๒.๑๑ สังคหวัตถุธรรม
คือ หลักธรรมที่บำเพ็ญการสังเคราะห์หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน และประสานประโยชน์ของหมู่ชนให้สามัคคีกัน 4 อย่าง ดังต่อไปนี้
๑) ทาน การให้ปัน คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบ่งปันช่วยเหลือสงเคราะห์กันด้วยปัจจัยสี่ จะเป็นทั้งทรัพย์หรือความรู้ตลอดถึงศิลปวิทยา
๒) ปิยวาจา พูดให้คนรักกัน คือการกล่าวคำสุภาพ ไพเราะน่าฟัง ชี้แจ้งแนะนำประโยชน์มีเหตุมีผลประกอบหรือคำแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ พูดสมานสามัคคีเกิดไมตรีทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๓) อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา คือช่วยเหลือด้วยแรงกายหรือการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม
๔) สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน คือทำตัวให้เข้ากับเขาได้วางตนเสมอต้นเสมอปลายและเสมอในสุขทุกข์คือ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สุขร่วมกันกล่าวคือ ช่วยด้วยทุนทรัพย์ ช่วยด้วยถ้อยคำ ช่วยด้วยกำลังกาย200
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นการบริหารในแนวพุทธศาสนา ในแต่ละประเทศย่อมมีการปกครองที่ต่างกันไปบ้าง หรือบางประเทศก็มีประชาชนเป็นฝ่ายบริหาร( ระบอบประชาธิปไตย) ที่มีประธานาธิบดีเป็นฝ่ายบริหารบ้าง หรือมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารบ้าง โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุขบ้างในการปกครองบ้านเมือง นั้นเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาสิทธิราชการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นหลักธรรมที่กล่าวมานั้นนอกจากทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และหลักอคติแล้วยังมีหลักพรหมวิหารธรรมเป็นต้น
๒.๑๒ หลักสามัคคีธรรม
คือหัวใจของการที่จะเป็นผู้นำของคนได้ พระพุทธศาสนาได้แสดงหลักการไว้ใน สาราณียธรรม 6 ดังนี้คือ
๑) เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือมีไมตรีต่อกันกับเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชนด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่างๆด้วยความเต็มใจ นับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลังหรือนับถือกันตามระดับวัยวุฒิ คุณวุฒิ
๒) เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตาธรรม คือช่วยตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพแสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๓) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตาธรรม คือการปรารถนาดีและคิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๔) สาธารณโภคี ได้มาแบ่งปันกันกินแบ่งกันใช้ คือแบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรมแม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนในการใช้สอยบริโภคทั่วกัน
๕) สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือมีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของหมู่คณะ ไม่ทำตนเป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่ส่วนรวม
๖) ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นให้ตรงกัน คือเคารพในความคิดเห็นของคนอื่นยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น ตกลงกันได้และยึดถืออุดมคติร่วมกันเป็นจุดหมายสูงสุด201
วรรณกรรมอีสาน
๒.๑๓ สั่งสอนให้เมาในยศศักดิ์
เมื่อได้เป็นผู้ใหญ่มีบริวารห้อมล้อมสมบูรณ์ด้วยข้าวของเงินทอง อย่างได้พูดจาโอหัง ให้รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา และให้รู้จักแบ่งปันความสิ่งของให้แก่ลูกน้องและบริวารอื่นๆด้วย เวลาเกิดภัยอันตรายมาบริวารจักได้ช่วยกันป้องภัยให้ ดังคำกลอนว่า
คันว่าเฮาหากได้ ทรงอาจเป็นขุน
มวลทาสา แห่แหนหลังหน้า
อย่าได้วาจาเว้า ยอโตโอ้อ่ง
พลไพร่พร้อม เมืองบ้านจึ่งบาน
ยามเมื่อเฮาหากได้ ผ้าผ่อนแพรพรรณ
โภชนังมี พร่ำมวลเงินใช้
จ่งได้ปุนปันให้ ทาสาน้องพี่
แลเหล่ามิตรพวกพ้อง สหาแก้วแก่นเกลอ
ยามเมื่อต้อง ภัยเภทอันตราย
ทั้งมวลจัก ช่วยปองปุนป้อง
เทียมดั่งเฮือนเฮาสร้าง หลังสูงกว้างใหญ่
ยังเอาเสาแก่นไม้ มาล้อมแวดวัง202
๒.๑๔ สั่งสอนให้รู้จักการช่วยเหลือกัน
การพึ่งพาอาศัยกันไม่ว่าชายหรือหญิง ไพร่ผู้ดีมีหรือจนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน คนมีก็ช่วยเหลือคนจนด้วยการแบ่งปัน ผู้ใหญ่ก็ช่วยเหลือเด็กด้วยการคุ้มครองป้องกัน ท่านอุปมาไว้เหมือนดังน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ดังคำกลอนดังนี้คือ
มวงพี่น้อง ต้องเพิ่งพากัน
คราวเป็นตาย ช่วยกันปองป้าน
ยามมีให้ ปุนปันแจกแบ่ง
คราวทุกข์ใฮ้ ปุนป้องช่วยปอง
เทียมดังดงป่าไม้ ได้เพิ่งยังเสือ
คนบ่ไปฟังตัด คอบเสือเขาย้าน
เสือก็อาศัยไม้ ในดงคอนป่า
ฝูงหมู่คนบ่ฆ่า เสือได้คอบดง203
๒.๑๕ คุณสมบัติของผู้นำ204
คุณสมบัติของบุคคลผู้จะเป็นผู้นำนอกจากมีธรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีคุณสมบัติอื่นอีกมาก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เป็นต้นว่า
๑) เป็นผู้อดทนต่อความลำบากทั้งทางกายและใจ ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนอื่น
๒) เป็นคนทันโลก คือเป็นคนไม่ประมาท
๓) ขยันทำงาน
๔) สามารถแยกเหตุการณ์ได้ถูกต้อง แบ่งงานให้เหมาะสมกับบุคคล
๕) มีความกรุณา
๖) สอดส่อง ตรวจตรา ติดตามงานที่ทำ ประเมินผลงาน
๗) สามารถค้นหาปัญหา
๘) สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ
๙) สงเคราะห์ปวงชน
๑๐) สร้างมิตรภาพกับผู้อื่น
๑๑) รู้จักพูด
๑๒) ใจกว้าง
๑๓) เป็นผู้นำเขาคือทำให้เขาดู
๑๔) องอาจและเป็นคนฉลาด
๑๕) เป็นพหุสูตร
๑๖) เอาธุระหน้าที่ไม่ยอมทิ้งงาน
๑๗) มีหลักธรรมประจำใจ
๑๘) เป็นมีจิตใจอันประเสริฐคือรู้จักให้อภัยคนอื่นที่ทำงานผิดพลาด
๑๙) เป็นสัตบุรุษ
๒๐) เป็นคนมีปัญญาความคิดอ่านดี
๒.๑๖ วรรณกรรมอีสาน
ชาติที่เป็นใหญ่เจ้าอย่าเบียดคนทุกข์ เจ้าเฮย
ให้ค่อย กุณาฝูงไพร่เมืองคนไฮ้
เห็นว่า เป็นใหญ่แล้วใจผอกอธรรม
ไผบ่ พ่นเพียงตัว เมื่อมีกำลังกล้า
เป็นเจ้าให้ฮักไพร่ทั้งหลาย
เป็นนายคนให้ฮักสหายและหมู่
เป็นกวนให้อักลูกบ้าน
คันซิต้านให้ค่อยเพียรจา
อันว่าเป็นพระยานี้หาไผจักเอาโทษบ่มีแล้ว
มีแต่เวรบาปเข้าใจเจ้าหม่นหมองนั้นแล้ว
กับทั้งเทวดาอินทร์พรหมสวรรค์โลกเทิงพุ้น
มาให้โทษแก่เจ้าจอมไท้ ก็จิงมีนั้นแล้ว
เป็นพระยาให้อิดูสัตว์ทุกหมู่จิงดีดาย
กรุณาคนทุกไฮ้ชาวบ้านไพรเมืองนั้นเนอ
มธุวาจาต้านคำควรให้หวานยิ่งจริงเทอญ
อุเบกขาดีและฮ้าย ฉันใดแท้ให้ค่อยฟัง205
๒.๑๗ หลักการบริหารตามแนวของพระพุทธเจ้า ดังนี้คือ
๑) หาพวกดี
๒) มีความรู้
๓) สู่ด้วยเหตุผล
๔) ทำตนเป็นตัวอย่าง
๕) ระวังอย่าระแวง
๖) แข่งทำดี
๗) สามัคคี
๘) อดทน
๙) อย่าเอาแต่บ่นไม่ยอมแก้ไข
๑๐) พัฒนาจิตใจ ให้มีคุณธรรม คุณประโยชน์206
๒.๑๘ วรรณกรรมอีสาน
คันสิเป็นขุนให้ถามนายชั้นเก่า อย่าได้ยาวลืนด้าม คำเฒ่าแต่หลัง
คันสิกินปลาให้ซอมดูก้างดูก บาดว่าดูกหมุ่นค้างคอไว้บ่ลง
ให้ค่อยไขระหัสต้านจาหวานเว้าม่วน คำจริงจึ่งเว้าคำฮ้ายอย่าได้จา
ให้ค่อยมีฉบับเว้าหวานหูอ้อนอ่อน ประชาชนจึ่งย่อง ยอขึ้นส่าเซ็ง
อันนี้คือดั่งดังไฟไว้ เอาฝอยแถมตื่ม เดือนดำไฟบ่ได้ บ่มีฮู้ฮุ่งเห็น
ให้ค่อยโลมวาดเว้า เสมอดั่งสัพพัญญูนั้นเนอ อินทร์พรหมทั้งเทพา ก็เหล่าโมทนาน้อม207
๒.๑๙ คุณสมบัติของนักรบ208
๑) รอบรู้ในการจัดกองทัพ
๒) สามารถให้อาวุธตกไปได้ไกล
๓) ยิ่งแม่น รู้เป้า
๔) ทำลายขุมกำลังข้าศึกได้
๕) กล้าหาญเป็นนักต่อสู่
๖) ไม่หวั่นไหวและไม่สะดุ้งตกใจ
๗) สู่ไม่ถอย,ไม่ครั่นคร้ามพรั่นพรึง
๘) ฉลาดรอบรู้
๙) กล้าหาญ
๑๐)คงแก่เรียน,ประพฤติดี
๑๑) มีปัญญา ฉลาด
๑๒) มีวินัยดี แนะนำผู้อื่นดี
๑๓) แกล้วกล้า
๑๔) มีความรู้ดี
๑๕) ทรงธรรม
๒.๒๐ คุณสมบัติของข้าราชการ 209 ส่วนข้าราชการทั่วไปพระพุทธเจ้าตรัสคุณสมบัติไว้ว่า
๑) ขยันทำงาน
๒) ไม่ประมาทในเหตุการณ์ต่างๆตลอดถึงรู้ในเรื่องกิจการต่างๆดี
๓) ปฏิบัติหน้าที่ได้เรียบร้อย
๔) เป็นผู้นำที่ดีของประชาชน
๕) ได้รับการฝึกมาดีแล้ว
๖) บำเพ็ญตนและของผู้อื่น และเป็นคนสุภาพอ่อนน้อม
๗) มีใจมั่นคงสุจริต
๘) มีพฤติกรรมอันสะอาดไม่ทุจริต
๘) บำเพ็ญประโยชน์ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้บังคับบัญชา
๙) เคารพผู้ใหญ่ในราชการ
๑๐) สมบูรณ์ด้วยความรู้ความสามารถและทำงานเก่ง
๑๑) รู้จักกาลอันควร- ไม่ควรทำอย่างไร