สตรีที่อยู่ในฐานะคุณย่า ต้องมีบทบาทหน้าที่สำคัญในครอบครัวนั่นคือ การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรธิดาและหลานๆของตนให้มีความประพฤติดีงาม ทั้งนี้ก็เพราะคุณย่ามีหน้าที่สั่งสอนหลานๆทั้งชายและหญิงให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงามของสังคมและให้รู้จักรักษา ศีล ให้ทาน ทำบุญ ดังนั้น ลูกหลานสมัยโบราณจึงเป็นคนสุภาพเรียบร้อย มีศีลสัตย์วัฒนธรรม เป็นคนขยันหมั่นเพียร ดังสุภาษิตย่าสอนหลานดังนี้ คือ
แต่นั้นย่ากล่าวต้าน จาต่อกุมาร
ทังญิงชาย หมู่หลานเหลนหล้อน
ย่านี้เถ้าแก่แล้ว เนื้อเหี่ยวหนังยาน
หูตาเสีย บ่คือยังน้อย
ตีนมือเศร้า ตนโตเหลืองหล่า
ตาบ่แจ้ง หูนั้นก็บ่ใส่ฯ
(แต่นั้นย่ากล่าวสอนต่อลูกหลานทั้งหญิงชายตลอดถึงลูกหลานทั้งหลาย ว่าย่านี้เฒ่าแก่ชราแล้วผิวหนังก็หย่อนยานไม่เหมือนเมื่อเป็นหนุ่ม หูก็ไม่ได้ยิน ตาก็มองไม่เห็นเหมือนเมื่อสมัยยังเป็นสาว เท้ามือตลอดถึงร่างกายก็เหลือง ) ย่าก็ฉลาดสอนลูกหลานได้มองเห็นสัจธรรมของร่างกายว่ามีสภาพเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ มีหนุ่มมีสาวและก็แก่ชราลง ไม่มีใครสามารถบังความแก่ชราได้ สอนให้ลูกหลานอย่าตั้งอยู่ในความประมาทในวัยของชีวิต ดังสุภาษิตนี้คือ
ยามเมื่อลุกย่างย้าย ยัวระยาตรลีลา
แขนขาโข แค่งโงงอแง้น
บ่ได้แสนแพนหน้า โสภาคือเก่า
ย่ามเมื่อเถ้าแก่แล้ว แนวนี้ซู่คน นั้นแหล้วฯ
(เมื่อยามลุกเดินไปมาก็ไม่คล่องแคล้วเหมือนเก่า แขนและขาก็โค้งงอ ใบหน้าก็ไม่สดใสเหมือนเก่า เมื่อความแก่ชรามาถึงแล้ว เป็นอย่างนี้ทุกคนให้ลูกหลานจำเอาไว้) ย่าได้แสดงบทบาทถ่ายทอดสัจธรรมให้หลานรู้ว่า ร่างกายทั้งหลายมีสภาพเป็นอย่างนี้ คุณย่ามักจะสั่งสอนให้ลูกหลานเป็นคนขยันอย่าเกียจคร้านในเรื่องการศึกษาดังสุภาษิตนี้ คือ
ให้พากันเข้า โรงเรียนเขียนอ่าน หลานเอย
อย่าได้คึดขี้คร้าน ความฮู้ให้หมั่นหาฯ
(ให้พากันเข้าโรงเรียนเขียนอ่าน หลานเอ๋ย อย่าได้คิดเกียจคร้าน ความรู้ให้ขยันหา) สอนให้ลูกหลานขยันหมั่นเพียรในการศึกษา ในวัยหนุ่มก็ใจหมั่นหาวิชาความรู้เก็บเอาไว้เมื่อถึงคราวจำเป็นมาวิชาความที่ได้ศึกษามาจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ดังสุภาษิตว่า
ให้พากันศึกษาฮู้ วิชาการกิจชอบ
ฮีบประกอบไว้ ไปหน้าสิฮุ่งเฮืองฯ
(ให้พากันศึกษารู้วิชาการทุกอย่าง รีบประกอบไว้ไปข้างหน้าจะรุ่งเรือง) คนจะสามารถยกระดับจากคนจนมาเป็นคนรวยได้ก็ด้วยวิชาการ เพราะวิชาสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมนุษย์ได้ จากคนยากจนก็มีเกียรติศักดิ์ศรีได้เพราะวิชา หรือเป็นเจ้าคนนายคนเพราะการศึกษาเล่าเรียนมามาก ถ้าหากว่าบุญวาสนาช่วยอาจจะได้เป็นใหญ่โตถึงขั้นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี และกาลข้างหน้าแสวงหาทรัพย์สินได้มากมาย ดังสุภาษิตนี้คือ
ยามเมื่อเจ้าหนุ่มน้อย ให้ฮีบฮ่ำเฮียนคุณ
ยามเมื่อบุญเฮามี สิใหญ่สูงเพียงฟ้า
ไปภายหน้า สิหาเงินได้ง่าย
ใผผู้ความฮู้ตื้น เงินล้านบ่แกว่นถงฯ
(ยามเมื่อเจ้ายังหนุ่มเยาวัย ให้รีบศึกษาให้ชำนาญ ยามเมื่อบุญเรามี จะได้เป็นเจ้านายคนไปข้างหน้า จะหาเงินได้ง่าย ใครผู้มีความรู้น้อย เงินล้านก็ไม่มี) ความรู้ที่ศึกษามากยิ่งดี เมื่อกาลข้างหน้าจะไม่ลำบาก มีอะไรก็ไม่เท่ามีวิชาติดตัว ดังสุภาษิตว่า
ใผผู้มีความฮู้ เฮียนเห็นมามาก
บ่ห่อนทุกข์ยากเยิ้น ภายท้ายเมื่อลุนฯ
(ใครผู้มีความรู้ ศึกษามามาก ไม่ค่อยลำบากในอนาคตข้างหน้า) คนเราจะได้ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ว่ามีการศึกษามากหรือไม่ ดังนั้น จริยธรรมของย่าจึงต้องสั่งสอนให้ลูกหลานชาวอีสานได้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาให้มาก ดังสุภาษิตนี้ว่า
ให้เจ้าเอาความฮู้หากินทางชอบ ความฮู้มีอยู่แล้วชิกินได้ชั่วชีวังฯ(ปรี/ภาษิตโบ/52
สิได้เป็นขุนขึ้น ครองเมืองตุ้มไพร่
สิได้เป็นใหญ่ชั้น แนวเชื้อชาตินาย แท้ดายฯ
(ให้เจ้าเอาความรู้หากินทางสุจริต ความรู้มีอยู่แล้วจะหากินไต้ตลอดชีวิต จะได้เป็นขุนขึ้นปกครองเมืองรักษาไพร่ จะได้เป็นใหญ่เพราะวิชาความรู้) ความรู้ให้ทั้งเกียรติยศชื่อเสียงและเงินทองอย่างมากมาย ดังสุภาษิตนี้คือ
อันว่าเงินคำแก้ว ไหลมาเอ้าอั่ง
มีแต่มูลมั่งได้ สินสร้อยมั่งมี
(อันว่าเงินทองจะหลั่งไหลมามากมาย เหมือนร่ำรวยมาแต่เดิมทรัพย์สินมากมายเพราะวิชาการที่ได้ศึกษามา) สุดท้ายย่าก็ต้องสรุปว่า การงานทุกอย่างอย่ามัวแต่ขี้เกียจ ให้รู้จักตื่นนอนแต่เช้าให้เร่งรีบทำกิจการทั้งปวงให้สำเร็จ อย่าคอยแต่จะพึ่งพาอาศัยคนอื่น ดังสุภาษิตนี้ คือ
อย่าสิได้ขี้คร้าน มัวแต่นอนหลับ
ความกินสิเพพังเสีย เวทนามีมั้ว
อย่าได้มัวเมาอ้าง เอาเขามาเพิ่ง หลานเอย
ให้เจ้าคึดต่อตั้ง ความฮู้แห่งเฮา ฯ
(อย่าได้เกียจคร้าน หลงแต่นอนหลับ การทำมาหากินจะลำบาก ความทุกข์จะประดังเข้ามา อย่าได้หลงอ้างแต่ผู้อื่น เอาเขามาพึ่งอาศัย หลายเอย ให้เจ้าคิดพึ่งปัญญาของตนเองจะดีกว่า) และสั่งสอนให้รู้จักพึงพาตนเอง อย่าได้คอยแต่จะให้คนอื่นเขามาช่วยเหลือนั้นไม่ดี ดังสุภาษิตนี้คือ
อย่าสิหวังสุขย้อน บุญคุณคนอื่น หลานเอย
สุขกะสุขเพิ่นพุ้น บ่มากุ้มฮอดเฮา ดอกนาฯ
(อย่าได้หวังความสุขจากคนอื่น หลายเอย สุขก็สุขของเขาไม่มาถึงเราหรอก) สอนให้ลูกหลานช่วยเหลือตนเองให้ได้ก่อน ถึงว่าสภาพบ้านเมืองของอีสานจะแห้งแล้งก็อย่าได้แล้งน้ำใจ ให้หมั่นทำบุญเอาไว้ และย่ายังสอนให้รู้จักฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อขัดเกลาจิตใจให้ดีอีกทางหนึ่งดังสุภาษิตนี้ว่า
บัดนี้ย่าสิพาพวกเจ้า ตกแต่งกองบุญ
มื้อนี้เป็นวันศีล เวียกเฮาเซาไว้
ย่าสิพาไปไหว้ ยาครูสังฆราชเจ้า
ไปตักบาตรแลหยาดน้ำ ฟังเจ้าเทศนาฯ
(บัดนี้ย่าจะพาพวกเจ้า ตกแต่งกองบุญ วันนี้เป็นพระงานทุกอย่างหยุดไว้ก่อน ย่าจะพาไปไหว้อาจารย์พระครูและสังฆราชเจ้า ไปตักบาตรและกรวดน้ำอุทิศ และฟังเทศนาธรรม) ย่ายังสอนให้รู้ลูกหลานรู้ว่าความดีหรือบุญนั้นมีหลายอย่าง คือบุญเกิดจากการให้วัตถุเป็นทานก็มี เรียกว่า ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน และศีลมัย บุญนั้นสำเร็จจากการรักษาศีล ตลอดถึงบุญที่สำเร็จจากการเจริญภาวนา เรียกว่าภาวนัยมัย เพื่อทำทางให้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ดังสุภาษิตนี้ว่า
ไปฮักษาศีลสร้าง ภาวนานำเพิ่น
ให้พวกเจ้าพี่น้อง จำไว้ย่าสิสอน
เพิ่นว่าวันศีลนั้น ให้ทำบุญตักบาตร
คันผู้ใดอยากขึ้น เมืองฟ้าให้หมั่นทานฯ
(ไปรักษาศีลสร้าง ภาวนาเหมือนคนอื่น ให้พวกเจ้าพี่น้อง จำไว้ย่าจะสอน ท่านว่าวันศีลนั้นให้ทำบุญตักบาตร ถ้าหากใครอยากขึ้นสวรรค์ให้หมั่นทำทาน)
ให้หมั่นทำขัวข้วม ยมนาให้ม้มฝั่ง
หวังนิพพานไจ้ไจ้ ปานนั้นจิ่งเผื่อพอฯ
(ให้ขยันทำทานเปรียบเหมือนทำสะพานข้ามฝั่ง หวังจะถึงฝั่งพระนิพพาน)
ให้เจ้าคึดต่อไว้ ฮีตฮ่อมทางเทียว
ทางไปนีระพาน ยืดยาวยังกว้าง
อันว่าหนทางเข้า นีระพานพ้นโศก
มีแต่บุญอ้อยต้อย หลานน้อยให้ค่อยทำฯ หน้า 6
(ให้เจ้าคิดต่อไว้ถึงทางเดินไปพระนิพพาน มันยืดยาวนักอันว่าทางจะไปพระนิพพานนั้นมีแต่บุญเท่านั้น ให้พวกหลานขยันทำบ่อยๆ) และสั่งสอนลูกหลานให้รู้จักบุญคุณของพ่อแม่และย่าตลอดถึงคุณพระรัตนตรัย ก่อนจะหลับนอนให้ลูกหลานเก็บดอกไม้มาแต่งเป็นขัน ๕ เพื่อกราบไหว้ก่อนนอน ดังสุภาษิตว่า
คันธชาติเชื้อ ดวงดอกบุปผา
มาบูชา พระยอดคุณจอมเจ้า
บูชาเถ้า อัยยิกาจอมย่า
บูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมพร้อมพร่ำสงฆ์ฯ
ยามเนานอนนั้น คะนิงคุณพ่อแม่
คุณอี่นายย่าเถ้า คุณเจ้าแต่ประถม
คุณพระโคดมเจ้า องค์พุทธโธดวงยอด
เทียนธูปไต้ บูชาแล้วจิ่งนอน ฯ /8
อันนี้ก็เพื่อกุศลเจ้า อัยยิกาเถ้าย่า
หากได้สอนสั่งให้ ความฮู้แก่หลานฯ
(เทียนธูปจุดตกแต่งตามเรามี พร้อมทั้งยกมือไหว้อย่าได้ลืม ก่อนจะหลับนอนนั้นให้คำนึงถึงคุณพ่อแม่ คุณย่าเฒ่าสามอย่างนี้มีมาก่อนสิ่งใด และคุณพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสนดาเอกของโลก จุดเทียนธูปบูชาแล้วจึงค่อนนอน อันนี้เป็นทางแห่งความดีของลูกหลาน ย่าสอนให้ความรู้แก่หลานๆ) ย่าเป็นเสมือนหนึ่งผู้ส่องแสงสว่างให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม ทั้งสอนให้ขยันในการศึกษา ให้รักษาศีล และทำบุญ และสอนให้รู้ว่าบุญนั้นส่งผลให้ในรูปแบบใดหรืออานิสงส์ของบุญมีลักษณะให้ผลอย่างไร ความกตัญญูต่อพ่อแม่มีอานิสงส์อย่างไร ดังสุภาษิตย่าสอนหลานดังนี้คือ
สอนให้รู้จักทำบุญ
พงศ์พันธุ์เชื้อตายายพ่อแม่ ควรที่นบน้อบไหว้ยอไว้ที่สูง
ผลาบุญมาค้ำแนมนำยู้ส่ง ปรารถนาอันคงชิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์
(พงศ์พันธุ์เชื้อพ่อแม่ควรที่จะกราบไหว้ยกไว้ที่สูง ผลาอานิสงส์มาส่งให้ ปรารถนาสิ่งใด้ก็ได้สมดั่งความประสงค์) บุญก็ย่อมจะส่งผลให้ทุกอย่าง คือ สวย รวย เก่ง ล้วนแต่เกิดจากคนมีบุญทั้งสิ้น ดังนั้นคำสุภาษิตจึงสะท้อนภาพรวมให้เห็นว่าคนมีบุญนั้นจะสบายในลักษณะอย่างไรดังสุภาษิตนี้คือ
บุญมีได้ เป็นนายใช้เพิ่น
คันแม่นบุญบ่ให้ เขาสิใช้ตั้งแต่เฮาฯ
(บุญมีได้เป็นนายใช้คนอื่น ถ้าใช่บุญไม่ส่งให้เขาจะใช้แต่เรา) หมายถึงความดีที่เราทำด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าพร้อมพลั่งแล้วจะเป็นอำนาจบารมีให้คนอื่นช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตเรามีความสุข จะทำพูดคิดสิ่งใดก็มีคนมาค่อยให้ความช่วยเหลือ เรียกว่าคนที่เคยทำบุญมาร่วมกัน เช่น เพื่อน ญาติ แม้ทั้งคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็ช่วยเหลือถ้าบุญบารมีเรามีแล้ว เช่น พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ ราชการชั้นผู้ใหญ่จะไปทางใดก็มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองที่อานิสงส์บุญจะแผ่รัศมีออกมาในรูปแบบของความดีหลายๆทาง ดังนั้นการทำความดีจึงให้ลงมีทำด้วยตัวเอง อย่ารอคอยโชควาสนาคนอื่นมาส่งเสริมให้เราดังสุภาษิตว่า
คอยแต่บุญมาค้ำ บ่ทำการมันบ่แม่น
คอยแต่บุญส่งให้ มันสิได้ฮ่อมใดฯ
(คอยแต่บุญมาช่วย ไม่ทำบุญมันก็ไม่ถูก คอยแต่บุญส่งให้มันจะได้อย่างไร) การกระทำอะไรทุกอย่างต้องทำด้วยตัวเอง บุญก็ดี บาปก็ดีย่อมเป็นของคนนั้นเองดังสุภาษิตว่า
คือจั่งเฮามีเข้า บ่เอากินมันบ่อิ่ม
มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ย ทางท้องก็บ่เต็มฯ
(คือกับเรามีข้าวแต่ไม่เอากินมันก็ไม่อิ่มท้อง เหมือนมีลาบถ้าไม่ตักข้าวเข้าปากท้องก็ไม่เต็ม) การทำบุญให้กระทำด้วยตัวเองเพราะบุญและบาปนั้นจะส่งผลให้ใช้ชีวิตดีหรือชั่วเพราะอำนาจของบุญหรือบาปนี้เอง ดังสุภาษิตว่า
อันว่านานาเชื้อ คนเฮาแฮมโลก หลานเอย
บุญบาปตกแต่งตั้ง มาให้ต่างกัน
ใผผ้ทำการฮ้าย ปาปังทางโทษ
มีแต่สาโหดฮ้าย สิมาไหม้เมื่อล่นฯ
(อันว่านานาเชื้อคนเราอยู่ทั่วโลกหลานเอย บุญบาปเป็นปัจจัยปรุงแต่งมาให้ต่างกัน ใครผู้ทำบาปชั่วร้าย เป็นบาปมีโทษมีแต่ทุกข์จะมาไหม้เมื่อหลัง) สะท้อนให้เห็นว่าบาปหรือบุญเป็นสิ่งที่ติดตามมนุษย์ไปทุกภพทุกชาติ เป็นกรรมติดตัวไปตลอดจนเข้าสู่ความดับทุกข์ได้ และบาปกรรมเป็นผู้กีดกั้นหรือทำให้มนุษย์ประสบกับการพลัดพรากจากกัน หรือได้มาพบกัน ดังสุภาษิตนี้
อันว่ากุญชรช้าง พลายสารเกิดอยู่ป่า
ยังได้มาอยู่บ้าน เมืองกว้างกล่อมขุนฯ
(อันว่าช้างเผือกเกิดอยู่ในป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองร่วมกับพระยา) หมายถึงบุญบารมีส่งให้สิ่งที่อยู่ไกล้อย่างไรเมื่ออำนาจบุญส่งมาถึงแล้วย่อมพบกันเปรียบเหมือนช้างสารตัวงามที่เกิดในป่าย่อมเป็นเพราะบารมีของพระมหากษัตริย์จึงทำให้ได้พบช้างคู่บ้านคู่เมือง แต่ถ้ากรรมเวรมาถึงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดมาบังคับไม่กรรมส่งผลให้ ดังสุภาษิตนี้ว่า
ตั้งแต่พระเวสเจ้า กับนวลนาถนางมัทรี
ยังได้หนีพารา จากนครยาวเยิ้น
ไปอยู่ดงแดนด้าว ไพรสนฑ์แถวเถื่อน
มีแต่ทุกยากเยื้อน บ่เคยพ้อพบเห็นฯ
คันแม่นเป็นจั่งซี้ เฮาสิว่าฉันใด
สิว่ากรรมมาตัด หรือว่าเวรมาต้อง
ใผผู้ทำดีไว้ ความดีกระดึงจ่อง
ใผผู้สร้างบาปไว้ กรรมสิใช้เมื่อลุนฯ
(ตั้งแต่พระเวสสันดรกับพระนางมัทรียังได้หนีจากนครไปอาศัยอยู่ราวป่าแดนเถือน มีความทุกข์ลำบากมาเยื้อนไม่เคยพบเห็น คือว่ากรรมมาตัดรอนหรือว่ากรรมเวรมาส่งผลให้เป็นไปอย่างนั้น ใครผู้ทำความดีไว้ ความดีก็ตามสนอง ใครผู้ทำบาปไว้กรรมนั้นก็ตามสนอง
สอนไม่ให้หลงลืมตน
การเปรียบเทียบไม่ให้ลูกหลานลืมความหลังหรือลืมวงศ์ตระกูลของตนเอง หรือหลงลืมชาติตระสกุลตัวเอง ดังสุภาษิตว่า
คันได้กินกะปิแล้ว อย่าลืมคุณปลาแดก
ลางเทื่อเฮาแตกบ้าน ยังสิได้ใส่กินฯ
(คันได้กินกะปิแล้วอย่าลืมว่าเราเคยกินปลารา ถ้าบ้านเมืองแตกยังจะได้ทำกิน) สอนให้สำนึกในบุญคุณของเก่าที่ตัวเองเคยกินเคยใช้มาก่อน ถ้าไปเห็นสิ่งใหม่ที่อื่นคนเราก็ไม่อยากกลับมามีชีวิตอย่างเดิม เรียกหลงชาติเชื้อของตัวเองก็ได้ เหมือนสังคมทุกวันนี้แต่ก่อนเคยทำไรไถนาแต่พอพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นอุตสาหกรรม คนก็มาทำงานในโรงงานกันหมด ลืมว่าอาชีพเก่าตัวเองเป็นชาวไรชาวนา แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ทำให้โรงงานนั้นเปิดตัวลงด้วยพิษเศรษฐกิจ คนงานก็กลับบ้านเดิม แต่ทำไรไถนาไม่เป็นเหมือนเดิมแล้ว ลูกหลานชาวอีสานติดอยู่กับความสุข ติดอยู่ในแสงสีเสียงในกรุงเทพอาหารที่เคยกินตามมีตามเกิดก็กินอย่างเดิมไม่ได้เสียวแล้ว ดังสุภาษิตว่า
คนบูฮาณพุ้น เขากินข้าวก่อง
หลานได้กินข้าวเจ้า อย่าลืมปั้นข้าวเหนียวฯ
(คนโบราณแต่ก่อนนั้นเขากินข้าวในก่อง(ก่องข้าวเหนียว) หลานได้กินข้าวจ้าว อย่าลืมว่าเคยปั้นข้าวเหนียวกิน) การมีประสบการณ์เมื่อได้ไปเที่ยวถิ่นอื่นนั้นก็ดีอยู่ แต่อย่าลืมท้องถิ่นบ้านเดิมที่ตัวเองเคยอยู่มา ดังสุภาษิตว่า
คันได้เทียวไปใต้ เมืองไกลประเทศอื่น
เจ้าอย่าลืมด่านด้าว เมืองบ้านเก่าเฮาฯ
วันหนึ่งเจ้าไปพบพ้อ น้ำพริกเมืองไทย
อย่าได้ไลลืมปะ แจ่วบองทางบ้านฯ
(ถ้าได้เที่ยวไปกรุงเทพ เจ้าอย่าลืมบ้านเกิดของเรา วันหนึ่งเจ้าได้พบเจอน้ำพริกเมืองไทยอย่าลืมทิ้งปลาราสับทางบ้าน(คืออาหารที่ทำจากปลาราโดยน้ำปลาราและพริกมาสับและตำเข้าด้วยกันเรียกว่า แจ่วบอง) ย่าได้รับบทบาทหน้าที่สั่งสอนบุตรธิดามาแต่โบราณ จึงมองเห็นว่าถ้าลูกหลานไม่ถูกก็เป็นหน้าที่ของย่าจะอบรมสั่งสอน เพื่อไม่ให้ลูกหลานเดินออกนอกลู่นอกทาง ลืมอย่างอื่นนั้นยังไม่เกิดโทษอะไรมากมายแต่ถ้ามนุษย์เราหลงลืมตัวเองแล้วโทษมันก็จะตามมามากมายอย่างสุภาษิตนี้ว่า
คันเจ้าได้เป็นเจ้า อย่าลืมหมู่หมู่หมา
ห่าขโมยมาลัก สิเห่าหอนให้มันย้าน
ลางเทื่อกวางฟานเต้น ตามดงสิได้ไล่
บาดห่าได้ต่อนชิ้น ยังสิโอ้อ่าวคุณ ดอกนาฯ 14
(ถ้าหากเจ้าได้เป็นเจ้าคน อย่าลืมหมู่หมูหมา ถ้าหากมีขโมยมาจะเห่าให้เกรงกลัว เมื่อมีกวางฟานเดินผ่านมาตามป่าดงจะได้ไล่กัด เมื่อได้ก้อนเนื้อยังจะได้คิดถึงคุณของสุนัข) หมายความว่า ถ้าบุตรหลานตนเองได้เป็นเจ้าคนนายคน อย่าลืมญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงเมื่อยามมีภัยมาถึงก็จะได้ช่วยเหลือกันหรือป้องกันภัยให้แก่กันได้ เพราะคนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เมื่อยามเรายากจนหรือเพื่อนลำบากมาก็จะได้ช่วยเหลือกัน สุภาษิตนี้สะท้อนให้เห็นว่าย่าก็ดีได้สั่งสอนปรัชญาชีวิตแก่บุตรหลานได้อย่างชาญฉลาด คือยกเอาสัตว์ต่างๆมาเปรียบเทียบให้มองเห็นภาพได้ง่าย เพราะการลืมตนเองคนนั้นหลงเอาง่ายๆเมื่อคนมีอำนาจวาสนา บ้างครั้งพ่อแม่ก็ยังหลงลืมบุญคุณเอาได้ง่ายๆ ด้วยอำนาจของการหลงตนจนลืมแก่ หลงเมียจนลืมแม่ บทบาทของย่าที่สะท้อนถึงวิถีทางของสุภาษิตว่า
คันเจ้าได้นั่งบ้าน เป็นเอกสูงศักดิ์
อย่าได้โวโวเสียง ลื่นคนทั้งค้าย
แนวว่าเป็นนายนี้ ให้หวังดีดอมไพร่
คันแม่นไพร่บ่พร้อม สิเสียหน้าบาดเดินฯ
(ถ้าหากว่าเจ้าได้นั่งบ้านเมืองเป็นคนใหญ่โตสูงศักดิ์ อย่าได้พูดอวดเก่งกว่าคนทั้งหลาย ธรรมเนียมเป็นนายนี้ให้หวังดีกับประชาชน ถ้าหากประชาชนไม่สนับสนุนจะอับอายขายหน้าเวลาเดิน)
สอนให้รู้คุณค่าของดี
สิ่งที่หายากก็มีคุณมากเงินทองก็เป็นสิ่งที่ควรเก็บรักษาไว้ให้ดีเมื่อถึงคราวจำเป็นก็จะได้พึ่งพาอาศัย ให้รู้จักการแสวงหา รักษาไว้ ใช้จ่ายอย่างประยัด ดังสุภาษิตนี้ว่า
เพิ่นว่าเงินคำแก้ว ของดีหายาก
เม็ดหีนเม็ดทรายมีบ่แพ้ ขนถิ้มบ่ถองฯ
ท่านว่าเงินทองเป็นของดีหาลำบาก แต่เม็ดกรวดเม็ดทรายมีมากหมายแต่ไม่มีราคา ขนทิ้งเท่าไรก็ไม่หมด) ทรัพย์สินเงินทองเป็นของมีค่าในตัวของมันเอง กว่าจะได้มาแสนลำบากยิ่ง แต่สิ่งที่ไม่มีคุณค่ากลับมีมากมาย ดังสุภาษิตนี้ว่า
ชื่อว่าของดีล้น คนประสงค์มันอยู่ท่ง
อันว่าของขี้ฮ้าย เต็มบ้านทั่วเมืองฯ
ชื่อว่าของดีเลิศที่คนต้องการนั้นกลับอยู่ทุ่ง แต่ว่าของที่ชั่วร้ายกลับเต็มบ้านทั่วเมือง) หมายเอาคุณธรรมที่ดีเลิศนั้นกลับต้องแสวงหาในดงในป่า เหมือนพระที่ทำกรรมฐานอยู่ตามป่าดงแต่ว่าคนชั่วมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในบ้านเมือง หรือ คนดีนั้นหลบหลีกหนีอยู่ในป่าส่วนคนชั่วนั้นมีอยู่เต็มบ้านเมือง เหมือนยาดีอยู่ในดงในป่าลึก ดังสุภาษิตนี้ว่า
ชื่อว่าแนวฮากไม้ วิเศษยายำ
หากอยู่ในดงหลวง ป่าไพรพงกว้าง
อันว่าความเจ็บไข้ โรคาพยาธิใหญ่
มันหากอุบาทว์ใกล้ ในเนื้อซู่คนฯ
(อันว่ารากไม้ที่เป็นยาวิเศษ มันหากเกิดอยู่ในดงป่าลึก แต่ว่าความเจ็บไข้โรคพยาธิทั้งหลายกลับเกิดอยู่ในร่างกายเราทุกคน) เปรียบให้เห็นว่าของดีวิเศษนั้นอยู่ในที่ลึกยากที่จะหาพบได้ง่าย ส่วนความชั่วนั้นอยู่ในตัวเรานี้คือ ทางกาย วาจา และทางใจ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวมากที่สุดถึงแม้มนุษย์จะมีอำนาจมหาศาลแต่ก็สู้กับโรคในร่างกายซึ่งมีตัวเล็กนิดเดียวก็ไม่ได้
สอนให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน
สังคมอีสานได้เน้นถึงบทบาทของคนเราจะต้องอยู่ด้วยกันฉันมิตร ช่วยเหลือกันเมื่อยามจำเป็น หรือมีภาระกิจที่จะให้ช่วยเหลือกันเช่นการลงแขกเกี้ยวข้าวเป็นลักษรณะของการมีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน ดังสุภาษิตนี้คือ
อันว่าโลกานี้ บ่ห่อนอยู่เดียวเป็น หลานเอย
อยู่แต่คนเดียวดาย ห่อนเป็นเมืองบ้าน
คันหลานมีผืนผ้า บ่หาแพรพาดบ่า
หลานสินุ่งแต่ผ้า ไปได้ดั่งใดฯ
(อันว่าโลกเรานี้ไม่มีใครอยู่คนเดียวเป็นหลานเอย อยู่คนเดียวมันก็ไม่เป็นบ้านเมือง ถ้าหากว่าหลานมีผืนผ้าไม่หาผ้าข้าวม้าพาดบ่า หลานจะนุ่งแต่ผ้าไปได้อย่างใด) การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนเราช่วยให้ชาติบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าเปรียบเหมือนคนเราต้องอาศัยเสื้อผ้าจึงกล้าเดินไปไหนมาไหนได้ มีแต่ผ้าก็ไปไม่ได้ มีแต่ตัวเปล่าก็เดินไม่ได้เช่นกัน ทุกอย่างต้องอาศัยกันและเกิดจึงจะสมบูรณ์ ดังสุภาษิตว่า
มีปลาบ่มีหม้อ สิเอาหยังมาอ่อม
หม้อนั้นคันช่างเขาบ่ปั้น บ่มีได้อ่อมแกงฯ
(มีปลาไม่หม้อ จะเอาอะไรมาหุงตุ้ม มีหม้อนั้นถ้าไม่คนปั้น ก็ไม่ได้แกงอ่อม) หม้อก็ต้องอาศัยนายช่างหม้อปั้นมา การหุงต้มอาหารก็ต้องอาศัยหม้อจึงจะกินแกง เป็นสุภาษิตที่สะท้อนถึงการพึ่งพาอาศัย ดังสุภาษิตนี้
บัวอาศัยเพิ่งน้ำ ปลาเพิ่งวังตม
ไพร่กับนาย เพิ่งกันโดยด้าม
เสือสางช้าง กวางฟานอาศัยป่า
ป่าอาศัยสัตว์สิ่งฮ้าย จึงหนาแน่นมืดมุงฯ
(บัวอาศัยเกิดกับน้ำ ปลาอาศัยพึ่งหนองน้ำ ไพร่ก็อาศัยพึ่งนาย ทุกสิ่งก็อาศัยกันและกันเหมือเสือและช้างกวางฟานก็อาศัยป่า ป่าไม้ก็อาศัยสัตว์ทั้งหลายจึงแน่นหนาเป็นดงได้)
เฮาอาศัยพวกพ้อง น้องนุ่งสหายเกลอ
เขาก็อาศัยเฮา จึงเป็นเมืองบ้าน
ซู่คนซู่ได้ อาศัยกันทุกหมู่
บ่มีใผอยู่ยั้ง ทอนท้อผู้เดียวฯ
(เราอาศัยพวกพี่น้องและเพื่อนสหายทั้งหลาย เขาก็อาศัยเราจึงเป็นบ้านเมือง ทุกคนต่างก็อาศัยกัน ไม่มีใครอยู่คนเดียวได้) ทุกสิ่งในโลกต้องพึ่งพาอาศัยกันสิ่งแวดก็อาศัยมนุษย์เป็นผู้รักษาป่าไม้จึงจะคงอยู่ในสภาพเดิมได้เพราะมีสัตว์ร้ายทั้งหลายอาศัยอยู่จึงทำให้ป่าไม้ยังคงเหลือมาถึงรุ่นลูกหลานได้ ถ้าป่าไม้ที่ไหนว่ามีผีเจ้าป่าดุๆ ที่นั้นป่าไม้ก็อุดมสมบูรณ์แต่ถ้าไม่มีที่นั้นก็ไม่มีป่าไม้เหลือเอาไว้เลย ถึงจะมีกฎหมายก็ยังคุมไม่อยู่
สอนให้รู้จักทำอะไรให้ตั้งใจทำ
หน้าที่การงานที่ตั้งใจทำย่อมสำเร็จผลได้สมความปรารถนาเสมอ จะเป็นการค้าขายก็ดีหรืองานทางด้านราชการบ้านเมืองก็ดี ย่าจะสอนหลานให้รู้จักผลดีและผลเสียของการงานที่ไม่ตั้งใจทำจริงๆ ดังสุภาษิตว่า
ให้เจ้าทำเพียรสร้าง คือแตนเผิ้งต่อ
ให้เจ้าเพียรก่อไว้ เสมอเผิ้งต่อดางฯ
(ให้เจ้าขยันทำงานคือแตนกับผึ้ง ให้เจ้าหมั่นเพียรทำเสมอดั่งผึ้งก่อรัง)
สอนให้รู้ว่าแตนและผึ่งมีความขยันในการทำรังของมันอย่างไร มนุษย์ก็ควรเอาแบบอย่างของสัตว์เหล่านั้นมาเป็นแบบอย่างในการสร้างฐานะของตนเองให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาวบ้านเขา อย่าเป็นคนเกียจคร้านในหน้าที่การงานของตนเอง เหมือนการค้าข้ายต้องเริ่มจากน้อยไปหามาก ดังสุภาษิตว่า
คันแม่นทุนเฮาน้อย ให้ทำเพียรหาตื่ม
มื้อสิบมื้อ เพียรไว้ใส่ถงฯ
(คันว่าทุนเรามันน้อยให้เพียรพยายามหามาเพิ่ม วันต่อวันเก็บรักษาไว้ใส่กระเป๋า)
การค้าขายย่อมเริ่มจากทุนน้อยก็มี แต่ต้องพยายามเก็บรักษาทรัพย์ที่ตัวเองทำนั้นไว้ที่ละเล็กละน้อยค่อยๆเก็บออมทรัพย์ เหมือนปลวกที่ค่อยๆทำที่อยู่ของมันนานวันก็เป็นจอมปลวกโตได้ให้คิดว่าเรากำลังอยู่ในขั้นตอนการก่อตั้งฐานะ ดังสุภาษิตว่า
อันว่าเงินสินสร้าง เงินทองแก้วแก่น
คันแม่นมีมากล้น หลายแท้แฮ่งดีฯ
(อันว่ามีทรัพย์สินสร้าง เงินทองแก้วแก่น หากว่ามีมากมายยิ่งดี)
ชื่อว่าเงินคำแก้ว มันบ่แม่นของใผ
คันใผบายเอามา จั่งแม่นของผู้นั้น
ใผผู้ตัณหาล้น โลภามักมาก
ความอยากมีท่อฟ้า หาได้กะบ่พอฯ
(ชื่อว่าเงินทองมันไม่เป็นของใคร ถ้าหากใครหามาได้จึงเป็นของคนนั้น ใครผู้ตัณหามากมีความยากเท่าฟ้าหาอย่างไรก็ไม่มีวันพอ) ตัณหาไม่เคยเต็ม เพราะมันมีความพร่องอยู่เสมอถึงจะมีทรัพย์สินเท่าภูเขา ก็ไม่พอสำหรับผู้มีตัณหาอยากได้ ถ้าไม่รู้จักประมาณก็จะสร้างความทุกข์ให้แก่ตนเอง เพราะทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจในโลกเท่านั้นเมื่อตายไปก็เป็นอันว่าสิ้นสุดผู้ครอบครองมัน ดังสุภาษิตว่า
คันแม่นมุดมอดเมี้ยน ตายจากเมืองคน
มันสิขนเอาไป หาบคอนบ่มีได้
(คันเมื่อเวลาตายไปจากเมืองคน ทรัพย์สมบัติก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้)
มีแต่บุญเท่านั้นจึงจะติดตามสัตว์โลกผู้ตายไปแล้วได้ เพราะบุญเปรียบเสมือนเงาที่ติดตามตัวเราไปทางไหนเงาก็ไปตามอย่างนั้น เหมือนบุญและบาปเราอยู่ที่ไหนมันก็ตามไปที่นั้นดังสุภาษิตว่า
เพราะว่าบุญบาปนี้ เป็นคู่คือเงา
เงาสิไปตามเฮา ซู่ยามบ่มีเว้น
แม่นเฮาพามันเหล้น พามันเต้นแล่น
พามันแอะแอ่นฟ้อน เงานั้นกะแอ่นตาม
ยามเฮายกอย่างย้าย ย้ายย่างไปมา
ยามเฮาเอนหลังนอน ก็อ่อนเอนนำด้วย
คันว่าเฮาลงห้วย ภูผาหลายหลั่น
ขึ้นต้นไม้ ผาล้านด่านเขา
เงาก็ติดตามเกี้ยว เกาะเกี่ยวพันธนัง
บ่ได้มียามเหิน ห่างกันไปได้
ฉันใดแท้ คือบุญกับบาป
มันหากติตต่อก้น ตามส้นบ่เซา เจ้าเอย
บ่ได้คละคลาดฮ้าง เหินห่างไปไกล
ใผผู้ทำการสร้าง ศีลธรรมเป็นประโยชน์
อันว่าโทษท่อก้อย บ่มีพ้อพบเห็นฯ33
สอนให้พูดแต่คำสัจจริง
การพูดจากันทุกคนก็ต้องการฟังแต่คำที่อ่อนหวาน ไพเราะและพูดคำจริงใจต่อกัน ดังนั้นก็เป็นหน้าที่ของย่าที่จะอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นนักการฑูต คือให้เจรจาพาที่เป็น รู้กาลเวลาที่จะพูด ฐานะและบุคคลที่จะพูด ถ้าหากจะเล่นการเมืองควรพูดอย่างไร ดังสุภาษิตนี้ว่า
คันสิปากกล่าวต้าน ให้ตามฮีตครองขุน
ให้มันจริงจัง จั่งนำมาเว้า
ให้มันเห็นกกเหง้า เห็นแกนฮากแก่น
ให้มันแม่นจิ่งต้าน ประมาณแล้วจิ่งจาฯ
คันแม่นเว้าถืกข้อ เขาสิน่ำกอลอนำ
เขาสิแถมสมภาร ผ่านครองเมืองบ้าน
เขาสิเอาหลานขึ้น คานหามแอะแอ่น
คันแม่นเว้าแม่นแล้ว สิดังขึ้นดั่งบั้งไฟฯ
อย่าสิได้อ้วดอ้าง ตั๋วล่ายมายา
ย่าย้านเป็นเปโต เวทนามีมั้วฯ
อย่าได้ทำเพศเพี้ยง หัวเพียงเพศอื่ง
มันหากเหลือแต่ฮ้อง ความเว้าฆ่าโตฯ
อันว่าเว้าแหกบ้าน มันบ่ฮุ่งบ่เฮือง
เว้าแหกเมือง มันบ่เกินบ่ขึ้น
เห็นว่าโตดีแล้ว บ่มีครูอย่าฟ้าวว่า
หีนบ่ฮ่องฮะให้ แนวพร้าบ่ห่อคมฯ
สอนให้อย่าเพ็งโทษคนอื่น
อันหนึ่งอย่าได้ติโทษท้วง ปวงหมู่หมา
มันบ่เห็นของกิน บ่แล่นวนเวียนล้อม
ติแต่แมงวันฮ้าย ตอมโตอยู่โผ้โผ่
โตหากเหม็นอู้อู้ สิติได้ฮ่อมใดฯ
ติแตควายบักเลฮ้าย ปักตูสวนบ่อัดหี่
ติแต่แมงมี่ฮ้าย ตีนซิ่นบ่ล่ำเบิ่ง
ติแต่เป็ดไก่ดื้อ เต็นตอดตามขา
มันหากเห็นแนวกิน จั่งแล่นวนนำก้น
ติแต่วัวควาย มันเฮียวหนามฮั้วไฮ
มันหากเห็นบ่อนได้ จึงเทียวหม้นอยู่ดน
ติแต่คนเขาพุ้น ภายโตบ่เตื้องต่อ
ติแต่คออึ่งเพ้า คอเจ้าผัดแฮ่งจน(53/ภาษิตโบา/
สอนหลานอย่าก่อเวรกรรมกับใคร
อันว่าอาฆาตไว้ พยาบาทจองเวร
มันหากเป็นกรรมหนัก บ่มีทางเสี้ยง
มันบ่มีทางเสี้ยง เวรกรรมเกาะเกี่ยว
เจ้าฆ่าข้อยข้อยฆ่าเจ้า เลิงเรื้อยบ่เซ่าฯ
คือดังกากับนกเค้า บ่เข้าฮ่อมแกวกัน
หนูกับแมว บ่อยู่นำกันได้
หมีกับไม้ ผันทนังค้อป่า
จอนฟอนกับเห่าห้อม บ่มีมื้อถืกกันฯ