วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นตรี สนามหลวงแผนกธรรม ปีการศึกษา ๒๕๕๓

_3_505

ปัญหาและเฉลยข้อสอบ
นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก
ของ
สนามหลวงแผนกธรรม
ปีการศึกษา ๒๕๕๓


กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘
----------------
แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล อ้างสุภษิตอื่นมาประกอบด้วย ๑ ข้อ และ
บอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความ
ให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในใบตอบตั้งแต่ ๒ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

_10_230
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓

๑. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ? ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ?
๑. มี สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะ
ให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ
๒. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ? ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ?
๒. ได้แก่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๓. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ ?
อะไรบ้าง ?
๓. มี ๓ ข้อ ฯ คือ
๑. เว้นจากทุกจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง
เป็นต้น

๔. ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี
บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน ?
๔. คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯ
จัดเป็นมโนทุจริต ฯ
๕. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ?
๕. ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา ความเป็นของใช่ตนฯ
๖. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?
๖. มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯ
เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ
๗. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ?
๗. ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อ
มีความพอใจ จะเป็นเหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะและเกิด
ความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ และเมื่อเรียนรู้แล้ว
ก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้อง
ที่เรียกว่า วิมังสา ดั่งนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ

คิหิปฏิบัติ
๘. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ มีอะไรบ้าง ?
๘. มี ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท ฯ
๙. จงจับคู่ข้อทางซ้ายมือกับข้อทางขวามือให้ถูกต้อง
๙. ก. จะทำดีทำชั่ว ก็ต้องคล้อยตาม ๑. มิตรดีแต่พูด
ข. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๒. มิตรหัวประจบ
ค. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๓. มิตรมีความรักใคร่
ง. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ๔. มิตรมีอุปการะ
จ. ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย ๕. มิตรแนะประโยชน์
๙. ข้อ ก. คู่กับ ข้อ ๒.
ข้อ ข. คู่กับ ข้อ ๔
ข้อ ค คู่กับ ข้อ ๑
ข้อ ง คู่กับ ข้อ ๕
ข้อ จ คู่กับ ข้อ ๓.

๑๐. จงบอกโทษของการดื่มสุรามาสัก ๓ ข้อ
๑๐. มีโทษดังนี้ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)
๑. เสียทรัพย์ ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ๓. เกิดโรค
๔. ต้องติเตียน ๕. ไม่รู้จักอาย ๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ
*********

_19_130
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


๑. ศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานใน
ชมพูทวีปได้อย่างไร ?
๑. สืบเชื้อสายมาจากชนชาติอริยกะ ฯ ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้
และขนบธรรมเนียม มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อ
ข้ามภูเขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงมาทางใต้
แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน ฯ
๒. ภายใน ๗ วัน หลังจากสิทธัตถะราชกุมารประสูติแล้ว มีเหตุการณ์สำคัญ
เกิดขึ้นแก่พระองค์อย่างไรบ้าง ?
๒. ๑. เมื่อประสูติแล้วใหม่ ๆ อสิตดาบส (หรือกาฬเทวิลดาบส) เข้าไป
เฝ้าเยี่ยมและทำนายพระลักษณะ
๒. วันที่ ๕ พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาฉันโภชนาหาร
และขนานพระนามพระราชกุมารว่าสิทธัตถกุมาร
๓. วันที่ ๗ พระราชมารดาทิวงคต ฯ

๓. พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุ
เท่าไรบ้าง ?
๓. เสด็จออกบรรพชา เมื่อมีพระชนมายุ ๒๙ ปี
ตรัสรู้ เมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ ปี
ปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ ปี ฯ
๔. ปัญจวัคคีย์ คือใคร ? มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าขณะที่ยังทรง
บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างไร ?
๔. คือ นักบวชกลุ่มหนึ่ง มีทั้งหมด ๕ คน มีท่านโกณทัญญะเป็นหัวหน้า ฯ
ได้ตามเสด็จ คอยอุปัฏฐากรับใช้อยู่ตลอดเวลา ฯ
๕. เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ พระองค์ทรงพิจารณาบุคคลผู้สามารถจะตรัสรู้
ธรรมได้โดยเปรียบเทียบกับบัว ๓ เหล่า อย่างไรบ้าง ?
๕. ๑. บุคคลบางคน มีกิเลสน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้จะพึงสอน
ให้รู้ได้โดยง่าย อาจจะตรัสรู้ธรรมพิเศาได้โดยฉับพลัน เปรียบเหมือน
บัวที่ตั้งอยู่พ้นน้ำ เมื่อถูกแสงอาทิตย์ก็จักบานในวันนั้น
๒. บุคคลบางคน มีกิเลสปานกลาง มีอินทรีย์ปานกลาง เป็นผู้จะพึง
สอนให้รู้ได้เมื่อได้รับคำแนะนำ เปรียบเหมือนบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ
จักบานในวันพรุ่งนี้
๓. บุคคลบางคน มีกิเลสหนา มีอินทรีย์อ่อน เมื่อได้รับการสั่งสอน
อบรมอยู่เสมอ ๆ ก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ เปรียบเหมือนบัวที่
ตั้งอยู่ในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆ ไป ฯ

๖. คำว่า ดวงตาเห็นธรรม นั้นคือเห็นอย่างไร ? พระโมคคัลลานะและ
พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังธรรมจากใคร ?
๖. คือเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมี
ความดับเป็นธรรมดา ฯ พระโมคคัลลานะได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟัง
ธรรมจากพระสารีบุตร และพระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังธรรม
จากพระอัสสชิเถระ ฯ
๗. สังเวชนียสถาน ๔ ได้แก่ที่ใดบ้าง ?
๗. ได้แก่ ๑. สถานที่ประสูติ ๒. สถานที่ตรัสรู้
๓. สถานที่แสดงปฐมเทศนา ๔. สถานที่ปรินิพพาน ฯ
๘. พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชายิ่งกว่าอามิสบูชา เพราะเหตุไร ?
๘. เพราะเมื่อพุทธบริษัทปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรมแล้ว ก็จะเป็นปัจจัย
ให้ตรัสรู้ธรรมได้ ทั้งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา และเป็น
พระพุทธประสงค์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อีกทั้งการปฏิบัตินี้
จะทำให้ศาสนาตั้งมั่นอยู่ได้ยืนนาน ฯ
ศาสนพิธี
๙. พุทธมามกะหรือพุทธมามิกาหมายถึงบุคคลเช่นไร ?
๙. หมายถึง บุคคลผู้เป็นชายหรือหญิงผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน
เป็นการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง ฯ
10
๑๐. ในการประเคนของถวายพระ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. จับของที่จะประเคนด้วยมือทั้งสอง ยกขึ้นให้สูงเล็กน้อยแล้วน้อมถวายพระ
ซึ่งท่านจะยื่นเมื่อทั้งสองออกมารับ หากว่าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของ
ลงบนผ้ากราบที่พระปูไว้ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบก็เป็นอัน
เสร็จวิธีการประเคน การประเคนนี้ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ
ไม่ใช่เสือกไสให้ หรือทิ้งให้โดยไม่เคารพ อีกอย่าง ของที่จะประเคนนั้น
ต้องเป็นสิ่งของที่คน ๆ เดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนักหรือ
ใหญ่จนเกินไป ฯ
*********


_100_335


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


๑. พระวินัย ได้แก่อะไร ? สิกขาบทที่เป็นอเตกิจฉา คือที่ภิกษุล่วงละเมิด
แล้วไม่สามารถจะแก้ไขได้ ได้แก่อะไร ?
๑. ได้แก่ พระพุทธบัญญัติ และอภิสมาจาร ฯ
ได้แก่ ปาราชิก ๔ ฯ
๒. นิสสัย คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๒. คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี ๔ อย่าง ฯ
คือ ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
๓. อาบัติว่าโดยชื่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๓. มี ๗ อย่าง ฯ คือ ๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. ถุลลัจจัย
๔. ปาจิตตีย์ ๕. ปาฏิเทสียะ ๖. ทุกกฏ ๗. ทุพภาสิต ฯ

๔. ภิกษุโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูล เป็นอาบัติอะไรบ้าง ?
๔. โจทด้วยอาบัติปาราชิก เป็นอาบัติสังฆาทิเสส
โจทด้วยอาบัตินอกนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๕. ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราสจากแม้คืนหนึ่ง ต้องอาบัติอะไร ?
๕. มี สังฆาฏิ คือผ้าคลุม อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และอันตรวาสก คือ
ผ้านุ่ง ฯ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๖. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ มาเพื่อตน เพื่อบุคคลอื่น
เพื่อเจดีย์ เพื่อสงฆ์หมู่อื่น จะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๖. น้อมมาเพื่อตน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
น้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์
น้อมมาเพื่อเจดีย์และเพื่อสงฆ์หมู่อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ
๗. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังเดียวกันกับสามเณร จะเป็นอาบัติอะไรหรือไม่ ?
๗. นอนได้ ๓ คืน ไม่เป็นอาบัติ เกินกว่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๘. ภิกษุ ก อาพาธ ได้รับคำแนะนำให้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเพื่อช่วยให้หาย
ป่วยเร็ว แล้วฉันตามคำแนะนำนั้น มีวินิจฉัยตามพระวินัยอย่างไร ?
๘. มีวินิจฉัยว่า ภิกษุ ก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๙. เสขิยวัตร คืออะไร ? แบ่งเป็นกี่หมวด ? หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
๙. คือ ธรรมเนียมหรือวัตรที่ภิกษุพึงศึกษา ฯ
แบ่งเป็น ๔ หมวด ฯ
ว่าด้วยเรื่อง โภชนปฏิสังยุต คือธรรมเนียมว่าด้วยเรื่องการขบฉัน ฯ
๑๐. ข้อว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
๑๐. มีอธิบายวา่ รับโดยแสดงความเอื้อเฟ้อื ในบุคคลผ้ใู ห้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดง
ความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่นหรือเอามาทิ้งเสีย ฯ
*********

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons