พุทธศาสนสุภาษิต
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์ ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุข จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ สีเลสุ สุสมาหิตํ เจโตสมถมนุยุตฺตํ ตํ เว วิญฺญู ปสํสเร ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั้นแล
พุทธศาสนสุภาษิต
อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน อุทพินทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
พุทธศาสนสุภาษิต
ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญอันโจรนำไปไม่ได้ ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
พุทธศาสนสุภาษิต
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปฺวลปสาทสฺสุ ปญฺญา น ปริปูรติ เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
พุทธศาสนสุภาษิต
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปฺวลปสาทสฺสุ ปญฺญา น ปริปูรติ เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
พุทธศาสนสุภาษิต
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปฺวลปสาทสฺสุ ปญฺญา น ปริปูรติ เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
พุทธศาสนสุภาษิต
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปฺวลปสาทสฺสุ ปญฺญา น ปริปูรติ เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
คุยกันก่อน37 นิวรณ์ ๕
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ep36 งานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มหาโส กัสสโป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในวัดป่าคำแคนเหนือ มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ศิษยานุศิษย์ ที่เคารพนับถือหลวงปู้พากันเดินทางมากราบไหว้สรีระสังขารหลวงปู่ และขอเช่าวัตถุมงคลของหลวงปู่โส กัสสโปอย่างเนื่องแน่น ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายสรีระสังขารหลวงปู่โส จากกุฏิของท่านมาที่ศาลาเปรียญกัสสโปนุสรณ์ ภายในวัดป่าคำแคนเหนือ เพื่อทำพิธีถวายน้ำหลวงอาบศพ "หลวงปู่โส กัสสโป”
นอกจากนี้ ภายในวัดป่าคำแคนเหนือมีศิษยานุศิษย์นำอาหาร เช่น ก๊วยเตี๋ยว ข้าวเหนียว หมูปิ้งส้มตำ ข้าวจี่ กาแฟ น้ำดื่ม มาตั้งเป็นโรงทานเพื่อรองรับประชาชนที่เคารพนับถือหลวงปู่โสมากราบ มารดน้ำและกราบศพท่าน ได้มารับประทานอาหารจากโรงทานได้ตลอดเวลา
พระสมุห์ สุภชัย เทวสุโภ อายุ 37 ปี พระอุปฐากหลวงปู่โส กัสสโป เปิดเผยว่า หลังจากทางวัดและลูกศิษย์หลวงปู่โส จัดงานครบรอบวัดเกิด 100 ปี ให้กับท่าน เมื่อ 18 พ.ย. 2558 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนได้ป่วยเพราะปอดติดเชื้อ จึงได้นำไปรักษาที่ รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น กระทั่งเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมาได้ออกจาก รพ.ศรีนครินทร์ฯ มาพักรักษาตัวอยู่ในกุฏิของท่าน กระทั่งเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เกิดอาการเสลดติดคอ หายใจไม่ออก กระทั่งเมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 16 ก.พ. ได้นอนหลับเมื่อคณะแพทย์จาก รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น มาตรวจก็บอกว่าหลวงปู่โสได้ละสังขารไปอย่างสงบ โดยนอนหลับตาและมีรอยยิ้มเล็กน้อย โดยแพทย์บอกว่าหลวงปู่โสชราภาพ
พระสมุห์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่หลวงปู่โสมรณะภาพไปแล้ว ทางวัดป่าคำแคนเหนือ พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่โส ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่เคารพศรัทธาหลวงปู่โสได้มากราบไหว้และเคารพศพหลวงปู่โสได้ตลอดเวลา ที่ศาลาการเปรียญกัสสโปนุสรณ์ โดยสรีระสังขารของท่านจะอยู่ในโรงทึบที่ทำด้วยไม้ประดู่จากธรรมชาติ โดยตั้งศพที่ศาลาการเปรียญฯ มีสวดอภิธรรมทุกวันจนครบ 1 เดือน จากนั้นให้มีสวดเฉพาะวันพระ
นอกจากนี้ มีบำเพ็ญกุศลใหญ่ถวายหลวงปู่ 7 วัน 50 วัน 100 วัน จนกว่าจะได้ก่อสร้าง “เจดีย์บูรพาจารย์ วัดป่าคำแคนเหนือ” เสร็จเรียบร้อยก็จะมีการประชุมพิธีฌาปนกิจของหลวงปู่โสตามที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นมา ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นวันไหน เดือนอะไร แต่เป็นปี 2560 แน่นอน
นายธวัช แตรยาว อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ 2 บ้านคำแคนเหนือ ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ผู้ศรัทธาหลวงปู่โสมากที่สุด เพราะมีวัตถุมงคลหลวงปู่โสติดตัว ซึ่งเป็นเหรียญหลวงปู่โสเก้า เหลี่ยม ตะกรุดมงคลจักรวาล เปิดเผยว่า หลวงปู่โส นับเป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย และท่านยังปฏิบัติศาสนกิจของท่านอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ทั้งการอบรมธรรมะแก่พระเณร อุบาสก อุบาสิกา การพัฒนาวัด การต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มากราบเยี่ยมที่วัด ซึ่งมีมาไม่เคยขาดสายเลยแม้แต่วันเดียว ไม่ว่าจะอยู่ไกลขนาดไหนก็มา ด้วยบารมีแห่งแสงธรรมขององค์หลวงปู่โส ที่จริงแล้วหลวงปู่ไม่เคยดำริให้สร้างวัตถุมงคลเลย แต่จะมีศิษยานุศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อหาทุนทรัพย์สร้างสาธารณะกุศล หลวงปู่โสก็มีเมตตาให้จัดสร้างและอธิฐานจิตให้ โดยวัตถุมงคลที่หลวงปู่อธิฐานจิตให้ล้วนมีพุทธคุณวิเศษ มีประสบการณ์แก่ผู้บูชาทั้งสิ้น
“หลวงปู่โส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง 4 ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า "พ้นจากวัฏสงสาร" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป”
หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่ง นับตั้งแต่อายุ 70 ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่สังคมทางโลกอีกเลยจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ต่อมาเมื่อท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็งจนถึงปัจจุบัน ท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น.
ประวัติ หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 8 พ.ย. 2458 เวลาตี 2 (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ปีเถาะ) ปัจจุบันสิริอายุ 100 ปี 3 เดือน 8 วัน สถานที่เกิด : เกิดที่ บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน
บรรพชาใน ปีพ.ศ.2477 เมื่อมีอายุ 19 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัฌชาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ (บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ธรรมทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติแตกฉาน จนสอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี ในปี พ.ศ.2478 อายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยมีพระอุปัฌชาอ่อน เป็นพระอุปัฌชาย์ ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น
ญัตติเป็นธรรมยุติ
เป็นมหาเปรียญ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Ep 32 สติตั้งที่ใจละที่ใจ
วัตถุ...แปลว่า มีจริง วัตถุ...หมายถึง ของจริงที่มีอยู่ มันมีอยู่...มีอยู่หมดทุกคน อันนี้ชื่อว่า...‘การเขย่าธาตุรู้’ ของบุคคล มีอยู่แล้วทุก ๆ คน
แต่ตามความจริงมันมีอยู่แล้ว เมื่อเราดูอยู่นี้แหละ..เราเห็น
อ้อ วัตถุ...หมายถึง ตัวจริงของ ‘จิตใจ’ หรือว่า ‘ชีวิต’
ปรมัตถ์...ก็เรากำลังเห็นความเป็นอยู่ มีอยู่นี้แหละ
มันคิดขึ้นมา...อ้อ อาการเปลี่ยนแปลงของมันเป็นอย่างนั้น
ประเดี๋ยวมันคิดเรื่องนั้นขึ้นมา ประเดี๋ยวมันคิดเรื่องนี้ขึ้นมา
อันนี้เป็นอาการของความคิด เป็นวัตถุ-เป็นปรมัตถ์-เป็นอาการชนิดหนึ่ง
การเห็นธรรมชนิดนี้...เพื่อไปปราบ ความโลภ-ความโกรธ-ความหลง ให้หมดไป (เรียกว่า) เรารู้จักสมุฏฐานของความคิด
หลง...แปลว่า ไม่เห็น เมื่อไม่เห็น...ก็ไม่เข้าใจ
แล้วมันก็จะเป็นสมุฏฐานทำให้เกิดความโกรธ ทำให้เกิดความโลภขึ้นมา
ดังนั้น มรรค...ก็คือ เราเอาสติมาคอยดูความคิด
นี้เอง...คือ ข้อปฏิบัติ
มือนี้ก็ต้องทำการทำงานไปตามหน้าที่ของเรา
ส่วนใจนั้น...เราต้องคอยดูตัวความคิด
จึงว่า มรรค...เป็นข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์
ซึ่งก็ต้องสมมติอีก เพราะคนที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง
ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ไม่เคยปฏิบัติ...จะไม่รู้เลย
จึงจำเป็นต้องมาว่าเรื่องสมมติ หรืออุปมา หรือเปรียบเทียบให้ฟังอีก
เขาก็ไปจับเอาที่ตัวหลอดไฟ แล้วหมุนอยู่อย่างนั้น
หมุนจนตาย...หลอดไฟก็ไม่สว่าง
เพราะที่นั่นไม่ใช่สมุฏฐานที่ไฟฟ้าจะสว่างได้
คนลักษณะนั้นเป็นผู้ที่ยังไม่รู้สมุฏฐานต้นเหตุของความคิด
เขาจึงคิดว่า โทสะ-โมหะ-โลภะ มีอยู่เป็นประจำ...เขาจึงพูดกันไปอย่างนี้
เขาก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่า โทสะ-โมหะ-โลภะ ไม่มีเลย
ดังนั้น การสอนธรรมะนั้น...จึงไม่เหมือนกัน
ไม่มีปรากฏเกิดขึ้นมาได้...เพราะว่าเราเห็น
เจ้าตัว ความโกรธ-ความโลภ-ความหลง...เพราะว่ามันไม่มี
เพียงแต่ขอให้เรามีสติเท่านั้น
อันตัวสตินี้...มันมีอยู่แล้ว มันมีตรงกันข้ามอยู่กับความหลง
เมื่อเรามีสติคอยระมัดระวัง ดูจิตดูใจอยู่…ความหลงก็ไม่มี
อันนี้แสดงว่า ‘เราเห็นสมุฏฐาน’…เราต้องปฏิบัติอย่างนี้
แล้วมันจะเกิดปัญญาแว้บขึ้นมา...มันจะเกิดความดีใจติดมาด้วย
ยังไม่ใช่ใจดีนะตอนนี้ ดีใจ...แล้วภูมิใจว่าตัวเองรู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรม อย่างซาบซึ้ง ปราบความหลงผิดได้แล้ว...เป็นอย่างนั้น
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
พูดคุยกันก่อน Ep30 เรื่องสีของจิตช่วยในการปฏิบัติอย่างไร
เจโตปริยญาณและประโยชน์
เจโตปริยญาณ แปลว่ารู้ใจคน คือรู้อารมณ์จิตใจคนและสัตว์ ว่าขณะนี้เขามีอารมณ์จิตเป็นอย่างไร มีความสุข หรือทุกข์ หรือมีอารมณ์ผ่องใส เพราะไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจให้ขุ่นมัว ที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์เฉยๆ ไม่มี สุขและทุกข์เจือปน รู้จิตของผู้นั้น แม้แต่จิตของเราเองว่า มีกิเลสอะไรเป็นกิเลสนำ คือมีอะไรกล้าในขณะนี้จิตของ ผู้นั้นเป็นจิตประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลเป็นจิตของท่านผู้ทรงฌาน หรือเป็นจิตประกอบด้วยนิวรณ์รบกวน เป็นพระอริยะชั้นใด
การจะรู้จิตของท่านผู้ใดว่ามีอารมณ์จิตของผู้ทรงฌาน หรือเป็นพระอริยะอันดับใดนั้น เราเองต้องเป็นผู้ ทรงฌานระดับเดียวกันหรือสูงกว่าการจะรู้ว่าท่านผู้นั้นเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่และระดับใด เราก็ต้องเป็นพระอริยะ ด้วยและมีระดับเท่า หรือสูงกว่า ท่านที่มีฌานต่ำกว่าจะรู้ระดับฌานของท่านผู้ได้ฌานสูงกว่าไม่ได้ ท่านที่ไม่ได้ทรง ความเป็นอริยะ จะรู้คุณสมบัติทางจิตของพระอริยะไม่ได้
ท่านที่เป็นพระอริยะต่ำกว่า จะรู้ความเป็นพระอริยะสูงกว่า ไม่ได้ กฎนี้เป็นกฎตายตัวควรจดจำไว้อย่าพยากรณ์บุคคลผู้ทรงคุณสูงกว่า ถ้าไม่ได้อะไรเลยก็จงอย่ากล้าพยากรณ์ ผู้อื่น เพราะพยากรณ์พลาดจากความเป็นจริง มีโทษหนักในทางปฏิบัติ เพราะเราจะกลายเป็นโมฆโยคีไป คือประกอบ ความเพียรด้วยการไร้ผล ในฐานะที่อาจเอื้อมยกตนเหมือนพระอริยะ เป็นกรรมหนักมาก ควรละเว้นเด็ดขาด
สีของจิต
สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควร หรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบ ก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
สีของจิตโดยย่อ
เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ
๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
กายในกาย เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้า ตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไร
ขอตอบว่า เป็นกายประเภทอทิสมานกายคือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหน ทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่า หนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย
กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ
๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ ตายแล้วไปอบายภูมิ
๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์
๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลือง แพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็น ประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะ รู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึง ว่าท่านพวกนั้น ไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตาม กรรมที่ให้ผลแรงกว่า
เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือ การรู้อารมณ์จิตของ ตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่ง ปรากฏแก่จิต
เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรก ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกน ที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบไว้ภายนอก
ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้ว เคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนใน สั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก
จิตของพระอริยะ
๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกาย ออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก
กระแสจิต ที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจและพยายามแสวงหามาให้ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียชีวิต เพราะได้มาซึ่งกระแสจิตผ่องใสเป็นประกายแล้ว ก็ควรเอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกาย ก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ ไม่มีทุกข์ภัยเจือปนเลย
ท่านที่ได้ เจโตปริยญาณ มีผลเพื่อเสริมสร้างความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตอย่างนี้ และสามารถควบคุมจิตให้สะอาดผ่องใส ปราศจากละอองธุลี อันเป็นผลของกิเลสตลอดเวลา รวมทั้งรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นด้วย การรู้อารมณ์จิตของท่านผู้อื่น ก็มีประโยชน์มาก เพราะถ้ารู้ว่าท่านผู้ใดทรงคุณธรรมสูงกว่า เพราะกระแสจิตผ่องใสกว่า จนพยากรณ์ไม่ได้
แสดงว่าสูงกว่าเราด้วยคุณธรรมแน่แล้ว ก็ควรรีบเข้าไปกราบไหว้ท่าน ขอให้ท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเพื่อผลต่อไป ถ้าเห็นว่าด้อยกว่า ก็ควรคิดให้อภัยเมื่อผู้นั้นล่วงเกิน หรือพลั้งพลาด ถ้าเป็นครู สอนสมณธรรม ก็ได้ประโยชน์มาก จะได้ให้กรรมฐานที่พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยและจริตศิษย์ จะได้ผลว่องไวในการปฏิบัติ
สำหรับทราบกายในกายก็เหมือนกัน กายคือจิต จิตก็คือกาย เพราะเวลาถอดกายในออก ก็มีสภาพเป็นกาย ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่งตามที่คนทั่วไปคิด เมื่อถอดกายในกายออก กายในจะปรากฏตามบุญญาธิการที่สั่งสมอบรม ไว้ ถ้าบุญมีผลเพียงเทวดา กายในกายก็จะมีรูปเป็นเทวดา เมื่อออกจากร่างนี้ไปสู่ภพอื่น ถ้ามีฌาน ร่างกายในก็จะ ปรากฏเป็นพรหม ถ้าหมดกิเลส กายในกายก็จะสดสะอาด มีประกายออก ร่างใสคล้ายแก้วสุกสว่างมีแสงสว่างมาก ร่างอย่างนี้จะปรากฏเมื่อถอดกายในกายออกท่องเที่ยว
เจโตปริยญาณนี้ นอกจากจะรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนและสัตว์แล้ว ก็ยังรู้ภาวะของจิตใจคนและสัตว์ที่มีบุญและ บาปสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือรู้อารมณ์จิตของตนเองว่า ขณะนี้เป็นจิตที่ประกอบด้วย กุศลหรืออกุศล จิตมีกิเลสอะไรสั่งสมอยู่มากน้อยเพียงใด กิเลสที่สำคัญก็คือ กิเลสที่เป็นอนุสัย คือกิเลสที่มีกำลัง น้อยไม่ค่อยจะแสดงอาการปรากฏชัดเจนนัก
แต่ก็ฟูขึ้นในบางขณะ ยามปกติก็มีอาการนิ่งสงบ เช่น อารมณ์สมถะที่ เป็น อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ อารมณ์ของสมถะนั้นจะแสดงอาการสงบแนบนิ่งมาก จนความไหวทางจิตในเรื่อง ความใคร่ ความโกรธแค้นขุ่นเคือง ความสั่งสมผูกพันไม่มีอาการปรากฏ จนเจ้าของเองคิดว่า เรานี่สำเร็จมรรคผลเสีย แล้วหรือ แต่พอนานๆ เข้าก็มีฟูขึ้นน้อยๆ เกิดขึ้นในยามสงัด คือไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อ
เช่น ครุ่นคิดถึงความสวยสด งดงามของรูป ความไพเราะเพราะพริ้งจากเสียง ความหอมหวนจากกลิ่นรสอันโอชะจากรสต่าง ๆ และความนิ่มนวล ของสัมผัส อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในยามที่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น แต่จิตคิดไปและจะระงับได้ เพราะการพิจารณาใน กรรมฐานที่มีอาการตรงกันข้าม เช่น อสุภะเป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะกำลังฌานในสมถะ ก็มีกำลังที่จะกดขี่กิเลส ให้สงบระงับแนบสนิทได้ แต่มิใช่ว่าทำลายกิเลสให้สิ้นอำนาจเด็ดขาด เป็นแต่ปรามให้สงบระงับไปได้ชั่วคราวเท่านั้น ในยามที่อำนาจสมถะปรามกิเลสให้สงบนี้
ท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงหลงผิด คิดว่าสำเร็จมรรคผล ถ้าเราสำรวจตรวจ จิตไว้เสมอตลอดวันเวลาแล้วเราก็จะทราบชัดว่า จิตเราสะอาดจริง หรือยังมีสิ่งโสมมแปดเปื้อนอยู่ จะรู้ได้เพราะสี ของจิต สีจะชัดหรือใสจางก็ตามและจะเป็นสีอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสีจะเป็นสีแดง สีดำ สีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เว้นไว้
แต่สีใสและสีประกายพรึกเต็มดวงของจิต สีใสที่ไม่มีประกายหรือสีใสมีประกายไม่เต็ม ยังมีสีใสปกติปนอยู่ ก็จงเร่ง ตำหนิตนเองได้แล้วว่า นี่เรายังคบความเลวไว้มากมาย
เพราะสีใสชื่อว่าเป็นสีประเสริฐ คือเป็นการแสดงออกของ อุเบกขาจิตแต่ทว่าสีใสธรรมดาที่ไม่มีประกายนั้นเป็นสีใสของฌานโลกีย์ มีอันที่จะสลายตัวกลับมาเป็นสีขุ่นมัวคือสี แดง สีดำเต็มขนาดได้เพราะฌานโลกีย์ยังมีเสื่อม ยังจัดเป็นจิตเลว
สำหรับนักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต่อเมื่อไรชำระจิต ให้ใสสะอาดเป็นปกติ และมีประกายเต็มดวงโดยที่ไม่ต้องคอยปรับปรุงแก้ไข มองดูด้วยญาณเมื่อไรก็เป็นประกาย แพรวพราว ถึงแม้จะประสบกับศัตรูเก่าที่เคยอาฆาตคุมแค้นกันมาแต่ปางก่อน จะถูกเสียดสีถากถางด้วยวาจาปรา มาสอย่างไรก็ตามจิตสงบระงับ อำนาจโทสะ ไม่ฟูออก จิตใจมีอาการปกติ สม่ำเสมอ ตรวจดูด้วยญาณ ตรวจขณะที่ ถูกด่าก็พบว่าจิตใสประกายแพรวพราว
แม้อารมณ์ราคะหรืออื่นใดก็ตามมายั่วเย้า จิตใจก็สดใสเป็นปกติอย่างนี้ใช้ ได้ นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลแต่ไม่ชมตัวเอง แต่ต้องคอยตำหนิตัวเองตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตรวจจิตซ้ำๆ ซากๆ ตลอดวันเวลา อย่างนี้จึงจะสมควร และเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริง หากทำได้อย่างนี้ ท่านมีหวังถึงพระนิพพาน ในชาตินี้ เพราะอารมณ์จิตที่ผ่องใสเป็นประกายเต็มดวงนั้น เป็นจิตที่ชำระกิเลสไม่เหลือ เป็นจิตของพระอรหันต์เท่านั้น
ท่านจึงยกย่องนักปฏิบัติที่ได้เจโตปริยญาณว่า เป็นผู้ใกล้ต่อพระนิพพานมากกว่าการได้ญาณ อย่างอื่น ท่านที่กล่าว อย่างนี้ก็เพราะว่า ญาณนี้สามารถคอยชำระจิต คือตรวจสอบจิตของตนได้ตลอดเวลา แม้แต่อารมณ์กิเลสที่เป็นอนุสัย ก็ยังรู้ ฉะนั้น นักปฏิบัติผู้หวังความพ้นทุกข์แก่ตนแล้ว จงพยายามฝึกฝนตนให้ชำนาญในเจโตปริยญาณนี้และเล่นให้ คล่องแคล่วว่องไวจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
เจโตปริยญาณและประโยชน์
สีของจิต
สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควร หรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบ ก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
สีของจิตโดยย่อ
เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ
๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ
๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ ตายแล้วไปอบายภูมิ
๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์
๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลือง แพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็น ประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะ รู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
จิตของพระอริยะ
๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกาย ออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
สีของจิตเกี่ยวอะไรกับการปฏิบัติธรรม
- จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
- จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
- จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งมีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
- จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว
- จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
- คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
- จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
- จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
- จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
- กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
- กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา จะต่างกันตรงที่ผิวพรรณ สัดส่วน ขาวดำ งดงามต่างกัน แต่ลักษณะบอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
- กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
- กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
- กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
- ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบาง ๆ เคลือบไว้ภายนอก
- ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง
- ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่า ตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนในสั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย
- ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนแก้วลอยอยู่ในอก
- ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกายออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นเจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
- พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
- พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
- พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
- ท่านที่บรรลุอรหันต์ กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก กระแสจิตที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจแสวงหาให้ได้ เอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกายก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เคล็ดการปฏิบัติของ หลวงตาบัว
วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Ep 26 มันไม่มีอะไร เลย จะละมันอย่างไร
จงฟังสักแต่ว่าฟัง และจงรู้สักแต่ว่ารู้
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจักไม่มีในโลกนี้
และในโลกไหน ๆ นั่นคือที่สุดแห่งทุกข์
ข้าพเจ้ายินดีนำเรื่องของท่านพาหิยะ
มาเล่าสู่ท่านผู้มีอายุฟังเท่าที่ข้าพเจ้าทราบ
ท่านพาหิยะมีประวัติที่น่าสนใจ
เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชสลดจิตท่านหนึ่ง
และน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ประมาท
มาแต่เบื่องต้นแล้วกลับตนในภายหลัง
........
พากันแตกตื่นชื่นชมนักพรตหนุ่มผู้หนึ่ง
ซึ่งมีแต่ท่อนไม้แห้งผูกด้วยเปลือกปอ
เป็นเครื่องพันกาย ไม่มีเสื้อผ้าอาภรณ์
อย่างอื่นอีกเลย เขามีมือถือกระเบื้อง
รูปกลม ๆ เป็นภาชนะอาหาร
เที่ยวเดินภิกขาจาร
จากประตูเรือนนั้นสู่ประตูเรือนนี้
และจากประตูเรือนนี้สู่ประตูเรือนโน้น
......
และเคร่งขรึมพูดน้อยประกอบกับ
ลักษณะอันแปลกประหลาดของเขา
ทำให้คนทั้งหลายมองดู
ด้วยความนิยมชมชื่น
และเรียกเขาว่า “พระอรหันต์”
.......
ท่ามกลางมหาสมุทร
ซึ่งบ้าระห่ำด้วยคลื่นลม
ฝ่าเกลียวคลื่นเข้าสู่ฝั่ง
..........
ของกระแสคลื่น ซึ่งโหมเข้ามา
เหมือนภูเขาไม่ไหวจึงแตกทำลายลง
เสียงร่ำไห้ระงมของผู้อาศัยมาในเรือ
เคล้าไปกับเสียงคลื่นลม
และแล้วก็ละลายไปในมหาสมุทรนั่นเอง
และกลายเป็นเหยื่อของ
มัจฉาปาณกชาติในท้องทะเล
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
นักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ
วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
แค่รู้ ก็พอแล้ว
อนัตตา