วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

33.วรรณอีสานเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเฮือง

 วรรณกรรมอีสาน
       ๒.๖  คำสั่งสอนของท้าวฮุ่งแก่อ้ายคว่างกับผู้อื่นที่เมืองปะกัน  ๒๙  ประการ195คือ
    ๑)   อย่าทะเลาะกันเองจงให้อ้ายคว่างเป็นคนคิด แล้วจงช่วยกันสร้างเมืองแทนเขา
    ๒)  ประเพณีอันใดไม่ดี  อันไหนดี ให้ดูให้ถี่ถ้วน
    ๓)  อย่าพูดจาแข็งกระด้างเสียดสีกัน
๔)  จงช่วยเหลือพี่น้องผู้ทุกข์ยาก  จงจดจำผู้เป็นลุงเป็นอาไว้ให้ดี  จงถนอมรักคนยากไรเพราะเขานั้นเปรียบเสมือนรั้วเมือง อีกอย่างหนึ่งจงพูดตามกฎประเพณี
    ๕)  อย่าเห็นแก่เงินทอง  โลภมาก ตามใจตัวเอง
    ๖)  ไม่ควรทำโทษเกินกว่าที่พูดเอาไว้  เว้นแต่ถ้าผู้นั้นโทษไม่มากจึงลดหย่อนให้
    ๗)  อย่าพูดจาข่มเหงเสมอเมืองของเรา  จงคอยจับตาดูอย่างใกล้ชิด
    ๘)  ใครมีความรู้ให้ชวนเขามาอยู่ด้วย
    ๙)  ผู้ใดพูดจาถูกต้องมีเหตุผล  รู้กฎประเพณีของบ้านเมือง  จงเชิญเขาทำงานต่างหูต่างตา
๑๐)  เวลามีใครทำผิด  เขาจะเป็นคนสอบสวน  ไม่ควรฟังความข้างเดียว  เพราะถ้าทำเช่นนั้นคนทั้งหลายจะหัวเราะเยาะ  เอาไปนินทาว่าไม่ดีได้
    ๑๑)  จงพากันทำเหมืองฝายไว้ให้ชาวเมืองใช้  พวกเจ้าที่เป็นขุนเป็นนายจงฟังไว้ทั่วทุกคน
๑๒)  ให้เอาไม้กระดานพาดทำสะพานถมดินทุกแห่ง  หนทางที่ใดที่ไม่ดต้องซ่อมแซม  ถึงยามเกิดเหตุวุ่นวายต้องชี้แจงรายละเอียด  กองทัพใหญ่ที่มีช้างถ้าเดินผ่านไปตกหล่มจะอับอายผู้คน  ชาวเมืองจะตกใจกลัวเหมือนที่เล่าลือกันมาแต่ก่อน
๑๓)  ขอเพิ่มเติมอีกพวกเจ้าผู้ชายทุกคน  ต้องเอาใจใส่ดูแลรั้วบ้านเมือง  สร้างเวียงวังและกำแพงเมือง  ดูแลประตูทางเข้าออกให้แข็งแรง  อย่าประมาทว่ามันดีอยู่แล้ว
๑๔)  ใครไม่ใส่ใจนับถือประเพณีโบราณ  คัดค้านประเพณีโบราณนั้นไม่ดีหรอก  นี่เรายกเอาแต่คำสอนดีๆมาสอนเจ้า  ทั้งหมดนี้เป็นคำเก่าที่มีมาแต่ดั้งเดิมแล้ว
๑๕)  อย่าเป็นคนใจแคบมักได้แต่ตัวคนเดียว  ต้องดูแลช่วยเหลือพี่น้องผู้ขาดแคลน  ทุกคน
๑๖)  จงอย่าเบียดเบียนผู้อื่น  ชังกันนั้นไม่ดี  ควรถนอมรักกันดุจพี่น้อง  คว่างเอยใต้ลุ่มฟ้านี้เราเป็นใหญ่  พระยาจอมได้ปลูกมิ่งไว้และผลิดอกบานแล้ว  พวกเจ้าผู้ครองเมืองจงคิดให้กว้างๆ
    ๑๗)  อย่าเลี้ยงโจรและคนโฉดชั่ว  พวกนี้จะพาให้เสียหน้า
๑๘)  จงตรวจดูว่าไพร่พลคนใดตายเพราะถูกช้างเอางาแทงในการป้องกันโจรมารรักษาบ้านเมือง  คนพวกนี้ตายแล้วย่อมได้ขึ้นสวรรค์  ถ้าเขามีเชื้อสายเดียวกัน  ควรดูแลครอบครัวของเขา
    ๑๙)  อย่าปล่อยให้คนพวกนั้นต้องสูญพันธุ์ไป  พวกมหาดเล็กจงฟังไว้ให้ดี
๒๐)  ไม่ควรเชื่อใจเมีย  ไม่ควรบอกความลับแก่เมีย  เพราะว่าเขาสามารถยุให้เราทำผิดหรือเสียศักดิ์ศรีได้
    ๒๑)  นักปราชญ์ควรหลีกหนีสังสารวัฏ  เหมือนดังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้
    ๒๒)  เวลามีงานเลี้ยงจงให้พวกไพร่ฟ้าได้กินกันจนอิ่ม
๒๓)  อย่าข่มขู่ไพร่ฟ้าคนใต้ปกครอง  ของที่อยู่ในพระคลัง  เช่น  เงิน  ทอง เกลือ จงแบ่งปันให้เขา  จะไปตีเมืองใดจงถามผู้เฒ่าดูก่อน  อย่าพูดจาข่มเหงใส่ร้ายผู้อื่น
๒๔)  จงอย่าเห็นแก่เงินคำ  เราเสียคนดีก็เพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง  ของแพงนั้นควรถนอมไว้ในยุ้งฉางก่อน  มันไม่ได้ไปชนช้างทำศึกช่วยเราหรอก
๒๕)  จงอย่าข่มเหงขุนนาง  จงถนอมรักพวกเขาดังเดียวกับที่เราทำตามคำพ่อเรา  พวกเราต้องเข้าใจกันจึงจะจำเริญด้วยกัน
๒๖)  อย่าบังคับเอาประชาชนมาเป็นทาส  เวลาเกิดศึกก็พวกนี้แหละที่จับอาวุธออกรบ  ต้องรู้บุญคุณและสงสารเขา  มิฉะนั้น  เขาจะพากันหลีกหนี  หมดโทษจงเลี้ยงดูเขาไว้  ผู้คนทั้งหลายจะยกย่อง
๒๗)  ถ้ามีคนยากไร้มาของพึ่ง จงเลือกเอาไว้เป็นกำลัง  บรรดาสรรพสิ่งและช้างม้าก็เช่นกัน  เขาเหล่านี้แหละจะอาสาช่วยในสงคราม
๒๘)  คนใดปากหวาน  ต่อหน้าดี  แต่ลับหลังร้าย  จงปล่อยให้คนเหล่านั้นลำบากอยู่สัก  ๓  ปี  ต่อเมื่อเขาสำนึกแล้วจึงเอาเลี้ยง
๒๙)  อันหนึ่ง  จงอย่าหลงไหลเมียสาว  การหลงไหลในเมียสาวนั้นมันก็เหมือนกับกินยาเบื่อนั้นแหละ

๒.๗  เว้นอคติ  4  ประการคือ
๑)  ฉันทาคติ        ลำเอียงเพราะชอบ
๒)  โทสาคติ        ลำเอียงเพราะชัง
๓)  โมหาคติ        ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
๔)  ภยาคติ        ลำเอียงเพราะขลาดกลัว196
๒.๘  วรรณกรรมอีสาน
อันว่าจอมราชาเหมือนพ่อคิงเขาแท้    จิ่งให้ไลเสียถิ้มอะคะติทั้งสี่ พญาเอย
    โทสาทำโทษฮ้ายโกธากริ้วโกรธแท้เนอ    จงให้อินดูฝูงไพร่น้อยชาวบ้านทั่วเมือง
    ชาติที่เป็นพญานี้อย่ามีใจฮักเบี่ยงพญาเอย    อย่าได้คึดอยากได้ของข้าไพร่เมืองเจ้าเอย
    ละอะคะติสี่นี้ได้จึงควรสืบเสวยเมือง    ทงสมบัติครองเมืองชอบธรรมควรแท้
    อันหนึ่งจิตอ่อนน้อมคำฮ้ายแม่นบ่มี    ปากกล่าวต้านคำอ่อนหวานหูแลนา
    บ่เหล้นชู้เมียซ้อนเพิ่นแพง        บ่คึดโลภเลี้ยวลักสิ่งเอาของเพิ่นนั้น
    บ่ตั้วะบ่พางไผเพื่อนสหายกันแท้        บ่ฆ่าสัตว์ประสงค์เว้นอินดูสัตว์มากยิ่ง
    บ่คึดโลภเลี้ยวจาต้านให้เบี่ยงความ        บ่ลามกหยาบซ้าเกินฮีตครองธรรมแลนา
    บ่กินสุราเหล้าเอาต้นเว้นขาด        กรรมแปดจำพวกนี้ไผเว้นประเสริฐดี 197

๒.๙  พรหมวิหาร  คือ
        ธรรมประจำใจของผู้ใหญ่หรือผู้มีจิตใจกว้างขวางดุจพระพรหม  4 อย่าง
๑)  เมตตา  ความรัก  คือความปรารถนาดีมีไมตรีจิต  ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนให้มีความสุขและประโยชน์ของตน
๒)  กรุณา  ความสงสาร  คืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์และความเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง
๓)  มุทิตา  ความพลอยยินดี  เมื่อเห็นคนอื่นอยู่มีสุขก็มีใจแช่มชื่นเบิกบานกับเขา  เมื่อเห็นเขาประสบความสำเร็จก็พลอยยินดีกับเขาด้วย
๔)  อุเบกขา  ความมีใจเป็นกลาง  คือมองความเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนอื่นทั้งที่ดีและเลวก็มีใจมั่นคงดุจตราชั่ง  คือการวางตนให้เฉย198

๒.๑๐  วรรณกรรมอีสาน
       สอนขุน  เจ้าพระยาให้ยึดมั่นในครรลองแห่งธรรมะโดยยึดหลักพุทธปรัชญานั้นเองดังนี้คือ
    ดูราร้อยเอ็ดตนพระยาใหญ่ฟังเน้อ        เรานี้เป็นย่อนท้าวเทวดาคำซูซอย แท้ดาย
    อันจักเป็นเหตุให้จิบหายจมจุ่ม แท้ดาย    โลภคติสี่นี้เป็นเค้าแก่เฮา
    ใผผู้โลภาพ้นผิเอาของท่าน        โทโสทำโทษให้เสียแล้วจึงเอา
    โมหาทำตัวร้ายผิเอาของท่านศรัทธา    เห็นแก่ได้บ่มีฮู้บาปบุญ
    เห็นแก่สินท่านจ้างเข้ามาสับส่อ        มะนะทิฐิก็เข้าคำร้ายเกิดมี
    ก็บ่ฟังคำผู้มีผญาต้านกล่าว        มักลื่นได้ของแท้ก็บ่มี  แท้แล้ว
    เมตตากรุณาอย่าได้วางจักเมื่อ        มุทิตาอุเบกขาจือไว้จำมั่นอย่าไล แท้ดาย
    อันหนึ่งโกรธาร้ายอย่าได้ทำตามคำเคียด    ให้พิจารณาถี่ถ้วนเสียแล้วจึงทำ
    อันหนึ่งฟังหมู่ขุนเฒ่าพิจารณาคุณโทษก็ดี  ให้เอาตามฮีตบ้านเมืองแท้แห่งโต นั่นเน้อ
    ในโลกนี้มีฮีตห่อนเสมอกันแท้ดาย    ฝูงใดเอาคองเพื่อนมาหลงเค้า
    เป็นขุนให้จาความให้มั่นแน่ จริงเทิน    อย่าเห็นแก่ใกล้ฝ่ายไส้โครตวงศ์แท้ดาย
    โตหากเทียวทางไกลปักตูเรือนซิฮ้อน    อย่าได้ปบแล่นปลิ้นคืนแท้อยู่หลังเพิ่นดาย
    ครั้นว่าความให้ตัดไปด้วยซื่อ        ทางงูอย่าให้เคียดทางเขียดอย่าให้ตาย
    ก็จึงมิ่งมังคละเข้าขุนพิจารณ์โสภาพ จริงแล้ว 199

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons