วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลงสภาวะ

หลงสภาวะหลงสภาวะเกิดได้อย่างไร ??หลงสภาวะเกิดได้จาก นักภาวนาไปคิดเอาเองว่า สภาวะอย่างนี้ถูกแล้ว สภาวะอย่างนี้ดีแล้ว สภาวะอย่างนี้ทำแล้วก้าวหน้าได้เร็วกว่าในการบรรลุมรรคผลเมื่อนักภาวนาเข้าใจไปอย่างนั้น ก็พยายามจะทำจิต บังคับจิต ดึงจิต ให้ไปตั้งอยู่ที่สภาวะน้้น ๆก็เลยเกิดการหลงสภาวะขึ้นมาเป็นธรรมชาติของจิตที่ยังมีอวิชชาปกคลุมอยู่ เมื่อมีการใช้จิต บังคับจิต ดึงจิต ผลที่ตามมา ก็คือ พลังงานที่คลุมจิตจะหนาแน่นขึ้น และ มโน จะขุ่นมัวมากขึ้นส่วนผลทีตามมานั้น เมื่อจิตไม่สดใส จิตถูกใจงาน จิตจะถูกปิดกั้นจากการโผล่งรู้ในธรรมแต่ถ้าถามว่า ไม่ควรทำอย่างนี้ใช้ใหม ผมก็ตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้นครับ ต้องดูจังหวะและสถานการณ์ด้วย เพราะการทำอย่างนั้น อาจเป็นสมถะภาวนาได้ที่ทำจิตที่กำลังขุ่นมัวจนมืดมืดให้สงบระงับลงได้ แต่ถ้าจิตดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรจะกระทำ เพราะยิ่งกระทำ...

ดูบ่อย ๆ ดูนาน ๆ ก็จะพบสิ่งที่เห็นได้ยาก

ดูบ่อย ๆ ดูนาน ๆ ก็จะพบสิ่งที่เห็นได้ยากเวลาที่เราซื้ออะไรใหม่ ๆ มาสักอย่าง เช่น กระเป๋าใบใหม่ รถยนต์คันใหม่ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ หรือ อะไรก็แล้วแต่ เรามักจะพบเสมอว่า พอเราเริ่มใช้สิ่งใหม่ๆ นั้น ไปสักระยะ เราจะเริ่มพบสิ่งที่ไม่ดี ไม่สมบูรณ์ ของเครื่องใช้ใหม่นั้นปรากฏออกมาให้เรารับรู้เสมอที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่า เราได้สัมผัสสิ่งนั้นบ่อย ๆ เข้า จากเรื่องที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนหน้า เราก็จะพบได้ในเวลาต่อมาในการภาวนานั้น สภาวะธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งก็คือ ตัวจิต / ตัว มโนก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนวา การเห็นตัวจิต/ ตัว มโน นั้น ไม่ใช่เป็นอย่างที่เขาพูด ๆ กันว่าโกรธก็รู้ว่าโกรธ การรู้ว่าโกรธนี่ยังห่างไกลมากครับกับการเห็น ตัวจิต/ ตัว มโนเพราะอาการโกรธ นี่เป็นเพียงสังขารขันธ์ อันเป็นจิตปรุงแต่ง ที่ไม่ใช่ ตัวจิต เลยถ้าท่านซื้อกระเป๋าใบใหม่มาใบหนึ่ง ยี่ห้อออกเป็นสำเนียงฝรั่ง...

ขอบคุณ กิเลส ที่โผล่มาให้เห็น -มุมปัญญา

ขอบคุณ กิเลส ที่โผล่มาให้เห็น -มุมปัญญากิเลส คำ ๆ นี้นักปฏิบัติที่อ่านตำรา หรือ ได้ฟังคำสอนจากครูบาอาจารย์ จะรู้จักมันดี และ ชาวพุทธ ส่วนมากมักมีใจน้อมเชื่อไปว่า กิเลส เป็นสิ่งเลวร้าย ต้องปราบมัน ต้องไล่มันออกไปจากจิตใจ เมื่อกิเลสสิ้นไปแล้ว ทุกข์ใจก็จะจบสิ้นลงความเข้าใจข้างต้น ยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงนัก เพราะ ตราบใดที่ยังคงความมีตัวตนอยู่ว่า นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา เขาไม่สามารถจะหนีจากกิเลสไปได้เลย ยิ่งเขาคิดว่าต้องการหนีไปจากกิเลสให้ได้ ความคิดที่จะหนีจากกิเลส นั้นแหละ ก็คือ กิเลสตัวหนึ่งที่เขาไม่รู้จักมันได้เกิดขึ้นในจิตใจของเขาแล้วการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์นั้น แทนที่จะหนีกิเลส แต่กลับเป็นว่า เขาต้องกล้าประจัญหน้ากับกิเลส แต่การประจัญหน้ากับกิเลสนั้น เขาต้องถึงพร้อมดัวยสัมมาสติ สัมมาสมาธิเสียก่อนเมื่อจิตใจที่มีกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นประจัญหน้าเข้ากับกิเลส...

ธรรมะปฏิบัติ ตอน8 โดยมนสิการ

ตัวอย่างการฝึกเพือการรู้กายผมได้เน้นอยู่ในหลายบทความที่ผมเขียนไว้ blog นี้ว่าจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิและ.จิตรู้ เกิดแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุเริ่มต้นให้ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งได้อย่างแท้จริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญวิปัสสนาที่จะได้ผลต่อไปจนเกิดสภาวะการปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เพื่อการหลุดพ้นแห่งวงจรทุกข์ได้มีผู้ถามว่า แล้วจะฝึกอย่างไรกันละ เพื่อให้ จิตมันตั้งมั่น ไม่เผลอนาน และ จิตรู้ เกิดได้ ซึ่งผมขอเฉลยว่า ต้องฝึกการรู้กาย ครับผมมีเขียนบทความใน blog นี้เรื่อง กายานุปัสสนาทิ้งไม่ได้เลย ถ้าฐานไม่มั่นคง ลองอ่านเพิ่มเติมได้ครัยการฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีหลายวิธีการในการฝึก เช่นการนั่งสมาธิดูลมหายใจ การเดินจงกรม เป็นต้น ซึ่งท่านผู้อ่านจะสามารถหาอ่านได้มากมายใน internetสำหรับบทความนี้ ผมจะนำเสนอวิธีการฝึกเพื่อการรู้กาย...

ธรรมะปฏิบัติ ตอน 7 โดยมนสิการ

สัมมาสติ คือ อย่างไร   บทความนี้เป็นความเข้าใจส่วนตัว จึงไม่จำเป็นต้องไปเหมือนคำสอนของอาจารย์ท่านใด หรือ จะต้องไปตรงกับข้อเขียนในหนังสือเล่มใด  ท่านทีอ่านแล้ว รู้สีกหงุดหงิดใจ ขอให้ท่านมีสติแล้วรู้อาการในจิตใจท่านว่า บัดนี้กิเลสได้เกิดขึ้นในใจท่านแล้ว ขอให้ท่านผ่านการอ่านไปเสีย อย่าได้อ่านต่อเลย กิเลสในใจท่านคงไม่ชอบใจแล้ว ขอบคุณครับ ******************* ในทางสายกลาง หรือ อริยมรรคมีองค์ 8  สัมมาสติ เป็นข้อ 7  ซึ่งท่านสามารถอ่านเรื่องของสัมาสติได้ในพระไตรปิฏก แต่สิ่งทีผมจะเขียนนี้ ไม่ใช่อธิบายสิ่งทีปรากฏในพระไตรปิฏก แต่เป็นความเข้าใจส่วนตัวจากประสบการณ์การภาวนาทีฝีกฝนมานาน คนไทยนั้น มักพูดสั้น ๆ  ว่า ให้มีสติ  หรือ พอมีความรู้สีกตัวอยู่ ก็มักเข้าใจว่า ตอนนั้นมีสติแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจของตนเองทีรับฟังมาหรือแปลความหมายเองจากการอ่าน...

ธรรมะปฏิบัติ ตอน 6 โดยมนสิการ

จิตเห็นจิตเป็นมรรค บรรดาคำสอนของครูบาอาจารย์ คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ เป็นคำสอนที่เรียบง่าย และ พุ่งเป้าเข้าสู่การพ้นทุกข์อย่างไม่อ้อมค้อมสำหรับผู้ภาวนาอย่างแท้จริงอริยสัจจ์แห่งจิตของหลวงปู ท่อนที่ 4 มีว่า จิตเห็นจิตเป็นมรรคในการภาวนานั้น การฝึกรู้ด้วยจิตในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิได้มากพอ ผลที่ตามมาก็คือ เกิดการแยกตัวออกของจิต(ผู้รู้) และ อาการของขันธ์ (ซึ่งก็คือ สิ่งที่ถูกรู้) ซึ่งในสภาวะตอนนี้ ในวงการภาวนาจะเรียกว่า สภาวะแห่งการเป็นของคู่ คือ มีผู้รู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ในบรรดาสิ่งที่ถูกรู้นั้น คือ อาการต่าง ๆในขันธ์ 5 สิ่งถูกรู้เหล่านี้มิใช่จิตนี่ยังเป็นการรู้ การละ ไม่ยึดติดด้วยกำลังของสัมมาสมาธิการทีนักภาวนาได้ลงทุนลงแรงฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 จนเกิดสภาวะของคู่ขึ้นมาได้นั้น...

ธรรมะปฏิบัติตอน 5 โดย มนสิการ

ผมเห็นมีเรื่องกาลามสูตรอยู่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่ผมอยากจะทิ้งมุมมองของผมในเรื่องพระสูตรนี้ให้ท่านพิจารณา ผมเชื่อว่า ท่านที่เป็นขาจร เมื่ออ่านบทนี้จบ จะมีหลายท่านที่อาจสบถออกมาก็ได้ว่า ช่างเป็นข้อเขียนที่ทำลายศาสนาสำหรับท่านที่มีปัญญา บทความนี้อาจช่วยให้ท่านถึงฝั่งก็อาจเป็นได้******************ผมเชื่อว่า ไม่มีใครที่ชอบการถูกผู้อื่นหลอก ผู้ถูกหลอกนอกจากจะเสียรู้ให้แก่ผู้มาหลอกแล้ว ถ้าจะมองดี ๆ ก็จะได้ว่า ผู้ถูกหลอกช่างเป็นคนที่โง่เง่าเสียจริง ๆ จึงถูกหลอกได้สำเร็จในโลกนี้ ไม่มีใครรู้ทุกสิ่ง ดังนั้น เรื่องการถูกหลอกจึงมีอยู่โดยทั่ว ๆ ไปในการหลอกนั้น คน ๆ หนึ่ง นอกจากจะถูกคนอื่นหลอกแล้ว ยังมีการหลอกอีกอย่างหนึ่ง ที่คนถูกหลอกมักไม่รู้ว่ากำลังถูกหลอกอยู่ และมีการถูกหลอกอยู่ทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้งเสียด้วยใครนะช่างเก่งจริง ที่เที่ยวหลอกคนอื่นได้ทุกวัน...

ธรรมะปฏิบัติ ตอน 4 โดย มนสิการ

สรุป การบรรยายของวันกิจกรรม 31 ตุลาคม 2553 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 มีกิจกรรมการบรรยายที่บ้านหนังสือชินเขต1 ในเรื่องวิธีการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 มีเนื้อหาโดยสรุปได้ดังนี้1..ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ในผู้ภาวนาต้องฝึกฝนการเจริญสัมมาสมาธิ เพื่อให้เกิดจิตที่ตั้งมั่นเสียก่อน เมื่อ จิตตั้งมั่นได้แล้ว จิตที่ตั้งมั่น นั้นจะเปรียบเหมือน ดวงตาปัญญา ที่ไปเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริงของกายและใจได้2..หลักการฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เพื่อให้เกิดจิตตั้งมั่น2.1 เพียงรู้สึกตัว อย่างสบาย ๆ อย่าได้มีความเครียด สายตามองตรงไปข้างหน้า อย่าได้จ้องมองสิ่งใด เพียงลืมตาขึ้นเฉย ๆ เท่านั้น การลืมตาขึ้นเฉย ๆ แบบนี้ นักภาวนาจะเห็นภาพที่ตามองเห็นเป็นมุมกว้าง ๆ แบบ panorama และ ภาพที่เห็นอาจจะไม่ชัดเจนนักก็ได้ หรือ ชัดเจนก็ได้ แต่ทั้งนี้จะไม่ต้องจ้องสิ่งใด2.2 ให้ .จิต. ไปรับรู้...

ธรรมะปฏิบัติ ตอน 3

วัวแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้า แล้วชำเลืองดูลูกน้อย (วิธีภาวนาทำอย่างไร) หลวงพ่อโพธินันทะ ได้กล่าวถีงพระไตรปิฏกเล่มที 12 การปฏิบัติตามอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาโดยอุปมาถีง โคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อยในบทนี้ ผมจะได้เขียนถีงวิธีการปฏิบัติ1..คุณสมบัติของนักภาวนาทีจะปฏิบัติได้พระสูตรนี้ ไม่ใช่สำหรับมือใหม่ในการภาวนา แต่ต้องเป็นมือเก่าทีมีความสามารถในการภาวนามาได้ในระดับหนี่งทีสามารถเห็น **ความคิด**ของตนเองได้แล้ว2..ขบวนการทำงานของความคิดตัวจิตนั้น จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนทีเป็นสภาวะรู้ และ ส่วนทีเป็นตัวจิตทีจะแปรไปเป็นจิตปรุงแต่งได้เมื่อมีเหตุและปัจจัยเข้ามากระทบทีจิตเมื่อมีเหตุและปัจจัยเข้ามกระทบทีตัวจิต ตัวจิตจะเกิดการไหวตัว ซี่งในการไหวตัวนี้จะออกมาเป็นพลังงานทีสั่นไหว ที่ผมจะเรียกว่า ความคิดเมื่อนักภาวนาทีผ่านการภาวนามาได้ในระดับหนี่งมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิพอสมควร...

ธรรมปฏิบัติตอน 2 by มนสิการ

สมถะ วิปัสสนา ในแนวทางที่ตำราไม่กล่าวถึง ภาค 2 มีคำถามเข้ามาว่า........มีข้อสงสัยเรื่องการปฏิบัติขอรบกวนสอบถามค่ะ คือ การฝึกโดยการเคลื่อนไหวที่คุณนมสิการชี้แนะให้นี้สามารถทำควบคู่กับการฝึกสมถะได้หรือไม่คะ หรือว่าควรจะทำแค่อย่างใดอย่างนึง คือปัจจุบันนี้ดิฉันอยู่ในช่วงเริ่มต้นและยังจับแนวทางไม่ถูกค่ะ**********************มาอ่านความเห็นของผมดังนี้ผมได้เคยเขียนเรื่อง สมถะ วิปัสสนา ในแนวทางที่ตำราไม่กล่าวถึงไว้ที่ ในตอนนี้ผมจะเพิ่มเติมเข้าไปจากบทความก่อน++++ สมถภาวนาจุดมุ่งหมายของสมถภาวนาจะมี 3 อย่าง อยู่ที่ใครต้องการแบบใดใน 3 อย่างนี้ มาดูกันครับ***จุดมุ่งหมายที่ 1 .... ทำสมถภาวนาเพื่อต้องการให้จิตสงบจากนิวรณ์( หมายเหตุ นิวรณ์ คือ อาการที่จิตกำลังดิ้นรน กระสับกระส่าย ไม่สงบด้วยอาการในจิต )ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นกันเพื่อให้เข้าใจตัวอย่างที่ 1 ...สมมุติว่า...

ธรรมปฏิบัติ ตอน 1

บทความนี้เป็นบทต่อเนื่องจากเรื่อง รู้ธรรมคือรู้อะไรและเรื่อง มาดูดอกไม้ไฟกันเถอะ ..................................ผมได้เขียนเรื่องการฝึกฝน ตัวอย่างการฝึกเพื่อการรู้กายข้อ 1) ในขณะที่ท่านฝึกฝนอยู่นั้น ท่านสังเกตไหมว่า จิตใจท่านจะราบเรียบไม่มีอะไร แต่เมื่อการลูบแขนเกิดขึ้น ท่านก็รู้สึกได้ถึงการลูบนั้นได้ถ้าท่านยังไม่เคยฝึก ผมแนะนำให้ท่านฝีกการลูบแขนก่อนสัก 30 นาที แล้วจึงมาอ่านเรื่องราวใน blog ของผมต่อไปข้อ 2) ทีนี้ สมมุติ ผมขอให้ท่านสร้างจินตนาการขึ้นมาว่า ท่านอยู่กับคนรักที่ตอนนี้หัวใจท่านสีชมพู ท้องฟ้าก็สดใส และคนรักของท่านก็ลูบแขนของท่านเหมือนดังข้อ 1เมื่อเกิดการลูบแขนขึ้น ท่านย่อมรู้สึกได้ถึงการลูบ มันจะเหมือนกับการลูบในข้อ 1 แต่ตอนนี้ จิตใจท่านจะไม่เหมือนข้อ 1 แล้ว เพราะ จิตใจท่านจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข อยากให้อยู่อยางนี้นาน ๆข้อ3 )...

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มุมมือใหม่

วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มุมมือใหม่มีผู้ขอให้ผมแนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ตั้งแต่เริ่มต้นเลยว่า จะให้ปฏิบัติอย่างไรสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มาจากประสบการณ์ส่วนตัวล้วน ๆ ที่ผมจะฝากไว้ท่านมือใหม่ ที่ล้มเหลวอยู่เสมอในการปฏิบัติธรรมไว้พิจารณาผมอยากจะบอกท่านที่เข้ามาอ่านก่อนว่าถ้าท่านยังติดหนึบเนียวแน่นดังกาละแมติดฟันในตำราละก็ อย่าอ่านต่อเลยครับ เพราะจะทำให้ท่านมีอคติกับผมไปเปล่า ๆ เมื่อท่านมีอคติอย่างเดียวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าท่านปรามาสต่อผมต่อ นี่ซิครับ ผมไม่ต้องการให้บทความต่าง ๆ ที่ผมเขียนเพื่อให้ท่านดับทุกข์ กลับนำท่านลงสู่ทุกข์เสียเอง สิ่งใดมีคุณอนันต์ ก็จะมีโทษมหันต์เช่นกัน ถ้าใช้ไม่เป็นเชิญเข้าเรื่องได้ครับ สำหรับสาธุชนมีใจเป็นกลางที่อยากทราบประสบการณ์ของผม****************************1. วิปัสสนาจะไม่ได้ผลอะไรเลย...

พระอาจารย์ทอง อาภากโร

พระอาจารย์ทอง อาภากโร วัดสนามใน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ หลวงพ่อกับ พระอาจารย์ทอง อาภากโร, หลวงพ่อเพียร อตฺตปุญฺโญ, พระอาจารย์คำเขียน สุวณฺโณ และพระอาจารย์บุญธรรม อุตฺตมธมฺโม อาตมาเป็นพระบ้านนอก พ่อแม่เป็นชาวไร่ชาวนา ก่อนบวชก็ได้ทำบุญให้ทาน เข้าวัดตามประเพณีที่พ่อแม่เคยทำมา การปฏิบัติก็ยังไม่ได้ทำอะไรในขณะนั้น อาตมาบวชเมื่ออายุ 22 ย่าง 23 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2504 อาตมาก็บวชเรียนอยู่วัดธรรมดา บวชมหานิกาย ที่จังหวัดอุดรธานี ได้ทำสมาธิกรรมฐานบ้าง แต่ก็ไม่เข้าใจ พอดีปีนั้น พ.ศ. 2510 อาตมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านพรม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ออกพรรษาแล้วก็ไปเรียนเทศน์ แต่ก่อน การจะเป็นพระนักเทศน์ต้องเรียนจากครูบาอาจารย์ บังเอิญมีโยมคนหนึ่งมาจากเมืองเลย เขามาเยี่ยมญาติที่นี่ เขาไปได้ยินหลวงพ่อเทียนพูดธรรมะกับท่านมหาบัวทอง เพราะท่านมหาบัวทองเป็นลูกศิษย์รุ่นแรก...

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิ่งหาแก่นธรรม ตอน 2

เมื่อกาลออกพรรษามาถึง ก็ได้เวลาแพ็คย่ามบาตรขึ้นหลัง ออกเดินทางเสาะแสวงหาวิโมกขธรรม ครั้งนี้มิได้หวังไปสงเคราะห์ผู้อื่น หากแต่หวังไปสงเคราะห์ตนเอง หวังจะเป็นพระโดยบริบูรณ์กับเขาบ้าง ทราบมาว่าเขามีการเดินรุกขมูลเข้าไปในป่าห้วยขาแข้ง มีปลายทางหลายที่เช่น อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อ.อุ้มผาง จ.ตาก หรือเลยไปถึงพม่าก็มี (ปกติมือใหม่นี่เขาจะไปแค่ อ.บ้านไร่กัน เพราะใกล้ที่สุด โหดน้อยที่สุด) ซึ่งจะมีพระรุ่นพี่ผู้มีประสบการณ์พาไปเป็นทีม ทีมละ ๕ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้างตามแต่อัธยาศัย และสไตล์ที่ชอบ มีทั้งแบบอึดมหาโหด เดินโลดตั้งแต่เช้าจรดเย็น หรือเดินแบบมิโหมหัก เหนื่อยนักก็พักก่อน โดยจะมีการแพ็คข้าวสาร อาหารแห้ง เข้าไปอย่างเพียงพอ สำหรับการอยู่ป่าหลาย ๆ วัน โอกาสเช่นนี้มิได้มีทั่วไป มิใช่เป็นพระแล้วอยากจะเข้าป่าเมื่อไหร่ก็เข้าได้...

ตามหาแก่นธรรม 3

เหมือนฟ้าเป็นใจ ก่อนเข้าป่าห้วยขาแข้ง พระทั้งหลายเขาไปร่วมงานปริวาสกรรม เพื่อชำระศีลกันที่ วัดปากลำขาแข้ง อุโบสถวัดนี้แปลกดี หุ้มด้วยสแตนเลสทั้งหลัง ซึ่งเวลาออกปริวาส ก็มาบรรจบกับ เวลาการลาสมาทานธุดงค์ที่วัดท่าซุงพอดี ออกจากวัดท่าซุงแล้ว อาตมาจึงรีบไปสมทบ กับคณะพระเดินป่า จึงได้เดินรุกขมูลสมใจนึก ออกจากวัดท่าซุงวันที่ ๑๓ ธันวา โทรไปถามเขาว่า ออกปริวาสกันวันที่ ๑๕ ยังพอมีเวลา เลยแวะไปหาหลวงตาพวงก่อน ไปถึงอารามดีใจ ที่ไม่ได้เจอท่านเสียเกือบปี คุยกันนานสองนาน พอหมดเรื่องสารทุกข์สุกดิบ ก็เข้าเรื่องของการปฏิบัติ จากการเข้าปฏิบัติกรรมฐานที่วัดท่าซุง ก็เกิดความกังวลขึ้นว่า หลัง ๆ ไปชอบฟังธรรมะเสียเยอะ ฟังไม่เลือกสาย ไม่เลือกค่าย ถ้าเป็นธรรมะฟังได้หมด ฟังได้นาน ฟังไม่เบื่อ แต่พอให้นั่งสมาธินี่ ทำไมมันนั่งได้น้อยจัง นั่งแล้วทรมานด้วย นิ่งได้สัก ๑๐ นาที...

วิ่งหาแก่นธรรม ตอน 1

อาตมาไม่ใช่พระวิเศษวิโสอะไร ไม่มีคุณงามความดีอะไร ให้น่าสรรเสริญ บางคนคิดว่า เป็นพระแล้วต้อง มีฌาน มีญาณ มีคุณธรรมวิเศษ จึงจะน่านับถือ น่าตื่นตาตื่นใจ อย่างหนังสือธรรมะหลายเล่ม ที่อาตมาได้อ่าน พระบางรูป บวชเพียงพรรษาเดียว หรือ ๓ เดือน กลับได้อะไรมากมาย ฆราวาสบางคน ปฏิบัติธรรมแค่ ๗ เดือน ก็บรรลุธรรม ส่วนอาตมา ตั้งใจปฏิบัติมาปีเศษแล้ว ก็ยังไม่บรรลุคุณธรรมวิเศษใด ๆ ยังคงเป็นพระปุถุชน คนหนาแน่น ไปด้วยกิเลส หรืออาจเป็นผู้ที่ ยังประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จึงหาความเจริญในธรรม ไม่ใคร่ได้ ต้องอาศัยการปฏิบัติ ขัดเกลาจิตใจให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป บันทึกนี้เป็นบันทึก ของผู้ที่บวชมาอย่างธรรมดา ๆ เป็นคนธรรมดาอย่างที่สุด กรรมฐานก็ ไม่เป็นโล้เป็นพาย อย่างมโนมยิทธินี่ ฆราวาสเขาฝึกกันแป๊บเดียว ครั้งเดียวได้มโนมยิทธิ แบบเต็มกำลัง ส่วนอาตมานั้น แม้ฝึกมาเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพียงครึ่งกำลังก็ยังไม่ได้...

Page 1 of 162123Next

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons