วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ธรรมะปฏิบัติ ตอน 7 โดยมนสิการ

สัมมาสติ คือ อย่างไร

  DSC00024บทความนี้เป็นความเข้าใจส่วนตัว จึงไม่จำเป็นต้องไปเหมือนคำสอนของอาจารย์ท่านใด หรือ จะต้องไปตรงกับข้อเขียนในหนังสือเล่มใด  ท่านทีอ่านแล้ว รู้สีกหงุดหงิดใจ ขอให้ท่านมีสติแล้วรู้อาการในจิตใจท่านว่า บัดนี้กิเลสได้เกิดขึ้นในใจท่านแล้ว ขอให้ท่านผ่านการอ่านไปเสีย อย่าได้อ่านต่อเลย กิเลสในใจท่านคงไม่ชอบใจแล้ว ขอบคุณครับ

*******************

ในทางสายกลาง หรือ อริยมรรคมีองค์ 8  สัมมาสติ เป็นข้อ 7  ซึ่งท่านสามารถอ่านเรื่องของสัมาสติได้ในพระไตรปิฏก

แต่สิ่งทีผมจะเขียนนี้ ไม่ใช่อธิบายสิ่งทีปรากฏในพระไตรปิฏก แต่เป็นความเข้าใจส่วนตัวจากประสบการณ์การภาวนาทีฝีกฝนมานาน

คนไทยนั้น มักพูดสั้น ๆ  ว่า ให้มีสติ  หรือ พอมีความรู้สีกตัวอยู่ ก็มักเข้าใจว่า ตอนนั้นมีสติแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจของตนเองทีรับฟังมาหรือแปลความหมายเองจากการอ่าน การได้ฟังมา

ในตำรา   สติ เป็นเจตสิกฝ่ายดี  หรือ จิตปรุงแต่งฝ่ายดี  ถ้าการเพียงรู้สีกตัวว่ามีสติแล้ว เวลาคนอกหัก คนอกหักก็รู้แก่ใจว่า ทุกข์หนักหนา ซี่งตอนทุกข์ คนอกหักก็รู้สีกตัวอยู่ว่ากำลังเป็นทุกข์เพราะอกหัก  ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว การมีเพียงการรู้สีกตัวว่ามีสติอยู่ จะเป็นจิตผ่ายดีได้อย่างไรกัน จิตผ่ายดีเกิด ควรเป็นทุกข์อย่างนั้นหรือ ขอให้ท่านผู้อ่านคิดและพิจารณาเอาเองด้วยปัญญา

++++++ ความแตกต่างของ สติ และ สัมมาสติ เป็นอย่างไร

สติ นั้นเป็นกลไกการทำงานอย่างหนี่งของจิต ทีจิตเปล่งแสงสว่างว๊าบจ้า ทะลุ **โมหะ**ที่ปกคลุมจิตออกมาได้

ส่วน สัมมาสติ นั้นจะคล้ายกันกับสติ  แต่เป็นการเปล่งแสงสว่างว๊าบ ทีทะลุ **อวิชชา** ออกมา 

***กรุณาอ่านข้ำ ถ้าท่านหาความแตกต่างระหว่าง สติ และ สัมมาสติ ไม่พบ***

เมื่อจิตถูกโมหะครอบงำ  จิตจะดำมืดสูญเสียความรู้สีกตัว แล้ว กิเลสคือ โลภะ โทสะ ก็จะเข้าครอบงำจิตต่อไปได้อย่างง่ายดาย   นี่คือสาเหตุ ทีคนทั่ว ๆ ไปมักถูกกิเลส คือ โมหะ โลภะ โทสะ ครอบงำจิตใจได้อย่างง่าย ๆ  เพราะคนทั่วๆ ไปโดยมาก จิตไม่มีสติ

การทีจะให้จิตหลุดจากการครอบงำของโมหะ ก็คือ ต้องให้จิตเปล่งแสงทะลุโมหะทีครอบงำจิตออกมาได้  ซึ่งต้องใช้การฝีกฝน สติปัฏฐาน 4 เป็นวิธีทำ ซี่งนักภาวนาต้องฝีกฝน สติปัฏฐาน 4 เสมอ ๆ ฝีกบ่อยๆ  ฝีกให้มาก ๆ ฝีกให้ชำนาญ และทีสำคัญ ต้องฝีกให้ถูกต้องตามหลักการของ อาตาปี สัมปชาโน สติมา ด้วย

เมื่อนักภาวนาฝีกฝนสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องอยู่เสมอ ๆ  นักภาวนาจะพบด้วยตนเองว่า เมื่อมีการกระทบสัมผัสทีเกิดขึ้นทางกาย หรือ ทางเวทนา หรือ ทางจิต ขึ้น  จะเกิดการทำงานของสติขึ้น ซี่งนักภาวนาจะพบเองว่า จะเห็นคล้าย ๆ แสงจากกล้องถ่ายรูปแว๊บขึ้นมาแว๊บหนี่งแล้วดับไป  นั่นคือ แสงจิตจากการทำงานของสติ 

ผมไม่อาจบอกท่านนักภาวนาได้ว่า ท่านต้องฝีกสติปัฏฐาน 4 นานเท่าใด สติจึงจะทำงานอย่างนี้ได้

แต่ผมบอกท่านได้อย่างหนี่งว่า ถ้าท่านฝีกสติปัฏฐาน 4 ไม่ถูกต้องตามอาตาปี สัมปชาโน สติมา การเกิดของสติ ก็ยากจะเกิดขึ้นจนท่านเห็นแสงแว๊บได้เลย

การแว๊บของแสงจิต 1 ครั้ง มันเร็วและสั้นมาก จนท่านนักภาวนาไม่อาจจะเข้าใจอะไรในธรรมได้ นอกจากเห็นแสงว๊าบขึ้นสั้น ๆ แล้วดับไป  ต่อเมื่อท่านนักภาวนาฝีกสติปัฏฐานต่อไปอย่างต่อเนื่องอยู่เนือง ๆ  จนเกิดความชำนาญ  ท่านนักภาวนาจะพบเองว่า อาการแสงแว๊บนั้นจะเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย จนทำให้ท่านนักภาวนาเห็นอะไรได้บ้างทีเป็นสภาวะธรรม 

ความถี่ทีเกิดขึ้นของแสงจิตทีทะลุโมหะ จะทำให้เกิดเป็นแสงสว่างชึ้นในจิตของนักภาวนาเอง ทำให้เกิดจิตทีสว่างขึ้น โดยทีนักภาวนาจะเห็นความสว่างของจิตนี้ได้เอง และ ตราบใดทีนักภาวนาเห็นจิตทีสว่างได้ นักภาวนาจะพบเองว่า กิเลสใด ๆ ไม่อาจเกิดได้เลยในขณะที่ความสว่างของจิตยังปรากฏเห็นได้อยู่

สำหรับ สัมมาสติ นั้น เป็นแสงจิตทีส่องทะลุ อวิชชา ออกมา ซี่งจะคล้ายๆ กับแสงจิตทีเป็นสติทีส่องทะละโมหะออกมา   แต่เมื่อแสงจิตทะลุ อวิชชา ออกมาได้ นักภาวนาจะพบกับอาการของความว่างเปล่าของความไร้ตัวตน หรือ สุญญตาสภาวะได้  ซึ่งความเป็น **สัมมา** นีคือ ธรรมทีเป็นระดับของโลกุตระที่ไร้อวิชชาครอบงำนั่นเอง

การเกิดขึ้นของสัมมาสติ ก็จะมาจากการพัฒนา สติ ทีแสงจิตสว่างในจิตเอง ประกอบกับปัญญาญาณทีเกิดขึ้น ทำให้นักภาวนาเกิดปัญญารู้แจ้งและทำลาย อวิชชา ลงไปได้

ธรรมในการหลุดออกจากกองทุกข์ ก็จะมาจากแสงสว่างในจิต ทีมาจากสติ แล้วพัฒนาต่อเป็นสัมมาสติ  การฝีกฝนทีตรงทางในสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น ทีกล่าวโดยย่อว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา จะเป็นเหตุในการสร้างขึ้นมาได้

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons