บันทึกลับ ภิกษุนิรนาม
๒๑. อดีตชาติคือหลวงปู่ร่างไม่เน่า
เรื่องราวในชีวิตของอาตมาในปัจจุบันชาตินี้ ก็มีตามที่เขียนเล่ามา แล้ว บัดนี้ก็จะเล่าถึงชีวิตในอดีตชาติที่ส่งเสริมให้มารับผลในปัจจุบันดูบ้าง
ตามที่ได้เล่ามาแล้วว่า อาตมาได้เคยไปที่วัดหนึ่งซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ของท่านมหาจำเริญ กับท่านมหาเอง และได้ไปพบหลวงปู่ในตู้กระจก นั่งมรณภาพในสมาธิ เนื้อหนังไม่เน่าเปื่อย แต่แห้งไปบ้าง
ขณะนั้นอาตมารู้ด้วยจิตว่า หลวงปู่ในตู้กระจกก็คือ อาตมาในอดีตชาติ เมื่อกายทิพย์ออกจากกายธาตุแล้ว ก็มาเกิดใหม่ เป็นตัวของอาตมาเอง
ด้วยจิตอันปฏิบัติมาดีแล้วนั้น ทำให้อาตมามีหูทิพย์ ตาทิพย์ ผิดกับ เด็กทั้งปวง เมื่อย้อนไปดูอดีตลึกลงไปอีก จึงรู้ว่าก่อนจะมาเป็นหลวงปู่นั่ง อยู่ในตู้กระจกนั้น มีความเป็นมาอย่างไร
หลวงปู่ซึ่งเป็นอดีตชาติของอาตมา ท่านเกิดมาดี ในครอบครัวที่มี ศีลธรรม ชอบเข้าวัดถือศีลฟังธรรม ฐานะมีอันจะกิน เลี้ยงดูลูกๆ ซึ่งมี ๓ คนด้วยกันให้เป็นสุขได้
สำหรับหลวงปู่แม้จะเกิดมาในฐานะดี บิดามารดาก็เป็นคนดีมีศีลธรรม แต่ตัวท่านซึ่งเป็นลูกคนสุดท้อง ก็มีร่างกายอ่อนแอ ๓ วันดี ๔ วันไข้ ไป หาหมอที่ไหนรักษา ก็ไม่มีทางดีขึ้น แต่ก็ไม่ถึงกับเจ็บหนัก
เพราะความเป็นคนขี้โรค หลวงปู่จึงไม่ค่อยได้ไปวิ่งเล่นซุกซนกับ เพื่อนๆ นอกจากพี่ๆ และมักจะเล่นอยู่แต่ในบริเวณบ้านของตน บาง ครั้งก็นั่งเงียบสงบอยู่ตามลำพัง เป็นคนช่างนึกช่างคิด
ครั้นโตขึ้นหน่อย อายุถึงเกณฑ์ต้องเข้าเรียน ก็มีกำลังจะไปเรียน ได้ บางทีก็ต้องหยุด แต่ก็เรียนได้จนจบชั้นประถม เพราะความอ่อนแอ ทางร่างกาย จึงได้รับความรักสงสาร และเป็นที่ห่วงใยจากบิดา มารดาเป็นอันมาก
หลวงปู่ตอนนั้น มักจะตื่นเช้า เพราะชอบดูตอนมารดาตักบาตร พระที่หน้าบ้านเป็นประจำ เห็นพระห่มผ้าเหลือง เดินเรียงกันมาเป็นแถว จิตใจก็ชุ่มชื่นมีความสุข ทำให้นึกอยากบวชเป็นพระบ้าง ความ รู้สึกอยากบวชนี้ นับวันจะเพิ่มมากขึ้น
พอหลวงปู่อายุได้ ๑๘ ปี ค่ำวันหนึ่ง หลวงปู่ก็บอกกับบิดามารดาว่า
“ลูกอยากบวชพระ”
มารดามองหน้าอย่างแปลกใจ เพราะไม่เคยได้ยินลูกพูดถึงเรื่องการ บวชมาก่อนเลย ก็ถามว่า
“ลูกเป็นคนขี้โรคอย่างนี้ จะทนอดข้าวเย็นไหวหรือ”
“เรื่องอาหารนี้ บางครั้งลูกเบื่ออาหาร ทำให้ไม่หิวอยู่แล้ว ไปบวช ก็คงจะไม่ลำบากอะไร อยู่อย่างนี้ ลูกก็ไม่ค่อยจะแข็งแรง จะช่วยพ่อแม่ ทำงานก็ไม่ได้ ทำให้พ่อแม่เป็นห่วงกังวลอยู่เสมอ หากไปบวชแล้ว จะ ตายในผ้าเหลืองลูกก็ยินดี”
เมื่อบิดามารดาเห็นความตั้งใจแน่วแน่อย่างนั้น ก็ไปหาอาจารย์ที่วัด จะขอฝากให้บวชเณรดูก่อน และได้พาหลวงปู่ไปด้วย
ท่านอาจารย์ที่วัดแห่งนั้น เป็นคนที่มีความรู้ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบ และเก่งในวิชาอาคมต่างๆ เมื่อท่านนั่งพิจารณาอยู่พักหนึ่ง จึง พูดขึ้นว่า
“ลูกโยมคนนี้ เมื่อบวชแล้วจะไม่สึกนะ โยมเต็มใจหรือ”
มารดาตอบว่า “ก็แล้วแต่วาสนาบารมีของเขา ตัวเขาเองก็บอกว่า ขอให้ได้บวช จะตายในผ้าเหลืองก็ยินดีเจ้าค่ะ ดิฉันเป็นห่วงแต่ว่า ร่างกาย ของลูกไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก ขี้โรค สามวันดีสี่วันไข้ จะทนอดอาหาร ไม่ไหวเท่านั้น”
ท่านอาจารย์หัวเราะ “เรื่องนี้คงไม่เป็นไร บวชแล้วปฏิบัติดี โรคภัย มันจะหายไปเอง”
อีกไม่กี่วันต่อมา หลวงปู่ก็ได้บวชเณรสมตามความตั้งใจ
“สิ่งแรกของการบวชก็คือ ต้องทำจิตใจให้เป็นสมาธิเสียก่อน ส่วน การเล่าเรียนปริยัติธรรม เอาไว้ว่ากันทีหลัง”
แล้วท่านอาจารย์ถามว่า “ตอนบวชนั้น พระอุปัชฌาย์ก็สอนกรรม ฐานให้แล้ว เณรจำได้ไหม ที่ท่านบอกเกศา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เล็บ) ตะโจ (หนัง) ทันตา (ฟัน) นะ”
“จำได้ขอรับ” หลวงปู่เมื่อครั้งเป็นสามเณรตอบ
“นั่นแหละกรรมฐานบทแรกล่ะ เณรต้องหมั่นพิจารณาไปทีละ อย่าง ผมก็เป็นของไม่เที่ยง ขนก็เป็นของไม่เที่ยง เล็บก็เป็นของไม่ เที่ยง หนังก็เป็นของไม่เที่ยง ฟันก็เป็นของไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลง ได้เสมอ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
จงพิจารณาว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร ดับไปอย่างไร เมื่อพิจารณาอยู่ อย่างนี้ จิตก็จะค่อยๆ สงบลง
จากนั้นจึงใช้องค์ภาวนาว่า พุทโธ – พุทโธ อยู่ในใจ จะนั่ง ยืน เดิน นอน ก็ให้นึกถึง พุทโธ เรื่อยไป เณรทำได้ไหม”
“ได้ขอรับ ผมจะทำตามท่านอาจารย์สั่ง”
ท่านอาจารย์บอกว่า “ที่วัดนี้ไม่มีสำนักเรียนปริยัติ ต้องไปเรียน ไกลถึงวัดในเมือง อีกอย่างหนึ่ง การเรียนนักธรรมนั้น ต้องปรับจิต ปรับใจให้มีพื้นฐานเสียก่อน คือให้มีสมาธิ จึงจะเรียนธรรมะเข้าใจ”
ขณะนั้นหลวงปู่ซึ่งยังเป็นสามเณรอยู่ ก็ได้ปฏิบัติตามอาจารย์อย่าง เคร่งครัด เมื่อได้ภูมิจิตภูมิธรรม มีสมาธิมั่นคง จนถึงระดับฌาน ๔ แล้ว จึงหันมาเรียนปริยัติ เริ่มแต่นักธรรมตรี
การเรียนนักธรรมตรีนั้น นอกจากจะเป็นการทดสอบและทบทวน ว่า การปฏิบัติกับปริยัตินั้นตรงกันหรือไม่ หรือมีสิ่งใดคลาดเคลื่อนไป บ้าง ก็ทำให้การเรียนปริยัติ เกิดความเข้าใจทะลุปรุโปร่งไปเป็นอันมาก
ครั้นเรียนจนได้นักธรรมเอกแล้ว ก็นับว่าเพียงพอแล้วสำหรับความรู้ ในสมัยนั้น หลวงปู่จึงไม่สนใจที่จะเข้าไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ฝักใฝ่ แต่การที่จะปฏิบัติธรรมให้ยั่งยืนไปเท่านั้น
หลังจากอุปสมบทได้ ๕ พรรษาแล้ว หลวงปู่จึงออกธุดงค์ เข้าป่า ไปเป็นเวลาช้านาน ได้ท่องธุดงค์ไปทุกภาคของประเทศ ขึ้นเหนือล่องใต้ ไปอีสาน และทางภาคตะวันออก
นอกจากนี้ยังเลยเข้าไปยังป่าชายแดนของพม่า เขมร และวนเวียน อยู่ในประเทศลาว ได้พบครูบาอาจารย์ที่ธุดงค์อยู่ในป่าเป็นอันมาก
นับเป็นเวลาหลายสิบปีที่หลวงปู่ได้ท่องธุดงค์อยู่ในป่า สมดังที่สาวก ของพระพุทธองค์ ได้ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลว่า เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ไม่มีญาติในทางโลก แม้แต่บิดามารดาหรือญาติพี่น้อง ก็ต้องถือว่าไม่มี จะมีอยู่ก็แต่ญาติในทางธรรมเท่านั้น
ต่อเมื่ออายุหลวงปู่ย่างเข้าวัยชรา จึงได้ย้อนกลับสู่วัดบ้านเดิม ซึ่ง บิดามารดาและพี่น้องบางคนก็ได้สูญหายตายจากไปหมดแล้ว แม้ท่าน สมภารที่วัด ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกัน ก็จำกันไม่ได้ ต้องรื้อฟื้นความจำอีก พักใหญ่
หลวงปู่ได้กลับมาอยู่วัดบ้านเดิม อย่างพระลูกวัดธรรมดารูปหนึ่ง เมื่อเห็นว่าทางวัดก็ดี ทางบ้านก็ดี ยังไม่มีความเจริญในการปฏิบัติธรรม ทั้งยังขาดถาวรวัตถุสำหรับวัดอีกเป็นอันมาก โบสถ์ และศาลาที่มีอยู่ เดิม ก็ชำรุดทรุดโทรมจนแทบจะใช้การไม่ได้อยู่แล้ว
ดังนั้น หลวงปู่จึงปรึกษากับท่านเจ้าอาวาส ถึงการทำนุบำรุงวัด และการอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ท่านเจ้าอาวาสก็เห็นดีด้วย แต่วิตกว่า ชาวบ้านยังยากจน คงยังไม่มีปัจจัยพอเพียงที่จะมาช่วยบูรณะถาวรวัตถุ ให้สำเร็จได้ ตัวท่านเองก็ไม่มีเกียรติคุณความรู้อะไร เท่ากับเป็นสมภาร เฝ้าวัดอยู่เท่านั้น
หลวงปู่ก็บอกว่า “ไม่เป็นไร ขอให้ท่านรับธุระจัดการที่จะทำนุ บำรุงให้ดีเท่านั้น ส่วนปัจจัยนั้นอาตมาจะช่วยอธิษฐานจิตให้ ไม่ช้าก็จะ มีมาเอง เพราะขึ้นชื่อว่ากุศลแล้ว เริ่มขึ้นที่ไหน กุศลอื่นๆ ก็จะมา รวมตัวกันเอง”
หลังจากนั้น หลวงปู่ก็ร่วมมือกับท่านเจ้าอาวาส แล้วปรึกษาว่า พระเณรภายในวัดนี้จะบวชเฉยๆ แล้วกินนอนไปวันๆ ไม่ได้ ท่องสวดมนต์ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ก็ยังไม่พอ ต้องเรียนปริยัติและปฏิบัติควบคู่ กันไป
ต่อจากนี้ไปหลวงปู่จะเอาเวลากลางวันสอนนักธรรม ตอนกลางคืน สอนการปฏิบัติ ทำเช่นนั้นอยู่สองพรรษา ก็ปรากฏว่าพระเณรในวัด รู้จัก ความสงบและสำรวมอินทรีย์ เป็นเนื้อนาบุญสำหรับชาวบ้าน
ด้วยเหตุนี้ก็ทำให้ญาติโยมเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น ผู้เฒ่าผู้แก่แม้ หนุ่มสาวบางส่วน ต่างก็พากันเข้าวัด ถือศีล ฟังธรรม และปฏิบัติตาม ที่หลวงปู่สั่งสอนอบรมไว้ มีความสบายจิตสบายใจมากขึ้น ใครเจ็บไข้ได้ ป่วย มาเอาน้ำมนต์จากหลวงปู่ไปดื่มกิน ก็หายอย่างอัศจรรย์
เมื่อชาวบ้านรอบๆ วัดมีความศรัทธา ไม่ช้าก็กระจายความศรัทธา เป็นวงกว้างออกไป จนถึงตำบลหมู่บ้านใกล้เคียง ถึงอำเภอ จังหวัด จน กระทั่งต่างจังหวัดออกไปถึงกรุงเทพฯ
เมื่อมีผู้ศรัทธาในหลวงปู่มากขึ้น ปัญหาเรื่องปัจจัยก็หมดไป ใคร ที่ได้รับการรักษาจากหลวงปู่ เมื่อหายจากเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ก็เอาปัจจัย เอาวัตถุก่อสร้างมาช่วยตามกำลังศรัทธาของตน
ทั้งนี้หลวงปู่ไม่เคยรับปัจจัยด้วยตนเอง ใครถวายก็ให้เอาเข้ากอง กลางเป็นเงินทุนก่อสร้าง แม้จะถวายเป็นการส่วนตัว ท่านก็ไม่รับ บอก ว่าไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เพราะตัวหลวงปู่ก็ฉันเพียงหนเดียว
บางคนคิดว่าหากเอาไทยทานอย่างอื่นมาถวาย คงจะเป็นประโยชน์ แก่หลวงปู่ ท่านก็รับ แต่แจกจ่ายไปให้พระเณรหมด ไม่เก็บสะสมอะไรไว้เลย
อีก ๔ - ๕ ปีต่อมา วัดที่ทรุดโทรมใกล้จะพัง ก็กลายเป็นวัดพัฒนา มีโบสถ์ ศาลา หอระฆัง กุฏิสร้างขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์
ส่วนหลวงปู่กลับไปปลูกกุฏิเล็กๆ ทำด้วยไม้ไผ่มุงแฝกอยู่ในป่าช้า กลางวันออกมารับแขกญาติโยมที่ศาลา กลางคืนกลับไปอยู่ในป่าช้า ตามเดิม
แม้วัดจะพัฒนาไปครบถ้วนแล้ว ก็ยังมีญาติโยมไปมามิได้ขาด หลวงปู่อยู่โปรดญาติโยมจนอายุกว่า ๙๐ ปี จึงมรณภาพ
การมรณภาพนั้น ท่านมรณภาพขณะอยู่ในสมาธิ และเข้าใจกันว่า ท่านได้ถึงขั้นพระโสดาบันแล้ว เพราะจิตท่านแน่วแน่อยู่ในการปฏิบัติ
เมื่อดับขันธ์แล้วไม่นาน ก็มาจุติในครรภ์มารดาของอาตมา พอ เติบโตขึ้นก็เป็นอาตมานี่แหละ ส่วนร่างเดิมในชาติก่อนของอาตมาเป็น อริยบุคคลแล้ว สังขารจึงไม่เน่าเปื่อย
ที่แปลกก็คือ ท่านมหาจำเริญเคยเป็นศิษย์รักของหลวงปู่ เมื่อ หลวงปู่มาเกิดเป็นอาตมา ท่านมหาจำเริญก็ยังมีชีวิตอยู่ และได้มีความ สัมพันธ์สนิทสนมกันอีก แม้อาตมาจะยังเป็นสามเณรอยู่ ก็สามารถให้คำ แนะนำในทางปฏิบัติแกท่านมหาจำเริญได้
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า สังขารร่างกายนั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่จิตยังเป็น ดวงเดิม และสืบเนื่องต่อมาในอีกสังขารหนึ่ง เรียกว่าเป็นคนละสังขาร แสดงว่าจิตเป็นของไม่ตาย ยังคงอยู่ตลอด ไม่ว่าจะไปจุติในภพหนึ่งภพ ใด หรือในสังขารของอะไร สุดแต่ตนได้กระทำมาในชาติที่แล้ว จะผิด กันก็แต่จิตนั้น ซึ่งได้ปรับปรุงขัดเกลาให้เป็นจิตที่ละเอียดอ่อน สะอาด บริสุทธิ์ขึ้น หรือกลับกระด้างหยาบช้า พอกด้วยกิเลสเท่านั้น ทั้งนี้ก็ ด้วยกรรมของตนที่ได้กระทำดีหรือกระทำชั่ว
ฉะนั้น การปรับปรุงหรือขัดเกลาจิต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของ มนุษย์เรา การเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ไม่รู้จักปรับปรุงขัดเกลาจิต ก็เท่ากับ เสียชาติเสียเวลาเกิด เพราะเกิดครั้งใด ก็สะสมกิเลสตัณหาพอกพูนขึ้น เรื่อยๆ เมื่อดับจากชาติปัจจุบันไป ก็ต้องไปเกิดในอบายภูมิ หรือใน นรก แต่ไม่เข็ดหลาบต่อความทุกข์ทรมานอันสาหัสในนรกเลย กลับ เวียนไปหานรก ชาติแล้วชาติอีก ภพแล้วภพอีก กว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ แต่ละครั้ง ไม่ใช่ของง่ายเลย ตายจากภพมนุษย์แล้ว ไปเกิดเป็นสัตว์ก็มี แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านต้องไปเกิดเป็นสัตว์นับชนิดไม่ถ้วน
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้ว ไม่ทำเลยดีกว่า” เพราะความชั่วนั้น ย่อมทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์ เป็นเปรต อสุรกาย ทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรกได้ทุกอย่าง สุดแต่กรรมของตน
อย่างที่วัดแห่งหนึ่งทางอำเภอจอมทอง สมภารวัดนี้เมื่องมรณภาพ แล้วได้ไปเกิดเป็นหมาวัด เพราะขณะที่เป็นสมภารได้เอาของที่เขาถวาย เป็นของสงฆ์ไปใช้เป็นของส่วนตัว
มนุษย์ผู้มีปัญญาทั้งหลาย จะต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ลึกซึ้งว่า ที่ ได้เกิดเป็นมนุษย์นั้น นับว่าโชคดีกว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะพระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม อยู่ในสวรรค์วิมานเมืองฟ้า ก็ยังไม่เท่าเกิดเป็นมนุษย์
เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี้ มีสิทธิ์ที่จะเลือกทำดีทำชั่วได้ตามความ ต้องการของตน มีโอกาสที่จะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และประกอบ ความดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จนกระทั่งปรารถนาจะขึ้นสวรรค์ หรือเป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอรหันต์ ไปถึงพระนิพพานก็ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับจะทำดี หรือทำชั่วเท่านั้น