วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไขปริศนาคำว่า "ปฏิบัติธรรม"โดยท่าน Dhammasarokikku

imagesCAWS9BZY

ไปอ่านเอ็นทรี่อ๊อดโป๊ด ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นคนดี..จริงง่ะ? อ่านแล้วต่อมพร่างพรูทำงานอย่างรุนแรง อารมณ์แรก เหมือนถูกยัดเยียดตำแหน่ง "จำเลย(ไม่รัก)" ให้ เพราะข้าพเจ้าก็คิดว่า ตัวเองกำลัง "ปฏิบัติธรรม" อยู่เหมือนกัน อารมณ์ที่สองตามมากระชั้นชิด คิดว่า ควรจะเขียนเอ็นทรี่ไปแนวไหนดี จะให้ดูดุดัน เหมือนเฮดบล็อกดีไหม หลัง ๆ รู้สึกว่า แนวดุดันที่เคยเขียนไป สมัยแรก ๆ เช่น เราควรไหว้พระสงฆ์ไหม มันคงไม่เหมาะกับสภาวะสังคมในปัจจุบัน เพราะทุกคนต่างออกมาให้ความเห็นแบบดุดันกันหมด เห็นว่า คงจะเกร่อเกินไป ไม่แนว

อารมณ์สามตามมาว่า หรือจะเกิดจากการใช้ภาษาไทยผิดพลาด ใครไปให้นิยามของคำว่า "ปฏิบัติธรรม" ผิดหรือเปล่า ปฏิบัติธรรม = ปฏิบัติ + ธรรมะ หรือ ธรรมชาติ แปลแล้วก็คือ ปฏิบัติให้เป็นธรรมชาติ หรือปฏิบัติให้เห็นธรรมชาติ คิดดูอีกที ก็คนค่อนประเทศเข้าใจคำว่า "ปฏิบัติธรรม" เช่นเดียวกับ คุณบ้าสถาปัตย์ การแก้ความเข้าใจคนหมู่มากเกี่ยวกับภาษาไทย ก็คงไร้ค่า ปล่อยให้เขาเข้าใจแบบนี้กันแบบนี้ต่อไป คงจะดีกว่า ไม้ซีกไปงัดไม้ซุงเปล่า ๆ

อารมณ์สี่กระแทกเข้าที่ลิ้นปี่ว่า "แล้วจะเขียนอะไรดีล่ะ(โว้ย)"

เอาแนวถนัดดีก่า เขียนเรื่องของตัวเอง (แหวะ... เอาอีกแระ... โม้ชมัด ไม่เบรื่อยมั่งเรอะ /me ว้า... ทนอ่านเอาหน่อยเฮอะ ถนัดเขียนอยู่แนวเดียว)

เอาเป็นว่า การ "ปฏิบัติธรรม" คือ สิ่งที่คุณบ้าสถาปัตย์ และคนทั่วไป เข้าใจ ก็แล้วกัน

เช่นนั้น ข้าพเจ้าก็เริ่มปฏิบัติธรรมแบบที่ใคร ๆ เขาเข้าใจกัน มาประมาณ ๗ ปีได้ ครับ มันเริ่มต้่นที่วัดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี เจ้าอาวาสมีญาณวิเศษอะไรบางอย่าง อ้างว่า สามารถ "สื่อ" กับเจ้ากรรมนายเวร หรือโลกวิญญาณได้

และเหตุของการเริ่มต้นเข้าวัดในครั้งนั้น มันก็มาความอยากรู้อยากเห็นนี่ละ ครับ หลังจากนั้น จะไปเพราะความทุกข์เข้าครอบงำ (เหมือนเป็นที่พึ่งทางใจ) คนเราถ้าชีวิตมีความสุขดี คงหาได้น้อยที่จะหันหน้าเข้าวัด ยกเว้นเป็นผู้มีพื้นฐานดีมาแต่อ้อนแต่ออก เช่น พ่อแม่ชอบเข้าวัด ทำบุญ เป็นต้น

ตอนนั้นตามร่างทรงเข้าวัดไป ครับ ตามเข้าไปศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องเหนือธรรมชาติพวกนี้ ซึ่งรวมไปถึงการ "ดูดวง" ด้วย

post-3945-1191474688

เจ้าอาวาสนั้น ดีครับ มีอะไร ไม่ดี สื่อกับเจ้ากรรมนายเวรแล้ว ไม่ดี ท่านก็แนะให้บวชมั่ง ให้เดินจงกรมมั่ง ให้ทำบุญมั่ง สภาพโดยทั่วไปของวัด ก็น่าเลื่อมใสศรัทธา ครับ มีแนวปฏิบัติที่แปลกหูแปลกตา ไม่เห็นในวัดทั่วไป แนะให้มาปฏิบัติธรรม ๓ วัน ๗ วัน แล้วชีวิตจะดีขึ้น มีแบบบวชผ่อนส่งได้อีกแน่ะ หรือให้เดินจงกรมรอบวัด เท่านั้น เท่านี้ รอบ แล้วอุทิศส่วนกุศล ให้เจ้ากรรมนายเวร

เวลานั้นก็เป็นเอามาก ครับ ทิ้งบริษัทไปนุ่งขาว ห่มขาว เดินจงกรมเป็นวรรคเป็นเวร ๑ รอบวัด = ๑ กม. ครับ บ้าพลังเดินเข้าไปได้ ๑๐๘ รอบ ใน ๑๒ วัน (ทางไม่เรียบ และเท้าเปล่า ครับ) ว่างเมื่อไหร่ ก็ไปปฏิบัติที่วัดนั้น ครับ กลับมาแล้ว ก็ใช้ชีวิต สำมะเลเทเมา เหมือนเดิม ปฏิบัติเท่าไหร่ ชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้น ครับ เดินจนเท้าแตก ก็จะดีขึ้นวันสองวัน หลังกลับมาจากวัด ครับ พอเหล้าเข้าปากปุ๊บ ชีวิตก็กลับไปบัดซบเหมือนเดิม

สรุปว่า ไม่เป็นโล้ เป็นพาย ได้แต่กล้ามขา

พอบวชเข้ามา เริ่มศึกษาแนวปฏิบัติ ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ก็รู้สึกเป็นแนวปฏิบัติที่เข้มข้น ดุดัน มาก ครับ มาตรฐานที่ท่านตั้งไว้ สูงเหลือเกิน ข้าพเจ้าก็พยายามถีบตัวเองขึ้นไปเป็น "พระ" อย่างที่ท่านกำหนดสแตนดาร์ดไว้ ถีบเท่าไหร่ ก็รู้สึกว่า เหมือนหนูถีบจักร คือ อยู่ที่เดิม ครับ กระนั้นก็เฝ้าถีบมันเข้าไป มันคงจะได้เป็น "พระ" สักวันหนึ่งละวะ

ความเป็น "พระ" นั้น หลวงพ่อปราโมทย์บอกไว้ครับว่า ไม่ใช่ว่า "อยาก" แล้วจะได้เป็น เราไม่ได้มีหน้าที่ "อยาก" ครับ เรามีหน้าที่ทำความเพียร สร้างเหตุ และปัจจัย ส่วนความเป็นพระ มันจะเป็น ก็เป็นของมันเอง เป็นเพราะมาจากเหตุ และปัจจัย ไม่ใช่เพราะ "อยาก"

มีหน้าที่ "ทำ" ก็ทำไป ครับ กรรมฐานกองไหน พอจะเจริญได้ ก็ลุยมันเข้าไป ครับ ท่านสอนอะไรที่พอจะทำได้ ทำแหลก ครับ บริกรรม ท่านว่า ต้องทำให้เป็นปกติ ตลอดเวลา ถ้าทำได้ ทำให้ถึงเวลาหลับด้วย แม้หลับก็ยังรู้ตัว ข้าพเจ้าก็ตั้งหน้าตั้งตาทำมันเข้าไปครับ อึดไว้ก่อน พ่อสอนไว้

นอกจากหลวงพ่อทั้งสอง ข้าพเจ้าก็ศึกษาแนวอื่น ๆ ด้วย ครับ หาว่า แนวไหน ถูกกับจริต

พอรู้ตัวว่า ชอบฟังธรรมะ ก็ฟังมันอยู่นั่นแหละ ฟังไม่เลือกสาย ให้บริกรรม ก็บริกรรมมันเข้าไป ให้พิจารณาอาหารเป็นของสกปรก ร่างกายเป็นของสกปรก ก็พิจารณามันเข้าไป อาศัยความเพียรเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้ใช้ปัญญา สักเท่าไหร่

post-3945-1191474269

อยู่มาวันหนึ่ง ก็พบว่า ที่ทำมาทั้งหมด เป็นสมถะ ล้วน ๆ ครับ

กรรมฐานนั้นมี ๒ อย่าง ครับ มีสมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน

สมถะ เป็นอุบายให้ใจสงบ ทำจิตให้สะอาด เหมาะแก่การงาน

วิปัสสนา เป็นอุบายเรืองปัญญา ครับ

การเจริญสมาธิในแบบ ที่ทำ ๆ กันแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิ เดินจงกรม การพิจารณาขันธ์ ๕ พิจารณาอาหาร และอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการทำสมถะ ครับ ผลที่ได้ คือความสงบ ระงับ ชั่วคราว ประหนึ่ง หินทับหญ้า คนที่ไปฝึกเจริญสมถะ เวลาออกมาจากการปฏิบัติแล้ว บางทีอารมณ์รุนแรงกว่าเดิมอีก ครับ เพราะไปกดกิเลสไว้ พอเลิกปฏิบัติ กิเลสก็ออกมาเริงร่าท้าลมแดด ให้สมกับที่ถูกกดมานาน

ผู้ที่เจริญสมถะ สามารถระงับกิเลสได้ชั่วคราว แค่นี้ขณะระงับกิเลสได้ ก็รู้สึกเป็นสุขมากแล้ว ครับ ฉะันั้นนักปฏิบัติที่ติดสมถะ จะขยันลางานไปปฏิบัติธรรม ครับ สังเกตุดูว่า ติด หรือไม่ติดสมถะ ดูพฤติกรรมตอนกลับมา ถ้าไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงดีขึ้นเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึก หรือแย่ลง อาจอนุมานได้ว่า ผู้นั้นไปฝึกสมถะมา

ส่วนผู้ที่เจริญวิปัสสนา ควบคู่ไปด้วย ถ้าเข้าถึง อารมณ์ใจจะแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ครับ อาจจะเห็นเธอยิ้มกับตัวเองบ่อยขึ้น อารมณ์ดีโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น

เรื่องสมถะ ข้าพเจ้าจะขอติ๊ต่างเอาว่า ผู้อ่านรู้จักอยู่แล้่ว มันก็คือที่เขาไปทำ ๆ กันนั่นแหละ

สิ่งที่นักปฏิบัติไม่ค่อยรู้กัน คือ วิปัสสนา ต่างหาก ทั้งสองอย่าง ต้องทำควบคู่กัน ครับ แต่บางสำนัก ไปเข้าใจว่า สมถะ เป็นวิปัสสนา แล้วเลยถ่ายทอดความเห็นผิด ๆ ไปสู่นักปฏิบัติทั้งหลายด้วย

ถ้าเราสามารถแยกแยะ ความแตกต่างของทั้งสองได้แต่ต้น มันก็เหมือนกับเจอ "ต้นทาง" แห่งการปฏิบัติธรรม ครับ เป็นต้นทางที่ถูกต้องเสียด้วย

วิปัสสนา แปลว่า รู้ตามความเป็นจริง ครับ แค่นั้นจริง ๆ (ความจริงของทุกสิ่ง คือ มันเป็นไตรลักษณ์ ครับ การเห็นทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ได้ เป็นปลายทางของการปฏิบัติ ครับ)

บางทีนักปฏิบัติไปเข้าใจว่า การพิจารณาอะไรที่ไม่ไหลไปตามโลก เป็นวิปัสสนา เช่น การพิจารณาความไม่สวยไม่งามของร่้างกาย เห็นสาวสวย ๆ เอ็กซ์ ๆ ขาว ๆ อึ๋ม ๆ แล้วหื่น เห็นหนุ่มล่ำ ๆ หน้าคม ๆ เป้าตุง แล้วหื่น ต้องยกความไม่สวยไม่งามขึ้นข่ม ความสกปรกของอาหาร พอจะเมามันกับรสของอาหาร ก็ยกความสกปรกของอาหารขึ้นพิจารณา เหล่านี้ ล้วนเป็นสมถะทั้งสิ้น ครับ ข้อสังเกตุง่าย ๆ คือ ถ้ายังข้องกับความคิด ถือเป็นสมถะหมด ครับ

post-3945-1191472107_thumb

คำสอนวิธีปฏิบัติหลวงพ่อปราโมทย์ ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า ให้ "รู้" อย่างเดียว ครับ (แต่คำว่า "รู้" ของท่านนี่ เข้าใจยากบรม)

อย่่าได้ไปปรุงแต่งใด ๆ เลย แม้แต่เล็กน้อย พวกสมถะทั้งหลายที่ทำมา ท่านว่า เวลาเจริญวิปัสสนา ให้ทิ้งลงส้วมไปเลย กดชักโครกด้วย อย่าให้เหลือแม้แต่น้อยนิด

คนเราที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ จะอยู่ใน ๒ อารมณ์หลัก ๆ คือ "เผลอ" กับ "เพ่ง"

พวกเผลอ คือ ผู้ที่ไม่เคยสนใจปฏิบัติธรรมเลย วัน ๆ ชีวิตไหลไปกับโลกแห่งความคิด เห็นนั่นก็คิด เห็นนี่ก็คิด ไม่มีสติรู้ตัวขึ้นมาว่า กำลังทำอะไรอยู่ เช่นตอนนี้ ท่านกำลังอ่านเอ็นทรี่ของข้าพเจ้า และกำลังใช้ความคิด ทำความเข้าใจ รู้สึกไม๊...ว่ากำลังคิด

อะ... พอรู้สึกตัวว่า "กำลังคิด" นั่นละ ใช้ได้ ทำความรู้สึกตัวแบบนี้ขึ้นมาบ่อย ๆ

เอ้า... เผลอไปคิดอีกแล้ว รู้สึกตัวไหม?

อารมณ์รู้สึกตัวเหล่านี้ นี่ละ ที่ท่านเรียกว่า "ปฏิบัติธรรม" ซึ่งจริงแล้วมันคือไม่ได้ทำอะไรเลย แค่ "รู้" เท่านั้น

อีกพวก คือพวกเพ่ง ได้แก่ผู้ที่บอกว่า ตัวเองไปปฏิบัติธรรมมาโดยส่วนใหญ่นั่นแหละ ไปฝึกนั่งสมาธิ ดูลมหายใจ แต่ใจไปเพ่งอยู่กับลมหายใจ ใจไหลเข้า ตามลมหายใจเข้า ใจไหลออก ตามลมหายใจออก ไม่ได้รู้สึกตัวขึ้นมาว่า กำลังหายใจเข้า หรือออกอยู่ อย่างนั้นเรียก "สมถะ" ครับ

หรือเดินจงกรม ซ้ายย่างหนอ ใจไหลลงไปรวมกับเท้าซ้ายที่ย่างไป ขวาย่างหนอ ใจไหลลงไปรวมกับเท้าขวาที่ย่างไป ไม่รู้สึกตัวขึ้นมาว่า กำลังเดิน อย่างนั้นก็เป็น "สมถะ" ล้วน ครับ

การฝึกสมถะ ไม่ใช่ไม่ดี แต่เราต้องรู้ว่า มันเป็นอุบายให้ใจสงบ ไม่ใช่อุบายให้เกิดปัญญา และมันไม่ใช่ที่สุดของการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมโดยเนื้อแท้ หวังให้เกิด "ปัญญา" นำไปตัดกิเลสอย่างถาวร ครับ ไม่ใช่การระงับกิเลสชั่วคราว

ข้าพเจ้าก็ศึกษาคนที่พลิกจากสมถะ มาเดินวิปัสสนา มักจะร้องเหมือน ๆ กันว่า อุ๊เหม่... อย่างนี้นี่เอง หลงไปเพ่งอยู่เป็นสิบปี โง่จริงเรา ไม่งั้นสำเร็จไปนานแล้ว ง่ายแค่นี้เอง ฉะนั้น คุณอย่ามาหลงเหมือนผมนะ ข้าพเจ้ากำลังจะบอกว่า สิ่งที่พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้น ไปติดกันเป็นสิบ ๆ ปี ก็เป็นบาทฐานให้เกิดปัญญาในวันนี้ ครับ อย่าไปคิดว่า เราหลงผิด เราหลงโง่ อยู่ตั้งนาน และไม่อยากให้ใคร ๆ มาหลงผิด หลงโง่ เหมือนเรา

และคำสอนของครูบาอาจารย์ ก็ต้องพิจารณาให้เข้ากับตัวเราด้วย ครับ อย่าไปเดินดุ่ย ๆ ท่านว่าไง ว่าตามกัน

images3

เช่น หลวงพ่อปราโมทย์ สอนให้รู้จัก รู้สึกตัว อย่างเป็นธรรมชาติ เอาละเหวย คราวนี้ รู้ตัว อย่างเป็นธรรมชาติตลอด พังไปก็เยอะ ไม่ได้อะไรขึ้นมาก็แยะ ครับ สังเกตุคำสอนของท่านให้ดี ครับ ท่านจะบอกว่า จิตยังไม่ตั้งมั่น

ถ้าจิตยังไม่ตั้งมั่น การ "รู้" มันจะเป็นไปโดยยากลำบาก ไม่ชัดเจน ครับ จิตจะคอยฟุ้งซ่าน ท่านก็แนะว่า จิตฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน แต่บางทีก็กระเจิดกระเจิงไป จนรั้งไม่อยู่

ความจริงแล้ว "จิตที่ตั้งมั่น" มันเป็นผลมาจากสมถะ ครับ ที่ท่านไม่เน้น เพราะตัวท่านเอง เจริญมาเสียเต็มเหยียดแล้ว ครับ แต่กับเรา ๆ ท่าน ๆ ไปเดินวิปัสสนาล้วน โดยทิ้งสมถะไป หรือทิ้งการปฏิบัติในแบบไป บางทีก็ก้าวหน้าได้ช้าเกินไป หรือบางทีก็โดนกิเลสเอาไปกิน คิดว่า ทำแล้วไม่เห็นได้อะไร เลิกปฏิบัติไป ครับ

พวกที่ไปฝึกปฏิบัติธรรมมาฟังหลวงพ่อปราโมทย์ จะงงเป็นห่านตาแตก หรืองูปั่นจิ้งหรีด ครับ เพราะท่านจะสอนว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย ไอ้ที่เคยทำ ๆ มา ขว้างทิ้งไปให้หมด ให้เหลือแต่จิตที่เป็นธรรมชาติ สบาย ๆ คนที่เคยชินกับการเพ่ง หรือกดกิเลส จะรู้สึกว่า เฮ้ย... มันต้องทำอะไรบางอย่างสิ ไม่งั้นมันไม่เรียกว่า "ปฏิบัติ" ปฏิบัติ มันต้องมี action สิ ต้องมีการกระทำบางอย่างสิ ไม่นั่งสมาธิ ก็เดินจงกรม หรืออะไรก็ได้สักอย่าง ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย เอาแต่ รู้ ๆ ๆ มันจะเรียกปฏิบัติธรรมได้อย่างไร

แต่การปฏิบัติธรรม คือ การไม่ปฏิบัติ ครับ และการปฏิบัติธรรม ต้องรวมเข้าไปในชีวิตประจำวันอย่างแยกกันไม่ออก ครับ ถึงจะเรียกว่า ใช้ได้ ถ้ายังต้องขอลางานไปปฏิบัติธรรม อย่างนั้นยังใช้ไม่ได้ ครับ

คืนก่อนวันทำสังคายนาพระไตรปิฎก พระอานนท์เร่งทำความเพียรอยู่ ครับ เพราะเหลือท่านรูปเดียว ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ เป็นแค่พระโสดาบัน ปฏิบัติแบบที่เขาลางานไปปฏิบัติธรรมกันเนี่ยะแหละ ทำอยู่ครึ่งค่อนคืน จนล้า จะเอนตัวพักสักหน่อย จังหวะที่เลิกปฏิบัตินั่นแล บรรลุธรรมเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ยกตัวอย่างให้ฟังอีกครับว่า สมัยพระพุทธเจ้าไปฝึกสมาบัติ ๗, ๘ กับอาฬารดาบส กับอุทกดาบส ซึ่งจัดเป็นสมถะนั้น ไม่มีมารมาผจญ ครับ จนมาบำเพ็ญทุกรกิริยา ๖ ปี ก็ไม่มีแม้เงาของมาร แต่พอเริ่มวิปัสสนา หรือดำรงพระสติมั่นอยู่นั่นแล พญามารแห่กันมาเป็นกองทัพเลย ครับ

แสดงให้เห็นว่า ปัญญาเกิดตอนหยุดปฏิบัติ แล้วหันมารู้อารมณ์ปัจจุบัน นั่นแล

ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่า ก็กรูไม่ได้ปฏิบัติอยู่แล้ว งั้นกรูก็ทำถูกอยู่แล้ว นะครับ ถ้าไม่ปฏิบัติมาแต่ต้น จะไปเลิกปฏิบัติอะไรหล่ะ ครับ

ถ้าไม่เคยปฏิบัติอะไรเลยมาแต่ต้น ก็ให้เริ่มปฏิบัติด้วยการ "รู้ตัว" ครับ ส่วนพวกที่เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว (ส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกสมถะ) ให้เลิกปฏิบัติธรรมซะ ครับ แล้วหันมารู้ตัวอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด เลิกการทำสมาธิ หรือการเพ่ง ทั้งหมด ถ้าทำอะไรแม้สักนิดเดียว มันก็กลายเป็นการปรุงแต่ง ปิดกั้นการเดินวิปัสสนา และปิดกั้นปัญญา ไปด้วย ครับ

เอาละ ก่อนจะงงกันไปมากกว่านี้ ไปลองหาฟังเอาใน www.wimutti.net/pramote ครับ ฟังบ่อย ๆ ก็จะเข้าใจเอง เข้าใจแล้ว ก็ไปลุยปฏิบัติซะ จักได้ไม่มีเอ็นทรี่แบบเหมารวมว่า ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นคนดี..จริงง่ะ?

เพราะไม่ว่า คนที่ฝึกสมถะ หรือคนที่เดินวิปัสสนา ก็ล้วนเรียกว่า ผู้ปฏิบัติธรรม ทั้งสิ้น ครับ

อีกอย่างหนึ่ง การปฏิimages2บัติแต่ละอย่าง มันละกิเลสคนละแบบ ครับ คนชอบให้ทานเพื่อ "ละ" จะบรรเทากิเลส ความโลภ ครับ พวกที่ชอบให้ทาน แต่หวังจะได้อะไรบางอย่างตอบแทน บางทีก็ไม่ได้บรรเทา ความโลภ ครับ

การให้อภัยบ่อย ๆ หรือมีเมตตาเป็นปกติ จะบรรเทากิเลส ความโกรธ ครับ

การฟังธรรม เจริญสมถวิปัสสนากรรมฐาน จะบรรเทากิเลส ความหลง ครับ

ฉะนั้น ถ้าจะเอาคนชอบทำบุญ ให้ทาน ไปเหมาว่า เขาไม่ควรจะขี้โกรธ ขี้หงุดหงิด อย่างนี้ก็ข้ามสเกลไปหน่อย ครับ

ถ้าอ่านแล้วยังไม่เก็ท ข้อสงสัยแต่ละเคสที่คุณบ้าสถาปัตย์ยกตัวอย่างมา วกมาเข้าบทวิเคราะห์กันสักหน่อย ครับ

case A อนุมานว่า เขาทำบุญเพื่อหวังให้ชีวิตดีขึ้น ครับ ไม่จัดเป็นการทำทานเพื่อ "ละ" ครับ

case B อนุมานว่า ไปปฏิบัติธรรมแบบสมถะล้วน ครับ (อาจเป็นเพราะสถานปฏิบัติธรรมนั้น สอนแต่สมถะล้วน หรือสอนวิปัสสนาด้วย แต่ไปเข้าใจผิดว่า สมถะเป็นวิปัสสนา สรุปว่า ไม่ว่าจะสอนหรือไม่สอน ผิดหรือถูก เขาอาจจะเดินสมถะล้วน ครับ)

case C อิจฉา ปากร้าย จัดอยู่ในกิเลสโทสะ ครับ จะเอาความใจบุญสุนทานชอบทำบุญ มากะเกณฑ์ไม่ได้

ถ้าชอบให้อภัยผู้คน ชอบช่วยคนที่ตกทุกข์ได้ยาก แล้วขี้อิจฉา อย่างนี้ถึงจะถือว่า ผิดปกติ ครับ อย่างกรณีตัวอย่างข้างต้น สรุปอะไรไม่ได้ ครับ (ข้ามสเกล)

case D ไม่สอนผิด ก็เข้าใจกันผิด ครับ บุญไม่ได้อยู่ที่ปลาตัวใหญ่ หรือจำนวนเงินที่มาก บุญอยู่ที่ใจครับ ละกิเลสได้มาก เป็นบุญมาก ละกิเลสได้น้อย เป็นบุญน้อย ละกิเลสไม่ได้เลย ไม่เป็นบุญเลย

ทั้งนี้ก็อาจเป็นไปได้ว่า จงใจสอนให้ผิด ครับ เพื่อจักได้มีลาภสักการะมาก ๆ

อีกประการหนึ่ง ครับ เพิ่งนึกได้จากการวิเคราะห์ประวัติตัวเองว่า คนเราถ้ายังเป็นสุขดี ก็หายากที่จะหันหน้าเข้่าวัด ครับ มันต้องมี "ซัมซิงลอง" หรือ มีบางอย่างยาว เกิดขึ้นในชีวิต ครับ ถึงได้่ขวนขวายหาที่พึ่งทางใจ จนไปพบการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ยกตัวอย่างเป็นประชากรพระ ก็แล้วกัน คะเนเอาจากพระเท่าที่พบ ประมาณได้ว่า เกินกว่ากึ่งหนึ่งของพระทั้งหมด บวชเข้ามาเพราะประสบปัญหาบางอย่างในชีวิต เช่น อาจตกงาน ถูกบังคับให้บวช ป่วย ไร้ญาติดูแล หนีคดีความ ล้มละลาย ผิดหวังอะไรบางอย่าง รักคุด เป็นต้น มีเป็นส่วนน้อย ครับ ที่บวชเข้ามาด้วยหวังพระนิพพานมาแต่ต้น แม้แต่ตัวข้าพเจ้าเอง เจตนาที่บวชครั้งแรก ก็บวชเข้ามา เพื่อสะเดาะเคราะห์ ครับ ภายหลังได้ศึกษาพบความเยี่ยมยอดของศาสนาพุทธ เป้าหมายจึงเปลี่ยนไป

ทำนองเดียวกันกับเหล่านักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ครับ อนุมานเอาจากแซมเปิ้ลสเปซของพระ โดยไม่ต้องทดสอบสมมุติฐาน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Candle sit (นั่งเทียน) ได้ว่า คนเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ก็เจอกับ "ซัมซิงเรียลี่ลอง" หรือ บางอย่างยาวจริง ๆ หรือไม่ได้เจอกับ บางอย่างยาวภายนอก แต่ตัวผู้ปฏิบัติธรรมเองนั่นแหละ ที่มีอะไรผิดปกติ เลยต้องเข้าวัด หาทางทำให้ตัวเองเป็นคนปกติ ฉะนั้น ดังที่คุณบ้าสถาปัตย์เขียนไว้ ก็ถูกต้องแล้ว ครับ เพราะเขา "ผิดปกติ" อย่างไรเล่า เขาถึงทำอะไร ๆ ที่คุณบ้าสถาปัตย์คาดหวังว่า คนธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องเป็นนักปฏิบัติธรรม ควรจะมี ควรจะเป็น

คิดได้ดังนี้แล้ว ก็จะให้อภัยเขาได้ง่ายขึ้น ครับ เวลาเราเข้าไปร่วมคอร์สการปฏิบัติธรรม ก็คิดเสียว่า เรากำลังเข้าไปในแหล่งรวมของคนที่ไม่ปกติ ที่กำลังพยายาม ขวนขวาย ทำให้ตัวเองเป็นคนปกติ อย่าไปคาดหวังว่า เรากำลังเข้าไปในแหล่งรวมคนที่ปกติอยู่แล้ว และกำลังพยายามขวนขวายจะบรรลุธรรม แสวงหาโมกขธรรม หรือโลกุตตรธรรม เพื่อทำความบริสุทธิ์ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่างนั้นจะผิดหวัง แล้วก็เอามานั่งบ่นในบล็อกอีก ครับ

post-3945-1191472541

สำคัญที่สุดกว่าทุกเคสที่กล่าวมาคือ อย่าไปสนใจจริยาคนอื่น ครับ ท่องไว้เสมอ ๆ ว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตน ด้วยตนเสมอ ๆ หรือจงโจทก์โทษความเลวของอารมณ์ใจของเราไว้ เสมอ ๆ

เห็นคนประพฤติไม่งาม สิ่งเดียวที่จะทำ คือรีบตรวจดูใจของตนว่า เรามีความไม่งามอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า ถ้ามี รีบกำจัดทิ้ง และระลึกอยู่ว่า เรายังไม่ดีพอ จะไปว่ากล่าวคนอื่น รักษาใจตนให้ดีเป็นพอ ส่วนเขาจะเป็นอย่างไร ก็เรื่องของเขา ครับ ทำเช่นนี้ จะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติมาก เพราะจิตไม่ส่งออกนอก ครับ

น่าเสียดาย ที่คุณบ้าสถาปัตย์ ล้มเลิกการปฏิบัติธรรมในแบบ ไปกลางคัน เพราะไปได้รับข้อมูลขัดความรู้สึก เพียงประโยคเดียว ความจริงแล้ว "ผู้รู้" ควรสามารถแยกแยะออกได้ ครับว่า อันไหนใช่ อันไหนไม่ใช่ แล้วเลือกอันที่ใช่ ไปใช้ ไปปฏิบัติ ไปทำให้เกิดประโยชน์กับชีวิต แล้วโยนสิ่งที่ไม่ใช่ ทิ้งไว้ที่สถานปฏิบัติธรรมนั้นนั่นแล ผลที่ได้จากการไปสมัครเข้าคอร์ส จักไม่ใช่แค่เรื่องราวไว้บ่นถึง ของเทรนเนอร์คนนั้น

หรือคิดเมตตาต่อสรรพสัตว์ ผู้ยังไม่หยั่งถึงปัญญา ระดับเดียวกับที่คุณบ้าสถาปัตย์ ดำรงอยู่ อาจต้องการกำลังใจแนว "อธิษฐานเลยสิจ๊ะ ซานต้าจัดให้" นี้อยู่ ก็เป็นได้ ดังนี้ก็จะเป็นการเจริญเมตตา ระงับความอยากบ่นประสบการณ์ที่ไม่ดี หรือความรู้สึกไม่ดี ต่อการปฏิบัติธรรมลงบล็อก เพราะคุณเริ่มให้อภัย คนที่มีพฤติกรรมไม่งาม และคนให้ความเห็นที่ไม่ใช่แก่น ของพระศาสนา เหล่านั้นนั่นเอง

คิดอีกที ไม่มีใครอยากเป็นคนเลวหรอก ครับ ทุกคนล้วนอยากเป็นคนดี แต่บางเวลาวิบากกรรมที่เป็นอกุศล มันให้ผล ทำให้ต้องถูกกิเลสตัณหาบีบคั้นอย่างหนัก จนเขาต้องแสดงกิริยาอาการน่ารังเกียจออกมา เช่น เขาไม่ได้อยากแซงคิวตักอาหารหรอก แต่วิบากกรรมในอดีตชาติ ที่ทำให้เขาเกิดมาชาตินี้ เป็นคนไม่เคยได้รับการศึกษาว่า ควรจะมีมารยาทในการเข้าคิว ควรรู้จักการข่มใจ ไม่เข้ายื้อแย่งอาหาร เพราะมันเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ประกอบกับความหิวมันบีบคั้น ซึ่งเราทุกคนก็ถูกบีบคั้น ไม่ต่างอะไรจากเขา แต่เราดีกว่าเขาในขณะนั้น เพราะมีกุศลวิบากจากชาติก่อน ๆ ทำให้เราได้รับการศึกษา รู้จักข่มใจ รู้จักมารยาทในการเข้าคิว ฉะนั้นเห็นคนไม่มีมารยาทแล้ว ก็มองเขาด้วยความสงสาร ครับ ใจจะเป็นสุขยิ่งกว่า การมองด้วยความไม่พอใจ ความไม่พอใจนั้น เกิดจากการที่เราไม่ให้อภัย ครับ เราเอาตัวเราเป็นสแตนดาร์ดว่า ทุกคนควรมีมารยาทขั้นต่ำเสมอเรา เมื่อมีใครมารยาทแย่กว่าเรา เข้ามาในวงโคจรของชีวิต เราจึงไม่พอใจ ครับ ถ้าเรามองโลกอย่างให้อภัย เจริญเมตตาว่า เราทั้งหลายล้วนเกิดมาเหลื่อมล้ำกัน ดีบ้าง เลวบ้าง ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ตามกุศลวิบาก อกุศลวิบาก ที่ทำกันมา ไม่สามารถเลือกได้ว่า จะเกิดเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ คิดได้อย่างนี้ เราเองนั่นละครับ จะเป็นผู้ที่มีความสุขทีุ่สุดในโลก ไม่ใช่ใครอื่น

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

หมายเหตุ : สีน้ำเงิน คือ ส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ครับ

เครดิตท่าน  Dhammasarokikku และศูนย์นิ่งวัดธรรมกาย

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons