรูป และจิตตชรูปเฉพาะจุตจิตของพระอรหันต์ จิตตชรูปในอุปาทขณะแห่งจุติจิตของสัตว์ในปัญจโวการภูมินั้น ยังคงตั้งอยุ่จนครบอายุจึงดับ อาหารชรูปนั้นเกิดขึ้นได้ทุกขณะของจิตแม้ในภังคะขณะของจุติจิต อาหารชรูปก็ยังเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย และตั้งอยุ่ได้อีกประมาณเท่าอายุของจิต ๑๗ ดวงหรือ ๕๐ อนุขณะของจิต ส่วนอุตุชรูปนั้น เกิดได้เรื่อยไปแม้หลังจากกัมมชรูป จิตตชรูป และอาหารชรูปดับไปแล้วคือแม้ในขณะที่เป็นซากศพแล้ว อุตุชรูป ก็เกิได้เรื่อยไปอยู่การวิวัฒนาการของชีวิตตามนัยของพระสูตรนั้น ดังที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์พุทธศาสนานั้นได้กล่าวถึงกำเนิดของชีวิตไว้เช่นเดียวกันกับทรรศนะทางวิทยาศาสตร์ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งพระองค์ทรงเอาไว้นับได้ ๒๕๔๒ ปีมาแล้วยังตรงกัน ซึ่งมีกล่าวไว้ในยักขสังยุตต์สถาถวรรค สังยุตตนิกาย ซึ่งมีข้อความดังนี้

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ซึ่งเป็นอารามของท่านอาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นยักษ์ตนหนึ่ง( คำว่ายักษ์ หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา) ชื่ออินทกะ ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามด้วยคาถาว่า

รูปํ น ชีวนฺติ วทนฺติ พุทธา กถํ นวยํ วินฺทติมํ สรีรํ

กตสฺส อฏฺฐียก ปิณฺฑเมติ กถํ นวยํ สชฺชติ คพฺภสฺมึ

“ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสรู้ รูปมิใช่ชีวะ สัตว์(ในโลก) ได้สรีระ (ร่างกายนี้มาอย่างไรเล่ากระดูกและเลือดเนื้อของสัตว์มาจากไหน สัตว์นี้เกิดขึ้นในครรภ์ได้อย่างไร” พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบแก่อินทกะยักษ์ความว่า

ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ

อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เกสา โลมา นขาปิ จ

ยญฺจสฺส ภุญฺชติ มาตา อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ

เตนโส ตตฺถ ยาเปติ มาตุกุจฺฉิโต นโร

ความว่า “ รูปนี้เป็นกลละก่อน จากกลละเป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขา) เกิดขึ้น มารดาของทารกในครรภ์นั้นบริโภคข้าวน้ำ โภชนาหารอันใดเข้าไปทารกที่ในครรภ์แม่นั้น ก็ดำรงชีวิตอยู่ในครรภ์แม่ด้วยโภชนะนั้น๒๐

คัมภีร์อรรถกถาสารัตถปกาสินี ภาค ๑ หน้า ๓๕๑–๓๕๒ ได้อธิบายความหมายไว้ว่ายักษ์ชื่ออินทกะ ยังไม่หายสังสัยว่า ถ้ารูปมิใช่ชีวะแล้ว กระดูกและเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นสรีระร่างกายของสัตว์มาจากไหน ยักษ์อินทกะเข้าใจว่าสัตว์ที่เกิดในท้องมารดานั้น เกิดขึ้นครบครันทุกส่วนพร้อมกันทุกอย่างในคราวเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสชี้แจงให้อินทกะยักษ์เข้าใจว่า มิได้เกิดขึ้นในครั้นเดียวกันตามที่เข้าใจ แต่หากมีการเจริญเติบโตเป็นไปตามลำดับๆ คือมีเมือกเกิดขึ้นมาก่อน ต่อมาอีก ๗ วัน เมือกนั้นก็กลายเป็นหยดน้ำใสๆ มีขนาดเท่าหยดน้ำบนปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยขนแกะแรกเกิด ๓ เส้น (ขวั่นกัน) มีสีแดงเรื่อๆ (เหมือนน้ำล้างเนื้อ) ต่อมาอีก ๗ วันก็กลายเป็นเปสิคือชิ้นเนื้อและอีก ๗ วัน ก็กลายเป็นฆนะ และอีก ๗ วันต่อมาจะกลายเป็นปุ่ม เรียกว่าปัญจสาขาคือ ขา ๒ แขน ๒ และศรีษะ ๑ ดังแผนผังการวิวัฒนาการของชีวิตมนุษย์ดังนี้

- กลละ ๗ วัน

- อัพพุทะ ๗ วัน

- เปสิ ๗ วัน

- ฆนะ ๗ วัน

- ปัญจสาขา ๗ วัน

- เมื่อครบ ๔๒ สัปดาห์แล้วจะมีผม ขน เล็บและมีสายสะดือ

ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงสภาวะที่สัตว์อยู่ในครรภ์ว่า มารดารับประทานอาหารเข้าไปสัตว์ที่อยู่ในครรภ์ก็จะได้รับอาหารนั้นด้วย โดยทางสายสะดือของตนซึ่งติดอยู่กับสายสะดือของมารดามีรูเหมือนก้านบัว รสอาหารจะไหลไปตามรูนั้น หล่อเลี้ยงทารกให้เกิดรูปร่างกาย และสัตว์นั้นอยู่ในครรภ์ก็นานประมาณ ๑๐ เดือน จึงจะคลอดออกมาจากครรภ์มารดาและยังมีปัญหาที่มีการอภิปรายกันโดยทั่วไปก็คือ วิญญาณเข้าไปอยู่ในครรภ์มารดาได้อย่างไร ซึ่งในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในมหาตัณหาสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสภ์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงการเกิดในครรภ์ของสัตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันสัตว์ที่จะเกิดในครรภ์ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๓ ประการประกอบกันและ คือถึงแม้มารดาบิดาจะร่วมรสกันแต่หากมารดาไม่มีระดู คันธัพพุ( วิญญาณที่จะมาเกิด) ในครรภ์ก็จะไม่ตั้งขึ้นสัตว์ในครรภ์ก็จะไม่ตั้งขึ้นอีกเหมือนกัน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแลมารดาบิดาร่วมรสกันด้วย มารดามีระดูด้วยและคันธัพพะก็ตั้งขึ้นด้วยสัตว์ในครรภ์ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมบริหารครรภ์นั้นด้วยท้อง อันเป็นภาระหนักด้วยความห่วงใยมาโดยตลอด ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง ครั้นครบ ๙ เดือนหรือ ๑๐ เดือนแล้ว มารดาย่อมคลอดสัตว์เกิดในครรภ์นี้นั้นและมารดาเลี้ยงดูลูกนั้นผู้เกิดมาแล้วด้วยโลหิตของตนเอง ดูกรภิกษุทั้งหลายอันโลหิตนี้ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้าก็คือน้ำนมมารดา”

มนุษย์ตามทรรศนะของพุทธศาสนานั้นอาจตอบได้ทั้งในแงของความจริงขั้นสมมุติหรือสมมติสัจจะและทั้งในขั้นปรมัตถ์หรือปรมัตถ์สัจจะในแง่ความจริงขั้นสมมตินั้น อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์เป็นเป็นหลายๆอย่าง ซึ่งจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ สูง ต่ำ ดำหรือขาว นั้นเป็นเพียงขั้นที่สมมติบัญญัติเรียกกันเท่านั้นเพื่อง่ายในการเข้าใจกันในภาษามนุษย์ ส่วนในขั้นปรมัตถ์นั้นพุทธศาสนา กล่าวว่าเป็นเพียงกระบวนการแห่งธรรมล้วนๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาได้ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีใครสร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเพราะการดลบรรดาลบองผู้ใดทั้งสิ้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเราหรือเขาแต่อย่างใด ดังนั้นพระพุทธศาสนาเถรวาทได้กล่าวถึงมนุษย์ตามที่เป็นอยู่จริงในแง่ของปรมัตถ์ พร้องทั้งชี้ให้เห็นขั้นตอนสมมติสัจจะว่า มันถูกเปิดบังด้วยอวิชชา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าไม่ควรติดอยู่กับหลักการว่ามนุษย์ขั้นสมมติหรือขั้นปรมัตถ์

.๑.๔ มนุษย์ตามนัยแห่งเอกนิยม

ในความหมายเชิงเดียวนี้พุทธศาสนาเถรวาทถือว่ามนุษย์ว่า มนุษย์ก็คือกระบวนการแห่งธรรม ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยแห่งแห่งธรรม ซึ่งเป็นการสืบต่อกันแห่งสังขารธรรม๒๑พุทธศาสนาแสดงทรรศนะเกี่ยวกับมนุษย์ว่า “มนุษย์หรือตัวตนของมนุษย์ที่แท้จริงนั้นไม่มี๒๒แต่เชื่อว่ามนุษย์เกิดขึ้นมาในฐานะที่เป็นเพียงการประชุมของเหตุปัจจัย หรือส่วนประกอบต่างๆ การเกิดขึ้นของภาวะที่เรียกว่ามนุษย์นั้นเกิดจากการรวมตัวกันเข้า ของส่วนต่างๆเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ในทางตรงกันข้ามเมื่อส่วนต่างๆถูกแยกออกไปแล้วความเป็นมนุษย์ก็จะไม่มี นอกจากนั้นแล้วพุทธศาสนายังมองกว้างออกไปถึงโลกที่มีอยู่ภายนอกตัวมนุษย์ เป็นแต่เพียงการรวมตัวเข้าของสสารเช่นเดียวกับการรวมกลุ่มของธาตุต่างๆแล้วเกิดเป็นมนุษย์ เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นพุทธศาสนากล่าวว่า “รถ ” ซึ่งเป็นลักษณะเชิงอุปมาให้เข้าใจว่า รถเมื่อองค์สัมภาระต่างๆมีเพลา ล้อ กง และงอนเป็นต้น ถูกนำมาประกอบกันเข้าตามแบบที่กำหนด ก็ถูกบัญญัติเรียกว่ารถชนิดต่าง๒๐ๆ มีชื่อต่างๆ แต่ถ้านำมาแยกส่วนประกอบแล้วจะพบว่าตัวของรถนั้นไม่มี มีแต่ส่วนประกอบต่างๆและส่วนประกอบเหล่านั้นต่างก็มีชื่อเรียกจำเพราะแต่ละอย่างอยู่แล้ว ตัวตนของรถก็ไม่มี ดังนั้นจะเป็นว่าตัวตนอันแท้จริงมีได้มีอยู่ รถจึงเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในฐานะเพียงเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุปัจจัยคือส่วนประกอบย่อยอื่นๆ ของมันอีกต่อไปจึงเป็นว่า คำว่า “รถ”หรือ “ตัวตน”ของรถจึงมีอยู่เพียงแคในแง่สมมติบัญญัติเท่านั้น แต่ในเชิงปรมัตถ์หามีอยู่ไม่๒๓

๒.๑.๕ มนุษย์ตามนัยแห่งทวินิยม

การศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นว่ามนุษย์ตามที่มีแสดงไว้ในพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่แสดงไว้เป็นแนวเดียวกันหรือหรือแบบเดียวกันหมด แต่กล่าวได้หลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับบุคคลที่ฟังคำสั่งสอนหรือเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และจริตของบุคคลที่พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงแสดงเพื่อให้คำสอนนั้นเข้าถึงบุคคลนั้นอย่างแท้จริง บ้างคนเข้าใจช้า แต่บ้างคนก็เพียงยกหัวข้อธรรมขึ้นมากล่าวหรือเพียงแต่ยกโดยอรรถะนั้นไม่เพียงพอจะต้องทำพยัญชนะคืออธิบายรายละเอียดโดยพิสดารจึงเข้าใจ และบ้างคนไม่ว่าจะแสดงโดยอรรถะหรือโดยพยัญชนะก็ไม่สามารถเข้าใจได้๒๕พุทธศาสนาเถรวาทย่อมรับว่าคนแต่ละคนจะมีระดับอินทรีย์ที่แตกกันหรือที่เรียกว่า มีอินทรีย์ไม่เสมอกันดังนั้นมนุษย์ตามทรรศนะพุทธศาสนาจึงได้กล่าวถึงองค์รวมของมนุษย์ว่ามี ๒ ส่วน กล่าวคือ รูปกับนาม หรือรูปธรรมและนามธรรม หรือคำสามัญที่ใช้พูดกันโดยทั่วไปคือ กายและจิต คือส่วนใดที่มีลักษณะแข็งจะจัดเป็นรูป หรือเรียกว่ารูปกายหรือรูปขันธ์ ส่วนที่สัมผัสไม่ได้เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ถือว่าเป็นนามเรียก หรือว่าจิตหรือนามขันธ์ ดังนั้นมนุษย์ตามลักษณะทางทวินิยมจึงกล่าวได้ว่ามนุษย์เมื่อรวมกันเข้าจะมี ๒ ส่วนคือกายกับจิต

๒.๑.๖. มนุษย์ตามนัยแห่งพหุนิยม

เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วพุทธศาสนาย่อมรับว่ามนุษย์แยกออกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญๆได้ ๒ ส่วนคือกายส่วนหนึ่งและจิตอีกส่วนหนึ่ง แต่ยังมีในที่หลายแห่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามนุษย์นั้นมีส่วนประรวมๆกันหลายอย่าง ซึ่งเป็นการแยกส่วนต่างของมนุษย์ออกเป็นส่วนย่อยหรือแยกออกเป็นแบบพหุนิยม ซึ่งสามารถแยกย่อยออกไปได้หลายอย่าง ซึ่งพุทธศาสนาเถรวาทได้กล่าวถึงมนุษย์ว่ามีส่วนประกอบที่สามารถย่อยทอนให้เล็กลงไปได้ถึง ๕ ประการซึ่งเรียกวิธีการทางธรรมนี้ว่า มนุษย์ตามแบบของเบญจขันธ์ ๒๖ ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้

๑.) รูปขันธ์ ได้แก่สิ่งที่เป็นส่วนของรูปทั้งหมด อาทิเช่น ร่างกาย หรือสิ่งที่สสารและพลังงานในร่างกายพร้อมทั้งคุณสมบัติและพฤติกรรมของมันด้วย

๒.) เวทนาขันธ์ ได้แก่ความรู้ลึกทางอารมณ์ว่าเป็นสุข คือความสบายกายสบายใจเรียกว่าสุขเวทนาหรือเป็นทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ เรียกว่าทุกขเวทนา หรือเฉยๆต่ออารมณ์ต่างๆซึ่งไม่สุขไม่ทุกข์เรียกว่า อัพยากตเวทนา

๓.) สัญญาขันธ์ ได้แก่ความจำได้หมายรู้ เป็นการกำหนดรู้เครื่องหมายหรือลักษณาการต่าง ๆ เช่นจำได้หมายรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจ

๔ ) สังขารขันธ์ ได้แก่เจตสิกธรรมอันเป็นอารมณ์ที่เกิดกับจิต ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวนำ แต่งจิตให้ดีให้ชั่วหรือเป็นกลาง ๆ ถ้าแต่งจิตให้ดีเรียกว่ากุศลสังขาร ถ้าแต่งจิตให้ชั่วเรียกว่าอกุศลสังขาร ถ้าเป็นกลาง ๆไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่าอัพยากตสังขาร

๕ ) วิญญาณขันธ์ ได้แก่ความรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เป็นรู้ที่อาศัยอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกมาประจวบกันเข้าแล้วทำให้เกิดวิญญาณหรือความรู้ขึ้น

ดังนั้นการแบ่งแยกย่อยมนุษย์ออกได้เป็น ๕ ส่วนตามนัยแห่งเบญจขันธ์นี้ ในแต่ละขันธ์ยังสามารถวิเคราะห์แยกออกเป็นส่วนย่อยต่อไปอีกอย่างพิศดารซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป แต่ถึงอย่างไรก็ตามการวิเคราะห์มนุษย์ออกเป็น ๕ ส่วนตามนัยแห่งเบญจขันธ์นี้เมื่อย่อลงมาแล้วก็เป็น ๒ คือ กายกับจิต หรือรูปกับนาม โดยกำหนดได้ดังนี้

clip_image001clip_image002 มหาภูตรูป อุปาทายรูป

กาย(รูป)

clip_image003จิต(นาม)

clip_image004clip_image004[1]clip_image004[2]เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

.๖.๑ มนุษย์ตามนัยของอายตนะ

ในพระสูตตันปิฏก มีหลายๆสูตรได้วิเคราะห์มนุษย์โดยถือเอาอายตนะเป็นหลักของการรวมตัวหรือการประชุมกันเข้าของอายตนะโดยเฉพาะแล้วเป็นผลรวมของอายตนะภายในซึ่งมี ๖ ประการ(1)คือ (๑) จักขุ คือตา (๒) โสต คือหู (๓) ฆาน คือจมูก (๔) ชิวหา คือลิ้น (๕) กาย คือกาย (๖) มโน คือใจ ตามหลักของพุทธศาสนาเมื่อพูดถึงอายตนะภายในแล้ว มักจะพูดถึงอายตนะภายนอกด้วยซึ่งมีการเซื่อมต่อกันกับอายตนะภายในซึ่งมีอยู่ ๖ ประการตามทางอายตนะภายใน ๖ ดังนี้ (๑) รูปะ รูป (๒) สัททะ เสียง (๓) คันธะ กลิ่น (๔) รสะ รส (๕)โผฎฐัพพะ สิ่งที่ต้องกาย (๖) ธรรมารมณ์ สิ่งที่รู้ได้ทางใจ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ มักถูกนำมากล่าวคู่กันเสมอ ถ้านับอายตนะภาย ใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ รวมกัน ก็จะได้เป็นอายตนะ ๑๒ และถ้าจับคู่กันก็จะเป็น ๖ คู่ดังนี้

คู่ที่ ๑. จักขายตนะ อายตนะคือตา +รูปายตนะ อายตนะคือรูป

คู่ที่ ๒ โสตายตนะ อายตนะคือหู + สัททายตนะ อายตนะคือเสียง

คู่ที่ ๓ ฆานายตนะ อายตนะคือจมูก +คันทายตนะ อายตนะคือกลิ่น

คู่ที่ ๔ ชิวหายตนะ อายตนะคือลิ้น +รสายตนะ อายตนะคือรส

คู่ที่ ๕ กายายตนะ อายตนะคือกาย +โผฎฐัพพายตนะ อายตนะคือสิ่งที่ต้องกาย

คู่ที่ ๖ มนายตนะ อายตนะคือใจ +ธัมมายตนะ อายตนะคือธรรมารมณ์ทางใจ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ ดังกล่าวนี้อาจแบ่งย่อยได้อีก เช่น อายตนะภายใน คือ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ และกายายตนะ อาจแบ่งออกไปตามปัจจัย คติ นิกาย และบุคคล ส่วนมนายตนะแบ่งออกเป็น ๘๙ ประเภทโดยแยกเป็นกุศลวิญญาณ อกุศลวิญญาณ และกิริยาวิญญาณ แต่เมื่อแบ่งเป็นวัตถุและปฏิปทาก็มีประเภทเป็นอเนกส่วนอยตนะภายนอก คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ และรสายตนะ แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆโดยแบ่งเป็นสภาค วิสภาค และปัจจัยเป็นต้น โผฎฐัพพายตนะแบ่งเป็น ๓ ประเภทด้วยอำนาจปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ถ้าแบ่งโดยถือความแตกต่างกันแห่งปัจจัยแล้วมีประเภทเป็นอนันต์ ส่วนธรรมายตนะมีประเภทเป็นอเนกโดยแบ่งตามความแตกต่างกันแห่งสภาวะและความแตกต่างแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สุขุมรูป และนิพพาน ถึงอย่างไรก็ตาม อายตนะ ๑๒ นี้ อาจย่อลงได้เป็น ๒ ส่วน คือกายกับจิต โดยกำหนดดังนี้

clip_image005 จักขายตนะ

รูปายตนะ

โสตายตนะ

สัททายตนะ

ฆานายตนะ

คันธายตนะ กายหรือรูป

ชิวหายตนะ

รสายตนะ

กายายตนะ

โผฎฐัพพายตนะ

clip_image006 มนายตนะ

ธัมมายตนะ จิตหรือนาม

.๖.๒ มนุษย์ตามนัยแห่งความเป็นธาตุ

พุทธปรัชญานอกจากวิเคราะห์มนุษย์เป็นขันธ์ ๕ และอายตนะ ๖ แล้ว ยังได้วิเคราะห์มนุษย์เป็นธาตุ ๖ และธาตุ ๑๘ ตามนัยดังกล่าวนี้ มนุษย์ก็คือสิ่งที่เกิดจากการรวมกันเข้าของธาตุ ๖ หรือธาตุ ๑๘ นั้นเอง ธาตุ ๖ ตามที่แสดงในพุทธปรัชญา คือ

๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน

๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ

๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ

๔. วาโยธาตุ ธาตุลม

๕. อากาสธาตุ ธาตุอากาสหรือช่องว่าง

๖. วิญญาณธาตุ ธาตุวิญญาณ หรือธาตุรู้

ดังนั้นธาตุ ๖ นี้ อาจย่อเหลือเพียง ๒ ส่วน คือกายกับจิต โดยกำหนดดังนี่

clip_image007 ปฐวีธาตุ

อาโปธาตุ

เตโชธาตุ กาย (รูป)

วาโยธาตุ

อากาสธาตุ

clip_image008 วิญญาณธาตุ จิต (นาม)

ส่วนการแสดงลักษณะของมนุษย์อีกนัยหนึ่ง กล่าวคือการแสดงตามนัยของธาตุ ๑๘ แม้การแสดงตามนัยของธาตุ ๑๘ จะแตกต่างไปจากนัยของธาตุ ๖ บ้าง แต่ทั้งสองนัยนี้ ก็หาได้ต่างกันในเนื้อหาที่สำคัญไม่ ธาตุ ๑๘ (1) ตามที่แสดงไว้ในพุทธศาสนานั้น มีดังนี้

๑. จักขุธาตุ ธาตุคือตา

๒. รูปธาตุ ธาตุคือรูป

๓. จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้ทางตา

๔. โสตธาตุ ธาตุคือหู

๕. สัททธาตุ ธาตุคือเสียง

๖. โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้ทางหู

๗. ฆานธาตุ ธาตุคือจมูก

๘. คันธธาตุ ธาตุคือกลิ่น

๙. ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้ทางจมูก

๑๐. ชิวหาธาตุ ธาตุคือลิ้น

๑๑. รสธาตุ ธาตุคือรส

๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้ทางลิ้น

๑๓. กายธาตุ ธาตุคือกาย

๑๔. โผฎฐัพพธาตุ ธาตุคือสิ่งที่ต้องกาย

๑๕. กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้ทางกาย

๑๖. มโนธาตุ ธาตุคือใจ

๑๗. ธัมมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์

๑๘. มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้ทางใจ และมนุษย์แบ่งตามลักษณะของธาตุทั้ง ๑๘ นี้ อาจย่อให้เหลือเพียง ๒ ส่วน คือกายกับจิต โดยกำหนดดังนี้

clip_image009 จักขุธาตุ

รูปธาตุ

โสตธาตุ

สัททธาตุ

ฆานธาตุ กาย(รูป)

คันธธาตุ

ชิวหาธาตุ

รสธาตุ

กายธาตุ

โผฎฐัพพธาตุ

clip_image010จักขุวิญญาณธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ จิตหรือนาม

ฆานวิญญาณธาตุ

clip_image011 ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายวิญญาณธาตุ จิตหรือนาม

มโนวิญญาณธาตุ

ธัมมธาตุ

clip_image012 มโนธาตุ เป็นได้ทั้งรูปและนาม

.๕.๓ มนุษย์ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในพระสูตร จากแนวปฏิจจสมุปบาทนี้มีนัยที่อาจนำมาอธิบายถึงเหตุปัจจัยสายเกิดของกาย และเหตุปัจจัยที่ทำให้กายดับ(คือไม่เกิด) ตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั้น ถือว่าเป็นหลักหรือกฏที่แน่นอนตายตัวเหมือนสูตรทางคณิศาสตร์หรือสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อแนวในทางการศึกษาปฏิจจสมุทบาทโดยการมองจากหลายแง่มุม ดังนั้น ในที่นี้จะนำหลักปฏิจจสมุปบาทมาแสดงเป็น ๓ แบบ ดังนี้ คือ

รูปแบบที่ ๑

เหตุปัจจัยในฝ่ายที่ทำให้เกิด

อวิชชา

สังขาร

วิญญาณ

นามรูป

สฬายนะ

ผัสสะ

เวทนา

ตัณหา

อุปาทาน

ภพ

ชาติ

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เหตุปัจจัยที่ทำให้ดับ

อวิชชาดับ

สังขารดับ

วิญญาณดับ

นามรูปดับ

สฬายตนะดับ

ผัสสะดับ

เวทนาดับ

ตัณหาดับ

อุปาทานดับ

ภพดับ

ชาติดับ

ชราดับ มรณะดับ โสกะดับ ปริเทวะดับ ทุกข์ดับ โทมนัสดับ อุปายาสดับ

รูปแบบที่ ๑ (ดูปฏิจจสมุปบาทแบบที่ ๑) ช่วงที่ ๔ ของปฏิจจสมุปบาท(ทั้งในสายที่ทำให้เกิดและสายที่ทำให้ดับ) คือนามรูป นามรูปนี้แยกได้เป็น ๒ ส่วน คือ นาทกับรูป นามคือส่วนที่เป็นจิต ส่วนรูปคือส่วนที่เป็นกาย พุทธปรัชญาถือว่า มนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นจากการรวมเข้าด้วยกันของทั้ง ๒ ส่วนนี้ จะเห็นว่า ช่วงที่ ๑ ซึ่งเป็นช่วงแรกที่สุดของปฏิจจสมุปบาท คืออวิชชา และช่วงสุดท้ายคือช่วงที่ ๑๒ นั้น เป็นชรา(+มรณะ+โสกะ+ปริเทวะ+ทุกข์+โทมนัส+อุปายาส) ในแบบที่ ๑ ในแง่ของการเกิด จึงกล่าวได้ว่า อวิชชาเป็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดของกายช่วงแรกที่สุด คือเพราะอวิชชามี สังขารจึงมี เพราะสังขารมี วิญญาณจึงมีเพราะวิญญาณมี นามรูป(จิตและกาย) จึงมี หรือในแง่ของการดับ (คือไม่มีการเกิดขึ้นอีก)ความไม่เกิดขึ้นของกายก็เป็นผลที่สืบเนื่องผูกพันมาจากความดับของอวิชชา คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป(จิตและกาย)จึงดับในที่นี้มีข้อที่ควรทำความเข้าเพิ่มเติมบางอย่าง คือ อวิชชาที่กล่าวในความหมายดังกล่าวนี้ อยู่ในฐานะเป็นอดีตเหตุปัจจัย กายนั้นเป็นปัจจุบันผลในชาตินี้ของอดีตเหตุปัจจัยคืออวิชชา และยังไม่ทำลายอวิชชาให้หมดไปตราบใดอวิชชาก็จะเป็นเหตุปัจจัยที่ผูกพันให้กายเกิดในชาติหรือภพต่อไปตราบนั้นส่วนการทำลายอวิชชาให้หมดไปได้ เป็นเหตุปัจจัยของการดับหรือการไม่เกิดขึ้นอีกของกายการดับของกายในที่นี้นั้นหมายถึงการดับการเกิดของกายในแง่ของสังสารวัฏ เมื่อไม่มีอวิชชา การเกิดขึ้นของกายที่เป็นไปหรือดำเนินไปเพราะอวิชชาก็มีไม่ได้ อนึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้การเกิดขึ้นนั้น นอกจากเหตุปัจจัยคืออวิชชาแล้ว ยังมีเหตุปัจจัยอื่น ๆ คือ เหตุปัจจัยที่เป็นจิตตสมฺฏฐาน อุตฺสมฏฐาน และอาหารสุฏฐานเหตุปัจจัยที่เกิดจากสมฏฐานทั้ง ๓ นี้เป็นปัจจัยเหตุ ดังนั้น สำหลับบุคคลบางคนที่หมดกิเลสหรืออวิชชาแล้เช่นพระอรหันต์ แม้อวิชชาจะดับแล้ว กายก็อาจจะดำรงอยู่ได้ ในปัจจุบันชาตินี้จนสิ้นชีวิตด้วยอำนาจเหตุปัจจัยที่ดป็นปัจจุบันเหตุ แต่หลังจากสิ้นชีวิต จะไม่มีการเกิดของกายหรือสังสารวัฏอีกต่อไป.

วงจรชีวิตแบบที่ ๒

สายเกิด สายดับ

๑. อวิชชา สังขาร ๑. อวิชชาดับ สังขารดับ

๒. สังขาร วิญญาณ ๒. สังขารดับ วิญญาณดับ

๓. วิญญาณ นามรูป ๓. วิญญาณดับ นามรูปดับ

๔. นามรูป สฬายตนะ ๔. นามรูปดับ สฬายตนดับ

๕. สฬายตนะ ผัสสะ ๕. สฬายตนะดับ ผัสสะดับ

๖. ผัสสะ เวทนา ๖. ผัสสะดับ เวทนาดับ

๗. เวทนา ตัณหา ๗. เวทนาดับ ตัณหาดับ

๘. ตัณหา อุปาทาน ๘. ตัณหาดับ อุปาทานดับ

๙. อุปาทาน ภพ ๙. อุปาทานดับ ภพดับ

๑๐. ภพ ชาติ ๑๐. ภพดับ ชาติดับ

๑๑ ชาติ ชรา ๑๑. ชาติดับ ชราดับ

๑๒ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ๑๒. ชราดับ มรณะดับพร้อมทั้ง

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส โสกะดับ ปริเทวะดับ ทุกข์ดับ

โทมนัสดับ อุปายาสดับ๒๗

แบบที่ ๒ เป็นการแยกหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นคู่ๆได้ ๑๑ คู่ นามรูป(คือจิตกับกาย) อยู่คู่ที่ ๓ และคู่ที่ ๔ นามรูปในคู่ที่ ๓ ตั้งอยู่ในฐานะเป็นผล ส่วนนามรูปในคู่ที่ ๔ ตั้งอยู่ในฐานะเป็นเหตุ นามรูปในคู่ที่ ๓ มาคู่กับวิญญาณ คือวิญญาณเป็นเหตุ นารูปเป็นผล ดังนั้น ในแบบที่๒ นี้แสดงให้เห็นว่า เหตุเกิดของร่างกายมนุษย์ในช่วงที่ใกล้ชิดที่สุดคือวิญญาณ วิญญาณเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดร่างกาย เพราะวิญญาณมี กายจึงมี เพราะวิญญาณดับ กายจึงได้ดับ๒๘กายึจงเป็นผลทีมาจากเหตุปัจจัยคือวิญญาณ และในขณะเดียวกันกายก็ตั้งอยู่ในบานะเป็นเหตุให้เกิดผลคือสฬายตนะ คือในคู่ที่ ๔ นามรูปมาคู่กับสฬายตนะ เพราะนามรูปคือกายกับจิต มีสฬายตนะจึงมีได้ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงได้ดับ

วงจรชีวิตแบบที่ ๓

clip_image013

วงจรชีวิตทั้ง ๓ แบบนี้แสดงถึงหลักปฏิจจสมุปบาท ในเชิงการเป็นวัฎฎจักร วัฎฎจักรของปฏิจจสมุปบาทนั้นมี ๑๒ ข้อต่อกัน นามรูป คือกายกับจิตเป็นเพียงข้อต่ออันหนึ่ง ในกระบวนการ ๑๒ ขั้นตอน ในจำนวนหลัก ๑๒ ขั้นนั้นไม่สามารถกล่าวได้ว่าอันไหนเป็นจุดแรกที่สุด หรืออันไหนเป็นจุดสุดท้าย คือเป็นวัฎฏจักรหรือวงจรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย แต่ความเป็นเอกภาพของวัฏจักรนี้เกิดจากการรวมเข้าด้วยกันของกระบวนการทั้งหมด ถ้าขาดข้อต่อใดข้อต่อหนึ่งไปแล้ววัฏจักรนี้จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ ในทำนอแงเดียวกันไม่มีข้อต่อใดข้อต่อหนึ่งเพียงข้อต่อเดียวที่เปป็นเหตุให้เกิดวัฎจักรนี้ขึ้นมาดังนั้นวัฎจักรนี้จึงเกิดขึ้นมาเพราะการเป็นเหตุปัจจัยร่วมกันของทุก ๆ ข้อต่อ ดำเนินไปพร้อมกันของทุกข้อต่อและก็ดับพร้อมกันไปของทุกข้อต่อ คือเมื่อกระบวนการใดเกิดขึ้น ก็ทำให้ขั้นตอนอื่นๆเกิดพร้อมกันไปด้วย หรือว่ากระบวนการใดดับไปก็จะทำให้ส่วนอื่นๆดับตามไปด้วย ดังนั้นถ้าจะพูดให้ได้ก็อาจจะพูดได้ว่า ข้อต่อใดข้อต่อหนึ่งในกระบวนทั้ง ๑๒ นี้ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่อิงอาศัยกัน

โดยหลักของพุทธศาสนาแล้ว ผู้ที่สามารถจะตรัสรู้อมตธรรม มิได้มีแต่เพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว แต่มีมากมายนับจำนวนมิได้ ทั้งในอดีตและอนาคต คือตลอดระยะเวลาอันยาวไกล ย่อมจะมีผู้ตรัสรู้อมตธรรมบังเกิดขึ้นมา เพื่อความสุข และความหลุดพ้นจากอาสวกิเลสของสัตว์โลก เป็นคราวๆ ไป ตามยุคตามสมัย จากหลักการอันนี้ ทำให้ทราบว่า ตำแหน่งของท่านผู้ตรัสรู้อมตธรรม มิได้ผูกขาดไว้สำหรับท่านผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากแต่ใครบำเพ็ญคุณงามความดีไว้มาก ก็มีโอกาสที่จะตรัสรู้อมตธรรมได้ เป็นหลักกลางๆ สำหรับทุกคน และเป็นหลักที่มีเหตุผล เพราะในคนจำนวนมากคงจะไม่มีคนดีเพียงคนเดียว เมื่อตั้งใจทำความดี ก็สามารถจะบรรลุผลของความดีนั้นในวันข้างหน้า เป็นการเปิดประตูให้บุคคลได้ใช้ความเพียรของตนในการแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนา ไม่ใช่จะได้สิ่งที่ตนปรารถนานั้นอย่างลอยๆ พุทธศาสนา จึงมุ่งสั่งสอนให้คนรู้จักพึ่งตนเองในการใช้ความเพียรของตนเอง เพื่อบรรลุสิ่งที่ปรารถนา เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นข้อเท็จจริงเรียกว่าทางอันประเสริฐหรืออริยสัจและมรรคมีองค์แปดเป็นเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์

ดังนั้นหลักแห่งปฏิจจสมุปบาทเรียกอีกอย่างว่า วงจรของชีวิต หรือเรียกตามหลักทางชีวะวิทยาว่า สายโซ่แห่งชีวิต ซึ่งหมายถึงกระบวนการชีวติมนุษย์ถูกห่วงโซ่นี้ผูกมัดรัดตรึงไว้ทำให้มนุษย์ทั้งหลายตกอยู่ในกระแสของการเกิดและการตายสืบต่อไปตราบใดที่ห่วงโซ่แห่งชีวิตยังไม่ถูกตัดขาดลง กระแสการดำรงอยู่ของชีวิตก็จะดำเนินต่อไปข้ามภพข้ามชาติ

.๖.๓ มนุษย์ตามนัยแห่งอภิธรรม

การวิเคราะห์อีกแนวหนึ่งในพุทธปรัชญาคือการวิเคราะห์คนตามพระอภิธรรม ในพระอภิธรรมได้แสดงส่วนประกอบของมนุษย์ไว้อย่างละเอียดและเป็นระบบทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจมนุษย์หรือกระบวนการชีวิตขอมนุษย์อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง พุทธปรัชญาถือว่าการปฏิบัติจะถูกต้องไม่นั้นขึ้นอยู่กับความรู้ ปัญญา หรือวิชชา ความรู้ที่ผิดทำให้เกิดความเห็นที่ผิด และนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิด โดยนัยที่ตรงกัน ความรู้ถูก ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกและการปฏิบัติที่ถูก การปฏิบัติทีถูกย่อมนำไปสู่จุดหมายปลายทางคือวิมุตติ วิมุตติความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล วิมุตติจึงเป็นจุดหมายปลายทางสูงสุดตามทรรศนะพุทธปรัชญา คำสอนในพุทธปรัชญาแม้จะสอนไว้มากและสอนไว้เป็นอเนกนัย แต่ทั้งหมดเพื่อจุดหมายอย่างเดียวกันคือวิมุตติหรือความหลุดพ้น

ตามนัยของพระอภิธรรมนั้น ถือว่า มนุษย์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ประกอบขึ้นด้วย เหตุปัจจัยปรุงแต่งหลายประเภท ธรรมชาติที่เรียกว่าคนนี้ โดยภาวะธรรมแล้ว ไม่ใช่คนหรือสัตว์ไม่เป็นตัวตน เราหรือเขา แต่เป็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรมซึ่งเป็นนามธรรมล้วน ๆ เท่านั้น เช่นการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ่มรส การถูกต้องสัมผัส และการนึกคิด สภาวะธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หาดำรงถาวรอยู่ไม่ เป็นเพียงกระแสและกระบวนการของธรรมชาติที่เคลื่อนไหวหรืเลื่อนไหลไปตามกระแสของมันอยุ่ตลอดเวลา ที่ไปเข้าใจเอาว่า เป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเรา หรือเป็นเขาเป็นต้น เป็นเพราะไม่เข้าใจ ไม่รู้เห็น สภาวธรรมตามความเป็นจริง แล้วจึงเกิดยึดถือเอาธรรมที่ดำเนินไปตามกระบวนการของมันว่า เป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเรา หรือเป็นเขาเป็นต้น

การมองเห็นผิดจึงได้พากันหลงยึดในรูปขันธ์และนามขันธ์ หรือธรรมชาติอันตัวตนเราเขาหรือเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นนั้น เป็นนี้ เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อถูกต้องสัมผัส เมื่อนึกคิด ก็หลงยึดถือเอาธรรมชาติ นั้น ๆ เช่นเสียงที่ได้ยินกลิ่นที่ได้รับเป็นต้นว่าเป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์ขึ้นมา ความจริงแล้ว การเห็นหรือการได้ยินเป็นต้นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คือ ตากระทบกับรูปหูกระทบกับเสียงเป็นต้น โดยสภาพของมันแล้วมันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หาได้ตั้งอยู่อย่างถาวรไม่ ในพระอภิธรรมทั้ง ได้แสดงถึงธรรมชาติที่แท้จริง หรือที่เป็นปรมัตถธรรมไว้ ๔ ประการ คือ(๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน

ปรมัตถธรรมทั้ง๔ โดยสภาวะธรรมแล้ว ทรงไว้เพียงกิริยาเท่านั้น ไม่มีรูปพรรณสัณฐานใด ๆเป็นกำหนดเป็นสิ่งอาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้วดับไป การเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการดับลง ล้วนเป็นไปตามอำนาจของเหตุปัจจัย โดยลำพังมันเองไม่สามารสเกิดขึ้นได้

โดยนัยแห่งปรมัตถธรรมในพระอภิธรรม มนุษย์คือธรรมชาติอย่างหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยปรมัตถธรรม ๓ ประการ คือ จิต เจตสิก และรูปซึ่งเป็นสังขารธรรม ส่วนปรมัตถธรรมคือนิพพานนั้น เป็นวิสังขารธรรม เป็นธรรมชาติที่กับกิเลสและทุกข์ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีการเกิดใหม่และไม่มีการดับเหมือนสังขารธรรม จิตเป็นส่วนประกอบอันดับแรกของมนุษย์ จิตนั้นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีสภาวะรู้อารมณ์เป็นลักษณะ คือรู้ว่าเห็น รู้ว่าได้ยิน รู้ว่าได้กลิ่น รู้ว่าได้รส รู้ว่าได้ถูกต้อง และรู้ในธรรมารมณ์ จิตโดยสังเขป มีจำนวน ๘๙ ดวง และโดยพิศดารมี ๑๒๑ ดวง เจตสิกเป็นองค์ประกอบอันดับที่ ๒ ของคน เจตสิกนั้นเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับจิต มีสภาวะประกอบเป็นลักษณะ คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์อย่างเดียวกับจิตและอาศัยวัตถุเดียวกับจิต

รูปเป็นองค์ประกอบอันดับที่ ๓ ของคน รูปเป็นสภาวธรรมที่แตกดับหรือผันแปรไปเพราะความเย็นร้อนเป็นต้น เป็นธรรมชาติที่ไม่รู้อารมณ์ เกิดขึ้นแล้วดับไปเพราะเหตุปัจจัยเช่นเดียวกับจิตและเจตสิก รูปที่มีจิตรู้ได้ทางลิ้น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นรูปที่จิตรู้ได้ทางกาย รูปอื่นๆที่จิตไม่อาจรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย


๑๕ คณะกรรมการ แผนกตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย, สารัตถปกาสินี, ภาค ๑, กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ไท,

๓), หน้า ๓๕๑–๓๕๒)

๑๖ สัง. ส. ๑๕ / ๕๕๑ / ๑๘๙

๑๗ ม. มู. ๑๒ / ๔๕๒ /๔๘๗

๑๘ ม. ม. ๑๒ / ๑๖๙ / ๑๔๗

๑๙ ขู. ธ. ๒๕ / ๓๔ / ๔๒.

๒๐ สํ. ส. ๑๕ / ๘๐๓ /๓๐๓

๒๑ ข. มหา. ๒๙ / ๘๖๕ /๔๘๑-๒ / สัง. ส. ๑๕ /๕๕๑-๔ /๑๘๙–๙๐

๒๒ ขุ. มหา ๒๙ /๘๖๕ /๔๘๓

๒๐ สัง. ส. ๑๕ / ๕๕๔ /๑๙๐

๒๓ วิสุทธิมรรคแปล, ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย, ภาค ๓ ตอน จบ , หน้า ๑๖

๒๕ อัง. จตุก. ๒๑ /๑๓๓ /๑๗๖

๒๖ สัง. ส. ๑๗ /๙๓ /๔๖,๙๕ /๕๑,๑๑๒ /๖๓

๒๗ วินย.๔ /๑-๓ /๑-๕ สัง . นิ . ๑๖ / ๒-๓ / ๑-๒ , ๒๒–๒๔/ ๕–๗ฯลฯ

๒๘ม. มู. ๑๒ /๑๒๔ / ๘๐ สัง. นิ. ๑๖ / ๑๔๗ / ๗๒

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons