ตัวอย่างข้อสอบสนามหลวงวิชาวินัยมุข
๑. พระศาสดาผู้เป็นสังฆบิดรดูแลภิกษุสงฆ์ ทรงทำหน้าที่ทางพระวินัยอย่างไรตอบ ทรงทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ
๑. ทรงตั้งพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง
๒. ทรงตั้งขนบธรรมเนียม ซึ่งเรียกว่าอภิสมาจารเพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ
๒. พระวินัย คืออะไร พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร บัญญัติมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ พระวินัย คือ พระพุทธบัญญัติ และอภิสมาจาร ภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ (วิปฏิสาร) ๑, ได้รับความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม ๑ และ เข้าหมู่สงฆ์ก็อาจหาญ ๑
บัญญัติ มี ๒ อย่าง ได้แก่ มูลบัญญัติ คือพระบัญญัติที่ตั้งไว้เดิม อนุบัญญัติ คือพระบัญญัติเพิ่มเติมวินัยบัญญัติ มี ๒ อย่าง คือ อาทิพรหมจริยกาสิกขา ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ และอภิสมาจาริกาสิกขา ข้อศึกษาอันเนื่องด้วยอภิสมาจาร คือมารยาทอันดีงาม หรือ อาคาริยวินัย วินัยของคฤหัสถ์ เช่น ศีล ๕, ศีล ๘กับ อนาคาริยวินัย วินัยของบรรพชิตในพุทธศาสนา เช่น ศีล ๒๒๗ ฯ
๓. คำว่าต้องอาบัติ หมายความว่าอย่างไร อาบัติมีโทษกี่สถาน อะไรบ้าง อาบัติว่าโดยชื่อมีอะไรบ้าง ต้อง
แล้วต้องทำอย่างไร
ตอบ คำว่าต้องอาบัติ หมายถึง ต้องโทษ คือมีความผิดฐานละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม มีโทษ ๓ สถาน อย่างหนัก (ครุกาบัติ) ๑, อย่างกลาง ๑ และ อย่างเบา ๑(หรือจะตอบว่า มี ๒ สถาน คือ แก้ไขได้ สเตกิจฉา และแก้ไขไม่ได้ อเตกิจฉา ก็ได้)อาบัติว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก ๑, ถุลลัจจัย ๑,สังฆาทิเสส ๑, ปาจิตตีย์ ๑, ปาฏิเทสนียะ ๑, ทุกกฎ ๑, ทุพภาสิต ๑, อาบัติปาราชิกต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, สังฆาทิเสส ต้องแล้วต้องอยู่กรรม นอกนั้นประจานตนต่อหน้าภิกษุอื่น ที่มีมาในพระปาติโมกข์ ๒๒๐ ข้อ เพิ่มอธิกรณสมถะ อีก๗ ข้อ ได้แก่
๑. ปาราชิก ๔ เป็นโทษอย่างหนัก เป็นอเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้ ต้องแล้วพ้นจากความเป็นภิกษุทันที ปาราชิก แปลว่าผู้พ่าย มีผลคือ ห้ามมรรค ผลนิพพาน สุงกฆาตะ คือหนีภาษี จัดเข้าข้อ ๒ อาทิกัมมิกะ คือภิกษุผู้ก่อเหตุต้นบัญญัติ
๒. สังฆาทิเสส ๑๓ เป็นโทษอย่างกลาง เป็นสเตกิจฉา แก้ไขได้ด้วยการอยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ถึงจะพ้นโทษ มี ๒ อย่าง ปฐมาปัตติกะ ต้องอาบัติแต่แรกทำ ได้แก่ สิกขาบทที่ ๑ - ๙ และ ยาวตติยกะ ต้องอาบัติต่อเมื่อสงฆ์สวดประกาศ ๓ ครั้ง ได้แก่ สิกขาบทที่ ๑๐ - ๑๓ เพราะเป็นอาบัติหนัก จึงเรียกว่า ครุกาบัติ เพราะมีเรื่องหยาบคายมาก จึงเรียกว่า ทุฏฐุลลาบัติ เพราะภิกษุผู้ต้อง จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม จึงเรียกว่า วุฏฐานคามินี สิกขาบทที่ ๑๐ คือทำสังฆเภทต้องแล้วจัดเป็นคนเลวทรามที่สุด สิกขาบทที่ ๑ - ๔ มีราคะเป็น
เค้ามูล สิกขาบทที่ ๘, ๙ มีโทสะเป็นเค้ามูล
๓. อนิยต ๒ หมายถึงไม่แน่ อาจปรับเป็นอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามบริบท ที่ลับตา อาจปรับ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือ ปาจิตตีย์ ที่ลับหูอาจปรับ สังฆาทิเสส หรือ ปาจิตตีย์
๔. นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ ๓๐ เป็นโทษอย่างเบา เป็นสเตกิจฉา สละของเสีย จึงแสดงอาบัติตก มี ๓ หมวด ได้แก่
๑. จีวรวรรค ๑๐ ว่าด้วยจีวร
๒. โกสิยวรรค ๑๐ ว่าด้วยสันถัต และอื่น ๆ
๓. ปัตตวรรค ๑๐ ว่าด้วยบาตร และอื่น ๆ
๕. ปาจิตตีย์ ๙๒ เป็นโทษอย่างเบา แสดงอาบัติก็พ้นโทษ แบ่งเป็น ๙หมวด ถามว่ามีกี่วรรค อะไรบ้าง) ได้แก่
๑. มุสาวาทวรรค ๑๐ (๓๘) ออกข้อสอบถามว่า สิกขาบทที่ ๕บัญญัติไว้เพื่ออะไร ตอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเห็นอาการนอนหลับของภิกษุ
๒. ภูตคามวรรค ๑๐ ออกข้อสอบถามว่า ภิกษุยกผักตบชวาขึ้นมาจากแม่น้ำ ไปไว้ในสระ ต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติอะไร จงอธิบาย ตอบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถือการยกออกจากที่เดิมเป็นประมาณ ผักตบชวาจะตายหรือไม่ ไม่สำคัญ
๓. โอวาทวรรค ๑๐
๔. โภชนวรรค ๑๐ ออกข้อสอบถามว่า “วิกาล” ในสิกขาบทที่ ๗ หมายถึงเวลาใด ตอบ หมายถึงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น
๕. อเจลกวรรค ๑๐
๖. สุราปานวรรค ๑๐
๗. สัปปาณวรรค ๑๐
๘. สหธรรมิกวรรค ๑๒ ออกข้อสอบถามว่า วรรคใดมี
๑๒ สิกขาบท
๙. รตนวรรค ๑๐
๖. ปาฏิเทสนียะ ๔ โทษอย่างเบา
๗. เสขียะ ๗๕ โทษอย่างเบา ละเมิดต้องอาบัติทุกกฎ ไม่เอื้อเฟ้อ ต้องอาบัติทุกกฎ (๔๘,๔๑,๓๕) มี ๔ หมวด ได้แก่ สารูป ๒๖ธรรมเนียมประพฤติเวลาเข้าบ้าน ๑ โภชนปฏิสังยุต ๓๐ธรรมเนียมบิณฑบาต และฉันอาหาร ๑, เทสนาปฏิสังยุต ๑๖ธรรมเนียมไม่ให้แสดงธรรม แก่บุคคลที่แสดงอาการไม่เคารพ ๑,และ ปกิณณกะ ๓ ธรรมเนียมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑
๘. อธิกรณสมถะ ๗ ว่าด้วยวิธีระงับ อธิกรณ์ ออกข้อสอบถามว่า วินัยมุขกัณฑ์ที่ ๙ ว่าด้วยเรื่องอะไร ตอบ ว่าด้วยเรื่อง อธิกรณสมถะ ฯ
๔. สิกขา กับ สิกขาบท ต่างกันอย่างไร สิกขามีหน้าที่ต่างกันอย่างไร
ตอบ สิกขา คือ ข้อที่ควรศึกษา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สิกขาบท คือ พระวินัยบัญญัติ
มาตราหนึ่ง ๆ สิกขา ๓ มีหน้าที่ต่างกันดังนี้ ศีล กำจัดกิเลสอย่างหยาบอันให้ล่วงทาง
กาย ทางวาจา เรียกว่า วีติกกมะ สมาธิสำหรับกำจัดกิเลสอย่างกลางที่ให้กลัดกลุ้มรุม
ใจ เรียกว่า ปริยุฏฐาน ปัญญา สำหรับกำจัดกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ใน
สันดาน เรียกว่า อนุสัย ฯ
๕. อาการที่ภิกษุต้องอาบัติมีเท่าไร อะไรบ้าง ต้องด้วยอาการอย่างไร ถือว่าเสียหายมากที่สุด
ตอบ อาการที่ภิกษุต้องอาบัติ มี ๖ อาการ ได้แก่
๑. ต้องด้วยไม่ละอาย ถือว่าเสียหายมากที่สุด
๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่า สิ่งนี้เป็นอาบัติ
๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง
๔. ต้องด้วยเห็นว่าควร ในสิ่งไม่ควร
๕. ต้องด้วยเห็นว่าไม่ควร ในสิ่งที่ควร ถามว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา คืออย่างไร ตอบ คือ ต้องอาบัติด้วยเห็นว่าไม่ควร ในสิ่งที่ควร
๖. ต้องด้วยลืมสติ
๖. ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตาย และพยายามฆ่าตนเอง ต้องอาบัติอะไร
ตอบ ภิกษุฆ่ามนุษย์ ต้องอาบัติปาราชิก, ฆ่าอมนุษย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย, ฆ่าสัตว์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์, ฆ่าตนเอง ต้องทุกกฎ ฯ
๗. โทษอย่างไรเรียกว่า โลกวัชชะ อย่างไรเรียก ปัณณัตติวัชชะ
ตอบ ที่เป็นโทษทางโลก ผิดกฎหมายบ้านเมือง ผู้ไม่ใช่ภิกษุทำเข้าก็ผิด เรียกโลกวัชชะ,มีโทษทางพระวินัย แต่ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง คือผู้ไม่ใช่ภิกษุทำเข้าก็ไม่จัดว่าผิดเรียกปัณณัตติวัชชะ ฯ
๘. อะไรเรียกว่าสมุฏฐานแห่งอาบัติ มีเท่าไร บอกมาดู
ตอบ สมุฏฐานแห่งอาบัติ คือ ที่เกิดแห่งอาบัติ โดยตรง มี ๔ คือ ลำพังกาย ๑, ลำพังวาจา ๑, ลำพังกายกับจิต ๑, ลำพังวาจากับจิต ๑ เมื่อว่าตามบาลี มี ๖ คือเพิ่ม กายวาจา ๑ และ กายวาจาจิต ๑
๙. กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำซึ่งเรียกว่า อกรณียกิจ มีกี่อย่าง อะไรบ้าง นิสสัยคืออะไร มีอะไรบ้าง อกรณียกิจ และนิสสัยรวมเรียกว่าอะไร
ตอบ อกรณียกิจมี ๔ อย่าง ได้แก่ เสพเมถุน ๑, ลักของเขา ๑, ฆ่าสัตว์ ๑ และ พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ๑นิสสัย คือ กิจที่บรรพชิตควรทำ หรือเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่างได้แก่ บิณฑบาต ๑, นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑, อยู่โคนไม้ ๑ และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑อกรณียกิจ และนิสสัย รวมเรียกว่า อนุศาสน์ ๘ ฯ
๑๐. ปริสสมบัติคืออะไร (๓๗) ผู้ที่จะอุปสมบทต้องพร้อมด้วยวัตถุสมบัติกี่ประการ อะไรบ้าง
ตอบ ปริสสมบัติ คือ ภิกษุผู้ร่วมประชุมสงฆ์, ผู้อุปสมบทต้องพร้อมด้วยวัตถุสมบัติที่
สำคัญ ๕ ประการ คือ
๑. เป็นมนุษย์ผู้ชาย
๒. มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
๓. ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่นถูกตอน หรือเป็นกะเทย
๔. ไม่เคยทำอนันตริยกรรม
๕. ไม่เคยต้องปาราชิก หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์
๑๑. อุปสัมปทา การอุปสมบท มี ๓ วิธี ในปัจจุบันใช้วิธีไหน กำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้เท่าไร
ตอบ การอุปสมบท มี ๓ วิธีได้แก่ เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระศาสดา ๑, ติสรณคมนอุปสัมปทา โดยพระสาวก ๑ และญัตติจตุตถกัมมวาจาอุปสัมปทา โดยสงฆ์ ๑ ปัจจุบันใช้วิธี ญัตติจตุตถกัมมวาจาอุปสัมปทา กำหนดสงฆ์ไว้อย่างต่ำ ๑๐ รูป ในมัธยมประเทศ ๕ รูป ในปัจจันตประเทศ ฯ
๑๒. ภิกษุฆ่าสัตว์เป็นอาบัติอะไร (๓๖,๓๓) ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ และ ๔ ความว่าอย่างไร
ตอบ ภิกษุฆ่าสัตว์มนุษย์ ถ้าสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก ถ้าไม่สำเร็จแต่บาดเจ็บ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ไม่ถึงอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ, ภิกษุพยายามฆ่าตนเอง ต้องอาบัติทุกกฎ, ภิกษุฆ่าสัตว์อื่น ต้องอาบัติตามวัตถุ ฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก,ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ต้องอาบัติปาราชิก ฯ
๑๓. ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒ และ ๔ มีความว่าอย่างไร
ตอบ สิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก, สิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนต้องอาบัติปาราชิก ฯ
๑๔. สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดเพราะลักทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้นเมื่อใด
ตอบ สังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ ปศุสัตว์ และสัตว์พาหนะ เช่นแพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ที่ดิน เรือน เป็นต้น ฯภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุดเพราะลักสังหาริมทรัพย์ เมื่อทรัพย์เคลื่อนจากฐาน อสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้าของเดิมสละกรรมสิทธิ์ ฯ
๑๕. อุตตริมนุสสธรรม คืออะไร มีอะไรบ้าง
ตอบ อุตตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ มี ๗ อย่าง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน ฯ
๑๖. ปาราชิก ๔ ข้อไหนเป็นสจิตตกะ ข้อไหนเป็นอจิตตกะ ทำไมเป็นเช่นนั้น ข้อไหนเป็น สาณัตติกะ ข้อไหนเป็นอนาณัตติกะ
ตอบ ปาราชิกทั้ง ๔ ข้อเป็นสจิตตกะ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะต้องด้วยจงใจ เกิดขึ้นโดยมีเจตนาเป็นสมุฏฐาน ฯ
ข้อ ๑ และ ๔ เป็น อนาณัตติกะ เพราะใช้ให้ผู้อื่นทำไม่เป็นอาบัติ ข้อ ๒ และ ๓ เป็นสาณัตติกะ เพราะใช้ให้ผู้อื่นทำก็ต้องอาบัติ ฯ
๑๗. อทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง
ตอบ ทรัพย์ราคาตั้งแต่ ๕ มาสก หรือ ๑ บาทขึ้นไป ต้องปาราชิก, ๑ - ๔ มาสกต้องถุลลัจจัย ตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา ต้องทุกกฎ ฯ
๑๘. ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง กะเทย บุรุษ สัตว์ดิรัจฉานเพศผู้ สัตว์ดิรัจฉานเพศเมีย ต้องอาบัติอะไร
ตอบ ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายหญิงต้องสังฆาทิเสส, กะเทย หรือบัณเฑาะว์ต้องถุลลัจจัย, บุรุษ และสัตว์ดิรัจฉาน ต้องทุกกฏ ฯ
๑๙. คำว่า มาตุคาม ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ ต่างกันอย่างไร
ตอบ มาตุคามใน สิกขาบทที่ ๒ ถือเอาหญิงแม้ที่สุดเกิดในวันนั้น สิกขาบทที่ ๓ - ๕ ถือเอาความรู้เดียงสาเป็นหลัก ฯ
๒๐. คำว่า สจิตตกะ กับ อจิตตกะ มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ สจิตตกะ คือ อาบัติที่ต้องเพราะมีเจตนาล่วงละเมิด อจิตตกะ คือ อาบัติที่ต้องแม้ไม่มีเจตนาล่วงละเมิด ฯ
๒๑. ภิกษุที่ต้องอาบัติเพราะทรัพย์ของตนเองนั้นมีหรือไม่ จงชี้แจง
ตอบ มี คือ การหนีภาษี หรือ สุงกฆาตะ ต้องอาบัติตามจำนวนเงินที่หนีภาษี ฯ
๒๒. ที่ลับตา กับ ที่ลับหู ต่างกันอย่างไร ที่ลับทั้ง ๒ นั้น เป็นทางให้ปรับอาบัติได้มากน้อยกว่ากันอย่างไร
ตอบ ที่ลับตา คือ ที่ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้ ที่ลับหู คือ ที่แจ้ง แลเห็นได้ แต่ห่างไม่ได้ยินเสียงพูด
ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง(หนึ่งต่อหนึ่ง) เป็นทางให้ปรับอาบัติปาราชิกสังฆาทิเสส หรือ ปาจิตตีย์ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง(หนึ่งต่อหนึ่ง) เป็นทางให้ปรับอาบัติสังฆาทิเสสหรือ ปาจิตตีย์ที่ลับตาเป็นทางให้ปรับอาบัติมากกว่า ฯ
๒๓. ผ้าไตรจีวรคือผ้าอะไร ได้แก่อะไรบ้าง อธิษฐานจีวรกับ อติเรกจีวร ต่างกันอย่างไร
ตอบ ผ้าไตรจีวรคือผ้า ๓ ผืน ที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้สำหรับตนเอง ได้แก่สังฆาฏิ (ผ้าคลุม), อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม), อัตตรวาสก (ผ้านุ่ง) อธิษฐานจีวร หมายถึงผ้าที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุมีได้ ๓ ผืน อติเรกจีวร ได้แก่จีวรอันไม่ใช่ของอธิษฐาน ไม่ใช่ของวิกัป ทั้งไม่จำกัดจำนวน ฯ
๒๔. ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ทำด้วยวัตถุกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ ทำด้วยวัตถุ ๖ ชนิด ดังนี้
๑. โขมํ ทำด้วยเปลือกไม้ เช่น ผ้าลินิน
๒. กปฺปาสิกํ ทำด้วยฝ้าย คือ ผ้าสามัญ
๓. โกเสยฺยํ ทำด้วยไหม คือ ผ้าแพร
๔. กมฺพลํ ทำด้วยขนสัตว์ เช่น ผ้าสักหลาด
๕. สาณํ ทำด้วยเปลือกไม้สาณะ เช่น ผ้าป่าน
๖. ภงฺคํ ทำด้วยสัมภาระเจือกัน
๒๕. เภสัช ๕ ที่ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ไม่เกิน ๗ วัน ได้แก่อะไรบ้าง น้ำตาลจัดเข้าเภสัชชนิดใด
ตอบ เภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลจัดเข้าน้ำอ้อย ฯ
๒๖. เมื่อภิกษุได้จีวรใหม่มา ก่อนที่จะนุ่งห่ม ต้องทำพินทุด้วยสี ๓ สี อย่างใดอย่างหนึ่ง คือสีอะไรบ้าง จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควร เพราะเหตุใด คำว่า“พินทุกัปปะ” คืออะไร
ตอบ จีวรใหม่ ควรพินทุด้วยสี ๓ สี คือ สีเขียวคราม, สีโคลน, สีดำคล้ำ จีวร และอังสะ ควรพินทุ เพราะใช้ห่ม ผ้านิสีทนะ ผ้าเช็ดหน้า และย่ามผ้า ไม่ต้องพินทุ เพราะไม่ได้ใช้นุ่งห่ม “พินทุกัปปะ” คือการทำให้เสียสี ฯ
๒๗. บริขาร ๘ มีอะไรบ้าง ภิกษุซ่อนบริขารของผู้อื่นเพื่อล้อเล่นต้องอาบัติอะไร
ตอบ บริขาร ๘ มี สังฆาฏิ ๑, อุตตราสงค์ ๑, อันตรวาสก ๑, บาตร ๑, มีดโกน ๑,กล่องเข็ม ๑, รัดประคด ๑, หม้อกรองน้ำ ๑, ภิกษุซ่อนบริขาร ๘ อย่างนี้ ของภิกษุอื่นเพื่อล้อเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสุราปานวรรค, ถ้าซ่อนบริขารอื่นนอกจาก ๘ อย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ, ถ้าซ่อนบริขารของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ
๒๘. ผ้าไตรครอง มีอะไรบ้าง ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร
ตอบ มี สังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ฯต่างกันอย่างนี้ ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน ส่วน อติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ
๒๙. พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม พระ ข.หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่
ตอบ พระ ก. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปดพระ ข. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ฯ
๓๐. การอุปสมบทจัดเป็นอธิกรณ์อะไร ใครเป็นผู้ระงับอธิกรณ์นั้น
ตอบ การอุปสมบทจัดเป็นกิจจาธิกรณ์ สงฆ์เป็นผู้ระงับอธิกรณ์นั้น ฯ
๓๑. ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอาบัติ
ตอบ ต้องเก็บด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายให้ผู้อื่น จึงจะไม่เป็นอาบัติ ฯ
๓๒. ลักษณะการประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุไร
ตอบ ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้
๑. ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลาง
ยกได้คนเดียว
๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส
๓. เขาน้อมเข้ามา
๔. กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
ด้วยโยนให้ก็ได้
๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ฯ
ไม่ถูกทั้ง ๒ วิธี เพราะไม่ต้องลักษณะองค์ประเคน คือ การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้น
ประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๑ ฯ การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๓ ฯ
๓๓. หมวดสารูปในเสขิยวัตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ข้อว่า “ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน” คือไม่ทำอย่างไร
ตอบ หมวดสารูป ๒๖ ในเสขิยวัตร ว่าด้วยเรื่องธรรมเนียมประพฤติเวลาเข้าบ้านแบ่งเป็น ๑๓ คู่ มีคำต่อท้ายว่า “ไปในละแวกบ้าน และนั่งในละแวกบ้าน” ดังนี้ เราจักนุ่งห่มเป็นปริมณฑล ๑, เราจักปกปิดกายดี ๑, เราจักสำรวมดี ๑, เราจักมีตาทอดลง๑, เราจักไม่เวิกผ้า ๑, เราจักไม่หัวเราะเสียงดัง ๑, เราจักมีเสียงน้อย ๑, เราจักไม่โยกกาย ๑, เราจักไม่ไกวแขน ๑, เราจักไม่โคลงศีรษะ ๑, เราจักไม่ทำความค้ำ ๑, เราจักไม่คลุมศีรษะ ๑, เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า และนั่งกอดเข่า ๑ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน หมายถึง นั่งเท้าแขน ข้างเดียวก็ตาม ๒ ข้างก็ตาม ฯ
๓๔. อธิกรณ์ คืออะไร มีอะไรบ้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร อธิกรณ์ย่อมระงับด้วยอะไร อธิกรณสมถะ มีเท่าไร มีอะไรบ้าง การแสดงอาบัติจัดเข้าในอธิกรณสมถะข้อไหน สำหรับระงับอธิกรณ์อะไร
ตอบ อธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดแล้วจะต้องจัดต้องทำ มี ๔ อย่าง ได้แก่ วิวาทาธิกรณ์ภิกษุโต้เถียงกันในเรื่องพระธรรมวินัย ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ภิกษุโจทก์กัน ๑,อาปัตตาธิกรณ์ ภิกษุต้องอาบัติ ๑ และกิจจาธิกรณ์ กิจของสงฆ์ ๑ ฯต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ฯอธิกรณ์ย่อมระงับด้วยอธิกรณสมถะ มี ๗ อย่าง แบ่งตามอธิกรณ์ที่สามารถระงับได้ดังนี้
๑. สัมมุขาวินัย ๑ ระงับพร้อมหน้า ใช้ระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง
๒. สติวินัย ๑ ระงับโดยยกสติขึ้นเป็นหลัก, อมูฬหวินัย ๑ ระงับด้วยการ
สวดประกาศ และตัสสาปาปิยสิกา ๑ ระงับโดยการลงโทษ ใช้ระงับเฉพาะอนุวาทาธิกรณ์
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๑ ระงับตามคำสารภาพ และติณวัตถารกวินัย ๑ระงับโดยการประนีประนอม ใช้ระงับเฉพาะอาปัตตาธิกรณ์
๔. เยภุยยสิกา ๑ ระงับโดยถือเสียงข้างมาก ใช้ระงับเฉพาะวิวาทกรณ์การแสดงอาบัติจัดเข้าในปฏิญญาตกรณะ สำหรับระงับอาปัตตาธิกรณ์ ฯ
๓๕. ภิกษุเถียงกันเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรเป็นอธิกรณ์อะไรหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ภิกษุเถียงกันเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพระธรรมวินัย ฯ