วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง พ.ศ.๒๕๕๓และพ.ศ.๒๕๕๑

           _12_202            

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
                                  สอบในสนามหลวง
                    วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓


๑. อุทเทสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลา
หมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” จงวิจารณ์ว่า ตอนไหนแสดง
ปรมัตถปฏิปทา ตอนไหนแสดงปรมัตถ์ ตอนไหนแสดงสังสารวัฏฏ์ ?
เพราะเหตุไร ?
๑. ตอนที่ว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ” แสดง
ปรมัตถปฏิปทา เพราะประสงค์ให้ดูเพื่อนิพพิทาเป็นต้น
ตอนที่ว่า “แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” แสดงปรมัตถ์ เพราะแสดงถึงความรู้
ที่เป็นเหตุให้พ้นจากความข้องอยู่ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม อันจะพึงได้ด้วย
การปฏิบัติในปรมัตถปฏิปทาโดยลำดับ
ตอนที่ว่า “ที่พวกคนเขลาหมกอยู่” แสดงสังสารวัฏฏ์ เพราะต้องวนเวียน
ท่องเที่ยวไปด้วยความเขลา ฯ

๒. ข้อว่า ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดังนี้ คำว่า มาร
และ บ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่ออย่างนั้น ?

๒. มาร ได้แก่กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ให้รักให้
อยากได้ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน ฯ
บ่วงแห่งมาร ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันเป็นของน่าชอบใจ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติด ฯ

๓. ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้น กำหนดเห็นด้วยทุกข์กี่หมวด ?
วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์เช่นไร ?
๓. ๑๐ หมวด ฯ ได้แก่วิปฏิสาร คือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์คือ
ถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย ฯ

๔. คำว่า สุคติ ในพระบาลีว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๔. คือ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ฯ มี เทวะ ๑ มนุษย์ ๑ หรือ สุคติ ๑
โลกสวรรค์ ๑ ฯ

๕. วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้น ตัวหลุดพ้นคืออะไร ? หลุดพ้นจากอะไร ?
ตัวรู้ว่าหลุดพ้นคืออะไร ? จงอ้างหลักฐานประกอบด้วย
๕. ตัวหลุดพ้นคือจิต ฯ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ตามพระบาลีว่า
กามาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ ภวาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ อวิชฺชาสวาปิ
จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยกาม จิตหลุดพ้น
แล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยภพ จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วย
อวิชชา ฯ ญาณเป็นตัวรู้ ตามพระบาลีว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ
โหติ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ฯ
๖. สันติ ความสงบ เป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ? จงตอบโดยอ้างพระบาลี
มาประกอบ
๖. เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ ที่เป็นโลกิยะได้ในบาลีว่า
น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส
บุคคลย่อมถึงความสงบแห่งจิต ด้วยร้องไห้ ด้วยเศร้าโศกก็หาไม่
ที่เป็นโลกุตตระได้ในบาลีว่า
โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข
ผู้เพ่งสันติพึงละโลกามิสเสีย ฯ

๗. นิวรณ์ คืออะไร ? เมื่อจิตถูกนิวรณ์นั้น ๆ ครอบงำ ควรใช้กัมมัฏฐาน
บทใดเป็นเครื่องแก้ ?
๗. คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ฯ
กามฉันท์ ใช้ อสุภกัมมัฏฐาน หรือกายคตาสติเป็นเครื่องแก้
พยาบาท ใช้ เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหาร ๓ ข้อต้นเป็นเครื่องแก้
ถีนมิทธะ ใช้ อนุสสติกัมมัฏฐานเป็นเครื่องแก้
อุทธัจจกุกกุจจะ ใช้ กสิณหรือมรณัสสติเป็นเครื่องแก้
วิจิกิจฉา ใช้ ธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเครื่องแก้ ฯ
๘. จตุธาตุววัตถานกัมมัฏฐาน คืออะไร ? ผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้จะพึงกำหนด
พิจารณาอย่างไร ?
๘. คือ ความกำหนดหมายซึ่งธาตุ ๔ โดยสภาวะความเป็นเองของธาตุ ฯ
พึงกำหนดพิจารณาทั้งกายตนเองและกายผู้อื่นให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ และ
พึงกำหนดให้รู้จักธาตุภายในภายนอกให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุไปหมดทั้งโลก
ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ฯ

๙. ปัญหาว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญจะหมดไปได้ เมื่อเจริญวิปัสสนา
ได้ชั้นไหนแล้ว ? เพราะได้พิจารณาเห็นอย่างไร ?
๙. ชั้นกังขาวิตรณวิสุทธิ ฯ
เพราะได้พิจารณากำหนดรู้จริงเห็นจริงซึ่งนามรูปทั้งเหตุทั้งปัจจัย ข้ามล่วง
กังขาในกาลทั้ง ๓ เสียได้ ไม่สงสัยว่า เราจุติมาจากไหน เราเป็นอะไร
เราจะไปเกิดที่ไหน เป็นต้น ฯ
๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัญญา ๑๐ กะใคร ? อนิจจสัญญา พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสอนให้พิจารณาธรรมอะไร ?
๑๐. พระอานนทเถระ ฯ
พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ

*********

_6_598

                     ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

clip_image002

๑. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

๑. ด้วยอาการดังนี้ คือ

๑. ไม่อยู่ในอำนาจ หรือฝืนความปรารถนา

๒. แย้งต่ออัตตา

๓. ความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

๔. ความเป็นสภาพสูญ ฯ

๒. พระบาลีว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ แปลว่า ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้
คำว่า เรือ และคำว่า วิด ในที่นี้ หมายถึงอะไร ?

๒. เรือ หมายถึง อัตภาพร่างกาย

วิด หมายถึง บรรเทากิเลสและบาปธรรมเสียให้บางเบา จนขจัดได้ขาด ฯ

๓. บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ใครเป็นผู้หลุดพ้น ? และหลุดพ้นจากอะไร ?

๓. จิตเป็นผู้หลุดพ้น ฯ พ้นจากอาสวะ ๓ ฯ

๔. สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน ต่างกันอย่างไร ?
พระบาลีว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข จัดเป็นนิพพานชนิดใด ?

๔. ต่างกัน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นความดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ฯ เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ฯ

๕. นิพพิทา คืออะไร ? บุคคลผู้ไม่ประสบลาภยศสรรเสริญสุข
จึงเบื่อหน่ายระอาอย่างนี้ จัดเป็นนิพพิทาได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

๕. คือ ความหน่ายในเบญจขันธ์หรือในทุกขขันธ์ด้วยปัญญา ฯ จัดเป็นนิพพิทาไม่ได้ ฯ เพราะความเบื่อหน่ายดังที่กล่าวนั้น เป็นความท้อแท้ มิใช่เป็นความหน่ายด้วยปัญญา ฯ

๖. ในส่วนสังสารวัฏ สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ? จงอ้างบาลีประกอบ

๖. มีคติเป็น ๒ คือ

สุคติ มีบาลีว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา

และ ทุคติ มีบาลีว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ฯ

๗. ผู้จะเจริญวิปัสสนาภาวนา พึงศึกษาให้รู้จักธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง ?

๗. ธรรม ๓ ประการ คือ

๑. ธรรมเป็นภูมิเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น (มีขันธ์ ๕ เป็นต้น)

๒. ธรรมเป็นรากเหง้า เป็นเหตุเกิดขึ้นตั้งอยู่ของวิปัสสนานั้น
(คือสีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ)

๓. ตัว คือ วิปัสสนานั้น (คือ วิสุทธิ ๕ ที่เหลือ) ฯ

๘. วิปัลลาส คืออะไร ? แบ่งตามจิตและเจตสิกได้กี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?

๘. คือ กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง ฯ

แบ่งได้ ๓ ประเภท ฯ

คือ ๑. สัญญาวิปัลลาส ๒. จิตตวิปัลลาส ๓. ทิฏฐิวิปัลลาส ฯ

๙. จริต คืออะไร ? เพราะเหตุใดจึงต้องเจริญกัมมัฏฐานให้เหมาะกับจริต

­­­ ของตน ?

๙. คือ ความประพฤติเป็นปกติของบุคคล ฯ

เพราะ กัมมัฏฐานแต่ละอย่างก็เป็นที่สบายของคนแต่ละจริต ถ้าเจริญไม่เหมาะกับจริต กรรมฐานก็จะสำเร็จได้โดยยาก ฯ

๑๐. อารมณ์ของสติปัฏฐาน มีอะไรบ้าง ?
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานพึงมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

๑๐. มี กาย เวทนา จิต ธรรม ฯ

พึงมี ๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลส

๒. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ

๓. สติมา มีสติ ฯ

***********

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons