วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ศัพท์ที่น่าสนใจในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก

1024

บุญกิริยาวัตถุ  ว่าด้วยวิธีการทำบุญ ๑๐ อย่าง

          ๑.  ทานมัย                 บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

          ๒.  สีลมัย                   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

          ๓.  ภาวนามัย              บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

          ๔.  อปจายนมัย            บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

          ๕.  เวยยาวัจจมัย          บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ

          ๖.  ปัตติทานมัย           บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ

          ๗.  ปัตตานุโมทนามัย    บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ

          ๘.  ธัมมัสสวนมัย          บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

          ๙.  ธัมมเทสนามัย        บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

          ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์             บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง

ทศฐาน ๑๐ ประการ ของพระเวสสันดร

            ๑.  ทเม                         -  ทรมานอินทรีย์

            ๒.  สํยเม                      -  สำรวม

            ๓.  ขนฺติยา                   -  ถือขันติ  มีความดอทน

            ๔.  สํวเร                       -  สำรวมในศีล

            ๕.  นิยเม                      -  นิยมในกุศลธรรม

            ๖.  อโกเธ                    -  ไม่โกรธ

            ๗.  อวิหึสาย                 -  ไม่พยาบาท

            ๘.  สจฺเจ                      -  ตั้งมั่นในสัจจะ

            ๙.  โสเสยฺเย                -  ตั้งอยู่ในกุศล

            ๑๐.เมตฺเตยฺเย            -  ประกอบด้วยเมตตา (เอกนิบาตชาดก)

พระเวสสันดรถือศีลอะไร

            แท้จริงพระฤåษีล้วนถือศีล ๕ เหมือนกันหมด ต่างแต่ถือเคร่งเป็นพิเศษ คือไม่เกี่ยวข้องในเรื่องเพศ สำหรับพระเวสสันดรบวชเป็นฤåษีโดยสมาทาน ศีล ๕ ดังนี้

            ๑.  เว้นฆ่าสัตว์

            ๒.  เว้นลักทรัพย์

            ๓.  เว้นพูดมุสาวาท

            ๔.  เว้นดื่มน้ำเมา

            ๕.  เว้นนอนกับสตรี

            ศีลของพระเวสสันดรผิดกับศีล๕ของเก่าเพราะศีล๕ โบราณนั้นผู้สมาทานยังนอนกับภรรยาได้

ปฏิสัมภิทา         ปัญญาที่แตกฉาน ๔ คือ

                                    ๑.  อรรถปฏิสัมภิทา  ปัญญาที่แตกฉานในอรรถหรือผล

                                    ๒.  ธรรมปฏิสัมภิทา  ปัญญาที่แตกฉานในธรรมหรือเหตุ

                                    ๓.  นิรุตติปฏิสัมภิทา  ปัญญาที่แตกฉานในนิรุตติได้แก่ภาษา

                                    ๔.  ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  ปัญญาที่แตกฉานในปฏิภาณ คือความไหวพริบ

                                    ปฏิสัมภิทา ๔ นี้ เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์บางรูป

เบญจวัคคีย์         ภิกษุจำพวกหนึ่งมี ๕ รูป ผู้ได้ฟังธรรมเทศนาทีแรก คือ

                                    ๑.  พระอัญญาโกณฑัญญะ     ๒.  พระวัปปะ

                                    ๓.  พระภัททิยะ                    ๔.  พระมหานามะ

                                    ๕.  พระอัสสชิ

จตุตถฌาณ         ฌาณที่ ๔ ฌาน ความเพ่งอารมณ์ มี ๔ ชั้น คือ

                                    ๑.  ปฐมฌาณ  มีองค์ ๕ คือ วิตก(ตรึก), วิจาร(ตรอง),  ปีติ(อิ่มใจ),  สุข,

                                    เอกัคคตา(ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)

                                    ๒.  ทุติยฌาณ  มีองค์ ๓ คือ ปีติ,  สุข,  เอกัคคตา

                                    ๓.  ตติยฌาณ  มีองค์ ๒ คือ สุข,  เอกัคคตา

                                    ๔.  จตุตถฌาณ  มีองค์ ๒ คือ เอกัคคตา,  อุเบกขา(ความวางเฉย)

อภิญญาณ(อภิญญา)  ความรู้วิเศษซึ่งเป็นทางพระนิพพาน๖ คือ

                                    ๑.  อิทธิวิธี                            ทำฤทธิ์ได้ต่างๆ

                                    ๒.  ทิพพโสต                        หูทิพย์

                                    ๓.  เจโตปริยญาณ                 กำหนดรู้จิตของผู้อื่นได้

                                    ๔.  บุพเพนิวาสานุสสติ            ระลึกชาติได้

                                    ๕.  ทิพพจักขุ                        ตาทิพย์

                                    ๖.  อาสวักขยญาณ                 รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

ฉัพพรรณรังสิโยภาส    แสงสว่างพระรัศมี ๖ คือ

                                    ๑.  นีละ                                 เขียวเหมือนดอกอัญชัน

                                    ๒.  ปีตะ                                 เหลืองเหมือนหรดาลทอง

                                    ๓.  โลหิตะ                             แดงเหมือนตะวันอ่อน

                                    ๔.  โอทาตะ                            ขาวเหมือนแผ่งเงิน

                                    ๕.  มัญเชฏฐะ                         หงสบาท,เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่

                                    ๖.  ปภัสสร                             เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

ภัทรกัป                         แปลว่ากัปอันเจริญเป็นชื่อของกัปปัจจุบันนี้ กล่าวว่ามีพระพุทธเจ้าบังเกิด

                                    ๕ พระองค์  กัปหมายถึงอายุของโลกนับแต่ต้นจนถึงสิ้นโลก มีชื่อเป็น ๖

                                    ดังนี้

                                    ๑.  สารกัป                         มีพระพุทธเจ้าบังเกิด  ๑  พระองค์

                                    ๒.  มัณฑกัป                      มีพระพุทธเจ้าบังเกิด  ๒  พระองค์

                                    ๓.  วรกัป                           มีพระพุทธเจ้าบังเกิด  ๓  พระองค์

                                    ๔.  สารมัณฑกัป                 มีพระพุทธเจ้าบังเกิด  ๔  พระองค์

                                    ๕.  ภัทรกัป                        มีพระพุทธเจ้าบังเกิด  ๕  พระองค์ดั่งกัปนี้

                                    ๖.  สุญญกัป                      เป็นกัปว่างไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิด

ทศพลญาณ ๑๐ คือ ๑.  ฐานาฐานญาณ                รู้เหตุที่ควรเป็นได้และมิใช่เหตุที่ควรเป็นได้

                                    ๒.  วิปากญาณ                  รู้ผลของกรรม

                                    ๓.  สัพพัตถคามิมัคคญาณ   รู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง

                                    ๔.  นานาธาตุญาณ             รู้ธาตุต่างๆ

                                    ๕.  นานาธิมุตติกญาณ        รู้อัธยาศัยแห่งสัตว์อันเป็นต่างๆกัน

                                    ๖.  ปโรปริยัตตญาณ           รู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์

                                                                          ทั้งหลาย  เป็นต้น

                                    ๗.  ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ  รู้อาการมีเศร้าหมองแห่งธรรมมีฌาณ เป็นต้น                                     

                                    ๘.  บุพเพนิวาสานุสสติญาณ  รู้ระลึกชาติก่อนได้

                                    ๙.  จุตูปปาตญาณ               รู้จุติและปฏิสนธิแห่งสัตว์ที่ต่างกันโดยกรรม

                                    ๑๐.อาสวักขยญาณ              รู้จักทำอาสวะให้สิ้น

เบญจบุรพนิมิต        ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน ๕ คือ

                                    ๑.  ทิพยมาลาที่ประดับวิมานเหี่ยวแห้ง

                                    ๒.  ผ้าทรงเศร้าหมอง

                                    ๓.  เสโทไหลออกมาจากรักแร้ทั้งสองข้าง

                                    ๔.  ผิวพรรณหม่นหมองไม่ผ่องใส

                                    ๕.  เบื่อหน่ายทิพยอาสน์

สัตปริภัณฑคิรี          เขาเจ็ดทิวที่ล้อมเขาพระสุเมรุ คือ

                                    ๑.  ยุคนธร               ๒.  อิสินธร               ๓.  กรวิก

                                    ๔.  สุทัส                  ๕.  เนมินธร              ๖.  วินตก          ๗.  อัสกัณ

ฉกามาพจรสวรรค์     สวรรค์ ๖ ชั้น คือ

                                    ๑.  จาตุมหาราช        ๒.  ดาวดึงส์             ๓.  ยามา

                                    ๔.  ดุสิต                 ๕.  นิมมานรดี           ๖.  ปรนิมมิตวสวดี

โสฬสพิมาน               พรหม ๑๖ ชั้น ซึ่งเป็นชั้นของผู้ได้ฌานแล้วไปเกิด คือ

                                    ๑.  พรหมปาริสัชชา   เมื่อได้ปฐมฌานอย่างต่ำ

                                    ๒.  พรหมปุโรหิตา      เมื่อได้ปฐมฌานอย่างกลาง

                                    ๓.  มหาพรหมา         เมื่อได้ปฐมฌานอย่างประณีต

                                    ๔.  ปริตตาภา           เมื่อได้ทุติยฌานอย่างต่ำ

                                    ๕.  อัปปมาณาภา      เมื่อได้ทุติยฌานอย่างกลาง

                                    ๖.  อาภัสสรา            เมื่อได้ทุติยฌานอย่างประณีต

                                    ๗.  ปริตตสุภา           เมื่อได้ตติยฌานอย่างต่ำ

                                    ๘.  อัปปมาณสุภา     เมื่อได้ตติยฌานอย่างกลาง

                                    ๙.  สุภกิณหกา          เมื่อได้ตติยฌานอย่างประณีต

                                    ๑๐.อสัญญีสัตตา      เมื่อได้จตุตถฌาน    

                                    ๑๑.เวหัปผลา           เมื่อได้จตุตถฌาน    

                                    ๑๒.อวิหา                 เมื่อได้จตุตถฌาน    

                                    ๑๓.อตัปปา              เมื่อได้จตุตถฌาน    

                                    ๑๔.สุทัสสา             เมื่อได้จตุตถฌาน    

                                    ๑๕.สุทัสสี               เมื่อได้จตุตถฌาน    

                                    ๑๖.อกนิฏฐกา           เมื่อได้จตุตถฌาน    

ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ คือ

                                    ๑.  สติ                     ความรู้ทั่วไป

                                    ๒.  สัมมติ                ความรู้กฎธรรมเนียม

                                    ๓.  สังขยา                การคำนวณ

                                    ๔.  โยค                    การใช้เครื่องยนตร์กลไก

                                    ๕.  นีติ                     ความรู้นีติ(คือแบบแผน)

                                    ๖.  วิเสสกา              ความรู้พยากรณ์

                                    ๗.  คันธัพพา            การร้องรำและดนตรี

                                    ๘.  คณิกา                ความแคล่งคล่องด้วยกำลังกาย

                                    ๙.  ธนุพเพธา           การยิงธนู

                                    ๑๐.  ปุราณา            การรู้เรื่องโบราณ

                                    ๑๑.  ติกิจฉา             วิชาแพทย์

                                    ๑๒.  อิติหาสา           คำโศลกเรื่องวีรบุรุษเช่นเรื่องมหาภารตยุทธ์

                                    ๑๓.  โชติ                 วิชาดาว

                                    ๑๔.  มายา               วิชาพิชัยสงคราม

                                    ๑๕.  ฉันทติ              วิชาประพันธ์

                                    ๑๖.  เกตุ                  วิชาพูด

                                    ๑๗.  มันตา              วิชาเสกเป่า

                                    ๑๘.  สัททา              วิชาไวยากรณ์

                                                                                       (จากโลกนิติไตรพากย์)

ฉทานศาลา               โรงทาน ๖ แห่ง คือ

                                    ๑.  ที่ประตูพระนครทิศปราจีน(ตะวันออก)

                                    ๒. ที่ประตูพระนครทิศทักษิณ(ใต้)

                                    ๓. ที่ประตูพระนครทิศประจิม(ตะวันตก)

                                    ๔. ที่ประตูพระนครทิศอุดร(เหนือ)

                                    ๕.  ที่ท่ามกลางพระนคร

                                    ๖.  ที่ประตูพระราชนิเวศน์

พราหมณ์ ๘ คน   นั้นมีชื่อดังนี้

                                    ๑.  รามะ                 ๒.  ธชะ                   ๓.  ลักขณะ

                                    ๔.  สุชาติมันตะ         ๕.  ยัญญะ              ๖.  สุชาต

                                    ๗.  สุยาม                 ๘.  โกณฑัญญะ

ไตรเพท ความรู้ ๓ อย่าง  เป็นชื่อคัมภีร์แสดงลัทธิไสยศาสตร์ดั้งเดิมของพราหมณ์ คือ

                                    ๑.  ฤคเวท  คำฉันท์อ้อนวอนและสรรเสริญพระเจ้าต่างๆ

                                    ๒.  ยชุรเวท  คำร้อยแก้วใช้สาธยายในเวลาบูชาบวงสรวง

                                    ๓.  สามเวท  คำฉันท์ใช้สวดในพิธีถวายน้ำโสม

จตุรงคเสนา              เสนา ๔ เหล่า คือ

                                    ๑.  หัตถานึก  เหล่าช้าง       ๒. รถานึก  เหล่ารถ

                                    ๓.  อัศวานึก  เหล่าม้า         ๔. ปัตตานึก  เหล่าราบ

อรุณรังสี                     แสงอรุณ ๓ คือ

                                    ๑.  เสตารุณ  อรุณสีขาว(แสงเงิน)             

                                    ๒.  สุวัณณารุณ  อรุณสีเหลือง(แสงทอง)

                                    ๓.  ตามพารุณ     อรุณสีแดง(แสงทองแดง)

สุคนธชาติ                  มี ๑๐ คือ

                                    ๑.  มูลคันธะ        รากหอม      ๒.  สารคันธะ   แก่นหอม

                                    ๓.  เผคคุคันธะ    กระพี้หอม    ๔.  ตจคันธะ     เปลือกหอม

                                    ๕.  ปัปปฏกคันธะ  สะเก็ดหรือกะเทาะหอม

                                    ๖.  รสคันธะ                           ยางหอม    ๗.  ปัตตคันธะ  ใบหอม

                                    ๘.  บุปผคันธะ                        ดอกหอม   ๙.  ผลคันธะ     ผลหอม

                                    ๑๐.สัพพคันธะ                      หอมทุกอย่าง

ช้างสาร ๑๐ ตระกูล   ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ

                                    ๑.  กาฬาวกหัตถีสีดำ             

                                    ๒.  คังไคยหัตถี     สีน้ำ

                                    ๓.  บัณฑรหัตถี    สีขาวดั่งเขาไกลาส

                                    ๔.  ตามพหัตถี     สีทองแดง 

                                    ๕.  ปิงคลหัตถี     สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว

                                    ๖.  คันธหัตถี       ช้างตระกูลนี้มีกลิ่นตัวหอม สีไม้กฤษณา

                                    ๗.  มังคลหัตถี     ช้างตระกูลนี้กิริยาท่าทางเวลาเดินงดงาม สีนิลอัญชัน

                                    ๘.  เหมหัตถี        สีเหลืองดั่งสีทอง

                                    ๙.  อุโบสถหัตถี   สีทองคำ      

                                    ๑๐.ฉัททันตหัตถี    ช้างตระกูลนี้สีกายขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้ามีสีแดง   

                                    ช้าง ๑๐ ตระกูลนี้ กล่าวไว้ว่ามีกำลังยิ่งกว่ากันเป็น ๑๐ เท่าโดยลำดับ

พรหมวิหาร               ธรรมเป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ ๔ คือ

                                    ๑.  เมตตา           คิดจะให้เขาเป็นสุข

                                    ๒.  กรุณา            คิดจะช่วยเขาให้พ้นทุกข์

                                    ๓.  มุทิตา            พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

                                    ๔.  อุเบกขา          ความวางเฉยมัธยัสถ์

สมดึงสบารมี               บารมี ๓๐ คือ

                                    ๑.  ทานบารมี           ๒.  ศีลบารมี           ๓.  เนกขัมมบารมี(ออกบวช)

                                    ๔.  ปัญญาบารมี       ๕.  ขันตีบารมี         ๖.  วิริยบารมี

                                    ๗.  สัจจบารมี           ๘.  อธิฏฐานบารมี   ๙.  เมตตาบารมี

                                    ๑๐.อุเบกขาบารมี

                                    แล้วจัดเป็นอุปบารมี(อย่างกลาง) อีก ๑๐ ปรมัตถบารมี(อย่างสูง) อีก๑๐

                                    รวมเป็น ๓๐ ด้วยกัน  เรียกว่า  สมดึงสบารมี

สุบินนิมิต                    เหตุแห่งความฝัน ๔ คือ

                                    ๑.  ธาตุโขภ              เกิดจากความกำเริบแห่งธาตุ๔

                                    ๒.  อนุภูตบุพพะ       เกิดจากอารมณ์ซึ่งเคยเสวยแล้วในกาลก่อน

                                    ๓.  เทวโตปสังหรณ์    เกิดจากเทวดาสังหรณ์

                                    ๔.  บุพพนิมิต           เกิดจากลางที่บอกเหตุขึ้นก่อนเป็นส่วนดีและชั่ว

                                    ท่านเรียกให้คล้องกันว่าบุรพนิมิต จิตนิวรณ์ เทพสังหรณ์ ธาตุโขภ ดังนี้ก็มี

บุรุษโทษ ๑๘ ประการ คือ

                                    ๑.  พลังกบาท           เท้าทั้งสองข้างใหญ่และคด

                                    ๒.  อัทธนขะ             เล็บทั้งหมดกุด

                                    ๓.  โอพัทธปิณฑิกะ   ปลีน่องทู่ยานลงภายใต้

                                    ๔.  ทีโฆตตโรฏฐะ      ริมฝีปากบนยาวปิดริมฝีปากล่าง

                                    ๕.  จปละ                 น้ำลายไหลออกเป็นยางยืดทั้งสองแก้ม

                                    ๖.  กฬาระ                เขี้ยวงอกออกพ้นปากเหมือนเขี้ยวหมู

                                    ๗.  ภัคคนาสิกะ        จมูกหักฟุบดูน่าชัง

                                    ๘.  กุมโภทร              ท้องป่องเป็นกระเปาะดั่งหม้อใหญ่

                                    ๙.  ภัคคปิฏฐิ            สันหลังไหล่หักค่อมคดโกง

                                    ๑๐.วิสมจักขุ             ตาถล่มลึกทรลักษณ์  ข้างหนึ่งเล็ก ข้างหนึ่งใหญ่

                                                                  ไม่เสมอกัน

                                    ๑๑. โลหมัสสุ           หนวดเครามีพรรณดั่งลวดทองแดง

                                    ๑๒. หริตเกส             ผมโหรงเหลืองดั่งสีลาน

                                    ๑๓. วลีนะ                ตามตัวสะครานคล่ำด้วยแถวเอ็นนูนเกะกะ

                                    ๑๔. ติลกาหตะ         มีต่อมแมลงวันและตกกระดั่งโรยงา

                                    ๑๕. ปิงคละ             ลูกตาเหลือกเหล่เหลืองดั่งตาแมว

                                    ๑๖. วินตะ                ร่างกายคดค้อมในที่ทั้งสาม คือ คอ หลัง สะเอว

                                    ๑๗. วิกฏะ                เท้าทั้งสองเหหันห่างเกะกะ

                                    ๑๘. พรหาขระ          ขนตามตัวยาวหยาบดั่งแปรงหมู

(บุรุษโทษ ๑๘ มีอยู่ในคาถากัณฑ์กุมาร)

ปัญจมหาบริจาค           การบริจาคมหาทาน ๕ คือ

                                    ๑.  ธนบริจาค           สละทรัพย์สมบัติเป็นทาน

                                    ๒.  อังคบริจาค          สละองคาพยพเป็นทาน

                                    ๓.  ชีวิตบริจาค          สละชีวิตเป็นทาน

                                    ๔.  บุตรบริจาค          สละลูกเป็นทาน

                                    ๕.  ภริยาบริจาค        สละเมียเป็นทาน

เนาวรัตน์                    แก้ว ๙ ประการ คือ

                                    ๑.  เพชร                  ๒.  ทับทิม                ๓.  มรกต            

                                    ๔.  เพทาย               ๕.  บุษราคัม             ๖.  นิล               

                                    ๗.  มุกดา                 ๘.  โกเมน                ๙.  ไพฑูรย์

สัตรัตน์                       แก้ว ๗ คือ

                                    ๑.  สุวรรณ               ๒.  หิรัญ                  ๓.  มุกดาหาร       ๔.  มณี

                                    ๕.  ไพฑูรย์              ๖.  วิเชียร                 ๗.  ประพาฬ

ไตรภพ                        คือ                          

                                    ๑.  กามภพ (ชั้นกามาพจร คือมนุษย์และเทวดา)

                                    ๒.  รูปภพ    (ชั้นรูปาพจร   คือพรหมมีรูป)

                                    ๓.  อรูปภพ  (ชั้นอรูปาพจรคือพรหมไม่มีรูป)

ปฏิสันถาร                  การต้อนรับ ๒ คือ

                                    ๑.  อามิสปฏิสันถาร   การต้อนรับด้วยอามิส

                                    ๒.  ธรรมปฏิสันถาร    การต้อนรับด้วยธรรม

ไตรสิกขา                   คือ

                                    ๑.  ศีลสิกขา             การศึกษาทางศีลคือรักษากายวาจาเรียบร้อยดีงาม

                                    ๒.  สมาธิสิกขา         การศึกษาทางสมาธิคือความตั้งใจมั่น

                                    ๓.  ปัญญาสิกขา       การศึกษาทางปัญญาคือความรอบรู้

เบญจราชกกุธภัณฑ์  วัตถุ เครื่องหมายความเป็นพระราชา ๕ อย่าง

                                    ๑.  พระพิชัยมงกุฎ              ๒.  พระแสงขรรค์ชัยศรี

                                    ๓.  ธารพระกร                    ๔.  ก.  พัดวาลวิชนี   ข. แส้จามรี

                                    ๕.  ฉลองพระบาท

                                    อีกนัยหนึ่ง

                                    ๑.  พระเศวตฉัตร               ๒.  พระมหาพิชัยมงกุฎ

                                    ๓.  พระแสงขรรค์ชัยศรี       ๔.  ก.  พัดวาลวิชนี   ข. แส้จามรี

                                    ๕.  ฉลองพระบาท

จตุรปาเยศอบายภูมิ  มี ๔ อย่าง คือ  ๑. นรก        ๒. เปรต        ๓. อสุรกาย        ๔. ดิรัจฉาน

ทศพิธราชธรรม         มี ๑๐ คือ

                                    ๑.  ทาน            การที่พระราชทานเป็นกำหนดเฉพาะบุคคล

                                    ๒.  ศีละ            การที่ทรงรักษามรรยาทกายวาจาดีงาม

                                    ๓.  บริจาคะ       การที่ทรงบริจาคเป็นสาธารณประโยชน์

                                    ๔.  อาชชวะ       พระอัธยาศัยตรงดำรงในสุจริตธรรม

                                    ๕.  มัททวะ        พระอัธยาศัยอ่อนสุขุม

                                    ๖.  ตปะ            การที่ทรงขจัดเผาผลาญความชั่ว

                                    ๗.  อโกธะ         การที่ไม่ทรงกริ้วโกรธโดยใช่วิสัย

                                    ๘.  อวิหิงสา      การที่ทรงพระกรุณาไม่เบียดเบียนผู้อื่น

                                    ๙.  ขันตี           การที่ทรงอดทน

                                    ๑๐.อวิโรธนะ     การที่ไม่ผิดจากสิ่งที่ตรงและไม่ยินร้าย

บุตร(ปุตต)                  ลูก ๓ คือ

                                    ๑.  อนุชาตบุตร  ลูกที่มีคุณสมบัติเสมอด้วยตระกูลของตน

                                    ๒.  อภิชาตบุตร  ลูกที่มีคุณสมบัติดีกว่าตระกูลของตน

                                    ๓.  อวชาตบุตร  ลูกที่มีคุณสมบัติต่ำกว่าตระกูลของตน

เบญจางคประดิษฐ์      การกราบไหว้ ตั้งอวัยวะ ๕ อย่างลงกับพื้น คือ เข่า ๒  มือ ๒  ศีรษะ๑

                                    จดลงกับพื้น

จตุปาริสุทธิศีล               ศีลคือความหมดจด ๔ คือ

                                    ๑.  ปาฏิโมกขสังวรศีล  ศีลคือ ความสำรวมในปาฏิโมกข์

                                    ๒.  อินทรียสังวรศีล  ศีลคือ สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖

                                    ๓.  อาชีวปาริสุทธิศีล  ศีลคือ ความหมดจดเพราะหาเลี้ยงชีพโดย

                                    ชอบธรรม

                                    ๔.  ปัจจัยสันนิสสิตศีล  ศีลคือ อาศัยปัจจัย ๔

วิสาขบูชา                  การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพาน

                                    ของพระพุทธเจ้า

(เป็นคำพระอรรถกถาจารย์นำเอากิจการภายหลังมาเปรียบ)

อัฐบาน                         น้ำผลไม้สำหรับทำน้ำเครื่องดื่ม ๘ อย่าง คือ

                                    ๑.  อัมพบาน     น้ำผลมะม่วง

                                    ๒.  ชมพุบาน     น้ำผลชมพู่หรือน้ำผลหว้า

                                    ๓.  โจจบาน       น้ำผลกล้วยมีเมล็ด

                                    ๔.  โมจบาน      น้ำผลกล้วยไม่มีเมล็ด

                                    ๕.  มธุกบาน      น้ำผลมะซาง

                                    ๖.  มุททิกบาน   น้ำผลจันทน์หรือผลองุ่น

                                    ๗.  สาลุกบาน    น้ำเหง้าบัว

                                    ๘.  ผารุสกบาน  น้ำผลมะปรางหรือลิ้นจี่

นิกขสต “ทองร้อยนิกข” ๑  นิกข  =  ๑๕  กหาปณ. มีที่แปล ร้อยนิกข ว่าร้อ ยลิ่ม, 

                                    และแปล กหาปณ ว่าตำลึง.  เพราะฉะนั้นทองร้อยนิกข ก็คือ ๑๐๐ ลิ่ม

                                    หรือ ๑,๕๐๐ ตำลึง แต่ในที่นี้ว่า พันตำลึง ควรจะเป็นพันห้าร้อยตำลึง

                                    ในกัณฑ์มหาราชว่าร้อยตำลึง คงเป็นการคลาดเคลื่อนแห่งความประพันธ์ 

                                    ซึ่งจะต้องตรงกับปาฐเดิมที่แปลว่า ๑๐๐ ลิ่ม  หรือ ๑,๕๐๐ ตำลึง นั่นเอง

ฝนโบกขรพรรษ         เป็นฝนอันมหัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อน มีความมหัศจรรย์ ๔ อย่าง ดังนี้

                                 ๑. มีเม็ดน้ำฝนแดงเรื่อ เหมือนแก้วทับทิม

                                 ๒. ผู้ใดปรารถนาให้เปียกก็เปียก ผู้ไม่ปรารถนาแม้ละอองก็ไม่สัมผัสผิวกาย

                                 ๓. ตกลงมาแล้วไม่เลอะเทอะขังนอง ก่อให้เกิดโคลนตมพอฝนหาย แผ่นดินก็สะอาด

                                 ๔. ตกลงเฉพาะในสมาคมพระญาติวงศ์ ไม่มีผู้อื่นอยู่ร่วมประชุมด้วย

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons