วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เพลงพระรัตนตรัย








มนุษย์ตามทรรศนะในพุทธปัญญา

.๑ มนุษย์ตามทรรศนะนักปรัชญาทั่วไป
                   มนุษย์ หรือคน  ซึ่งประกอบขึ้นมาจากกายกับจิตหรือรูปกับนาม  เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มนุษย์  ตามความเข้าใจโดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า  มนุษย์เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายอื่นๆ  ในโลก  ซึ่งไม่มีใครรู้ชัดว่ามนุษย์คนแรกเกิดขึ้นในโลกเมื่อใดเพียงแต่สันนิษฐานกันตามความคิดของแต่ละกลุ่มในทางปรัชญาจึงได้ตั้งประเด็นกันว่า  มนุษย์คือใคร  มาจากไหน  ซึ่งเป็นประเด็นในการโต้เถียงกันในเชิงอภิปรัชญามาหลายยุคหลายสมัยและยังแสวงหาคำตอบในเรื่องนี้กันต่อไป

ชีวิตคืออะไร?  ยากที่จะตอบได้ว่าชีวิตคืออะไร  คำตอบที่จะได้รับจากแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป   บางคนอาจตอบว่า  ชีวิตคือการเดินทาง   บางคนอาจตอบว่าชีวิตคือการต่อสู้  หรือบางคนอาจตอบว่าชีวิตคือความทุกข์  คำตอบที่ได้รับซึ่งแตกต่างกันเช่นนี้ก็เพราะว่าโดยธรรมชาติชีวิตนั้นเป็นของแต่ละคน ต่างคนก็ต่างได้รับประสบการณ์  และการเผชิญกับปัญหาต่างๆ  ในชีวิตมาแตกต่างกันนั้นเอง  แต่คำตอบต่างๆ นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือบางส่วนของชีวิตทั้งหมด  เกี่ยวกับชีวิตมีนักชีววิทยาศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตว่า  มีลักษณะอย่างไร  ต่างจากสิ่งไม่มีชีวิตอย่างไร    แต่ชีวิตคืออะไรนั้น  นักชีววิทยาก็ตอบไม่ได้
             นักปรัชญากรีกโบราณท่านหนึ่งคือ ธาเลส (Thales) ได้ตั้งปัญหาขึ้นว่า  มนุษย์  โลก  หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเราจะรู้ได้อย่างไร  โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจของเทพเจ้าเหมือนนักปรัชญาในอดีตที่ใช้วิธีการที่สั่งสอนกันมา  และได้คำตอบว่า  มนุษย์ และโลกตลอดถึงสรรพสิ่งต่างๆเกิดขึ้นและดำเนินไปด้วยกฎแห่งธรรมชาติ  เพื่อแสวงหาความจริงอันแท้จริงกลุ่มนักปรัชญากรีกได้พยายามทอนย่อยกฎทางธรรมชาติให้เป็นหน่วยย่อยๆนี้ว่า ปฐมธาตุ และธาเลสก็ได้ตั้งเป็นทฤษฎีว่า  ความแท้จริงอันสุดท้ายนั้นคือ ปฐมธาตุ  ทุกสิ่งเกิดจากปฐมธาตุนี้เอง  และยังให้ทรรศนะว่ามนุษย์ก็เกิดขึ้นมาโดยการลอกเลียนแบบมานั้นเอง  โสเครติส กล่าวว่า  มนุษย์คือสัตว์ที่มีเหตุผล  มีมันสมองเปรื่องปราด  ส่วนท่านพลาโต้นักปรัชญากรีกผู้เรืองนามได้กล่าวว่ามนุษย์คือสัตว์สังคมหรือสัตว์หมู่ เขาเกิดในสังคมอยู่ในสังคมและตายในสังคม และท่านอาริสโตเติ้ล  กล่าวว่า  มนุษย์คือสัตว์ที่มีความเกี่ยวพันกันทางการเมือง
             แต่ว่านักปรัชญากรีกในยุคต่อๆมาแม้ว่าจะยอมรับหลักการร่วมกันว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความจริงที่เป็นปฐมกำเนิดแรกร่วมกันก็ตาม  แต่ต่างก็ยังถกเถียงกันในเรื่องเนื้อหาว่าความแท้จริงที่เป็นต้นกำเนิดหรือปฐมธาตุ  นั้นมาจากไหน  ซึ่งยังไม่อาจสรุปรวมกันได้เป็นแนวคิดเดียว  ดังนั้นจึงแตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆไปตามวิถีทรรศน์ของกลุ่มต่างๆซึ่งแบ่งได้เป็น    กลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
กลุ่มเอกนิยม  ถือว่าความแท้จริงมีอย่างเดียว  ในกลุ่มนี้บางคนยังชื่อว่า  ความแท้จริง
คือสสารนอกจากสสารแล้วไม่มีอะไรจริง  บางคนเชื่อว่า  ความจริงเป็นจิตอย่างเดียว สสารไม่มีจริง 
กลุ่มทวินิยม  เชื่อว่าความแท้จริงมีสองอย่าง  คือสสารก็มีอยู่จริงและจิตก็มีอยู่จริง
กลุ่มพหุนิยม  เชื่อว่าความแท้จริงมีหลายอย่าง  ความแท้จริงเป็นทั้งจิต  สสาร  และสิ่งอื่นๆรวมกันด้วย  ดังนั้นสำหรับปัญหาที่ว่า  มนุษย์คือใคร  นั้น  กลุ่มเอกนิยมจะแยกตอบเป็น  อย่างคือ
กลุ่มสสารนิยม  ตอบว่า  มนุษย์คือสสาร  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวเข้าของสสารในอัตราส่วนที่พอเหมาะ  ส่วนการเปลี่ยนแปลงในรูปต่างๆ  ของมนุษย์  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวของสสารต่างๆ  เท่านั้น  การเกิดการตายของคนเป็นเพียงการแยกตัวออกของสสารเท่านั้น  ส่วนสสารนั้นยังคงเดิมคือไม่เพิ่มหรือลด  ไม่มีการเกิดใหม่และไม่สูญหายไปจากโลก
กลุ่มจิตนิยม  เชื่อว่ามนุษย์ก็คือจิต  จิตเท่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริงและมีอยู่จริงนอกนั้นไม่มีสิ่งใดเป็นจริง  ส่วนสสารนั้นเป็นเพียงมายาหรือการแสดงตัวออกของจิตเท่านั้น
กลุ่มทวินิยม  ตอบปัญหานี้ว่า มนุษย์ก็คือส่วนที่เป็นทั้งจิตและสสารมารวมกันเข้า  การเกิดของมนุษย์นี้ก็ด้วยอาศัยการรวมกันของสองสิ่งนี้เอง ความเป็นตัวคนจึงจะมีได้แต่ว่าถ้า







 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons