วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

_7_824

กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.


ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดย
ความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด.
นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.
(พุทฺธ) ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.
----------------
แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ
ไม่น้อยกว่า ๓ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิต
ซ้ำข้อกัน แต่จะซ้ำคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความ
ให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๔ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

_2_460
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑. อุทเทสว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลา
หมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” จงวิจารณ์ว่า ตอนไหนแสดง
ปรมัตถปฏิปทา ตอนไหนแสดงปรมัตถ์ ตอนไหนแสดงสังสารวัฏฏ์ ?
เพราะเหตุไร ?
๑. ตอนที่ว่า “สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ” แสดง
ปรมัตถปฏิปทา เพราะประสงค์ให้ดูเพื่อนิพพิทาเป็นต้น
ตอนที่ว่า “แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” แสดงปรมัตถ์ เพราะแสดงถึงความรู้
ที่เป็นเหตุให้พ้นจากความข้องอยู่ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม อันจะพึงได้ด้วย
การปฏิบัติในปรมัตถปฏิปทาโดยลำดับ
ตอนที่ว่า “ที่พวกคนเขลาหมกอยู่” แสดงสังสารวัฏฏ์ เพราะต้องวนเวียน
ท่องเที่ยวไปด้วยความเขลา ฯ

๒. ข้อว่า ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดังนี้ คำว่า มาร
และ บ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่ออย่างนั้น ?
๒. มาร ได้แก่กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ให้รักให้
อยากได้ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน ฯ
บ่วงแห่งมาร ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันเป็นของน่าชอบใจ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติด ฯ
๓. ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้น กำหนดเห็นด้วยทุกข์กี่หมวด ?
วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์เช่นไร ?
๓. ๑๐ หมวด ฯ ได้แก่วิปฏิสาร คือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์คือ
ถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย ฯ
๔. คำว่า สุคติ ในพระบาลีว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๔. คือ ภูมิเป็นที่ไปข้างดี ฯ มี เทวะ ๑ มนุษย์ ๑ หรือ สุคติ ๑
โลกสวรรค์ ๑ ฯ

๕. วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้น ตัวหลุดพ้นคืออะไร ? หลุดพ้นจากอะไร ?
ตัวรู้ว่าหลุดพ้นคืออะไร ? จงอ้างหลักฐานประกอบด้วย
๕. ตัวหลุดพ้นคือจิต ฯ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ตามพระบาลีว่า
กามาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ ภวาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ อวิชฺชาสวาปิ
จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยกาม จิตหลุดพ้น
แล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยภพ จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วย
อวิชชา ฯ ญาณเป็นตัวรู้ ตามพระบาลีว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ
โหติ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ฯ
๖. สันติ ความสงบ เป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ? จงตอบโดยอ้างพระบาลี
มาประกอบ
๖. เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ ที่เป็นโลกิยะได้ในบาลีว่า
น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส
บุคคลย่อมถึงความสงบแห่งจิต ด้วยร้องไห้ ด้วยเศร้าโศกก็หาไม่
ที่เป็นโลกุตตระได้ในบาลีว่า
โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข
ผู้เพ่งสันติพึงละโลกามิสเสีย ฯ

๗. นิวรณ์ คืออะไร ? เมื่อจิตถูกนิวรณ์นั้น ๆ ครอบงำ ควรใช้กัมมัฏฐาน
บทใดเป็นเครื่องแก้ ?
๗. คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ฯ
กามฉันท์ ใช้ อสุภกัมมัฏฐาน หรือกายคตาสติเป็นเครื่องแก้
พยาบาท ใช้ เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหาร ๓ ข้อต้นเป็นเครื่องแก้
ถีนมิทธะ ใช้ อนุสสติกัมมัฏฐานเป็นเครื่องแก้
อุทธัจจกุกกุจจะ ใช้ กสิณหรือมรณัสสติเป็นเครื่องแก้
วิจิกิจฉา ใช้ ธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเครื่องแก้ ฯ
๘. จตุธาตุววัตถานกัมมัฏฐาน คืออะไร ? ผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้จะพึงกำหนด
พิจารณาอย่างไร ?
๘. คือ ความกำหนดหมายซึ่งธาตุ ๔ โดยสภาวะความเป็นเองของธาตุ ฯ
พึงกำหนดพิจารณาทั้งกายตนเองและกายผู้อื่นให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ และ
พึงกำหนดให้รู้จักธาตุภายในภายนอกให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุไปหมดทั้งโลก
ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ฯ
32
๙. ปัญหาว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญจะหมดไปได้ เมื่อเจริญวิปัสสนา
ได้ชั้นไหนแล้ว ? เพราะได้พิจารณาเห็นอย่างไร ?
๙. ชั้นกังขาวิตรณวิสุทธิ ฯ
เพราะได้พิจารณากำหนดรู้จริงเห็นจริงซึ่งนามรูปทั้งเหตุทั้งปัจจัย ข้ามล่วง
กังขาในกาลทั้ง ๓ เสียได้ ไม่สงสัยว่า เราจุติมาจากไหน เราเป็นอะไร
เราจะไปเกิดที่ไหน เป็นต้น ฯ
๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัญญา ๑๐ กะใคร ? อนิจจสัญญา พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสอนให้พิจารณาธรรมอะไร ?
๑๐. พระอานนทเถระ ฯ
พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ
*********

_21_206
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑. พระสารีบุตรปรินิพพานที่ไหน ? ท่านเลือกสถานที่นั้นเพราะเหตุไร ?
๑. ที่ นาลันทคาม แคว้นมคธ ฯ
เพราะตั้งใจจะโปรดนางสารีพราหมณีผู้เป็นมารดาของท่าน ให้พ้นจาก
มิจฉาทิฏฐิก่อนที่ท่านจะปรินิพพาน ฯ
๒. พระมหากัสสปะ กับพระรัฐบาล ออกบวชเพราะมีความคิดเห็นต่างกัน
อย่างไร ?
๒. พระมหากัสสปะออกบวชเพราะคิดเห็นว่า ผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่งรับบาป
เพราะการงานที่ผู้อื่นทำไม่ดี มีใจเบื่อหน่าย จึงละสมบัติแล้ว ออกบวช
พระรัฐบาลออกบวชเพราะมีความคิดเห็นตามธรรมุเทศ ๔ ข้อที่พระศาสดา
ทรงแสดง ว่า
๑. โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นผู้นำ ๆ เข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืน
๒. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จำเพาะตน
๓. โลกคือหมู่สัตว์ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
๔. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ฯ

๓. พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อครั้งยังเป็นพระราชกุมาร ได้ตั้งความปรารถนาไว้
อย่างไรบ้าง ?
๓. ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า
๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธนี้เถิด
๒. ขอท่านผู้เป็นพระอรหันต์ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ พึงมายังแว่นแคว้นของ
ข้าพเจ้าผู้ได้รับอภิเษกแล้ว
๓. ขอข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
๔. ขอพระอรหันต์นั้น พึงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
๕. ขอข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น ฯ
๔. สตานุสารีวิญญาณ คืออะไร ? เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ ความว่าอย่างไร ?
๔. วิญญาณไปตามสติ ฯ
ความว่า ทุกรกิริยานี้ จักไม่เป็นทางเพื่อการตรัสรู้ แต่อานาปานสติปฐมฌาน
จักเป็นทางเพื่อการตรัสรู้แน่ ฯ
๕. มหาปุริสลักษณะมีกี่ประการ ? พระอุณณาโลมกับพระอุณหิสต่างกัน
อย่างไร ?
๕. มี ๓๒ ประการ ฯ
พระอุณณาโลม ได้แก่พระโลมาที่ขาวละเอียดอ่อนคล้ายสำลีอยู่ในระหว่าง
พระโขนง ส่วนพระอุณหิสนั้น ได้แก่พระเศียรที่กลมเป็นปริมณฑล
ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ

๖. พระสาวกรูปใดเปน็ เอตทคั คะทางมีปญั ญามาก ทางขยายความย่อให้พิสดาร
ทางมีวาจาไพเราะ ทางทรงจีวรเศร้าหมอง ? และในท่านเหล่านั้น องค์
ไหนเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็นรูปัปปมาณิกา โฆสัปปมาณิกา ลูขัปปมาณิกา
และธัมมัปปมาณิกา ?
๖. พระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก และเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็น
ธัมมัปปมาณิกา
พระมหากัจจายนะ เป็นเอตทัคคะทางขยายความย่อให้พิสดาร และเป็นที่
เลื่อมใสของผู้เป็นรูปัปปมาณิกา
พระโมฆราช เป็นเอตทัคคะทางทรงจีวรเศร้าหมอง และเป็นที่เลื่อมใสของ
ผู้เป็นลูขัปปมาณิกา
พระโสณกุฏิกัณณะ เป็นเอตทัคคะทางมีวาจาไพเราะ และเป็นที่เลื่อมใสของ
ผู้เป็นโฆสัปปมาณิกา ฯ
๗. พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราธะว่า สิ่งใดเป็นมาร ท่านจงละความกำหนัด
พอใจในสิ่งนั้นเสีย มารในที่นี้หมายถึงอะไร ?
๗. หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ
๘. พระอรหันตสาวก ๑๐ องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือใครบ้าง ? มี
ท่านใดได้รับเอตทัคคะบ้าง ? และเป็นเอตทัคคะในทางไหน ?
๘. คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ
พระอัสสชิ พระยสะ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ และพระควัมปติ ฯ
มีพระอัญญาโกณฑัญญะรูปเดียว ฯ ในทางรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน ฯ

๙. ถูปารหบุคคล คือใคร ? มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
๙. คือ บุคคลผู้ควรแก่การสร้างสถูปไว้ประดิษฐาน ฯ
มี ๔ ประเภท ฯ คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓. พระอรหันตสาวก
๔. พระเจ้าจักรพรรดิราช ฯ
๑๐. อภิญญาเทสิตธรรม มีอะไรบ้าง ? ทรงแสดงแก่ใคร ? ที่ไหน ?
๑๐. มี สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฯ
ทรงแสดงแก่ภิกษุสงฆ์ผู้อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ฯ
ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ฯ
*********

_12_202
ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑. สังฆกรรม กับวินัยกรรม มีกำหนดบุคคลและสถานที่ต่างกันหรือ
เหมือนกันอย่างไร ?
๑. ต่างกันดังนี้ สังฆกรรม ต้องประชุมสงฆ์ครบองค์ตามกำหนดแห่งกรรมนั้น ๆ
ต้องทำในสีมา เว้นไว้แต่อปโลกนกรรม ทำนอกสีมาก็ได้ ส่วนวินัยกรรม
ไม่ต้องประชุมสงฆ์ และทำนอกสีมาก็ได้ ฯ
๒. นิมิตที่อยู่รอบโรงอุโบสถ มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? จงเขียนคำทักนิมิตใน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้มาดู ?
๒. มีไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดเขตการทำสังฆกรรม ฯ
ทกฺขิณาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ ฯ
๓. จงอธิบายความหมายของวิสุงคามสีมา และสัตตัพภันตรสีมา
๓. วิสุงคามสีมา หมายถึงเขตแห่งสามัคคีที่สงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรม
ราชานุญาตยกให้เป็นแผนกหนึ่งจากบ้าน ฯ สัตตัพภันตรสีมา หมายถึงเขต
แห่งสามัคคีในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนไม่ได้ชั่ว ๗ อัพภันดร (๔๙ วา)
โดยรอบ นับแต่ที่สุดแห่งสงฆ์ออกไป ฯ
38
๔. กฐิน เป็นสังฆกรรมอะไร ? การรับกฐิน ตลอดจนถึงการกราน ต้องทำ
ในสีมาเท่านั้น หรือทำนอกสีมาก็ได้ ?
๔. เป็นญัตติทุติยกรรม ฯ
การรับกฐิน การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน และการกรานกฐินทำในสีมาหรือ
นอกสีมาก็ได้ การสวดญัตติทุติยกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน ต้องทำในสีมาเท่านั้น ฯ
๕. บุรพกิจที่พึงทำเป็นเบื้องต้นก่อนแต่อุปสมบท คืออะไรบ้าง ? ในกิจ
เหล่านั้น กิจที่ต้องทำเป็นการสงฆ์ มีอะไรบ้าง ?
๕. คือ ให้บรรพชา ขอนิสสัย ถืออุปัชฌายะ ขนานชื่อมคธแห่งอุปสัมปทาเปกขะ
และบอกนามอุปัชฌายะ บอกบาตรจีวร สั่งให้อุปสัมปทาเปกขะออกไปยืน
ข้างนอก สมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม
เรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์ ให้ขออุปสมบท สมมติภิกษุรูปหนึ่ง
สอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯ
มี สมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม เรียก
อุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์ สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะ
ถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯ
๖. อุปสัมปทาเปกขะจะสำเร็จเป็นพระภิกษุได้ เมื่อพระกรรมวาจาจารย์สวดถึง
บาลีบทใด ?
๖. ถึงบทว่า โส ภาเสยฺย ท้ายอนุสาวนาที่ ๓ ฯ

๗. ติณวัตถารกวินัยมีอธิบายอย่างไร ? ใช้ระงับอธิกรณ์อะไร ?
๗. อธิบายว่า กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสาง
หาความเดิม เป็นดังกลบไว้ด้วยหญ้า ฯ ใช้ระงับอาปัตตาธิกรณ์ที่ยุ่งยากยืดเยื้อ
ไม่ร้จู บและเป็นเรื่องสำคัญอนั จะเปน็ เครื่องกระเทอื นทั่วไป เว้นครุกาบตั แิ ละ
อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ฯ
๘. ลิงคนาสนา คืออะไร ? บุคคลที่ทรงพระอนุญาตให้ทำลิงคนาสนามี
กี่ประเภท ? ใครบ้าง ?
๘. คือ การให้ฉิบหายเสียจากเพศ ฯ
มี ๓ ประเภท ฯ
คือ ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ ๑ บุคคลผู้อุปสมบท
ไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์ ๑ สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ มีเป็น
ผู้มักผลาญชีวิตเป็นต้น ๑ ฯ
๙. ศาสนสมบัติมีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? การจะนำผลประโยชน์จาก
ศาสนสมบัติไปใช้จ่าย มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?
๙. มี ๒ ประเภท ฯ
คือ ศาสนสมบัติกลาง และ ศาสนสมบัติวัด ฯ
มีหลักเกณฑ์อย่างนี้คือ ศาสนสมบัติกลาง ใช้จ่ายในกิจการของสงฆ์ทั่วไป
ตามพระวินัยโดยอนุมัติของสงฆ์ ศาสนสมบัติวัด ใช้จ่ายในกิจการของ
วัดนั้น ๆ แต่จะนำศาสนสมบัติของวัดหนึ่งไปใช้อีกวัดหนึ่งไม่ได้ ฯ

๑๐. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
หรือไม่ ? มีหลักปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. สามารถโอนได้ ฯ
มีหลักปฏิบัติตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕ (มาตรา ๓๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือ
ที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณี
ตามวรรคสอง
*********

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons