วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บันทึกลับ ภิกษุนิรนาม ๑๑. ท่องธุดงค์แสวงหาที่วิเวก

20140311_164905

บันทึกลับ ภิกษุนิรนาม

๑๑. ท่องธุดงค์แสวงหาที่วิเวก

หลวงพ่ออาจารย์กับอาตมา ท่องธุดงค์แสวงวิเวกในป่า แถบนี้ จนบรรลุถึงบ้านบึง ๑๔ แผ่นดินที่อุดมชุ่มชื่น เนื่องจากไอเย็น ที่กระจายจากน้ำตก ต้นลำแม่น้ำชี ขาว พืช ผลไม้มักงอกงาม ต้น สมโอของบ้านนี้ ลูกใหญ่ดูเป็นพวงระย้าไปทั้งต้น แต่เพราะห่างไกล ความเจริญ จึงไม่มีค่าเอาไปซื้อขายได้

ชาวบ้านว่าเคยบรรทุกเกียนเข้าไปขายในเมือง ได้เพียง ๔ ลูกบาศก์ ไม่คุ้มกัน จึงเห็นเด็กๆ เอาส้มโอมาเตะเล่นต่างฟุตบอล เป็นที่สนุกสนาน ความใหญ่ของส้มโอเท่าลูกมะพร้าวทีเดียว

ในป่าและท้องนาของหมู่บ้านนี้ มักมีเก้งและกระต่าย วิ่งไปมาชุก ชุมมาก เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่อยู่ในสายตาของชาวบ้าน ในการนำมา เป็นอาหาร สัตว์ที่เราใช้เป็นอาหารอย่างน้อยก็ต้องเป็นกวาง ขึ้นไปถึง วัวป่าและกระทิง

วัวป่าชนิดหนึ่งมีขนเป็นปุยรอบช่วงคอ เขาเรียกว่า "เมย" มีชุกชุม เป็นฝูง แต่ถ้าชาวบ้านเขาไม่อดจริงๆ ก็จะไม่ล่ามาเป็นอาหาร ที่เขา ชอบมากก็เป็นพวกปลา ที่พอหาได้ในลำห้วยเหนือหรือใต้น้ำตกลงไป

ชาวบ้านที่นี่ เป็นคนใจดี อารมณ์แจ่มใส และใจบุญ เวลาไป บิณฑบาต เขาก็พากันใส่ทั้งข้าวทั้งกับ พอได้ขบฉัน อาตมาและหลวงพ่อ ปักกลดห่างหมู่บ้านประมาณสัก ๑ กิโลเมตร ตอนเย็นๆ หรือตอนบ่าย เขาจะมาขอฟังธรรมด้วย แล้วก็ไม่รบกวนอะไร อย่างการขอเลขเบอร์ หวังร่ำรวยนั้นไม่มี เพราะหมู่บ้านเขาอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินไปซื้อหา ที่อำเภอ

การอยู่ไกลความเจริญนั้นก็ดีไปอย่างหนึ่ง ไม่มีเครื่องยั่วยวนให้ใจ ฟุ้งซ่าน เกิดกิเลสตัณหาเท่าใดนัก รู้สึกว่าเขาอยู่กันด้วยความพอดี แม้ ไม่มีใครมาสั่งสอนเรื่องธรรม เขาก็มีธรรมอยู่ตามธรรมชาติของเขาเอง เรียกว่าธรรมก็คือธรรมชาติ หรือธรรมชาติก็คือธรรม ถึงจะมีการผิดศีล บ้าง เช่น การฆ่าสัตว์ก็เป็นไปเพื่อความมีชีวิตรอด ไม่ได้ถือเป็นอาชีพ

จิตใจของคนที่อยู่กับธรรมชาติแห่งนี้ จึงอยู่ในความสงบสุข และ พึ่งตนเองได้ เสื้อผ้าก็ทอใช้เอง ปลูกฝ้ายเอง ปลูกต้นครามไว้ย้อมผ้า เอง สิ่งที่เขาจะต้องซื้อก็คือเกลือ

ชาวบ้านเขาเล่าให้ฟังว่า ในป่าแถบนี้มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก เสือก็ มีมากเช่นกัน แต่ไม่เคยเข้ามารบกวนในหมู่บ้าน เนื่องจากมีสัตว์ที่เป็น อาหารของเสืออยู่ทั่วไป เข้าป่าไปหาฟืนเก็บหน่อไม้ เห็นกันก็ไม่ทำอะไร เขาบอกว่าเสือที่จะทำอันตรายคน ก็ได้แก่เสือที่ถูกเขายิงบาดเจ็บ หรือ ที่เรียกว่าเสือลำบาก กับเสือแก่วิ่งไล่จับสัตว์ไม่ไหว ก็มักมาคอยดักกินคน แต่ที่นี่ไม่เคยมีใครไปยิงเสือให้ลำบาก แม้แต่เสือแก่ นอนอยู่เฉยๆ ก็ มีกระต่ายวิ่งมาเข้าปากเอง เพราะมันชุมมาก ชาวบ้านเขาเล่าอย่าง ติดตลก

หลวงพ่อกับชาวบ้านแถวนั้น คุ้นเคยกันดี เพราะท่านเคยธุดงค์มา ถึงหลายครั้ง บางคนก็ปฏิบัติธรรมสมาธิ ตามที่หลวงพ่อเคยสอนไว้

การแสดงธรรมของหลวงพ่อ ไม่ได้ทำอย่างมีพิธีการอะไร มัก สนทนากันแบบกันเอง เช่น คุยกันเรื่องศีล ท่านก็จะอธิบายว่าศีลมีอะไร บ้าง ทำไมจึงต้องละเว้น หรือให้ถือศีล ๕ เป็นประจำ

กลางคืนมีโยมมานั่งปฏิบัติธรรมด้วยหลายคน เท่ากับมาอยู่เป็น เพื่อนดูแลอุปัฏฐากเรื่องน้ำเรื่องไฟ เวลานอนเขาจะอยู่ห่างจากกลด พูดกันค่อยๆ ไม่ได้ยิน พวกเขาช่างกินง่ายอยู่ง่ายจริงๆ เพราะอยู่กับ ดินกินกับทรายมาเสียจนชิน จะเป็นเพิงหน้าถ้ำ โคนต้นไม้ เขาก็หลับได้ ไม่ต้องระแวงหวาดกลัวอะไร แต่ไฟนั้นขาดไม่ได้ จะเป็นหน้าร้อนหน้า หนาว เข้านอนแล้ว ต้องสุมไฟ เพราะไฟทำให้สัตว์รู้ ไม่เข้ามาใกล้

จากบ้านบึง ๑๔ ก็ลงเขาขึ้นดอย ไปออกทางบ้านนาสวน มุ่ง เข้าสู่จังหวัดเลย ที่เลยนี้จะเรียกว่าเป็นเมืองภูเขาก็ได้ มองไปรอบๆ ทางไหน จะเห็นเขาน้อยใหญ่เรียงกันเป็นพืดไป แม้ตัวจังหวัดเลยเอง ก็ตั้งอยู่บนหลังเขา เรื่องหนาวไม่ต้องพูดถึง บางปีต้องขุดรูกันอยู่ หรือ เข้าไปนอนหมกอยู่กับกองฟาง แม้แต่ต้นกล้วยก็มีน้ำในกาบกล้วยแข็งตัว ทำให้เป็นสีดำเหมือนถูกไฟไหม้ ก็เป็นเหตุให้ต้นกล้วยตาย

อาตมาและหลวงพ่อไม่ได้เข้าไปในเมือง ถือธุดงค์ไปตามป่าแถว ภูกระดึง และวังสะพุง มีถ้ำให้อาศัยหาความอบอุ่น แต่ตอนเช้ามืด จะรู้สึกหนาวเหน็บสะท้านไปทั้งตัว ก็ต้องเริ่มออกบิณฑบาต แต่เดิน ไปสักพักหนึ่ง ก็ค่อยยังชั่วแล้ว กลับมีเหงื่อซึมเสียอีก

ทำให้ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้เดินบิณฑบาต เดิน จงกรม เดินธุดงค์ เป็นการรักษาสุขภาพร่างกายเอาไว้ได้ ไม่เมื่อยขบ ไม่หนาว หรือทนหนาวได้

พระพุทธเจ้านั้น ท่านสมเป็นพระบรมศาสดา เป็นครูของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ท่านสอนให้รู้ละเอียดรอบคอบไปหมด เดินบิณฑบาต มีประโยชน์อย่างไร จะต้องเดินอย่างไร จึงจะเป็นการสำรวม การเดิน สำรวมต้องมีสติ เอาจิตจับอยู่ที่ลมเข้าออก ไม่มีอะไรก็ภาวนาคาถา บทใดบทหนึ่งไป เช่น พุทโธ

เวลาเข้าไปรับบาตร ก็ให้มองลงในบาตร เพื่อไม่ให้ตามันสอดส่าย ไปดูคอเสื้อสีกาเข้า เดี๋ยวมันจะปรุงแต่งไปกันใหญ่

การคิดปรุงแต่งมันเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต ถ้าตาไปเห็นรูป หูได้ยิน เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แม้ไม่ได้สัมผัส จิตมันก็ปรุงแต่งจากสัญญา ขึ้นมาได้ เมื่อสัมผัสแล้วทำอย่างไร ท่านก็ให้พิจารณาถึงสิ่งตรงกันข้าม เสีย เห็นสวยก็ให้คิดถึงความสวยให้ถึงที่สุดว่า สวยแล้วมันจะกลาย เป็นไม่สวยได้ หรือพอแก่หนังเหี่ยวมันจะสวยไหม พอเวลาตาย ผิวมัน จะบวมฉุแตกปริ เน่าเฟอะ ส่งกลิ่นเหม็น มันจะสวยไหม ท่านบอกไว้ ทุกทาง แม้กระนั้นเจ้าความอยากในกามคุณ มันก็ยังเล็ดลอดออกไปได้ ท่านก็สอนให้มีสติ คอยระวังรักษาจิต คอยรู้เท่าทันอารมณ์กิเลส

ชาวบ้านชาวโลก มีความอยากมากมาย เพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความอยาก ให้เกิดการปรุงแต่ง ก็ต้องหัดให้รู้จักระวังรักษาจิต คอยรู้เท่าทันความอยากเสียบ้าง ไม่ใช่อยากแล้ว ก็ไม่รู้จักยับยั้ง ปล่อย ตามใจความอยากเรื่อยไป เพราะความอยากบางอย่าง เราทำให้สมอยาก ไม่ได้ ยังไม่ถึงเวลาจะอยาก เมื่อไม่สมอยาก ก็เศร้าโศกเสียใจ เสียดาย อาลัยหา ซึ่งทำให้เกิดทุกข์แก่ตนเอง

วัตถุทั้งหลาย เช่น ของใช้ ถ้าเรามีอยู่พอใช้ได้ ก็ใช้ไปก่อน ขืนไป อยากเข้าอีก แสวงหามาอีก มันก็ไม่พอดี เกินความจำเป็นไป

พระพุทธเจ้าละเอียดยิ่งกว่าพ่อแม่ของเราเสียอีก จะตอบแทน คุณท่านได้อย่างไร เพราะท่านไม่ต้องการให้เราตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ท่านมีพระประสงค์จะให้สาวกหรือชาวโลกปฏิบัติเพื่อตัวเอง ทำเพื่อ ตัวเอง ทรงตรัสว่า "อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ" ซึ่งแปลว่า "ตนเป็นที่พึ่ง ของตน"

คำสอนของพระองค์ แม้จะประเสริฐยอดเยี่ยมอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติ ด้วยตนเองแล้ว ก็ยากที่จะพ้นทุกข์ได้ ถึงเราจะประกอบงานอาชีพ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ทำด้วยตนเอง อาศัยจมูกคนอื่นหายใจ คอยให้ เขาทำให้ ก็จะไม่เกิดผลแก่ตน และคงจะไม่มีใครมาทำแทนเราได้

ธรรมปฏิบัติที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ เราต้องรู้ด้วยตนเอง เห็นด้วยตน เอง จึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งถึงทางพ้นทุกข์นั้น การตอบแทนคุณท่าน ก็คือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ด้วยการปฏิบัติเพื่อตนเอง จะไป หวังพึ่งพระเจ้าองค์ไหน ไม่ได้ทั้งสิ้น

คำสอนของพระองค์เป็นสัจธรรม ไม่มีธรรมหมวดใด ที่จะทรง กล่าวอย่างเหลวไหล พิสูจน์ไม่ได้ เว้นแต่เราจะไม่รู้จริง หรือไม่ยอมพิสูจน์ เท่านั้น สิ่งที่เราจะเห็นง่ายๆ ด้วยการพิจารณาจากชีวิตประจำวัน ของเราเอง ก็คือ อริยสัจ แต่เราก็ไม่ค่อยสนใจกันว่า อริยสัจ ๔ คืออะไร

เมื่อเรามีทุกข์ บางทีเราก็ไม่สนใจว่ามันเป็นทุกข์ เราพากันเรียก ทุกข์ว่า "ปัญหา" ปัญหาในการงาน ปัญหาในชีวิต

แต่ที่จริงตามความหมายในพุทธศาสนา ก็คือทุกข์นั่นเอง เมื่อ ปัญหาหรือทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่เราทนนิ่งดูดายไม่ได้ บางปัญหา ถ้าเราไม่หาทางแก้ไข อาจเดือดร้อนมากมาย อาจทำให้บ้านแตกสาแหรก ขาดก็มี ทำให้ล่มจมก็มี ทำให้ติดคุกติดตะรางก็มี ทำให้สุญเสียทรัพย์ สมบัติก็มี ทำให้ถึงตายก็มี

เรารู้สึกวิตกกังวลหรือไม่ ถ้าเรารู้สึกวิตกกังวลทนนิ่งอยู่ไม่ได้ นี่แหละเป็นตัวทุกข์แล้ว

ชาวโลกทั่วไป เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นเช่นนี้ ก็จะต้องหาทางแก้ไข เราจะ แก้ไขได้อย่างไร ก็ต้องค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ให้ได้เสียก่อน หรือ จะเรียกว่า ให้รู้ตัวปัญหาว่าทุกข์มันเกิดขึ้นจากอะไร ถ้ารู้ตัวปัญหาแล้ว เราก็จะมีทางแก้ได้หลายอย่างตามความเหมาะสม เรียกว่ารู้ทางดับทุกข์ เมื่อรู้ทางดับทุกข์ และดับมันเสีย ทุกข์ก็ย่อมจะหมดไป สัจธรรมของ พระองค์เป็นอย่างนี้ เราท่านจะปฏิเสธได้หรือว่า ไม่เป็นความจริง

เมื่อรู้ว่ามีทุกข์ ท่านให้หาเหตุว่า ทุกข์เกิดจากอะไร เมื่อรู้เหตุแล้ว ก็หาทางแก้ เมื่อแก้ได้ก็สิ้นทุกข์ แต่การที่เราจะรู้เหตุแห่งทุกข์ รู้วิธีแก้ทุกข์นั้น ก็จะต้องมีสติ การที่จะมีสติระลึกรู้ได้ ก็ต้องมีความสงบ

คนที่จิตใจคิดฟุ้งซ่าน กลัดกลุ้มไปร้อยพันเรื่อง ไม่มีทางจะแก้ได้ ถึงแก้ได้ก็ด้วยการตัดสินใจอย่างง่ายๆ บางคนคิดฆ่าตัวตายไปให้สิ้นเรื่อง บางคนเป็นหนี้ ดันไปคิดฆ่าเจ้าหนี้ เพราะเมื่อเจ้าหนี้ตายเสียแล้ว ตน จะได้พ้นจากการเป็นหนี้ แต่ไม่คิดว่า ไปฆ่าเขาตาย เขาจับได้จะเป็น อย่างไร เรียกว่าคิดสั้นๆ อย่างคนโง่เขลาเบาปัญญา ฉะนั้นจึงต้องมี ความสงบ มีสติไตร่ตรองให้รอบคอบ ให้มองเห็นเหตุ จึงเห็นทางแก้

ท่านจึงสอนว่า ให้หมั่นทำใจให้สงบ ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิกันเอาไว้ บ้าง เมื่อมีสมาธิ ความเยือกเย็นสุขุม ก็จะเกิดขึ้นมา พิจารณาถึงทาง แก้ไข เรื่องของชาวโลกเรา มันก็มีอยู่ง่ายๆ แค่นี้ แต่เราไม่คิดทำกัน เมื่อเกิดปัญหาหรือทุกข์เล็กน้อย ก็กลายเป็นปัญหาหรือทุกข์ใหญ่ แก้ ปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ ต้องวิ่งให้คนอื่นเขาช่วยแก้ ปัญหาของหนุ่มสาว รักๆ ใคร่ๆ ก็แก้ไม่ได้ เห็นให้ทางหนังสือพิมพ์ช่วยตอบให้มากมาย แทนที่จะเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐกับเขาได้ ก็กลายเป็นมนุษย์โง่ๆ ที่ไป ประกาศความโง่ของตนเอง ให้โลกเขารู้ ให้เขาเอาคำถามไปประจาน ในหน้าหนังสือพิมพ์

นี่เป็นอริยสัจ ๔ ของชาวโลก ที่มีอยู่เป็นอยู่ในชีวิตคนเรา เป็น ประจำวันทีเดียว แต่ยังมีอีกขั้นหนึ่งในทางธรรม ลึกซึ้งขึ้นไปอีก มันเป็น อริยสัจของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ชีวิตทั้งหลาย ต่างก็ต้อง เวียนเกิด เวียนแก่ เวียนเจ็บ เวียนตายอยู่เช่นนี้ หลายร้อยภพหลาย ร้อยชาติ ด้วยกรรมต่างๆกัน เป็นที่น่าเบื่อหน่ายนัก การเกิดมาก็ต้อง เผชิญกับทุกขเวทนา ไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งที่แท้จริง ชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ ก็เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตนของเราหรือของใครทั้งสิ้น จะยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นของเราก็ไม่ใช่ ทรงเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ทรงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ประสงค์ที่จะเวียนเกิดเวียนตายต่อไปอีก จึงทรงออกบวช เพื่อแสวงหา ความไม่เกิดไม่ตาย อันจะเป็นทางพ้นทุกข์

การออกบวช เพื่อแสวงหาการไม่เกิดไม่ตาย อันเป็นทางพ้นทุกข์ นั้น เพียงหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เราท่านที่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ ก็คง จะมึนงงแทบไม่รู้เรื่องเอาทีเดียว มันสลับซับซ้อนเกี่ยวพันกัน เป็น รายละเอียดมากมาย จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอดได้ ก็ด้วยการทำจิตพิจารณา ให้เห็นด้วยปัญญาของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงลำบากยากเข็ญมาแล้ว กว่าจะค้นหาเหตุอันนี้พบ

แต่เมื่อพบแล้ว ก็ยากที่จะอธิบายให้ชาวโลกเข้าใจได้ถึงความเป็น จริง เพราะระดับจิตใจระหว่างผู้พบความจริงด้วยจิต ที่เกิดปัญญาขึ้นเอง กับปัญญาอย่างโลกๆ นั้นแตกต่างกัน ยากที่จะเข้าถึงกันได้

ถ้าจะนำมากล่าวกันย่อๆ ประการแรก ท่านก็บอกว่า วิญญาณ มีขึ้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย และนามรูปมีขึ้น เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย ถ้าไม่มีสองสิ่งนี้ ก็ไม่มีวิญญาณและนามรูป ไม่มีมนุษย์สัตว์ เกิดขึ้น

แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเท่านั้น ยังมีสิ่งอื่นประกอบด้วย เช่น ท่านว่า อายตนะ ๖ ประการมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย และอายตนะ ๖ ประการ เป็นปัจจัยของผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยแห่ง ตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยแห่งภพ เครื่องเกิดภพเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา มรณะอันเป็นนิตยทุกข์ ความ โศกร่ำไรทุกข์โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น เพราะชาติ ความเกิดเป็นปัจจัย กองทุกข์ทั้งสิ้นจึงมาเกิดขึ้น ทรงมีพระปรีชารู้แจ้งว่า มันเกิดขึ้นพร้อมกัน

เมื่อรู้เหตุแห่งทุกข์แล้ว ก็ทรงแสวงหาทางดับทุกข์ให้สนิทลง ทรง ตั้งปัญหาถามพระองค์เองว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชรา มรณะจึง จะไม่มี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอะไร ชรา มรณะ จึงจะดับไปโดย ไม่เหลือ จึงเกิดความรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติความเกิดไม่มี ชรา มรณะ ก็ไม่มี อาศัยชาติดับสนิท ชรา มรณะ ก็จะดับไปโดยไม่เหลือ อาศัยชาติ ดับสนิท ชรา มรณะ จึงจะดับสนิทได้ เพราะภพดับสนิท ชาติจึงจะ ดับสนิทได้ เพราะอุปาทานดับสนิท ภพจึงจะดับสนิท เพราะตัณหาดับ สนิทลง อุปาทานจึงจะดับสนิทไป เพราะเวทนาดับสนิท ตัณหาจึงจะ ดับสนิทได้ เพราะผัสสะดับสนิท เวทนาจึงจะดับสนิทได้ เพราะอายตนะ ๖ ประการดับสนิทลง ผัสสะจึงจะดับสนิท เพราะนามรูปดับสนิทลง อายตนะ ๖ ประการ จึงจะดับสนิทได้ เพราะวิญญาณดับสนิท นามรูป จึงดับสนิท

อันนี้ เป็นการรู้ทางที่จะดับทุกข์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงทบทวน เป็น อนุโลมปฏิโลม จนเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นในพระทัย ไม่มีข้อสงสัย พระองค์ ทรงตรัสรู้แล้ว และการตรัสรู้นี้ก็เพราะพระองค์ได้ทรงดำเนินตามมรรค ๘ เป็นลำดับไป ด้วยทรงมีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ ซึ่งล้วนแต่ดำเนินไป ตามกุศลธรรมทั้งสิ้น

มนุษย์เราก็เช่นกัน เมื่อประพฤติปฏิบัติตน อยู่ในมรรค ๘ นี้แล้ว ก็ย่อมจะนำตนให้พ้นทุกข์อย่างโลกๆได้ ไม่มีเวรภัยต่อผู้ใด ที่เป็น พระสงฆ์สาวก ถ้าปฏิบัติตามที่พระองค์สอน ไม่ว่าจะเป็นสมัยพุทธกาล ที่ยังทรงมีพระชนม์อยู่ หรือแม้ปรินิพพานไปแล้ว นานกว่า ๒,๕๐๐ ปีเศษ ก็จะได้บรรลุมรรคผลเช่นเดียวกับพระองค์ เช่นเดียวกับที่พระ องค์ยังทรงพระชนม์ เพราะธรรมะของพระองค์คือตัวแทนของพระตถาคต

ยังมีอีก ที่เราชาวพุทธควรจะตริตรอง พิจารณาธรรมที่พระองค์ ตรัสไว้ดีแล้ว งามแล้ว ชอบแล้ว เพื่อตนเองจะได้มีปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ด้วยตนเอง ไม่มีสิ่งใดที่ทรงปิดบังไว้ ทรงสั่งสอนให้เป็นที่แจ่มแจ้ง และ หลากหลายด้วยอุบายวิธี ที่จะนำมาปฏิบัติให้ถึงสัจธรรมและความ หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพียงแต่เราท่าน ยังมัวเมาตกอยู่ในอำนาจ ของ โลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา อุปาทาน ขันธ์ ๕ ก็ค่อยๆ พิจารณา ความเป็นมาแห่งชีวิตของตน เราเกิดมาได้ทำดีทำชั่ว หรือสร้างกรรมดี กรรมชั่วอะไรมาบ้าง สิ่งใดที่ควรทำให้มากขึ้น ก็ทำต่อไป สิ่งใดที่ไม่ดี ควรทำให้น้อยลง หรือไม่ทำต่อไปอีก ก็คงจะทำให้ชีวิตนี้ราบรื่น ปลอด โปร่ง สบายขึ้น

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า ทำไมท่านจึง ตรัสอย่างนั้น ก็เพราะทรงเห็นด้วยญาณอันบริสุทธิ์ว่า กรรมนั้น ไม่ว่า จะดีหรือชั่ว ย่อมมีผลสนองตอบเสมอ การทำกรรมดีนั้น ไม่จำเป็น ต้องพูดถึง แต่กรรมชั่วนั้นซิ มีผลอันน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก

เพียงละเมิดศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลประจำชีวิตของมนุษย์ทุกคน เป็น เครื่องแสดงถึงความประเสริฐ ของความเป็นมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ผู้ใด ละเมิดซึ่งศีล ๕ ก็แสดงว่า ยังเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ตามความหมาย นี่เป็นสิ่งที่เราพอมองเห็นกันได้

อย่าพูดถึงนรกเลย อาตมาไปเห็นมาแล้ว ถึงไม่ต้องไปก็มีดวงตา เห็นได้ ว่าในแผ่นดินนรกนั้น เป็นแผ่นดินไฟ มีแต่ไฟลุกอยู่อย่างร้อนแรง พร้อมที่จะเผาผลาญความชั่วร้าย ให้พินาศเป็นจุณไป ผู้ละเมิดศีล ๕ มักต้องไปให้ไฟนรกเผาไหม้ทรมาน ไม่มีวันได้หยุดพักหายใจ ถ้าจะ บรรยายให้ละเอียด ก็คงจะยืดยาว จงคิดพิจารณาเอาเองเถิด

พูดอย่างที่เราท่านพอมองเห็นได้ โลกนี้ก็มีนรกสวรรค์ คือ ความดี ความชั่ว ให้มองเห็นได้ คนที่ทำความดี ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิให้ใจ ตั้งมั่นสงบ เมื่อนึกถึงความดีที่ตนได้กระทำ ก็ย่อมจะรู้สึกอิ่มเอิบเป็นสุข ผู้ที่รู้สึกอิ่มเอิบเป็นสุข ก็จะมองเห็นทุกสิ่งดีงามไปหมด มักมองโลกใน แง่ที่ดี และเห็นคนอื่นดีเหมือนตน ย่อมดำรงตนอยู่ได้ด้วยความเป็นผู้ มีมิตรที่ดี ครอบครัวก็สงบราบรื่น มีกำลังใจที่จะทำการงาน เพื่อความ สุขของครอบครัว ทำให้มีฐานะดีขึ้น

ส่วนผู้ที่ทำแต่กรรมชั่ว เมื่อคิดถึงกรรมที่ตนกระทำมา เช่น ไปฆ่า เขา ใจก็ไม่อิ่มเอิบเป็นสุข คอยหวาดระแวงว่า พี่น้องมิตรสหายของเขาจะ มาแก้แค้น ทำกับตนบ้าง เมื่อมีความหวาดระแวง ก็จะเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ไปหมด คนนั้นก็ไว้ใจไม่ได้ คนนี้ก็ไว้ใจไม่ได้ กลายเป็นคนมองโลกใน ด้านร้าย เป็นคนมีอารมณ์หงุดหงิด ในครอบครัวก็คอยแต่จะมีปากเสียง ทะเลาะวิวาททำร้ายกัน คนที่มีจิตใจอย่างนี้ ก็เหมือนตกอยู่ในนรก ให้ ร้อนรุ่มกระวนกระวายอยู่เป็นนิตย์ เอาเพียงเท่านี้ ก็คงเห็นนรกสวรรค์ใน มนุษย์โลกได้แล้ว ว่าแตกต่างกันอย่างไร

ผู้ที่คิดว่า ตนเป็นคนมีปัญญาความคิด มักพูดกันถึงความยุติธรรม เขาต้องการความยุติธรรม เรียกร้องหาความยุติธรรม แต่ตามที่เป็นจริง แล้ว เขาต้องการความยุติธรรมเพื่อตนเอง มากกว่าที่จะหยิบยื่นความ ยุติธรรมให้แก่ผู้อื่น สิ่งใดที่เขาไม่ได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ให้แก่ผู้ อื่น เขาจะบอกว่าไม่ยุติธรรม แต่ถ้าเขาได้ประโยชน์ โดยทำให้ผู้อื่น เสียประโยชน์ หรือเขาได้ประโยชน์บนความเดือดร้อนทุกข์ยากของผู้อื่น เขาจะบอกว่ามันยุติธรรมดีแล้ว เพราะเขาฉลาดกว่า และมีอำนาจมาก กว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปกติวิสัยของมนุษย์ ที่มัวเมาอยู่ใน ความโลภ ความโกรธ ความหลง มัวเมาอยู่ใน กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งก็ช่างเถอะ เพราะ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

แต่เมื่อคิดพิจารณาให้ลึกเข้าไปอีก ในระหว่างรูปธรรมกับนามธรรม หรือกายกับจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นคนละส่วน แต่อยู่ด้วยกัน เราก็ไม่มี ความยุติธรรมจะให้ ทั้งที่รู้ว่ากายยาววาหนาคืบนี้ มีธรรมชาติเกิดขึ้นแล้ว ดับไป ในที่สุดก็เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน ยึดถือเป็นเราของเราไม่ได้ แต่เราก็ ยังงมงายทนุถนอมบำรุงบำเรอกายสารพัด

แม้แต่อาหารก็ต้องให้กินดีๆ มีโภชนาการ อาหารที่บ้านไม่อร่อย ต้องออกไปกินตามเหลาตามภัตตาคาร ซึ่งมีอาหารเลิศรสราคาแพง สั่ง เข้ามาเต็มโต๊ะ จนกินไม่เข้า เพราะแท้ที่จริงจะดีหรือเลว ก็กินได้เพียง อิ่มเดียวเท่านั้น

ร่างกายตอนไหนสัดส่วนไม่ดี ก็พากันไปเพิ่มเติมเสริมแต่ง หน้าตา ผิวพรรณโดยธรรมชาติก็งามดีอยู่แล้ว ยังไม่พอใจ ต้องไปเสริมสวย ต้อง หาอะไรมาพอกมาเขียน ให้มันดีขึ้นอีก จนดูเป็นงิ้วหรือตัวตลก ทั้งๆที่ รู้ว่าพอถึงยามแก่เฒ่า หน้าตาผิวพรรณมันต้องเหี่ยวย่นเหนียงยานจนได้ ท่วงท่าเชิดหน้ายังกับนางพญาหงส์ มันจะต้องงองุ้มคุ้มลง ต้องถือ ไม้เท้ายักแย่ยักยัน เราก็ไม่ยอม ขอให้สวยไว้ก่อน

การพักผ่อน แม้การงานไม่หนัก ก็ต้องพักผ่อนให้มาก พามันไป เที่ยวตากอากาศ บางทีก็ไปถึงต่างประเทศ ให้กินอาหารดีๆ แล้วนอน มากๆ เป็นอะไรนิดหน่อยก็ต้องรีบวิ่งไปหาหมอ รวมความว่าเราเอาใจ ทนุถนอมร่างกายนี้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ

แต่จิตวิญญาณของเราล่ะ เราให้อะไรกับจิตวิญญาณของเราบ้าง จิตวิญญาณไม่ต้องการกินดีอยู่ดีอะไรเลย ขอเพียงให้ได้พักผ่อนบ้างเท่า นั้น ก็ยังไม่มีโอกาสได้พัก กายกินแล้วหลับสบาย แต่จิตวิญญาณกลับ ถูกใช้ให้คิด ให้ทำงานไม่ได้ว่างเว้น กระทั่งนอน ก็ยังต้องครุ่นคิดอยู่ทั้ง คืน คิดโครงการ วางนโยบาย คิดถึงความเสียหาย คิดถึงผลประโยชน์ ไม่มีท่าจะให้คิดอะไร ก็ให้นอนฝัน เพื่อเอาความฝันมาตีเป็นตัวเลข แทง หวย เราท่านให้ความยุติธรรมแก่จิตวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในตนดีแล้วหรือ จะไปคิดถึงสังคม สิ่งภายนอก เรื่องความยุติธรรมได้อย่างไร ในเมื่อกาย กับจิตของตนเอง เราก็ยังลำเอียง ให้ความยุติธรรมไม่เท่ากัน ไม่รู้ว่า เราบ้าหรือดี ฉลาดหรือโง่กันแน่

เราท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงตระหนักดีว่า นามรูปไม่มี จิต วิญญาณก็ไม่มี โดยตรงกันข้าม ถ้าจิตวิญญาณไม่มี นามรูปก็มีไม่ได้ เช่นกัน นามรูปนี้เกิดจากจิตวิญญาณเป็นผู้ให้ปฏิสนธิ ไม่มีจิต ก็ไม่มี กาย ไม่มีจิต กายถึงมีก็เป็นดุจท่อนไม้ จิตเป็นผู้บันดาลให้กายเป็น ผู้กระทำกรรมทั้งหลาย จะดีก็ตาม จะชั่วก็ตาม ล้วนเป็นไปได้ด้วยจิต

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยจิต เมื่อกายถึงกาลแตก ดับไปแล้ว จิตจะยังคงดำรงอยู่ เพื่อไปรับผลที่ตนเป็นผู้บงการ ให้กาย กระทำ จิตคือตัวเวียนว่ายตายเกิด สร้างภพ สร้างชาติ ละจากกายนี้ แล้ว ย่อมไปเกิดขึ้นในกายอื่น ไปเกิดในนรกสวรรค์ ไปปรากฏขึ้นทันที เป็นกายทิพย์ ถอดจากกายเนื้อไป กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เริ่มต้นในท้อง มารดา คลอดออกค่อยๆ เจริญวัยเป็นรูปกายขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน น่า เบื่อระอายิ่งนัก

ธรรมชาติของจิตที่มาเกิดกับกายเนื้อนี้ มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ที่ตนได้กระทำไม่ดีต่อผู้อื่นในอดีตชาติ ไม่ว่า กรรมใหญ่กรรมเล็ก ก็ต้องใช้ไปให้หมด บางทีก็เผลอไผลไปสร้างกรรม ไม่ดีขึ้นมาอีก เพราะถูกกิเลส ตัณหา อุปาทานมารตัวร้ายเข้าครอบงำ

หากทุกคนเกิดมาเพื่อสร้างสมความดี มีทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้ เกิดปัญญารู้แจ้งหลุดพ้น ถ้าไม่มีมารร้ายมาขัดขวาง ก็จะเดินทางสู่นิพพาน ได้ทุกคน แต่ก็มักขัดขวางเสียเป็นช่วงเป็นตอน ต้องทำดีบ้าง ชั่วบ้าง เพราะกรรมเก่ามันยังไม่หมด

ด้วยเหตุนี้ จึงพากันเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวัฏสงสารช้านาน เป็น เวลาพันภพแสนชาติ กว่าจะหลุดพ้นบ่วงมารไปได้

ดังได้กล่าวแล้วว่าทุกสิ่งสำเร็จด้วยจิต ถ้าตั้งใจที่จะทำความดี เอา ชนะมารร้ายให้ได้ ด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ระวังตัว ให้อยู่ในมรรค ๘ สม่ำเสมอ ทางเดินในวัฏฏะมันก็จะแคบเข้า และสั้นเข้า เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี้ นับว่ามีโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง คือมีสิทธิ์ที่จะ เลือกทำดีทำชั่วได้อย่างสมบูรณ์ มันอยู่ที่ตัวเราเองจะเลือกเอาอย่างไหน ถ้าใจอ่อนตามใจ เจ้ามารร้ายมันก็จะบงการให้เราทำแต่ความชั่ว ถ้าใจ แข็งเอาชนะมันให้ได้ เราก็จะทำกรรมดีได้สำเร็จ ความสำเร็จมันอยู่ที่ จิตใจของเราเอง ว่าจะทำตามความหมายเดิม ที่เกิดมาเป็นมนุษย์หรือไม่

การบำรุงบำเรอให้อาหารแก่จิต ก็ไม่สิ้นเปลืองอะไรนัก ให้จิตได้ ทำบุญทำทานบ้างตามสมควร เช่น ใส่บาตรบ้าง เอื้อเฟื้อคนยากจนบ้าง สงเคราะห์เด็กอนาถาบ้าง ก็จะทำให้จิตมีความสุขอิ่มเอิบ อย่าไปทำ เสียจนหน้างอกออกมารับสายสะพายเครื่องราชก็แล้วกัน ทำด้วยศรัทธา เชื่อมั่นในความดีก็ใช้ได้แล้ว ยิ่งให้จิตได้รักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนา ยิ่งไม่เปลืองอะไร นอกจากเวลา แต่ผลนั้นเกินคาด เจริญภาวนาไป เรื่อยๆ จนจิตตั้งขึ้นอยู่เหนือมารร้าย ก็จะใกล้นิพพานเข้าไป

อาตมากับหลวงพ่ออาจารย์ แสวงวิเวกอยู่ตามป่าเขาเขตจังหวัด เลย ล่วงเข้าเขตเพชรบูรณ์ การเดินก็เดินด้วยกรรมฐาน ภาวนาพุทโธไป การนั่งก็นั่งอยู่กับพุทโธ การคิดพิจารณา ก็อยู่ในขอบเขตของมรรค ๘ จึงจัดเป็นกรรมฐาน เพื่อปัญญารู้แจ้ง ไม่มีเหตุการณ์ใดๆ มาทำลาย ความวิเวก ที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติได้

จิตที่ปฏิบัติธรรมสมาธิ เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องกันไป ก็เป็นดังสายน้ำไหล อารมณ์แนบเนื่องอยู่กับเอกัคตา จิตใจไม่คลอนแคลน เราจะรู้แจ้งเห็น จริงตามธรรมชาติ อันเป็นสัจธรรมได้ก็ในตอนนี้แหละ ธรรมใดที่ไม่เคย รู้ก็จะรู้ขึ้นมาเอง ส่วนจะรู้มากรู้น้อย ก็แล้วแต่บุญวาสนาบารมียังมีน้อยอยู่ หรือเต็มเปี่ยมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือความเพียร เราเพียรกระทำต่อ เนื่องกันไป ก็ย่อมจะเกิดธาตุรู้ขึ้นจนได้ มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ยิ่งก็คือธาตุรู้ เมื่อรู้ขึ้นมาเองได้ วิทยาการทั้งหลายก็จะกว้างขวางออกไปเอง

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons