วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

สติปัฏฐาน 4 คือ อะไรกันหนอ

IMG_3618-Small-300x200

สติ คือ ความรู้สึก ความรู้ตัว ความรู้สึกรับผิดชอบ คือ รู้สึกระลึกได้น่ะเจ้าค่ะ

ปัฎฐาน คือ ฐานที่ตั้ง รองรับ ที่มั่น

วิ คือ แจ่มแจ้ง จะแตกต่างจากและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธีค่พ

ปัสสนา คือ การเห็น การหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญาค่ะ

กรรม คือ การกระทำ ที่ประกอบด้วยเจตนา ความพยายาม สติสัมปชัญญะ

ฐาน คือ การงาน คือ สิ่งที่เป็นตัวกระทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งนั้นเองค่ะ

รวมความหมายแปลแล้วได้ใจความว่า

วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง การกระทำจิตให้เห็นแจ้งและหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญา

สติปัฏฐาน หมายถึง ฐานที่ตั้งของสติ

แปลแบบนี้น่าจะได้นะค่ะ ขออภัยท่านผู้รู้จริงในด้านนี้ด้วยนะคะ หากต้องการเสนอแนะ แก้ไข เพิ่มเติมให้พลอยจ๋ายินดีนะค่ะ อย่างที่ออกตัวไปในตอนแรกคะว่าความรู้มีเท่าหางอึ่งจริงๆ..

e5348

สติปัฏฐาน 4 คือ อะไรกันหนอ ?

สติปัฏฐาน 4 คือ แนวทางปฎิบัติธรรมในการปฎิบัติวิปัสนากรรมฐานเพื่อมุ่งหวังให้จิตสงบมั่นจนเกิดปัญญา ซึ่งเป็นหลักการปฎิบัติสูงสุดตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลากิเลสเครื่องเศร้าหมอง และอวิชชา คือความไม่รู้จริงให้หมดสิ้นหรือเบาบางลง มุ่งหวังพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น ให้เกิดปัญญา คือ การเห็นความจริงตามหลักความเป็นจริงที่สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่ เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขแก่ชีวิตตนเอง ครอบครัวและสังคมสืบไปน่ะคะ.. หืม พลอยจ๋าพยายามอธิบายภาษาปาก เพื่อให้เข้าใจง่ายกว่าภาษาพระ อุ๊ย.. ลืมๆ ศัพท์เทคนิคน่ะคะ.. ใครงง ลองอ่านอีกครั้งน่าจะเข้าใจได้ดีขึ้นนะคะ

สติปัฏฐาน หมายถึง วิธีทำจิตให้สงบ นิ่ง ฝึกสติให้เกิดขึ้นในพื้นฐานของอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้สติเป็นตัวกำหนด "รู้" ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจ พูดให้ง่ายก็ คือ การกำหนดจิตให้ตั้งอยู่และรู้ตาม โดยแบ่งฐานของสติออกเป็น 4 ทาง รวมเรียกว่า สติปัฏฐาน 4 ดังนี้คะ

สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย ฐานของสติ 4 ทาง คือ

ทางที่ 1 กายานุปัสสนาปัฏฐาน หมายถึง การกำหนดสติให้ติดตามดูกายของเรา ได้แก่ การใช้จิตเฝ้าดูอาการทั้งหลายของร่างกาย เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับ ถ่าย ไม่ว่ากายจะมีอาการเช่นไรจะต้องกำหนดสติ "รู้" อาการนั้นๆ โดยตลอด นั้นเองคะ

แต่ถ้าจะแยกกันโดยละเอียดแล้วนั้น กายานุปัสสนา จะมีด้วยกันถึง 14 วิธี ด้วยกัน คือ อัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก /อริยาบททั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน /อริยาบทย่อ เช่น ก้าวไปข้างหน้า ก้าวถอยหลัง งอเข่า ยืดแขน พลิกตัว เป็นต้น /ความเป็นปฎิกูลของร่างกายทั้ง 32 อาการ /การกำหนดร่างกายเป็นธาตุ 4 /ป่าช้าทั้ง 9 เป็นต้น

ทางที่ 2 เวทนานุปัสสนาปัฏฐาน หมายถึง การกำหนดสติให้ติดตามดูเวทนา (ความรู้สึก สุข ทุกข์ เวทนา) ที่เกิดขึ้นกับจิตใจเรา เช่น นั่งสมาธินานๆ เหน็บชาเกิดขึ้นที่ขา เรารู้สึกเจ็บปวด ให้กำหนดสติ "รู้เวทนา" รู้ว่าเจ็บปวด "เจ็บหนอ.. เจ็บหนอ" ให้ตั้งสติรู้อย่างเดียวถึงอาการเวทนาที่เกิดขึ้นเหล่านั้น รู้ว่าอาการเจ็บปวดนั้นมันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป รู้ว่ามันเป็นตัวเวทนา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ตัวตนของเราไม่มี

ซึ่งอาจจะเคยได้ยินกันนะค่ะว่า เมื่อเจริญสมาธิ ปฎิบัติธรรมอย่าสม่ำเสมอและถูกวิธีจะสามารถแยกรูป แยกนาม ไม่รู้สึกเจ็บปวดกับอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายอีกต่อไป นี้ก็คือวิธีการเจริญเวทนานุปัสสนาปัฏฐานค่ะ โดยเราจะใช้วิธีการอย่างนี้ทั้ง 3 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเจ็บปวด ดีใจ เสียใจ เป็นต้นนะคะ

ทางที่ 3 จิตตานุปัสสนาปัฏฐาน หมายถึง การกำหนดสติให้ติดตามดูจิตของเรา ว่านึกคิดเรื่องต่างๆ อะไรอยู่ เช่น ในระหว่างนั่งสมาธิอยู่นั้น ถ้าจิตเราเผลอวิ่งออกไปคิดถึงบ้าน ให้เราใช้สติตามไปกำหนด "รู้" จิตที่กำลังคิดถึงบ้านทันที ให้รู้ว่า "ฟุ้งซ่านหนอ.. ฟุ้งซ่านหนอ"

ในเรื่องฐานที่ตั้งของจิตนี้ แบ่งละเอียดลงไปอีก 16 อย่างด้วยกันค่ะ ก็จะมี จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ /จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ /จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ /จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน /จิตยิ่งใหญ่ จิตไม่ยิ่งใหญ่ /จิตยิ่ง จิตไม่ยิ่ง /จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น และจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น นั้นเองคะ

 e5348ทางที่ 4 ธัมมานุปัสสนาปัฏฐาน หมายถึง การใช้สติติดตาม พิจารณาดูหมวดธรรมต่างๆ โดยจะใช้หลักธรรมในการกำหนด 4 มีดังนี้ค่ะ

4.1 นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างมีอยู่ในใจ หรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร ให้รู้ชัดตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

4.2 ขันธ์ 5 คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร

4.3 อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่าง รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้น ๆ รู้ชัดว่าสังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร

4.4 โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons