มองโดยภาพรวมของภาคอีสานซึ่งคิดเป็น ๓๐ % ของพื้นที่ประเทศไทย ทั้งหมดคือภาพของความแห้งแล้งและยากจน แต่การดำเนินชีวิตของชาวอีสานมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และจริงใจต่อกันเต็มไปด้วยไมตรีจิตต่อเพื่อนบ้านและคนต่างถิ่น มีรูปแบบทางวัฒนธรรมตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ชาวอีสานโดยทั่วไปยังสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามจารีตประเพณีอันสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม อะไรคือสิ่งที่ชาวอีสานสามรถรักษาจารีตเอาไว้ได้ นั้นคือคำสอนของพุทธศาสนาและสุภาษิตอีสานทั้งที่เป็นวรรณกรรมคำสอนต่างๆที่เป็นเสมือนประทีปส่องทางปัญญาให้ชาวอีสานยังคงรักษาธรรมเนียมเดิมเอาไว้ได้ คนส่วนมากยังชอบชีวิตแบบอิสระเสรี ชอบความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ในสายเลือด ถึงจะยากจนทางทรัพย์สินแต่ทางจิตใจนั้นชาวอีสานเป็นหนึ่งไม่มีสอง คือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความชื่อสัตว์สุจริต ไม่ชอบรังแก่ผู้อื่น เป็นด้วยระบบทางจริยธรรมคำสอนของพุทธศาสนาและวรรณกรรมคำสอนต่างๆได้ปลูกฝังมาแต่รุ่นปู่ย่า ตาและยาย เป็นต้น
การดำเนินชีวิตอยู่ร่ามกันในสังคมของมนุษย์จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์เป็นตัวนำทางให้สมาชิกของสังคมดำเนินชีวิตไปตามครรลองที่สังคมต้องการ เครื่องมือในการนำทางดังกล่าวจึงถูกกำหนดมาในรูปแบบบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยมที่ได้รับการถ่ายทอดมา ว่าคนเรามีการตัดสินที่จะเลือกแนวทางในการปฏิบัติของตนเองตามปัจเจกชน ชาวอีสานให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่า”เราควรจะเลือกมีชีวิตอยู่อย่างไร” และควรทำอย่างไร และควรเว้นอะไร สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอย่างละเอียดตั้งแต่เรื่องของมารยาท การเลือกคบคนอย่างไรจึงจะดี และควรเลือกคนอย่างไรมาเป็นคู่ชีวิตของตนเอง และจะปฏิบัติต่อคนประเภทต่างๆอย่างไร เช่น กับพ่อแม่ พ่อตาแม่ยาย ลูกเขย ลูกสะใภ้ และต่อพระสงฆ์ ควรจะวางตนอย่างไร เป็นหน้าที่ของจริยธรรมจะชี้บอกทางให้ และสังคมชาวอีสานยังมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือ เป็นชุมชุนที่ยึดถือระบบญาติมิตรมาก เพราะความจำเป็นทางสังคมก็ดี ทางสิ่งแวดล้อมก็ดีล้วนแต่เป็นปัจจัยเกื้อกูลกันและกันให้ชาวอีสานต้องทำอย่างนั้น และชาวอีสานชอบแสวงหาความสงบสันติทางสังคม ดังนั้นอิทธิพลของหลักคำสอนที่มีในวรรณกรรมอีสานซึ่งเท่าที่พบจากวรรณกรรมคำสอนต่างๆพอประมวลจริยธรรมของบุคคลต่างได้ ๒ ประเภทตามลักษณะของบุคคลดังนี้
จริยธรรมของผู้ชายแบ่งออกเป็น ๕ ประการคือ
๑.๑) จริยธรรมของคุณปู่
๑.๒) จริยธรรมของบิดา
๑.๓) จริยธรรมของสามี
๑.๔) จริยธรรมของลูกเขย
๑.๕) จริยธรรมของชายทั้วไปๆแบ่งเป็นชายที่ทำหน้าที่ปกครอง
๓.๒ จริยธรรมของผู้หญิง แบ่งออกเป็น ๕ ประการ คือ
๒.๑) จริยธรรมของคุณย่า
๒.๒) จริยธรรมของมารดา
๒.๓) จริยธรรมของภรรยา
๒.๔) จริยธรรมของลูกสะใภ้
๒.๕) จริยธรรมของหญิงทั่วไป
๓.๑ จริยธรรมของคุณปู่
คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คนทั่วไปในภาคอีสานมักเรียกในทำนองให้ความเคารพบูชาว่า “ พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ พ่อตู้ แม่ตู้ พ่อโซ้น แม่โซ้น” ธรรมดาลูกหลานย่อมเคารพสักการะเพระเป็นพ่อแม่ของบิดามารดาของตนอีกชั้นหนึ่ง คุณปู่คุณย่ามักจะมีเมตตาธรรมรักใคร่หลานๆเป็นอย่างยิ่ง มีหน้าที่ในการอบรมบุตรหลานให้ประพฤติปฏิบัติตนในที่ดีงาม ดังจะพบเห็นมากในวรรณกรรมคำสอนเรื่องปู่สอนหลาน บางครั้งถ้าคุณปู่ทำไม่ถูกต้องก็จะถูกว่ากล่าวจากหลานๆเหมือนกัน ดังจะพบในวรรณกรรมคำสอนเรื่อง หลานสอนปู่ คือหมายถึงคนเฒ่าคนแก่ที่ทำตัวไม่ให้หลานเคารพเท่านั้น ดังนั้นคุณธรรมของคุณจึงนับว่าเป็นกฎทางศีลธรรมอันจะทำให้คุณปู่ใด้พึงระลึกและเป็นแบบอย่างแก่บุตรหลานนั้นควรมีคุณสมบัติอย่างไร และสิ่งที่บุตรหลานควรกระทำตอบแทนคุณปู่คุณย่านั้นจะมีอะไรบ้าง ข้อสำคัญคุณปู่จะวางตนให้เป็นที่พึ่งประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานเท่านั้น ดังคำกลอนสอนในฮีตของปู่ว่าไว้ดังนี้คือ
อันปู่ย่านั้นหากอักลูกหลานหลาย ทั้งตายายก็ฮักลูกหลานหลายดั่งเดียวกันนั้น
ลูกหลานเกิดทุกข์ยากไฮ้ได้เพิ่งใบบุญ คุณของปู่ย่าตายายหากมีหลายเหลือล้น
ควรที่ลูกหลานทุกคนไหว้บูชายอยิ่ง เปรียบเป็นสิ่งสูงยกไว้ถวยเจ้ายอดคุณ
บุญเฮาหลายแท้ที่มีตายายปู่ย่า เพราะว่าเพิ่นเป็นฮ่มให้เฮาซ้นอยู่เย็น1
(เป็นปู่ย่านั้นให้รักลูกหลานทั้งหลายอีกทั้งตายายก็รักลูกหลานทั้งหลายเช่นเดียวกัน ลูกหลานเกิดทุกข์ลำบากให้ได้พึ่งใบบุญ คุณของปู่ย่าตายายก็มีมากเหลือจะพรรณนาคุณได้ ควรที่ลูกหลานทุกคนให้กราบไหว้บูชาคุณยิ่ง เปรียบเป็นสิ่งมีคุณควรยกไว้เหนือหัวบูชาคุณท่าน บุญเราลูกหลานทั้งหลายที่มีคุณตา ยาย คุณปู่ ย่า เพราะว่าท่านเป็นประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรให้เราได้อยู่เย็นเป็นสุข) นั้นคือลักษณะโดยภาพรวมของคุณปู่ ต่อนี้คือลักษณะคำสอนของคุณปู่ที่สั่งสอนอบรมลูกหลาน อันเป็นกาพย์ปู่สอนหลาน นั้นคุณปู่จะทำหน้าที่สอนอย่างไร คือเริ่มจากสั่งสอนหลานให้รู้จักเคารพตามชั้นทางสังคมดังนี้คือ
ฝูงลูกหลาน จื่อจำเอาไว้ ใผจื่อได้ เมื่อหน้าย่อมยืน
หลัวแลฟืน อย่าเอาฮองนั่ง เชื้อลุงตา ให้ยำปานแก้ว
ปู่สั่งแล้ว หลานหล้าจื่อจำ2
(หมู่ลูกหลานทั้งหลายจดจำเอาไว้ ใครจำได้วันข้างหน้าจะมีคุณ คือหลัวและฟืนอย่าได้เอามารองนั่งมันจะมีอันตราย ญาติทั้งหลายคือลุงตา ยายให้เกรงกลัวคือแก้วมีคุณ ปู่สั่งสอนแล้วหลานๆจดจำเอาไว้) ถ้าลูกหลานได้รับราชการนั้นอย่าได้อวดอ้างว่าตัวเองเก่ง จะทำอะไรก็ให้ปรีกษาหารือกับท่านผู้เป็นนักปราชญ์เสียก่อนจะได้ไม่ทำผิดธรรมเนียมหรือกฎระเบียบ ดังคำสอนนี้คือ
ทำเป็นขุน ให้มีใจกว้าง อย่าอวดอ้าง ความฮู้บ่ถาม
ความใดงาม ถามขุนผู้ฮู้3
(เมื่อเป็นขุนนางมีอำนาจใหญ่โต ให้เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารีย์มีใจเผื่อแผ่แก่คนยากจน อย่าอวดอ้างว่าตัวเองมีความรู้แล้วไม่สอบถามผู้อื่น ความใดดีงามให้เจ้าลูกหลานถามนักปราชญ์ท่านผู้รู้เสียก่อน) เพราะบางสิ่งบางอย่างเราทำคนเดียวนั้นมันสำเร็จช้าหรือไม่สำเร็จเลย ดังนั้นลูกหลานทั้งหลายจึงควรหาบริวารมาช่วยในกิจการของตนเอง ดังคำสอนนี้ว่า
ไม้ลำเดียว ล้อมฮั่วบ่ไขว่ ไพร่บ่พร้อม แปลงบ้านบ่เป็น4
(ไม้ลำเดียวล้อมรั้วไม่รอบ ถ้าว่าบริวารไม่ช่วยเหลือจะสร้างบ้านเมืองก็ไม่เจริญก้าวหน้า) การเลือกสรรคนมาใช้งานก็ควรเลือกคนให้เหมาสมกับหน้านั้นก็เป็นส่วนสำคัญในการบริหารองค์กรต่างๆเช่นเดียวกัน การเลือกคบคนนั้นก็สำคัญไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าคบคนดีก็ดีไปแต่ถ้าเลือกคบคนไม่ดีนั้นคุณปู่ก็สั่งสอนว่าดังนี้คือ
คนใจเบือน อย่าเอาเป็นพี่น้อง มันจักเป็นล้องค้อง คือเกี่ยวสองคม5
(คนใจไม่แน่นอน อย่าเอามาเป็นมิตรสหายหรืออย่าคบค้าสมาคมด้วย มันจะเป็นวงกลมแล้วโค้งกลับมาให้โทษ เหมือนเกี่ยวสองคม) หรือสอนให้รู้จักความดีและชั่วนั้นมีสี่และสามประการดังคำสอนนี้คือ
คนใจเบือน อย่าเอาเป็นมิตร ทุจริต มีสี่สามอัน
อัศจรรย์ ปัญญาถ้วนห้า คันฟันขวาน ให้เหลียวเบิ่งฟ้า
คันยิงหน้า ให้เบิ่งปลายปืน6
(คนใจไม่แน่นอนอย่าเอาเป็นมิตรสหาย ทุจริตมีสี่สามอัน(คือกายทุจริตสาม กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต) ส่วนปัญญ -านั้นมี ๕ ประการ การฟันขวานนั้นให้มองดูท้องฟ้า บ้างครั้งนั้นใบมีดอาจจะหลุดลงมาใส่หัวเอา คือให้ทำอะไรด้วยความระมัดระวังรอบคอบเอาไว้ ถ้ายิงธนูนั้นให้มองไปข้างหน้าสู่เป้าหมายให้ดี คือทำอะไรนั้นต้องให้มีจุดมุ่งหมายแล้วพยายามเดินไปสู่เป้าหมายที่ตนเองปรารถนาเอาไว้เปรียบเหมือนการยิงธนูหวังให้ถูกเป้ายิงนั้นเอง) นั้นคือคุณค่าคำสอนของคุณปู่ที่อบรมแนะนำลูกหลานอย่าได้ทำอะไรโดยไม่มีวัตถุประสงค์ ดังคำสอนนี้คือ
ทำอันใด ใส่ใจอันนั้น ซู้เขี่ยข้าง พันชั้นอย่าเหลียว
เทียวทางไกล เหลียวหลังเหลียหน้า คึดซู่ชั้น ดีแล้วจิ่งนอน
หัวเฮียงหมอน อย่าวอนหาซู้
คึดฮุ่งฮู้ คำปู่สั่งสอน7
(ทำการงานสิ่งไหนให้ตั้งใจในสิ่งนั้น เมียเขียข้างพันครั้งอย่าสนใจ(คืออย่าฟังความเมียมากนักเพราะผู้หญิงจิตใจไม่หมั่นคงจะทำอะไรให้ตั้งใจทำไปเลย) เดินทางไกลให้หันมาดูข้างหลังบ้างอาจจะมีอันตรายก็ได้ คิดทบทวนสิ่งที่ทำมาทั้งวันด้วยความรอบคอบแล้วค่อยนอน เวลานอนกับภรรยาอย่าพูดถึงหญิงอื่น เดียวจะทะเราะวิวาทกัน คิดให้ก้าวไกลมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเป็นลูกผู้ชาย ฟังคำปู่สั่งสอนให้ดีหลานเอย) สอนลูกหลานให้มีความระวังทางการเจรจา การพูดสิ่งที่ผ่านมาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางใจกันเอง ดังคำสอนนี้คือ
เพิ่นเคียดแล้ว อย่าได้กล่าวใย ไฟลามลุก อย่าเอาฝอยอ่อย
ช้างเพิ่นย้อย ให้หลีกแต่ไกล เสียงชะไน ดังกว่าเสียงฆ้อง
คึดบ่ถ้อง ให้หมั่นเพียรถาม ความมัวหมอง อย่าถามผู้เคียด8
(ท่านโกรธแล้วอย่าได้พูดถึงเรื่องเก่า ไฟลามลุกอย่าเอามูลฝอยเอามาเพิ่ม ช้างท่านตกมันให้หลีกแต่ไกล เสียงชะไนดังกว่าเสียงฆ้อง คิดไม่ออกให้ขยันไตร่ถาม ความมัวหมองอย่าถามผู้โกธร)สอนให้ลูกหลานทั้งหลายก่อนจะพูดจะทำอะไรให้รอบครอบ ก่อนจะพูดให้ดูอารมณ์ของผู้ฟังก่อนจะได้ไม่ทำให้ผิดใจกัน เหมือนสิ่งชั่วแม้ทำเพียงเล็กน้อยแต่พอถูกเปิดเผยออกจะทำให้เกิดความเสียหาย เป็นคุณธรรมของคุณปู่ทั้งหลายที่หวังดีต่อบุตรหลานอย่าได้ทำในสิ่งอันไม่ดีไม่งามจะได้มีเดือดร้อนในภายหลัง และยังมีคำสอนในลักษณะแบบอีกว่า
ฮักเมียโต ให้ฮักลุงตา ฮักนาโต ให้ฮักพ่อบ้าน
ใกล้หัวล้าน อย่าด่านกชุม เพิ่นหุ่มโต อย่าโงทางต่าง8
(รักเมียตัวเองให้รักลุง พ่อตา รักไร่นาตัวเองให้รักพ่อบ้าน ใกล้คนหัวล้าน อย่าได้ด่านกตระกุม ผู้อื่นห้อมล้อมตัวเรา อย่าทำในทางไม่ดี) หมายถึงสอนให้รู้จักรักภรรยาตัวเองอย่างไรก็ให้เผื่อแผ่ความรักให้ถึงญาติฝ่ายภรรยาด้วยอันประกอบด้วยคุณลุง ป้า น้า อ้า พ่อตาแม่ยายเป็นต้น อยู่ใกล้คนศรีษะล้านอย่าได้ด่านกกระชุมเป็นการด่ากระทบบุคคลที่เราพูดอยู่ด้วยไม่เหมาะสม ผู้อื่นยกย่องสรรเสริญเราอย่าได้ทำเป็นโกธร
๒.ลักษณะไม่ดี
ปู่หาฮู้ ตั้งแต่สอนหลาน ทำปาณา ฆ่าสัตว์เลี้ยงลูก
เป็นบาปฮ้าย ฝูงนี้บ่ควร 96/หลานสอนปู่
อทินนา ลักเอาของท่าน ให้ปู่ย้าน ภายหน้าส้วยแหลม
กาเมแถม เมียเขาให้เว้น ใผลอบเหล้น ลงสู่อบาย
โทษมุสา ตั๋วพลางยัวะเย้า ใผซ่างเว้า เป็นบาปเป็นกรรม
ใผซ่างทำ ปากเหม็นปากืก ปากบ่ถืก อักขระฐานกรณ์
โทษสุรา มัวเมาคอบเหล้า เป็นผู้เถ้า ควรเว้นซู่คน
จักให้ผล เกิดไปภายหน้า เป็นผีบ้า ใจตื้นโง่เขลา 97/หลานสอนปู่
เป็นคลองจิง ใผเป็นผู้เถา อย่าได้เข้า อำนาจตัณหา เฮาหลานบ่ย้าน เถ้าคร้านครองบุญ
บ่ปุนใจสร้าง ขี้คร้านครองวัตร บ่ครัดครองธรรม บ่จำศีลห้า จ่าฆ่าฝูงสัตว์ ข้อวัตรบ่หา 98/หลานสอน
1 สาร ทัศนานันท์,ฮีตสิบสองคลองสิบสี่,พิมพ์ครั้งที่ ๔(เลย:ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูเลย) ,๒๕๐๓,หน้า๔๙๕
2 ดร.ปรีชา พิณทอง,กาพย์ปู่สอนหลาน,(อุบลราชธานี:โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซท),๒๕๒๗, หน้า ๒
3 เรื่องเดียวกัน ,หน้า ๒
4 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒
5 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓
6 เรืองเดียวกัน ,หน้า ๔
7 เรื่องเดียวกัน ,หน้า ๔
8 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕
8 เรื่องเดียวกัน ,หน้า๖