พุทธประวัติจากจิตรกรรมฝาผนัง
- พระพุทธเจ้า เมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ในชาติต่าง ๆ เรียกว่า พระโพธิสัตว์
- ในอดีตภพ พระโพธิสัตว์แห่งเรา บังเกิดเป็น สุเมธดาบส ได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า พระพุทธทีปังกร ได้ตั้งความปรารถนาไว้ ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์ท่าน
- ครั้นพระพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จผ่านทางที่เป็นเปือกตมหลุมบ่อ สุเมธดาบสก็ทอดตัวลงนอน ถวายหลังให้เป็นทางเสด็จ เมื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จถึง สุเมธดาบสก็ได้ตรัสพยากรณ์ว่า "ดาบสนี้ทำอภินิหารปรารถนา เพื่อเป็นพระพุทธะ ความปรารถนาของดาบสนี้จักสำเร็จ ในอนาคตเบื้องหน้าโน้น"
- สุเมธดาบสครั้นได้รับพุทธพยากรณ์ ก็ได้ชื่อว่าเป็น โพธิสัตว์ นับแต่นั้นมา
- ท่านแสดงว่า อภินิหาร ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จักสำเร็จเพราะผู้ตั้งความปราถนา ประกอบด้วย ธรรมสโมธานแปดประการ ได้แก่
- 1. เป็นมนุษย์
- 2. เป็นบุรุษเพศสมบูรณ์
- 3. มีเหตุสมบูรณ์ คือ มีนิสัยบารมี พร้อมทั้งการปฎิบัติประมวลกัน เป็นเหตุที่จะให้บรรลุพระอรหัตต์ในอัตภาพนั้นได้แล้ว แต่เพราะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จึงยังไม่สำเร็จก่อน
- 4. ได้เห็นพระศาสดา คือ ได้เกิดทัน และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
- 5. บรรพชา คือ ถือบวชเป็นนักบวช เช่น ฤษี ดาบส ไม่ใช่เป็นคฤหัสถ์
- 6. ถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 หมายถึงการได้สมาธิจิตอย่างสูง จนจิตบังเกิด ความรู้ ความเห็น อย่างมีตา มีหู รับรู้เห็นเกินมนุษย์สามัญ ที่เรียกว่า ตาทิพย์ หูทิพย์
- 7. ถึงพร้อมด้วยอธิการ คือ การกระทำอันยิ่งจนถึงอาจบริจาคชีวิตของตน เพื่อพระพุทธเจ้าได้
- 8. มีฉันทะ คือ มีความพอใจ มีอุตสาหพยายามยิ่งใหญ่ จนเปรียบเหมือนว่า ยอมแบกโลกทั้งโลก เพื่อนำไปสู่แดนเกษมได้ หรือเปรียบเหมือนว่ายอมเหยียบย่ำโลกทั้งโลกที่เต็มไปด้วยขวากหนาม หอกดาบ และถ่านเพลิงไปได้
- ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมสโมธานแปดนี้ ทำอภินิหาร ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ความปรารถนาของท่านย่อมสำเร็จได้
- สุเมธดาบส มีธรรมสโมธานแปดประการบริบูรณ์ จึงมีอภินิหารปราถนาพุทธภูมิได้
- ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้บำเพ็ญ พุทธการธรรมสิบประการ ได้แก่
- 1. บำเพ็ญทาน สละบริจาคสิ่งทั้งปวงจนถึงร่างกาย และชีวิตให้ได้หมดสิ้น เหมือนอย่างเทภาชนะใส่น้ำคว่ำจนหมดน้ำ
- 2. บำเพ็ญศีล รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต เหมือนอย่างเนื้อทรายรักษาขนยิ่งกว่าชีวิต
- 3. บำเพ็ญเนกขัมม์ ออกจากกาม จากบ้านเรือน เหมือนอย่างมุ่งออกจากพันธนาคาร
- 4. บำเพ็ญปัญญา เข้าหาศึกษา ไต่ถามบัณฑิต โดยไม่เว้นว่าจะเป็นบุคคลมีชาติชั้นวรรณะต่ำ ปานกลางหรือสูง เหมือนอย่างภิกษุเที่ยวบิณฑบาตรับไปตามลำดับ ไม่เว้นแม้นที่ตระกูลต่ำ
- 5. บำเพ็ญวิริยะ มีความเพียร ไม่ย่อหย่อนทุกอิริยาบท เหมือนอย่างสีหราชมีความเพียรมั่นคงในอิริยาบททั้งปวง
- 6. บำเพ็ญขันติ อดทนทั้งในคำยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่นแคลน เหมือนอย่างแผ่นดินใครทิ้งของสะอาด หรือไม่สะอาดก็รองรับได้ทั้งนั้น
- 7. บำเพ็ญสัจจะ รักษาความจริงไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ แม้ฟ้าจะผ่าเพราะเหตุไม่พูดเท็จ ก็ไม่ยอมพูดเท็จ เหมือนอย่างดาวโอสธี ดำเนินไปในวิถีของตน เที่ยงตรงทุกฤดู
- 8. บำเพ็ญอธิฐาน ตั้งใจมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว คือเด็ดเดียวแน่นอนในสิ่งที่อธิษฐานใจไว้ เหมือนอย่างภูเขาหิน ไม่หวั่นไหวในเมื่อถูกลมกระทบทุกทิศ
- 9. บำเพ็ญเมตตา แผ่มิตรภาพไมตรีจิต ไม่คิดโกรธอาฆาต มีจิตสม่ำเสมอเป็นอันเดียวทั้งในผู้ให้คุณ ทั้งในผู้ไม่ให้คุณหรือให้โทษ เหมือนน้ำแผ่ความเย็นไปให้อย่างเดียวกันแก่คนทั้งชั่วทั้งดี
- 10. บำเพ็ญอุเบกขา วางจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง ทั้งในคราวสุขในคราวทุกข์ เหมือนอย่างแผ่นดิน เมื่อใครทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาดลงไปก็มัธยัสถ์เป็นกลาง
- พุทธการธรรมสิบประการนี้เรียกว่า บารมี แปลว่าอย่างยิ่ง หมายถึงว่าเต็มบริบูรณ์ บำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์ เมื่อใดก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมี นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ จากพระทีปังกรพุทธเจ้า ตลอดเวลาสี่อสงไขยแสนกัป ผ่านพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ในกัปนั้นๆ นับแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมาถึง 24 พระองค์ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
- บารมีที่บำเพ็ญมาโดยลำดับ แบ่งเป็น 3 ขั้น ขั้นสามัญเรียกบารมีเฉย ๆ ขั้นกลางเรียกว่าอุปบารมี และขั้นสูงสุดเรียกว่าปรมัตถบารมี
- แต่นั้นมาก็ทรงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีทานบารมีเป็นต้น อุเบกขาบารมีเป็นที่สุด ได้บำเพ็ญบารมีเป็นเวลานานนับด้วยกัลป์ สิ้นภพสิ้นชาตินับประมาณมิได้ ในภพชาติสุดท้ายได้บังเกิดเป็น พระเวสสันดร ทรงสร้างทานบารมีอย่างยอดเยี่ยม เมื่อสิ้นจากชาตินั้น ก็ได้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต (สวรรค์กามาวจรชั้นที่สี่) เป็นเทพบุตรมีนามว่าสันดุสิตเทวราช
- เมื่อใกล้กาลกำหนดที่จะจุติมาตรัส ได้เกิดโกลาหลขึ้นในบรรดาเทวดาทั้งปวง การเกิดโกลาหลนี้มีอยู่สามสมัยคือ สมัยเมื่อโลกจะวินาศ สมัยเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ์จะเกิด และสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น
- เทวดาในหมื่นจักรวาฬ ได้พร้อมใจกันมาประชุมกันที่สวรรค์ชั้นดุสิต ทูลอาราธนาสันดุสิตเทวราชว่า ในกาลบัดนี้ สมควรที่พระองค์จะจุติไปบังเกิดในมนุษย์โลก เพื่อขนสัตว์ในมนุษย์โลกกับเทวโลก ข้ามให้พ้นจากห้วงแห่งความเวียนว่ายตายเกิด อันไม่มีต้นไม่ไม่มีปลาย ไม่รู้จบสิ้น ให้รู้ความจริงบรรลุถึงทางปฏิบัติซึ่งจะเข้าสู่พระนิพพาน
- พระโพธิสัตว์ได้ทรงพิจารณาดู ปัญจมหาวิโลกนะ คือ กาล 1 ทวีป 1 ประเทศ 1 ตระกูล 1 พระมารดา 1
- ข้อ 1 กาลกำหนดแห่งอายุมนุษย์ ถ้าอายุมนุษย์มากเกินแสนปีขึ้นไป หรือต่ำกว่าร้อยปีลงมา ก็ไม่ใช่กาลที่จะลงมาตรัส เพราะเมื่ออายุยืนมากเกินไปก็อาจเห็นไตรลักษณ์ ถ้าอายุสั้นเกินไปก็จะมีกิเลสหนาไม่อาจเห็นธรรม
- ข้อ 2 ทวีป ทรงพิจารณาเห็นว่าชมพูทวีปเป็นทวีปที่เหมาะที่จะลงมาตรัส
- ข้อ 3 ประเทศ ทรงพิจารณาเห็นว่า มัชฌิมประเทศ คือพื้นที่ส่วนกลางของชมพูทวีป เป็นสถานที่เหมาะที่จะลงมาตรัส
- ข้อ 4 ตระกูล ทรงพิจารณาเห็นว่า สักยราชตระกูล และพระเจ้าสุทโธทนะ สมควรเป็นพระบิดาได้
- ข้อ 5 พระมารดา ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางสิริมหามายา มีศีลและบารมีธรรม สมควรเป็นพระมารดาได้ทั้งจะมีพระชนม์สืบไป จากเวลาที่พระโอรสประสูติเพียงเจ็ดวัน สัตว์อื่นไม่อาจอาศัยคัพโภทรบังเกิดได้อีก
- ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงเห็นสถานะทั้งห้า มีครบบริบูรณ์แล้ว แล้วจึงทรงรับปฏิญญาณ เสด็จแวดล้อมด้วยเทพบริวาร ไปสู่นันทวันอุทยานในดุสิตเทวโลก และจุติลงสู่ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระนางสิริมหามายา พระอรรคมเหสีพระเจ้าสุทโธทนะ แห่ง กรุงกบิลพัสดุ์ ณ ชมพูทวีป ในวันอาสาฬหปูรณมีเพ็ญเดือน 8
สมเด็จพระนางสิริมหามายาเสด็จสู่วิวาหมงคล
- สมเด็จพระเจ้าสีหหนุ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ ปรารถนาจะราชาภิเษกพระเจ้าสุทโธทนะมกุฎราชกุมาร ซึ่งมีวัฒนาการได้ 16 พรรษา ไว้ในเศวตราชาฉัตร สืบสิริราชสมบัติแทนพระองค์ จึงทรงส่งพราหมณาจารย์ผู้รอบรู้ในสตรีลักษณ์ไปสืบแสวงหานางรัตนกัญญา จนได้ประสพพระนางสิริมหามายาราชกุมารี พระราชธิดาของ สมเด็จพระเจ้าอัญชนา กษัตริย์แห่ง กรุงเทวทหะ มีพระสิริวิลาศต้องตามนารีลักษณ์ ไม่มีผู้เทียบเท่า
- เมื่อพระเจ้าสีหหนุทรงรับราชบรรณาการ จากกษัตริย์แห่งเทวทหนคร ก็ทรงโสมนัสยิ่งนัก โปรดให้ทำการวิวาหมงคล และดำรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์ ตกแต่งมรรคาตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุจนถึงเทวทหนคร ประดับด้วยอลังการ ให้พวกกษัตริย์ศากยวงศ์ ประทับกุญชรชาติ พระเจ้าสุทโธทนะราชโอรส ประทับช้างต้นเศวตไอยรา แวดล้อมด้วยกษัตริย์จำนวนมากเป็นบริวาร พลม้า พลเดินเท้าถือธนูเป็นจำนวนมากแห่ไปเบื้องหน้า พร้อมทั้งสรรพเสบียงอาหาร สู่อโศกอุทยาน
วิวาหมงคลปริวัตต์
พระราชพิธีมงคลราชาภิเษกสมรส พระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา ได้จัดขึ้นที่อโศกราชอุทยานแห่งเทวทหนคร - พระนางสิริมหามายาทรงเครื่องแล้ว ก็เสด็จไปสู่ราชอุทยาน พร้อมด้วยหมู่ขัตติยกัญญาบริวารเป็นจำนวนมาก พระเจ้าชนาธิราชพระราชบิดา กับพระนางสุนันทาเทวีพระราชชนนี เสด็จตามขบวนไปด้วย ประชาชนพลเมืองก็มาห้อมล้อมมหาวิวาหมงคลมณฑปอยู่โดยรอบ
- ทรงยับยั้งอยู่ในมณฑปโรงราชพิธี มีการมหรสพครบถ้วนไตรมาสแล้ว จึงได้เสด็จกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสีหหนุจึงประกอบพระราชพิธีมงคลราชาภิเษก กษัตริย์ทั้งสองขึ้นครองราชสมบัติแทนพระองค์ พระเจ้าสุทโธทนะก็เสวยราชสมบัติสืบสันติวงศ์
กับพระนางสิริมหามายา จนเกิดพระราชโอรส คือ พระสิทธัตถกุมารพระนางสิริมหามายาทรงพระสุบินนิมิต
- เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา จากสวรรค์ชั้นดุสิตตามตำนานกล่าวว่า วันนั้นพระนางทรงสุบินนิมิตรว่า มีท้าวมหาพรหมทั้งสี่มายกแท่นบรรทมของพระนาง ไปวางไว้ใต้ต้นรังใหญ่ ณ ป่าหิมพานต์ แล้วเหล่าเทพธิดานำพระนางไปสรงสนานใน สระอโนดาด เพื่อชำระล้างมลทิน แล้วมีช้างเผือกเชือกหนึ่งชูดอกบัวขาวลงมาจากภูเขาเงินภูเขาทอง ร้องบันลือเข้ามายังปราสาท ทำปทักษิณเวียนขวา 3 รอบ แล้วเข้าสู่อุทรเบื้องขวาของพระนาง
ประสูตรเจ้าชายสิทธัตถะ
- เมื่อวันวิสาขบุรณมีดิถีเพ็ญเดือน 6 เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารได้ประสูติจากพระครรภ์ของ พระนางสิริมหามายา ณ ป่าลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะต่อกัน
- ในขณะนั้นเทพยดาทั้งหลาย และพระประยูรญาติ ซึ่งมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประธาน ได้มาอนุเคราะห์ช่วยเหลืออย่างดียิ่ง
- เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่พระมหาบุรุษ ได้เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว แสดงอิทธิปาฏิหารย์ก้าวพระบาทออกไปได้ 7 ก้าว เป็นบุพนิมิตหมายว่า พระองค์จะประกาศแสงสว่าง คือธรรมของพระองค์ไปใน 7 ชนบท
ต่อจากนั้น พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้เชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วเชิญพราหมณ์ 108 คน มาเลือกสรรค์เอาแต่เฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมได้ 8 คน ทรงรับสั่งให้ขนานพระนามพระราชโอรส พวกพราหมณ์จึงขนานนามว่า สิทธัตถกุมาร เป็นมงคลนามซึ่งหมายความว่า เป็นผู้สำเร็จในสิ่งที่จะทำทุกประการ
พอพระองค์ประสูติได้ 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคตพระศาสดาประสูติ ทรงพระราชดำเนินไป 7 ก้าว
- ณ มงคลสมัยวันศุกร์วิสาขบุรณมีเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศก 80 ปี เวลาสายใกล้เที่ยง ขณะที่พระนางสิริมหามายาพร้อมด้วยราชบริพาร เสด็จไปถึงป่าลุมพินี พระนางได้ประชวรพระครรภ์จะประสูติ ข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จ ได้จัดที่ประสูติถวาย ณ ใต้ร่ม ไม้สาละ พระศาสดาได้ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาในที่นั้น
- พระศาสดาได้เสด็จอุบัติมา เพื่อทรงอุปการะอันใหญ่ยิ่งในโลก ฉะนั้นเวลาประสูติจึงประกอบด้วย กฤษดาภินิหาร คือพระมารดาเสด็จยืนไม่นั่งเหมือนสตรีอื่น พระองค์ประสูติบริสุทธิ์ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภ์มลทิน มีหมู่เทพยดามารับก่อน มีธารน้ำร้อนน้ำเย็น ตกลงมาจากอากาศ เพื่อสนานพระองค์ พอประสูติแล้วทรงดำเนินด้วยพระบาทไป 7 ก้าว เปล่งพระวาจาเป็นบุรพนิมิต แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ทูลเชิญสันดุสิตเทวราชโพธิสัตว์จุติ