วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ธรรมะปฏิบัติ ตอน 4 โดย มนสิการ

0003สรุป การบรรยายของวันกิจกรรม 31 ตุลาคม 2553

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 มีกิจกรรมการบรรยายที่บ้านหนังสือชินเขต1 ในเรื่องวิธีการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 มีเนื้อหาโดยสรุปได้ดังนี้

1..ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ในผู้ภาวนาต้องฝึกฝนการเจริญสัมมาสมาธิ เพื่อให้เกิดจิตที่ตั้งมั่นเสียก่อน เมื่อ จิตตั้งมั่นได้แล้ว จิตที่ตั้งมั่น นั้นจะเปรียบเหมือน ดวงตาปัญญา ที่ไปเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริงของกายและใจได้
2..หลักการฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เพื่อให้เกิดจิตตั้งมั่น
2.1 เพียงรู้สึกตัว อย่างสบาย ๆ อย่าได้มีความเครียด สายตามองตรงไปข้างหน้า อย่าได้จ้องมองสิ่งใด เพียงลืมตาขึ้นเฉย ๆ เท่านั้น การลืมตาขึ้นเฉย ๆ แบบนี้ นักภาวนาจะเห็นภาพที่ตามองเห็นเป็นมุมกว้าง ๆ แบบ panorama และ ภาพที่เห็นอาจจะไม่ชัดเจนนักก็ได้ หรือ ชัดเจนก็ได้ แต่ทั้งนี้จะไม่ต้องจ้องสิ่งใด
2.2 ให้ .จิต. ไปรับรู้ .เอง. ของอาการของกาย ที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงให้รับรู้ได้ เช่น
การรับรู้การสัมผัส คือ การรับรู้กายที่เป็น ดิน
การรับรู้การสั่นไหว สะเทือน คือ การรับรูุ้กายที่เป็น ลม
การรับรู้อุณหภูมิ คือ การรับรูุ้กายที่เป็น ไฟ
การรับรู้ การเปลี่ยนแปลงทางกายดังกล่าว เกิดขึ้นเอง เพราะกลไกทางธรรมชาติ โดยที่ผู้ภาวนาไม่ต้องอยากไปรับรู้เลย ถ้าเป็นการรับรู้ด้วยการจงใจ ต้องการไปรับรู้ เป็นการภาวนาที่ผิดทาง
3..ได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้รู้จักอาการของกายจริง ๆ โดยการ
3.1 เกาหลังมือ
3.2 ควงข้อมือแบบเชียรลีดเดอร์
3.3 ขยับขาแบบเตะลูกบอลล์ และ การกระทบพื้น
แนะนำอ่าน หลักการเบื้องต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบชาวบ้าน
ประกอบ
4..บรรยายการทำงานของ จิตรู้ จิตลูกโป่ง อวิชชา ตัณหา กิเลส ของภาพข้างบน
5..สิ่งที่เน้นในการภาวนา
5.1 อย่าให้มีความเครียดในการภาวนา
5.2 อย่าให้มีความอยากในขณะภาวนา เพียงรู้สึกตัว จิตใจปรกติที่สบาย ๆ

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons