วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

สรุปอิทธิพลของหลักคำสอนมีต่อคำสอนอีสาน

222329_183706525013230_100001216522700_534182_5374358_nสรุปอิทธิพลของหลักคำสอนมีต่อคำสอนอีสาน
๕.๑.๑ หลักบาปกรรม
    พระพุทธศานามีจุดมุ่งหมายสั่งสอนให้คนกระทำความดีเว้นการกระทำความชั่วและชำละจิตใจให้สะอาดผ่องใส่  ผู้ใดประกอบแต่ความดี  กรรมดีย่อมตอบสนอง  และในทางตรงกันข้ามถ้าหากว่าบุคคลใดกระทำแต่กรรมชั่ว  กรรมชั่วย่อมตอบสนองเช่นเดียวกัน  ผู้ใดกระทำกรรมอย่างใดไว้ผลกรรมย่อมส่องผลให้ได้รับความทุกข์  กรรมเป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนการของวัฏฏะ  คือ  กิเลส  กรรม  วิบาก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมที่มีผลเริ่มจากมีกิเลสที่เป็นต้นเหตุให้สร้างกรรม  จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับผลของกรรม  ดังพระพุทธภาษิตว่า  “บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น  ผู้ทำกรรมดี  ย่อมได้รับผลดี  ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”๑  ไม่มีใครหลีกหนีผลกรรมนั้นพ้นไปได้  หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของสุภาษิตอีสาน  เพื่อมุ่งสอนให้คนเลิกกระทำกรรมชั่ว  เพราะความชั่วนั้น  “บุคคลทำแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง    เป็นผู้มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา  ร้องให้  เสวยผลของกรรมอันใดอยู่  กรรมอันนั้นอันบุคคลทำแล้วไม่ดี  นั้นคือกรรมชั่ว”๒  คำสอนของชาวอีสานก็มุ่งเน้นให้คนได้ระมัดระวังในการกระทำกรรมเช่นเดียวกัน  เพราะถ้าบาปกรรมมาถึงแล้วย่อมไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางไม่ให้กรรมนั้นส่งผลได้  ดังสุภาษิตว่า
    บ่มีใผหนีได้เวรังหากเทียมอยู่    เวรมาฮอดแล้วซิไปเว้นได้ทีใด
บ่มีใผเถียงใด้เวรังหากเป็นใหญ่    เวรตายวายเกิดขึ้นหนี้เว้นหลีกบ่เป็น๓

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรมว่า  “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง  เป็นทายาทแห่งกรรมขนตนเอง  มีกรรมเป็นแดนเกิด  มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์  มีกรรมเป็นที่พึ่ง  กรรมใดก็ตามที่ทำลงไปดีหรือชั่ว  เขาย่อมจะเป็นทายาทแห่งกรรมนั้น๔  อิทธิพลของพระพุทธศาสนสุภาษิตเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในหลักคำสอนอีสานเช่นกันคือสุภาษิตคำสอนอีสานนั้นสอนให้รู้ว่าบุญหรือบาปกรรมนั้นส่งผลทุกย้างก้าวเปรียบเสมือนเงาที่ติดตามตัวของบุคคลไปทุกย้างก้าวจะนั่งหรือนอนกรรมนั้นย่อมติดตามให้ผลเสมอ    ดังคำสอนว่า
    บุญบาปนี้เป็นคู่คือเงาฮั่นแล้ว        เงาหากไปนำเฮาคู่วันบ่อมีเว้น
    คันว่าเฮาพาเล่นพามันเต้นแหล่น        พามันแอะแอ่นฟ้อนเงาซ้ำกะแอ่นนำ
    คันเฮานั่งหย่องย่อเงานั้นก็นั่งลงนำ    ยามเฮาเอนหลังนอนกะอ่อนลงนอนนำ
    คันเฮาโตนลงห้วยภูซันหลายหลั่น    หรือว่าขึ้นต้นไม้ผาล้านดั่นเขา
    เงากะติดตามเกี้ยวแกะเกี่ยวพันธะนัง    บ่อห่อนมียามเหินห่างไกลกันได้
    อันนี้ฉันใดแท้ทั้งสองบุญบาป        มันหากติดตามก้นนำผู้ทำกรรมนั้น๕
สุภาษิตอีสานหลายๆเรื่องที่แสดงถึงสาระของหลักคำสอนแทรกอยู่ในบทประพันธ์เพราะกวีผู้แต่งสุภาษิตอีสานได้ถ่ายทอดเอาสภาพแวดล้อมในสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่  รวมทั้งความเชื่อเรื่องกรรมตลอดถึงคติธรรมที่ยอมรับปฏิบัติกันในสังคม  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชนชาวไทยอีสานทั่วไป  ด้วยเหตุนี้เองสุภาษิตอีสานจึงมีลักษณะของคำสอนที่มีการแฝงเอาธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสุภาษิตอีสาน “ ซาติที่สงสารซ้งกงเกวียนกลมฮอบ  บาดเถื่อเวรมาฮอดเจ้าสิวอนไหว้ใส่ผู้ใด”(26/ภาษิต) เป็นคำสอนที่มุ่งสอนให้เข้าใจในเรื่องของกรรมนั้นส่องผลในลักษณะเป็นวัฏฏะ  คือสามารถส่งผลไปสู่อนาคตได้ด้วยดังมีพระพุทธภาษิตว่า   
    “ ธัญชาติ  ทรัพย์สิน  เงินทอง หรือสิ่งของที่ห่วงแหนอย่างใดอย่าง
    หนึ่งที่มีอยู่  ทาสกรรมกร  คนงาน  คนอาศัย  พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้ง
    สิ้นจะต้องถูกทิ้งไว้ทั้งหมด… แต่บุคคลทำกรรมใด  ด้วยกาย  ด้วย
วาจา  หรือด้วยใจ  กรรมนั้นแหละเป็นของเข้า  และเขาย่อมพาเอา
กรรมนั้นไป  อนึ่ง  กรรมนั้นย่อมติดตามเขาไปเหมือนเงาติดตามตน
ฉะนั้น… ฉะนั้น  บุคคลควรทำความดี  สั่งสมสิ่งที่จะเป็นประโยชน์
ภายหน้าความดีทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ในปรโลก สํ.ส. 15/392/134“
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรมซึ่งแนวคำสอนเรื่องกรรมนี้เป็นลักษณะของกรรมชรูป  คือรูปที่เกิดมาจากกรรมส่งผลให้จะเป็นคนหรือสัตว์  ได้ร่างกายมาเป็นตัวตนเพราะกรรมเป็นผู้ตกแต่งให้  ซึ่งมนุษย์แต่งเอาเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็ตามแต่ก็ไม่สามารถจัดการให้สวยงามไม่ได้  เปรียบเหมือนพ่อแม่เป็นเช่นเรือน  ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน  สวยแล้วแต่เรือนเกิดไม่เป็นปัญหา  ดังนั้นพระพุทธศาสนจึงสอนให้ทำกรรมดี  เพื่อจะได้มีความสุข  และเมื่อตายไปแล้วหากมาเกิดอีกก็จะได้เกิดมาเป็นคนดี   ซึ่งบุญกรรมเป็นผู้ส่งผลข้ามภพข้ามชาติให้บุคคลทั้งหลายในโลกนี้เป็นไปตามอำนาจของกรรม  และกระบวนการให้ผลของกรรมที่ส่งผลต่อชีวิตมนุษย์  เพราะกรรมเป็นผู้จำแนกชีวิตมนุษย์นั้นให้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันตามอำนาจของกรรมเป็นผู้ส่งผลมาในชาติปัจจุบัน ดังพระพุทธภาษิต   “ถ้าท่านกลัวทุกข์  ก็อย่าทำกรรมชั่ว  ทั้งในที่ลับที่แจ้ง  ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่ว  ถึงแม้จะเหาะหนีไป  ก็ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์ได้เลย )ขุ อุ 25/115/150  และที่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร  มีพระพุทธดำรัสว่า 
“มนุษย์  ชายหรือหญิงที่มีอายุสั้น  เพราะกรรม  ที่มีอายุยืนยาวก็เพราะกรรม
ชายหรือหญิงที่มีผิวพรรณงดงามหรือขี้เหล่ก็เพราะกรรม  …ชายหรือหญิง
ที่มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจก็เพราะกรรม  ..ชายหรือหญิงที่มีโภคะทรัพย์
สมบัติมากหรือโภคะน้อยก็เพราะกรรม  ..ชายหรือหญิงที่เกิดในตระ
กูลสูงหรือต่ำก็เพราะกรรมส่งผลมาให้  .. ชายหรือหญิงที่มีปัญญามากหรือ
มีปัญญาน้อยก็เพราะกรรม  (ม.อุ 14/579-597
คำสอนอีสานนั้นเน้นถึงหลักการที่มองเห็นเพียงความดีหรือความงามในปัจจุบันเป็นหลักเกณฑ์  ดังคำสุภาษิตที่ว่า  “ เป็นคนนี้ให้ทำเนียมคือนกเจ่า  บาดว่าบินขึ้นฟ้า  ขาวแจ้งดั่งนกยาง”(บุญเกิด/28) หมายความว่าเป็นคนให้รู้จักดำรงตนในทางที่สะอาดบริสุทธิ์  รู้จักดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย  ไม่ว่าเป็นหญิงหรือชาย  ตามทัศนะของคำสอนอีสานนั้นมุ่งสอนให้รู้ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว  บุญบาปนั้นจะติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือความชั่ว  ซึ่งจะอำนวยความดีให้ในลักษณะของความเจริญก้าวหน้าในชีวิตปัจจุบันด้วยอำนาจของบุญเก่าดังสุภาษิตว่า
                      “บุญมีใดเป็นนายใช้เพิ่น    บุญบ่ให้เขาสิใช้ตั้งแต่เฮา
                     บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่        บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม
บุญมีได้เป็นนายให้เขาเพิ่ง    คันว่าบุญบ่พร้อมแสนซิดิ้นกะเปล่าดาย
คอนแต่บุญมาค้ำบ่ำทำการมันบ่แม่น    คอยแต่บุญส่งให้มันสิใดฮอมใด
คือดังเฮากินมีเข้าบ่เอากินมันบ่อิ่ม    มีลาบคับบ่เอาเข้าคุ้ยทางท้องบ่ห่อนเต็ม(ย่า)
กรรมตามความเข้าใจของชาวอีสานอีกอย่างหนึ่ง  คือเคราะห์กรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนาจะพบซึ่งส่วนมากจะเป็นคำสอนให้รู้จักว่าถ้าชายหรือหญิงได้รับสิ่งที่ตนเองไม่อยากได้เท่าใดหนักมักจะโยนความผิดให้แก่กรรมเก่าของตัวเองสร้างมาไม่ดี  ดังสุภาษิตว่า
ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า    ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง
กรรมแบ่งบั้นปั้นป่อนมาพบ        บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ( ดร.ปรีชา
กรรมอีกนัยหนึ่งซึ่งหมายถึงการหมดบุญที่ชาวบ้านเรียกว่าสิ้นบุญกรรมหมายถึงความตายหรือถึงแก่กรรม  เพราะว่าไม่มีใครต่อต้านกับอำนาจของพระยามัจจุราชได้ดังสุภาษิตว่า
“ ซื่อว่ากรรมมาเถิงแล้วจำใจจำจาก    บ่มีไผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา
ซื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาทย่าง    ไผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว
อันว่าโลกีย์นี้บ่มีแนวตั้งเทียง        มีแต่ตายแต่ม้างทะลายล้มเกลื่อนหาย
อันว่าความยม้างไกลกันเจียระจาก    คันบ่ม้มโอฆะกว้างซิเที่ยวพ้ออยู่เลิง(ย่าปรีชา)
ทุกข์
การขยายกฏของกรรมได้แบ่งกุศลและอกุศลไว้อย่างชัดเจนว่ามนุษย์ที่ทำกุศลไว้เกิดมาก็มีบุญอุปถัมภ์  ส่วนผู้ที่ทำอกุศลไว้มักจะพบแต่ความยากไร้ลำบาก  ชีวิตมีแต่ความทุกข์เรื่องอย่างนี้พระพุทธศาสนามองว่ามนุษย์ทุกข์ชนชาติย่อมมีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือความทุกข์อันมีประจำร่างกาย เรียกว่าทุกข์อริยสัจ  ได้แก่ความเกิด  ความแก่  ความตาย  ซึ่งมีประจำสังขารและปกิณกะทุกข์คือความทุกข์ที่จรมาในบ้างครั้งเท่านั้นคือ ความโศก  ความระทมทุกข์  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ  ความคับแค้นใจ  ซึ่งมีแก่ภาวะจิตใจตลอดถึงร่างกายเป็นบางครั้งบางคราว  ความไม่สมหวังในสิ่งอันเป็นที่รัก  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รับที่ชอบไปก็เป็นทุกข์  โดยสรุปแล้วว่าขันธ์  ๕ คือความทุกข์  ดังพระพุทธภาษิตว่า 
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ทุกข์อริยสัจนี้แล  คือความเกิดก็เป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์  ความตายก็เป็นทุกข์  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์
โทมนัส  อุปายาส  เป็นทุกข์  ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่
รักก็เป็นทุกข์  ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก  ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้  แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์  กล่าวโดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕  เป็นทุกข์ ๖ 
นักปราชญ์อีสานมองชีวิตเฉพาะความทุกข์ที่เห็นกันอย่างใกล้ตัว กล่าวคือความทุกข์อันเกิดจากลูกเมียตายจากไปเป็นความทุกข์อันเกิดจากความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก  ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องเดินทางไกลไปต่างถิ่น  หรือความทุกข์ที่เกิดจากการอย่าร้างกันของสามีภรรยา  ความทุกข์เกิดจากต้องไปค้าขายหมู  ความทุกข์ที่เกิดจากพ่อแม่ตายจากไปสุดที่จะคิดถึง คือทำสิ่งใดที่เกิดความลำบากขึ้นมานั้น  กลับมองเห็นว่าเป็นความทุกข์ของชีวิตซึ่งมองไม่รู้ถึงนั้นคือความทุกข์ชนิดต่างๆแต่พระพุทธศาสนาสอนว่าอวิชชาอันเป็นสาเหตุให้ชีวิตเป็นทุกข์  ความทุกข์ในแนวทางคำสอนอีสานนั้นนักปราชญ์ท่านกล่าวไว้ว่ามี  ๑๒  อย่างดังนี้คือ
223202_183476678369548_100001216522700_532760_1921793_n“  ทุกข์หนึ่งลูกตายเสีย            ทุกข์สองเมียตายจาก
ทุกข์สามพรากพี่น้องหนีไปไกล        ทุกข์สี่ลงไปไทยค้าต่าง
ทุกข์ห้าผัวเมียฮ้างป๋ากัน          ทุกข์หกไปนอนวันพรากพี่น้อง ทุกข์เจ็ดป้องหมูลงไปขาย    ทุกข์แปดพ่อแม่ตายแสนคึดฮอด
ทุกข์เก้าบ่มีเมียนอนกอด        ทุกข์สิบเทียวทางหลงยามค่ำ
ทุกข์สิบเอ็ดฝนตกฮ่ำกับฟ้าฮ้อง        ทุกข์สิบสองเจ็บท้องปวดบ่อมียา12
ความทุกข์อีกนัยหนึ่งที่คำสอนของชนชาวอีสานทราบชัดว่า  ชีวิตไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาย  ดังนั้นมันต้องมีความทุกข์อยากลำบากเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารร่างกายที่จะต้องพบกับความลำบากทุกอย่าง  ซึ่งคำสอนในลักษณะนี้นักการศาสนาอีสานมองว่าเป็นความทุกข์ของชีวิตอีกแบบหนึ่ง  ดังนี้คือ
“ เที่ยวทางไกลอยากน้ำนี่กะยาก        ปวดม้ามไกลหมอนี่กะยาก
เฮ็ดนาทามน้ำท่วมข้าวนี่กะยาก        อยากเหล้าบ่อได้กินนี้กะยาก
ถากไม้สนขวานบ่อเข้านี่กะยาก        บ่อมีข้าวกินลูกหลานหลายนี่กะยาก
ตายบ่อมีพี่น้องหามไปถิ่มนี่กะยาก    ตอกหลิ่มใส่ลายขัดนี่กะยาก
ไปวัดเจ้าหัวบ่ออยู่นี่กะยาก        ไต่ขัวไม้ลำเดียวนี่กะยาก
เที่ยวทางไกลบ่อมีเพื่อนนี่กะยาก    ป้องไก่เถื่อนในดงนี่กะยาก( ภาษิตอีสาน 11
    หลักไตรลักษณ์
    คำสุภาษิตอีสานได้ช่วยย้ำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงหลักธรรมชาติของชีวิตตามแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  ให้ทราบถึงหลักความไม่เที่ยงของสังขารตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้บอกว่าขันธ์  ๕  เป็นทุกข์และก็ตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์  เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา(  อง. ติก. 20/137/278)

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons